พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 841


    ข้อความนี้อยู่ระหว่างตรวจสอบแก้ไข

    ตอนที่ ๘๔๑

    ที่มูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา

    วันอาทิตย์ที่ ๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๖


    อ.ธิดารัตน์ ท่านอาจารย์ อย่างอกุศลกรรมเวลาให้ผลก็ให้วิบากที่เป็นทุกข์ ไม่ใช่ที่พึ่งแน่นอน ส่วนกุศลกรรมถึงแม้จะให้ผลอุปถัมภ์ หรือว่าเป็นปัจจัยให้ได้รับวิบากที่เป็นสุข แต่กรรมที่จะเป็นที่พึ่งจริงๆ ท่านอาจารย์

    ท่านอาจารย์ เราพูดถึงเจตนา และเราจะเข้าใจเจตนาเมื่อไหร่ ถ้าเราไม่ได้คิดถึงว่า แท้ที่จริง อะไรทำที่ใช้คำว่า กรรม จะพ้นจากสภาพธรรมที่เป็นเจตนาไม่ได้ แต่ก็รู้ว่า เจตนาเป็นสภาพที่กระทำกิจขวนขวาย และกระตุ้นสหชาตธรรมเฉพาะจิต และเจตสิกที่เกิดร่วมด้วยเท่านั้นในขณะนั้น เพราะฉะนั้นเมื่อเจตนาเจตสิกเกิดกับจิตทุกประเภท เกิดกับวิบากจิตด้วย เกิดกับกุศลจิตด้วย เกิดกับอกุศลจิตซึ่งเป็นเหตุด้วย และเกิดกับกิริยาจิตด้วย ไม่พ้นจากต้องมีเจตนาเจตสิกซึ่งกระทำกิจขวนขวายกระตุ้นเตือนให้สหชาตธรรมทั้งหมดที่เกิดร่วมกันกระทำกิจ

    เพราะฉะนั้น ปัญญาทำกิจของปัญญา หรือเปล่า เจตนาไปทำกิจของปัญญาได้ไหม ไม่ได้ นี่คือการที่เราจะต้องกล่าวถึงสภาพธรรมโดยละเอียดแต่ละ ๑ ให้เข้าใจจริงๆ เพราะฉะนั้นในขณะที่ปฏิสนธิจิตในขณะแรกเกิด อะไรเป็นปัจจัยให้ปฏิสนธิจิต และเจตสิกเกิด กรรมหนึ่งที่ได้กระทำแล้วซึ่งประมวลกรรมทั้งหมดที่สามารถจะให้ผลในชาตินั้นเกิด แล้วแต่ว่ามีปัจจัยที่จะให้กรรมใดเกิดขึ้นให้ผล กรรมนั้นจึงเป็นปัจจัยให้จิตซึ่งเป็นผลของกรรมคือ วิบากจิต เกิดขึ้นเช่น เดี๋ยวนี้ เราไม่สามารถจะรู้ได้ว่า เห็นเดี๋ยวนี้เป็นผลของกรรมที่ทำให้ปฏิสนธิจิตเกิดสืบต่อมา หรือว่าเป็นผลของกรรมอื่นที่ได้กระทำแล้วที่ทำให้จิตเห็นในขณะนี้เกิด เพราะฉะนั้นปัญญาเพียงเล็กน้อยแค่นี้ เทียบกับปัญญาของผู้ที่ทรงตรัสรู้ก็ห่างไกลกันมาก เพราะฉะนั้นการศึกษาธรรมที่ทรงอนุเคราะห์คือ ให้เข้าใจจริงๆ ในความไม่ใช่ตัวตน ในความเป็นธรรมแต่ละ ๑ จริงๆ เพราะฉะนั้นพิจารณาตั้งแต่ปฏิสนธิจิต เจตนาเป็นกรรม หรือเปล่า

