สนทนาธรรม ตอนที่ 029


    ตอนที่ ๒๙

    สนทนาธรรมที่หมู่บ้านเมืองทองนิเวศน์ ๑

    พ.ศ. ๒๕๓๘


    ท่านอาจารย์ ที่เราศึกษาธรรมเราจะเน้นจุดนี้ว่าทุกอย่างเป็นธรรมแล้วก็กำลังปรากฏแต่อวิชชาไม่สามารถจะรู้ความจริงได้แต่ถ้าเป็นปัญญาจะรู้ตรงลักษณะแต่ละลักษณะคำว่าแต่ละลักษณะหมายความว่าแต่ละทางจริงๆ คือทางตาก็รู้จริงๆ ว่าเป็นเพียงสิ่งที่ปรากฏ จะเป็นดอกดาวเรืองจะเป็นคนจะเป็นนาฬิกาจะเป็นโต๊ะจะเป็นขนมจะเป็นอะไรก็คือเพียงสิ่งที่ปรากฏแล้วคิด ถ้าไม่คิดสิ่งต่างๆ เหล่านี้จะไม่มีเลยเพียงมีสิ่งที่ปรากฏทางตาเท่านั้น แต่ความคิดยับยั้งไม่ได้เพราะเหตุว่ามีการสะสมสืบต่อมาแม้แต่พระผู้มีพระภาค หรือพระอริยเจ้าทั้งหลาย ท่านจะประจักษ์ว่าสิ่งที่ปรากฏทางตาก็เป็นสภาพธรรมอย่างหนึ่ง เสียงเห็นไหมคะกำลังมีเสียงปรากฏอวิชชาไม่รู้แต่วิชาสามารถที่จะรู้ได้ว่าเป็นเพียงสภาพธรรมอย่างหนึ่ง ถ้าสามารถที่จะรู้แจ้งจริงๆ ว่าเป็นสภาพธรรมแต่ละอย่าง ก็สัญญาเก่าที่เคยเป็นสัตว์เป็นบุคคลก็จะจางลง แต่ว่าจะต้องเป็นไปตามระดับขั้นของปัญญาด้วย เพราะฉะนั้นไม่ใช่เรื่องเร็ว หรือว่าไม่ใช่เรื่องทำ หรือไม่ใช่เรื่องคิดหวัง หวังไม่ได้ค่ะทุกอย่างต้องเป็นไปตามเหตุผลเวลาที่เห็นคนที่เคยจำได้ว่าเป็นใครแล้วก็มีความรู้สึกขุ่นเคืองใจก็รู้ว่าเป็นความจริงลักษณะที่ขุ่นเคืองใจก็เป็นสภาพธรรมอย่างหนึ่ง แล้วก็จะขุ่นเคืองใจไปอย่างนี้แหละจนตายเกิดใหม่ก็ยังจะต้องมีความขุ่นเคืองใจจากคนที่เราเห็นแล้วก็ชอบบ้างชังบ้างไปเรื่อยๆ ไม่รู้จบจริงๆ เพราะฉะนั้นไม่ใช่เรื่องชาติเดียวว่าเราจะเอาความรักความชังออกจากสิ่งที่ปรากฏแล้วก็เราไปนึกถึงเรื่องราวต่างๆ แต่ให้ทราบสิ่งหนึ่ง ที่ถูกต้องแน่นอนก็คือว่าแต่ละคนมีจิตเกิดขึ้นเพียงขณะเดียวแท้ๆ จริงๆ แล้วก็เป็นโลกๆ นึงเฉพาะตัว ขณะที่กำลังเห็นทางตานะคะ ยังไม่คิดก็เป็นโลกของสีสันวรรณะต่างๆ แต่พอคิดเราจะไม่สนใจในสิ่งที่ปรากฏขณะที่กำลังคิดเรื่องยาวๆ แล้วก็ไกลๆ นะคะ อะไรอยู่ตรงหน้าก็แทบจะมองไม่เห็นไม่รู้เลยเพราะว่ากำลังมีความคิดในเรื่องนั้นอยู่ เพราะฉะนั้นก็แสดงให้เห็นว่าทุกคนเนี่ยจริงๆ แล้วเกิดมาในโลกอยู่ในโลกของความคิดของตัวเอง แล้วถ้าเราจะพิจารณาจิตซึ่งคิดเพราะเหตุว่าเดียวเห็นแล้วก็คิดเดี๋ยวได้ยินแล้วก็คิดแล้วก็สิ่งที่เห็นก็ดับไปเสียงที่ได้ยินก็ดับไปแต่เรื่องราวทำไมไม่ดับยังมีคนนั้นอยู่ในหัวใจอยู่ตลอดเวลาที่กี่ ๑๐ ปีก็ไม่ลืมก็ยังขุ่นเคืองอยู่นั่นแหละ เพราะแสดงให้เห็นว่าเรายังไม่รู้จุดว่าจริงจริงแล้วเนี่ยทุกข์ทั้งหมดเกิดขึ้นเพราะความคิด แต่ถ้าทราบได้จริงๆ ว่าคิด และคิดก็มี ๒ อย่างคือกุศลวิตกกับอกุศลวิตกคือคิดที่เป็นกุศลจะต่างกับคิดที่เป็นอกุศลแล้วก็บังคับไม่ได้ด้วยแต่ถ้ารู้ความจริงว่าความคิดมี ๒ อย่างแล้วก็ขณะนี้แม้แต่ความคิดนั้นก็เกิดขึ้นเพราะการสะสม แล้วเรายังจะสะสมความขุ่นใจแทนที่จะมีความเมตตามีความกรุณามีมุทิตามีอุเบกขาโดยที่ว่าไม่เลือกเพราะเหตุว่าเรื่องของธรรมเป็นเรื่องที่ละเอียดมากบางทีเราคิดว่าเรามีแต่ใช่รึเปล่า แม้แต่ความเมตตานะคะ เป็นเรื่องใหญ่ทีเดียวเพราะว่าบางคนมองดูแล้วเนี่ยเมตตาคนนี้แต่ไม่เมตตาคนนั้นแล้วนี้เมตตารึเปล่าแค่เป็นในลักษณะนี้ถ้าเมตตาจริงๆ ขณะนั้น จะมีความเสมอกันหมดโดยไม่เลือกว่านี้เป็นเด็ก หรือเป็นผู้ใหญ่ หรือว่าอายุฐานะความเป็นอยู่ หรืออะไรต่างๆ นั่นแสดงว่าเป็นความเมตตาอย่างแท้จริงแต่ถ้าเรายังเมตตาคนนี้ได้แต่เมตตาคนนั้นไม่ได้เรื่องนี้ลืมได้แต่เรื่องนั้นลืมไม่ได้ ก็แสดงให้เห็นว่ายังมีสัญญาเก่าคือความเห็น และความคิดว่าเป็นตัวตนมากมายเหลือเกิน ผู้มีพระภาคก็ทรงแสดงไว้ว่าตราบใดที่ยังมีความยึดมั่นในสภาพธรรมด้วยความเห็นผิดที่ยึดถือว่ามีคนจริงๆ มีคนนั้นคนนี้จริงๆ ก็แสดงว่าเราก็ยังจะต้องมีโลภะโทสะโมหะมีอกุศลทั้งหลายซึ่งยังดับไม่ได้อยู่เรื่อยๆ เพราะฉะนั้นสัญญาใหม่ที่จะไปล้างสัญญาเก่าก็คือว่า เมื่อเห็นแล้วแทนที่จะนึกถึงสิ่งที่ปรากฏว่าเป็นคนนั้นคนนี้ถ้าเกิดเป็นไปตามเหตุตามปัจจัยว่าขุ่นเคืองใจเกิดขึ้นกระจกบานใหญ่สะท้อนกลับมาที่จิตค่ะว่าแท้ที่จริงแล้วนี้เป็นโทสะที่ทรงแสดงไว้นั้นเป็นเรื่องสิ่งที่ปรากฏทางตา เป็นเรื่องซึ่งความจริงแล้วเรื่องนั้นน่ะไม่มี แต่โทสะมี ถ้าเกิดโลภะความติดข้องพอใจอย่างมากๆ ถ้าสติไม่เกิดก็หมุนไปตามเรื่องของโลภะแต่ขณะใดที่สติเกิดก็ป็นกระจกที่สะท้อนมาถึงจิตว่าเรื่องนั้นไม่มีแต่ว่าจิตกำลังเป็นโลภะ เพราะฉะนั้นเราจะเห็นลักษณะของโลภะ ไม่ใช่ที่อื่น หรือขณะอื่นแต่ขณะที่จิตใจเกิดความยินดียินร้ายขึ้นแม้แต่ในขณะที่เพียงคิดด้วยความจำนี้แสดงถึงความลึกว่าตราบใดที่ยังมีความเป็นตัวตนเป็นสัตว์เป็นบุคลไม่ต้องเห็นเพียงคิดก็ทุกข์ถ้าเป็นอกุศลที่เป็นโทสะ หรือว่าถ้าเป็นเรื่องสนุกๆ ก็เพียงคิดก็เพลิน เป็นเรื่องที่อยู่ตัวคนเดียวจิตเกิดขึ้นทีละหนึ่งขณะแล้วเก็บเรื่องราวทุกอย่างทรงจำไว้ตั้งแต่เกิดจนตายไม่ปล่อย