พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 857


    ข้อความนี้อยู่ระหว่างตรวจสอบแก้ไข

    ตอนที่ ๘๕๗

    ที่มูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา

    วันอาทิตย์ที่ ๒๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๖


    ท่านอาจารย์ ชาติ (ชา-ติ) คือการเกิด ทุกคนขณะนี้เกิดเป็นอะไร สัตว์โลกเป็นมนุษย์ "ช่วยชาติ (การเกิดเป็นมนุษย์) ให้พ้นภัยจากนรก ช่วยชาติให้พ้นภัย แต่ถ้าไม่มีการเกิดแล้วชาติอยู่ไหน และเมื่อเกิดแล้วมีภัยอะไรบ้างก็ไม่รู้ ตั้งแต่เกิดภัยแรกก็คือความไม่รู้ เกิดเพราะไม่รู้ เกิดมาแล้วก็ไม่รู้ อยู่ไปก็คือไม่รู้ จากไปก็คือไม่รู้เป็นภัยซึ่งมองไม่เห็นเลย เพราะฉะนั้นถ้ามีความเข้าใจจริงๆ แต่ละคำในภาษาที่เราใช้ ภาษาไทยธรรมดา แต่ถ้าคนไม่เข้าใจก็คิดไปอีกอย่างหนึ่ง ช่วยชาติให้พ้นภัยก็คิดไปอีกอย่าง แต่ว่าถ้าเข้าใจจริงๆ ชาติคือการเกิด และเกิดมาแล้วมีภัยมาก โดยภัยที่สำคัญที่สุดคืออกุศลซึ่งเป็นสภาพธรรม หรือธาตุที่ไม่ดีไม่รู้ความจริงไม่เข้าใจความจริง เพราะฉะนั้นทุกคนเกิดมาพฤติกรรมต่างกันเพราะไม่รู้ความจริง เพราะฉะนั้นก็เพราะไม่รู้ทั้งนั้น ไม่ว่าทำอะไรก็เพราะไม่รู้ นี้ก็คือการที่เราจะเข้าใจธรรมแต่ละคำ ลึกซึ้ง และก็เข้าถึงธรรม เพราะว่าคำที่เราใช้ก็มีความหมาย มีสัตว์โลก มีมนุษย์ มีเรื่องราว มีความประพฤติ มีความเป็นไปต่างๆ แต่ทั้งหมดเป็นธรรม โดยที่ว่าถ้าไม่ศึกษาเราก็จะไม่เข้าใจเลย แต่ว่าเมื่อได้ศึกษาแล้วแต่ละคำมีความหมายซึ่งละเอียด และก็สามารถที่จะรู้ว่าความจริงเป็นอย่างนั้นไม่เป็นอย่างอื่น

    โลกภายในกับโลกภายนอก ได้ยินแล้วใช่ไหม ทั้งหมดนี้เป็นเรื่องฉันทะ หรือไม่ ขณะใดก็ตามที่มีสภาพธรรมที่เกิดผู้ที่ทรงตรัสรู้ทรงแสดงความจริงไว้ว่าก็คือธาตุรู้ คือจิต และเจตสิก และรูปซึ่งไม่ใช่ธาตุรู้ เพราะฉะนั้นจิต เจตสิก ในขณะนี้เป็นสิ่งที่กำลังมีจริงๆ แต่ว่าจิตประเภทไหนไม่มีฉันทะเจตสิกเกิดร่วมด้วย สิ่งเหล่านี้เราฟังทำไม แต่ละคำฟังไม่ใช่เผิน ฟังแล้วเรื่องอิทธิบาท ฟังแล้วเรื่องฉันทะ แต่จะต้องมีความละเอียดที่ผู้ที่ตรัสรู้ทรงแสดงเพื่อให้เห็นความจริงว่าไม่ใช่เรา ไม่ว่าจะฟังข้อความในพระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก หรือพระอภิธรรมปิฎกก็ตาม ไม่ใช่เรา ไม่ต้องไปจำหมดแต่สาระก็คือทั้งหมดเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัยแล้ว"ไม่ใช่เรา" ฟังแล้วก็ยังเป็นเรา ฟังพอ หรือยัง ตราบใดที่ยังเป็นเราคือฟังไม่พอ

