สนทนาธรรม ตอนที่ 057


    ตอนที่ ๕๗


    ท่านอาจารย์ คุณหมอบอกว่าตอนนอนหลับไม่มีอารมณ์ หมายความว่าไม่มีอารมณ์ปรากฏ ต้องเติมคำว่าไม่มีอารมณ์ปรากฏ แต่ว่าจิตต้องรู้อารมณ์เพราะเหตุว่าทางตา ที่เราบอกว่า จิตเห็น อารมณ์กำลังปรากฏทางตาใช่ไหมคะ สีสันวรรณะต่างๆ จิตได้ยิน อารมณ์ก็ปรากฏทางหู เพราะฉะนั้นอารมณ์ที่ปรากฏทางหูคือเสียง อารมณ์ที่ปรากฏทางตาคือสิ่งที่กำลังปรากฏขณะนี้ อารมณ์ที่ปรากฏทางจมูกคือกลิ่น อารมณ์ที่ปรากฏทางลิ้นคือรส อารมณ์ที่ปรากฏทางกายก็สิ่งที่เย็นบ้าง ร้อนบ้าง อ่อนบ้าง แข็งบ้าง ตึงบ้าง ไหวบ้าง

    อารมณ์ที่ปรากฏทางใจก็คือเวลาที่เห็น ง่ายๆ คือคิดนึกค่ะ คิดนึกเรื่องอะไรนะคะ เรื่องที่กำลังคิดนึกนั่นนะคะ เป็นอารมณ์ของจิตที่คิด เพราะฉะนั้นตัวจิตนี้มีจริงๆ นะคะ แต่เรื่องราวไม่จริง ไม่มี แต่คิดเพราะความทรงจำ เราจะได้เข้าใจความต่างกันของปรมัตถ์กับบัญญัติ เพราะว่าจิตคิดมี แต่เรื่องราวต่างๆ ที่จิตคิดไม่ใช่ปรมัตถธรรมเป็นแต่เพียงอารมณ์ของจิตที่คิด เราจะคิดถึงคน คนไม่มี แต่ความจำว่ามีคน นั้นมี เพราะฉะนั้นก็ทำให้เกิดการคิด แม้แต่คิดถึงคำหนึ่ง คำใดเรื่องราวต่างๆ นะคะ ก็คือกำลังมีบัญญัติหรือสิ่งที่ไม่ใช่ปรมัตถ์เป็นอารมณ์ แต่ว่าเมื่อมีจิต และต้องมีอารมณ์ทุกครั้งค่ะ ปฏิสนธิจิตขณะแรกที่เกิดนะคะ มีอารมณ์ไหมค่ะ

    ผู้ฟัง มีค่ะ

    ท่านอาจารย์ มีค่ะ จุติจิตขณะสุดท้ายที่จะจากโลกนี้ไปนะคะ มีอารมณ์ไหมค่ะ มีก่อนจะตายมีอารมณ์ไหมคะ หรือกำลังโคม่ามีอารมณ์มั้ยคะ ค่ะ มีตลอดเลยนะคะ ถ้ามีจิต และต้องมีอารมณ์จะมีจิตโดยไม่มีอารมณ์ไม่ได้ ภวังคจิตมีอารมณ์ไหมค่ะ มีค่ะ

    ผู้ฟัง ภวังคจิตมีอะไรเป็นอารมณ์ครับ มีอารมณ์คืออะไรครับ อารมณ์ของภวังคจิต

    ท่านอาจารย์ น่าคิดนะคะ เพราะว่าไม่ปรากฏใช่ไหมคะ ก็เลยทำให้หลายคนคิดว่าตอนที่หลับ ไม่มีอารมณ์ แต่ว่าถ้าเข้าใจปรมัตถธรรมจะทราบใด้อารมณ์ของภวังคจิตเป็นอารมณ์เดียวกับปฏิสนธิจิตแสดงให้เห็นว่าภวังคจิตนี่คะ เกิดต่อจากปฏิสนธิ จิตขณะแรกของชาตินี้นะคะ คือวิบากจิตผลของกรรมที่ทำกิจปฏิสนธินะคะ ขณะแรก และจิตขณะแรกนะคะ มีอารมณ์สืบต่อจากจิตใกล้จะตายของชาติก่อน เพราะว่าตามธรรมดานะคะ เวลาที่เราได้ยินเสียงขณะนี้ เสียงกำลังปรากฏทางหูนะคะ เสียงจะมีอายุเท่ากับจิตเกิดดับ ๑๗ ขณะ เพราะฉะนั้นเพียงจิตได้ยินดับไปแล้วก็ยังมีจิตอื่นเกิดต่อซึ่งมีเสียงเป็นอารมณ์จนกว่าเสียงจะดับ พอเสียงดับแล้ว ภวังคจิตจิตเกิดคั่น และก็อาจจะเป็นการได้ยินอีก พอภวังคจิตดับแล้วหลังจากที่เสียงดับ ทางมโนทวารนะคะ หมายความถึงจิตนี้อาศัยการกระทบกันทางหูที่ทำให้มีการได้ยินเกิดขึ้นนะคะ ทำให้ทางใจไหวที่จะรู้อารมณ์นั้นต่อ