เพราะฉะนั้นก็ยังมีคนนั้นคนนี้อยู่ในใจ และคนนั้นก็เป็นที่รักคนนี้ก็เป็นที่ชังวันหนึ่ง ไม่ต้องไปไหนคะอยู่กับที่แต่มีคนเยอะ นึกไปก็ได้ทั้งวันแต่อะไรโลภะโทสะทั้งนั้นซึ่งถ้าสติเกิดนี้จะทำให้เห็นชัดว่าไม่ได้อยู่ที่อื่นเลยเรื่องไม่มีคนไม่มีมีแต่ใจ หรือจิตซึ่งเกิดขึ้นแล้วเป็นโลภะให้เห็นว่าลักษณะของโลภะคือติดข้องพอเกิดขึ้นเป็นความขุ่นเคืองก็แสดงลักษณะ ให้เห็นชัดว่าขณะนั้นก็เป็นแต่เพียงลักษณะของโทสะค่ะ เพราะฉะนั้นเราบวกลบคูณหารโลภะโทสะโมหะของเราเองได้เต็มที่คือคนอื่นบอกเราไม่ได้เลยว่าเราจะมีมากเท่าไหร่ แต่พอจิตเกิดขึ้นเป็นโทสะขุ่นเคืองใจเพราะนึกแม้แต่เพียงชื่อแม้แต่เพียงเรื่องขณะนั้นเราก็รู้ได้ว่าไม่มีคนนั้นแล้วก็ไม่มีเรื่องนั้นแต่จิตมี และจิตนั้นกำลังเป็นโทสะเป็นความขุ่นใจถ้ากล่าวโดยปริยัติก็จะเป็นจิตตานุปัสสนาสติปัฎฐาน หรือว่าจะเป็น ชื่อโดยธัมมานุปัสสนาสติปัฎฐานอะไรก็ได้แต่ให้ทราบว่าเราไม่จำเป็นที่จะต้องไปนึกถึงชื่อแต่ให้ทราบว่าสภาพปรมัตจริงๆ ที่เราใช้คำว่าปรมัตถ์คือสิ่งที่มีจริงแต่เรื่องราวไม่มี เพราะฉะนั้นขณะใดที่คิดถึงเรื่องราวใดก็ตามสะท้อนให้เห็นลักษณะสภาพของจิตแต่ละประเภท ในขณะนั้นได้เพราะว่าทุกคนอยู่คนเดียวเพราะว่าจิตเกิดขึ้นทีละหนึ่งขณะไม่มีใครนอกจากจิตที่จำก็จำเรื่องแล้วก็เป็นโลภะโทสะโมหะดับไป จิตที่เห็นก็เห็นหลังเห็นแล้วจิตที่จำเรื่องก็เกิดอีกก็จำเรื่อง ทางหูทางจมูกทางลิ้นทางกายทางใจไม่ใช่ชาตินี้ชาติเดียวค่ะ แสนโกฎิกัปมาแล้วแล้วก็จะเป็นอย่างนี้ไปที่ละหนึ่งขณะ ที่เรานั่งอยู่ขณะนี้ไม่ทราบว่ากี่ขณะแล้วนับไม่ถ้วนค่ะเห็นกี่ขณะแล้ว ได้ยินแต่ละคำแต่ละเสียงเนี่ยกี่ขณะแล้วแต่ผ่านไปโดยไม่รู้ตัวแล้วเราก็มานับว่านี่คือนาทีหนึ่ง นี่คือชั่วโมงหนึ่ง นี่คือวันนึงเรานับแต่ว่าสภาพธรรมเนี่ยไม่มีวันจบต่อเราให้เราจะนับนี่ปีเก่าหมดไปแล้วนี่กำลังจะเป็นปีใหม่แต่สภาพธรรมก็ไม่จบชาติก่อนดับไปชาตินี้ก็ไม่จบ แล้วชาตินี้หมดก็ไม่จบอีกก็ยังมีชาติหน้าต่อไปทีละหนึ่งขณะนี้ค่ะอีกแสนโกฎิกัปเรียกว่าอีกเท่าไรก็แล้วแต่กำลังของปัญญาเพราะเหตุว่าในอดีตที่เนิ่นนานมาเป็นอย่างนี้คือเห็นอย่างนี้รักชังอย่างนี้ และก็กุศลอย่างนี้อกุศลอย่างนี้ได้ยินเสียงก็เป็นอย่างนี้นะคะ ตลอดไม่มีวันจบ เพราะฉะนั้นถ้าปัญญายังไม่ถึงขั้นที่จะดับกิเลสก็เป็นอย่างนี้ไปอีกทีละหนึ่งขณะอย่างรวดเร็วโดยไม่รู้ตัวนับไม่ถ้วนเกินแแสนโกฎิกัปก็ได้ไปเรื่อยๆ