    เพราะฉะนั้นก็จะเห็นได้ว่าที่ทรงแสดงความละเอียดแม้แต่คำว่า "อภิธรรม" คือความละเอียดยิ่งของธรรมเพื่อให้รู้ความจริงว่าไม่ใช่เรา เพราะฉะนั้นคนที่ศึกษาละเอียดจะพบว่า "ฉันทะ" มีจริงๆ ความพอใจที่จะกระทำมีจริงๆ เกิดกับอะไร เกิดกับจิต เพราะเหตุว่าฉันทะเป็นนามธรรมเป็นธาตุรู้ เพราะฉะนั้นธาตุรู้จะไม่เกิดกับรูปเลย ธาตุรู้มี ๒ อย่างคือจิตกับเจตสิกซึ่งต่างกัน จิตไม่ใช่เจตสิกแน่นอน และเจตสิกก็ไม่ใช่จิต ไม่ว่าจะเป็นเจตสิกใดๆ ก็ไม่ใช่จิต ไม่ว่าจิตใดๆ ก็ไม่ใช่เจตสิก นี้คือความตรงความจริงที่เปลี่ยนแปลงไม่ได้จึงใช้คำว่า"ปรมัตถธรรม" เป็นอภิธรรมที่ละเอียดลึกซึ้งมาก เพราะฉะนั้นจิตเป็นใหญ่เป็นประธานในการรู้สิ่งที่กำลังปรากฎ ขณะนี้มีสิ่งที่กำลังปรากฎให้เห็น จิตเห็นไม่ใช่ใครเห็น สิ่งที่กำลังปรากฎเดี๋ยวนี้เพราะจิตเกิดขึ้นเห็น เสียงปรากฎว่ามีเสียง เพราะเหตุว่าจิตขณะนั้นเกิดขึ้นได้ยินเสียง เพราะฉะนั้นจิตไม่ใช่เราแต่เป็นสิ่งที่มีจริง จะใช้คำว่า "ธรรม" หรือจะใช้คำว่า "ธาตุ" (ธา-ตุ) ก็ได้ เพราะเหตุว่าไม่ใช่ของใคร เกิดขึ้นแล้วเปลี่ยนแปลงให้เป็นอย่างอื่นไม่ได้เลย เกิดขึ้นเป็นอย่างนั้นแล้วเป็นอย่างนั้นแล้วดับไป เพราะฉะนั้นจิตไม่ใช่เจตสิก เจตสิกไม่ใช่จิต เมื่อจิตเป็นใหญ่เป็นประธานในการรู้แจ้งสิ่งที่กำลังปรากฎขณะนี้ ก็จะมีเจตสิกเกิดร่วมด้วย เพราะคำว่า"เจตสิก"หมายถึงสภาพรู้ซึ่งเกิดกับจิต จะไม่เกิดที่อื่นเลย ไม่ว่าเจตสิกใดๆ เกิดกับจิตเท่านั้น

    เพราะฉะนั้น"จิต"กับ"เจตสิก"เกิดด้วยกัน พร้อมกัน อาศัยกัน แต่แม้กระนั้นจิตก็เป็นใหญ่เป็นประธานในการรู้ เพราะเหตุว่าจิตไม่รัก ไม่ชัง ไม่โกรธ ไม่อะไรทั้งนั้น แต่กำลังมีสิ่งหนึ่งสิ่งใดปรากฎจิตกำลังรู้สิ่งนั้น ส่วนเจตสิกที่เกิดกับจิตต่างกันเป็น ๕๒ ประเภท หลากหลายมากไม่ต้องจำชื่อ เพราะว่าขณะนี้ก็ไม่รู้ว่าเจตสิกอะไร แต่เริ่มเข้าใจตามความเป็นจริงว่ามีจิตแน่นอน จะว่าจิตเกิดโดยไม่อาศัยเจตสิกได้ไหม หรือจะว่าเจตสิกเกิดโดยไม่อาศัยจิตได้ไหม คำตอบคือไม่ได้ เพราะเหตุว่าไม่ว่าจะเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใดก็ตามที่เกิดขึ้น ต้องมีสิ่งที่อาศัยสิ่งนั้นแหละเป็นปัจจัยสนับสนุนเกื้อกูลให้เกิดขึ้น

