สนทนาธรรม ตอนที่ 006


    ตอนที่ ๖

    สนทนาธรรมที่หมู่บ้านเมืองทองนิเวศน์ ๑

    พ.ศ. ๒๕๓๗


    ผู้ฟัง เราจะศึกษาธรรม

    ท่านอาจารย์ จะรู้ได้อย่างไรว่าใครเป็นสัตบุรุษใช่ไหม สัตบุรุษก็ต้องพูดจริง พูดเรื่องจริง พูดถึงสิ่งที่มีจริง ถ้าพูดถึงเรื่องเห็นเดี๋ยวนี้ เราจะสนใจที่จะรู้ว่าไม่ใช่ตัวตน หรือว่าเราก็คิดว่าเมื่อเราเคยเห็นเป็นเราก็เห็นเป็นเราไปเรื่อยๆ ตลอดไป ซึ่งอย่างนี้ไม่ต้องศึกษา ถ้าจะเห็นว่าเป็นเราเห็น ไม่ต้องศึกษาเลย เป็นของธรรมดา ใช่ไหม แต่ถ้ามีใครบอกว่าเห็นขณะนี้เกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัยแล้วดับด้วย ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่ตัวตน เราจะศึกษาไหมว่า เขาพูดจริง หรือเปล่า มีอะไรที่จะทำให้เราได้เข้าใจขึ้นๆ ๆ และผู้ที่พูดอย่างนี้รู้ว่ามาได้อย่างไร ถ้าไม่มีการตรัสรู้ของพระอรหันต์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ใครก็พูดอย่างนี้ไม่ได้ เพราะว่าทุกคนพูดตามที่ทรงแสดง แม้ว่าท่านพระอริยะบุคคลทั้งหลาย ท่านจะได้อบรมเจริญปัญญารู้แจ้งอริยสัจธรรมว่าตรงตามที่ทรงแสดง แต่ทุกคำพูดของท่านก็เป็นคำพูดที่มาจากธรรมเทศนาของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ไม่ใช่ท่านพูดเอง ทุกคำพูดไปก็คือที่ตรัสแล้ว อย่างที่บอกว่าสังขารทั้งหลายไม่เที่ยง ก็นี่พระพุทธเจ้าก็ตรัสไว้แล้ว ถ้าเราจะบอกว่าเห็นขณะนี้เกิดดับ ก็คือพระพุทธเจ้าท่านก็ตรัสไว้แล้ว

    เพราะฉะนั้น ก็ไม่ใช่ทางที่ว่าคนหนึ่งคนใดจะคิดขึ้นมา และที่จะรู้ว่าเป็นสัตบุรุษก็คือพูดเรื่องจริงแล้วก็ทำให้ปัญญาของคนฟังเกิดขึ้นจากการที่ฟังแล้วก็คิด แล้วก็พิจารณา ไม่ใช่ว่าพาไปไหนก็ไม่รู้ แล้วไม่รู้อะไรสักอย่างหนี่ง ไปฟังมาแล้วกลับบ้านก็ไม่รู้เรื่องอะไรเลย ไม่ใช่อย่างนั้นแต่นี่กำลังพูดถึงสิ่งที่มีจริงแล้วก็ทำให้เราสามารถที่จะเข้าใจในความไม่ใช่ตัวตน และในสภาพธรรมที่ไม่เที่ยงเพิ่มขึ้น ผู้นั้นก็เป็นสัตบุรุษ แล้วฟังธรรมก็ไม่ได้ฟังเรื่องอื่น ก็ฟังธรรมก็เรื่องของสัจจะธรรม ธรรมที่มีจริงๆ และก็เวลาที่พิจารณาเข้าใจ ก็ไม่เข้าใจอย่างอื่นเริ่มเข้าใจเห็นเดี๋ยวนี้ที่กำลังเห็นเริ่ม เข้าใจได้ยิน เข้าใจได้กลิ่น เข้าใจลิ้มรส เข้าใจกายที่กระทบสัมผัส เข้าใจคิดนึกซึ่งเป็นชีวิตประจำวัน เข้าใจสิ่งที่มีอยู่แล้วเกิดขึ้นแล้วเพราะเหตุปัจจัย นี่คือปัญญาที่เริ่มพิจารณาเข้าใจขึ้น และปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมมก็รู้ว่าไม่ใช่เราแต่เป็นสติ และก็เป็นมรรคองค์อื่นซึ่งเกิดร่วมกันที่กำลังระลึกรู้อบรมเจริญปัญญาเพิ่มขึ้น นี่คือปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมคือไม่ผิดตรงตามลักษณะของสภาพธรรม แล้วก็ไม่ใช่ตัวตนที่ปฏิบัติ เพราะฉะนั้นสัตบุรุษ คือผู้ที่รู้สัทธรรม หรือพระนิพพาน นี้อย่างอุกฤษฏ์ แต่ว่าการที่เราเริ่มเข้าใจขึ้นนี้ก็จะเป็นทางที่นำไปสู่การดับกิเลสทั้งหมดได้ แต่ว่าถ้าผู้สงบก็คือว่าผู้ที่ไม่มีกิเลส แล้วก็ต้องเป็นผู้ที่รู้แจ้งอริยสัจธรรมจึงดับกิเลสได้ แต่หนทางก็ต้องมี เพราะฉะนั้นสัตบุรุษอย่างอุกฤษฏ์ก็คือผู้ที่เป็นพระอริยบุคคลแต่ถ้าไม่ใช่อย่างอุกฤษฏ์ก็ผู้ที่อบรมเจริญปัญญาแล้วก็ละคลายกิเลสไปเรื่อยๆ