    ผู้ฟัง ฟังก็เหมือนเข้าใจนะ แล้วท่านอาจารย์ก็บอกว่าถ้าไม่มีสัตว์บุคคลตัวตนเมื่อไหร่ เราก็ไม่มีนะคะ แต่ทีนี้เรายังยังดื้ออยู่ค่ะยังเห็นเป็นคนนั้นคนนี้อยู่แล้วยังไม่พอคนนั้นคนนี้ยังทำดี หรือไม่ดีอีกต่อไปอีกเนี่ย แต่ท่านอาจารย์ก็ยังบอกว่าถ้าเราทราบว่าการที่เราคิดถึงความไม่ดีนั้นก็เป็นแต่เพียงความคิดของกิเลสของเราในตัวแล้วก็ให้รู้สภาพธรรมอันนั้นว่าเรากำลังคิดสิ่งที่ไม่ดีแล้วก็พยายามคิดให้น้อยลง หรือว่าให้ค่อยๆ ขัดเกลาไป ก็ด้วยปัญญายังน้อยอยู่

    ท่านอาจารย์ ที่จริงแล้วก็เป็นเรื่องของการอดทนคือขันติเป็นตบะอย่างยิ่งอดทนที่จะฟังอดทนที่จะรู้ว่าจริงๆ แล้วสภาพธรรมไม่ได้อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาไม่อยากจะมีความขุ่นใจก็มีเพราะเหตุว่าขณะนั้นมีปัจจัยที่จะให้ขุ่นใจเกิดขึ้น เพราะฉะนั้นผู้ที่อดทนนะคะ เป็นผู้ที่จะรู้ความจริงว่าขณะนั้นถ้าระลึกได้จริงๆ ว่าขอให้ระลึกว่าเรื่องราวไม่มีมีแต่จิตที่กำลังคิดแล้วจิตนั้นเป็นอกุศลด้วย คือขณะนั้นเป็นโทสะ หรือว่าเป็นความขุ่นใจ และลักษณะของโทสะด้วยความขุ่นใจ ไม่ได้นำประโยชน์อะไรมาให้กับใครเลยแล้วก็จะเป็นการสะสมซึ่งไม่ใช่มีชาตินี้ชาติเดียว เรื่องนี้เรื่องเดียวเรื่องอื่นยังตามมาอีกทุกวัน คือว่าเรื่องเมื่อวานนี้ก็จบไปแล้ว แล้วก็จริงจริงแล้วที่มีอยู่เพียงคิดถึงอีกครั้งหนึ่ง เพียงที่จะให้เราขุ่นใจอีกครั้งหนึ่ง แต่ถ้าเมื่อวานนี้เราขุ่นใจไปแล้วแล้วก็ด้วยนั้นก็จบไปแล้วแล้วก็ยังมีเรื่องใหม่มาอีกข้างหน้านี้ไม่รู้ว่าจะขุ่นใจมาก หรือน้อยก็ยังเหลือเฟือ และยังไปแถมของเก่าขึ้นมาบวกอีกก็มากมายจนกระทั้งนับไม่ถ้วนค่ะ นั่นน่ะสิคะเท่ากับว่าเราบวกของเราเอง เพราะฉะนั้นถ้ามีปัญญาที่จะพิจารณาเห็นโทษว่าไร้ประโยชน์ไม่มีประโยชน์ใดๆ กับใครทั้งสิ้นกับคนอื่นก็ยังไม่เท่ากับตนเองที่กำลังคิดเรื่องนั้น เพราะฉะนั้นเปลี่ยนใจได้ด้วยปัญญา หรือว่าความเข้าใจที่ถูกจะทำให้เกิดปัญญาเห็นว่าคิดดีก็มีนี้นะ และก็ทำไมจะไม่คิดดีเพื่อจะเป็นประโยชน์คือการสะสมต่อไปเช่นคิดเมตตาแทน หรือว่าไม่ไปสนใจกับเรื่องที่เราอยากจะให้คนอื่นเป็นอย่างนั้นแต่เขาไม่เป็นเพราะว่าเป็นไม่ได้แม้แต่เราเองก็เป็นไม่ได้แล้วจะให้คนอื่นเป็นอย่างนั้นได้ยังไง เพราะฉะนั้นเลิกคิดเรื่องจะให้คนอื่นเป็นอย่างไรแต่ว่าสามารถที่จะระลึกถึงจิตไม่ว่าคิดว่าอะไรทั้งสิ้น แล้วก็เกิดอกุศลขึ้นแสดงให้เห็นว่าเพียงสติเกิดขึ้นนิดเดียวจะเห็นตัวจริงว่าขณะนั้นเรื่องราวไม่มีถ้าไม่คิดแล้วก็เป็นจิตที่เพียงคิดด้วยอกุศลเท่านั้น