    เพราะฉะนั้นเวลาที่มีการเห็นครั้งหนึ่ง จะมีชวนวิถีจิตเกิด ๒ ทางค่ะ คือถ้าเป็นทางตา ชวน หมายความถึงโลภะนะคะ หรือโทสะ หรือกุศลซึ่งเกิดต่อจากจิตเห็น จิตได้ยินนี่นะคะ เกิด ๒ ทางคือหลังจากที่เห็นดับไปแล้ว ภวังคคั่นแล้ว ทางใจยังมีอารมณ์เดียวกันเหมือนกันเลยสืบต่อ ถ้าเป็นเสียงทางหูดับไปแล้ว ทางใจก็นึกถึงตามเสียงที่ได้ยิน ซึ่งเพิ่งดับ และทางหูที่ได้ยินเป็นโทสมูลจิต วาระแรกของทางใจก็เป็นโทสมูลจิตเหมือนกัน

    แสดงให้เห็นว่าหลังจากทางหนึ่ง ทางใดใน ๕ ทางดับแล้ว มโนทวารวิถีจิตจะเกิดต่อรับอารมณ์นั้นทุกครั้ง เพราะฉะนั้นเวลาที่เราจะตายนี่นะคะ เราไม่รู้เลยค่ะว่ากรรมจะทำให้สิ้นสุดความเป็นบุคคลนี้เมื่อไหร่ เพราะฉะนั้นภาษาไทยใช้ถูก ใช้คำว่าถึงแก่กรรม หมายความถึงสิ้นสุดกรรมที่จะให้เป็นบุคคลนี้ ทำให้จุติจิตเกิด ถ้ายังไม่สิ้นสุดกรรมนะคะ ต่อให้เรานอนอยู่ในโรงพยาบาลรักษากันเป็นแรมเดือน แรมปี จุติจิตก็ยังเกิดไม่ได้

    เพราะเหตุว่าการที่จุติจิตจะเกิดก็ดี การที่ปฏิสนธิจิตจะเกิดสืบต่อจากจุติก็ดี หรือแม้แต่ภวังคจิต หรือวิบากจิตทั้งหมดนี้ค่ะต้องเป็นผลของกรรม เพราะฉะนั้นเวลาที่ก่อนจุติจิตจะเกิดนะคะ กรรมหนึ่งซึ่งเป็นชนกกรรมซึ่งเราไม่รู้ค่ะขณะนี้เราก็ไม่รู้ว่าชาตินี้กรรมเราทำไว้เยอะนะคะ กุศลกรรมก็มีอกุศลกรรมก็มี แล้วกรรมไหนจะเป็นชนกกรรมคือทำให้ปฏิสนธิจิตเกิด ไม่ใช่เฉพาะชาตินี้ชาติเดียวนะคะ ชาติก่อนๆ ที่ทำแล้วก็ยังมีโอกาสที่จะทำให้ปฏิสนธิจิตชาติหน้าเกิด

    เพราะฉะนั้นเราไม่รู้เลย ที่ไม่รู้นี่คะ เพราะว่าแสนเร็วการกระพริบตาเราก็รู้สึกว่ามันเร็วแล้วนะคะ แต่ว่าวิถีจิตที่เกิดก่อนจุติจิต เร็วกว่านั้นอีก เพราะฉะนั้นเราพยากรณ์ไม่ได้ว่ากรรมไหนจะเป็นชนกกรรมคือถ้ากรรมหนึ่ง ที่เป็นอกุศลกรรมนะคะ ให้ผล จะทำให้จิตก่อนจุตินั้นเศร้าหมอง เป็นอกุศลประเภทหนึ่งประเภทใด อาจจะเป็นโลภะหรืออาจจะเป็นโทสะ อาจจะเป็นโมหะก็ได้ แล้วก็ดับไป

    เมื่อจุติจิตดับแล้วนะคะ ปฏิสนธิที่สืบต่อมีอารมณ์เดียวกับจิตใกล้จะจุติของชาติก่อน เพราะฉะนั้นถ้าก่อนจะจุติ อกุศลจิตเกิด ปฏิสนธิเป็นอกุศลวิบาก ถ้าใกล้จะจุติกุศลจิตเกิด ปฏิสนธิเป็นกุศลวิบาก นี่แสดงให้เห็นว่าแล้วแต่กรรมเป็นปัจจัย เพราะว่าก่อนที่จุติจะเกิดนะคะ ช่วงเร็วแสนเร็วนะคะ ไม่มีการทำกรรมใดๆ ทั้งสิ้น แต่ว่าเป็นผลของกรรม หนึ่ง ซึ่งเป็นชนกกรรมที่จะทำให้อารมณ์ปรากฏกับคนที่ใกล้จะตาย ซึ่งคนอื่นก็ไม่สามารถที่จะรู้ได้เหมือนเวลานี้นะคะ อารมณ์ของใครปรากฏกับจิตคนไหนคนนั้นก็รู้ อารมณ์ของคนอื่นเราไม่สามารถจะรู้ได้ทั้งๆ ที่นั่งอยู่ด้วยกันนี่นะคะ เราไม่สามารถจะรู้ได้เลยว่าใครมีอารมณ์อะไร คนหนึ่งอาจจะกำลังคิดเรื่องนั้น อีกคนหนึ่งอาจจะกำลังได้ยินเสียง อีกคนหนึ่งอาจจะกำลังเห็น หรืออะไรอย่างนี้นะคะ ก็แล้วแต่