    ผู้ฟัง เมื่อทราบว่าปรมัตถ์กับบัญญัติ แล้วก็เพื่อละกิเลส

    ท่านอาจารย์ ความเข้าใจที่ถูกต้องทำหน้าที่ละความไม่รู้ ละความเห็นผิด

    ผู้ฟัง ปรมัตถ์นี่ ถ้าหากเราจะพิจารณาคร่าวๆ เพื่อให้จดจำ ถ้าหากว่าจะเพียงจำว่าทุกสิ่งเป็นธาตุ หรืออะไรเหล่านี้

    ท่านอาจารย์ มีลักษณะปรากฏ

    ผู้ฟัง เพื่อละกิเลส

    ท่านอาจารย์ ลักษณะของปรมัตถธรรมปรากฏ อย่างเสียงเป็นปรมัตถ์ธรรมเป็นสิ่งที่มีจริง และกำลังปรากฏ ได้ยินก็มีจริงๆ แต่ว่าไม่เคยระลึกว่า นอกจากเสียงแล้วต้องมีได้ยิน มีสภาพที่กำลังรู้เสียง จะมีเสียงโดยที่ว่าไม่มีสภาพรู้ หรือได้ยินไม่ได้ ก็ต้องรู้ว่าในขณะที่เสียงปรากฏก็มีสภาพที่รู้จนกระทั่งถอยลงไปตั้งแต่เกิดจนตายจนถึงเดี๋ยวนี้ หรือว่าในขณะนี้เองก็มีแต่นามธรรม และรูปธรรม คือระลึกได้เสมอว่ามีแต่สภาพธรรมที่เป็นปรมัตถ์กำลังปรากฏ แต่ไม่รู้ในความเป็นปรมัตถ์ นี่คือการที่จะเจริญอบรมปัญญาเพื่อรู้ลักษณะที่เป็นปรมัตถ์เมื่อรู้ว่าเป็นปรมัตถ์จึงไม่ใช่เรา เพราะเหตุว่าลักษณะของปรมัตแต่ละอย่างมีลักษณะเฉพาะ แล้วก็ปรากฏแล้วก็หมดไปด้วย ไม่ได้ปรากฏมากมายที่จะตั้งอยู่ทรงอยู่เลย แต่ว่าขณะใดที่ไม่ใช่ปรมัตถ์ ขณะนั้นเป็นการนึกคิดเรื่องเรื่องราวต่างๆ

    ผู้ฟัง แต่เมื่อเราไม่สามารถจะจดจำปรมัตถ์ได้ทั้งหมด เพราะว่าปรมัตถธรรมทั้งหมดนี้คือรูปกับนาม ซึ่งเราควรจะละ แต่เมื่อเรายังศึกษาไม่ได้ละเอียด หรือว่าทั้วถึงเราก็ไม่สามารถจะละได้อยู่ขณะนี้ แต่ก็พยายามฟังอาจารย์อยู่