    เพราะฉะนั้นทั้งจิต และเจตสิกเกิดพร้อมกันอาศัยกัน และกันเกิดขึ้น เมื่อจิตเป็นสภาพรู้ หรือธาตุรู้ซึ่งเป็นใหญ่เป็นประธานในการรู้สิ่งที่ปรากฎ ฉันทะเป็นอะไร ได้ยินคำว่า"ฉันทะ" เมื่อซักครู่นี้ และก็ฟังเพื่อเข้าใจ ความสำเร็จที่จะเข้าใจคำที่ได้ยินได้ฟังก็ต้องอาศัยการฟัง และการไตร่ตรองด้วย ไม่ใช่เพียงได้ยิน แล้วเขาบอกว่า แต่ต้องเข้าใจจริงๆ ว่าคืออะไร เพราะฉะนั้นฉันทะเป็นสภาพธรรมที่มีจริงแน่นอนใช่ไหม เป็นอะไร

    อ.วิชัย เป็นเจตสิก

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น ฉันทะขณะนี้มีไหม

    อ.วิชัย มี

    ท่านอาจารย์ มี ตอบง่ายมาก ง่ายเกินไป เผินมากที่ว่าคือมีฉันทะจึงได้มาฟัง แต่พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงว่าจิตมีกี่ประเภท จิตใดไม่มีฉันทะเจตสิกเกิดร่วมด้วย ซึ่งเมื่อสักครู่ เมื่อถามว่าเดี๋ยวนี้มีฉันทะเจตสิกไหม ตอบว่ามีใช่ไหม แต่รู้ไหมละเอียดกว่านั้นว่าที่ว่ามีนั้น มีเมื่อไหร่ ถ้าพระผู้มีพระภาคไม่ทรงแสดงจะไม่เห็นความเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า เพราะเหตุว่าในขณะที่ตอบว่ามีฉันทะ จิตเกิดดับสืบต่อนับไม่ถ้วน ไม่ปรากฎการเกิดดับสืบต่อ นับไม่ถ้วนจริงๆ เพราะว่าจิตเกิดขึ้นรู้เพียงหนึ่งแล้วก็ดับ แต่เวลานี้มีคนหลายคน มีโต๊ะ มีเก้าอี้ มีดอกไม้ มีทุกสิ่งทุกอย่าง แสดงว่าจิตเกิดดับนับไม่ถ้วนเท่าไหร่แล้ว แต่กระนั้นก็ทรงแสดงว่าจิตประเภทไหนไม่มีฉันทะเจตสิกเกิดร่วมด้วยเพราะเหตุใด ยังไม่ถึงอิทธิที่จะรู้ความจริงที่จะประจักษ์ความจริง แสดงให้เห็นว่าต้องอาศัยการฟังพระธรรมที่ทรงแสดงว่า เพราะว่าใครก็ไม่สามารถจะคิดเองได้ เพราะฉะนั้นก็เป็นเรื่องที่ละเอียดจริงๆ ที่ฟังทุกครั้งเพื่อเข้าใจขึ้น

    อ.วิชัย กราบท่านอาจารย์ ถ้ากล่าวถึงฉันทะ ซึ่งผู้มีพระภาคทรงแสดงว่าโดยเป็นกุศลก็มี เป็นอกุศลก็มี คือความรู้ความเข้าใจจะเข้าใจอย่างไรว่าการที่จะมีฉันทะในการฟังสิ่งต่างๆ แล้วฉันทะนั้นจะให้เกิดความรู้ความเข้าใจถูก

