ปกิณณกธรรม ตอนที่ 208


    ข้อความนี้อยู่ระหว่างตรวจสอบแก้ไข

    ตอนที่ ๒๐๘

    สนทนาธรรม ที่ ประเทศสหรัฐอเมริกา

    พ.ศ. ๒๕๔๓


    ผู้ฟัง ทำไมทางปสาทรูป นอกจากทางกายแล้วเป็นอุเบกขา ก็เหมือนกับฆ้อนหล่นบนสำลี

    ท่านอาจารย์ อันนั้นทางกาย ถ้าทางอื่น อุปาทายรูปกระทบกับอุปาทายรูป ไม่เหมือนกายปสาทรูปซึ่งกระทบกับโผฏฐัพพะ โผฏฐัพพะ คือ ธาตุดิน ธาตุไฟ ธาตุลม เพราะฉะนั้น การกระทบนั้นก็เป็นปัจจัยให้เกิดทุกข์หรือสุขเวทนา แต่หายสงสัยไหม ถ้าบอกอย่างนี้

    ผู้ฟัง มีคำตอบที่ว่า กายวิญญาณมีแค่สุขหรือทุกขเวทนาเท่านั้น คือ เพราะว่ากระทบมหาภูตรูป ๓ ไม่เหมือนกับวิญญาณจิตอย่างอื่นที่กระทบหทยรูป แต่ผมก็ยังสงสัยอยู่

    ท่านอาจารย์ สงสัย เพราะว่าขณะนี้ลักษณะของสุขหรือทุกข์ไม่ได้ปรากฏในขณะที่กระทบ เป็นที่น่าสงสัยอย่างยิ่ง อย่างทางตาก็เห็นธรรมดา อุเบกขาเวทนา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น แต่ทางกายก็ดูเหมือนอย่างนั้น พอกระทบสัมผัสก็ไม่ได้เกิดทุกข์หรือเกิดสุข เหมือนเฉยๆ แต่จากการตรัสรู้ เป็นไปไม่ได้ที่ทางกายจะเป็นความรู้สึกอุเบกขา ถ้าไม่เป็นผู้ที่มีสติสัมปชัญญะจะไม่รู้เลยว่า ขณะที่เฉย เป็นทุกขเวทนาหรือว่าเป็นสุขเวทนา เพราะว่าใกล้เคียงกันมาก ถ้าสุขสบายนิดหน่อย สบายนิดเดียวกับทุกข์นิดเดียว เราไม่สามารถจะรู้ได้ เพราะว่าเราไม่ได้อบรมเจริญสติปัฏฐานที่จะรู้ลักษณะของสภาพธรรมนั้น แต่ถ้าเป็นผู้ที่ปกติอบรมเจริญสติปัฏฐาน เวลาที่สติระลึก ผมสักเส้นที่กระทบหน้าผาก ผมเบาบางแค่ไหน เล็กแค่ไหนกระทบหน้าผาก รำคาญแล้ว รำคาญทำไม ถ้ามีความรู้สึกสบาย ก็ไม่ต้องรำคาญ แต่ที่เกิดรำคาญ เพราะความรู้สึกรำคาญ ไม่สบายเล็กๆ น้อยๆ เกิดขึ้น

    ถ้าจะรู้จริงๆ มีทางเดียว คือต้องขณะนั้นเป็นปัญญาที่สามารถที่จะรู้ สภาพที่เกิดทางกายว่า เป็นสุขเวทนา หรือทุกขเวทนา เพราะเราชินมาก กระทบอะไรก็เฉยๆ ทั้งนั้น แต่ความจริงไม่เฉย ชั่วขณะที่ปรากฏต้องเป็นอย่างหนึ่งอย่างใด แล้วแต่ว่าจะมากหรือจะน้อย

    เวทนาก็ปรากฏเป็นเวทนาขันธ์ ในชีวิตประจำวันซึ่งทุกคนแสวงหา และรู้ได้ แต่สัญญาแม้เกิดยากเหลือเกิน ที่จะรู้ว่าที่พูด มีจิตที่ทำให้เกิดการพูด ก็มีสัญญาเจตสิกเกิดร่วมด้วย ถ้าไม่มีสัญญาเจตสิกจะจำคำที่พูดได้ไหม ไม่ได้ หรือจะทำอะไรก็ตาม อยู่ในครัว แต่จะหยิบมีด หยิบช้อน หยิบซ่อม เพราะสัญญาทั้งนั้น ถ้าไม่มีสัญญาเกิดขึ้น ความจำก็มีไม่ได้