    ท่านอาจารย์ คือต้องรู้ก่อน ต้องให้ปัญญาเจริญขึ้น แล้วปัญญาทำกิจละ เพราะฉะนั้นถ้าปัญญายังไม่เกิด ยังไม่เจริญก็ละอะไรไม่ได้ แต่ว่าค่อยๆ อบรมความรู้คือปัญญาให้เพิ่มขึ้น และปรมัตถธรรมให้ทราบว่าไม่จำเป็นต้องนึกถึงเรื่องราวมากๆ อย่างจิต ๘๙ หรือรูป ๒๘ หรือเจตสิก ตั้ง ๕๒ แต่เอาที่กำลังปรากฏ ซึ่งไม่พ้นจากทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกายทางใจ เพราะฉะนั้นโดยนัยของพระสูตรย่อลงมาที่ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ อย่างวันก่อนก็มีคนถามเรื่องชวนะ ว่าชวนะคืออะไร ก็รู้แล้วว่าจักขุวิญญาณเห็นแล้วก็จะต้องมีจิตเกิดดับสืบต่อทำกิจต่างๆ จนกระทั่งถึงชวนกิจ และชวนะ คืออะไร ถ้าโดยนัยของพระสูตรก็ไม่ยาก เพราะเหตุว่าทรงแสดงโดยย่อที่จะให้เข้าใจได้ ชวนะก็คือกุศล หรืออกุศลที่เกิดหลังจากเห็นหลังจากได้ยิน เพราะฉะนั้นเราไม่ต้องไปนึกถึงปัญจทวาราวัชชนจิต จักขุวิญญาณจิต สัมปฏิจฉันนจิต สันตีรณจิต โวฏฐัพพนจิต ชวนจิตเลย โดยนัยของพระสูตร คือ เมื่อเห็นแล้วเกิดความชอบ หรือไม่ชอบ หรือเป็นกุศล เมื่อได้ยินแล้วย่อลงมาเลย โลภะ หรือโทสะ หรือโมหะ หรือกุศล เพราะฉะนั้นกุศลจิต หรืออกุศลจิตนั้นเองที่เกิดต่อจากการเห็น การได้ยิน การได้กลิ่น การลิ้มรส การรู้สิ่งที่กระทบสัมผัส นี่คือสภาพธรรมที่ปรากฏ เพราะฉะนั้นเราไม่ต้องไปจำชื่อ จำเรื่องราวของจิต ๘๙ เจตสิก ๕๒ หรืออะไรนะคะ แต่ว่าสามารถที่จะรู้ว่าปรมัตถธรรมคือขณะที่มีสิ่งหนึ่งสิ่งใดปรากฏทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ ขณะที่นอนหลับก็เป็นปรมัตถธรรม แต่เมื่อไม่ปรากฏให้รู้ ก็รู้ไม่ได้ เพราะฉะนั้นจะรู้ความจริงของสภาพธรรมก็ต่อเมื่อตื่นขึ้น คือมีสภาพปรากฏทางตา นั่นคือปรมัตถธรรม เสียงที่กำลังปรากฏทางหู และได้ยินก็เป็นปรมัตถธรรม เพราะฉะนั้นจึงกล่าวว่ามีแต่ปรมัตถธรรมแต่ไม่รู้ความเป็นปรมัตถธรรม แสดงให้เห็นว่าอวิชาปิดบังมาก สะสมมามาก บอกเท่าไหร่ก็ไม่รู้ เพราะเหตุว่าที่เราคิดว่าเราได้ฟังมามากๆ พอที่จะรู้ได้ เทียบกับ ๔ อสงไขยแสนโกฎกัป หรือเท่าไหร่ก็ตามที่ผ่านมาแล้วด้วยความไม่รู้ ก็ต้องน้อยกว่ามาก เพราะฉะนั้น ก็ให้เราฟังด้วยความเข้าใจว่าสิ่งที่มีจริง จริงๆ ขณะนี้แต่อวิชายังไม่รู้ เพราะเหตุว่าปัญญาเท่านั้นที่จะรู้ได้ เพราะฉะนั้นก็อบรมเจริญปัญญา ไม่ต้องไปคิดเรื่องปฏิบัติอย่างใครเขาปฏิบัติกัน แต่ว่าอบรมเจริญปัญญาให้เข้าใจ เข้าใจจริงๆ ฟังนี่ให้เข้าใจจริงๆ ว่ากำลังเห็นนี่เป็นสภาพรู้แน่นอน ไม่ใช่โต๊ะ ไม่ใช่เก้าอี้ ลักษณะอาการที่กำลังเห็นมีจริงๆ และไม่ใช่สิ่งที่ปรากฏทางตา นี่คือการที่จะค่อยๆ รู้ความจริงของเห็น แล้วก็จะระลึกทางหู ค่อยๆ รู้ความจริงของเสียงกับได้ยินทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ โดยที่ว่ารู้ว่าไม่มีตัวเราที่จะทำ และก็บังคับอะไรก็ไม่ได้ จะไปเที่ยวถามใครว่าเมื่อไรสติปัญญาจะเกิดมากๆ ก็ไม่ถูก เป็นไปไม่ได้ เพราะเหตุว่าเราเองย่อมรู้ว่าความเข้าใจธรรมเป็นเบื้องต้น ก็มีการรู้ว่าธรรมคือเดี๋ยวนี้ที่เห็น ถ้ายังไม่เข้าใจ ก็คือความจริงคือยังไม่เข้าใจ เพราะฉะนั้นไม่ใช่ว่าทำอย่างไร และเข้าใจแล้วทำอย่างไรจะหมดกิเลสเดี๋ยวนี้ ไม่ใช่อย่างนั้น แต่สิ่งที่มี ฟังแล้วว่าเป็นสภาพรู้ ค่อยๆ รู้จริงๆ ว่าลักษณะรู้ก็คือธรรมดาๆ อย่างนี้แหละเป็นอาการรู้ เป็นลักษณะรู้

