ปกิณณกธรรม ตอนที่ 171
ตอนที่ ๑๗๑
สนทนาธรรม ที่ วัดบวรนิเวศวิหาร
พ.ศ. ๒๕๓๙
ผู้ฟัง ผู้ที่ไม่สามารถมาในกรุงเทพ วัดบวรได้ เขาก็อาจจะไปศึกษาธรรมเพื่อจะให้เข้าใจสภาพธรรมได้ที่นั่น เราจะถือว่าสถานที่ปฏิบัตินั้นเป็นที่ที่เหมือนๆ กันหรือเปล่า
ท่านอาจารย์ ไปรอสติไหม ไปรอสติหรือเปล่า
ผู้ฟัง ไปเรียน ไปเรียนว่าสภาพธรรม
ท่านอาจารย์ หวังไหม
ผู้ฟัง ก็คงต้องหวัง เพราะว่า
ท่านอาจารย์ นั่นแหละ แล้วทำอย่างไรจะเอาตัวหวังนี้ไปได้ มาตัวโตๆ ไม่เห็นแล้วตัวเล็กๆ จะเห็นหรือ
ผู้ฟัง แต่ที่ผมมาก็หวังเหมือนกันว่าผมจะเข้าใจสภาพธรรมแล้ว
ท่านอาจารย์ ฉันทะ หรือว่าโลภะ
ผู้ฟัง ในขณะนั้นก็เป็นความหวังที่อยากจะทราบสภาพธรรม เป็นโลภะเสียมากกว่า
ท่านอาจารย์ เป็นเรื่องที่ละเอียดมาก ไม่ใช่ว่าใครจะต้องการฟังธรรมแล้วก็จะเป็นกุศลเสมอไป เป็นเรื่องเฉพาะบุคคล เป็นปัจจัตตังจริงๆ ให้ทราบว่า ลักษณะของโลภะเป็นสภาพที่หนัก แต่ลักษณะของกุศลทุกอย่างเบา เพราะฉะนั้น เวลาที่เราอยากทำอะไรสักอย่างหนึ่ง แล้วไม่ได้อย่างที่เราต้องการ จะเกิดความหงุดหงิด ให้รู้ว่าขณะนั้น เพราะเราอยาก แต่ถ้ามีปัญญาแล้วจะทราบจริงๆ ว่า ไม่มีการเลือกเลย สภาพธรรมที่จะเกิดแม้เพียงจิตขณะหนึ่งๆ ไม่มีทางที่ใครจะเลือก ใครจะตาบอดเดี๋ยวนี้ก็ได้ ใครจะหูหนวกเดี๋ยวนี้ก็ได้ อะไรจะเกิดขึ้น เป็นลมสิ้นชีวิตเดี๋ยวนี้ก็ได้
นี่แสดงให้เห็นว่าไม่มีใครจะรู้เหตุปัจจัยที่ทำให้เกิด ไม่ใช่การหวัง การรอหรือการคอย แล้วไม่ใช่เป็นการที่เมื่อโลภะเกิด ก็ยังไม่รู้ว่าเป็นโลภะ เพราะฉะนั้น โลภะยังมีกำลังมาก ตราบใดที่ปัญญายังไม่เจริญพอ ไม่สามารถที่จะต้านทานกำลังของโลภะได้เลย อย่างที่เราเรียนเรื่องทิฏฐิคตสัมปยุตต์ คือ จิตซึ่งมีความเห็นผิด จิตชนิดนี้จะเกิดได้เฉพาะโลภมูลจิต คือ จิตที่มีความติดข้องต้องการสิ่งหนึ่งสิ่งใด การที่เรายังมีความต้องการสิ่งหนึ่งสิ่งใด แม้ผลของการปฏิบัตินั้นแสดงให้เห็นว่า เราไม่รู้ตัวเลย โลภะเกิดแล้ว ความเห็นผิดเกิดร่วมด้วย เพราะเหตุว่าขณะนี้เป็นสภาพธรรม แต่ถ้าปัญญาเกิดขณะใดรู้ความเป็นจริงว่า แม้ขณะนี้สติจะไม่เกิด แต่ก็มีปัจจัยของสภาพธรรมอื่นที่จะเกิด สภาพธรรมอื่นก็เกิด แล้วเมื่อมีปัจจัยของสติเกิด สติก็เกิด จะไปเร่งรัดให้สติเกิดได้อย่างไร ไปหวัง ไปต้องการที่จะทำให้สติเกิด โดยที่ว่าความเข้าใจต่างหากที่มีพอไหม ถ้ามีความเข้าใจพอ สติก็เกิดระลึก สภาพธรรมปรากฏเดี๋ยวนี้ได้ สำหรับผู้ที่อบรมปัญญาแล้ว แต่ถ้าผู้ที่ไปอย่างนั้น ไม่มีทางที่เรียกว่า ชีวิตประจำวันอย่างนี้ สัมมาสติจะเกิด เพราะไปชินกับการกำหนด การทำด้วยความเป็นตัวตน
