ปกิณณกธรรม ตอนที่ 210


    ข้อความนี้อยู่ระหว่างตรวจสอบแก้ไข

    ตอนที่ ๒๑๐

    สนทนาธรรม ที่ ประเทศสหรัฐอเมริกา

    พ.ศ. ๒๕๔๓


    ท่านอาจารย์ สำหรับผู้ที่เป็นพระโสดาบันแล้ว ท่านก็ไม่ได้ต้องการที่จะเป็นอย่างนั้น หรือต้องการที่จะเป็นอย่างนี้ เพราะจุดประสงค์ต้องถึงความเป็นพระอรหันต์ แต่กำลังของท่านพอหรือไม่พอ เมื่อกำลังของท่านไม่พอ ท่านก็จะรู้ว่าท่านไม่ได้สะสมอุปนิสัยที่จะทำฌาน อย่างนางวิสาขามิคารมารดาท่านเป็นพระโสดาบัน แต่ท่านก็ไม่ได้เป็นพระอนาคามี ไม่ได้เป็นพระสกทาคามี ท่านก็ยังติดในรูป ในเสียง ในกลิ่น ในรส ในสัมผัส ในบุตรหลานของท่านเป็นปกติ แต่ท่านไม่มีทางจะกลับไปเป็นปุถุชน

    เพราะฉะนั้น ก็แล้วแต่ว่าผู้นั้นสะสมมาอย่างไร เมื่อถึงกาลที่ฌานจิตจะเกิด สำหรับผู้ที่ฌานจิตสะสมมาเกิด ก็ได้ แต่ต้องเพื่อการละ เพื่อถึงความเป็นพระอรหันต์ ไม่ใช่เพื่อไปติดในฌาน แล้วก็ทำอิทธิฤทธิ์ต่างๆ

    ผู้ฟัง เรื่องธรรมทั้งหลายเป็นอนัตตา เป็นสภาพธรรม คำว่า อบรมเจริญสติปัฏฐาน ความเข้าใจเรื่องปรมัตถธรรมที่เราได้ศึกษามามั่นคงพอสมควร ก็จะปรุงแต่งให้เราระลึกอยู่เสมอว่า ทั้งหลายเป็นเพียงสภาพธรรมเกิดขึ้นแล้วก็ดับ เพียงแต่เราไม่รู้ ถ้าหากว่า เราไม่สามารถที่จะให้ทาน เป็นกุศลได้ตลอดเวลาหรือว่าจะรักษาศีลได้ตลอดเวลา ถ้าหากว่าเราเพียรที่จะให้ทาน รักษาศีล ฟังจากท่านอาจารย์แล้ว พระพุทธองค์ไม่ได้ทรงแสดงให้พวกเราไปทำอย่างนั้น แต่ให้รู้ว่าในขณะใด จิตที่ไม่ได้เป็นไปในทาน ในศีล ก็มีภาวนาให้เราระลึกศึกษาได้ว่า ขณะนี้มีสภาพธรรม กำลังปรากฏ ผมว่าเราถึงจุดสำคัญจุดหนึ่ง ศึกษามามาก อบรมมามาก พอมาอบรมเจริญเรื่องสติปัฏฐาน แล้ว ผมว่าเข้าใจยาก ท่านอาจารย์ ทำอะไรไม่ได้เลย

    ท่านอาจารย์ คุณประทีปทำไม่ได้ เพราะว่าเป็นหน้าที่ของจิต เจตสิก ขณะนี้คุณประทีปไม่ได้ต้องการเห็น หรือได้ยิน แต่มีปัจจัยที่จะให้เห็น มีปัจจัยที่จะให้ได้ยิน มีปัจจัยที่จะให้คิด มีปัจจัยที่จะให้วิถีจิตเกิด

    ผู้ฟัง หรือแม้แต่ว่าผมคิดว่า อยู่ว่างๆ ผมก็คิดไปในทางที่จะให้ทานใครบ้าง หรือรักษาศีลบ้าง ก็ไม่เป็นประโยชน์

    ท่านอาจารย์ ทำไม

    ผู้ฟัง เพราะว่าดีกว่าที่ผมจะไปนั่งดูทีวีหรือไป…

    ท่านอาจารย์ แค่คิด จะตักตวงกุศลโดยการคิดหรืออย่างไร ไม่ต้องไปทำอะไร ความจริงเป็นอย่างไรก็คือมีปัจจัยที่จะเกิดให้เป็นอย่างนี้แล้วสติก็ระลึก ไม่ใช่ต้องไปนั่งคิดเรื่องจะให้ทานหรืออะไร ถ้าจะให้ก็ให้ จะคิดจะให้ขณะนั้น คือสภาพของนามธรรมที่คิด

