สนทนาธรรม ตอนที่ 034


    ตอนที่ ๓๔

    สนทนาธรรมที่หมู่บ้านเมืองทองนิเวศน์ ๑

    พ.ศ. ๒๕๓๙


    ท่านอาจารย์ ถ้ายังเข้าใจธรรมคลาดเคลื่อน ก็ขอให้จำไว้ใหม่นะค่ะว่า สังขารธรรม คือสภาพธรรมซึ่งเกิดเพราะเหตุปัจจัย ต้องมีเหตุปัจจัยทำให้เกิด อย่างแข็งนี่ ถ้าไม่มีเหตุปัจจัย แข็งนี้จะเกิดไม่ได้เลย ถ้าใครกำลังได้กลิ่น ถ้าไม่มีเหตุปัจจัยปรุงแต่ง กลิ่นก็เกิดขึ้นไม่ได้ กลิ่นดอกกุหลาบ ก็ต้องมีดอกกุหลาบ ต้องมีธาตุดิน ต้องมีอย่างอื่นประกอบกัน แล้วก็มีกลิ่นรวมอยู่ในที่นั้นด้วย

    เพราะฉะนั้นให้ทราบว่า ขณะใดที่สภาพธรรมอย่าง หนึ่ง เกิดขึ้น ให้ทราบว่า ต้องมีสภาพธรรมอย่างอื่นเกิดร่วมกัน เพราะฉะนั้นจิตกับเจตสิก เขาเกิดร่วมกันเสมอ ต่างก็อาศัยกัน และกัน ถ้าปราศจากจิต เจตสิกก็เกิดไม่ได้ เพราะเหตุว่า โดยศัพท์ เจตสิกก็หมายความถึงสภาพธรรมที่เกิดกับจิต หรืออาศัยจิตเกิดขึ้น เป็นไปกับจิต เพราะฉะนั้น จิตก็ต้องมีเจตสิกปรุงแต่งให้เกิด เจตสิกก็มีจิตเป็นสภาพที่ปรุงแต่งให้เกิด ต่างเป็นสังขารธรรม ซึ่งเกิดพร้อมกัน แล้วดับพร้อมกัน ทีนี้เมื่อเกิดพร้อมกัน และดับพร้อมกัน สอง อย่างเนี้ย จะแยกกันยังไง ก็คือว่า จิตเป็นใหญ่เป็นประธานในการรู้แจ้งลักษณะของอารมณ์ เฉพาะลักษณะ เขาไม่ใช่ปัญญา เขาไม่รู้ว่าไม่ใช่ตัวตน เขาไม่รู้ว่าไม่ใช่สัตว์บุคคล เขาไม่รู้อะไรทั้งหมดค่ะจิตมีลักษณะอย่างเดียว คือว่า เป็นสภาพที่ เป็นใหญ่ ในการรู้แจ้งอารมณ์ อารมณ์คือสิ่งที่ถูกจิตรู้ เมื่อมีสภาพรู้ก็ต้องมีสิ่งที่ถูกรู้ เพราะฉะนั้นภาษาบาลีใช้คำว่า จิตกับอารมณ์ แต่หมายความว่า เมื่อมีสภาพรู้ ต้องมีสิ่งที่ถูกรู้ และสภาพรู้ นอกจากจิตยังมีเจตสิกเกิดร่วมกัน แต่จิตเขาไม่เป็นใหญ่เป็นประธาน ในการรู้แจ้งลักษณะของอารมณ์ เพราะฉะนั้นเจตสิก ๕๒ ชนิดภายหลังเราจะศึกษาแต่ละชนิดว่าแต่ละชนิดเนี่ย มีลักษณะยังไง ที่ไม่ใช่จิต แล้วก็ทำกิจอะไร เจตสิก ต้องเกิดขึ้นทำการงาน จิตก็ต้องเกิดขึ้นทำการงาน ไม่ใช่คุณวีระทำเลย แต่ว่าต้องเป็นจิต และเจตสิกเกิดขึ้น และก็ทำกิจการงานไปเรื่อยๆ แต่ละการงาน แต่ละหน้าที่ไปจนกว่าจะตาย

    ผู้ฟัง ในเมื่อจิตเป็นใหญ่เป็นประธาน แล้วก็ จะไม่รู้อย่างปัญญาเนี่ย เขารู้หมด ปัญญาเจตสิกเขารู้หมด

    ท่านอาจารย์ ไม่ใช่ค่ะ ปัญญาคือความเห็นถูกความเข้าใจถูก

    ผู้ฟัง ครับ แล้วจุดนั้นเนี่ย ปัญญาทำหน้าที่ เห็นถูกความเข้าใจหมดทุกอย่างว่าถูกต้อง หรือไม่ถูกต้อง อะไรก็แล้วแต่ปัญญานี่ ทำหน้าที่นั้น จิตรู้สภาพอารมณ์อย่างเดียวเป็นใหญ่ ก็ต้องรู้จากปัญญามาบอกด้วยว่า

    ท่านอาจารย์ ปัญญาไม่ได้มาบอก

    ผู้ฟัง ครับ

    ท่านอาจารย์ คือเรามักจะคิดถึงสภาพธรรม และใช้เรื่องราวของสภาพธรรมแบบตัวตนคล้ายๆ กับปัญญามาบอก หรือปัญญาบอกให้รู้ แต่ตามความเป็นจริง แล้วก็คือว่าจิต และเจตสิก เกิดพร้อมกัน และดับพร้อมกัน อย่าลืมอันนี้ รู้อารมณ์เดียวกันด้วย ในขณะที่กำลังเห็นนี้ มีทั้งจิตเจตสิก คือจิตนี้เห็นละแต่สัญญาเจตสิกนี้ จำละ เวทนาเจตสิกก็รู้สึกล่ะ ในสิ่งที่กำลังปรากฏ นี้เพียง ๓ เจตสิก ที่ยกตัวอย่างขึ้นมาให้รู้ว่า ต้องเกิดทุกขณะจิต พอเสียงปรากฏ จิตได้ยินละ เวทนารู้สึกในเสียงนั้นละ สัญญาจำในเสียงนั้นล่ะ ยังไม่มีปัญญาเจตสิกเกิดร่วมด้วยเลย แต่เวลาที่อบรมเจริญปัญญานะคะ ปัญญาลอยๆ เกิดขึ้นมาไม่ได้ ปัญญาต้องเกิดกับจิต ซึ่งเป็นใหญ่เป็นประธานในการรู้ เพราะฉะนั้นเวลาที่ มีการฟังเป็นสภาพของจิตได้ยินเกิดขึ้น ที่ใช้คำว่าได้ยิน หรือฟังเนี่ย ต้องมีโสตปสาท และต้องมีเสียง เพราะฉะนั้นจิตได้ยินเสียงเนี่ย ไม่ใช่ปัญญาค่ะจิตได้ยินเสียงนี้ จะทำกิจเดียวคือ ได้ยินเสียงเท่านั้น ทำกิจอื่นไม่ได้ นี่คือสภาพของจิตชนิดหนึ่ง แต่หลังจากที่ได้ยินแล้วเนี่ย จะมีจิตที่นึกคิดไตร่ตรองพิจารณานี่คะ ค่อยๆ มีสภาพของโสภณเจตสิกฝ่ายดี เกิด จนกระทั่งปรุงแต่งเป็นความเข้าใจ จนกระทั่งเป็นปัญญาที่ค่อยๆ เจริญขึ้น เมื่อไหร่เมื่อนั้นปัญญาเจตสิกก็เกิด แต่ตามปกติธรรมดานี่ปัญญาเจตสิกไม่เกิด และเวลาที่มีความเข้าใจเกิดขึ้นเนี่ยปัญญามีหน้าที่เข้าใจถูกเห็นถูก เขาไม่ต้องไปบอกใครเลย ทำหน้าที่เข้าใจ เหมือนกับสัญญาทำหน้าที่จำอย่างเดียว สัญญาเข้าใจไม่ได้ เวทนาความรู้สึก ก็เป็นสุขบ้างเป็นทุกข์บ้าง เฉยๆ บ้าง ทำหน้าที่อื่นไม่ได้เลย ด้วยเหตุนี้จึงมีเจตสิก ๕๒ ชนิด แล้วก็มีจิต เป็นใหญ่เป็นประธาน แล้วก็จิตนี้ค่ะ ที่เราจำแนกออกไปเป็น ๘๙ ชนิด หรือ ๑๒๑ ชนิด ก็เพราะเหตุว่า มีเจตสิกที่เกิดร่วมด้วยต่างๆ กัน ทำให้เป็นอกุศลจิตทำให้เป็นกุศลจิตทำให้เป็นกิริยาจิต แล้วแต่เราจะเรียนเรื่องละเอียดของจิตต่อๆ ไป แต่ให้ทราบว่าเป็นเรื่องของชีวิตประจำวันเดี๋ยวนี้ ซึ่งจิตเจตสิต กำลังเกิดขึ้นทำกิจการงาน แล้วไม่ต้องบอกใครค่ะ จิตก็ไม่ต้องไปบอกเจตสิก เจตสิกก็ไม่ต้องบอกจิต เกิดพร้อมกัน แล้วต่างคนต่างทำหน้าที่ แล้วก็ดับไปพร้อมกัน