    ผู้ฟัง ขออนุญาตเรียนถามท่านอาจารย์เพิ่มเติมว่า เมื่อตอนที่พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้แล้ว จะไปประกาศพระสัทธรรม สิ่งที่ผมเคยได้ยินมาแล้วแต่ไม่ยังไม่เข้าใจ ที่ว่าพระองค์ทรงแสดงพระสูตรเรื่องธัมมจักกัปปวัตนสูตร เป็นการเน้นถึงข้อปฏิบัติที่เป็นการเจริญสติปัฎฐานด้วยการเจริญมรรคมีองค์ ๘ เป็นข้อปฏิบัติทางเดียวอย่างนั้นใช่ไหมครับ

    ท่านอาจารย์ ทางอื่นไม่มีแน่ค่ะ สภาพธรรมกำลังปรากฎแล้วก็เป็นปรมัตถ์ ถ้าไม่มีปัญญา ไม่มีสติระลึก ก็ไม่มีทางที่จะประจัษ์แจ้งความจริงของปรมัตถ์ธรรมได้

    ผู้ฟัง เพราะฉะนั้นในครั้งนั้น ยังไม่มีคำว่าพระธรรม และพระสงฆ์ปรากฏขึ้นในโลก เมื่อแสดงธัมมจักกัปปวัตนสูตรจบแล้ว พระปัญญจวัคคีย์ท่านหนึ่ง คือท่านพระอัญญาโกญฑัญญะก็ได้ดวงตาเห็นธรรม เพราะฉะนั้นข้อปฏิบัติที่เป็นธัมมจักกัปปวัตนสูตร เป็นการประกาศถึงข้อปฏิบัติที่เป็นคำว่าเอกายโนมัคโคอย่างนั้นใช่ไหมครับ

    ท่านอาจารย์ อริยสัจ ๔ อริยสัจที่ ๔

    ผู้ฟัง เพราะฉะนั้น ก็ข้อปฏิบัติอย่างอื่นนี้ก็ไม่น่าที่จะอยู่ในความนึกคิดอะไรเลยใช่ไหมครับ

    ท่านอาจารย์ ก็ถ้าคนไม่เรียนเขาก็คิดของเขาไป

    ผู้ฟัง เข้าใจว่าทุกคนยังไม่ทราบความจริงว่าทุกข์ธรรมดาที่เราได้รับกันนี่ กับทุกข์ของอริยสัจต่างกัน ทุกคนมักจะนำมารวมกัน หรือไม่เข้าใจ คละกัน หรือว่าไม่เข้าใจละเอียดดี ของ ความกรุณาจากท่านอาจารย์