    ผู้ฟัง บางครั้งขณะที่คิดจะทำ ก็รู้ว่าอันนี้เป็นความคิดอันหนึ่ง เป็นความจริงก็ได้แต่คิดระลึกถึงอย่างนี้ตลอดเวลา ก็ไม่แน่ใจเลยว่า เข้าใจหรือเดินมาถูกทางไหมที่ผมได้ศึกษามา

    ท่านอาจารย์ ต้องฟังให้ทราบเรื่องสติปัฏฐาน คือขณะที่สัมมาสติเกิด ไม่ใช่เรา ให้รู้ว่าขณะนั้นไม่ได้หลงลืม เพราะมีลักษณะของสภาพปรมัตถธรรมปรากฏ คงไม่ต้องถามตัวเองว่า ขณะนี้มีแข็งปรากฏไหม แล้วแต่ว่าขณะนั้นอะไรปรากฏ เราไม่ต้องถามเลยว่า ขณะนี้สิ่งที่ปรากฏทางตาปรากฏไหม เพราะว่ากำลังปรากฏ แต่ไม่รู้ เพราะฉะนั้น เวลาที่สติจะระลึก ซึ่งต่อไปข้างหน้า เวลาที่มีความเข้าใจเรื่องลักษณะของสภาพธรรมเพิ่มขึ้น เราก็ไม่หวัง แต่จะปรากฏโดยความเป็นอนัตตา คือมีการระลึกได้ ที่ใช้คำว่า “สติ” เป็นสภาพที่ระลึกได้ เวลาที่เป็นสติปัฏฐานระลึกได้ที่ธรรมที่กำลังปรากฏ ระลึกได้ที่ลักษณะนั้น อย่างแข็ง เวลาที่กายวิญญาณเกิด นี่โดยตำราก่อน รู้ลักษณะซึ่งแข็ง ซึ่งทุกคนก็รู้ เวลานี้ทุกคนรู้หมด กายวิญญาณมี มีกายปสาท เพราะฉะนั้น ก็รู้ลักษณะที่แข็ง แต่ว่ารู้ทันทีก็เป็นเรื่องไปหมดเลย เป็นคนโน้น เป็นคนนี้ เป็นสตอเบอร์รี่ เป็นพรม เป็นอะไร แต่เวลาที่รู้ สติปัฏฐานระลึกลักษณะ พอแข็งปรากฏ มีการที่จะค่อยๆ เข้าใจ ความเข้าใจเป็นปัญญาที่จะรู้ว่า ขณะนั้นเป็นสภาพแข็ง เป็นธรรมอย่างหนึ่ง บางคนตอนแรกๆ เขาก็จะพูดไปเลย แข็งเป็นรูป เป็นสภาพธรรมอย่างหนึ่ง ก็แล้วแต่จะคิด แต่ขณะนั้นก็ต้องมีการรู้ว่า ขณะที่คิดไม่ใช่ขณะที่รู้ลักษณะที่แข็ง เวลาที่เราเห็นอะไร แล้วเรารู้ว่าเป็นสิ่งใด เราต้องอาศัยกาลเวลาพอสมควร เพราะว่าเราไม่เคยรู้เลย อย่างตอนเป็นเด็กไม่เคยรู้เลยว่า สิ่งนั้นเป็นอะไร จนกระทั่งเราค่อยๆ จำรูปร่าง สัณฐาน แล้วก็รู้ว่าเป็นอะไร ทีละเล็กทีละน้อย มากขึ้น