    อ.ธิดารัตน์ เจตนาต้องเป็นกรรม

    ท่านอาจารย์ ต้องเป็นใช่ไหม “กัมมปัจจัย” หมายความว่า ถ้าขาดเจตนาซึ่งเป็นกัมมปัจจัยขณะนั้นจิตเกิดไม่ได้ เพราะฉะนั้นเจตนาที่เกิดกับวิบากจิตแม้เกิดขึ้นเพราะกรรมในอดีตที่ได้กระทำแล้วเป็นปัจจัย เป็นปัจจัยให้จิต และเจตสิกซึ่งเป็นผลของกรรมเกิดซึ่งรวมเจตนาซึ่งเป็นวิบากด้วย เพราะฉะนั้นเจตนาที่เกิดกับวิบากจิตก็เพียงทำกิจของวิบากให้สำเร็จคือ เกิดขึ้น จิตทำกิจของจิต เจตสิกแต่ละ ๑ ก็ทำกิจของเจตสิกนั้นๆ รวมทั้งเจตนาเจตสิก ทั้งหมดเป็นวิบากเกิดขึ้นเพราะกรรมแค่นั้นเอง เพราะฉะนั้นเมื่อกรรมให้ผลแล้วคือ ทำให้ปฏิสนธิจิต และเจตสิกเกิดทำกิจของตนแล้วดับไป

    เพราะฉะนั้น เจตนาที่เกิดกับวิบากจิตจะยังให้ผลต่อไป หรือเปล่า เห็นไหมนี่แสดงความต่างของเจตนาว่า เจตนาใดที่เกิดกับวิบากจิตเป็นผลของกรรมที่ได้กระทำแล้ว เกิดแล้ว เป็นผลแล้ว หมดแล้ว เพราะฉะนั้นเจตนาที่เป็นกัมมปัจจัยในขณะนั้นก็เป็นเพียงเฉพาะ “สหชาตกัมมปัจจัย” หมายความว่า เกิดร่วมกัน พร้อมกัน เป็นปัจจัยโดยการทำให้จิต และเจตสิกทั้งหลายที่เกิดร่วมกันกระทำกิจการงานโดยฐานะที่เป็นเพียงสหชาตกัมมปัจจัย แต่ว่าต่อจากนั้นแล้วไม่สามารถที่จะให้ผลอีกเพราะว่า จิตนั้นเป็นวิบาก เจตสิกทั้งหมดที่เกิดขึ้นเป็นวิบาก กรรมให้ผลแล้ว จบแล้ว หมดแล้ว วิบากนั้นจะเกิดอีกไม่ได้ แต่ว่ากรรมที่ยังไม่หมดก็เป็นวิบากให้ขณะที่เป็นวิบากจิตอื่นๆ เกิดต่อไปอีก นี่เป็นเรื่องของแต่ละขณะจิต แต่เห็นความต่างของกำลังของเจตนาซึ่งเป็นวิบากว่า เป็นเพียงสหชาตกัมมปัจจัย แต่ว่าเวลาเกิดกับกุศลจิต และอกุศลจิตเป็นเหตุซึ่งจะต้องทำให้เกิดผล แต่ว่าผลนั้นไม่เกิดพร้อมกัน หลังจากที่กรรมได้ทำสำเร็จแล้วก็แล้วแต่ว่า พร้อมด้วยปัจจัยที่จะให้ผลซึ่งต่างขณะกับขณะที่เกิดขึ้นพร้อมจิตในขณะนั้น เกิดขึ้นในภายหลังจึงเป็น “นานักขณิกกัมมะ” ต่างขณะไม่ใช่ขณะเดียวกัน เพราะฉะนั้นกัมมปัจจัยจึงมี ๒ สหชาตกัมมปัจจัยเกิดกับวิบากจิต กิริยาจิต

