ปกิณณกธรรม ตอนที่ 193


    ข้อความนี้อยู่ระหว่างตรวจสอบแก้ไข

    ตอนที่ ๑๙๓

    สนทนาธรรม ที่ ประเทศสหรัฐอเมริกา

    พ.ศ. ๒๕๔


    ผู้ฟัง มีคนเขากล่าวว่า นิพพาน สมมติว่ามันก็เหมือนเค็ม คนที่ไม่มีลิ้นรับรสเค็ม อธิบายให้เขาฟังจนตาย เขาก็ไม่รู้เรื่อง

    ท่านอาจารย์ ยังไม่ถึงนิพพาน แค่นามธรรมกับรูปธรรม ให้เขาเข้าใจจริงๆ คือเรื่องฟังเป็นเรื่องที่ไม่ยาก ค่อยๆ พิจารณาตาม แต่ว่าเป็นเพียงเรื่องราวกับความคิดนึก ระดับนี้ก่อน จนกว่าจะเป็นพหุสูตร ผู้ที่ฟังมาก พิจารณามาก ไตร่ตรองมาก นี่เป็นสังขารขันธ์ เพราะเหตุว่าถ้าเราพูดถึงปรมัตถธรรม ๔ จิต เจตสิก รูป นิพพาน ปรมัตถธรรมที่มีในโลกนี้ คือ รูป แล้วก็มีจิตที่รู้รูป เพราะฉะนั้น จิตจะติดอะไร ก็ติดรูป เราเกือบจะไม่รู้เลย ว่า รูปมีจริงๆ เป็นของธรรมดาสามัญที่สุด สีสันวรรณะต่างๆ ปรากฏทางตา เสียงก็ปรากฏทางหู กลิ่นปรากฏทางจมูก รสปรากฏทางลิ้น กายกระทบสัมผัสสิ่งหนึ่งสิ่งใดทั้งหมด ติดหมดเลย เราต้องการอะไรในชีวิตทุกคน ทางตาสิ่งที่สวยๆ ทุกร้านตามถนนหนทางไม่ว่าที่ไหน ในห้องนี้ นอกห้องนี้ ตั้งแต่เกิดมา ตาเห็นแล้วก็ไม่ได้พอใจเพียงแค่เห็น ยังแสวงหาสิ่งที่น่าดู

    แสดงให้เห็นว่า รูปเป็นรูป รูปไม่รู้เลยว่า ใครชอบ รูปอยู่เฉยๆ รูปเกิดแล้วก็ดับ แต่จิตไปเห็นรูป เพราะฉะนั้น จิตก็ติด ชอบรูป ชีวิตทั้งชีวิตของคนที่อยู่ในโลกที่มีรูปจะติดในรูป

    รูปูปาทานขันธ์ รูปทุกรูป เป็นที่ตั้งของความยึดถือ ของความพอใจ เราเกิดมากี่ชาติ เราก็เห็น ของธรรมดาสี แต่ความพอใจของเราล้นเหลือมากมาย สีนี้ก็ไม่ได้ติดตามเราไปชาติหน้า แต่ชาติหน้าเราเห็นอีก แล้วความพอใจติดตามไป ชาติหนึ่งๆ กองโตเท่าไร ความติดข้องเพียงทางเดียว คือตา

    ผู้ฟัง แล้วจะให้เราทำอย่างไร

    ท่านอาจารย์ ฟังพระธรรมให้เข้าใจ ต้องอบรมเจริญปัญญา กว่าจะได้ตรัสรู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ๔ อสงไขยแสนกัป สำหรับผู้ที่ยิ่งด้วยปัญญา ถ้ายิ่งด้วยศรัทธา ๘ อสงไขยแสนกัป ถ้ายิ่งด้วยวิริยะ ๑๖ อสงไขยแสนกัป เพื่อที่จะรู้ความจริงธรรมดาๆ อย่างนี้ แต่คนอื่นที่ไม่ได้สะสมมา ไม่สามารถจะรู้ได้เลยถึงสภาพธรรมที่เป็นเพียงธาตุ ถ้าเราใช้คำว่าธาตุ เราไม่คิดว่าเป็นของเรา ธาตุ คือธาตุแต่ละอย่าง