    เวลาที่จะอบรมเจริญปัญญาที่จะรู้สภาพจริงๆ ของนามธรรม และรูปธรรม ซึ่งไม่ใช่อะไรทั้งสิ้น นอกจากรูปก็เป็นรูป นามก็เป็นนาม ก็เหมือนกับตอนที่เราเริ่มเป็นเด็กแล้วค่อยๆ รู้ว่า สิ่งนั้นเป็นอะไร เพราะฉะนั้น เวลาที่สัมมาสติเกิด ระลึกลักษณะของสิ่งที่กำลังมีจริงๆ รู้ว่ามี กำลังปรากฏ แต่ว่าตอนที่ระลึกแล้วปัญญาของเราไม่คมชัดพอที่จะรู้ว่าลักษณะของรูป เป็นธาตุชนิดหนึ่ง แล้วลักษณะของนามธาตุ เป็นสภาพรู้ ก็เป็นเฉพาะขณะที่นามชนิดนั้นเกิด จึงได้รู้สิ่งที่กำลังปรากฏในขณะนั้น แม้ว่าความจริงจะเป็นอย่างนี้ แต่กว่าปัญญาจะอบรมจนกระทั่งค่อยๆ รู้ว่าเป็นลักษณะนั้น ต้องใช้กาลเวลาที่ยาวนานมาก ซึ่งในพระไตรปิฎกอุปมาว่า เหมือนการจับด้ามมีด ต้องสึกแน่วันหนึ่ง แต่กำลังจับจะไม่รู้เลย ว่าขณะนั้นเริ่มที่จะสึก เพราะมองไม่เห็นเลย กี่วัน กี่เดือน กี่ปี เท่าเดิม บางคนก็กี่ชาติ กี่กัป จนกว่าจะเริ่มค่อยๆ รู้ว่าเวลาที่สัมมาสติเกิด ระลึก จะรู้ลักษณะนั้นทันทีได้ว่า เป็นนามธรรมหรือเป็นรูปธรรม

    ปัญญาต้องค่อยๆ เจริญ ค่อยๆ อบรม เมื่อมีความชำนาญ ก็เหมือนกับพอเราเห็นอะไรเราก็รู้ชื่อ รู้สัณฐานของสิ่งนั้นทันที ไม่ต้องมานั่งนึกว่า สีแดงๆ นี้เป็นอะไร แต่ว่าสามารถที่จะรู้ได้เพราะความจำอย่างรวดเร็ว เพราะฉะนั้น เวลาที่สติเกิดก็มีสัญญาเจตสิกที่เกิดพร้อมสติที่จะค่อยๆ เข้าใจลักษณะของสภาพธรรมนั้น แต่ว่าช้ายิ่งกว่าการที่จะอบรมการรู้เรื่องรู้ราว รู้ชื่ออย่างเด็กๆ ที่เพิ่งรู้ เพราะว่าจะต้องใช้เวลาที่นานมาก จากความไม่รู้ในแสนโกฏิกัปป์ ใช้คำที่ยาวมากในอดีตที่ผ่านมา

    การที่จะค่อยๆ รู้ สามารถที่จะรู้โดยที่เข้าใจได้ว่า ถ้าสัมมาสติไม่เกิด ไม่มีทางรู้ ทั้งๆ ที่เป็นธรรม ก็เกิดแล้วดับแล้วทั้งนั้น เพราะฉะนั้น เวลาที่สัมมาสติเกิดจึงเป็นขณะที่ปัญญาจะค่อยๆ เจริญ โดยค่อยๆ เข้าใจ ครั้งแรกที่สติระลึก เข้าใจไม่ชัด หรือไม่เข้าใจ แต่รู้ว่าขณะนั้นสติเกิด มีสภาพธรรมปรากฏซึ่งจะต้องศึกษา ศึกษาทีนี่ไม่มีเรื่องราวเข้ามาปะปนเลย เพราะว่าทันทีที่นึกเป็นคำ ขณะนั้นจิตที่เกิดต่อไม่ได้รู้ลักษณะของปรมัตถธรรม แต่ว่ามีคำเป็นอารมณ์

    เพราะฉะนั้น ก็จะค่อยๆ รู้ตรงกับที่เรียนว่า การที่จะนึกถึงคำต่างกับขณะที่กำลังรู้ ลักษณะที่เป็นปรมัตถธรรม ค่อยๆ ไปเรื่อยๆ เป็นการอบรมเจริญความรู้จริงๆ ในลักษณะของสภาพธรรมตรงตามที่ได้ศึกษามาทุกอย่าง ไม่ใช่เป็นการไปคิดว่ารู้ แต่ว่าไม่สามารถจะรู้ได้ในสิ่งที่กำลังปรากฏ อย่างคนที่จะไปสู่สำนักหนึ่งสำนักใด แล้วเพียรที่จะปฏิบัติ เขาไม่สามารถจะรู้ความจริงของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏเลย เพราะว่าไม่มีการอบรมเจริญความรู้จริงๆ ในลักษณะของสภาพธรรมโดยความเป็นอนัตตา

    เพราะฉะนั้น ก็ไม่สอดคล้องกัน เมื่อเรียนว่า ธรรมทั้งหลายเป็นอนัตตา แต่ไปเป็นอัตตาที่ทำ โดยที่ไม่รู้ความจริงแล้ว สภาพธรรมก็เป็นอย่างนี้แหละ แต่ว่าปัญญาเจตสิก ความรู้ความเข้าใจสภาพธรรมนั้นต้องค่อยๆ เจริญขึ้น

