สนทนาธรรม ตอนที่ 049


    ตอนที่ ๔๙


    ท่านอาจารย์ เรื่องความเห็นผิด ไม่ทราบยังมีใครข้องใจสงสัยอะไรหรือเปล่า เรื่องสวดมนต์ ก็คงจะเป็นอย่างที่คุณสุรีย์ว่า คือเป็นเรื่องเฉพาะตัวแต่ละคนที่จะรู้ว่าขณะนั้นกุศลจิตเกิดมาก หรือไม่เกิด หรือเกิดน้อย

    ผู้ฟัง ความจริงเรื่องนี้ผมก็ทำมานาน ก่อนนอนก็สวดมนต์ สวดมนต์แล้วก็อุทิศส่วนกุศลให้กับผู้มีพระคุณ และก็อุทิศส่วนกุศลให้กับเทพยดา และอมนุษย์ ที่บ้านแล้วก็ตลอดเส้นทางอันนี้โลภะแน่ ตลอดเส้นทางที่ข้าพเจ้าขับรถออกไปจนกระทั่งกลับอะไรแบบทุกท่าน แล้วเมื่อสักครู่นี้อาจารย์ก็บอกว่าความเห็นผิดเล็กๆ น้อยๆ ก็จะนำ เป็นต้นเหตุให้มีความเห็นผิดมากขึ้น และจะละคลายอยากขึ้นซึ่งเป็นเรื่องจริงครับผมกำลัง บางทีถึงเวลาปุ๊บเขาก็เป็นไปตามนั้นแล้วเราก็สวดไปเรื่อย และอุทิศส่วนกุศลรวมทั้งก่อนจะออกจากบ้านขออีกที เทพยดา อมนุษย์ และผู้ที่สามารถหยั่งรู้ตลอดเส้นทางที่ข้าพเจ้าออกจากบ้านไป จนกระทั่งกลับอะไรแบบนี้

    ท่านอาจารย์ ถ้าไม่มีคำว่าขอก็ดูจะเป็นกุศล คือเกิดกุศลจิต แต่ขอ รู้สึกเหมือนกับจำเป็นต้องทำหรือหวังหรืออะไรสักอย่าง

    ผู้ฟัง ลึกๆ เราก็หวังว่าให้เขาช่วยดูแลคุ้มครองเรา

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นความหวังนี่ซ่อนเร้นปิดบัง และก็ยากที่จะเห็น

    ผู้ฟัง คงจะต้องค่อยๆ ละคลายไป ก็อย่างที่ท่านอาจารย์ว่า

    ผู้ฟัง ดิฉันมีความรู้สึกว่าบางครั้งที่สวดมนต์แล้ว หรือว่าอุทิศส่วนกุศลแล้ว บุญของเรามีพอไหมที่จะไปอุทิศ อันนี้เลยทำให้บางครั้งเข้าไปในที่กว้างขวาง หรือว่า เช่นอย่างในพระบรมมหาราชวังอะไรอย่างนี้ ไปนึกว่ากุศลของเรานิดหน่อยเราจะไปขออุทิศแด่เทพเทวดาในนั้นได้ไหม จะมีประโยชน์ไหม หรือไม่ควรจะทำ

    ท่านอาจารย์ ที่จริงที่เราคิดว่านิดหน่อย นี่ไม่นิดหน่อย ถ้าจะเทียบกับคนซึ่งไม่ฟังพระธรรมเลย แล้วก็ไม่ได้ทำปฏิการะต่อพระศาสนา เลย ปฏิการะคือการกระทำตอบจากสิ่งที่เราได้รับจากพระศาสนา เช่นเราได้รับความรู้ความเข้าใจจากพระธรรม เราก็มีการกระทำตอบคือทำทุกอย่างเพื่อที่จะให้พระธรรม เผยแพร่ เพราะเหตุว่าพระธรรมไม่ใช่ของใครไม่ใช่เพื่อมุ่งคนหนึ่งคนใด โดยเฉพาะแต่ว่าเพื่อทุกคน ที่พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงตรัสรู้แล้วเกื้อกูลต่อผู้ที่ได้สะสมมา

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นเราก็มีปฏิการะคือกระทำตอบเหมือนกับผู้ที่มีความกตเวทีต่อผู้ที่มีคุณเราก็ทำกิจของท่านต่อไป