    ท่านอาจารย์ โดยมากเราจะรู้ทุกข์ต่อเมื่อเราประสบกับสิ่งที่เราไม่ชอบ หรือไม่พอใจทั้งหมดเลย เป็นต้นว่าความรู้สึกที่ไม่สบายขณะนั้นก็เป็นความรู้สึกที่เราไม่ชอบเรากล่าวว่าเป็นทุกข์ หรือว่าร่างกายเวลาที่เราเกิดปวดเมื่อยเจ็บเป็นไข้ได้ป่วยเราก็บอกว่าเป็นทุกข์ เรารู้จักแต่ทุกข์ทั่วๆ ไปอย่างนี้ แต่ถ้าเป็นทุกขอริยสัจจ์ หมายความว่าสภาพธรรมที่เกิดดับทุกอย่างที่เกิดแล้วดับเป็นทุกข์ทั้งนั้น เพราะฉะนั้นไม่ว่าจะเป็นสุขเวทนาก็เป็นทุกข์ เพราะเหตุว่าสุขเวทนาก็ดับ แล้วถ้าประจักษ์การเกิดขึ้น และดับไปของสุขเวทนาจริงๆ จะรู้เลยว่า ชั่วระยะเวลาที่แสนสั้นนิดเดียวแล้วก็หมดไป อย่างนั้น หรือที่เรียกถาวร เรียกว่าเป็นสุขจริงๆ ในเมื่อการเกิดดับปรากฏว่าเป็นสิ่งที่ไม่เที่ยงต้องเป็นอย่างนั้น เพราะฉะนั้นแม้แต่สุขก็คือทุกข์ เพราะเหตุว่าเกิดดับเหมือนกัน ธรรมทั้งหมดที่เกิดขึ้นที่เป็นสังขารธรรมมีไตรลักษณะ คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตาไม่เที่ยงเป็นทุกข์เป็นอนัตตา สภาพการไม่เที่ยงนั่นเองเป็นทุกข์ และก็เป็นอนัตตา เพราะว่าบังคับบัญชาไม่ได้ ทุกอย่างที่เกิดขึ้นไม่มีอะไรเลยที่เที่ยง หมดทุกอย่างที่เกิดแล้วที่จะไม่ดับนั้นไม่มี แต่ไม่รู้ เพราะว่ามีสภาพธรรมอื่นเกิดสืบต่อทันที อย่างในขณะนี้ ทางตาที่เห็นก็มีจิตอื่นเกิดดับสืบต่อ จนกระทั่งเป็นภวังคจิตจนถึงมโนทวารวิถีจิตวาระต่อไป กว่าจะเห็นเป็นคน หรือเป็นวัตถุสิ่งของต่างๆ แต่ว่าแต่ละขณะนั้นเกิดแล้วดับ เพราะฉะนั้นในขณะนี้เองสภาพธรรมก็กำลังเกิดดับอย่างเร็วมาก ซึ่งจะต้องประจักษ์ ถ้าไม่ประจักษ์จะไม่เห็นว่าเป็นทุกข์ ก็จะรู้จักเพียงทุกขเวทนา แต่ไม่รู้ทุกขลักษณะ แต่ทั้งๆ ที่ประจักษ์การเกิดขึ้น และดับไป ตราบใดที่ยังไม่ถึงมรรคจิต ผลจิตก็ยังไม่รู้แจ้งพระนิพพาน และก็ยังไม่สามารถที่จะดับกิเลสใดๆ ได้ ทั้งๆ ที่เกิดดับ ก็เกิดอีก อย่างเวลานี้ก็แสนจะจริงใช่ไหม เวลานี้ทุกคนบอก ทุกคนก็ยอมรับ ก็จริง ก็เบิกบาน ได้ยินก็ดับ ทุกคนก็เบิกบาน ก็ไม่มีใครเห็นว่าเป็นทุกข์จริงๆ เพราะเหตุว่าอย่างอื่นเกิดต่อ ก็เลยไม่เดือดร้อนจริงๆ กับสิ่งซึ่งเกิดแล้วดับแล้ว

    ผู้ฟัง ดิฉันสังเกตุว่า การฟังธรรมจะมีสิ่งที่เรียกว่าแล้วถูกทดลองใจว่า ใจเราสกปรก หรือใจเราสะอาด อย่างนี้ทดลองอยู่ตลอดเวลาเลยกับผู้คน หรืออะไรก็ตามที่ผ่านเข้ามาใกล้เรา