    ผู้ฟัง เราเข้าใจความหมายของคำว่า สัมมาสติ ที่ถูกต้อง เราก็รู้ว่าสัมมาสติเป็นเจตสิกตัวหนึ่ง เป็นธาตุ เป็นนามธาตุตัวหนึ่ง ซึ่งเกิดขึ้นมาลอยๆ ไม่ได้ เกิดขึ้นมาเพราะมีปัจจัยปรุงแต่ง แล้วจากการฟังที่ท่านอาจารย์ได้แสดงให้ฟัง อะไรเป็นปัจจัยให้สัมมาสติเกิดขึ้น

    ผู้ฟัง ความเข้าใจธรรมในลักษณะของเรื่องราวที่ถูกต้อง จะทำให้สัมมาสติเกิด ตอนนี้ผมกำลังคิดตามที่อาจารย์ได้กล่าวไว้ คือ ลักษณะของสติ และการเข้าใจสภาพธรรมที่ถูกต้องจะเกิดขึ้น และลักษณะค่อยๆ เป็นค่อยๆ ไป เหมือนกับการสึกของด้ามพร้า ผมกำลังคิดว่า วันหนึ่งสมมติว่า เมื่อ ๑๐ ปีที่แล้ว ผมใส่เสื้อผ้า ใส่รองเท้า ถือป๊อบคอร์น แล้วก็เดินเข้าไปในสวนสาธารณะ มีนกร้อง ขณะนั้นผมไม่มีปัญญา ไม่รู้อะไร ไม่ได้ยินเสียงอะไรเลย เห็นผู้หญิงเดินมา มองตามผู้หญิงไปก็จบ แต่พอ ๓ ปีผ่านมา ผมเดินเข้าไปในปาร์คอีกทีหนึ่ง แต่งตัวเหมือนเดิม มีทุกอย่างเหมือนเดิม ตอนนี้ผมรู้สึกถึงรสชาติของป๊อบคอร์น ตอนนั้นสติจะเกิดหรือเปล่า เพราะว่าผมรู้สภาพของรสของป๊อบคอร์น เสร็จแล้ว ...

    ท่านอาจารย์ เป็นไปได้อยางไร ถ้าป๊อบคอร์นอยู่ในปาก เราไม่รู้รส

    ผู้ฟัง ไม่ทราบว่าเป็นสภาพธรรม

    ท่านอาจารย์ ไม่ทราบก็ไม่ทราบหมดเลย ทั้งทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ

    ผู้ฟัง แต่อาจจะเป็นเพราะว่าผมไม่ได้คิดถึงว่า สิ่งปรากฏทางตาเป็นรูปารมณ์ แต่ผมคิดเฉพาะ รสารมณ์เท่านั้น แล้วเข้าใจว่ารสารมณ์เป็นสภาพธรรมอย่างหนึ่งที่เกิดขึ้นแล้วดับไป อย่างนี้เป็นการพัฒนาของการรู้สติขึ้นเรื่อยๆ ถูกหรือไม่

    ท่านอาจารย์ หมายความว่าเดิมเดินไปในสวนเห็นอะไรๆ ก็ไม่รู้อะไรทั้งหมด แต่หลังจากนั้นเวลาเดินก็พอรู้บ้าง ทางบางทวาร แต่ขณะนั้นกำลังศึกษาลักษณะพร้อมสติที่ระลึกลักษณะที่มีจริงๆ ที่เป็นปรมัตถ์หรือเปล่า เพราะว่าเวลาที่เราพูดถึงปรมัตถธรรม หมายความว่าสิ่งนั้นมีจริง ไม่ต้องเรียกชื่ออะไรเลย แล้วปัญญาก็สามารถที่จะเข้าใจลักษณะที่ต่างกัน เพราะว่าสิ่งที่มีจริงมีลักษณะ ๒ อย่าง อย่างหนึ่งไม่รู้อะไรเลย อีกอย่างกำลังเป็นสภาพรู้ ที่บอกว่าคุณจรัลกำลังรู้รสป๊อบคอร์น หมายความว่าขณะนั้นเป็นธาตุลิ้มรสเกิดขึ้น รสจึงได้ปรากฏ ไม่มีคุณจรัลตั้งแต่ศีรษะตลอดเท้า หู ตา อะไรก็ไม่มี ขณะนั้นมีแต่สภาพที่กำลังลิ้มรส เพราะรสกำลังปรากฏให้รู้ชั่วขณะนั้น