    ผู้ฟัง แล้วถ้าเราหยุดทำหมดไหมกุศล

    ท่านอาจารย์ ไม่ใช้คำว่าหมด หรือไม่หมดคือว่าสภาพของจิต เกิดดับ ขณะที่เป็นกุศลเป็นกุศลเปลี่ยนเป็นอกุศลไม่ได้ ขณะต่อไปซึ่งเป็นอกุศลเมื่อเป็นอกุศลก็จะเปลี่ยนเป็นกุศลไม่ได้ เพราะฉะนั้นเป็นผู้ที่ตรงที่จะรู้ว่ามีทั้งกุศลจิต และอกุศลจิต เพราะฉะนั้นเราอุทิศเฉพาะกุศล เราไม่ได้อุทิศอกุศลให้

    เพราะฉะนั้นก็เป็นเรื่องที่ว่าเมื่อทำกุศลแล้วอุทิศได้ แล้วกุศลที่เราทำที่เราคิดไว้เล็กน้อยความจริงไม่น้อยอย่างการฟังธรรมทุกวันก็ไม่ใช่กุศลที่เล็กน้อย หรือการที่พยายามที่จะศึกษาให้เข้าใจพระธรรมนี้ก็ไม่ใช่กุศลที่เล็กน้อย เป็นกุศลตรงตามที่ได้มีพระพุทธประสงค์ที่จะเป็นพระอรหันต์สัมมาสัมพุทธเจ้าคือแสดงธรรมให้ผู้อื่นได้ฟัง และได้เข้าใจ ไม่ใช่หวังอย่างอื่น

    อ.สมพร ขณะที่คุณหญิงตั้งใจอุทิศส่วนกุศลให้แก่สัตว์อื่น ขณะนั้นจิตก็ประกอบด้วยเมตตาเหมือนกัน กุลศลก็เกิดขึ้นอีกเมื่อมีเมตตาเกิดขึ้นขณะใดกุศลก็เกิดขึ้นทุกๆ ขณะที่จิตมีเมตตาใช่ไหม ขณะที่ตั้งใจจะอุทิศแล้วอุทิศด้วยนะไม่ใช่ตั้งใจอย่างเดียว คำว่าอุทิศให้ก็คือหวังให้สัตว์มีความสุข เมื่อหวังให้สัตว์มีความสุขขณะนั้นก็ไม่เว้นจากเมตตาถ้าเกี่ยวกับสัตว์

    ท่านอาจารย์ เพราะฉันคงจะตัดปัญหาเรื่องข้องใจว่าเรามีกุศลพอไหมหรือไม่ มีค่ะทุกครั้งที่เป็นกุศลอุทิศได้

    ผู้ฟัง แต่ละครั้ง แต่ละครั้ง หรือว่า

    ท่านอาจารย์ ได้ทุกครั้ง นึกถึงกุศลที่ได้กระทำแล้วแม้แต่ขณะที่นอบน้อมพระรัตนตรัยก็เป็นกุศล และอุทิศก็ได้ทุกประเภท

    ผู้ฟัง คือว่าขณะที่สำรวมแล้วก็ใส่บาตร ก็ในใจก็อธิฐานว่า ขอให้บุญกุศลที่ได้ทำไว้ในครั้งนี้ จงดลบันดาลให้ข้าพเจ้าเกิดภาพนิมิต ขณะที่กำลังใส่บาตรพระสงฆ์ ในเวลาที่ข้าพเจ้ากำลังจะจุติจากภพนี้เพื่อถือปฏิสนธิยังภพหน้า อันนี้โลภะ ผิดใช่ไหมคะ

    ท่านอารย์ จริงๆ ขณะนั้นก็คิดถูก เพราะเหตุว่าไม่ได้หวังอย่างอื่น ไม่ได้หวังลาภไม่ได้หวังยศไม่ได้หวังสรรเสริญแต่ว่าเป็นผู้ที่รู้อานิสงส์ของกุศล เพราะกุศลมีอานิสงส์ เพราะฉะนั้นถ้าขณะนั้นเป็นกุศล ถ้าเป็นนะคะ หมายความว่ามีความรู้ว่ากุศลอันนี้สามารถที่จะให้ผลได้ และผลที่หวังนี่ ไม่ใช่หวังอย่างอื่นเลยแต่หวังเพื่อที่จะให้จิตเป็นกุศล แต่ว่า โดยมากเวลาพอหวังให้จิตเป็นกุศลหวังผลของกุศลต่อไปอีกว่าเพื่อที่จะได้เกิดในที่ที่ภพภูมิที่สบาย จริงๆ แล้วกุศลให้ผลเป็นสิ่งที่ดีจะหวัง หรือไม่หวังก็ตาม แต่เวลาคนที่หวังต้องระวังหวังลาภหวังยศหวังสรรเสริญ หวังติดข้อง หรือว่าหวังเพื่อที่จะละลาย