    ผู้ฟัง กราบเรียนถามอีกนิดถึงความอดทน อดทนขณะที่เราคิดไปแล้วแล้วก็หยุด หรือว่าอดทนที่จะไม่คิดเลย

    ท่านอาจารย์ อันนี้ไม่ใช่เรื่องที่เราจำแนกนะคะ แต่หมายความว่าแม้แต่ความอดทนก็คือขณะจิตนั่นเองเป็นกุศลหรือเปล่าถ้าเป็นอกุศลจะใช้คำว่าอดทนไม่ได้แน่แต่ถ้ากุศลจิตเกิดขึ้นแสดงว่าเราสามารถที่จะมีความอดทน ที่จะเข้าใจอกุศล ข้อสำคัญที่สุดคือเราดับอกุศลไม่ได้ เราทำอะไรไม่ได้สักอย่างด้วยความเป็นตัวตนแต่ปัญญาค่ะปัญญาจะทำหน้าที่ของปัญญาเวลาที่ปัญญาเกิดขึ้นถ้าเป็นปัญญาขั้นคิดเขาก็จะเปลี่ยนจากที่คิดเป็นอกุศลเป็นกุศลนั้นคือปัญญาเปลี่ยนไม่ใช่เราอดทน หรือไม่อดทนแต่ว่าลักษณะของการที่จะอดทนก็คือว่า ทั้งๆ ที่เป็นอกุศลแต่ปัญญายังเกิดรู้ได้ ว่าขณะนั้น เป็นเพียงสภาพธรรมอย่างหนึ่ง ซึ่งอกุศลไม่มีใครอยากรู้ พอกุศลจิตเกิดทำยังไงมาทีเดียว ถึงจะไม่มี นี่คือแสดงว่าไม่อยากอดทนที่จะรู้อกุศลที่กำลังปรากฏตามความเป็นจริงหาวิธีอื่นแล้วว่าทำยังไงจะไม่มีอกุศล เพราะฉะนั้นความอดทนก็คือว่าถึงเป็นอกุศลที่เกิดแต่เมื่อเกิดแล้วปรากฏก็คือขณะใดที่กุศลจิตเกิดระลึกรู้นั่นคืออดทนที่จะรู้สภาพซึ่งเป็นอกุศล เพราะส่วนใหญ่แล้วคนจะหาทางอื่น เพราะว่าทำยังไงไม่เป็นอกุศลคือนี่ไม่ใช่ทางที่จะอดทนที่จะเข้าใจว่าอกุศลคืออย่างนี้ลักษณะของโทสะคืออย่างนี้ลักษณะของโลภะคืออย่างนี้ลักษณะของสภาพธรรมแต่ละอย่างอาจจะเป็นความริษยา หรือว่าอะไรก็ตามแต่อาจจะฝังลึกมาตั้งนานนม ก็ได้ แต่ให้ทราบว่าฝังไม่ใช่ฝังชาตินี้แฝงมาตั้งกี่ชาติยิ่งน่ากลัวถ้าเกิดมานิดนึงก็อาจจะสะกิดเตือนให้เรารู้ว่านี้ตั้งกี่ชาติมาแล้วไม่ใช่ชาตินี้ชาติเดียวก็ยังทำให้เราเห็นภัยว่าถ้ายังสะสมต่อไปอีกก็ยิ่งมากขึ้นไปอีก