    ชั่วขณะนั้นที่เป็นสัมมาสติ คือ ระลึกลักษณะหนึ่งลักษณะใด จะระลึกลักษณะของรส ก็ถูก จะระลึกลักษณะที่ลิ้มรสแล้วรู้ ก็ได้ เพราะว่าขณะนั้นจริงๆ แล้วก็มีจริง แต่ว่าปัญญาความรู้ว่า เป็นแต่เพียงธรรมชั่วขณะ ไม่ว่าจะธรรมอะไรทั้งหมดก็ชั่วขณะ เสียงมีชั่วขณะที่ปรากฏหมดแล้ว รสมีชั่วขณะที่ปรากฏแล้วก็หมดแล้ว นี่เป็นการที่จะค่อยๆ เข้าถึงสภาพที่เกิดดับจริงๆ แต่ว่าทั้งๆ ที่ความจริงเป็นอย่างนี้ เข้าใจอย่างนี้ รู้อย่างนี้บ้าง กว่าจะรู้ได้จริงๆ ว่าไม่มีอะไรเหลือเลย นอกจากสภาพนั้นเท่านั้น ก็ต้องอาศัยกาลเวลา แต่ว่าเป็นสิ่งที่เราไม่ควรจะทอดทิ้งละเลย หรือว่าคิดว่ารอไว้ เพราะแม้ขณะนี้สัมมาสติเกิดระลึกได้แน่นอน ถ้ามีความเข้าใจที่ถูกต้อง เพราะฉะนั้น คนที่เข้าใจขณะที่ฟังพระธรรม ก็สามารถที่จะระลึกตรงลักษณะของสภาพธรรมที่ได้ยินได้ฟัง แม้ว่าพระพุทธเข้าจะไม่ตรัสให้สติเกิดระลึก แต่เมื่อมีความเข้าใจว่า สิ่งนั้นมีจริง แล้วสัมมาสติก็เป็นสภาพที่ระลึก ไม่ใช่เรามีเจตนาจะรู้ แต่เพราะสติเกิด

    เราจะรู้ได้ว่าวันหนึ่งๆ สติเกิดหรือว่าหลงลืมสติ เป็นปัญญาของผู้นั้นเอง ไม่ต้องถามใคร ถามคนอื่นเขาก็บอกไม่ได้ ใครจะไปรู้ว่า ขณะนี้สติของใครเกิดหรือไม่เกิด แต่คนนั้นเองจะเป็นคนที่รู้ว่า ขณะนั้นสัมมาสติเกิดหรือไม่เกิด

    ผู้ฟัง เมื่อสักครู่นี้ ก่อนที่คุณจรัลจะเรียนถาม ท่านอาจารย์ได้บอกว่า ในขณะที่รู้แข็ง ไม่ได้คิดถึงแข็ง อาจารย์ช่วยขยายตรงนี้ได้ไหม เพราะว่าฟังแล้วเข้าใจยาก

    ท่านอาจารย์ พูดถึงเมื่อ ๓ ปีก่อนไม่รู้อะไรเลย เดินเข้าไปในสวน แต่ ๓ ปีหลังก็เดินเข้าไปในสวนนั้นแหละ แต่ว่าสามารถที่จะนึกถึงรสของป๊อบคอร์น เพียงแค่นึก เพราะฉะนั้น จะต้องมีปัญญาที่รู้ว่า ขณะนั้นเป็นสติที่ระลึกลักษณะของรส หรือว่าระลึกลักษณะของสภาพที่กำลังลิ้มรส เพราะว่ามีความเข้าใจจากการเรียนว่า ขณะนั้นต้องมีความจริง ๒ อย่าง คือสภาพหนึ่งเป็นรส อีกสภาพหนึ่งเป็นสภาพที่ลิ้มรส จะไม่มีอย่างอื่นเลยในขณะนั้น เพราะฉะนั้น ขณะนั้นเป็นขณะที่เริ่มจะเข้าใจ ค่อยๆ ศึกษา เมื่อกี้นี้เราพูดถึงด้ามมีด ความไม่รู้ในลักษณะของสภาพธรรมซึ่งกำลังปรากฏในขณะนี้ ปรากฏจริงๆ แต่ละคนก็สามารถที่จะรู้ด้วยตัวเองว่า ความไม่รู้ในสิ่งที่กำลังปรากฏของแต่ละคนมากน้อยแค่ไหน หรือว่าเพิ่งจะเริ่มระลึก แต่ก็ยังมากอยู่ หรือว่าระลึกไปแล้วแต่ว่า จะกี่ชาติก็ตามแต่ กี่กัปก็แล้วแต่ หรือเดี๋ยวนี้ก็อาจจะเคยระลึกมาแล้วก็ได้ แต่ละคนก็เป็นผู้ที่ตรงต่อธรรมว่า ขณะนี้สามารถที่จะเข้าใจ รู้ในความเป็นธาตุ หรือนามธาตุ หรือรูปธาตุที่กำลังปรากฏ ขณะนั้นรู้ได้เลยว่า ต้องมีสติสัมปชัญญะตามปกติ การอบรมเจริญสัมมาสติไม่ควรจะรอ แต่ไม่ได้หมายความว่าจะเร่งรัด ให้เป็นไปด้วยความเข้าใจที่ถูกต้อง เพราะเหตุว่าถ้ามีความเข้าใจที่ถูกต้อง ก็ไม่ไปทางผิด แต่ถ้าไม่มีความเข้าใจที่ถูกต้อง ไปง่ายมาก เพราะว่ายังไม่ได้รู้ความจริงของสภาพธรรม ก็ยังมีโลภะเป็นตัวที่จะทำให้หลงไป