    เพราะฉะนั้นก็เป็นจุดที่ละเอียดอ่อนซึ่งผู้นั้นเองจะเป็นผู้รู้เพราะว่าถ้าเป็นโลภะแล้วเราจะไปบอกว่าเป็นกุศลก็บอกไม่ได้ใช่ไหม แต่ถ้าจิตของเราผ่องใสแล้วก็ไม่หวังที่จะให้เป็นอกุศล การเกิดในภพภูมิที่ดีนี่เพื่อที่จะได้มีโอกาสศึกษาธรรมะ เพื่อที่จะได้รอดพ้นจากภัยอันตรายต่างๆ เพื่อที่จะได้ดำเนินชีวิตในทางธรรมะได้ราบรื่นใช่ไหมแต่ว่าต้องมั่นคงในกรรมเพราะเหตุว่าจะเป็นอย่างนั้น หรือไม่เป็นอย่างนั้นแล้วแต่กรรมที่ได้กระทำมา แต่ส่วนของกุศลอันนี้ก็หวังเพียงที่ว่าเพื่อที่จะได้มีโอกาสถึงจะเกิดดีก็เพื่อฟังพระธรรม มันเป็นเรื่องที่ลึกลับซ่อนเร้นแล้วก็อยู่ในจิตใจของแต่ละคน ว่าขณะนั้นน่ะ คิดอะไรต้องการอะไรแต่ถ้าจริงๆ แล้วทำกุศลไปเรื่อยๆ ละคลายไปเรื่อยๆ ไม่ต้องหวัง กุศลนั้นก็ต้องให้ผล หมายความว่าเมื่อเป็นชนกกรรมที่จะให้ผลแล้วทำให้จิตเป็นกุศลก่อนจะจุติเพราะว่าเราสั่งสมกุศลไว้แล้ว แต่ว่าการที่อกุศลจะให้ผลเราก็เลือกไม่ได้อีกเหมือนกัน นี่คือผู้ที่มั่นคงในกรรมจริงๆ ทำกศลไปเรื่อยๆ แล้วก็กุศลก็ให้ผลเป็นกุศลวิบาก อกุศลก็ให้ผลเป็นอกุศลวิบาทไม่จำเป็นต้องขอ หรือเปลี่ยนอะไรเลย

    ผู้ฟัง คือที่ทราบมาที่อ่านหนังสือมาบอกว่าตอนที่จิตสุดท้ายใกล้จะจุติ บางคนที่ป่วยหนักที่เขายังมีสติสัมปชัญญะเขาจะฟังเทศน์เทปธรรมะจนสิ้นลมไปเลย เผื่อว่าจะได้ไปสู่สุคติภูมิ

    ท่านอาจารย์ อย่าเพื่อว่าได้ไหม ตอนเพื่อว่านี่ค่ะ ไม่จำเป็นต้องเพื่อว่าเลยกุศลจิตเกิดแล้ว ก็จะไปเพื่อว่าอะไรอีก คล้ายๆ กับโภะนี่เป็นนายช่างสร้างเรือนเป็นสมุทัยเป็นทุกอย่างที่เรามองไม่เห็นที่ทำให้เราได้ทำกุศลมากๆ ก็เพื่อเขา เพราะว่าโลภะมีความซ่อนเร้นต้องการผลของโลภะ แต่ว่าจริงๆ แล้วต้องเห็นตัวเขาจริงๆ ว่ากุศลเป็นกุศล