    ชีวิตของเราเป็นเสี้ยวขณะวินาทีที่เล็กมาก สั้นมาก แล้วก็เกิดดับสืบต่อเร็วจนกระทั่งเราไม่รู้เลยว่า แต่ละเจตสิกได้เกิดขึ้นกับจิต แล้วก็ทำงานของเจตสิกนั้นๆ อย่างไรบ้าง แต่ด้วยการที่ทรงแสดงให้เห็นสภาพที่เป็นอนัตตาทั้งหมด ก็ทรงแสดงลักษณะของเจตสิกทุกชนิด แล้วก็บอกว่าเจตสิกนั้นๆ เกิดกับจิตอะไร แล้วก็ต้องเกิดกับจิตอะไร เช่น ทุกขเวทนา หรือสุขเวทนา ต้องเกิดกับกายวิญญาณ สำหรับเวทนาที่เป็นวิบาก ถ้าเกิดทางกายก็รู้ได้ ถ้าเกิดทางอื่น ยากไหมที่จะรู้

    ผู้ฟัง อย่างเช่นอะไรบ้าง ที่บอกว่ายากที่รู้

    ท่านอาจารย์ ภวังคจิต ต้องมีแล้ว เวทนา สัญญา เจตนา เพราะฉะนั้น เรื่องชาติของจิตเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้เรารู้ความต่างของเจตสิกนั้นๆ ด้วย หรือแม้แต่ชวนจิต เราก็จะรู้สัญญาที่ต่างกันได้ ถ้าเป็นการที่จำ ธรรมดาๆ เราไม่ต้องใช้ความเพียรอะไรเลย จำได้จากการเห็นบ่อยๆ แต่ถ้าเป็นการจำเรื่องธรรมที่ต้องคิด เปลี่ยนไปแล้วใช่ไหม ความจำเองก็ต้องมีหลายระดับ ความจำที่เกิดกับปัญญากับความจำที่ไม่ได้เกิดกับปัญญาก็ต่างกัน ปัญญาก็มีหลายระดับ

    สัญญาที่จะจำที่จะเข้าใจ ตั้งแต่เราเริ่มเรียนคำว่า ปรมัตถธรรม หรือ ธรรม ก็ต้องมีสัญญาความจำที่จำความหมายของสิ่งนั้นแล้วก็เพิ่มขึ้นอีก จำเรื่องจิต จำเรื่องเจตสิก จำเรื่องต่างๆ สัญญาก็มีหลายระดับด้วย จนกว่าจะถึงสัญญาที่สามารถที่จะจำลักษณะที่ไม่ใช่ตัวตน คือ จำลักษณะของนามธรรมหรือรูปธรรมพร้อมด้วยสติสัมปชัญญะ เพราะฉะนั้น สัญญาก็จะมีลักษณะที่ต่างกันไป จนกระทั่งถึงสัญญาที่จำการเกิดขึ้น และดับไปของนามธรรม และรูปธรรม