    แต่ถ้าเป็นนานักขณิกกัมมปัจจัยเกิดกับกุศลจิต และอกุศลจิต ธรรมไม่ได้มีเพียงเท่านี้ยังละเอียดกว่านี้อีก ขณะที่กำลังเห็นมีเจตนาเจตสิกเกิดกับจิตเห็นไหม มี เป็นกัมมปัจจัย หรือเปล่า เป็น เป็นกัมมปัจจัยประเภทไหน สหชาตกัมมปัจจัย ดับแล้ว และอกุศลจิตที่เกิดต่อ เราจะพูดถึงสภาพธรรมที่พอปรากฏให้รู้ได้แต่จะไม่พูดละเอียดถึงขณะจิต สัมปฏิจฉันนะ สันตีรณะ แต่พูดถึงเฉพาะที่เราพอจะรู้ได้ว่า หลังเห็นแล้วเป็นกุศลก็ได้ เป็นอกุศลก็ได้ จริง หรือเปล่า แล้วเจตนาเจตสิกซึ่งเกิดกับกุศลจิตซึ่งกำลังมีสิ่งที่ปรากฏทางตาเป็นอารมณ์ได้ไหม ได้ใช่ไหม เพราะว่ารูปยังไม่ดับ กุศลจิต อกุศลจิตเกิดก่อนที่รูปจะดับ เพราะฉะนั้นก็ต้องมีกุศลเจตนา หรืออกุศลเจตนาเกิดด้วยถูกต้องไหม ถ้าขณะนั้นอกุศลจิตเกิดหลังเห็น เจตนาซึ่งเกิดก็เป็นอกุศลเจตนา เป็นกรรม หรือเปล่า เป็น เป็นกรรมประเภทไหน สหชาตกัมมปัจจัย กรรมมี ๒ อย่าง สหชาตกัมมปัจจัยเกิดพร้อมกันแล้วดับไปแต่ถ้านานักขณิกกัมมะคือว่า ยังให้ผลที่จะทำให้วิบากเกิดในภายหลังได้ จึงชื่อว่า นานักขณิกกะ ต่างขณะกับขณะนั้นคือ ให้ผลในภายหลังที่กรรมนั้นได้กระทำแล้ว เพราะฉะนั้นกุศลจิต หรืออกุศลจิตที่เกิดหลังเห็นเป็นกัมมปัจจัย หรือเปล่า เป็นกรรม และเป็นกัมมปัจจัยประเภทไหน สหชาตกัมมปัจจัย หรือนานักขณิกกกัมมปัจจัย ต้องชัดเจน

    ผู้ฟัง เป็นสหชาตกัมมปัจจัย

    ท่านอาจารย์ แน่ใจนะคะ คือแม้รูปยังไม่ดับ กุศลจิต อกุศลจิตก็เกิดได้ และต้องมีเจตนาเจตสิกเกิดร่วมด้วยทุกครั้ง เพราะฉะนั้นเจตนาเจตสิกที่เกิดกับอกุศลจิตหลังจากเห็นแล้วเป็นกรรม หรือเปล่า ต้องเป็นแน่นอน เป็นปัจจัย หรือเปล่า

    ผู้ฟัง เป็นคะ

    ท่านอาจารย์ เป็นกัมมปัจจัยประเภทไหน เห็นไหมการศึกษาธรรมถ้าเข้าใจละเอียดขึ้น เราจะไม่ไขว้เขว ไม่เป็นนานักขณิกกัมมะ ไม่ใช่กุศลกรรมบท หรืออกุศลกรรมบทแต่เป็น “อุปนิสสยปัจจัย” นี่คือ ความละเอียดของธรรมเพราะเหตุว่า ทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิด สะสม สืบต่อ อกุศลเกิดแล้วจะไปไหน บอกกันแล้วไงว่า สะสมอยู่ในจิตโดยฐานะอะไร ไม่ถึงความเป็นกัมมปัจจัยที่เป็นนานักขณิกกัมมปัจจัยเพราะขณะนั้นไม่ใช่กุศลกรรมบท หรืออกุศลกรรมบท แต่ว่า สะสมมีกำลังที่จะเกิดอีกเมื่อเห็นอีกจึงเป็นอุปนิสสยปัจจัย “นิสสย” หมายความถึง ที่อาศัย “อุป” หมายความว่า ที่มีกำลัง นิดๆ หน่อยๆ แต่ละครั้งก็สะสมจนมีกำลัง