    และโลภะก็คือโลภะ ถ้าเป็นกุศลโดยไม่มีโลภะแล้วกุศลก็ยังให้ผลเป็นกุศลวิบากอยู่ถ้าเราทำกุศลไป กุศลนั้นก็ต้องให้ผลเป็นกุศลวิบากโดยไม่ต้องมีโลภะเข้ามาหวังหรือเข้ามาชี้แนะชี้นำว่าให้ทำอย่างนี้เพื่ออย่างนั้น ตัวเขาอยู่ตรงนี้ ตัวเพื่อ ตัวชี้แนะตัวชี้นำแต่ว่ากุศลคือกุศลต้องเห็นเขาชัดเจนจริงๆ ถ้าไม่เห็นจะไม่มีโอกาสละเขาก็ยังพาเราไปสู่สังสารวัฏฏ์ พาไปสู่สวรรค์ก็ได้ พาไปสู่พรหมโลกก็ได้ แต่ไม่พาไปสู่พระนิพพาน

    ผู้ฟัง ยังไม่หวังถึงขนาดนั้น

    ท่านอาจารย์ ไม่ใช่หวังถึงเป็นเรื่องที่เราจะต้องเห็นโทษของอกุศล ไม่ใช่ว่าเราจะหวังโดยที่ไม่เห็นโทษของอกุศล เพราะฉะนั้นประการที่หนึ่ง ที่เราศึกษาเพื่อเห็นโทษของอกุศล ตามความเป็นจริงว่าอกุศลมีโทษมากอย่างไรขอให้เห็นเพราะขณะที่เห็นนั้นเป็นปัญญา ถ้าอวิชาคืออกุศลจะเห็นอกุศลว่าเป็นอกุศลไม่ได้ ให้เห็นถูกให้มีความเห็นถูก เพราะฉะนั้นกุศล จะเปลี่ยนจากทิฏฐิคตสัมปยุตต์เป็นญาณสัมปยุตต์ กุศลที่ประกอบด้วยปัญญา ตรงกันข้ามกับโลภะซึ่งประกอบด้วยความเห็นผิด สองฝ่ายที่ตรงกันข้ามกัน ก็ต้องค่อยๆ เขี่ยออกจากการฟัง เพราะว่าอันตรายจริงๆ ถ้าเราไม่รู้ว่าเป็นความเห็นผิดแล้วเรายังเก็บไว้

    ผู้ฟัง คือพอมาถึงเรื่องโลภมูลจิตทิฏฐิคตสัมปยุตตังอสังขาริกังก็เลยมาคิดตัวเองเพราะว่า เป็นคนที่ชอบดนตรี ชอบฟังดนตรี แล้วก็บางครั้งก็ร้องเพลงเอง อะไรอย่างนี้แล้วก็ถึงขนาดเต้นรำอะไรก็ชอบ เมื่อได้มาศึกษาแล้วก็ทราบว่ามันเป็นโลภะ ทีนี้ก็มาดูอันนี้ โสมนัสสสหคตัง อันนี้

    ท่านอาจารย์ พูดให้เต็ม

    ทิฏฐิคตสัมปยุตตังแน่ๆ และอสังขาริกังเพราะเราเป็นมาไม่มีใครชักชวนเลย ก็คิดว่าตัวเองใช่

    ท่านอาจารย์ ไม่ใช่ มีทิฏฐิอะไร ขณะที่กำลังร้องเพลงชอบฟังเพลง

    ผู้ฟัง คือเราเพลิดเพลิน

    ท่านอาจารย์ เพลิดเพลินก็เป็นโลภะ ไม่ใช่เป็นความเห็นผิด ต้องแยก

    ผู้ฟัง แต่มันก็เราก็เพลินกับเสียง

    ท่านอาจารย์ ก็เป็นโลภะไม่มีใครปฏิเสธ โลภะก็คือโลภะความติดข้องความเพลิดเพลิน

    ผู้ฟัง แต่เห็นผิดว่าเสียงนั้นมันเป็นอะไรอย่างหนึ่ง

    ท่านอาจารย์ ที่ไม่ได้เห็นผิดอะไรตอนนั้นไม่เห็นอะไรเลยเพลินไปเลยไม่ได้มีความเห็นอะไรทั้งสิ้น

    ผู้ฟัง เพราะฉะนั้นคำว่าทิฏฐิคตสัมปยุตตังนี่หมายถึงว่าจะต้องคือเราไม่เห็นว่าเสียง

    ท่านอาจารย์ มีความเห็นเกิดขึ้น

    ผู้ฟัง ต้องมีความเห็นอะไรอย่างหนึ่งเกิดขึ้น

    ท่านอาจารย์ เกิดร่วมด้วยกับจิตขณะนั้น

    ผู้ฟัง ทีนี้มีอีกคำถามนึงซึ่งตรงกับคุณสุพรรณ ว่า โลภมูลจิตนี้มีมานะคตสัมปยุตตังหรือเปล่า เพราะว่าไปคิดถึงพระอนาคามีที่มีทั้งโลภะแล้วก็มานะอยู่ด้วย อันนี้แต่ไม่มีทิฏฐิใช่ไหม