    สำหรับสัพพจิตตสาธารณะทั้งหมดก็จะต้องเกิด แต่ว่าทำหน้าที่ต่างๆ กัน อย่างผัสสะก็กระทบ แต่ก็สำคัญ ไม่กระทบจิต และเจตสิกทั้งหลายก็เกิดไม่ได้ เพราะฉะนั้น ก็มีความสำคัญเฉพาะของเจตสิกต่างๆ แต่ละอย่าง เช่น ผัสสะสำคัญโดยความเป็นอาหารปัจจัย เวทนาสำคัญไหม เป็นขันธ์ที่เป็นเวทนาขันธ์ สำหรับเจตนาเจตสิก เป็นสภาพที่จงใจ ตั้งใจ ซึ่งทุกคนรู้ อย่างคุณแจ๊คตั้งใจจะทำอะไรบ้าง ตั้งแต่เช้าตื่นขึ้นมาตั้งใจจะฟังเทป หรือว่าอ่านหนังสือ หรือทำอะไรทั้งหมด นั่นคือลักษณะของเจตนาเจตสิก เป็นสภาพที่จงใจ ตั้งใจ ขวนขวายเพื่อจะทำกิจ เพราะฉะนั้น กรรมจึงได้แก่เจตนาเจตสิกเป็นตัวกระทำ เป็นผู้กระทำ เป็นผู้จงใจ ตั้งใจ ไม่ว่าจะเกิดกับจิตชาติอะไรทั้งสิ้น แม้แต่ปฏิสนธิจิตที่เกิด มีทั้งผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา ไม่ว่าเจตนาจะเกิดกับกุศลจิตหรืออกุศลจิต ซึ่งเราเห็นว่าเป็นการจงใจตั้งใจที่จะทำกุศล ที่จะทำอกุศลก็ตามแต่ นั่นเป็นสภาพที่เรารู้ได้ แต่เจตนาเจตสิกที่เกิดกับวิบากจิต ไม่มีใครรู้ แต่เจตนาก็ต้องทำกิจของเจตนา แม้ปฏิสนธิจิต เราเลือกไม่ได้ว่าเราจะเกิดที่ไหน หรือว่าจะให้กรรมอะไรให้ผลทำให้ปฏิสนธิจิตประเภทนั้นๆ ชนิดนั้นๆ เกิด เพราะว่าทุกคนมักจะถามว่า ทำอย่างไรก่อนจะตาย จงใจที่จะให้เกิดในที่ดีๆ แต่เป็นไปไม่ได้เลย นั่นเป็นเรื่องความคิดว่า มีตัวตนที่จะกระทำได้ ไม่ได้เข้าใจเรื่องสภาพของธรรมที่เป็นจิต เจตสิกเลย

    ถ้าเป็นเรื่องที่ว่าเมื่อกรรมหนึ่งกรรมใดในสังสารวัฏที่ผ่านมาแล้ว เป็นปัจจัยที่จะให้ปฏิสนธิจิตเกิด ใครก็ยับยั้งไม่ได้ที่จะให้ปฏิสนธิจิตชนิดนั้นเกิดขึ้นพร้อมด้วยเจตนา และเจตสิกอื่นๆ ซึ่งเป็นวิบากทั้งหมดที่เกิดร่วมกัน แต่ละเจตสิกก็ต้องทำกิจของตนๆ อย่างเจตนา ในขณะที่เกิดกับวิบากจิตรึกุศลจิต หรือ อกุศลจิต ก็เป็นสภาพที่จงใจ ตั้งใจ ขวนขวายที่จะกระทำกิจนั้น แล้วก็กระตุ้นเตือนสหชาตธรรม คือ เจตสิกอื่นๆ ให้กระทำกิจนั้นด้วย เพราะฉะนั้น เจตนาจึงเป็นกรรม ทั้งที่เป็นสหชาตกัมมปัจจัย และนานักขณิกกัมมปัจจัย คือ กรรมให้ผลหลังจากที่กรรมนั้นได้กระทำแล้ว

    ผู้ฟัง คงจะย้ำอีกทีว่า ความหมายของสหชาตกัมมปัจจัย กับนานักขณิกกัมมปัจจัย ความหมายของสหชาตกัมมปัจจัย คือเจตนาเจตสิกที่เกิดกับจิตทุกชาติ สหชาตธรรมกับสภาพที่สัมปยุตด้วย นานักขณิกกัมมปัจจัย เกี่ยวกับกุศลจิตกับอกุศลจิตเท่านั้น ที่มีกำลังแล้วก็จะให้ผลเป็นกุศลวิบาก หรืออกุศลวิบากในภายหลัง

    ท่านอาจารย์ การเรียนสังเกตได้ว่ามี ๒ อย่าง เรียนให้เข้าใจ แล้วชื่อตามมาทีหลัง หรือว่าเอาชื่อมาแล้วพยายามเรียนให้เข้าใจชื่อนั้น แต่ถ้าเราเรียนให้เข้าใจแล้ว เรารู้เลยว่า ชื่อนั้นคือนี้แหละ อย่างเจตนาเจตสิกซึ่งเกิดกับจิตทุกดวง ถ้าเรารู้ ไม่ว่าชาติกุศล อกุศล วิบาก กิริยา เพราะฉะนั้น ชื่อ สหชาตกัมม หมายถึงเจตนาที่เกิดพร้อมกับเจตสิกอื่นๆ เป็นปัจจัยให้เจตสิกอื่นๆ เกิดร่วมกัน กระตุ้นเตือนให้สหชาตเจตสิกอื่นๆ เกิดร่วมกันทำงานร่วมกันพร้อมกันในขณะนั้น หรือว่าเจตนาที่เกิดแล้วดับไปให้ผลหลังจากที่กรรมนั้นได้สำเร็จลงไปแล้ว เช่น ทำอกุศลกรรมวันนี้ ยังไม่ได้มีวิบากจิตเกิดวันนี้ แต่ว่าวิบากจิตข้างหน้าที่จะเกิด เกิดเพราะกรรมที่ได้กระทำแล้ว