    ท่านอาจารย์ อย่างนี้ก็เป็นสติที่ทำให้ระลึก ได้ประโยชน์มากที่เห็นตัวเอง และรู้สภาพจิตของตัวเอง เพราะว่าโดยมากจะไปคิดถึงคนอื่น และก็ไปเห็นจิตอกุศลของคนอื่น

    ผู้ฟัง ค่ะ แล้วก็นำเข้ามาด้วย

    ท่านอาจารย์ แต่จริงๆ ไม่รู้ว่าขณะที่กำลังเห็นอกุศลจิตของคนอื่น จิตที่กำลังคิดถึงอกุศลจิตของคนอื่นเป็นกุศลจิต หรืออกุศลจิต ถ้าเห็นอกุศลจิตของคนอื่นแล้วมีเมตตาขณะนั้นก็เป็นกุศลแน่ แต่ถ้าเห็นแต่อกุศลจิตของคนอื่น ลืมว่าจิตที่เห็นขณะนั้นเป็นอกุศลด้วยแล้ว

    ผู้ฟัง เป็นอกุศล แล้วเมตตาไม่ค่อยทัน ถ้าเป็นคนที่เราเกลียดอยู่ เมตตาไม่ทันเลย แต่บางทีมานึก สติเกิดได้ บางทีไปขอโทษเขาในภายหลัง

    ท่านอาจารย์ สติเกิดทีหลังก็ยังดีที่ขอโทษ คือสติได้ หมายความว่า สภาพธรรมเขาจะเกิดเราไม่สามารถจะเลือกได้ว่าให้เกิดในขณะนั้น หรือว่าหลังจากนั้น แล้วแต่เหตุปัจจัย

    ผู้ฟัง แต่รู้สึกยังเร็วไม่ทันที่จะรับสถานการณ์

    ท่านอาจารย์ ก็ต้องอบรม

    ผู้ฟัง ขอคำอธิบายว่าเห็นอกุศลจิตของคนอื่นแล้วมีเมตตา

    ท่านอาจารย์ ทำไมถึงจะไม่สงสารล่ะคะ ในเมื่อสภาพนั้นเป็นอกุศลก็ต้องน่าสงสาร ไม่ใช่สิ่งที่น่าอนุโมทนา เป็นสิ่งที่ควรจะสงสารในอกุศลของคนๆ นั้นที่สะสมอยู่

    ผู้ฟัง เรามักจะเห็นว่าเขาไม่ดี เขาผิด

    ท่านอาจารย์ แต่ความจริงแล้วไม่มีเขา มีแต่อกุศลจิตที่กำลังสะสมไปอย่างน่ากลัวที่จะได้รับโทษข้างหน้า

    ผู้ฟัง ส่วนมากจะตัดสินด้วยเราชอบ หรือไม่ชอบ

    ท่านอาจารย์ เพราะเหตุว่าบัญญัติการนึกคิดเป็นเรื่องเป็นราวไม่นึกถึงความจริงของปรมัตถ์ธรรมว่าไม่มีเขา อกุศลจิตเกิดแล้วก็ดับ กุศลจิตเกิดแล้วก็ดับ เพราะฉะนั้นทุกคนมีทั้งกุศลจิต และอกุศลจิต เพราะฉะนั้นเราอนุโมทนาในกุศลจิตเป็นกาลๆ โดยเฉพาะกาลที่กุศลจิตเกิด แต่ว่าหลังจากนั้นแล้วถ้าอกุศลจิตของคนๆ นั้นเกิด เราจะไปรัก ไปชอบ ไปสรรเสริญ ไปอะไรก็ไม่ได้เพราะเหตุว่าขณะนั้นเป็นอกุศล เพราะฉะนั้นโสตาปฏิมัคคจิตจิตมีนิพพานเป็นอารมณ์ โสตาปัตติผลจิตมีนิพพานเป็นอารมณ์ หลังจากนั้นแล้วอกุศลจิตก็เกิดได้ เพราะฉะนั้นก็ทรงแสดงอกุศลไม่ใช่สิ่งที่เราจะต้องไปสรรเสริญ แต่ขณะใดที่เป็นมัคคจิต ขณะนั้นดับกิเลส และพระโสดาบันเอง พระสกทาคามี พระอนาคามีท่านก็พิจารณากิเลสที่ยังเหลืออยู่