    ผู้ฟัง ครับ อย่างงั้นก็เข้าใจ แล้วครับ ว่าจิตดวงที่ต่อไปที่เกิดขึ้นหลังจากสิ่งที่ปรากฏทางตานั่นนะ ก็จะเป็นจิตอีกดวงหนึ่ง ซึ่งมีเจตสิกร่วมอยู่ในกลุ่มของเขา

    ท่านอาจารย์ เจตสิกใหม่ด้วย และไปบอกเจตสิก จิต เก่าก็ไม่ได้ เพราะดับไปหมด แล้ว

    ผู้ฟัง ผมเข้าใจว่า พอต่อไปจะเป็นอะไรก็ แล้วแต่ จะเป็นจิตดวงใหม่ที่มีเจตสิกซึ่งสะสมความ เหตุ และปัจจัยทำให้เกิดความรู้ความเข้าใจอะไรขึ้นมา ในเรื่องของปัญญาคือเจตสิก คือปัญญาเจตสิกเขาทำหน้าที่ทำงาน แต่ผมพูดในจุดแรกว่า ถ้าเผื่อ เอาล่ะเห็น เห็นปรากฏทางตา สิ่งที่ปรากฏทางตา ขณะนี้เดี๋ยวนี้เนี่ย จิตดวงแรกที่เห็นปรากฏทางตา จิตเป็นใหญ่เป็นประธานในการเห็นสิ่งที่ปรากฏทางตา ทีนี่เจตสิกที่เกิด เกิดร่วมด้วยกับเห็นปรากฏทางตา

    ท่านอาจารย์ เกิดร่วมด้วยกับจิตเห็น

    ผู้ฟัง จิตเกิดเริ่มด้วยกับจิตเห็น สมมติว่าไม่สมมติเป็นความจริงเป็นอย่างนั้นว่า มีกลุ่มเจตสิกกลุ่มหนึ่ง ที่เขาจะเกิดร่วมด้วยอยู่เสมอนะครับ

    ท่านอาจารย์ ๗ ดวง

    ผู้ฟัง ๗ ดวงนะครับ ที่เกิดเริ่มด้วยอยู่เสมอเนี่ย อันนั้นนะ เค้าก็เป็น คือเขาก็เป็นใหญ่ของเขาก็ทำหน้าที่ของเขานะครับ

    ท่านอาจารย์ เขามีลักษณะของเขาซึ่งไม่ใช่ลักษณะของจิตค่ะ อย่างสัญญาเขาจำ แต่ก็ไม่ได้เป็นใหญ่ในการเห็น เขาจำสิ่งที่เห็น สิ่งที่จิตเห็น เวทนาก็เป็นความรู้สึก เขาจะไม่ทำหน้าที่อื่นเลยนอกจากรู้สึก เพราะฉะนั้นเวลาที่เราสุขเราทุกข์นะคะ เดี๋ยวนี้เราทราบ แล้วว่า ไม่ใช่เรา แต่เป็นเจตสิกชนิดหนึ่ง ซึ่งเกิดกับจิต

    ผู้ฟัง ครับ แล้วท่านอาจารย์ทำไมต้องบอกด้วยครับว่า จิตเป็นใหญ่ ในเมื่ออาการกระทบ หรือว่าอาการ จำนะครับ อย่างนี้เขาก็ทำหน้าที่ของเขาก็เป็นใหญ่ในจุดของเขานี้ครับ

    ท่านอาจารย์ ถึงจะยังไงก็ตามนะคะ สภาพของความเป็นใหญ่ของเจตสิกนี้มี แตกต่างกับความเป็นใหญ่ของจิต เพราะเหตุว่า เวทนาก็เป็นใหญ่ใช่ไหมคะ สุขินทรีย์ ความรู้สึกที่เป็นสุข ทุกขินทรีย์ ความรู้สึกที่เป็นทุกข์ ใหญ่จริงๆ นะคะ ทำให้เรานี้เศร้า หรือทำให้เรานี้ สุขแสนสุขก็ได้ แต่ว่าไม่ใช่เป็นใหญ่ โดยลักษณะของจิต ซึ่งเป็นใหญ่เป็นประธานในการรู้แจ้งลักษณะของอารมณ์ เขาเป็นใหญ่ในความรู้สึกเท่านั้นเอง แต่ว่าไม่ใช่เป็นใหญ่ในการรู้แจ้ง เวลาที่เรามีความรู้สึกเป็นสุข เราไม่ได้สนใจเท่าไหร่ ในสิ่งที่เราเห็นก็ได้ ใช่ไหมคะ