    ผู้ฟัง แล้วถ้าอดทนทราบว่าขณะนี้จิตคิดอกุศลอยู่นะคะ จะค่อยๆ น้อยลงไป

    ท่านอาจารย์ ลำบากนะคะ ลำบากเรื่องที่จะให้น้อย แล้วจริงๆ แล้วยังเป็นอกุศลจิตของเรา นี้ค่ะสำคัญอีกหมายความว่าถึงรู้ว่าเป็นอกุศลจิตก็ยังอกุศลจิตของเรา เพราะฉะนั้นกว่าจะไม่เป็นของเราได้ก็คือเป็นสภาพธรรมอย่างหนึ่ง เพราะฉะนั้นการที่จะรู้สภาพธรรมตามความเป็นจริงจะช่วยทำให้บรรเทาทุกอย่างแม้แต่ขั้นการคิดแม้แต่ขั้นการพิจารณาจนกระทั่งถึงการประจักษ์แจ้งจริงๆ ให้เห็นคุณประโยชน์ของสภาพธรรมที่ปัญญาสามารถที่จะรู้ได้ ว่าถ้ารู้ได้จริงๆ ว่าเป็นเพียงสภาพธรรมแม้แต่เกิดระลึกขึ้นมานิดนึงก็ยังเห็นว่าลักษณะนั้นเป็นสภาพธรรมที่ต่างกับสภาพธรรมอื่น และถ้าสามารถจะรู้ได้ทั่วสามารถที่จะประจักษ์จริงๆ ด้วยไม่ใช่เพียงแต่รู้นิดๆ ทีละนิดทีละนิดไปแต่ว่าประจักษ์จนกระทั่งดับ ความยึดมั่นว่าเป็นตัวตนได้ขนาดนั้นจะเป็นปัญญาที่สามารถจะละได้จริงๆ อย่างที่เราถามว่าทำยังไงก็คือไม่ใช่ไปทำอย่างนี้แต่จะต้องมีความรู้จริงจนกว่าจะละได้จริงๆ ตราบใดที่ยังเป็นจิตของเราก็คือก็ต้องอบรมไปไม่ว่าจะทางตาทางหูทางจมูกทางลิ้นทางกายทางใจใฝ่เรื่อยๆ ค่ะเป็นปกติให้ทราบว่าเป็นสติที่เกิดระลึก นี้เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด มิฉะนั้นจะยังมีความเป็นตัวตนที่คอยจ้อง หรือคอยจะทำอยู่ เพราะฉะนั้นคำถามที่ว่าจะทำอย่างไรอันนี้ค่ะต้องไม่มี