    ลองคิดดูจิตของแต่ละคนเป็นอย่างไร สะอาด หรือเปล่า เต็มไปด้วยเชื่อโรค เต็มไปด้วยความต้องการ เต็มไปด้วยโลภะ โทสะ เวลาที่จิตเกิดขึ้นเห็นไม่มีโอกาสที่โลภะ โทสะ หรือกิเลสใดๆ กุศลใดๆ ที่สะสมมาจะเกิดได้ ถูกต้องไหม เป็นผลของกรรมที่ทำให้จิตเห็นเกิดขึ้นพร้อมเจตสิก ๗ ดวง แต่ว่าพอถึงเวลาที่อกุศลเกิดได้ ออกมาเลย ยับยั้งไม่ได้ เหมือนกับวิ่งมาเลยที่ใช้คำว่า เสพย์ ไม่หยุด มีทางออกนิดเดียว ออกแล้ว เห็นไหมกำลังของอุปนิสสยปัจจัย ไม่มีใครไปกั้นได้เลยเว้นผู้ที่ดับกิเลสแล้ว แม้เห็นก็ต่างกับผุ้ที่ยังมีกิเลสที่ยังไม่ได้ดับ เห็นอย่างไร เห็นอะไร ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ก็ไม่เกิดอกุศล หรือกุศลใดๆ ทั้งสิ้นเพราะปัญญาได้ดับเหตุที่จะทำให้เป็นกุศล และอกุศลซึ่งจะทำให้เกิดผลคือ ไม่มีการเกิดอีกเลย นี่คือความละเอียดที่จะรู้ว่า ถ้าเป็นกัมมปัจจัยก็จะทำให้เกิดวิบากซึ่งเป็นผล พูดถึงรูปที่ยังไม่ดับเวลาที่มีการเห็น และถึงวาระซึ่งสามารถที่จะเกิดเป็นกุศล และอกุศลไม่ได้รั้งรอเลยเพราะอุปนิสสยปัจจัย เป็นอย่างนี้แต่ก็ไม่รู้ใช่ไหม สะสมต่อไปอีก เป็นอุปนิสสยปัจจัยต่อไปอีก

    แล้วใครจะพ้นจากอกุศลถ้าไม่มีปัญญาที่สามารถจะเห็นถูกเข้าใจถูกตามความเป็นจริงได้ และปัญญาก็มีไม่ได้ถ้าไม่มีการฟัง ไม่มีการไตร่ตรอง ไม่มีความเข้าใจละเอียดในความเป็น “ธรรม” ไม่ใช่ตัวตน เพราะฉะนั้นฟัง “ธรรม” ไม่ลืมเพราะว่า บางคนฟังธรรมแล้วจะปฏิบัติ จะทำอย่างไร แต่นั่นไม่ใช่เข้าใจธรรม “ฟังธรรม” ก็คือ เข้าใจว่า เป็นธรรม ไม่ใช่เราจนกว่าจะหมดความเป็นเราแต่ว่า ถ้าฟังธรรมแล้วยังเป็นเราก็คือ ยังไม่เข้าใจธรรม เพราะฉะนั้นไม่ว่าจะคิด คิดนั้นก็เป็นธรรม เป็นกุศล อกุศล ทั้งหมดก็เป็นธรรมซึ่งไม่ใช่เรา ด้วยเหตุนี้ต้องเป็นผู้ที่ชัดเจน เดี๋ยวก็ถึงเวลารับประทานอาหารแล้ว ชอบอาหารอร่อย ขณะนั้นที่ชอบเกิดขึ้นมีเจตนาเจตสิกเกิดร่วมด้วย หรือเปล่า