    ถ้าเป็นนามธาตุ รูปธาตุ ทำไมจะเป็นเรา ก็เป็นธาตุที่ปรากฏทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ นามธาตุเป็นสภาพรู้ แค่นี้ มีอยู่ตั้งแต่โกฏิกัปป์ แล้วไม่รู้ความจริงว่า เป็นธาตุ ต้องอาศัยคำสอนจากผู้ที่ตรัสรู้

    การที่ทำอย่างไร ไม่มีทางทำ แต่ว่าการที่จะเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ด้วยพระปัญญา เพราะฉะนั้น เมื่อทรงตรัสรู้แล้วก็ทรงแสดงธรรม ซึ่งเราเรียกว่าพระธรรม เพราะเป็นคำสอนที่สามารถจะทำให้คนฟังพิจารณาแล้วเกิดปัญญาของตัวเอง ถ้าใครเอาแก้วแหวนเงินทองมาให้เรากับเอาปัญญามาให้ เอาอย่างไหนดี

    ผู้ฟัง เอาปัญญา

    ท่านอาจารย์ เพราะว่าเราซื้อปัญญาไม่ได้ แต่แก้วแหวนเงินทองยังซื้อได้ แต่ปัญญาของใครคนนั้นต้องอบรม ต้องฟัง ต้องพิจารณา ต้องค่อยๆ เกิดขึ้น

    ผู้ฟัง รูปเกิดแล้วดับ รูปในป่าเกิดแล้วดับ

    ท่านอาจารย์ คำใดที่ตรัส คำนั้นไม่เป็นสอง ต้องเป็นอย่างเดียว รูปที่ไหนก็ตาม ใครจะรู้หรือไม่รู้ก็ตาม รูปก็เกิดดับ

    ผู้ฟัง ทีนี้เกิดจากอะไร รูปไม่มีจิต

    ท่านอาจารย์ รูปเกิดจากกรรมก็มี รูปเกิดจากจิตก็มี รูปเกิดจากอุตุ คือความเย็นความร้อนก็มี รูปเกิดจากอาหารก็มี นี่คือสมุฏฐานที่ก่อตั้งให้เกิดรูป

    ผู้ฟัง เวลาที่รูปเกิด ...

    ท่านอาจารย์ ไม่เกี่ยวข้องกันเลย ใครจะรู้หรือไม่รู้รูปก็เกิดดับ ไม่จำเป็น ขณะนี้ รูปที่ตัวคุณหมอ รูปใดที่ไม่ปรากฏ รูปนั้นเกิดแล้วดับแล้ว แล้วก็เกิดอีกแล้วก็ดับอีก แล้วก็เกิดอีกแล้วก็ดับอีก

    ผู้ฟัง สมมติว่ากายเรา เราจะมองไม่มอง ก็

    ท่านอาจารย์ เกิดดับแน่นอน

    ผู้ฟัง ... กายที่ เกิดแล้วดับ

    ท่านอาจารย์ หมอคิดว่าจะเห็นการเกิดดับของกาย

    ผู้ฟัง หรือว่าจะต้องสัมพันธ์กับจิต

    ท่านอาจารย์ ไม่ใช่ ไม่เกี่ยวเลย ถ้ายังเป็นกาย มันไม่ดับ เพราะว่าเป็นเรื่องราวไม่ใช่เป็นการรู้ ว่าขณะนี้มีสิ่งที่ปรากฏก่อนที่หมอจะคิดว่ามันเป็นกาย ลักษณะจริงๆ ของสิ่งที่ปรากฏ ไม่ใช่คน ไม่ใช่กาย ไม่ใช่อะไร เป็นสิ่งที่สามารถกระทบจักขุปสาท ธาตุนี้มีจริง พอกระทบแล้วปรากฏ ปรากฏจนกระทั่งมีความจำค่อยๆ จำ รูปร่างสัณฐานจนเป็นเรื่องเป็นราว เป็นกาย เป็นคน แต่ความจริงแล้ว สิ่งที่ปรากฏทางตาจะเปลี่ยนให้เป็นอย่างอื่นเป็นไปไม่ได้ เป็นได้อย่างเดียวคือกระทบตาแล้วปรากฏ จะไปเอาคนจากสิ่งที่เพียงกระทบตาแล้วปรากฏหรือ