    อ.สมพร เรื่องอดทนนะที่อาจารย์บรรยายไว้ก็ดีนะดีมากแต่ว่าผมก็ยังคิดอีกอันหนึ่ง ผมก็สรุปเอาสั้นๆ อีกอันนึงความอดทนที่ว่านั้นต้องมีปัญญาถ้าเราอดทนชนิดบางอย่างที่ไม่เกี่ยวกับปัญญาเป็นอกุศลก็มีนะครับ อย่างนั้นไม่ถือว่าอดทน อดทนแล้วต้องประกอบด้วยปัญญาพิจารณาเห็นโทษว่าอย่างความโกรธเกิดขึ้นมันมีโทษก็เพราะมีปัญญา หรือเห็นความโลภในทางทุจริตเกิดขึ้นแล้วก็พิจารณาดูว่ามันเป็นโทษรู้ว่าเป็นโทษจึงอดทนได้ ทั้งโลภะอดทนได้ก็เพราะมีปัญญาโทสะอดทนได้ก็เพราะอาศัยปัญญาอดทนในที่นี้คงหมายถึงว่าทำให้กุศลเกิดเมื่อเราอดทนแล้วกุศลย่อมเกิดได้ถ้าไม่อาศัยปัญญากุศลก็คงเกิดไม่ได้อยู่นั่นแหละ เพราะฉะนั้นความอดทนในที่นี้ถ้าเกิดร่วมกับปัญญานะก็เป็นของประเสริฐย่อมอดทนได้ครับ

    ผู้ฟัง มีปัญหากันอยู่ว่าจักขุวิญญาณจิตที่เกิดขึ้นขณะเดียวนะคะ จะรู้อารมณ์คือ สี จักขุวิญญาณจิตขณะเดียวนั้นจะรู้ทีละสี หรือว่าจะรู้หลายๆ สีได้ในขณะเดียวกันนั้น อันนี้ก็เป็นปัญหาที่ยังหาข้อสรุปกันไม่ได้ก็บางท่านก็มีความเห็นว่าจะต้องรู้หลายๆ สีบางท่านก็มีความเห็นว่ารู้สีเดียว จักขวิญญาณจิตเพียงขณะเดียวนะคะ

    อ.สมพร สิ่งที่เราจะควรเข้าใจนะครับ หมายความว่าจะเป็นอะไรก็แล้วแต่มันมีลักษณะของมันโดยปรมัตถ์โดยเฉพาะ อย่างสีก็มีการกระทบตาเป็นลักษณะเราไม่ได้คำนึงถึงว่าจะเป็นสีอะไรนะครับ ถึง ๑๐๐ สี ๑๐๐๐สี ก็มีลักษณะเดียวเหมือนจิตนะ มี ๘๙ ดวงก็มีลักษณะเดียว ต้องเอาลักษณะนะครับ เมื่อเราคำนึงถึงลักษณะแล้วเราก็สามารถจะเข้าใจได้ เสียงมีกี่ ๑๐๐ กี่ ๑๐๐๐เสียงก็มีลักษณะเดียวนะครับ ถึงจิตจะมี ๑๒๑ ก็มีลักษณะเดียว แต่ถ้าลักษณะมันต่างกันเช่นเจตสิกนะ ๕๒ อย่างมีลักษณะ ๕๒ อย่างนั้นอีกนัยนึงก็นัยไหนก็นัยนั้นนะครับ สภาวะอย่างนี้ เช่นสีมีลักษณะเดียวไม่มี ๒ ลักษณะ ลักษณะของสีคือกระทบที่ตาเท่านั้น เท่านี้เองนะครับ มีลักษณะเป็นเครื่องชี้ชัดแล้วก็ไม่ต้องพูดหลายอย่าง พูดหลายอย่างถ้าบางทีเราก็เข้าใจไม่ได้