เพราะฉะนั้น จะไม่มีทางเลยที่จะเห็นความเป็นอนัตตาของสติว่า ถ้าสติระลึกแล้ว ระลึกเก่ง กว่าตัวตนที่กำลังไปพยายามกำหนด เพราะว่าไปพยายามกำหนด กำหนดอะไร รูปอย่างเดียว นามอย่างเดียวเท่านั้น แต่ความละเอียดของสภาพธรรมซึ่งวิจิตรมาก ผู้ที่อบรมเจริญปัญญาจริงๆ จะรู้ได้ว่า อนัตตา เลือกอารมณ์ให้ปัญญารู้ไม่ได้ เวลาที่เรากำลังเห็นแล้วเราค่อยๆ ระลึกรู้ว่าเป็นนามธรรมหรือรูปธรรม เวลาที่กำลังได้ยินค่อยๆ ระลึกว่า เป็นนามธรรมหรือรูปธรรม ยังไม่ใช่ขณะที่วิปัสสนาญาณเกิด เพียงแต่ว่าเป็นการปูทาง หรืออบรมเจริญปัญญาให้มีกำลังที่ว่า เมื่อถึงกาลที่วิปัสสนาญาณจะเกิด สติจะระลึกลักษณะของนามรูปซึ่งเราไม่เคยคิดหวังหรือรอคอยว่า จะต้องเป็นสิ่งนั้นสิ่งนี้ คือไม่มีทางที่จะไปทำความเป็นอัตตาให้เกิดขึ้นว่าเพราะเรากำลังเตรียมอย่างนี้ รูปนี้จึงปรากฏ เพราะเหตุว่าทั้งนามธรรมรูปธรรมเกิดดับเร็วมาก แล้วก็ตามเหตุตามปัจจัยด้วย
เมื่อสภาพธรรมปรุงแต่งให้สภาพธรรมใดเกิด แล้วสติระลึก คนนั้นจะรู้ทันทีว่าไม่มีตัวเรา หรือว่าไม่มีกำลัง หรือว่าไม่มีอะไรที่จะไปเปลี่ยนแปลง หรือบันดาลได้ เมื่อพร้อมด้วยเหตุปัจจัยที่สัมมาสติเกิดระลึก แล้วขณะนั้นพร้อมที่จะรู้แจ้ง ประจักษ์ลักษณะของสภาพธรรม เพราะว่าอบรมมามากในชีวิตประจำวัน เพราะฉะนั้น ไม่มีความหวั่นไหวเวลาที่สัมมาสติระลึก สภาพธรรมก็ปรากฏตามความเป็นจริงได้
ผู้ที่ฟังธรรมสั้นๆ แล้ว ท่านสามารถที่จะรู้แจ้งอริยสัจจธรรม ท่านไม่ต้องไปที่อื่นเลย ไม่มีความหวังต้องไปทำอย่างนั้นอย่างนี้ เพราะเหตุว่าปัญญาอบรมแล้วพร้อมที่เมื่อสัมมาสติจะระลึก ซึ่งเก่งมาก กว่าตัวตนเหลือเกิน ตัวตนอย่าได้ไปคิดเลยว่า จะระลึกได้อย่างสติที่เป็นสัมมาสติ เพราะฉะนั้น จะเห็นได้ว่า ความเป็นอนัตตานั้นคืออย่างนี้ แล้วการละการยึดถือสภาพธรรม และความหวังผล ก็จะต้องเป็นไปในรูปนี้ แต่ถ้าไปด้วยความหวัง ก็ไม่มีอะไรที่จะละความหวังอันนั้น แล้วโลภะก็จะติดตามไปซ่อนเร้นเหมือนอย่างทุกวัน เราเกิดมาลืมตาขึ้นมาเป็นไปตามโลภะ โดยไม่รู้ แล้วยังจะไปตามโลภะ ให้ไปที่โน้นที่นี้อีก ก็ไม่รู้ เพราะฉะนั้น ก็ถูกโลภะจูงไปตลอดไม่มีทางที่จะหันกลับมารู้ความจริงว่า โลภะอยู่ตรงนี้ เพราะเหตุว่าให้ไปตรงนั้น แต่ถ้าโลภะไม่อยู่ตรงนี้ สติก็ระลึกตรงนี้ ปัญญาก็สามารถจะรู้ความจริงของสภาพธรรมทีละเล็กทีละน้อย
ผู้ฟัง ทั้งๆ ที่หวังจะมาฟังธรรมที่นี่ ก็เป็นความหวังที่เป็นโลภะแล้ว
ท่านอาจารย์ สภาพของจิตเกิดดับเร็วมาก เพราะฉะนั้น ใครจะมาบอกว่า ขณะนั้นเป็นกุศล ขณะนี้เป็นอกุศล เลิกพูด เพราะเหตุว่าถ้าไม่ใช่สติสัมปชัญญะจะรู้สภาพธรรมซึ่งเกิดแล้วดับแล้วได้อย่างไร นอกจากประมาณกันเอาเองว่า อย่างนี้ก็ต้องเป็นกุศล ขณะที่กำลังให้ทานก็ต้องเป็นกุศล แต่ขณะที่กำลังให้ทานจิตเกิดดับเท่าไร เสียงดังแว๊บเข้ามา จิตก็เป็นอกุศลแล้ว จะไปบอกว่ากำลังให้ทานนั้นเป็นกุศล นั่นคือไม่รู้สภาพจริงๆ ของจิต เพียงแต่ประมาณเอาว่าเป็นกุศล