    ผู้ฟัง ไม่ได้ ... เกิดแล้วดับ ต้องสัมพันธ์กับจิตที่เกิดขึ้น

    ท่านอาจารย์ ไม่เกี่ยว นั่นหมอพยายามเอาจิตมาดับ รูปจึงดับ ไม่ใช่

    ผู้ฟัง ถ้าไม่อย่างนั้น จิตของใครจะไปดับรูปที่เกิด และดับในป่า

    ท่านอาจารย์ ไม่ใช่เกิด และดับในป่า หมอมีคำสมมติว่าในป่า หมอมีคำสมมติว่าโลก แต่จริงๆ แล้วโลกปรากฏเมื่อไร ก่อนอื่นขณะแรกที่หมอเกิด ขณะแรกจริงๆ ที่จิตเกิด ไม่รู้จักโลกนี้เลย โลกนี้ไม่ได้ปรากฏกับจิตขณะแรกที่เกิด แน่นอน ตาไม่มี หูไม่มี เพราะว่าเป็นกลุ่มของรูปที่เล็กที่สุด แต่กลุ่มของรูปที่เล็กที่สุด เมื่อเกิดแล้วเพราะกรรม นี่คือโลกที่มีกรรมเป็นสมุฏฐาน เวลานี้หมอมีตาหมอทราบไหมว่า กรรมทำให้จักขุปสาท กรรมทำให้รูปนี้เกิด มีโสตปสาท ทราบไหมกรรมทำให้รูปนี้เกิด

    ผู้ฟัง เป็นไปได้อย่างไร

    ท่านอาจารย์ เป็นไปได้อย่างไร เห็น ตอนทำให้เกิดไม่เห็น

    ผู้ฟัง ด้วยเหตุ ด้วยผล ...

    ท่านอาจารย์ เป็นเหตุเป็นผล พิจารณา เพราะฉะนั้น เราก็ต้องพิจารณาทุกอย่าง นี่คือรูปที่เกิดเพราะกรรม มีรูปที่เกิดเพราะจิตด้วย ต่างจากรูปที่เกิดเพราะกรรม ถ้าเป็นเพียงรูปที่เกิดเพราะกรรม รูปที่เกิดเพราะจิต มีการพูด มีการเคลื่อนไหว มีการกระทำต่างๆ เหล่านี้ ถ้าไม่มีจิต รูปเคลื่อนไหวไม่ได้เลย โต๊ะนี้จะยกขาโต๊ะก็ไม่ได้ ไม่มีจิต คนตายมีรูปจริง ทำอะไรไม่ได้เลย เหมือนท่อนไม้ ไม่มีต่างกัน

    เพราะฉะนั้น รูปที่ตัวที่ยังไม่ตาย คือรูป คือไม่สามารถจะรู้อะไรได้เลยทั้งสิ้น จิตหลังจากที่เกิดครั้งแรก ขณะแรก ดับไหม ดับ เราเรียกจิตขณะแรกว่าปฏิสนธิจิต ซึ่งบาลีอาจจะออกเสียงเป็น ปฏิ-สัน-ธิ หมายความถึงสืบต่อจากขณะสุดท้ายของชาติก่อน คือ จุติจิต ทันทีที่ตายก็เกิด เหมือนกับขณะนี้จิตเกิดดับสืบต่อกันตลอดเวลา เพราะเหตุว่าจิตเองเป็นสภาพหรือธาตุที่วิจิตร น่าอัศจรรย์ ที่ว่าทันทีที่ดับ ตัวจิตที่ดับเป็นปัจจัยให้จิตขณะต่อไปเกิด ยับยั้งไม่ได้เลย จนกว่าจะถึงจุติจิตของพระอรหันต์ที่ดับแล้วก็ไม่มีการเกิดอีก