    ท่านอาจารย์ คืออันนี้นัยที่ศึกษาแล้วแต่ก็ยังมีความข้องใจในเรื่องของคำที่ใช้ เพราะว่าลักษณะของสภาพธรรมถึงไม่ใช้คำอะไรเลยใครก็เปลี่ยนแปลงลักษณะของสภาพธรรมนั้นไม่ได้ เพราะฉะนั้นเมื่อกำลังมีสิ่งที่ปรากฏทางตาเราจะต้องไปนั่งคิดไหมคะว่านี่จักขุวิญญาณกี่ทวารแล้วกี่ขณะนั้นสลับกับทางใจกี่ขณะแล้วไม่จำเป็นเลยค่ะเพียงแต่ว่าเรารู้ความจริงว่าสภาพธรรมที่กำลังปรากฏทางตาเป็นสภาพธรรมลักษณะหนึ่ง ซึ่งต่างกับสภาพธรรมที่ปรากฏทางหู เพื่อที่จะละความเห็นผิดว่าเป็นตัวตนแต่ไม่ใช่ว่าเราจะไปคิดโดยวิทยาศาสตร์ หรือว่าโดยทางปรมัตถ์บัญญัติอะไรอย่างนี้แต่ว่าสิ่งนี้มี และให้เข้าใจให้ถูกว่าเป็นสิ่งที่กำลังปรากฏ และก็กำลังปรากฏทางตาด้วยให้เข้าใจว่าเป็นสิ่งที่ปรากฏทางตาแทนที่จะไปนึกถึงสีต่างๆ

    อ.สมพร เรื่องจักขุวิญญาณเห็นอย่างเดียว หรือไม่นะครับ จักขุวิญญาณมีหน้าที่อย่างเดียวคือทำทัศนกิจเท่านั้น จะอะไรมาปรากฏก็แล้วแต่มีหน้าที่อย่างเดียวกิจ หรือว่ามีกิจอย่างเดียวคือทำทัศนกิจทำหน้าที่เห็นเท่านั้น กี่๑๐๐ กี่๑๐๐๐ สีอะไรก็แล้วแต่เมื่อสิ่งนั้นมากระทบตาจักขุวิญญาณเกิดขึ้นทำกิจอย่างเดียวไม่ทำ ๒ กืจ ทำหน้าที่เห็นแล้วก็ดับไป ก็อันนี้คงจะตัดปัญหาไปว่าจักขุวิญญาณนะครับ เห็นหลายอย่างหรือไม่นะครับ จะเห็นกี่อย่างก็แล้วแต่หน้าที่ของเขามีอย่างเดียว

    อ.นิภัทร จะย้ำที่ท่านอาจารย์พูดเมื่อกี้เนี่ยว่าที่คุณกฤษณาเข้าใจการศึกษาเป็นขั้นๆ เลย เพราะฉะนั้นความเข้าใจสภาพธรรมนี่มันละเอียดจริงๆ มันเป็นขั้นเป็นตอนไปของผู้ที่จะฟังแล้วได้ความเข้าใจครับท่านอาจารย์

    ท่านอาจารย์ ค่ะคือเป็นเรื่องราว ที่สงสัยเป็นการสงสัยเรื่องราวแต่ว่าถ้าจะเข้าใจลักษณะของสภาพธรรมก็มีสภาพธรรมกำลังปรากฏให้ค่อยๆ เข้าใจถูกต้องขึ้นไม่ใช่ไปคิดเรื่องราวเพราะว่าถ้าคิดเรื่องราวไม่มีทางที่จะเข้าใจสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ แสดงให้เห็นว่าปัญหาของเราเป็นปัญหาเรื่องคิดปริยัติแต่ว่าการที่เราจะรู้แจ้งลักษณะของสภาพธรรมไม่ใช่การคิดอย่างนี้แต่จะต้องเป็นการระลึกได้ว่าขณะนี้มีสภาพธรรมกำลังปรากฏ และการที่จะค่อยๆ เข้าใจลักษณะจริงๆ ของสภาพธรรมที่ปรากฏว่า ไม่ใช่คนนั้นคนนี้ไม่ใช่สิ่งนั้นสิ่งนี้เนี่ยจะต้องเริ่มจากการที่รู้ว่าสิ่งนี้ที่มีจริงๆ กำลังปรากฏเป็นเพียงสภาพธรรมอย่างหนึ่ง แค่นี้เราก็จะถอนความคิดของเราสีอะไรใช่ไหมคะกี่สี หรืออะไรต่ออะไรอย่างนั้นได้ก็จะต้องอบรมปัญญาที่จะรู้อย่างนี้ค่ะ


    ฟังธรรมจากหัวข้อย่อย

    หมายเลข 10
    5 ม.ค. 2567

    ซีดีแนะนำ