    ท่านอาจารย์ ขณะนี้เพียงแค่รู้ว่ามีฉันทะ แต่เราก็ไปพูดถึงกุศล และอกุศล โดยที่ว่าฉันทะก็ดับไป ธรรมทั้งหลายที่เกิดก็ดับไปเร็วมากทีเดียว เพราะฉะนั้นรู้ หรือเปล่าว่าเป็นธรรม เริ่มต้นที่ไม่ใช่ทั้งกุศล และอกุศล แต่เริ่มต้นที่ขณะนี้ เดี๋ยวนี้ สิ่งใดๆ ก็ตามที่มีมีจริงๆ คือธรรมในภาษาบาลี ในภาษามาคธี ซึ่งเมื่อพระผู้มีพระภาคทรงแสดงเทศนาแก่ชาวมคธ ชาวมคธเข้าใจ ถ้าใช้ภาษาไทยอย่างนี้กับชาวมคธ ชาวมคธไม่เข้าใจเลย และที่นี่เราเป็นคนไทยถ้าจะใช้ภาษามคธก็ไม่มีใครเข้าใจ เพราะฉะนั้นเมื่อทรงแสดงธรรมกับใครก็ใช้ภาษาที่เขาเข้าใจได้ ด้วยเหตุนี้ทุกคำที่เป็นความจริงเป็นคำที่มีอยู่ในภาษามาคธี ในภาษาบาลีซึ่งชาวเมืองกำลังเข้าใจในขณะที่ฟังเพราะเขาใช้ภาษานั้น เพราะฉะนั้นสำหรับที่นี่เป็นคนไทยที่จะเข้าใจจริงๆ ก็คือว่าใช้ภาษาไทย ด้วยเหตุนี้แต่ละคำแม้แต่ "ฉันทะ" เคยได้ยินมาก่อน หรือไม่ "ฉันทะ" แล้วแต่ฉันทะ ใครจะทำอะไรก็แล้วแต่ฉันทะ แต่ไม่รู้ว่าฉันทะเป็นเรา หรือเป็นอะไร เพราะฉะนั้นก็มีชื่อฉันทะ มีชื่อกุศลธรรม มีชื่ออกุศลธรรม ล้วนมีชื่อหมด แต่ชื่อแสดงถึงสิ่งที่มีจริงแต่ละอย่างไม่เหมือนกันเลย เพราะฉะนั้นชื่อจึงต่างกันไป แม้แต่จิตก็ไม่ใช่เจตสิก แม้แต่เจตสิกแต่ละหนึ่งก็ต่างกันเป็นแต่ละหนึ่งรวมทั้งหมดประเภทใหญ่ๆ ก็คือ ๕๒ ประเภท

    เพราะฉะนั้น"ฉันทะ"เป็นเจตสิกหนึ่งใน ๕๒ ประเภท ใครรู้จักฉันทะเดี๋ยวนี้บ้าง เพียงได้ยินชื่อ นี้คือปริยัติ พระธรรม หรือปัญญาที่จะเข้าใจสิ่งที่พระผู้มีพระภาคทรงตรัสรู้ และทรงแสดงต้องตามลำดับจริงๆ ต้องอาศัยการฟัง และการไตร่ตรอง และการพิจารณาด้วย เพราะฉะนั้น ถามว่าเดี๋ยวนี้มีฉันทะไหม ตอบว่ามีแต่ไม่รู้จัก ถามว่าขณะนี้เป็นกุศล หรือเป็นอกุศล ใครจะตอบอย่างไรก็ได้เพราะมีทั้ง ๒ อย่าง ใช่ หรือไม่ เพราะกุศลก็มี อกุศลก็มี แต่ก็ไม่รู้จักทั้งกุศล และอกุศล ถ้าจะถามว่าขณะนี้มีผลของกุศล และผลขออกุศล หรือไม่ ก็ตอบได้อีกแต่ก็ไม่รู้จักซักอย่างเดียว นี่เป็นเหตุที่ว่าการฟังธรรมเพื่อเข้าใจสิ่งที่กำลังมี แม้แต่คำถามของคุณวิชัยก็จะต้องเข้าใจสิ่งนั้นแหละที่ถามซึ่งกำลังมีในขณะนี้ เพราะฉะนั้นขณะนี้ยังไม่รู้จักว่าเป็นธรรมคือสิ่งที่มีจริง แต่ว่ากำลังมีจริงๆ และกำลังฟังสภาพธรรมที่มีจริง แต่ว่าสภาพธรรมเกิดดับเร็วมาก แม้แต่ฟังว่าฉันทะเกิดกับจิตอะไรบ้างประเภทไหนบ้าง ฟังรู้เรื่อง แต่ฉันทะก็เกิดไปแล้วดับไปแล้ว เพราะฉะนั้นอาศัยการฟังให้เข้าใจว่าไม่มีใครสามารถที่จะเปลี่ยนแปลงธรรมได้เลย สิ่งที่มีจริงก็เป็นสิ่งที่มีจริงอาศัยการฟังก็เข้าใจขึ้นว่าเป็นเรา หรือไม่ ฉันทะเป็นเรา หรือไม่ โลภะเป็นเรา หรือไม่ เห็นเป็นเรา หรือไม่ ได้ยินเป็นเรา หรือไม่ ไม่ใช่แค่ให้ตอบแต่ต้องเข้าใจจริงๆ เริ่มเข้าใจจริงๆ ว่าฟังเรื่องสิ่งที่กำลังมีแล้วก็ค่อยๆ เข้าใจขึ้นจนกว่าจะประจักษ์แจ้งความจริงว่าเป็นอย่างที่ได้ฟังทุกอย่าง เพราะฉะนั้นก่อนอื่นคือไม่ใช่เรา ธรรมเป็นสิ่งที่มีจริง ชั่วคราวทั้งหมด