    เพราะฉะนั้นจิตใกล้จะจุตินี้ แล้วแต่กรรมได้เป็นชนกรรมก็ทำให้อารมณ์ปรากฎที่จะทำให้จิตเศร้าหมอง หรือผ่องใส ถ้าขณะนั้นเป็นอารมณ์ที่ทำให้จิตเศร้าหมองเป็นผลของอกุศลกรรม อกุศลวิบากปฏิสนธิในอบายภูมิหนึ่งอบายภูมิใดใน ๔ ภูมิ ซึ่งเรามาเกิดในโลกนี้นะคะ ต้องเป็นผลของกุศลกรรมหนึ่ง แต่กรรมเป็นสภาพที่ปกปิด ไม่มีใครสามารถจะรู้ได้ว่ากรรมที่เรากำลังเป็นกุศล กำลังฟังธรรมนี่นะคะ จะให้ผลเมื่อไหร่ ชาติไหน แล้วก็เพราะเหตุว่ากรรมเป็นสภาพที่ปกปิด ที่ไม่รู้กาละที่จะให้ผล และที่เรากำลังเห็นเมื่อกี้นี้ หรือเดี๋ยวนี้นี่นะคะ เราก็บอกว่าเป็นผลของกรรมแต่เราก็ไม่มีใครบอกได้ว่าเป็นผลของกรรมอะไรที่ทำให้เราเห็น และได้ยินในขณะนี้

    เพราะฉะนั้นกรรมจึงเป็นสภาพที่ปกปิด ทำให้เราไม่สามารถที่จะรู้ได้ว่ากรรมใดให้ผล แต่ทราบได้ว่าที่เราเกิดเป็นเราเดี๋ยวนี้ในสุคติภูมิเป็นมนุษย์นี่คะ ต้องเป็นผลของกุศลกรรม จะเป็นผลของทานก็ได้ จะเป็นผลของศีลก็ได้ จะเป็นผลของภาวนาก็ได้ แต่เราไม่รู้บอกได้ไหมคะว่าเรามาเกิดที่นี่เป็นผลของกรรมอะไร แต่ถ้าจะบอกประมาณนะคะ ก็คิดว่าเป็นผลของกุศลกรรมซึ่งก็เป็นไปในเรื่องของปัญญา เพราะเหตุว่าทำให้เรามีความสนใจในการที่จะเข้าใจสภาพธรรม

    เพราะเหตุว่าความสนใจในสภาพธรรมนี้ค่ะ แลกเปลี่ยนกันไม่ได้เลย แม้มารดาบิดามีความหวังดีต่อบุตรนะคะ อยากจะให้เข้าใจธรรม ถ้าเขาไม่สะสมมาก็ไม่สามารถที่จะชักชวนเขาได้ หรือว่าบุตรอยากจะให้มารดามีความสนใจธรรม แต่ว่าถ้ามารดาไม่ได้สะสมมาก็ไม่สามารถที่จะไปเปลี่ยนแปลงได้ ก็แสดงให้เห็นว่าพวกเราที่ปฏิสนธินี้ต้องเป็นผลของกุศล แต่เนื่องจากกรรมเป็นสภาพที่ปกปิดก็เลยไม่รู้ว่าผลของกุศลกรรมอะไร แต่ให้ทราบว่าเป็นผลของกุศลกรรม

    และอารมณ์ก่อนจะจุติของแต่ละคนนั้นก็ไม่มีใครสามารถทราบได้ ชาติก่อนเหมือนประตูที่ปิดสนิท พอปิดแล้วก็มองไม่เห็นเลยว่าข้างในมีอะไรบ้าง เพราะฉะนั้นก่อนจะตาย ใกล้จะตายของชาติก่อน เรามีอารมณ์อะไรเราก็ไม่สามารถที่จะบอกได้ หรือแม้ว่านะคะ เราจะตายเดี๋ยวนี้ ก็ไม่สามารถที่จะรู้ความรวดเร็วของจิตในขณะนั้นได้ว่ามีอารมณ์อะไร