    ท่านอาจารย์ บางครั้งทิฏฐิเกิดบางครั้งทิฏฐิไม่เกิด แต่เวลามานะเกิดจะเกิดขณะที่ไม่มีความเห็นผิด

    ผู้ฟัง พระอนาคามีนี้ยังมีทิฏฐิ

    ท่านอาจารย์ ไม่มี เราพูดถึงจิตทั่วๆ ไปว่าโลภะนี่เขาแบ่งออกเป็น ๒ ประเภทประเภทหนึ่งเกิดร่วมกับความเห็นผิด อีกประเภทหนึ่ง ไม่เกิดร่วมกับความเห็นผิด

    ผู้ฟัง ใช่ค่ะแต่ตอนนี้ที่คุณสุพรรณีถามว่า มานะซึ่งเกิดร่วมกับโลภะ แล้วคุณสุพรรณีถามว่า

    ท่านอาจารย์ เจตสิกอื่นนอกจากมานะมีเยอะเลย ไม่ใช่มีแต่มานะดวงเดียวแต่ทีนี้เราจำแนกประเภทของโลภะว่า โลภะมี ๒ ชนิด ๒ ประเภท โลภะะที่เกิดกับความเห็นผิด กับโลภะ่ทีไม่เกิดกับความเห็นผิด เพื่อที่เราจะได้เข้าใจไงว่า เรามีโลภะประเภทที่เกิดร่วมกับความเห็นผิด หรือว่าไม่ได้เกิดร่วมกับความเห็นผิด

    ผู้ฟัง ส่วนเจตสิกดวงอื่นจะไม่มีความสำคัญถึงกับเอามาจำแนกใช่ไหมคะ

    ท่านอาจารย์ แน่นอน นี่แสดงให้เห็นประเภทของโลภะ ว่าโลภะมี ๒ อย่างเกิดร่วมกับความเห็นผิดกับไม่เกิดร่วมกับความเห็นผิด นี่เป็นเรื่องละเอียดที่ว่าธรรมะนี่ทรงแสดงไว้ และก็มีการจารึกในการศึกษาอยู่ในตำราแต่สภาพธรรมจริงๆ เป็นสิ่งที่จะรู้ได้เข้าใจได้เมื่อสติเกิด แล้วระลึกลักษณะของสภาพธรรมนั้นจึงจะเข้าใจลักษณะของสภาพนั้นจริงๆ ว่าสภาพธรรมแม้ว่าจะเกิดดับสลับกันเร็วมาก แต่ก็เป็นสภาพธรรมแต่ละชนิดแต่ละประเภทจริงๆ ซึ่งเกิดเพราะเหตุปัจจัยต่างกันจริงๆ โลภะก็เกิดเพราะเหตุปัจจัยอย่างหนึ่ง กุศลก็เกิดจากเหตุปัจจัยอย่างหนึ่ง โลภะเป็นสภาพที่ติดข้องแล้วก็แฝงอยู่ตลอดถ้าไม่มีใครรู้ไม่ว่าจะทำอะไร ก็เป็นด้วยกำลังของโลภะ จนกว่าจะมีปัญญาเห็นโลภะเมื่อนั้นจะรู้ว่านี่โลภะนี่ไม่ใช่กุศล