    อ.วิชัย ขอเรียนถามอาจารย์ธิดารัตน์เรื่องของสภาพธรรมก็มีหลายประการด้วยกัน ฉันทะก็เป็นธรรมอย่างหนึ่ง จึงขอความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องของฉันทะว่ามีลักษณะอย่างไร และฉันทะต่างกับโลภะที่เป็นความติดข้องอย่างไร

    อ.ธิดารัตน์ "ฉันทะ" ที่ท่านอธิบายคือมีความใคร่ที่จะทำเป็นลักษณะตามสำนวน แต่จริงๆ ก็คือลักษณะของความพอใจ แต่เวลาที่เราใช้คำว่าความพอใจ เหมือนกับเราจะคิดถึงแต่โลภะใช่ไหมที่ชอบ แต่จริงๆ ลักษณะของโลภะเป็นความติด ขณะที่ติดข้องในสิ่งใดสิ่งหนึ่งขณะนั้นเป็นลักษณะของโลภะที่เป็นความติด ทั้งความติด และโลภะเกิดด้วยกันแล้วก็เป็นนามธรรมที่กลมกลืนกันมาก แม้กระทั่งคำว่า"ฉันทราคะ" ซึ่งก็คือโลภะที่ประกอบด้วยฉันทะคือเป็นไปด้วยกัน ฉันทะจะเกิดกับโลภะเสมอไม่ว่าจะเป็นโลภะประเภทใดก็ตามไม่เคยขาดจากฉันทะเลย และลักษณะของฉันทะก็เป็นสภาพของเจตสิกที่สามารถจะมีกำลังได้ ตัวอย่างเช่น ขณะที่มีลักษณะของฉันทะที่มีกำลังที่จะเป็นไปในการเลือกสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เลือกสีที่ชอบ ติดข้องในสีนั้นด้วย แต่ก็จะมีการเลือกด้วยความพอใจที่มีลักษณะของฉันทะที่จะยกตัวอย่างได้ แต่จริงๆ ก็คือจะต้องระลึกรู้ลักษณะของฉันทะจึงจะรู้ฉันทะตามความเป็นจริงว่าลักษณะแค่ความพอใจที่ไม่ใช่ความติดข้องก็ยากมาก สภาพธรรมระหว่างโลภะกับฉันทะนี้ใกล้เคียงกันจริงๆ

    ท่านอาจารย์ โลภะในชีวิตประจำวันปรากฎ เช่น ชอบ อยากได้ ติดข้อง ต้องการ นี้เป็นลักษณะของโลภะ แต่ว่าความชอบ ความติดข้อง ความต้องการนี้ต้องการอะไร ยังชอบอยู่แต่ว่าต้องการอะไร

    อ.ธิดารัตน์ ส่วนใหญ่ก็รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ

    ท่านอาจารย์ และรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะก็มีมากมายไปหมด ชอบอย่างไหน