    อ.ธิดารัตน์ มีคะ

    ท่านอาจารย์ ตอนนี้ต้องมีแน่นอน แล้วเจตนาจเตสิกนั้นเป็นกรรม หรือเปล่า

    อ.ธิดารัตน์ เป็น

    ท่านอาจารย์ เป็นกัมมปัจจัย หรือเปล่า

    อ.ธิดารัตน์ เป็นกัมมปัจจัย

    ท่านอาจารย์ เป็นกัมมปัจจัยประเภทไหนใน ๒ ประเภท

    อ.ธิดารัตน์ เป็นโดยการเกิดพร้อม สหชาตกัมมปัจจัย

    ท่านอาจารย์ สหชาตกัมมปัจจัย ไม่อย่างนั้นชอบรับประทานกุ้งก็ไปเป็นกรรมแล้ว หรือที่จะให้ผลเป็นวิบาก เป็นไปไม่ได้เลยแต่ทำไมชอบ สะสมความพอใจในสิ่งที่ชอบจนปรากฏว่า ทันทีที่รสปรากฏ ไม่รีรออีกเหมือนกัน อกุศลพร้อมที่จะไปสู่อารมณ์นั้น หรือหลั่งไหล หรือจะใช้คำอะไรก็ได้ รวดเร็วที่สุดจึงใช้คำว่า “ชวน” เร็ว ถึงเวลาที่จะออกไปอย่างร็วที่จะเป็นกุศล หรืออกุศล เพราะฉะนั้นแล้วทำไมชอบอาหารนี้ บางคนอาจจะชอบปลา บางคนอาจจะชอบกุ้ง เสพย์บ่อยๆ มีความพอใจจนกระทั่งพอเห็นแล้วเอื้อมมือไปตักได้ตามเหตุตามปัจจัย เพราะฉะนั้นชีวิตทั้งหมดจะไม่พ้นจากธรรมที่เป็นจิต เจตสิก รูป เป็นอนัตตา ฟังเพื่อให้รู้ความจริงว่า เข้าใจธรรมว่าเป็นธรรมยิ่งขึ้นเมื่อไหร่ โดยเข้าใจถึงลักษณะที่กำลังปรากฏแต่ละ ๑ ซึ่งปรากฏสั้นมาก

    เพราะนั้น การศึกษาธรรมคือ ต้องชัดเจนที่จะรู้ว่า ขณะไหนเป็นธรรมอะไร ไม่ใช่ไม่มีธรรม มีธรรมตลอดเวลาแต่ไม่เคยรู้ความเป็นธรรม เพราะฉะนั้นฟังเพื่อที่จะมีความเข้าใจยิ่งขึ้นจนกระทั่ง “ปริยัติ” รอบรู้ในพุทธพจน์ซึ่งกล่าวถึงสภาพธรรมที่มีจริงตามความเป็นจริง แล้วจึงจะเป็นปัจจัยให้สติสัมปชัญญะเข้าใจสิ่งที่กำลังปรากฏ ไม่มีเราทำเลยล้วนแต่เป็นเจตสิกแต่ละ ๑ ก่อนจะเป็นปัญญาเจตสิกก็มีมนสิการเจตสิกซึ่งเป็นชื่อเพราะว่า สภาพธรรมไม่ได้ปรากฏแต่ว่า ไม่ใช่สภาพธรรมเดียวกันโดยลักษณะ โดยกิจ โดยอาการที่ปรากฏ หรือโดยเหตุใกล้ ที่ทรงแสดงไว้โดยละเอียด เพราะฉะนั้นกำลังรักษาจิตด้วยการฟังพระธรรมให้เข้าใจความจริงทีละเล็กทีละน้อย แล้วจิตจะค่อยๆ สะอาดขึ้นจนกระทั่งสามารถรู้ความจริงในขณะที่กำลังฟังเรื่องสิ่งที่กำลังปรากฏ หนทางเดียว กินยา

    อ.วิชัย ท่านอาจารย์ที่กล่าวถึงพระผู้มีพระภาค “พระสัมมาสัมพุทธ” ที่พระองค์ทรงเห็นธรรมทั้งปวงด้วยญาณจักษุซึ่งหมายถึงพระองค์ทรงรู้อริยสัจจะแต่ถ้าบุคคลที่มีโอกาสได้ฟังคำว่า “อริยสัจจะ” คืออะไร และปัญญาที่รู้ในอริยสัจจะคืออย่างไรสำหรับบุคคลที่อาจจะเริ่มฟัง และได้ยินคำว่า “พุทธ”