    ผู้ฟัง ผมคิดว่าอย่างน้อยก็ส่องให้เห็นว่า กิเลสมีความพอใจของผม ยินดีติดใน แม้กระทั่งติดในพระธรรมก็ยังหวัง มันก็คงสะสมตัวนี้มามากพอสมควร คงมาก

    ท่านอาจารย์ หวังเป็นปรมัตถธรรม หรือเปล่า

    ผู้ฟัง เป็น

    ท่านอาจารย์ ห้ามไม่ได้

    ผู้ฟัง ห้ามไม่ได้

    ท่านอาจารย์ เป็นอนัตตา

    ผู้ฟัง ใช่

    ท่านอาจารย์ สติระลึกได้ไหม

    ผู้ฟัง ระลึกได้

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น ก็ต้องทราบ หวังเป็นสภาพที่มีจริง แต่ว่าต้องรู้ในขณะที่หวังเกิด จึงจะละหวังได้ ละโดยการรู้ว่า ไม่ใช่เรา ถ้าพูดอย่างนี้เป็นสติปัฏฐาน เป็นมหาสติปัฏฐานสูตรหรือเปล่า

    ผู้ฟัง เป็น

    ท่านอาจารย์ ไม่ต้องติดที่ชื่อ ขณะใดที่พูดเรื่องสภาพธรรมที่มีจริง แล้วหนทางที่จะทำให้รู้สภาพธรรมที่มีจริงนั้นได้ ก็เป็นสติปัฏฐาน ซึ่งมีทั่วไปในพระไตรปิฎก แต่ว่าที่รวมไว้ในทีฆนิกาย คือ มหาสติปัฏฐานสูตร

    ผู้ฟัง หวังที่ไม่ใช่ชื่อเป็นอย่างไร ท่านอาจารย์ ที่เป็นสภาพธรรม

    ท่านอาจารย์ คุณประทีปเองบอกว่าหวังไง

    ผู้ฟัง เมื่อกี้เราไม่รู้จักสภาพธรรม หวัง แต่เราก็พูดหวัง

    ท่านอาจารย์ ติดข้อง ลักษณะของโลภะ แม้แต่อาสา ในภาษาบาลี ซึ่งหมายความถึงหวัง ก็เป็นโลภะ ใครหวังอะไรบ้าง นั่นคือลักษณะของโลภะ ทุกครั้งที่หวังคือโลภะ

    ผู้ฟัง ถึงแม้ว่าไม่ใส่ชื่อ ความหวังก็มี

    ท่านอาจารย์ ไม่ต้องใส่ชื่อ ไม่ต้องเรียกชื่อ มี จะเรียกอะไรก็ได้ นี่เราก็มาถึงความหมายของปรมัตถธรรมที่เราตั้งต้นศึกษาว่า เป็นสภาพธรรมที่มีจริง แม้ไม่เรียกชื่อ จะเปลี่ยนชื่อก็ได้ สภาพนั้นก็มีลักษณะซึ่งเปลี่ยนไม่ได้

    ผู้ฟัง ท่านอาจารย์เปลี่ยนไม่ได้หมายความว่า เป็นอย่างไรก็เป็นอย่างนั้นมานานแล้ว

    ท่านอาจารย์ สภาพนั้นมีจริงๆ มีลักษณะอย่างนั้น มีกิจหน้าที่อย่างนั้น มีอาการปรากฏอย่างนั้น มีเหตุใกล้ให้เกิดอย่างนั้น ไม่ใช่สภาพธรรมอื่น