    ผู้ฟัง ครับผม

    ท่านอาจารย์ ค่ะอย่างรับประทานอาหารอร่อยเนี่ย จริงเราเห็นอาหาร แต่ว่าความอร่อยเนี่ยมันทำให้เรารู้สึกเป็นสุขจนลืมว่าเราเห็นอะไร

    ผู้ฟัง นั้นมันคนละดวงกัน แล้วไม่ใช่เหรอครับ

    ท่านอาจารย์ ถูกค่ะหรือว่าลิ้มรสอะไร

    ผู้ฟัง ครับผม

    ท่านอาจารย์ ค่ะเพราะว่าความอร่อยเนี่ยขึ้นหน้า เป็นความรู้สึกอร่อย เพราะฉะนั้นในขณะนั้นนะคะ เวทนาเป็นอินทรีย์เป็นใหญ่ ในสภาพที่รู้สึกค่ะ ไม่ใช่เป็นใหญ่ในสภาพที่รู้แจ้งอารมณ์ เพียงแต่ว่าเป็นใหญ่ในสภาพที่รู้สึกเป็นสุข หรือเป็นทุกข์ เพราะฉะนั้นต่อไปนะคะ เราจะพบคำว่าอินทรีย์ ๒๒ แสดงว่าสภาพธรรมอะไรบ้างที่เป็นอินทรีย์ แต่ยังไงก็ตามไม่พ้นจากจิต เจตสิก รูป นิพพาน ๔ อย่าง และก็ถ้าพูดถึงอินทรีย์มีทั้ง มนินทรีย์ คือจิต มีทั้งสุขขินทรีย์ ทุกขินทรีย์ อุเบกขินทรีย์ และอินทรีย์อื่นๆ อีกปัญญิณทรีย์ค่ะ แสดงให้ทราบว่าสภาพธรรมใดเป็นใหญ่ในลักษณะใด และก็ในขณะใด

    คุณสุรีย์ คำถามเรื่องจิตอีกคำถามนึง ซึ่งมันอยู่ในใจของดิฉัน แล้วก็อยากจะรู้แจ้งอีกอันนึงนี่ก็คือว่า อยากจะเรียนถามคุณวีระว่า จิตเกิดดับเพราะอะไร สมมติว่าจิตดวงที่หนึ่ง เกิด แล้วก็ดับไป แล้วดวงที่สอง เกิดต่อ นั้นเป็นเพราะอะไร ที่เราพูดกันอยู่เสมอจิตเกิดดับ จิตเจตสิกเกิด แล้วก็ดับ แล้วก็จิตดวงต่อไปเกิด แล้วก็ดับ อันนั้นเป็นเพราะอะไร

    ผู้ฟัง จิตที่เกิดขึ้น แล้วก็ดับ นั้นเป็นเพราะที่ เหตุปัจจัยที่ทำให้จิตเกิด ก็คืออารมณ์หรือรูปครับผม ทีนี้

    คุณสุรีย์ เดี๋ยวค่อยๆ ไปช้าๆ นะคะ สมมติจิตดวงที่หนึ่งเกิด นะคะ แล้วก็ดับไป จิตดวงที่สอง ก็เกิดต่อนะค่ะค่อยๆ คิดนะคะ ดับเกิด เพราะอะไร

    ผู้ฟัง เพราะจิตดวงที่หนึ่ง นั้นน่ะ เป็นเหตุปัจจัยให้จิตดวงที่ สอง เกิด

    คุณสุรีย์ ดับ ใช่ไหมคะ การดับของจิตดวงที่ หนึ่ง เป็นเหตุปัจจัยให้ดวงที่สองเกิดใช่ไม่ใช่

    ผู้ฟัง ครับ

    คุณสุรีย์ เอาง่ายๆ ก่อน เพราะเมื่อกี้อาจารย์พูดเรื่องสังขารธรรม จิตจะเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย ดิฉันก็เลยได้คำถามอันนี้ออกมาจากคำพูดของอาจารย์ ยังไม่ต้องเรียนถึงเหตุปัจจัย เพราะว่าสังขารธรรมนี้ อาจารย์บอกว่า หมายถึง จิตที่เกิดดับเพราะเหตุปัจจัย เพราะฉะนั้น จิตดวงที่หนึ่ง เกิดดับ แล้วจิตดวงที่สอง เกิดต่อเพราะอะไร เมื่อกี้นี้ถูก แล้วนะคะ