จิตใจของแต่ละคน เหมือนกันหมด คือเกิดดับเร็วมาก ความอยากเกิดขึ้น ถ้าเป็นผู้ที่ตรงจะรู้เลยว่าวันหนึ่งๆ อยากแม้แต่ในกุศล
อ. สมพร การศึกษาธรรม ทุกวันที่บอกว่าไปปฏิบัติที่โน่นบ้างที่นี่บ้าง ก็เพราะว่าเราไม่รู้จักธรรมจริงๆ ถ้าเรารู้จักธรรมจริงๆ ไม่ต้องไปแสวงหาธรรมที่ไหน เพราะว่ามันเกิดกับเราวันยังค่ำ ตั้งแต่ตื่นนอนจนกระทั่งเข้านอน แล้วเราก็จะต้องรู้ว่า ธรรมที่เกิดกับเรา ส่วนไหนเป็นบัญญัติ ส่วนไหนเป็นปรมัตถธรรม ก็ระลึกรู้ได้ แม้เป็นอกุศลก็ระลึกรู้ได้ จะเป็นกุศลหรืออกุศล ขณะที่จิตระลึกรู้นั้นเป็นกุศล เรียกว่าสติ มีสติระลึกรู้ขณะใด ขณะนั้นก็เป็นกุศล เป็นธรรม ข้อสำคัญที่สุดเราต้องศึกษาให้รู้ว่า ธรรมคืออะไร
ท่านอาจารย์ อย่างที่บอกว่า กลัวอกุศล ลึกลงไปอีก ไม่ทราบ กลัวอกุศลอะไร ประเภทไหน กลัวโลภะ หรือว่ากลัวโทสะ แต่ไม่กลัวโมหะ หรือว่ากลัวโมหะด้วย ต้องเป็นผู้ที่ละเอียด เพราะว่าส่วนมากกลัวโทสะก่อน แล้วต่อจากนั้นก็กลัวโลภะ พอรู้จักโลภะ แต่โมหะไม่กลัวหรือ ถ้ากลัวโมหะ คือต้องรู้จริงๆ ว่าต้องเกิดความรู้จึงจะละโมหะได้ แล้วก็ไม่ว่าเป็นโลภะหรือโทสะ ก็ต้องเกิดความรู้ เพราะเหตุว่าโลภะก็ดี โทสะก็ดี ก็เกิดเพราะมีโมหะนั่นเอง
ผู้ฟัง โมหะจะรู้ยาก คือ ไม่รู้ ไม่รู้ ว่าไม่รู้อะไร
ท่านอาจารย์ กำลังเห็นทางตานี่ไม่รู้
ผู้ฟัง เรื่องที่ทำให้ท่านเกิดความสงสัยในสภาพธรรม มีคำอยู่อีกคำหนึ่งที่ใช้อยู่คู่กับวิจิกิจฉา แล้วมีบ่อยก็คือคำว่า “กังขา”
อ. สมพร กังขา กับ วิจิกิจฉา กังขานั่นคือความสงสัยเหมือนกัน ศัพท์นี้ ภาษาบาลีก็แปลว่าสงสัย แต่วิจิกิจฉาก็สงสัย แต่ว่าท่านเรียกว่า เป็นนิวรณ์ เป็นชื่อนิวรณ์มีอีกชื่อหนึ่ง แต่กังขาเป็นชื่อความสงสัย ถ้าจะว่าโดยอรรถแล้ว ก็ภาวะคล้ายๆ กันต่างกันโดยพยัญชนะ กังขาแปลว่าสงสัย วิจิกิจฉาก็แปลว่าสงสัย ใน อัฏฐสาลินี กล่าวว่า พุทฺเธ กงฺขติ ย่อมสงสัยในพระพุทธเจ้า ตัววิจิกิจฉานั่นเอง ธมฺเม กงฺขติ ย่อมสงสัยในพระธรรม สงฺเฆ กงฺขติ ย่อมสงสัยในพระสงฆ์ บาลีต่างกัน พยัญชนะต่างกัน แต่ว่าโดยอรรถแล้ว คือ ความสงสัย
ผู้ฟัง ขันธ์ ๕ พิจารณามาเพื่ออะไร ประเด็นที่ว่า รูป หมายถึงรูป ๒๘ รูป อันนี้ถูกไหม
ท่านอาจารย์ ถูกแล้ว
ผู้ฟัง เวทนา สัญญา สังขาร เกิดจากผัสสะ หมายความว่าจะต้องมีสภาพธรรมกระทบก่อน สภาพธรรมทั้ง ๓ จึงจะเกิดขึ้น วิญญาณเกิดจากนามรูป ๓ ประเด็นนี้เราควรจะเอามาคิดแตกแยกกันหรือเปล่า หรือว่าไม่จำเป็น