    แต่ให้ทราบว่าเมื่อจุติจิตดับ ปฏิสนธิจิตมีอารมณ์เดียวกับจิตใกล้จุติของชาติก่อนซึ่งไม่ปรากฏเพราะว่าเป็นอารมณ์ของชาติก่อน ที่กำลังปรากฏที่เราบอกว่ามีอารมณ์ในชาตินี้นะคะ เพราะว่าเป็นอารมณ์ของโลกนี้ เราเห็นสิ่งที่ปรากฏในโลกนี้ เราได้ยินเสียงของโลกนี้ เราได้กลิ่น เราลิ้มรส เราคิดในเรื่องของโลกนี้ เพราะเหตุว่าอารมณ์ต่างๆ เหล่านี้ปรากฏ แต่เมื่อเป็นอารมณ์ของชาติก่อนนี่ค่ะจึงไม่ปรากฏ

    เพราะฉะนั้นปฏิสนธิจิตต้องมีอารมณ์ แต่เมื่อมีอารมณ์เดียวกับจุติจิตของชาติก่อน ก็เป็นอารมณ์ที่ไม่ปรากฏในโลกนี้ แต่ว่าปรากฏในโลกก่อน ก่อนจะจุติ และสำหรับเราขนาดนี้ถ้าจะตายนะคะ ก็มีอารมณ์ของโลกนี้ที่กำลังปรากฏเดี๋ยวนี้ แต่พอจุติจิตดับปฏิสนธิจิตเกิด โลกใหม่เราก็ไม่รู้แล้วว่า ก่อนจะจุติเรามีอารมณ์อะไรแต่ต้องมีอารมณ์ เพราะฉะนั้นอารมณ์ของปฏิสนธิจิต อารมณ์ของภวังคจิต อารมณ์ของจุติจิตในชาติเดียวกันนะคะ เหมือนกัน

    เพราะเหตุว่าปฏิสนธิจิตเป็นจิตขณะแรก ที่ทำให้เราเกิดมาเป็นคนนี้ตลอดยังไม่จุติยังไม่ตาย ถึงจะหลับไปนะคะ ก็ยังตื่นมาเป็นคนนี้ ถึงจะสลบไป ตื่นขึ้นมาก็ยังเป็นบุคคลนี้ตราบใดที่จุติจิตยังไม่เกิด ก็ยังคงเป็นบุคคลนี้อยู่ เพราะฉะนั้นอารมณ์ของปฏิสนธิเป็นอารมณ์เดียวกับจุติจิตของชาติก่อน จบไปตอนหนึ่ง และสำหรับขณะแรกที่ปฏิสนธิจิตเกิดแล้วดับไป ภวังคจิตซึ่งสืบต่อก็มีอารมณ์เดียวกับปฏิสนธิ

    เพราะฉะนั้นขณะที่ไม่ปรากฏคือขณะปฏิสนธิ ขณะที่เป็นภวังค์ ขณะที่จุติจิตเกิด นอกจากนั้นแล้วก็จะเป็นการรู้อารมณ์ทางตาบ้าง ทางหูบ้าง จมูกบ้าง ลิ้นบ้าง กายบ้าง คิดนึกทางใจบ้าง ๑ ใน ๖ ทวาร แต่ถ้าไม่อาศัยตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ นะคะ ไม่ใช่วิถีจิต เพราะฉะนั้นอารมณ์จึงไม่ปรากฏ

    ผู้ฟัง ผมอยากจะขอกราบเรียนท่านอาจารย์เกี่ยวกับเรื่องพระธรรมคำสั่งสอนของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่กล่าวว่าธรรมที่ควรเจริญ ธรรมที่ควรละเว้น เช่นถ้าเป็นกุศลก็ควรจะเจริญ ถ้าเป็นอกุศลก็ควรที่จะละเว้น ที่นี่เมื่อพูดถึงอกุศลนะครับ จริงๆ ๆ แล้ว ไม่ทราบสำหรับท่านอื่นนี้อาจจะคิดอย่างไรไม่ทราบ

    แต่กระผมเองยังมองไม่เห็นว่ามันเป็นโทษเป็นภัยอะไรจริงๆ เลย อย่างเช่นโลภะนี่นะครับ เพราะว่าปกติอาจารย์บอกว่าตั้งแต่ตื่นนอนขึ้นมาเราอยู่กับโลภะตลอดเวลา แล้วก็ไม่รู้ว่าเป็นสิ่งที่อยู่ใกล้ตัวที่สุด แต่ถ้าจะกล่าวโดยความเป็นโทษแล้ว เป็นธรรมที่ควรละก็ต้องเป็นความจริงอย่างนั้น คือไม่ว่าจะเป็นโลภะก็เป็นสิ่งที่ไม่ดี โทสะก็เป็นสิ่งที่ไม่ดี ทำอย่างไรจึงจะสามารถมองให้เกิดเห็นที่ว่าโลภะเป็นโทษ โทสะเป็นโทษ อันนี้จะ..ครับ

    ท่านอาจารย์ คุณสุกลชอบคนที่ทำทุจริตกรรมเพราะโลภะไหมคะ โกงบ้านโกงเมืองอะไรต่ออะไรต่างๆ เหล่านี้ค่ะ

    ผู้ฟัง ไม่ชอบครับ

    ท่านอาจารย์ เป็นโทษหรือเปล่า

    ผู้ฟัง แหมนี่มัน..