    ท่านอาจารย์ ได้ยินมาแล้วกี่คำตั้งแต่ต้น นับไม่ถ้วนเลยใช่ไหม แล้วเข้าใจว่า รู้จักพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าจากคำต่างๆ เหล่านี้ หรือยัง หรือว่าเพียงได้ฟังแต่การที่จะรู้ถึงพระปัญญาทั้งหมดที่เป็นผู้ที่เบิกบาน ผู้ที่ทรงเป็นผู้ตื่นจากกิเลสเหล่านี้ สามารถที่จะเป็นความเข้าใจจริงๆ หรือจำว่า คำว่า “พุทธ” มีความหมายอะไรบ้าง และทรงตรัสรู้อะไร เพราะฉะนั้นตามความเป็นจริงคือว่า ปัญญาเท่านั้นที่สามารถจะรู้พระคุณของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าแต่ถ้าไม่ใช่ปัญญา เอาข้อความนี้ไปอ่านให้ใครฟัง อย่างมากที่สุดก็คือ เขาจำคำที่เขาได้ยินแต่เขาไม่รู้เลยในความเป็น “พุทธ” เพราะฉะนั้นที่สำคัญที่สุดไม่ว่าจะมีคำมากมายอย่างไร แต่ต้องรู้ตามความเป็นจริงว่า “ตรัสรู้” คืออะไร เป็นชื่อ ๑ แน่นอน

    ผู้ที่ทรงตรัสรู้ ตรัสรู้กับรู้ธรรมดาๆ อย่างที่ทุกคนรู้เหมือนกัน หรือเปล่า หรือว่ามีความต่างจนต้องใช้คำพิเศษว่า “ตรัสรู้” ซึ่งต่างจากคำที่ทุกวันๆ เราเคยใช้คำนี้ไหม ไม่มีใครจะใช้ได้เลย “ใครตรัสรู้?” “ตรัสรู้อะไรวันนี้บ้าง?” เป็นสิ่งซึ่งเป็นไปไม่ได้เลย ต้องเป็นคำพิเศษที่หมายความว่า รู้สิ่งที่เป็นจริง รู้ความจริงของสิ่งที่มีจริงๆ

    เพราะฉะนั้น การที่จะรู้จักพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่มีทางอื่น นอกจากเกิดปัญญา และมีความเห็นที่ถูกต้อง และแม้แต่แต่ละคำที่ได้ยิน แต่จะยังไม่ข้ามไปถึงคำอื่นเลยเพราะอีกมากมายหลายคำในพระไตรปิฎก แต่ต้องมาจากความเข้าใจจริงๆ แม้แต่ทีละ ๑ คำเช่น พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ความจริงของสิ่งที่มีจริงๆ เมื่อไหร่ ก็คือเดี๋ยวนี้ ถ้าสิ่งที่มีจริงเดี๋ยวนี้ไม่มีใครตรัสรู้ หรือรู้ความจริง คนนั้นจะชื่อว่าเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่ได้เลย เพราะฉะนั้นการที่จะรู้จักพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็คือ เริ่มฟังพระธรรมที่ทรงแสดงจากการที่ทรงตรัสรู้ แล้วจะเริ่มเข้าใจความหมายของแต่ละคำที่ได้ยิน เช่นคำว่า “ผู้ตื่นจากกิเลส” แสดงความต่างกันแล้วสำหรับผู้ที่ไม่ใช่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ถ้าไม่มีการได้ยินได้ฟังธรรมเลย “ตื่น” ได้อย่างไร กิเลสอยู่ที่ไหนก็ไม่รู้ หนทางที่จะตื่นก็ไม่มี