ท่านอาจารย์ อันนี้หมายความถึงเหตุใกล้ ใช่ไหม
ผู้ฟัง เหตุใกล้
ท่านอาจารย์ ความจริงแล้วสภาพธรรมเกิดร่วมกัน ทั้งจิต และเจตสิก ผัสสะจะเกิดนอกจากจิตไม่ได้ ไม่ใช่หมายความว่า ขณะที่ผัสสะเกิด จะมีจิต เจตสิก เกิดเพราะผัสสะอย่างเดียว เพราะเหตุว่าจิตกับเจตสิกต้องอาศัยกัน และกันเกิดขึ้น เวลาอ่านต้องเข้าใจว่าเมื่อยกสภาพธรรมหนึ่งขึ้นมาแสดงลักษณะ แสดงกิจ แสดงอาการปรากฏ แสดงเหตุใกล้ของสภาพธรรมนั้น คุณเสกสรรกล่าวหมายความถึงเหตุใกล้ให้เกิด เพราะว่าเหตุใกล้ให้เกิดสัญญา เวทนา พวกนี้ต้องมีผัสสะเป็นเหตุใกล้ แต่ไม่ได้หมายความว่าอย่างอื่นจะไม่เป็นเหตุด้วย แต่ว่าเฉพาะอย่างๆ มีอะไรเป็นเหตุใกล้ แต่ต้องเกิดด้วยกัน
ผู้ฟัง น้ำว่าเป็นรูป มีสีใส่เข้าไปในน้ำ ถ้าเรามองโดยสามัญสำนึก จะมองเห็นภาพในลักษณะนี้ว่า ความจริงแล้วเราเห็นสีชัดเจนที่สุด แต่น้ำก็มีสี ไม่ใช่ไม่มีสี
ท่านอาจารย์ โดยมากคนชอบที่อะไรที่ง่ายๆ เพราะคิดว่าพอเห็นน้ำมีสี ก็ง่ายดีที่จะเข้าใจจิต เจตสิก แต่ไม่ใช่อย่างนั้นเลย ถ้าพยายามที่จะให้เขาเข้าใจจริงๆ ว่า สภาพธรรมมี ๒ อย่าง แล้วก็อย่างหนึ่งเป็นสภาพที่รู้ สิ่งที่กำลังปรากฏ สิ่งหนึ่งสิ่งใดก็ได้ที่กำลังเป็นอารมณ์ แล้วส่วนรูปนั้นไม่ใช่สภาพรู้ แค่นี้ หมายความว่าไม่ต้องไปเปรียบกับอะไรเลย แต่ให้เขาเข้าใจจริงๆ ขณะนี้มีไหม สภาพที่เป็นสภาพรู้ แล้วก็สภาพที่ไม่ใช่สภาพรู้มีไหม ให้เขาสามารถที่จะเข้าใจลักษณะของปรมัตถธรรมที่กำลังปรากฏให้ได้ เพราะว่ากำลังมีอยู่ แล้วไม่คลาดเคลื่อน อย่างเห็น ต้องเห็นสิ่งที่ปรากฏ จะบอกว่าไม่เห็นแสงสว่างไม่ได้
ผู้ฟัง ถูกต้อง ความจริงที่อาจารย์อธิบายชัดเจนอยู่แล้ว แต่ผมคิดว่าหลายท่าน ถ้าเราพูดในเรื่องบัญญัติ เราคิดว่าเราเข้าใจ แต่ถึงสภาวะจริงๆ แล้ว มันจะสับสนในแง่ที่ว่า ผมจะใคร่ยกตัวอย่าง อย่างเช่นธาตุรู้ กับ สภาพรู้ ซึ่งผมคิดว่า มันก็รู้เหมือนกัน แต่ลักษณะของธาตุรู้นั้น ผมเข้าใจว่าจะต้องเป็นขั้นวิปัสสนาญาณแล้วใช่ไหม ถึงจะรู้ว่า ลักษณะของธาตุรู้ต่างกับสภาพรู้อย่างไร
ท่านอาจารย์ ใช้คำว่า อาการรู้ อีกได้ไหม ไม่มีรูปร่างเลย เป็นแต่เพียงอาการหรือว่าจิตของเขา ก็คือ รู้ เพราะฉะนั้น จะใช้คำว่าสภาวะหรือสภาพ หมายความว่าสิ่งที่มีจริง เวลาใช้คำว่าธาตุ แสดงให้เห็นว่า สิ่งที่มีจริงนั้นไม่ใช่ตัวตนหรือไม่ใช่ของใคร จะว่าเป็นของคนหนึ่งคนใดในที่นี้ไม่ได้เลย ลักษณะที่เป็นสภาพรู้ก็เป็นธาตุชนิดหนึ่ง ไม่มีใครเป็นเจ้าของ แล้วธาตุชนิดก็จะเกิดขึ้นเมื่อมีเหตุปัจจัย แต่ละขณะๆ ต้องอาศัยเหตุปัจจัยเกิดขึ้น
ผู้ฟัง ถ้าเราพูดโดยบัญญัติ เราก็เข้าใจโดยลักษณะหนึ่ง ต่างกันไหม กับคำว่าน้ำใส่สี อย่างนี้