    จิตของใครก็ตามเมื่อเกิดขึ้นดับ จิตต่อไปยังไม่เห็น ยังไม่ได้ยิน เพราะฉะนั้น ให้ทราบว่าขณะนั้นจิตทำกิจ จิตทุกจิตเกิดขึ้นทำหน้าที่การงานอย่างหนึ่ง อย่างใด ขี้เกียจไม่ได้ เพราะว่าเป็นธาตุ เมื่อเป็นธาตุก็มีลักษณะ มีหน้าที่ของธาตุนั้นๆ มีอาการปรากฏ มีเหตุใกล้ที่จะให้เกิดเฉพาะอย่างๆ ที่เราต้องพูดยาว เป็นลำดับ เพื่อจะให้รู้ว่า รูปเขาดับ แต่ว่าก่อนที่จะพูดเรื่องนั้นต้องเข้าใจก่อนว่า ก่อนที่จะเป็นกาย จะต้องมีอะไรเสียก่อน เพราะฉะนั้น รูปที่เกิดพร้อมปฏิสนธิจิตเล็กมาก ดับ มองไม่เห็น แต่รูปนั้นดับหรือเปล่า แล้วทำไมกาย หมอจะบอกว่าไม่ดับ รูปทุกรูปเป็นรูปซึ่งเกิดแล้วต้องดับ

    ผู้ฟัง เราพูดในความหมายที่ว่าเวลาที่ตาเกิดขึ้นแล้วดับ ส่วนมากจะสัมพันธ์กับจิต

    ท่านอาจารย์ ไม่จำเป็น เพราะเหตุว่าตอนหมอเกิด หมอมีรูป ปฏิสนธิจิตเกิดจะมีกลุ่มของรูป เล็กที่สุดมองไม่เห็นเลย ๓ กลุ่ม ภาษาบาลีใช้คำว่า กลาป กลุ่มหนึ่งก็คือกาย ประกอบด้วยรูป ๑๐ รูป กายปสาท อีกกลุ่มหนึ่งเป็นภาวรูป หญิง หรือชาย ๑ กลุ่ม ๑ กลาป แล้วก็กลุ่มของหทยรูป ซึ่งเป็นรูปซึ่งเป็นที่เกิดของจิต เพราะว่าในภูมิที่มีนาม และรูปร่วมกัน นามต้องอาศัยรูปเกิด จะเกิดเองตามลำพังไม่ได้

    จิตไม่ได้เกิดล่องลอยอยู่ตามอากาศ หรือที่โต๊ะ ที่เก้าอี้ แต่ต้องอาศัยรูป ซึ่งทันทีที่เกิดอาศัยกัน และกัน เป็นปัจจัย โดยสหชาติ เกิดพร้อมกันด้วยปัจจัย แล้วโดยอัญญมัญญปัจจัย ต่างต้องพึ่งพิงอาศัยกัน และกัน คือจิตก็อาศัยรูป รูปที่เกิดถ้าไม่มีจิต รูปนั้นก็เกิดไม่ได้ แม้ว่าจะเป็นรูปที่มีกรรมเป็นสมุฏฐานก็จริง แต่ขณะแรกต้องมีจิตเกิด ซึ่งเป็นผลของกรรม เพราะฉะนั้น กรรมที่ทำแล้วเป็นปัจจัยให้จิต เจตสิก และรูปซึ่งเป็นผลของกรรมเกิดขึ้น ถ้ายังไม่เห็นความต่างของนามกับรูป เราจะปนกันเสมอ แต่ถ้าเรารู้ความต่างโดยเด็ดขาด นามธรรมไม่ใช่รูปธรรม โดยเด็ดขาดแยกไปเลย รูปธรรม ไม่ใช่นามธรรมโดยเด็ดขาด จะที่ตัวหรือนอกตัว หรือที่ไหน รูปธรรมก็เป็นสภาพที่ไม่รู้อะไรเลย ต้องแยกอย่างนั้นก่อน แล้วหมอจะเห็นว่าตอนที่หมอเกิด มีกลุ่มของรูป รูปกลุ่มนั้นมีอายุ ๑๗ ขณะจิต ปฏิสนธิจิตเกิดดับไป ภวังคจิต เกิดสืบต่อไปอีกรวมแล้ว ๑๗ ขณะ รูปที่เกิดดับ แล้วก็รูปที่เกิดอีก โดยสมุฏฐาน เช่น กรรมทำให้รูปเกิด ทุกขณะ ของที่เป็นขณะย่อย แล้วหมอเข้าใจโดยที่หมอ ไม่เห็นแต่หมอรู้ว่ารูปนั้นดับ หมอสามารถจะเข้าใจได้ ว่ารูปนั้นดับฉันใด หมอก็ต้องสามารถจะเข้าใจได้ว่า รูปใดๆ ทั้งหมด ไม่มียกเว้นเลย เกิดแล้วต้องดับ