    ผู้ฟัง ครับ

    คุณสุรีย์ เมื่อกี้นี้ถูก แล้ว เพราะอะไรนะคะ เพราะการดับของจิตดวงที่หนึ่ง นั้นเป็น

    ผู้ฟัง เป็นสังขารธรรม

    คุณสุรีย์ ใช่ๆ แล้วเป็นอะไรต่อไปอีก

    ผู้ฟัง แล้วก็เป็นปัจจัย

    คุณสุรีย์ ใช่แล้ว ใช่จิตดวงที่ ๒ เกิดขึ้น ดิฉันคิดว่าอย่างนั้น

    ท่านอาจารย์ ดิฉันคิดว่าคำถามของคุณสุรีย์ อยู่ที่จิตดวงที่ หนึ่ง นะคะ ไม่ได้อยู่ที่จิตดวงที่ สอง คือถามว่า ทำไมจิตนี้เกิดขึ้น แล้วดับไปค่ะ ไม่ใช่ไปถึงจิตดวงที่ สอง

    ผู้ฟัง ครับๆ ทำไมถึงจิตดวงที่หนึ่ง เกิดขึ้น และก็ดับไป ที่จริง

    คุณสุรีย์ เกิดดับเพราะอะไร มันเกิด แล้วก็มันดับ แล้วก็อีกตัวต่อไป ก็เป็นเกิด แล้วก็ดับเรื่อยๆ ไป เป็นเพราะอะไร

    ผู้ฟัง ก็เป็ธรรมชาติของจิตนะครับ เป็นธรรมชาติของจิตเมื่อเกิด แล้วก็ต้องดับ เกิด แล้วตั้งอยู่ แล้วก็ดับไป อันนี้ก็อะไรก็ แล้วแต่ ที่เป็นความจริงนั้นน่ะ มันก็มีลักษณะอยู่ ๓ อย่างคือ ลักษณะที่เกิดขึ้น ลักษณะที่คงรูป ตั้งอยู่ หรืออาจมี การแก่ การชรา และดับไปอีก