ท่านอาจารย์ ไม่ต้องคิดถึงน้ำเลย ขณะนี้ไม่ได้มีน้ำ แต่มีเห็น
ผู้ฟัง มีเห็น ถูกต้อง
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น ควรที่จะเข้าใจว่า ความรู้สึกมีไหม ความจำมีไหม สภาพที่เห็นมีไหม สภาพที่ได้ยินมีไหม ที่จะเข้าใจลักษณะของธาตุรู้ หรือสภาพรู้ ที่จะแยกออกจากรูป เพราะเหตุว่ารูปปรากฏให้เห็น แต่ตัวเห็น หรือตัวรู้ หรือสภาพรู้ ซึ่งกำลังเห็นจริงๆ ขณะนี้ คืออาการของธาตุชนิดหนึ่ง ซึ่งเป็นนามธาตุ เป็นสภาพที่สามารถที่จะเห็น สามารถที่จะได้ยิน สามารถที่จะรู้อะไรได้ทุกอย่าง ไม่มีอะไรซึ่งธาตุรู้จะรู้ไม่ได้เลย เพราะฉะนั้น จิตเป็นธาตุรู้ซึ่งรู้ทุกอย่างได้
ผู้ฟัง ทำไมแยกเป็นขันธ์ ๕ เพราะขันธ์ ๕ นี้แหละ ทำให้แยกกันว่า น้ำมีสีมีอะไร ต่างๆ ใช่หรือเปล่า
ท่านอาจารย์ ไม่ใช่ ขันธ์ ๕ ไม่ใช่แยกเป็นน้ำมีสี ขอให้ทุกคนตั้งต้นที่สภาพธรรมในขณะนี้ เพราะว่าการศึกษาปรมัตถธรรมจะมีประโยชน์มาก ถ้าสามารถจะทำให้มีการรู้ลักษณะของสิ่งที่กำลังปรากฏจริงๆ แทนที่เราจะไปเสียเวลาอ้อมค้อมด้วยตัวหนังสือหรืออะไร แต่ว่าเราอาจเรียนโดยอีกนัยหนึ่ง คือเข้าใจสิ่งกำลังปรากฏในขณะนี้ แยกเป็นนามธาตุกับรูปธาตุก่อน มีใครสงสัยในลักษณะของนามธาตุกับรูปธาตุก่อนไหม เรายังไม่พูดว่าเป็นจิต เจตสิก หรือขันธ์ อะไรเลยทั้งสิ้น เพียงแต่ว่าทุกอย่างในโลกนี้ หรือโลกไหนๆ ก็ตาม สภาพที่มีจริงๆ จะต่างกันออกไป ๒ ประเภท คือ นามธรรมกับรูปธรรม ยังไม่แยกอะไรเลย อันนี้มีใครสงสัยหรือว่าไม่เข้าใจไหม ดูเหมือนง่าย จริงๆ แล้วโดยการฟังเข้าใจได้ว่า รูปไม่ใช่สภาพรู้ อย่างแข็งก็เป็นลักษณะที่แข็ง เสียงก็เป็นสิ่งที่ปรากฏ ไม่ใช่สภาพรู้ เพราะฉะนั้น ยังมีสิ่งที่ซ่อนเร้น เพราะเหตุว่าไม่มีรูปร่างเลย เป็นแต่เพียงธาตุหรืออาการรู้ หรือสภาวธรรมอย่างหนึ่งซึ่งเป็นธาตุชนิดหนึ่ง แล้วธาตุชนิดนี้สามารถที่จะรู้ได้ทุกอย่าง แต่ต้องอาศัยเหตุปัจจัยเฉพาะอย่างๆ อย่างทางตาที่กำลังเห็นก็ต้องอาศัยจักขุปสาท นี่แน่นอน เพราะว่าคนตาบอดไม่เห็น แต่ว่าก็ต้องมีจิตโยงไป ตั้งแต่ปฏิสนธิจิต นั่นก็ส่วนหนึ่ง เราไม่กล่าวถึงเพราะว่าเป็นสิ่งที่ผ่านไปแล้ว แต่ให้ทราบว่าในขณะนี้เอง ทุกคนกำลังได้ยินเสียง สภาพรู้เสียงไม่ใช่เกิดได้ยินก่อน แต่ว่าเมื่อเสียงกระทบโสตปสาท เป็นปัจจัยให้มีธาตุชนิดหนึ่งเกิดขึ้นได้ยินเสียง แล้วก็ดับ