    เพราะฉะนั้น ก็เป็นแต่เพียงคำที่ได้ยินว่า “ผู้ทรงตื่นจากกิเลส” แต่คนฟังก็ยังไม่รู้เลยว่า กิเลสอยู่ที่ไหน และเดี๋ยวนี้เป็นกิเลส หรือเปล่า และจะตื่นได้ไหม กำลังหลับอยู่ก็ยังไม่รู้ว่า นี่ตื่น หรือหลับ ในขณะที่กำลังได้ยินได้ฟังธรรม เพราะฉะนั้นจึงเป็นเรื่องที่ละเอียดมากซึ่งแต่ละคนจะรู้จักตัวเองตามความเป็นจริง คนอื่นไม่สามารถรู้แทนได้เลย เพราะฉะนั้นเป็นผู้ที่ตรง ฟัง และเริ่มที่จะมีความเห็นถูก มีความเข้าใจถูกในแต่ละคำ หรือแม้แต่คำว่า ตรัสรู้ ยังไม่ต้องพูดถึงคำว่า ตรัสรู้ เพราะตรัสรู้ไม่ได้ ต้องมีความเข้าใจตามลำดับ เพียงขอถามว่า ที่นี่ เดี๋ยวนี้มีมหาภูตรูปไหม คำตอบดูไม่ยากใช่ไหม มหาภูตรูปใครไม่รู้จักบ้าง ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม ธาตุดินอ่อน หรือแข็ง ธาตุไฟเย็น หรือร้อน ธาตุลมไหว หรือตึง ธาตุน้ำเกาะกุมซึมซาบทำให้รูปที่เกิดร่วมกันไม่ขาดจากกันไป เพราะฉะนั้นเดี๋ยวนี้มีมหาภูตรูปไหม

    อ.วิชัย มี

    ท่านอาจารย์ มี ไม่ยากเลย ตอบได้ว่ามี ไหนล่ะ

    อ.วิชัย แข็งขณะนี้ สัมผัสได้

    ท่านอาจารย์ ที่ไหน ลองบอกหน่อย

    อ.วิชัย เช่น จับปากกานี้ก็รู้สึกแข็ง

    ท่านอาจารย์ ปากกา อะไรอีก

    อ.วิชัย โต๊ะ

    ท่านอาจารย์ โต๊ะ อะไรอีก

    อ.วิชัย กระดาษ

    ท่านอาจารย์ กระดาษ อะไรอีก

    อ.วิชัย ก็หลายอย่างครับท่านจารย์

    ท่านอาจารย์ หลายอย่างไม่จบ จนกว่าจะจบที่ตัวมีไหม ลืมไปเลยใช่ไหม พอคิดถึงมหาภูตรูปก็นั่นไง ดอกไม้ โต๊ะ เก้าอี้ ปากกา แต่ที่ตัวของแต่ละคนมีมหาภูตรูปจึงไม่ใช่เรา ลืมอีกแล้วใช่ไหมแม้แต่คำว่า ธรรมคือสิ่งที่มีจริง และเป็นอนัตตาด้วย พูดได้ทุกอย่างตามพระไตรปิฎกแต่ว่าลืม มหาภูตรูปที่ไหน ที่คุณวิชัยมีไหม มี คุณอรรณพมีไหม แต่ลืมใช่ไหมว่า เป็นมหาภูตรูป เป็นคุณวิชัย เป็นคุณอรรณพ เป็นดอกไม้ เป็นโต๊ะ เป็นเก้าอี้ แล้วอย่างนี้จะเข้าใจธรรมที่ถึงการที่จะละการยึดถือว่า เป็นตัวตน หรือเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใดได้ไหม ในเมื่อแต่ละคำก็จูงเราไปให้คิดเรื่องชื่อ เรื่องคำ เรื่องอะไรต่างๆ แต่ว่า ตามความเป็นจริงหลับ หรือเปล่าที่ไม่รู้ว่า เป็นมหาภูตรูป มีเราตั้งแต่เช้าเลยทั้งเห็น ทั้งได้ยิน ทั้งอ่อน ทั้งแข็งสารพัด แต่ไม่ได้เป็นธรรม เพราะฉะนั้นหลับ หรือตื่นใช่ไหม แล้ววันนี้หลับตลอด หรือเปล่าระหว่างที่ยังไม่ได้รู้ความจริงของสภาพธรรมเลย