    ท่านอาจารย์ อันนี้คำตอบแรกของคุณวีระถูก ชัดเจนนะคะ ที่ว่า

    ผู้ฟัง คงจะไม่ทราบคำตอบแรกผมว่าถูก ก็เลยไปเรื่อยเลย

    ท่านอาจารย์ ค่ะคำตอบแรกนี่ชัดเจน คือว่าเป็นสภาพของจิตค่ะ ลักษณะของจิต ซึ่งใครจะเปลี่ยนแปลงไม่ได้ เป็นจิตตนิยามะ คือสภาพของสังขารธรรมนี่ เกิดแล้วดับ นี้ที่เราใช้คำว่าสังขารธรรม ใครจะรู้ หรือไม่รู้ก็ตาม ใครจะบอกว่าไม่ดับ แต่ผู้รู้ที่รู้ว่าสภาพธรรมทุกอย่างทุกขณะนี่ เกิดขึ้น แล้วต้องดับไป ไม่ว่าจะเป็นอะไรทั้งนั้น อย่างเราเห็นดอกกุหลาบ คนอื่นก็ต้องบอกว่าไม่ดับ แต่ว่าผู้ที่ตรัสรู้ แล้วทรงแสดงว่า ธรรมใดก็ตามเกิดขึ้น แล้วต้องดับไป เป็นสังขารธรรม ๓ อย่าง คือเป็นจิต หนึ่ง เป็นเจตสิก หนึ่ง เป็นรูป หนึ่ง แสดงว่า จิตทุกชนิด ทุกดวง เกิดขึ้น แล้วดับ เจตสิก ทุกชนิดทุกดวงเกิดขึ้น แล้วดับ รูปทุกรูป ซึ่งเกิดขึ้นแล้วก็ดับ เป็นสังขารธรรม และต้องมีลักษณะ ๓ อย่าง ที่เราใช้คำว่า สามัญญลักษณะ สามัญญะคือทั่วไป กับสังขารธรรมทั้งหลาย หรือสังขตธรรมทั้งหลายคือว่า สภาพธรรมใดก็ตาม อนิจจังไม่เที่ยงเป็นทุกข์ เป็นอนัตตาสิ่งใดก็ตาม ซึ่งเกิดดับ จะเป็นความสุขที่แท้จริงไม่ได้เพราะเห็นว่าไม่ยั่งยืน สุขนิดเดียวหมดแล้วนะคะ หมดเลยจริงๆ ไม่ยั่งยืนเลย จะถือว่าเป็นความสุขที่แท้จริงได้อย่างไร เพราะเหตุว่าเป็นสภาพที่เพียงเกิดขึ้นปรากฏ แล้วก็หมดไป เพราะฉะนั้นทุกอย่างซึ่งเกิดดับ มีไตรลักษณะ คือลักษณะทั้ง ๓ คืออนิจจัง ทุกข์ขัง อนัตตา เป็นลักษณะประจำตัวของสังขารธรรม ทั้งจิตทั้งเจตสิกทั้งรูป นี่คือคำตอบแรกของคุณวีระ ซึ่งไม่ต้องเกี่ยวกับวาระของการที่เป็นวิถีจิต หรืออะไรเลย ไม่ใช่เลยค่ะไม่ว่าจะเป็นจิตที่ไหนทำกิจอะไรก็ตามอยู่ในนรกสวรรค์ พรหมอะไรก็ตาม จิตขณะ หนึ่ง เกิดขึ้น และต้องดับ ผู้ที่ตรัสรู้ความจริง ของสภาพธรรมนั้นคือ พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งพระองค์ไม่ได้เปลี่ยนลักษณะของสภาพธรรม แต่ทรงแสดงลักษณะของสภาพธรรม ตามความเป็นจริงของสภาพธรรมนั้น เพราะฉะนั้นคำสอนของพระพุทธศาสนา ไม่ใช่ว่าเราจะไปแก้ไข หรือเราจะไปมีอำนาจบังคับบัญชา ไม่ใช่เป็นผู้ที่มีกำลังพลังซึ่งจะไม่ให้จิตนั้นดับ หรือว่าจะไม่ให้จิตนั้นเกิด แต่ว่าเป็นผู้ที่ประจักษ์ความจริงของสภาพธรรม ว่าเมื่อเป็นสังขารธรรม แล้วก็ไม่พ้นจากไตรลักษณะ ซึ่งเป็นสามัญญลักษณะทั่วๆ ไป คือสิ่งใดก็ตามซึ่งเกิดขึ้น สิ่งนั้นต้องดับ ไม่ต้องไปเกี่ยวโยงกับเรื่องอื่น

    อ.นิภัทร ถามอาจารย์สมพร นิดนึงว่า เจตสิกเนี่ยนะ มันรากศัพย์ของมันเนี่ย มันแปลว่าอะไร เจตสิกะ

    อ.สมพร เฉพาะศัพท์ มัน ก็แปลสั้นๆ ตามลักษณะไปว่า เกิดในจิต เจตสิก เจตะ ก็ จิต เอกะ แปลว่า เกิด เกิดในจิต เจตะ แปลว่า จิต เกิดในจิต ก็เลยเรียกว่าเจตสิก สภาวธรรมชนิดหนึ่ง ที่เป็นปรมัตเป็นของมีอยู่จริง เกิดในจิต ท่านเรียกว่าเจตสิก

    ท่านอาจารย์ สิกะนี่ มีคำแปลไหมคะ สิกะ

    อ.สมพร คือในที่นี้ มันประกอบ แต่ว่าประกอบในจิตเกิดในจิตครับ

    ท่านอาจารย์ รวมคำ ไม่แยกศัพท์

    อ.สมพร รวมกันก็เลยเป็นเจตสิก ถ้าแยกกัน มันก็เป็นอย่างนั้น เจตะ ก็ จิต

    ท่านอาจารย์ เจตสิก

    อ.สมพร เจตะสิกกะ

    อ.นิพัทธ์ เอกุปาทะ ใช่ไหม ลักษณะของเจตสิก เกิดร่วมกันกับจิตใช่ไหม เอกนิโรธะ ก็ดับพร้อมกันกับจิต เอกะ นี้ มันแปลว่าด้วยกันนะ เป็นอันเดียวกันเลย ร่วมกันด้วยกัน แต่คำว่าจิตไม่ได้บอกว่าเกิดในเจตสิก

    ผู้ฟัง ไม่มัน ต้องจิตเป็นประธาน

    อ.นิพัทธ์ มโนปุบภัง ธัมมา ชอบพูดกัน มีใจเป็นหัวหน้า มีใจเป็นประธาน ธรรมมา ตัวนั้น คือเจตสิก