    ท่านอาจารย์ ทำไมไม่ชอบล่ะ

    ผู้ฟัง ก็เพราะว่า..

    ท่านอาจารย์ ถ้าดีก็ต้องชอบสิคะ

    ผู้ฟัง ทีนี้ว่าความเข้าใจที่ว่าเป็นโลภะ มันเหมือนคล้ายว่ามันเป็นสิ่งที่ไม่ได้รุนแรงอะไรเลยมันเป็นชีวิตประจำวัน ที่เราถ้าไม่มีโลภะเหมือนชีวิตนะมันเซ็ง มันกระด้างไป อะไรทำนองนั้น

    ท่านอาจารย์ ค่ะ เพราะฉะนั้นนะคะ สิ่งที่เป็นโทษแม้เล็กน้อยก็เป็นโทษค่ะ โดยมากเราไปเห็นตอนใหญ่โตมโหฬาร เช่น มีการโกงกินอะไรต่างๆ ใช่มั้ยค่ะ ทุจริตกรรมต่างๆ เราเห็นว่าเป็นโทษแต่ถ้าไม่มีทีละเล็ก ทีละน้อย ทีละนิด ทีละหน่อย จะถึงขั้นนั้นไหมคะ

    ผู้ฟัง ก็ถ้าหากว่าตอบโดยการศึกษาก็ต้องบอกว่ามันมีการสะสมเพิ่มพูนขึ้นทีละเล็กที่ละน้อย

    ท่านอาจารย์ สิ่งที่ไม่ดีนี่คะ น้อยนิดหนึ่งก็ไม่ดีใช่ไหมคะ

    ผู้ฟัง นั่นน่ะสิครับ ไอ้ตรงนี้ที่ว่าน้อยนิดก็ไม่ดีนี่แล้วจะ..

    ท่านอาจารย์ กลิ่นเหม็นนะคะ น้อยนิดนึงก็เหม็นรึเปล่า

    ผู้ฟัง เพราะว่ามันเป็นเรื่องที่ท่านอาจารย์เคยพูดเสมอว่า แม้สิ่งที่มันเป็นโลภะก็ตามโทสะก็ตาม ต้องรู้ก่อนแล้วถึงจะละ ทีนี้เมื่อรู้ แต่มันรู้ไม่ถึงความเป็นโทษ

    ท่านอาจารย์ แน่นอนคะ รู้แค่นี้ละอะไรไม่ได้ อย่าลืมว่าความรู้นี่เล็กน้อยเหลือเกิน รู้แค่นี้ละอะไรไม่ได้

    ผู้ฟัง แล้วจะรู้อย่างไร

    ท่านอาจารย์ อริยสัจธรรมค่ะ

    ผู้ฟัง แต่ว่าตอนนี้ มันยังไปไม่ถึง

    ท่านอาจารย์ ไม่ถึงก็ละไม่ได้ไง

    ผู้ฟัง แต่ว่าทำอย่างไร ถึงจะเป็นเหตุปัจจัยสะสมไปเรื่อยๆ

    ท่านอาจารย์ ที่คุณนิภัทรพูดไปเมื่อกี้ไงคะ กำลังสะสมความเข้าใจ

    ผู้ฟัง เพราะว่าปกติแล้วนะครับ มักจะมองข้ามสิ่งเล็กๆ น้อยๆ ที่เป็นชีวิตประจำวันเช่นไอ้ความที่ไม่ค่อยจะรู้จักเสียสละ แล้วก็การที่ไม่รู้จักที่จะช่วยเหลือสงเคราะห์ อันนี้กระผมสังเกตว่า มันไม่ได้อยู่ในสิ่งที่เราอยากจะทำ หรือไม่อยากทำ เวลาที่ผมเดินทางไปทำธุระ บางครั้งยังไม่ทันเห็นคนที่จะให้ แล้วเตรียมควักสตางค์ไว้ก่อนแล้ว อันนี้ก็เคยคิดอย่างนี้แล้ว บางครั้งก็ทำได้ บางครั้งก็ไม่มีโอกาสจะให้ทำ

    แต่บางครั้งเห็นแล้วก็ยังไม่อยากทำ มันก็เลยทำให้สงสัย ทำไมเราก็มีความตั้งใจอยากที่จะช่วยเหลือสงเคราะห์ แต่เสร็จแล้วปรากฏว่าบางครั้งก็ไม่เต็มใจจะให้ ผ่านไปเฉยๆ นะจะย้อนกลับมาก็เสียเวลา รีบไปทำธุระก่อนอะไรอย่างงี้ สิ่งเหล่านี้นะครับ ที่จะให้เป็นอุปนิสัย..