    ชื่อนี้เราก็เข้าใจได้ อยู่ที่ความที่เข้าใจของเราที่เข้าใจอยู่แล้วว่า เมื่อกรรมได้ทำสำเร็จลงไปแล้ว ก็จะเป็นปัจจัยทำให้ผลเกิดขึ้นข้างหน้าได้ นั่นคือ นานักขณิกกัมม

    เริ่มตั้งแต่ขั้นต้นว่า จิต เจตสิก รูปที่จะเกิดจะต้องมีปัจจัยปรุงแต่ง เกิดตามลำพังไม่ได้ เราก็จะมาเริ่มมาเข้าใจคำว่า อายตนะ คือ ที่เกิด บ่อเกิด ที่ประชุมว่า เมื่อมีสภาพธรรม คือ จิตเกิด ตรงนั้นมีอะไรบ้างที่ขาดไม่ได้ ที่จะต้องประชุมกันเกิดขึ้นตรงนั้น แต่ตอนนี้เราไม่ได้พูดเรื่องปัจจัยเลย ไม่พูดเรื่องสังขารเลย แต่จะพูดเฉพาะตรงที่เกิด นั่นแหละ มีธรรมอะไรบ้าง ต้องเป็นปรมัตถธรรมทั้งหมดจึงจะเป็นอายตนะ เพราะว่ามีตัวจริงๆ อยู่ตรงนั้นจริงๆ รวมกันจริงๆ ประชุมกันจริงๆ ตรงนั้น อายตนะมีเท่าไร ทราบแล้วใช่ไหม

    ผู้ฟัง ๑๒ อายตนะภายใน ๖ อายตนะภายนอก ๖

    ท่านอาจารย์ เวลาที่จิตขณะหนึ่งเกิดขึ้น อย่างที่ปฏิจจสมุปบาท อวิชชาเป็นปัจจัยแก่สังขาร ได้แก่ เจตนาเจตสิกที่เป็นกรรม สังขารเป็นปัจจัยให้เกิดวิญญาณ กรรมเป็นปัจจัยให้เกิดผล คือ วิบากจิต ปฏิสนธิจิตเป็นต้น วิญญาณเป็นปัจจัยให้เกิดนามรูป ในภูมิที่มีขันธ์ ๕ เวลาที่มีปฏิสนธิจิตเกิด ต้องมีจิตเจตสิก และรูปเกิดที่นั้น

    คำว่านามรูปของปฏิจจสมุปปาท ซึ่งเกิดจากวิญญาณเป็นปัจจัย พร้อมกันในขณะปฏิสนธิ ปฏิสนธิจิตก็เป็นปัจจัยให้เจตสิกเกิดร่วมด้วย แล้วก็เป็นปัจจัยให้กัมมชรูปเกิด ตอนนี้เข้าใจ นามรูปเป็นปัจจัยให้อะไรเกิด

    ผู้ฟัง ภายนอกหรือภายใน

    ท่านอาจารย์ ที่นี่เป็นภายใน สำหรับปฏิจจสมุปบาท แต่ต้องรวมภายหลัง ถึงภายนอกด้วย แต่อะไรเกิดก่อน