    อ.สมพร เอาละ เอาลักขณาทิจตุกกะ มันก็ตรงอยู่แล้ว หมายความว่า จิตมี การรู้อารมณ์เป็นลักษณะ มีการเป็นประธาน เป็นกิจ คือหมายความว่าถ้าจิตไม่เกิดเจตสิกก็ไม่เกิดแต่ถ้าจิตเกิดขึ้น เจตสิก บางดวงเกิดไม่ได้ก็มี ที่เกิดได้ก็มี จิตต้องเกิดทุกครั้งแต่เจตสิก ก็ไม่แน่นะครับ บางครั้งก็เกิดบางครั้งก็ไม่เกิด แล้วแต่ความเป็นไป ท่านจึงกล่าวว่า จิตเป็นประธานคือทำหน้าที่ ทำกิจ เป็นประธาน เป็นจิต มีลักษณะรู้อารมณ์ เป็นประธาน คือเป็นใหญ่ครับ เป็นอินทรีย์ด้วยก็ที่ท่านบอกว่าวิชานนลัคคณังจิตตัง จิตมีการรู้อารมณ์เป็นลักษณะ แล้วก็มีการเป็นประธาน เป็นกิจกิจ คือหน้าที่เป็นประธาน เพราะเป็นประธาน ก็หมายความว่า จิตต้องเกิดขึ้นทุกครั้ง แต่ว่า เจตสิกนั้นเปลี่ยนไป เจตสิกบางดวงก็ไม่เกิด อย่างกุศลเกิดขึ้น เจตสิกที่ประเภทอกุศลก็เกิดไม่ได้ เหล่านี้เป็นต้นนะครับ แต่จิตนั้นเป็นประธานต้องยืนพื้นต้องเกิดอยู่เสมอ แล้วก็

    อรรถข้อที่ ๓ ก็มีอาการปรากฏ คือการเกิดสืบต่อ เป็นอาการปรากฏ เป็นผลก็ได้ เป็นอาการปรากฏหรือเป็นผล เป็นฐานะปติปฐานังนะครับ

    ข้อที่ ๔ ก็มีการอาศัยนาม รูป เกิด จิตในปัญจโวการภูมิ นะครับ ถ้าไม่มีนามไม่มีรูป ก็ปฏิสนธิไม่ได้ ในปัญจโวการภูมิ จตุโวการภูมิ เราไม่ต้องพูดถึงนะครับ เพราะว่านามรูปก็ในปัญจโวการภูมิ ตั้งแต่ปฏิสนธิมานะครับ ถ้าไม่มีนาม ไม่มีรูป จิตก็เกิดขึ้นไม่ได้ นามคือเจตสิก รูปก็คือรูป กรรมมัชรูป ถ้าไม่มีอันนี้เลย จิตเกิดไม่ได้ ท่านจึงกล่าวว่า เหตุใก้ล คือเหตุให้จิตเกิดขึ้นปฏิสนธิตั้งแต่เริ่มต้นถ้าไม่มีนามไม่มีรูป จิตก็เกิดไม่ได้

    อ.นิพัทธ์ พูดถึงจิตถ้าเราพูดๆ กันอย่างงี้ก็รู้สึกว่าคล้ายๆ กับว่ามันจะมีตัวมีตน แต่คล้ายว่าจะมีอะไรอยู่ อันนี้ที่ซ่อนที่หลบอยู่ในใจ ในตัวเนี่ย แต่ความจริงแล้ว ถ้าพูดตามสภาพอย่างที่อาจารย์ว่ามาเนี่ย ก็มันไม่ได้มีอะไรของมัน เป็นตัวเป็นตนอะไรสักอย่าง มันเกิดมา เพราะมีเหตุปัจจัยประกอบขึ้นมาแท้ๆ เลย เพราะถ้าไม่มีเหตุมีปัจจัย ประกอบเกิดไม่ได้ ไม่มีเจตสิก จิตก็เกิดขึ้นไม่ได้ จะเกิดโดยลำพังโดยไม่อาศัยเจตสิกก็ไม่ได้เนี่ยแส ดงว่ามันเป็นสังขารธรรมจริงๆ เป็นสิ่งที่จะปรุงแต่งจริงๆ เกิดขึ้น แล้วก็ไม่ไม่มีตัวมีตนอะไรเป็นจะให้ยึดถือว่าเป็นเราเป็นของเราได้จริงๆ มันเป็นสภาพธรรมของมันอย่างนั้นจริงๆ เป็นสภาพธรรมดาที่มันเกิดเป็นประจำอย่างนั้นจริงๆ แล้วมันก็ไม่รู้มันเกิดมาตั้งแต่เมื่อไหร่ แต่ละคนเนี่ย ไม่รู้ว่าเกิด เกิดเริ่มต้นมาตั้งแต่เมื่อไหร่