    เพราะฉะนั้นก็สามารถที่จะค่อยๆ ขจัดโลภะออกได้ หรือแม้แต่ความเห็นผิด แต่ก่อนนี้เราก็เชื่อกันไปต่างๆ งมงาย เหตุผลไม่ตรงกันเลยแต่ก็เชื่อ ต่อเมื่อใดปัญญาเกิดขึ้นรู้ว่าสิ่งนั้นไม่ใช่เหตุไม่ใช่ผลความรู้อย่างนั้นก็ทำให้รู้ว่านี่คือความเห็นผิด ตราบใดที่ยังไม่รู้จักความเห็นผิดว่าเป็นความเห็นผิด ก็ละความเห็นผิดไม่ได้ เพราะฉะนั้นเราก็จะได้รู้ว่าในชีวิตประจำวันของเรา เราเห็นผิดในเรื่องอะไรแค่ไหน ตรงกับเหตุผล หรือเปล่า อย่างเช่นการสวดมนต์หรือว่าสวดอะไรก็ตามแต่ แล้วก็บอกว่าสวดอย่างนี้แล้วก็จะได้ผลอย่างนั้น อย่างนั้น อย่างนั้น เป็นเรื่องของโลภะ หรือว่าเป็นเรื่องของเหตุผลเป็นเรื่องของปัญญา เพราะเหตุว่าแม้แต่จะสวด โลภะมาแล้วจึงได้สวดอย่างนั้น อย่างที่มีคนบอกว่ามีลัทธิของ คนที่กล่าวว่า อันนี้เป็นสูตรก่อนพระผู้มีพระภาคปรินิพพาน ๘ พรรษา คนฟังก็ตื่นเต้น แต่ถ้าเราพิจารณาแล้วเราก็ต้องบอกว่าทำไมทำไมต้องสูตรนี้มีอะไรกับสูตรนี้ เหมือนกับมีอะไรกับบทสวดอันนี้ที่จะบันดาลทุกสิ่งทุกอย่างได้ใช่ไหม ไม่มีเหตุสมควรแก่ผลเลย เพราะว่าขณะนั้นเป็นไปด้วยโลภะ แล้วโลภะต้องให้ผลที่ไม่ดีไม่ใช่ให้ผลที่ดี เห็นผิดใดๆ ทั้งหมด ต้องค่อยๆ เอาออก

    เพราะเหตุว่าเริ่มจากสักกายทิฏฐิ ที่ยึดถือสภาพธรรมที่เกิดดับสืบต่อกันทีละ ๑ ขณะตามเหตุตามปัจจัยแล้วดับว่าเป็นเรา หรือเป็นตัวตน นี่เป็นความเห็นผิดที่เป็นพื้นฐาน แต่ว่าเมื่อมีความเห็นผิดอันนี้ก็ทำให้เกิดความรักตัว เพราะฉะนั้นก็มีความเห็นผิดงอกต่อไปอีก คือทำทุกอย่างเพื่อให้ตัวเนี่ยมีความสุข ไม่ว่าจะไปกราบต้นไม้ จะไปสวดมนต์จะไปทำอะไรก็แล้วแต่ก็เพื่อตัว เพราะความรักตัว เพราะฉะนั้นก็ต้องแสดงให้เห็นจริงๆ ว่าจิตใจของเรา ยังมีความเห็นผิดประการใดหลงเหลืออยู่ ที่หยาบๆ อย่างนี้เรียกว่าหยาบๆ เพราะเหตุว่าไม่ตรงกับเหตุผล ไม่มีอะไรเลยที่เป็นปัญญาแต่เราก็ไปเชื่อในสิ่งซึ่งไม่ใช่ปัญญา ว่าเป็นสิ่งที่ศักดิ์สิทธิ์

    ผู้ฟัง ในกรณีนี้ดวงที่ ๑ โลภมูลจิตดวงที่ ๑ นี่ก็คือว่าในขณะที่ผมใช้ยานี่ แล้วก็ผมมีความเลื่อมใสว่ายานี่จะต้องรักษาผมให้หายได้ แล้วก็รักษาหายขณะนี้ เป็นทิฏฐิคตสัมปยุตต์โดยอสังขาริก เป็นลักษณะของสักกายทิฎฐิถูกต้องไหม ไม่ใช่ว่าถ้าเผื่อผมเชื่อถือว่ายานี่ ถ้าเกิดเป็นยานี่ ผมต้องใช้ยานี่จะรักษาหายได้แน่นอน ก็เป็นมิจฉาทิฏฐิไปไม่มีเหตุไม่มีผล อันนั้นก็เป็นเรื่องของทิฏฐิคตสัมปยุตต์ที่มันเกี่ยวข้องกับเรื่องของทิฏฐิที่มันรุนแรง มิใช่สักกายทิฏฐิ