    ผู้ฟัง ภายในเกิดก่อน

    ท่านอาจารย์ นามรูปก็เป็นปัจจัยให้เกิดอายตนะ แต่จริงๆ เป็นการลำดับมา จะลำดับมาลำดับไปอย่างไรก็ตามแต่ แต่เราก็ต้องเข้าใจตั้งแต่ปฏิสนธิจิต ภวังคจิต เรื่อยมาจนกระทั้งถึงเวลาที่มีตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจที่จะรู้อารมณ์ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ที่จะปรากฏอารมณ์อื่นนอกจากอารมณ์ของภวังค์ เพราะว่าปฏิสนธิกับภวังค์ไม่มีอะไรปรากฏเลย อยู่ไปเถอะ เป็นภวังค์ไป ก็ไม่มีอะไรปรากฏ ไม่ว่าจะภพไหนภูมิไหนทั้งสิ้น ไม่คิดไม่นึกไม่เห็น ไม่ได้ยิน ไม่อะไรทั้งหมด เป็นแต่เพียงจิตที่เกิดแล้วก็รู้อารมณ์ ที่เป็นอารมณ์ของปฏิสนธิกับภวังค์เท่านั้น แต่ที่เรามีชีวิตทุกวันนี้ เราไม่ได้มีแต่ภวังคจิต เรามีวิถีจิตด้วย เพราะฉะนั้น การที่จะมีวิถีจิตก็จะต้องมีอายตนะ มีธรรมที่จะประชุมกันตรงนั้น ที่จะทำให้เกิดการรู้อารมณ์อื่นที่ไม่ใช่อารมณ์ของภวังค์ด้วย สำหรับอายตนะทั้งหมดมี ๑๒ เป็นภายใน ๖ ภายนอก ๖ ภวังคุปเฉทะ เป็นมนายตนะหรือเปล่า

    ผู้ฟัง ใช่ เพราะเป็นจิตทั้งหมด จิต ๘๙

    ท่านอาจารย์ เป็นทวารหรือเปล่า

    ผู้ฟัง เป็นทวารทางมโนทวาร

    ท่านอาจารย์ เป็นมโนทวาร

    ท่านอาจารย์ โลภมูลจิตเป็นมนายตนะ หรือเปล่า

    ผู้ฟัง ใช่ เพราะว่าเป็นจิต

    ท่านอาจารย์ ถ้ากล่าวว่า มนายตนะ ได้แก่ จิตทุกดวง เพราะว่าถ้าไม่มีจิตก็จะไม่มีการรู้อารมณ์เลยทั้งสิ้น แล้วก็จิตทุกประเภทก็รู้ด้วย แม้แต่ภวังคจิตก็รู้อารมณ์ แต่ว่าไม่ได้รู้อย่างทางทวารอื่น เพราะฉะนั้น เวลาที่พูดถึงอายตนะภายนอก หมายความถึงสิ่งที่มนายตนะรู้ แต่เวลาที่พูดถึงอายตนะที่เป็นภายใน คล้ายๆ กับทวารหรือเปล่า

    ผู้ฟัง ก็ไม่ใช่ทวาร

    ท่านอาจารย์ ถูก แต่คำถามว่า จำนวนกับประเภทคล้ายกับทวารหรือเปล่า

    ผู้ฟัง คล้ายกัน จำนวนเท่ากัน คล้ายกัน

    ท่านอาจารย์ จำนวนเท่ากัน เพราะทวารก็ ๖ อายตนะก็ ๖ แล้วทวารก็เป็นรูป ๕ เป็นนาม ๑ ความต่างอยู่ตรงไหน

    ผู้ฟัง ความต่างอยู่ที่ว่า ถ้ามีอายตนะแล้ว ต้องมีการประชุม

    ท่านอาจารย์ ทีนี้ถ้าพูดถึงอายตนะภายใน ๖ กับทวาร ๖ จำนวนเท่ากัน อายตนะ ๖ ก็เป็นรูป ๕ เป็นนาม ๑ แล้วก็ทวารก็เป็นรูป ๕ เป็นนาม ๑ ๒ อย่างต่างกันหรือเหมือนกันตรงไหนอย่างไร

    ผู้ฟัง ความต่างกันของทวาร ๕ ทวาร ๖ กับอายตนะ ๖ คือว่าตอนเป็นทวาร เป็นทางเกิด แต่ว่าขณะนั้นไม่จำเป็นต้องเป็นที่ประชุม อาจจะไม่มีอารมณ์ของจิตอันใดอันหนึ่งเกิดขึ้น แต่ว่าถ้าเป็นอายตนะแล้วจะต้องเป็นที่ประชุม ต้องมีทั้งอารมณ์กับจิตประชุมกัน แต่ว่าตอนที่เป็นทวาร ถ้ายังไม่เป็นจิตไม่เป็นทวาร ยังไม่เป็นวัตถุ ไม่เป็นที่เกิดของจิต ตามความเข้าใจของเรา แต่ว่าตอนที่เป็นอายตนะจะต้องมีทั้งอารมณ์ด้วย แล้วก็จิตเกิดขึ้นด้วย