    ผู้ฟัง ถ้าอยากให้เข้าใจตามๆ ก็คงจะใช้ความจำ แต่ไม่เข้าใจ คำว่ารูปที่ไม่มีชีวิต เขาเกิดแล้วดับได้อย่างไร

    ท่านอาจารย์ รูปทุกรูปหมอ ต้องทราบว่าคืออะไรก่อน

    ผู้ฟัง คือสภาพที่ไม่รู้

    ท่านอาจารย์ ประกอบด้วยมหาภูตรูป ๔ ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม นี่เป็นมหาภูต คือ รูปที่เป็นใหญ่ เป็นประธาน รูปใดๆ ที่ปรากฏ หมอต้องรู้ว่า ขาด ๔ อย่างนี้ไม่ได้เลย ๔ อย่างนี้เป็นประธาน อย่างกลิ่น หมอมองเห็นรูปร่างกลิ่นไหม แต่กระทบสัมผัสโดยฆานะปสาท แล้วกลิ่นปรากฏ หมอรู้ไหมว่า มีธาตุดิน น้ำ ไฟ ลมที่กลิ่นนั้น แต่ต้องมี เพราะฉะนั้น หมอจะรู้หรือไม่รู้ก็ตาม ไม่ใช่หมอต้องไปรู้ไปเห็นว่ามีธาตุดิน น้ำ ไฟ ลมอยู่ตรงนั้น แล้วกลิ่นถึงจะปรากฏ เพราะเหตุว่ารูปกลิ่นเขาจะไม่กระทบอะไรเลย นอกจากฆานปสาทซึ่ง เป็นรูปพิเศษซึ่งจะกระทบเฉพาะกลิ่น แต่กลิ่นจะมีไม่ได้ ถ้าไม่มีมหาภูตรูป ๔

    ผู้ฟัง หมอสงสัยว่ารูปเกิดดับ แต่ว่าถ้าเรารู้หรือไม่รู้ มันก็จะเกิดดับ

    ท่านอาจารย์ หมอไม่เข้าใจอย่างนี้ หมอคิดว่าเฉพาะรูปที่มีชีวิตเท่านั้น คือหมอไม่เข้าใจว่า รูปคือรูป แล้วรูปก็ต้องประกอบด้วยมหาภูตรูป ๔ ไม่ว่าจะที่ตัวหรือนอกตัว เพราะฉะนั้น ที่ตัวเป็นมหาภูตรูป ๔ เกิดดับ มหาภูตรูป ๔ ข้างนอกก็ต้องเกิดดับเหมือนกัน สภาพธรรมมีอายุแสนสั้นทั้งนามธรรม และรูปธรรม อะไรสั้นกว่า นามธรรมอายุสั้นกว่ารูปธรรม เพราะเหตุว่ารูป คิดดูมีมหาภูตรูป ความอ่อนความแข็ง เพราะฉะนั้น การเกิดดับต้องช้ากว่าจิต ซึ่งไม่มีรูปเลย ที่จะค่อยๆ เป็นอย่างนี้ เพราะฉะนั้น นามธรรมเป็นธาตุซึ่งเกิดขึ้น ทำหน้าที่หนึ่ง อย่างหนึ่งอย่างใด แล้วดับทันที แล้วก็จิตต่อไป เจตสิกที่เกิดกับจิตก็เกิดต่อ

    ในชีวิตของเราตั้งแต่เกิดจนตายหลากหลาย เดี๋ยวเห็น เดี๋ยวได้ยิน เดี๋ยวคิดนึก เดี๋ยวจำเรื่องนั้น เดี๋ยวคิดถึงเรื่องโน้น เดี๋ยวเป็นสุข เดี๋ยวเป็นทุกข์ นี่คือชั่วขณะของจิตที่เกิดอย่างรวดเร็ว แล้วก็สั้นมาก มีอายุสั้นแสนสั้น แล้วรูปที่เกิดดับทุกรูป จากการตรัสรู้แล้วทรงแสดงว่า มีอายุเท่ากับจิตเกิดดับ ๑๗ ขณะ แล้วเราจะมีปัญญาอย่างนี้ไหม เพราะว่าขณะที่กำลังเห็นกับขณะที่กำลังได้ยิน ความห่างของจิตเห็นกับจิตได้ยิน เกิน ๑๗ ขณะ รูปเกิดแล้วดับ ในระหว่างนั้น