    อ.ธิดารัตน์ ก็ชอบอย่างไหนก็เลือกอย่างไหนด้วยฉันทะ

    ท่านอาจารย์ เลือกตามความพอใจ กุศลจิตมีหลายอย่าง เลี้ยงเด็กก็มี สร้างโรงเรียนก็มี ช่วยคนกำลังเจ็บไข้ก็มี ตั้งหลายอย่าง ฟังธรรมก็มี เพราะฉะนั้นใครทำอะไรเดี๋ยวนี้เพราะฉันทะ ก็ยังเป็นกุศลอยู่แต่เป็นประเภทที่พอใจฉันใด ทางอกุศลก็ฉันนั้นเหมือนกัน แม้แต่โทสะมีฉันทะเกิดร่วมด้วย คนที่เราพอใจเคารพนับถือทำอะไรก็ไม่โกรธ แต่คนที่เราไม่พอใจนับถือดี ดีแท้ๆ ก็ยังโกรธได้ นี่ก็แสดงให้เห็นว่าทั้งหมดจะขาดฉันทะไม่ได้ เป็นไปได้ทั้งกับกุศลก็ได้อกุศลก็ได้ ทำให้กุศล และอกุศลนั้นๆ ไปตามฉันทะที่มีความพอใจ เพราะฉะนั้นจะเห็นได้ว่าทรงแสดงว่าฉันทะไม่เกิดกับจิต ๒๐ ดวง ถ้ากล่าวถึงโดยประเภทที่ไม่ประกอบด้วยเหตุก็ ๑๘ ดวง แต่ว่าแม้กระนั้นฉันทะก็ยังไม่เกิดร่วมกับอกุศลจิต ๒ คือ โมหมูลจิต นี้คือความละเอียดของธรรม ลืมนิดลืมหน่อยไม่ได้เลย ถ้ากล่าวถึง ๑๘ ดวง หมายเฉพาะถึงอเหตุกจิตทั้งหมดซึ่งมี ๑๘ ประเภท ที่ไม่มีเหตุเกิดร่วมด้วยเลยแม้เหตุเดียว แต่ว่าแม้กระนั้นฉันทะก็ไม่เกิดกับจิตที่มีเพียงโมหเจตสิกเกิดร่วมด้วย เมื่อเป็นโมหะแล้วจะมีฉันทะอะไรที่ไหน ใช่ หรือไม่ แต่พอมีโลภะกับโทษะก็จะมีฉันทะเจตสิกเกิดร่วมด้วยนี้คือไม่ใช่เรา ทั้งหมดไม่ใช่เรา เพราะฉะนั้นจริงๆ แล้วขณะนี้กำลังเห็น เลือกเห็นได้ไหมเพราะไม่มีฉันทะเจตสิกเกิดร่วมด้วย ทั้งๆ ที่อยากจะเห็นสิ่งที่น่าพอใจก็ไปเห็นสิ่งที่ไม่น่าพอใจตามเหตุตามปัจจัยคือแล้วแต่กรรมที่ทำให้จิตเห็นขณะนั้นเกิดขึ้นว่าเป็นผลของกุศลกรรม หรือเป็นผลของอกุศลกรรมจึงไม่มีฉันทะเจตสิกเกิดร่วมด้วย เพราะฉะนั้นทรงแสดงจิต และประเภทของจิตให้สามารถที่จะเข้าใจได้ในขณะนี้ เพียงแต่ว่ายังไม่ถึงการประจักษ์แจ้งแต่ก็ค่อยๆ เข้าใจในความเป็นอนัตตาว่าในขณะนี้ที่เห็นเลือกไม่ได้เลย ได้ยินเสียง เสียงดับไปแล้วแล้วจะได้ยินเสียงอะไรต่อไปก็เลือกไม่ได้อีก เพราะฉะนั้นสำหรับอเหตุกะคือจิตที่ไม่มีเหตุเกิดร่วมด้วย ๑๘ ดวง ไม่มีฉันทะเจตสิกเกิดร่วมด้วยเลย เดี๋ยวนี้ หรือไม่ เดี๋ยวนี้ แต่ไม่ใช่การรู้จริงๆ เพราะเหตุว่าเพียงแต่ฟังเข้าใจเพื่อรู้ว่าไม่ใช่เรา ก่อนอื่นที่จะรู้ความจริงของสภาพธรรมต้องคลายความเป็นเราแม้เพียงด้วยการฟังก็มีความเห็นถูกตั้งแต่ต้นว่าเป็นธรรม