    ท่านอาจารย์ ทวาร ๖ ที่เราพูดถึง เป็นรูป ๕ เป็นนาม ๑ อายตนะ ๖ ก็เป็นรูป ๕ เป็นนาม ๑ ทั้ง ๒ อย่างจะต่างกันหรือเหมือนกันตรงไหนอย่างไร

    ผู้ฟัง ต่างกัน

    ท่านอาจารย์ ต่างกันตรงนี้ ทำให้เราเข้าใจความต่างของทวารกับอายตนะ เพราะตอนนั้นมุ่งที่จะกล่าวถึงทวาร แต่ตอนนี้มุ่งที่จะกล่าวถึงความเป็นอายตนะที่ประชุม ที่ต่อ

    ทีนี้พอพูดถึงเรื่องทวาร ก็พูดถึงทางที่จิตจะเกิดขึ้นรู้อารมณ์ ถ้าไม่มีทาง จิตก็ไม่ได้รู้อารมณ์อื่น ก็เป็นภวังค์ไปเรื่อยๆ แต่ที่จะรู้อารมณ์อื่น คือ จิตไม่เป็นภวังค์อีกต่อไป ต้องอาศัยอะไรเป็นทวารบ้าง ก็มีรูป ๕ นาม ๑ พอพูดถึงวัตถุ ก็ไม่ได้พูดถึงเรื่องทวาร ไม่ได้พูดถึงอารมณ์ แต่พูดถึงเรื่องที่เกิดของจิต มีเท่าไร

    ผู้ฟัง มีวัตถุ ๖

    ท่านอาจารย์ เป็นรูปเท่าไร เป็นนามเท่าไร

    ผู้ฟัง รูป ๖ หทยรูป ๑ ปสาทรูป ๕

    ท่านอาจารย์ ถ้าเราพูดเรื่องวัตถุ ไม่มีทางที่เราจะไปพูดถึงทวาร เพราะเรากำลังพูดถึงรูปที่เป็นที่เกิดของจิต เราต้องกลับมาที่รูปซึ่งเป็นที่เกิดของจิต พอพูดถึงทวารเราก็ต้องกลับไปพูดถึงทางที่จิตอาศัยเกิดขึ้นรู้อารมณ์อื่น พอพูดถึงอารมณ์ เราก็ต้องกลับไปหาสิ่งที่จิตรู้ว่ารู้อารมณ์ทางไหนบ้าง

    รูปารมณ์รู้ได้ ๒ ทาง คือ ทางตากับทางใจ เพราะฉะนั้น พูดถึงธัมมารมณ์หมายความถึงที่รู้ได้เฉพาะทางใจทางเดียว เวลาที่จิตรู้รูปารมณ์ทางใจ รู้ธัมมารมณ์หรือเปล่า

    ผู้ฟัง อาจารย์ช่วยถามอีกที

    ท่านอาจารย์ มโนทวารรู้รูปารมณ์ได้ ใช่ไหม

    ผู้ฟัง ได้

    ท่านอาจารย์ เวลาที่มโนทวารรู้รูปารมณ์ ขณะนั้นมโนทวารรู้ธัมมารมณ์หรือเปล่า

    ผู้ฟัง รู้ เพราะว่าเป็นอารมณ์ทางใจ ต้องเป็นธัมมารมณ์ ความเข้าใจของโอ๋ คิดว่าความเข้าใจนั้นต้องเป็นธัมมารมณ์

    ท่านอาจารย์ ใช่ อารมณ์ ๖ ตายตัว เปลี่ยนไม่ได้ รูปารมณ์ต้องเป็นรูปารมณ์ ไม่ว่าจะรู้ทางไหน เปลี่ยนสภาพของรูปารมณ์ไม่ได้ รูปารมณ์ได้แก่อะไร สิ่งที่ปรากฏทางตา สัททารมณ์ได้แก่อะไร ได้แก่เสียง เวลาที่มโนทวารวิถีจิตรู้เสียง เปลี่ยนเสียงไม่ได้ ให้เป็นอย่างอื่นไมได้ เสียงยังคงเป็นเสียง เสียงยังคงเป็นสัททารมณ์ เพราะฉะนั้น จะเปลี่ยนลักษณะของสัททารมณ์ให้เป็นธัมมารมณ์ไม่ได้ อารมณ์ไหนก็อารมณ์นั้น รูปารมณ์ก็ต้องเป็นรูปารมณ์ สัททารมณ์ก็ต้องเป็นสัททารมณ์ จะให้สัททารมณ์มาเป็นธัมมารมณ์ ไม่ได้