    ผู้ฟัง ไม่เข้าใจว่าสิ่งที่ไม่มีชีวิต เขาเกิดดับได้อย่างไร

    ท่านอาจารย์ เพราะเหตุว่าเราถูกปกคลุมด้วยอวิชชา และบัญญัติ หมอไม่ได้รู้ลักษณะของรูปที่กำลังเกิด และดับ หมอจำว่านี้เป็นกาย เพราะฉะนั้น บัญญัติคือสิ่งที่เราคิดถึงเรื่องราวของสิ่งที่มีจริง ปกคลุมปิดกั้นหมด อย่างเวลานี้ หมอบอกหมอเห็นคน อย่างไรก็ต้องเห็นคน กว่าหมอจะรู้แล้วค่อยๆ เข้าใจว่า ในสิ่งที่กำลังเพียงปรากฏเมื่อกระทบ คนอยู่ที่ไหน มีคนในสิ่งนั้นได้อย่างไร ในเมื่อสิ่งนั้นเพียงกระทบแล้วก็ปรากฏ แต่หมอไปจำว่าเป็นคน เพราะฉะนั้น กว่าจะรู้จริงๆ ว่าไม่ใช่คน สิ่งที่ปรากฏเป็นเพียงสิ่งที่ปรากฏ ก่อนที่จะประจักษ์การเกิดดับ ความรู้อย่างนี้ต้องสมบูรณ์ก่อน

    ผู้ฟัง อันนี้อธิบายได้ เรื่องของการเกิดสภาพรู้แล้ว นามธรรม รูปธรรม

    ท่านอาจารย์ รูปธรรม ก็ยังถามหมอ ขณะที่จิตเกิดพร้อมกับรูป รูปนั้นดับหรือเปล่า ถ้ารูปนั้นดับ ทำไมรูปอื่นไม่ดับ

    ผู้ฟัง เมื่อรู้ว่าจิตเกิด

    ท่านอาจารย์ ไม่เกี่ยวกับจิต ไม่เกี่ยวกับจิต รูปเป็นรูป รูปอยู่ที่ไหน ก็เป็นรูป รูปจะเกิดกับจิตหรือไม่เกิดกับจิต รูปก็เป็นรูป เปลี่ยนแปลงลักษณะของรูปไม่ได้ จิตสามารถที่จะรู้แจ้งลักษณะของสิ่งที่ปรากฏในขณะนั้น เช่น เสียง เสียงมีตั้งหลายเสียง แต่จิตจะรู้หมดเลย เสียงคุณหมอ พอรับโทรศัพท์ก็รู้เลย ทั้งๆ ที่เสียงเท่านั้น แต่เสียงนี้หลากหลาย แต่ความหลากหลาย ใครรู้ จิตเป็นสภาพที่รู้แจ้งอารมณ์ คือสิ่งที่กำลังปรากฏให้จิตรู้ รู้ในลักษณะที่วิจิตรที่ต่างๆ นี่คือจิต แต่เขาไม่จำ เขาไม่ชอบ เขาไม่รัก เขาไม่ชัง เขาไม่ใช่ปัญญา เขามีหน้าที่ของเขาอย่างเดียวคือ เป็นมนินทรีย์ เป็นใหญ่ในการรู้แจ้งอารมณ์ รู้แจ้งสิ่งที่ปรากฏ