    ท่านอาจารย์ คะ ทั้งหมดนะค่ะ เป็นความกังวลเพราะเหตุว่ามีความเป็นเรา มีความเป็นตัวตนค่ะ ไม่ใช่เป็นแต่เพียงสภาพธรรมแต่ละชนิดซึ่งเกิดแล้วก็ดับไป เรา ที่เราคิดว่าเป็นเรานี่นะคะ ที่จริงย่อยออกไปแล้ว คือสภาพธรรมดีบ้าง ไม่ดีบ้าง ตามกาละ ตามเหตุตามปัจจัย ไม่มีใครบังคับบัญชา แล้วถ้ายังคงยึดถือว่าเป็นเราอยู่ก็หนักมากเลยนะคะ เดี๋ยวเราก็ไม่ดีอีกแล้ว ใช่ไหมคะ เดี๋ยวก็เป็นอย่างนั้น เดียวก็เป็นอย่างนี้ เดี๋ยวก็โทสะ เดี๋ยวก็ขาดเมตตา เดียวก็อะไรตั้งหลายอย่าง แต่ถ้ารู้ว่าเป็นธรรมแต่ละอย่างซึ่งเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย รู้จริงๆ ประจักษ์จริงๆ ประจักษ์ความเกิดดับจริงๆ ถอนความเป็นตัวตนจริงๆ แล้วจะเบา

    ผู้ฟัง การที่จะถอนความเป็นตัวตนนี้ หมายความว่าต้องเป็นปัญญาขั้นที่เห็นว่าทุกสิ่งทุกอย่างมันเกิด และดับไป

    ท่านอาจารย์ อริยสัจธรรมค่ะ ถ้าไม่ถึงขั้นนั้นก็ยังดับไม่ได้

    ผู้ฟัง ยังไม่ละ ใช่ไหมครับ

    ท่านอาจารย์ ยังดับไม่ได้เป็นสมุทเฉท เกิดบ้าง ไม่เกิดบ้าง ไปเรื่อยๆ

    ผู้ฟัง ทีนี้ว่า พูดถึงว่าผู้ที่หมดกิเลสแล้วนะครับ อย่างเช่นพระอรหันต์นี่นะครับ ท่านก็เดินไปในสถานที่ต่างๆ ปะปนไป แล้วก็บอกว่าท่านมีจิตเพียง ๒ ชาติเท่านั้น โลกียะจิตใช่ไหมครับ สำหรับการเห็น การได้ยิน ต่างๆ

    ท่านอาจารย์ แต่ขณะใดที่ไม่มีนิพพานเป็นอารมณ์เป็นโลกียจิต

    ผู้ฟัง ทีนี้ว่าสิ่งที่ท่านจะทำต่อไปให้เป็นเหตุ ไม่มีใช่ไหมครับ หรือว่าอย่างเวลาที่ท่าน..

    ท่านอาจารย์ การกระทำใดๆ ของท่านนะคะ ไม่เป็นเหตุคือไม่เป็นกุศล และอกุศลที่จะให้เกิดผลคือ กุศลวิบาก อกุศลวิบาก ข้างหน้า

    ผู้ฟัง ครับ ทีนี้ผมจะขอเปรียบเทียบอย่างนี้นะครับ อย่างเช่นท่านอาจารย์มีความเมตตากรุณาต่อผู้ฟัง ลูกศิษย์ทั้งหลายเพื่อต้องการให้เกิดความรู้ ความเข้าใจ ในเรื่องของพระธรรมคำสั่งสอน กับเวลาที่พระอรหันต์ทั้งหลายท่านไปแสดงธรรมโปรดพุทธบริษัททั้งหลาย ก็ไปเพื่อสงเคราะห์ให้ได้รับประโยชน์ แล้วทำไม ถึงไม่เป็นเหตุเป็นผลสำหรับผู้ที่เป็นพระอรหันต์ต่อไป

    ท่านอาจารย์ จิตต่างกันมากค่ะ จิตต่างระดับกันมากทีเดียว

    ผู้ฟัง ก็เป็นความปรารถนาดีเหมือนกัน

    ท่านอาจารย์ ถูกคะ แต่ว่าต่างระดับ

    ผู้ฟัง นี่มันเป็นความสงสัยว่าทำไมกันในเมื่อการกระทำอย่างเดียวกัน..