นี่คือความจริงของธาตุชนิดนั้นซึ่งเป็นธาตุรู้ เพราะฉะนั้น จะเห็นได้ว่าวันหนึ่งๆ ถ้าเราแยกเป็นรูปธาตุกับนามธาตุ ก็พอจะระลึกได้ แล้วก็แยกเป็นจิตกับเจตสิก เพิ่มจากนามธาตุแยกเป็น ๒ คือ สภาพรู้หรือธาตุรู้ ไม่ใช่มีแต่เฉพาะจิตซึ่งเห็น ถ้าพูดถึงจิต หมายความว่า เป็นสภาพธรรมที่เป็นใหญ่ เป็นประธานในการรู้แจ้งอารมณ์ที่กำลังปรากฏ อย่างเช่นเห็น พูดถึงเห็นอย่างเดียว ไม่ได้พูดถึงความรู้สึกเลยว่า ชอบไหม โกรธไหม อะไรไหม ไม่ได้พูดอะไร พูดถึงเห็น เฉพาะเห็น นั่นคือลักษณะอาการของจิต พอที่จะเข้าใจได้ว่า แยกจากเจตสิก เพราะอันนี้คือสภาพธรรมที่เป็นใหญ่เป็นประธานในการรู้ แต่ส่วนสภาพธรรมอื่นซึ่งเกิดกับจิต แล้วก็ไม่ได้เกิดเสมอไป เช่นความรู้สึก บางครั้งดีใจ บางครั้งเสียใจ บางครั้งเฉยๆ นั่นเป็นสภาวธรรมอีกอย่างหนึ่ง ซึ่งเกิดกับจิตทำให้รู้สึกเป็นอย่างนั้นในขณะที่มีการเห็นการได้ยินการคิดนึกการรู้อารมณ์ต่างๆ
นี่แสดงให้เห็นว่านามธาตุไม่ใช่มีแต่เฉพาะจิตอย่างเดียว แต่มีเจตสิกเกิดร่วมด้วย แล้วก็เจตสิกต่างกันไปเป็น ๕๒ ประเภท ทำให้จิตต่างกันไปเป็นประเภทต่างๆ แต่เราก็ศึกษาจากชีวิตประจำวัน นี่ ๒ แล้ว แล้วเดี๋ยวจะแยกเป็นขันธ์ คือ ปรมัตถธรรม ๔ ตอนนี้เราไปได้ ๓ จิต เจตสิก รูป นิพพานยังไม่ต้องกล่าวถึง จิต เจตสิก รูปนี้แหละในชีวิตประจำวัน ทำไมต้องแสดงโดยละเอียด ถ้าเป็นผู้ที่มีปัญญา แสดงสั้นๆ สามารถที่จะประจักษ์จริงๆ ในลักษณะของธาตุที่กำลังปรากฏในขณะนั้น แต่เพราะเหตุว่าผู้ฟังมีหลายอัธยาศัย บางคนต้องอาศัยการฟังมากๆ การพิจารณามากๆ ข้อความในพระไตรปิฎกที่บอกว่า เมื่อท่านผู้นั้นบวชแล้วไม่นานก็บรรลุอรหัต ไม่นานของท่านจะทราบว่า ๖๐ ปี ๒๐ ปีก็มี นานกว่านั้นก็มีอีก แต่ว่าข้อความในพระสูตรจะแสดงว่า บวชแล้วไม่นาน ทำให้คนในสมัยนี้อยาก เหมือนกับฟังแล้วไม่นาน ก็คงจะได้รู้แจ้งอริยสัจจธรรม ซึ่งทุกคนที่ศึกษาธรรม ต้องเป็นผู้ตรง เพราะเหตุว่าคุณธรรมของพระโสดาบันนั้น คือ อุชุปฏิปันโน สภาพธรรมกำลังปรากฏไม่มีใครเลย ซึ่งเป็นคนมีปัญญาจะหลอกตัวเองว่ารู้แล้ว ว่ากำลังเห็นลักษณะเห็นเป็นสภาพรู้อย่างไร แยกจากสิ่งที่กำลังปรากฏทางตาอย่างไร แล้วในขณะที่กำลังเห็นก็มีสภาพธรรมที่ได้ยินเกิดขึ้น ซึ่งจะแสดงให้เห็นว่า เป็นสภาพธรรมที่เกิดดับสืบต่อเร็วมาก จนกระทั่งปรากฏเหมือนกับว่าไม่ดับไปเลย
นี่แสดงให้เห็นว่า เริ่มเข้าใจชีวิตจริงๆ โดยที่ไม่มีการหลอกตัวเองเลย เพราะฉะนั้น การที่ใครที่จะอบรมเจริญปัญญา ให้ทราบว่า ไม่ใช่ไปทำอย่างอื่น เพราะคิดว่าจะไปทำอย่างอื่น ลืมเสียอีกแล้วว่า ขณะนี้เป็นธรรมหรือเปล่า เป็นธรรมที่กำลังเกิดปรากฏตามความเป็นจริง ตามเหตุตามปัจจัย
หนทางเดียวคือฟังให้ค่อยๆ เข้าใจจริงๆ เพิ่มขึ้นในลักษณะของสภาพธรรม แล้วสติก็จะระลึก แล้วก็ค่อยๆ รู้ขึ้นอีก นี่เป็นอีกขั้นหนึ่ง แต่ให้ทราบว่าเวลานี้เรากล่าวถึงนามธรรมซึ่งเป็นจิต และเจตสิก ไม่มีข้อสงสัยใช่ไหม ไม่ต้องเอาเรื่องน้ำเรื่องสีมาเลย