    เพราะฉะนั้น ต้องแยกลักษณะของจิตกับเจตสิก เวลาจิตเกิด ดับ ตั้งแต่เกิดจนตาย ขณะไหนบ้างที่ประกอบด้วยปัญญา หรือขณะไหนเพียงเห็น แล้วก็รู้ว่าสิ่งที่เห็นเป็นอะไร และมีความรักความชังเกิดโดยความไม่รู้ ซึ่งยังไม่รู้ลักษณะของสิ่งซึ่งที่ปรากฏจริงๆ ใครจะบอกว่าขณะนี้มีเพียงสิ่งที่ปรากฏทางตา อย่างไรๆ ก็เป็นคนที่เห็น เพราะจำไว้ จำไม่ได้จำชาตินี้ชาติเดียว จำมาแล้วกี่ชาติ แล้วกว่าจะได้ยินได้ฟังว่า แท้ที่จริงแล้วเป็นอนัตตา ไม่ใช่ตัวตน เป็นสภาพธรรมแต่ละอย่าง เป็นธาตุแต่ละชนิด ถ้าเป็นธาตุแล้ว ก็ไม่ใช่หมอแล้ว

    ผู้ฟัง การเกิดดับของ นามธรรม รูปธรรม อธิบายโดยละเอียด เป็นสิ่งที่เป็นไปได้ แต่สิ่งที่

    ท่านอาจารย์ แต่ไม่ได้หมายความว่าเราจะไปรู้แจ้งจากผู้ที่ท่านตรัสรู้ ท่านสอนท่านบอก ทุกสิ่งที่เกิดดับ คำนี้ ทุกสิ่งที่เกิดดับ เราต้องฟังแล้วเข้าใจ แม้ว่าเราไม่ประจักษ์ แต่เราพอที่จะค่อยๆ คิด ค่อยๆ เห็นตามได้ไหม แม้ว่าปัญญาของเราไม่ละเอียด ปัญญาของเราเพียงค่อยๆ แก่ไป ค่อยๆ หักไป ค่อยๆ เปลี่ยนไป แต่ทีนี้กว่าจะหัก กว่าจะแตก กว่าจะเปลี่ยน กว่าจะเก่า ต้องมีการเปลี่ยนแปลงเล็กๆ เล็กมากๆ จนกว่าอาการนั้นจะปรากฏให้เห็น อย่างภูเขาทั้งลูก ร้อยปีพันปี ที่แคว้นมคธ พระพุทธเจ้าก็เคยเสด็จไปที่นั้น ก็ยังเป็นภูเขาลูกนั้น มองไม่เห็นเลย ความเกิดความดับ พระอาทิตย์ พระจันทร์ ใครไปเห็นว่าเกิดดับ แต่ว่าต้องมีการเสื่อม แล้วถ้ามีการเสื่อม ไม่ใช่หมายความว่าเสื่อมไปได้ทันที ต้องมีขณะเล็กๆ ๆ ที่เกิดดับสืบต่อจนอาการเสื่อมนี้ปรากฏ

    นี่ไม่ใช่ว่าเราพูดเอง เพราะเราไม่ใช่พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า แต่คำที่ตรัสว่าสิ่งใดก็ตาม เมื่อมีเหตุปัจจัยจึงได้เกิดขึ้น แล้วก็ดับ ไม่เที่ยง

    เพราะฉะนั้น ทุกขลักษณะ ไม่ใช่ว่าเราปวดเมื่อยเจ็บ ประสบกับสิ่งที่ไม่พอใจ พลัดพรากจากสิ่งที่พอใจเป็นทุกข์ แต่ทุกข์ที่กระทำให้ผู้นั้นเป็นพระอริยบุคคลได้ คือ ทุกขลักษณะ ที่เป็นไตรลักษณะ ได้แก่ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา สภาพธรรมที่เคยเป็นเราหรือเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใด แท้ที่จริงเป็นลักษณะของสภาพธรรมแต่ละอย่าง ตามระดับขั้นของปัญญาที่ค่อยๆ พิจารณา อบรมเจริญจนเห็นความต่างของนามธรรม และรูปธรรม แยกขาดจากกันจริงๆ ไม่สืบเนื่อง ไม่เกี่ยวข้องกัน นามธรรมก็เป็นนามธรรม รูปธรรมก็เป็นรูปธรรม และเมื่ออบรมความรู้ความเข้าใจยิ่งขึ้น จึงจะประจักษ์การเกิดดับของ นามธรรมกับรูปธรรมได้ แม้ว่าเราจะเห็นเพียงความเสื่อมสลาย หรือความเก่า จากธรรมดาๆ แต่ว่าลึกลงไปกว่านั้นปัญญาก็สามารถประจักษ์ความเกิดขึ้น และดับไปด้วย เพียงแค่กระทบ สภาพธรรมเกิด และดับ ถ้าเป็นปัญญาที่ประจักษ์ และแทงตลอด ในลักษณะของสภาพธรรม