    ท่านอาจารย์ เอาชีวิตจริงๆ คุณวีระหยิบยามาทา (ครับผม) รู้ว่าเป็นยาชนิดหนึ่ง ขณะนั้นไม่ใช่ทิฏฐิคตสัมปยุตต์ เพราะเป็นยาแต่ถ้าคุณวีระคิดว่ายานี่ศักดิ์สิทธิ์ มีอิทธิต่างๆ ไม่ใช่เป็นยา ขณะนั้นความศักดิ์สิทธิ์นั้นมาจากไหนมาจากใครใช่ไหม มีเหตุมีผลที่จะให้เราชี้แจงได้ไหมว่าศักดิ์สิทธิ์อย่างไร (ไม่มี) ถ้าไม่มีก็แปลว่าเห็นผิด

    ผู้ฟัง นั่นเป็นโลภมูลจิตทิฏฐิคตสัมปยุตต์ สัมปยุตต์นั้นเป็นสักกายทิฏฐิ หรือว่านมิจฉาทิฏฐิ

    ท่านอาจารย์ สักกายทิฏฐิ คือความเห็นผิดที่ไม่รู้ในสภาพธรรมที่กำลังเกิดดับจึงยึดถือว่าเป็นตัวตนทั้ง ๕ ขันธ์ คือทั้งรูป ทั้งเวทนา ทั้งสัญญา ทั้งสังขาร ทั้งวิญญาณคือสภาพธรรมที่กำลังเกิดดับตามเหตุตามปัจจัย นี่เป็นเหตุที่เราจะต้องมาแยกแยะ ว่าทางตาที่เห็นเดี๋ยวนี้แม้เพียงชั่วขณะจิตเดียว ก็ยังต้องอาศัยเหตุปัจจัยเช่นจักขุปสาทเกิดขึ้นเพราะกรรมเป็นปัจจัย มีรูปารมณ์คือสิ่งที่ปรากฏตากระทบ แล้วก็มีปัญจทวาราวัชชนะจิตเกิดก่อน จักขุวิญญาณจึงเกิดได้แม้เพียงชั่วจิตขณะเดียว ยังต้องมีเหตุปัจจัย แต่เพราะความไม่รู้ก็เลยมีความเห็นว่าเป็นเรา นี่คือสักกายทิฏฐิ แต่ถ้าความเห็นอื่นจากนี้ทั้งหมด เป็นทิฏฐิคือความเห็นผิดที่งอกออกไป ขยายวงกว้างออกไปเพราะความไม่รู้ความจริงอันนี้

    เพราะฉะนั้นความเห็นผิดไม่ว่าจะเป็นความเห็นผิด ๑ ๒ ๓ ๔ ๕ ๖ ๗ ๘ ๙ ๑๐ ๖๒ อะไรก็ตามแต่ มาจากสักกายทิฏฐิ ส่วนนิยตมิจฉาทิฎฐิ หมายความถึงมิจฉาทิฎฐิ ๓ อย่างเท่านั้นคือความเห็นว่าผลไม่มีผลของกรรมไม่มี และสิ่งที่กำลังกระทำนี้ก็ไม่ใช่กรรมที่จะให้เกิดผล แล้วก็ยังคิดว่าทุกอย่างเกิดขึ้นเอง นั่นคือความเห็น ๓ อย่างซึ่งเป็นนิยตมิจฉาทิฏฐิ นอกจากนี้แล้วก็เป็นความเห็นอื่นไปซึ่งไม่ใช่นิยตมิจฉาทิฎฐิ