    เพราะฉะนั้น แม้แต่จะเข้าใจความหมายของคำว่า “ตื่นจากกิเลส” ต้องเข้าใจว่า ตราบใดที่มีสภาพธรรมแล้วไม่เคยคิดถึงความเป็นจริงของสภาพธรรมเลย เพียงแต่ฟังๆ ๆ คิดๆ ๆ เหมือนกับว่า เข้าใจเรื่องราวแต่ลืมทุกอย่างที่ปรากฏโดยเฉพาะที่เคยยึดถือว่า เป็นเรา คุณวิชัยเมื่อกี้นี้ก็ตอบหลายอย่างที่เป็นมหาภูตรูปทั้งปากกา ทั้งโต๊ะ แต่ที่ตัวของทุกคนเป็นรูปที่มีจริง เกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย และกำลังเกิดดับด้วย เพราะฉะนั้นที่จะไม่ลืมความจริงที่เคยเป็นเรา เคยหลงเข้าใจว่า เป็นคนนั้น คนนี้ เรื่องราวต่างๆ มากมาย นึกออกไหมว่า ไม่ใช่ใครเลยทั้งสิ้นแม้แต่รูปที่แต่ละคนกำลังมีขณะนี้ก็เป็นรูปที่เป็นมหาภูตรูปซึ่งไม่มีเจ้าของ ไม่ใช่ของใคร มีปัจจัยเกิดขึ้นแล้วดับไป เพราะฉะนั้นการฟังธรรมก็มีหลายนัยที่จะทำให้เกิดความคิดความเข้าใจที่ถูกต้องของตนเองที่จะไม่ลืมไม่ว่าได้ยินคำไหน เช่นคำว่า “ธรรม” คือสิ่งที่มีจริง “มหาภูตรูป” หรือว่ากำลังหลับก็ยังไม่ตื่น

    เพราะฉะนั้น ผู้ที่รู้ความจริงว่า แท้ที่จริงแต่ละวันหลับทั้งวัน หรือเปล่า เพราะไม่รู้ความจริงของสิ่งที่ปรากฏไม่ว่าจะภายนอก หรือภายในที่ตัวก็ไม่ได้รู้ความจริงเลย จะชื่อว่า “ตื่น” ได้อย่างไร แต่ตื่นได้เมื่อปัญญาเกิด แต่ถ้าปัญญาไม่เกิดจะรู้ได้อย่างไรว่า สิ่งที่ปรากฏไม่มีอะไรเลยนอกจากสิ่งนั้นที่เกิดขึ้นปรากฏแล้วหมดไปเร็วมาก สอดคล้องกับข้อความในพระไตรปิฎกไม่ว่าจะส่วนไหนของพระไตรปิฎก เพียงอาศัยระลึกก็ไม่ระลึกแล้วจะรู้ได้อย่างไรว่า เกิดแล้วดับแล้ว แต่ถ้าขณะนั้นสิ่งที่มีจริงขณะนี้เพียงอาศัยระลึกด้วยความเข้าใจที่ถูกต้องว่า ไม่เที่ยงเพียงแต่เกิดขึ้นปรากฏแล้วหมดไป ขณะนั้นเป็นการที่จะตื่นแต่ถ้าไม่รู้อย่างนี้ก็ตื่นไม่ได้ ก็หลับต่อไปทุกวัน และทุกชาติจนกว่าจะเข้าใจความจริงของสภาพธรรม เมื่อเข้าใจอย่างนั้นจึงจะเข้าใจความหมายว่า ตรัสรู้หมายความว่าอะไร ไม่ใช่คิดไตร่ตรองถึงเรื่องสิ่งที่มีจริงแต่สามารถจะรู้ความจริงโดยการประจักษ์แจ้ง เพราะว่าได้อบรมความเห็นถูก และบารมีคือ กุศลทั้งหลายซึ่งรักษาจิตซึ่งเต็มไปด้วยความไม่รู้ให้เบาบางจนกระทั่งไม่ว่าอะไรจะปรากฏทางหนึ่งทางใด ความเห็นถูกซึ่งสะสมมาแล้วก็สามารถเข้าใจถูกได้ ไม่ใช่หมายความว่า ให้เราไปทำอะไรเพื่อที่จะรู้การเกิดดับโดยที่ไม่เข้าใจแม้แต่สิ่งที่กำลังมีในขณะนี้ และยึดถือว่าเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใด เพราฉะนั้นแต่ละคำอย่าเพิ่งข้ามไปถึงคำอื่น


    ฟังธรรมจากหัวข้อย่อย

    หมายเลข 193
    21 ธ.ค. 2566

    ซีดีแนะนำ