    เพราะฉะนั้น เป็นเรื่องของปัญญาที่จะอบรมจนกว่าจะถึง แต่ถ้าปัญญายังไม่ถึงเราก็สงสัย ต้องมีความสงสัยแน่นอน ผู้ที่จะดับความสงสัยในลักษณะของนามธรรม และรูปธรรมหมด ไม่เหลือเลย คือ พระอริยบุคคลขั้นพระโสดาบัน แต่ต้องผ่านปัญญาหลายระดับมากเลย วิปัสสนาญาณหลายขั้น กว่าจะถึงวิปัสสนาญาณ ที่เราเรียกว่า วิปัสสนา วิปัสสนากัน คือปัญญาที่อบรมจากการฟัง เพราะคำว่า ภาวนา หมายความถึงอบรมจากสิ่งที่ไม่มีให้เกิดขึ้น สิ่งที่มีแล้วค่อยๆ เจริญขึ้น จากการที่ไม่รู้เลยว่าอะไรเป็นธรรม เพราะว่าเคยเป็นคน เคยเป็นสิ่งนั้นสิ่งนี้ ไม่เข้าใจว่าธรรม คือ สิ่งที่มีจริง แต่เป็นธาตุแต่ละอย่างที่มีเหตุปัจจัยก็เกิดขึ้น แต่ตราบใดที่เป็นอวิชชา ความไม่รู้ ก็ไม่สามารถที่จะไถ่ถอนความจำให้เป็นอัตตสัญญาได้ เพราะเคยจำไว้เสมอ ว่าเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใดที่เที่ยง

    ผู้ฟัง ตอนนี้ที่ว่าเกิดทุกวันๆ เสื่อมไปๆ แต่ละนาที จนมีการเกิดดับเกิดดับ จนกระทั่งถึงความเสื่อม

    ท่านอาจารย์ จนกระทั่งปรากฏความเสื่อม

    ผู้ฟัง จนกระทั่งปรากฏความเสื่อม แต่เราไม่เห็น เขาก็มี

    ท่านอาจารย์ เขาเป็นอย่างนั้น รูปที่นี่ รูปที่นั่น รูปที่ไหน อะไรก็ตามที่เกิด เป็นสังขารธรรม ลักษณะของสังขารธรรมมี ๓ อย่าง อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ไม่เที่ยง สภาพที่ไม่เที่ยง ไม่ใช่สภาพที่น่ายินดีพอใจ เวลาที่เรายินดีพอใจสิ่งหนึ่งสิ่งใด เราคิดว่าสิ่งนั้นเที่ยง ดอกไม้สวย มองเห็นสวย เป็นดอกไม้ อยู่ได้เป็นอาทิตย์ อยู่ได้เป็นเดือน เพราะอย่างนั้นเราจึงมีความพอใจในสิ่งที่เรามองเห็นว่าเที่ยง แต่ความจริงคือ เราไม่รู้ว่ากำลังเกิดดับ จนกว่าจะเหี่ยว จนกว่าจะหลุด แต่กว่าจะถึงอันนั้น จะต้องมีการเกิดดับ

    ผู้ฟัง เราไม่รู้

    ท่านอาจารย์ ไม่มีทาง เพราะว่าต้องเป็นปัญญาระดับที่สามารถจะประจักษ์ได้

    ผู้ฟัง ความเกิดดับมันเร็วมากเลย

    ท่านอาจารย์ แน่นอน

    ผู้ฟัง มันเร็ว อาจจะเป็นเสี้ยวของวินาที มันเกิดขึ้นดับลงเร็วมากจนเราไม่รู้สึกว่ามันเกิดดับ แล้วที่เราเห็นก็เป็น Concept ว่าเป็นรูป

    ฟังธรรมจากหัวข้อย่อย

    หมายเลข 17
    22 มี.ค. 2567