ผู้ฟัง ความจริงแล้วโดยสภาวะมันมีอยู่แล้ว แต่ผมคิดว่าจุดประสงค์ของผู้ที่จำแนกออกมานี้ ผมคิดว่าเพื่อความเข้าใจเท่านั้นเอง
ท่านอาจารย์ มิได้ เพราะเหตุว่าผู้ที่ฟังมีกิเลสมาก ถ้าสมมติว่ามีปัญญามากไม่ต้องแยกมากเลย เพียงแค่สภาพธรรมทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ที่เกิดในขณะนี้กำลังปรากฏ ผู้นั้นสามารถแทงตลอดถึงสภาพที่เป็นธาตุซึ่งไม่ใช่ตัวตน แต่ทีนี้สำหรับผู้ฟังที่มีปัญญาน้อย ยังต้องแยกปรมัตถธรรมออก ปรมัตถธรรม ๔ ปรมัตถธรรม ๓ แยกเป็นขันธ์เพราะอะไร เพื่อให้เห็นความจริงในชีวิตว่า วันนี้มีใครเห็นโลภะบ้างมีมากมีใครเห็นบ้าง ถ้าไม่แสดงจะเห็นไหมว่ามีรูปที่ปรากฏทางตาขณะใด ขณะนั้นรู้หรือเปล่าว่า มีความติดข้องในสิ่งที่ปรากฏ ทั้งทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ แล้ววันนี้เท่าไหร่แล้วที่จิตเกิดแล้วดับไป เพราะฉะนั้น จึงทรงแสดงให้เห็นขันธ์ คือแม้ว่าเป็นสภาพธรรมที่เกิดแล้วก็ดับไปก็จริง แต่ว่าเป็นสิ่งซึ่งเป็นที่ตั้งของความยึดถือ เริ่มจากรูปขันธ์
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 121
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 122
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 123
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 124
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 125
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 126
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 127
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 128
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 129
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 130
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 131
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 132
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 133
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 134
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 135
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 136
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 137
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 138
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 139
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 140
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 141
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 142
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 143
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 144
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 145
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 146
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 147
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 148
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 149
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 150
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 151
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 152
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 153
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 154
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 155
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 156
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 157
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 158
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 159
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 160
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 161
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 162
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 163
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 164
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 165
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 166
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 167
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 168
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 169
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 170
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 171
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 172
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 173
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 174
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 175
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 176
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 177
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 178
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 179
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 180