    ผู้ฟัง งั้นก็จะมองเห็นได้ว่าถ้าเรายังสะสมสักกายทิฏฐิอยู่บ่อยๆ เข้าเรื่อยๆ

    ท่านอาจารย์ ทิฏฐิอื่นก็เกิดตามมาเพราะความรักตัว เมื่อมีความเห็นว่าเป็นเรา เป็นตัวนี้ ก็มีความรักตัวที่จะเพิ่มเติมความเห็นผิดเชื่อมงคลตื่นข่าวต่างๆ อันนั้นก็คือเพราะยังมีสักกายทิฏฐิอยู่ ถ้าดับสักกายทิฏฐิ ทิฏฐิอื่นจะเกิดไม่ได้เลย เพราะฉะนั้นจะเป็นความเห็นที่ไปเชื่อในสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายโดยที่ว่าไม่ได้เชื่อในผลของกรรมก็เป็นไปไม่ได้ เราพูดด้วยจิตอย่างไร ไม่ใช่ว่าเราพูดเพื่อจะย่ำยี หรืออะไร แต่พูดเพื่อให้คนเข้าใจถูกต้อง นี่คือความหวังดีหรือเปล่า นี่คือความเป็นมิตรแท้ๆ ที่จะไม่ให้คนอื่นหลงผิดเข้าใจผิด หรือเปล่า ถ้าเพื่อนจริงก็คือว่าให้สิ่งที่ดีที่ประเสริฐกับเพื่อนคือความจริงแต่ถ้าเพื่อนไม่จริงก็หลอกสิคะหลอกให้เพื่อนไปทางผิดๆ หรืออะไรอย่างนั้นไม่ใช่เพื่อนใช่ไหม เพราะฉะนั้นสิ่งใดที่จริง เราพูดตามความเป็นจริงให้เข้าใจถูกต้องแต่ว่าเราเป็นอกุศลได้อย่างไร

    เพราะฉะนั้นเราก็ต้องเป็นคนที่ตรงที่ว่าเราอยู่ในยุคสมัยนี้ สมัยนี้คืออย่างนี้ความจริงของสมัยนี้เป็นอย่างนี้ คิดว่าวัดเป็นสถานที่สำหรับอะไร แล้วเราจะตาม หรือว่าเราจะเป็นผู้ที่ตามพระธรรม

    ผู้ฟัง คือเราต้องอย่างที่ว่าเมตตาไม่มีประมาณ จะพบคนพาลทั้งเมืองอย่างนี้เป็นต้น ผมว่าจะพบความสำราญตลอดไป ถ้าเผื่อเราระงับเสียที่จะไม่ไปแสดงเมตตาออกไปมากๆ เราอาจจะสำราญตลอดไปก็ได้ เพราะว่าเราไปร่วมกับคณะของเราที่เขามีความเชื่อถือมีความอะไรไปในทางนั้นแล้ว

    ท่านอาจารย์ คุณวีระยังเข้าใจว่าเมตตานี้ต้องแสดงหรือ เมตตาคือความเป็นมิตรพร้อมที่จะช่วย พร้อม

    ผู้ฟัง พร้อมหมายความถึงกาละที่สมควร

    ท่านอาจารย์ พร้อมที่จะช่วยเมื่อมีโอกาส และต้องช่วยจริงๆ ไม่ใช้ช่วยให้เขาเห็นผิด ถ้าเห็นผิดไม่ชื่อว่าช่วย พาเขาไปผิดก็ไม่ชื่อว่าช่วย ช่วยคือช่วยให้เขาเห็นถูก ช่วยชีวิตทั้งชีวิตจากความเห็นผิด มาสู่ความเห็นถูก อย่างพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมในสถานที่ซึ่งเต็มไปด้วยความเห็นผิด พระองค์ไม่ใช่คล้อยตามความเห็นผิดนั้นไป แต่ว่าชี้แจงเพื่อให้คนเกิดความเห็นถูกช่วยชีวิตของคนซึ่งเห็นผิด และไม่ใช่เฉพาะชาตินี้ชาติเดียว ความเห็นผิดในชาตินี้ซึ่งมีแล้วก็บวกขึ้น เพิ่มขึ้น เพิ่มขึ้นชาติหน้าง่ายเหลือเกินต่อการที่จะเห็นผิด เพราะฉะนั้นเราจะเห็นคนที่เห็นผิดง่ายๆ ง่ายมากเลย เห็นอะไรก็เชื่อไปหมดเชื่อได้อย่างไร เค้าบอกว่าชาติก่อนคนนี้เคยเป็นเทวดาก็เชื่อ เค้าบอกว่าชาติก่อนคนนั้นเป็นนักรบก็เชื่อ คนที่บอกนั้นเป็นใครพูดออกมาได้อย่างไร มีอะไรเป็นเครื่องที่จะทำให้เขาพูดออกมา นอกจากโลภะะกับความไม่รู้เขาไม่ได้เจริญเหตุ หรือว่ามีสติปัญญาที่สามารถรู้ถึงอดีตชาติของใครได้เลยแล้วเขายังพูดอย่างนั้นเราจะอ่านออกไหมว่าอะไรทำให้พูดอย่างนั้น


    ฟังธรรมจากหัวข้อย่อย

    หมายเลข 10
    2 ก.พ. 2567

    ซีดีแนะนำ