    ผู้ฟัง พูดถึงเรื่องนี้ก็ทำให้นึกถึงเรื่องความเพียร อย่างที่ท่านบอกว่าให้ศึกษาในกุศลธรรมทั้งกลางวัน และกลางก็เป็นเรื่องของความเพียร แล้วก็ยังมีพระสุภาษิตที่ว่า วิริเยน ทุกฺขมจฺเจติ. คนล่วงทุกข์ได้เพราะความเพียร ฟังดูคล้ายอย่างที่ท่านอาจารย์พูดก็มีเหตุผลว่าก็ต้องเป็นไปตามเหตุตามปัจจัยนี้ เมื่อนึกถึงความเพียรก็เป็นเครื่องกระตุ้นเตือนจิตเราให้เกิดความอยากขึ้นมา อยากจะให้มากๆ จะต้องกระทำความเพียรทั้งกลางคืนกลางวันในกุศลธรรม

    ท่านอาจารย์ ยิ่งผิด คือไม่เข้าใจความหมายว่า ทั้งกลางวัน กลางคืนคือผู้ไม่ประมาท ไม่ต้องไปรอวันรอเวลาทั้งนั้น ระลึกเมื่อไรก็คือเมื่อนั้น ไม่ใช่ว่าให้เรามานั่งขัดสมาธิแล้วก็อยู่กันเที่ยงคืน ตีหนึ่ง หรืออะไรอย่างนั้น ทั้งกลางวันกลางคืน ถ้าใครทำอย่างนั้นก็ผิด ก็ไม่ใช่เรื่องทำแต่เป็นเรื่องไม่ประมาทที่จะรู้ว่าสติจะเกิดขณะไหนก็ได้ เดี๋ยวนี้ก็ได้ ซึ่งเป็นกลางวัน กลางคืนก็ได้ เมื่อไหร่ก็ได้ ต้องรู้ถึงลักษณะที่เป็นอนัตตาด้วย เพราะฉะนั้นพอขึ้นชื่อว่าความเพียรนั้นก็ไม่ศึกษาให้ถูกต้อง ก็ปฎิบัติอดข้าว แล้วก็นอนน้อย อะไรอย่างนั้น แล้วปัญญาก็ไม่เกิดเลย

    อ.สมพร เรื่องนี้เป็นความจริง เพราะว่าสิ่งทั้งปวงต้องอาศัยปัจจัยเกิดขึ้น อย่างท่านพระอานนท์มีความเพียรตลอดคืน ตลอดรุ่งเลย ไม่สำเร็จ จะขอพักผ่อนสักนิดหนึ่ง ขณะที่จะพักผ่อนก็สำเร็จได้ เห็นมั้ยครับ ขณะที่ต้องการจะสำเร็จ จะสำเร็จ มีความเพียรอยู่นะจนจะสว่างยังไม่สำเร็จเลย เพราะว่าธรรมทั้งหลายเป็นไปตามปัจจัย