    ผู้ฟัง คำตอบก็คือไม่ใช่

    ท่านอาจารย์ ธัมมารมณ์ เราตายตัว ได้แก่อะไรบ้าง

    ผู้ฟัง ทุกอย่างที่ไม่ใช่อารมณ์ ๕ ทุกอย่างนอกจากอารมณ์ ๕ แล้วเป็นธัมมารมณ์

    ท่านอาจารย์ เพราะว่าสามารถจะรู้ได้เฉพาะทางใจทางเดียว เราจะรู้ได้เลยว่า จักขุปสาทมีความสำคัญมาก ในรูปทั้งหมดทั่วตัว มหาภูตรูปเป็นใหญ่เป็นประธานจริง แต่มหาภูตรูปไม่ใช่ทวาร อ่อน แข็ง เย็น ร้อน ธรรมดาๆ ไม่ใช่ทวาร ไม่ใช่ทางที่จิตจะเกิดขึ้น รู้อารมณ์ มหาภูตรูปก็ไม่ใช่ที่เกิดของจิตด้วย ทั้งๆ ที่เป็นรูปที่เป็นใหญ่เป็นประธาน แต่ว่ารูปที่จะมีส่วนสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องใกล้ชิดกับจิตมี ๕ รูป คือ ถ้าปราศจากจักขุปสาทรูป โสตปสาทรูป ฆานปสาทรูป ชิวหาปสาทรูป กายปสาทรูป อะไรๆ ก็ไม่ปรากฏ ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ได้แต่คิดนึกโดยอาศัยใจ

    เราต้องทราบเลยว่าเวลาที่จิตเกิดขึ้นรู้อารมณ์ ขณะนั้นรูปอื่นก็มี แต่รูปนั้นเกิดแล้วดับแล้วทั้งหมด แล้วไม่เกี่ยวข้องกับการที่จิตกำลังเห็นขณะนี้เลย มหาภูตรูปตั้งแต่ศีรษะตลอดเท้าไม่ใช่ไม่มี มีแล้วก็เกิดดับ โสตปสาทรูปก็มี เกิดดับ เพราะเหตุว่าเป็นรูปที่เกิดจากกรรม แต่ชั่วขณะที่เห็น รูปที่สำคัญที่สุดคือจักขุปสาทรูป เป็นอินทรีย์ เป็นจักขุนทรีย์ เป็นใหญ่เป็นประธาน ขณะนั้นมหาภูตรูปไม่ได้เป็นใหญ่เลย เพราะเป็นแต่เพียงประธานของรูปที่จะอาศัยเขาเกิด แต่ว่าจักขุปสาทในขณะนั้น ถ้าไม่มี เห็นไม่มีเลย