    ท่านอาจารย์ ปัญญาต่างขั้นคะ ปัญญาต่างขั้น

    ผู้ฟัง แต่ว่าการให้ธรรมที่ถูกต้องเหมือนกันใช่ไหมครับ

    ท่านอาจารย์ การให้เหมือนกันทั้งหมดค่ะ พระอรหันต์ให้ คนธรรมดาให้ การให้ก็คือการให้ แต่สภาพจิตต่างกันแม้แต่กำลังนอนหลับสนิทยังไม่ต้องทำอะไรเลย นอนหลับนะคะ ถ้าพระอรหันต์หลับ ปุถุชนหลับชน โจรผู้ร้ายหลับ ภวังคจิตเหมือนกันหมดแต่ต่างกันที่อนุสัยกิเลส จิตของคนที่เป็นโจรผู้ร้ายนะคะ กำลังหลับสนิทไม่ได้พูดจา หรือการกระทำใดๆ ที่เป็นอกุศลกรรมใดๆ ทั้งสิ้นขณะนั้นเป็นภวังค์ คนธรรมดาที่ไม่ใช่โจรผู้ร้ายก็หลับสนิทไม่ได้ทำอะไรเลยพระอรหันต์ก็หลับสนิทแต่สภาพจิตนั้นต่างกัน แม้แต่ตอนเกิดขณะแรก สภาพจิตก็ยังต่างกันเลยค่ะ คนต่างกันหรือเหมือนกัน

    ผู้ฟัง ต่างกันครับ

    ท่านอาจารย์ คนที่ต่างกันนี่นะคะ มีการให้เหมือนกันได้ไหม

    ผู้ฟัง ให้สิ่งที่เป็นประโยชน์เหมือนกัน

    ท่านอาจารย์ ค่ะ ให้ได้มั้ย คนเรานี้จิตใจต่างๆ กัน แต่ว่าต่างๆ กันอย่างนี้ ก็ให้ได้ไหม การกระทำที่ให้เหมือนกันนะคะ เพราะฉะนั้นให้ได้ทุกคนไหม หรือว่าคนนี้ให้ไม่ได้ต้องคนนั้นถึงจะให้ แม้ว่าจิตต่างกันนี่คะ ให้ได้เหมือนกันไหม ให้เหมือนกันได้มั้ย หรือให้ได้ไหม

    ผู้ฟัง อันนี้ก็ต่างกันตาม..

    ท่านอาจารย์ ก็ยังให้ได้ใช่ไหมคะ

    ผู้ฟัง ครับ สงสัยที่บอกว่าเมื่อการกระทำเป็นลักษณะที่เหมือนกัน อย่างเดียวกันนะครับ แต่ว่าผลที่จะทำ..

    ท่านอาจารย์ จิตต่างกัน

    ผู้ฟัง เพราะฉะนั้นการกระทำของพระอรหันต์ ไม่ว่าจะเป็นบุญเป็นกุศล

    ท่านอาจารย์ เป็นกิริยาจิต

    ผู้ฟัง ไม่ได้มีผลจะให้เป็นวิบากต่อไปข้างหน้าเลยทั้งหมดเลยใช่ไหม และสิ่งนั้น..

    ท่านอาจารย์ ก็ดับกิเลสหมดเป็นสมุมเฉท ไม่มีกิเลสใดๆ เลยทั้งสิ้น

    ผู้ฟัง การกระทำของพระอรหันต์ก็เป็นโมฆะหมดเลย ใช่ไหมครับ

    ท่านอาจารย์ กิริยา ไม่เป็นเหตุให้เกิดผลเป็นกิริยาจิต ใช้คำ ท่านไม่ได้หวังอะไรนี่ค่ะ ไม่มีพืชเชื้อที่จะให้ท่านเกิดอีกเลยหลังจากที่จุติจิตเกิด

    ผู้ฟัง ไม่หวังอะไร ถูกต้องครับ

    ท่านอาจาย์ แล้วก็ไม่มีพืชเชื้อที่จะให้เกิดหลังจุติ

    ผู้ฟัง ครับ ก็อันนี้จากการศึกษาเข้าใจว่าไม่มี

    ท่านอาจารย์ ไม่อย่างงั้นคนธรรมดาก็เป็นพระอรหันต์ไปหมดทุกคน เพราะให้เหมือนกันกับพระอรหันต์ พระโสดาบัน พระสกทาคามี พระอนาคามี พระอรหันต์เหมือนกันไม่ได้คะ ปัญญาต่างขั้น

    ผู้ฟัง เพราะฉะนั้นเวลาที่เป็นพระอรหันต์แล้ว ที่ท่านอาจมีอุปนิสัยในการที่อาจจะชอบอยู่ในความสงบ ไม่..

    ท่านอาจารย์ ตามการสะสมก็เหมือนคนธรรมดานี่คะ คนธรรมดานี้ก็ต่างกันตามการสะสมใช่ไหมคะ ทุกคนมาที่นี่เพื่อที่จะทำอะไรคะคุณอดิศักดิ์