    ผู้ฟัง สิ่งนี้ที่พระพุทธเจ้าเรียก ธรรม

    ท่านอาจารย์ ปรมัตถธรรม

    ผู้ฟัง ปรมัตถธรรม

    ผู้ฟัง เรื่องของสติปัฏฐานสูตรต่อไปว่า ที่เรียกว่าอารมณ์ปัจจุบัน อารมณ์ปัจจุบัน หมายความว่าอย่างไร

    ท่านอาจารย์ ก่อนที่จะได้ฟังเรื่องสติปัฏฐาน คุณซีคิดว่าอารมณ์ปัจจุบันคืออะไร

    ผู้ฟัง หมายถึงอารมณ์ที่กำลังปรากฏอยู่ในขณะนี้

    ท่านอาจารย์ สติปัฏฐานก็เป็นธรรมดาๆ ไม่ใช่ว่าต้องเปลี่ยนคำหรือว่าอะไร เคยเข้าใจว่าขณะปัจจุบันคือสิ่งที่กำลังปรากฏในขณะนี้ สติปัฏฐานก็คืออย่างนั้น

    ผู้ฟัง ที่สงสัยคือมีการถามกัน อย่างเช่นรูป เกิดขึ้นแล้วก็ดับไป แต่ว่าสติปัฏฐานก็เกิดขึ้นทั้งทางมโนทวาร แล้วก็ปัญจทวาร รู้รูปรูปนั้น ก็สงสัยว่า รูปนั้นมันดับไปแล้ว นั้นเป็นปัจจุบัน หรือว่า รู้รูปอันนั้น หรืออย่างไร

    ท่านอาจารย์ เราไปติดที่คำว่า เกิดดับ แล้วก็ทางปัญจทวารแล้วก็รู้ต่อทางมโนทวาร แต่ว่าขณะนี้รู้อย่างนี้หรือเปล่า ความรู้ต้องตามลำดับ ไม่ใช่เราไปรู้อันนั้นก่อน แล้วมาหาอันนี้ แต่ขณะนี้สภาพธรรมที่มีไม่เคยรู้เลยว่า ไม่ใช่เราอย่างนั้น เพราะฉะนั้น ก็ไม่ได้ไปตั้งต้นตอนที่มันเกิดไปแล้ว มันดับไปแล้ว แล้วจะไปรู้อะไร นั่นคือคิด แต่ว่าขณะนี้มีสิ่งที่กำลังปรากฏ แล้วก็จากการฟังก็รู้ว่า ทุกอย่างเป็นนามธรรม และเป็นรูปธรรมเท่านั้น เพราะฉะนั้น เราไม่เคยรู้อย่างที่เราเคยฟัง หรือเคยพูดตามว่า ทุกอย่างเป็นธรรม แล้วก็มีแต่นามธรรม และรูปธรรม

    ทั้งหมดจากพระไตรปิฎก และอรรถกถา ต้องเป็นความรู้จริงของเรา ที่จะเริ่มต้นตรงไหน ตรงที่เมื่อมีความเข้าใจว่า ขณะนี้ เดี๋ยวนี้ มีสิ่งที่มีจริงๆ แล้วก็เป็นสภาพที่เป็นสภาพรู้ กับสภาพที่ไม่ใช่สภาพรู้ ในขณะที่กำลังเห็น เห็นอยู่อย่างนี้ มีจริงๆ รู้อย่างนี้ คือรู้อย่างไร ปัญญาก็คือเกิดตอนที่รู้สิ่งที่กำลังปรากฏ เพราะสิ่งใดที่ไม่ได้ปรากฏจะรู้ไม่ได้เลย ไม่มีทางจะรู้ แล้วเราก็เคยคิดถึงนามธรรม และรูปธรรมรวมๆ กันหมดทั้งวัน ว่านั่นเป็นนามทางทวารนี้ นี่เป็นรูปทางทวารนั้น เรารู้แต่เพียงขั้นคิดนึก แต่ว่าขณะนี้ ถ้าทางตาจริงๆ แยกออกมาหนึ่ง ไม่มีอื่นเลยทั้งสิ้น ถูกต้องไหม ตามความเป็นจริง ปัญญาสามารถที่จะรู้ถูก เห็นถูกในสิ่งที่กำลังปรากฏ ทั้งสภาพที่กำลังเห็น และสิ่งที่กำลังปรากฏหรือไม่ เพราะว่าขณะนี้ความจริงเป็นอย่างนั้น ในขณะที่เห็น ถ้าย้ายความจริงมาอีกขณะหนึ่ง คือขณะที่กำลังได้ยิน จะไม่มีเห็นเลย เพราะฉะนั้น ความจริงแท้ในขณะของได้ยิน แยกออกมาหนึ่ง เลย จะไม่มีอะไรเจือปนเลยทั้งสิ้น รู้อยู่ เห็นอยู่ อย่างไรในสภาพที่กำลังได้ยินกับเสียง