    รูปที่สำคัญที่สุด มีเหมือนไม่มี ทั้งหมดเว้นพวกนี้ แล้วเว้นชั่วขณะที่จิตประเภทนั้นๆ เกิด เช่นในขณะที่จิตได้ยินเกิด จักขุปสาทก็ไม่มีความหมายอะไร เกิดแล้วก็ดับไป ไม่เป็นทวาร ไม่เป็นอายตนะ ไม่ได้ประชุมอยู่ในที่นั้น เกิดแล้วก็ดับไป ขณะที่จิตได้ยินเกิด ก็ต้องเป็นโสตปสาทรูปที่กระทบ ประชุมตรงนั้นที่จะทำให้จิตเกิดขึ้นได้ยินเสียง เพราะฉะนั้น ตรงนั้นจึงเป็นอายตนะภายใน เราก็จำได้เลย ใช่ไหม รูปทั่วตัว ที่สำคัญที่สุดที่เกี่ยวเนื่องกับจิตเป็นรูปภายในมีเพียง ๕ นอกจากนั้นเป็นรูปภายนอกทั้งหมด ถ้าแยกรูป ๒๘ ออกเป็นประเภทๆ รูปภายในมี ๕ รูป คือ จิตต้องอาศัยรูป ๕ รูปนี้สำหรับที่จะรู้อารมณ์ เป็นภายในจริงๆ เป็นอายตนะ ขณะนั้นที่จะเกิดการเห็นขึ้น หรือขณะที่กำลังเห็นขาดจักขุปสาทไม่ได้ เป็นอายตนะต้องอยู่ตรงนั้น ต้องมีตรงนั้น ต้องเกิดตรงนั้น ยังดับไม่ได้ด้วย รูปารมณ์ก็ต้องกระทบอยู่ตรงนั้นเหมือนกัน ยังดับไม่ได้ด้วย ๒ แล้ว แล้วยังมีอะไรอีกที่ตรงนั้นที่เป็นที่พบ ที่ประชุม ที่เกิด มนายตนะ ก็ต้องมีที่นั่น แล้วอีกคือเจตสิก คือ ธัมมายตนะก็ต้องอยู่ตรงนั้น อย่าลืม ว่าที่เจตสิกเป็นธัมมายตนะ เป็นภายนอก แสดงว่าเจตสิกจะเป็นภายในไม่ได้เลย มนายตนะหรือจิตเท่านั้นที่เป็นภายใน ทั้งๆ ที่เจตสิกก็เกิดกับจิต อาศัยจิต แต่จิตเป็นประธาน เป็นใหญ่ ที่ไหนมีมนายตนะ ที่นั่นต้องมีธัมมายตนะ คือ เจตสิกซึ่งประชุมอยู่ตรงนั้นด้วย เวลาที่จิตเกิด เจตสิกต้องมีอยู่ตรงนั้นด้วย แต่เวลาที่จิตนั้นมีจิตอื่น หรือเจตสิกที่เกิดกับจิตอื่นเป็นอารมณ์ แสดงให้เห็นว่า ต้องเป็นการเกิดดับสืบต่อกันของจิต และเจตสิก ไม่ใช่เป็นสภาพของจิตจริงๆ ซึ่งกำลังทำหน้าที่เป็นอายตนะตรงนั้น แต่ว่าสามารถจะเป็นอารมณ์ เพราะเหตุว่ามีการเกิดดับสืบต่อจนปรากฏที่จะทำให้เรารู้ได้ เช่น จิตเห็นในขณะนี้ ไม่ใช่ หนึ่งขณะเลย ที่กำลังเห็นขณะนี้ เป็นจิตเห็นซึ่งตามวาระหรือวิถีที่กล่าวถึงแล้ว จะต้องเป็นวิถีจิตตลอดไปจนกระทั่งรูปารมณ์ดับ แล้วเป็นภวังค์คั่น แล้วมโนทวารวิถีจิตก็เกิด แล้วก็รู้ รูปารมณ์นั้นต่อ แล้วก็ยังมีมโนทวารวิถีอื่นอีก แล้วก็คั่นจิตเห็นนี้เรื่อยๆ แต่การเกิดดับของจิตที่เร็วสุดจะประมาณได้ ก็สามารถที่จะรู้ว่า สภาพเห็นสิ่งที่กำลังปรากฏในขณะที่มีรูปปรากฏ ก็จะต้องมีสภาพรู้หรือธาตุรู้นั้นด้วย

    ในขณะนั้นไม่ใช่ตัวจิตจริงๆ แต่เป็นการเกิดดับของจิตที่เร็ว ยังสามารถที่จะรู้ได้ว่า เป็นลักษณะของจิตหรือเป็นลักษณะของเจตสิกซึ่งเป็นอารมณ์ แต่ไม่ใช่เป็นอายตนะ ถ้าเป็นอายตนะก็ต้องเป็นตัวจิตกับเจตสิกซึ่งเกิดร่วมกันที่นั่นเป็นอายตนะ เพราะเป็นปรมัตถธรรม ที่มีอยู่ตรงนั้นจริงๆ

    ผู้ฟัง ขณะใดที่สติเกิด เราก็ทราบว่า ขณะนั้นเรามีสติ เวลาสติเกิดจะต้องตรงกับปริยัติที่เราเรียนมาโดยที่เราไม่ต้องถามเลยว่า ใช่สติหรือไม่

    ฟังธรรมจากหัวข้อย่อย

    หมายเลข 17
    22 มี.ค. 2567