    อ.วิชัย เรียนถามท่านอาจารย์ ว่า ถ้ากล่าวถึงวิริยะ ซึ่งก็มีข้อความหมายถึงความเป็นผู้กล้า และความเป็นผู้ไม่ท้อถอย แต่การที่ธรรมเหล่านี้ที่จะเป็นบาทให้ถึงความสำเร็จก็คงไม่ได้เป็นวิริยะที่ทั่วไปอย่างอื่นใช่ หรือไม่

    ท่านอาจารย์ ก็ต้องไม่ลืมว่าสำเร็จคืออะไร

    อ.วิชัย ขั้นสูงจริงๆ ก็หมายถึงความเป็นมรรค

    ท่านอาจารย์ การรู้สภาพธรรมที่กำลังปรากฎในขณะนี้

    อ.วิชัย แล้วลักษณะของวิริยะที่จะให้ถึงคืออะไร

    ท่านอาจารย์ ถ้าไม่ศึกษาเราจะทราบไหมว่าเดี๋ยวนี้ ขณะใดก็ตามที่แม้เป็นโมหมูลจิตยังไม่มีโลภะเกิดร่วมด้วยเลย แต่ก็มีวิริยเจตสิกเกิดร่วมด้วยแล้ว ต่างกับฉันทะแล้วใช่ หรือไม่ ฉันทะไม่เกิดกับจิตที่ไม่ประกอบด้วยเหตุหนึ่งเหตุใด ๑๘ ประเภท และขณะที่โมหมูลจิตเกิดโดยไม่มีโลภะ โทสะเกิดร่วมด้วย ขณะนั้นไม่มีฉันทะ ใครอยากมีโมหะบ้าง ไม่มีใครอยาก หรือต้องการ ใช่ หรือไม่ แล้วขณะที่กำลังเป็นแม้เพียงจิตที่เป็นอกุศลไม่ใช่โลภมูลจิต คือจิตที่มีโลภะเกิดร่วมด้วย ไม่ใช่จิตที่มีโทสะเกิดร่วมด้วย แต่ก็ยังมีอกุศลอีกประเภทหนึ่งซึ่งมีเฉพาะโมหะเกิดร่วมด้วย โดยไม่มีโทสะ และโลภะเกิดร่วมด้วย แม้ขณะนั้นก็มีวิริยเจตสิกเกิดร่วมด้วย นี้เป็นความละเอียดอย่างยิ่ง เพราะฉะนั้นเราก็เรียนตามตำรา แต่ตัวจริงๆ ขณะนี้แม้แต่ความต่างกันของจิตที่ไม่มีเหตุเกิดร่วมด้วย กับจิตที่มีเหตุเกิดร่วมด้วย ๑ เหตุ คือโมหมูลจิต ต่างกันเพราะมีวิริยเจตสิกเกิดร่วมด้วย จากไม่มีเหตุเลย ไม่มีฉันทะเกิดร่วมด้วยเลย ๑๘ ประเภท กับขณะที่ขณะนี้แม้มีเหตุเกิดร่วมด้วย ๑ เหตุ ก็มีวิริยะเกิดร่วมด้วยแล้ว แต่ว่าไม่มีฉันทะเกิดร่วมด้วย ซึ่งต่างกันนิดเดียว แต่ต้องรู้ตามความเป็นจริง มีเหตุเกิดร่วมด้วยก็มีวิริยะเกิดร่วมด้วยแต่ว่าไม่มีฉันทะ ไม่เหมือนโลภะกับโทสะ โลภะเลือกได้ โทสะก็เลือกได้ แต่สำหรับโมหะ ใครจะเลือกอะไรเพราะไม่รู้จริงๆ เวลานี้ความสำเร็จอยู่ตรงไหน