    นี่ก็คือชีวิตตามความเป็นจริงแต่ละขณะ เพราะฉะนั้น เราไม่ต้องไปกังวลเรื่องชื่อ เรื่องทวาร หรืออะไรทั้งหมด แต่สิ่งใดที่มีแล้วไม่รู้ ก็เริ่มต้นที่จะค่อยๆ รู้ ค่อยๆ เข้าใจ แล้วทุกอย่างจะตรงตามที่ได้ศึกษา แล้วก็เป็นปัญญาของเราเองด้วย เวลานี้ไม่ใช่เป็นปัญญาของเราเองเลย เป็นปัญญาที่เกิดจากการฟัง แล้วก็ไตร่ตรอง แต่เป็นปัญญาของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นปัญญาของพระสาวก ที่ท่านได้รู้แจ้งความจริงแล้ว ปัญญาของเรา เราต้องรู้ตามความเป็นจริง จะเริ่มอย่างไรจึงจะค่อยๆ ไปถึง อย่างที่ท่านเหล่านั้นได้ประจักษ์ความจริงนั้นๆ แทนที่จะมานั่งคิด ทางทวารไหนอย่างไร

    ผู้ฟัง มีผู้สงสัย อย่างเช่นเรียนพระอภิธรรมกัน เรียนอย่างละเอียดมากเลย ว่าสภาพธรรมเกิดอย่างนี้ เป็นอย่างนี้ ก็มีคนสงสัยถามกันว่า เวลารู้สภาพธรรมไม่ได้รูปแบบนั้น

    ท่านอาจารย์ ทำไมถึงจะไม่ได้รู้แบบนั้น

    ผู้ฟัง หมายความว่า อย่างเช่นตรงนี้ คือสภาพธรรมเกิดขึ้นไปแล้วดับไปแล้ว แต่ว่าก็ยังรู้สภาพธรรมที่ดับไปแล้วนั้นอยู่ ตามลักษณะของสภาพธรรมของเขา ที่รู้ รู้อะไร รู้ด้วยความจำ หรือว่ารู้อย่างไร

    ท่านอาจารย์ คือเรื่องราวทั้งหมดเลย แต่ปัญญาเป็นสภาพรู้ ไม่ใช่เรา ปัญญาที่เกิดจากการฟัง พิจารณาสิ่งที่ได้ยินได้ฟัง ขณะนี้เกิดความสงสัย ไม่ใช่ปัญญา เราจะมีความสงสัย ซึ่งความสงสัยนี้จะหมดได้เมื่อไร เราจะไปเที่ยวถามใครเรื่องของวิถีจิต เราจะไปรู้ได้อย่างไร ดับไปแล้ว หรืออะไรอย่างนี้ ไม่มีทางที่จะตอบได้เลย ถึงเขาตอบก็ไม่ใช่ปัญญาของเรา การที่จะมีปัญญาของเราจริงๆ แท้ๆ โดยที่ไม่ต้องพึ่งพาใครอีกแล้ว คือเมื่อฟังธรรมเข้าใจจริงๆ ก็มีความมั่นคงในสัจจญาณก่อนอื่น ยังไม่ต้องไปมั่นคงว่า รูปเกิดกระทบทางตา ทางหู ทางปัญจทวาร แล้วจิตนั้นเกิด จิตนี้เกิด ไม่ใช่ไปมั่นคงอย่างนั้น แต่ว่ามั่นคงว่า ขณะนี้มีธรรมซึ่งปรากฏทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ โดยนัยของพระสูตร มีเรื่องของสัมปฏิจฉันนะ สันตีรณะ โวฏฐัพพนะ

    ผู้ฟัง ไม่เคยเห็น

    ท่านอาจารย์ แล้วผู้ที่ได้ฟังแล้วสามารถรู้แจ้งอริยสัจธรรม ได้ไหม

    ผู้ฟัง ได้

    ท่านอาจารย์ ได้ เพราะฉะนั้น เราจะสงสัยอะไร สงสัยในสิ่งซึ่งไม่ใช่ปัญญาของเรา

    ฟังธรรมจากหัวข้อย่อย

    หมายเลข 17
    22 มี.ค. 2567