    ท่านอาจารย์ อย่างนี้ดิฉันคิดว่า ท่านพระอานนท์ท่านเป็นพระอริยะบุคคล ท่านเป็นพระโสดาบัน เพราะฉะนั้นเมื่อมีเหตุปัจจัยที่จะให้สติของท่านระลึกลักษณะของสภาพธรรม ท่านก็ยับยั้งไม่ได้ เพราะว่าท่านมีปัจจัยที่สติจะระลึกลักษณะของสภาพธรรม ไม่ว่าท่านจะยืน หรือท่านจะเดินก็ตามในระหว่างคืนนั้น และคนเราก็ต้องมีการพักผ่อน แม้แต่ในขณะที่จะนอนก็เป็นธรรมดาอีกเหมือนกัน ซึ่งก็เป็นปกติที่ท่านก็จะต้องพักผ่อนด้วย แต่ว่าปัจจัยพร้อมเมื่อไรก็คือพร้อมขณะที่อยู่ในอิริยาบถ ซึ่งไม่ว่าจะนอน หรือจะนั่งคือขณะที่เอนไป ซึ่งท่านก็เลือกไม่ได้อีกเหมือนกัน เพราะฉะนั้นถ้าเราเข้าใจในเรื่องความเป็นอนัตตา แล้วก็ในเรื่องของปัจจัย เราก็จะไม่ไปนั่งคิดว่าเราจะต้องไปทำอะไร นอกจากว่าขณะนี้สภาพธรรมกำลังปรากฏรู้ลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏขณะนี้ หรือไม่ ถ้าไม่รู้เพราะอะไร เพราะยังไม่เข้าใจพอ เพราะเหตุว่า การรู้นี้คือความเข้าใจขึ้น เพราะฉะนั้นก็เริ่มค่อยๆ เข้าใจขึ้นปกติธรรมดา และจะนานมากน้อยสักเท่าไหร่ก็เป็นเรื่องที่ตรง เพราะเหตุว่ามีลักษณะสภาพธรรมให้พิสูจน์ตัวเราว่าปัญญาของเราเนี่ยรู้แค่ไหน ถ้ารู้แค่นี้ก็แค่นี้ และก็ระลึกอีก ค่อยๆ รู้อีก และก็ค่อยๆ ระลึกๆ แล้วค่อยๆ รูู้อีกให้ทราบว่าเราอยู่คนเดียวกับความคิดของเรา แค่นี้ก็ทำให้เรารู้ว่าขณะที่กำลังเห็นนี่ที่จริงเราคิดแล้วจริงๆ แล้วอยู่คนเดียวกับความคิด แล้วก็ไม่ใช่เราด้วย คือจิตซึ่งเกิดแล้วก็ดับ แล้วก็ไม่ใช่มีแต่คิด มีเห็นบ้าง อะไรบ้าง แต่ก็หลังจากเห็นแล้วก็คิด หลังจากที่ได้ยิน แล้วก็คิด เพราะฉะนั้นให้เห็นความคิดของเราเป็นกุศล หรือเป็นอกุศล เพื่อที่จะได้เห็นชัดๆ ส่วนใหญ่แล้วลองคิดดูว่าหลังเห็นแล้วคิดเป็นอะไร เป็นกุศล หรือเป็นอกุศล โดยมากถ้าเราไม่เห็นอกุศลมากๆ เราจะเป็นคนประมาท แต่พอยิ่งรู้ว่าอกุศลนี่มามากแค่ไหน ทั้งทางตาไม่หยุดเลย ที่สติปัฎฐานไม่เกิด ที่กุศลจิตไม่เกิด ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจไม่หยุดเลย แล้ววันหนึ่งๆ จะให้กุศลเกิดมากๆ ให้ปัญญาเกิดมากๆ และก็ให้ได้ผลเร็วเป็นไปได้อย่างไร มีคนหนึ่งเขาเคยฟังธรรมมานานแล้วเขาก็เล่าให้ฟังว่า นึกถึงที่เขาเคยอธิษฐานไว้ และเขาก็อดขันไม่ได้ คือว่าเวลาที่เขาทำบุญเสร็จแล้ว หรือก่อนจะนอนเขาก็อธิษฐานขอให้เขาบรรลุอริยสัจธรรมในชาตินี้

    ผู้ฟัง ความจริงอย่างนั้นเรายังไม่ยอมรับความจริงว่าเราอยู่คนเดียวในโลกนี้ไม่มีใครเลย ชั่วขณะแต่ละขณะ

    ท่านอาจารย์ และเป็นทางที่จะให้สติระลึกในขณะที่กำลังเห็นว่านี่คือคิด มีสีที่ปรากฏ และก็คิดอยู่ในความคิด เป็นคนนั้นคนนี้

    ผู้ฟัง แต่ที่อาจารย์บอกว่าอยู่คนเดียว เราสังเกตุ หรือเปล่า พอเราตายแล้วเราไปไหน เราจะไปอยู่ที่ไหน เราจะไปอยู่ตรงไหน

    ผู้ฟัง ก็ไม่รู้ใหญ่เลย

    ผู้ฟัง เรามาจากตรงไหนก็ไม่รู้ทั้งนั้น

    ท่านอาจารย์ และก็ไปคนเดียว

    ผู้ฟัง แล้วไปคนเดียว มีใครไปด้วยไม่

    ท่านอาจารย์ เกิดมาคนเดียว

    ผู้ฟัง รักกันนักหนา สามีภรรยา รักกันหนักหนา แล้วตายแล้วไปไว้วัด อยู่กับพระ


    ฟังธรรมจากหัวข้อย่อย

    หมายเลข 10
    3 ม.ค. 2567

    ซีดีแนะนำ