    อ.วิชัย ก็เข้าใจเรื่องฉันทะ เรื่องวิริยะเพิ่มขึ้น

    ท่านอาจารย์ อยู่ตรงที่เข้าใจอย่างนี้ ที่ได้ฟัง มิฉะนั้นก็จะไม่สามารถเข้าใจขึ้นเข้าใจขึ้น เพราะเหตุว่ากว่าจะถึงความสำเร็จที่เป็นการรู้ความจริงของสภาพธรรม หรือความสำเร็จที่เป็นความสงบของจิตซึ่งเป็นสมถภาวนาไม่ใช่ว่าไม่มีความรู้ใดๆ เลยก็ไปเข้าใจผิดคิดว่านั่งๆ อยู่ดีๆ ก็เป็นพระอรหันต์บ้าง หรือว่าได้ฌานขั้นต่างๆ บ้างนั่นก็ไม่ถูกต้อง

    อ.วิชัย กราบท่านอาจารย์ หมายความว่าขณะนี้ก็ทราบว่ามีฉันทะ และก็มีวิริยะแต่ก็คงไม่เกิดกับจิตทุกดวง เกิดกับจิตบางขณะ แต่ว่าการที่จะเข้าใจว่าการที่จะมีฉันทะกับวิริยะที่เป็นไปอย่างนี้ที่จะให้เกิดความรู้ความเข้าใจ

    ท่านอาจารย์ ต้องรู้ว่าเป็นอนัตตา ทั้งหมดไม่ว่าจะฟังตลอดชาตินี้คือให้มีความเข้าใจที่มั่นคงว่าเป็นธรรม เป็นธาตุ เป็นสิ่งที่มีจริง ธรรมใดเกิดขึ้นธรรมนั้นต้องมีปัจจัย ไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาของใครเลย เป็นธรรมชั่วคราวที่เกิดแล้วก็ดับไป

    อ.วิชัย เรียนถามอ.อรรณพ เรื่องของจิตคืออย่างไรที่จะเป็นบาทที่ให้เกิดความสำเร็จ

    อ.อรรณพ การที่ได้มาสนทนาในเรื่องอิทธิบาท ๔ ก็เป็นการเข้าใจจิต เจตสิกอีกนัยหนึ่ง เพราะว่าสภาพรู้จะปราศจากจิต และเจตสิกนี้ไม่ได้เลย จิตเป็นสภาพที่เป็นใหญ่เป็นประธานในการรู้อารมณ์ และมีเจตสิกเกิดประกอบ แต่เมื่อจะแสดงถึงบาท หรือที่อาศัยเพื่อความสำเร็จ ความสำเร็จในที่นี้ ถ้าจะเป็นความสำเร็จที่มีประโยชน์จริงๆ ก็คือการบรรลุมรรคผลนิพาน นั่นคือความสำเร็จเป็นอิทธิ ส่วนบาทสู่ความสำเร็จคือ"อิทธิปาทะ" พระองค์ก็ทรงแสดงเอาไว้ ๔ อย่าง สำหรับเจตสิกที่เห็นแน่นอนเบื้องต้นเลย คือถ้าไม่มีกุศลฉันทะ กุศลจะเจริญได้ หรือไม่ หรือมีแต่ฉันทะแต่ไม่มีความเพียรที่เพิ่มขึ้นจะถึงความสำเร็จได้ไหม อาจจะมีฉันทะว่าดีนะพระพุทธศาสนามีประโยชน์แต่ตัวเองก็ไม่ศึกษา หรือศึกษานิดหน่อย วิริยะไม่มีที่จะเป็นวิริยธิบาท และจิตซึ่งเป็นสภาพที่ตั้งมั่นมั่นคง ในบางครั้งท่านก็แสดงว่าเป็นสมาธิธิบาท คือจิตนี้ เพราะว่าจิตเป็นใหญ่เป็นประธาน ในขณะที่ศึกษาธรรม ขณะที่เรามีความเข้าใจ จิตในขณะนั้นก็เป็นที่อาศัย อาศัยขณะนั้นเลย ถ้าไม่มีจิตซึ่งเป็นใหญ่เป็นประธานเป็นที่อาศัย ฉันทะจะเกิดขึ้นได้ไหม?วิริยะจะเกิดได้ไหม


    ฟังธรรมจากหัวข้อย่อย

    หมายเลข 193
    4 ม.ค. 2567

    ซีดีแนะนำ