    ผู้ฟัง สนทนาธรรมครับ

    ท่านอาจารย์ ค่ะ เพื่อที่จะสนทนาธรรม หรือว่าฟังธรรมนะคะ แต่ว่าถ้ายังไม่รู้จักธรรมนี่ค่ะ ก็เป็นเรื่องที่ยาก และก็ไม่แน่ว่าทุกคนรู้จักธรรมจริงๆ หรือยัง ใช้คำว่ารู้จัก ไม่ใช่ใช้คำว่าเพียงฟัง ๒ คำ นี่ก็ต่างกันใช่ไหมคะ ฟังเรื่องธรรมแล้วก็รู้เรื่องที่ฟัง แต่ว่ารู้จักธรรม หรือยัง เพราะฉะนั้นการฟังธรรมนี่ค่ะ ก็ต้องมีหลายขั้น หลายระดับ คือขั้นต้น เริ่มฟัง แม้แต่ขั้นฟังนี่คะ ก็ต้องฟังด้วยความตั้งใจจริงๆ เพื่อที่จะได้พิสูจน์สิ่งที่กำลังได้ยินได้ฟังว่าเป็นความจริงไหม

    เพราะฉะนั้นเราจะเริ่มต้นจากเรื่องที่ง่ายๆ ธรรมดาๆ นะคะ ว่าทุกคนมาฟังธรรม แต่เพื่อที่จะให้ได้ความเข้าใจจริงๆ นี่คะ ก็จะต้องรู้ก่อนว่าธรรมคืออะไร อาจารย์คะ คิดว่าเราคงจะต้องทบทวนนิดหน่อยนะคะ ขอเชิญอาจารย์คะ ว่าธรรมคืออะไร

    อ.สมพร ธรรมคืออะไรนี่นะครับ เป็นประโยชน์เพราะว่าเป็นคำที่สั้นที่สุดนะ และผมก็จะตอบสั้นเหมือนกันนะครับ ธรรมคือจิต และเจตสิก ธรรมคือรูป นี่ก็ตอบอย่างสั้นที่สุดแล้วครับ

    ท่านอาจารย์ ถ้าคนใหม่เอี่ยมนะคะ ธรรมคืออะไรคะ

    อ.สมพร ธรรมนี้ เราก็จะต้องให้เขาเข้าใจเรื่องว่า ธรรมคือจิต เจตสิกนั้นมันคืออะไรบ้าง

    ท่านอาจารย์ คะ ยังไม่รู้จักจิต ยังไม่รู้จักเจตสิก ยังไม่รู้จักรูปค่ะ ธรรมคืออะไร

    อ.สมพร ก็หมายว่าสภาพสภาวะสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่มีอยู่จริงนะครับ เป็นของมีอยู่จริงนะทุกวันนี้ เช่นความคิด ความนึก ความรู้สึก ความเห็น การได้ยิน อันนี้เป็นของมีอยู่จริง ก็ล้วนแต่เป็นธรรมทั้งสิ้นเลย

    ท่านอาจารย์ อาจารย์หมายความว่าไม่ใช่สิ่งที่หลอกลวง เป็นสิ่งที่มีจริงๆ เดี๋ยวนี้มีไหมค่ะ

    อ.สมพร เป็นของที่มีอยู่จริง เดี๋ยวนี้ก็มี แต่ว่าเราจะไม่เข้าใจ บางคนนะบางคนก็ไม่เข้าใจ มีอยู่ตลอดเวลา

    ท่านอาจารย์ แสดงว่า แม้ว่ามีธรรมอยู่แต่ไม่ใช่ว่าเข้าใจ หรือว่ารู้จักธรรม เพราะฉะนั้นเราจึงต้องมาฟังเรื่องของสิ่งที่มีอยู่ แล้วก็ไม่เคยรู้เลยว่าแท้ที่จริงนี่ก็คือธรรม เพราะฉะนั้นเราก็คงจะไม่ต้องไปแสวงหาธรรมที่ไหนเลย เพราะเหตุว่าในขณะนี้มีธรรมอยู่แล้ว ที่ตัวคุณอดิศักดิ์มีธรรมไหมค่ะ

    ผู้ฟัง มีครับ

    ท่านอาจารย ที่ไหนไม่มีบ้างคะ ที่ไหนไม่มีบ้าง

    ผู้ฟัง ไม่มีครับ

    ท่านอาจารย์ ไม่มีนะคะ นอกโลกมีธรรมไหมค่ะ

    ผู้ฟัง มีครับ

    ท่านอาจารย์ ทีนี้การที่จะรู้จักธรรมนี่นะคะ ถ้าพูดสั้นๆ ว่าถ้าทุกอย่างเป็นธรรมที่เคยเป็นตัวเราทั้งหมดตั้งแต่ศีรษะจดเท้า แท้ที่จริงแล้วผู้ที่ตรัสรู้ก็ทรงแสดงว่าเป็นธรรมแต่ละชนิด เพราะฉะนั้นการฟังธรรมก็คือฟังเรื่องของตัวเอง ตั้งแต่ศีรษะจรดเท้าทุกขณะ ตั้งแต่เกิดจนตายนี่คือการที่จะได้รู้ว่าธรรมที่เราฟัง คืออะไร แล้วก็เราจะรู้จักธรรม ได้ที่ไหน ล่ะก็เมื่อไหร่


    ฟังธรรมจากหัวข้อย่อย

    หมายเลข 10
    27 ม.ค. 2567

    ซีดีแนะนำ