    ท่านอาจารย์ ขอถามคุณวีระต่อ จิตมีเท่าไหร่คะ กี่ชนิด นับได้ไหมคะ

    ผู้ฟัง จิตมีเท่าไร มี ๘๙

    ท่านอาจารย์ ๘๙ อะไร

    ผู้ฟัง ๘๙ ชนิด

    ท่านอาจารย์ แน่ใจเหรอค่ะ ว่า ๘๙

    มากกว่านั้นได้ไหมคะ

    ผู้ฟัง ครับ ก็มีอยู่ที่เห็นในหนังสือว่ามี ๘๙ แต่ว่าบางที่ก็เขียนว่า ๑๒๑

    ท่านอาจารย์ แล้วก็มากกว่านั้นได้มั้ยคะ

    ผู้ฟัง ไม่ได้ครับ

    ท่านอาจารย์ ทำไมล่ะคะ นับยังไงคะ ๘๙ หรือ ๑๒๑ ถูกค่ะ นั้นโดยประเภท หรือโดยชนิด

    ผู้ฟัง ครับผม

    ท่านอาจารย์ แต่สภาพของจิตจริงๆ นะ นับเป็นขณะๆ จะมากกว่านั้นมั้ย

    ผู้ฟัง ขณะนี้ความเข้าใจของผมว่า ไม่ได้

    ท่านอาจารย์ แน่นอนหรือคะ

    ผู้ฟัง ครับ มั่นใจ

    ท่านอาจารย์ จริงๆ แล้วนะคะ อย่างโลภมูลจิต จิตที่ติดข้องในอารมณ์เนี่ย เยอะแยะมีหลายระดับ บางครั้ง เราก็พอใจนิดเดียว บางครั้งก็พอใจมากมายเหลือเกิน แต่ก็ยังเป็นประเภทโลภนั่นแหละ เพราะฉะนั้นไม่ว่าจิตนี้ค่ะ จะมีสภาพแตกต่างกันไปวิจิตรสักเท่าไหร่ก็ตาม ในแสนโกฏิกัปป์มาแล้ว ต่อไปอีกแสนโกฏิกัปป์ และไม่ใช่แต่มนุษย์ในโลกนี้เท่านั้น ในสวรรค์ ในพรหมโลก เยอะแยะก็ตาม พระผู้มีพระภาค ทรงประมวลลักษณะที่ต่างกันให้รู้ว่าเป็นประเภทจริงๆ เท่านี้ คือ ๘๙ หรือ ๑๒๑ ชนิด แต่ส่วนความวิจิตรหรือความละเอียดถึงจะต่างไปสักเท่าไหร่ ก็อยู่ในประเภทที่ทรงแสดงนี่แหละ อย่างโลภ ซึ่งเกิดกับความรู้สึกที่เป็นสุขโสมนัสดีใจ แล้วก็ ประกอบด้วยความเห็นผิด จะเห็นผิดต่างกันไป ชนิดซึ่งต้องประพฤติอย่างสุนัข หรือว่าจะต้องบูชาไฟ หรืออะไรๆ ก็ตามแต่ ก็ร่วมอยู่ในความเห็นผิด แม้ว่าความเห็นผิดเนี่ยจะต่างกันมากมายสักเท่าไร แล้วก็ความรู้สึกเนี่ย จะมากน้อยต่างกันสักเท่าไร แต่ก็ทรงประมวลว่าทั้งหมด แล้วก็ไม่พ้นจากประเภท ซึ่งทรงย่อออกมาให้เห็นลักษณะของจิตเนี่ย อยู่ในประเภท ๘๙ หรือ ๑๒๑ ดวง โดยที่ผู้อื่น ไม่สามารถที่จะประมาณได้ เพราะว่าจิตนี้ มีมากมายเยอะแยะ ต่างระดับกันด้วย แต่ด้วยพระสัพพัญญุตตญาน ก็ทรงประมวลจิตออกเป็น ๘๙ หรือ ๑๒๑ ประเภท เพราะฉะนั้นถ้าจะตอบว่าได้ก็ต้องรู้ว่าได้โดยความวิจิตรของจิตซึ่งต่างกัน ถ้าไม่ได้ ก็คือว่า ถึงจะต่างกันไปมากมายสักเท่าไห๑ร่ก็อยู่ในประเภทที่เป็น ๘๙ หรือ ๑๒๑ นี่เอง


    ฟังธรรมจากหัวข้อย่อย

    หมายเลข 10
    13 ม.ค. 2567

    ซีดีแนะนำ