สนทนาธรรม ตอนที่ 018


    ตอนที่ ๑๘

    สนทนาธรรมที่หมู่บ้านเมืองทองนิเวศน์ ๑

    พ.ศ. ๒๕๓๘


    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น เวลาที่เราเห็นคนที่เขาทุกข์ยาก เดือดร้อน แล้วก็เป็นโรคภัย หรือว่าอาจจะเป็นคนโรคเรื้อน คนขอทาน เราก็มีความเห็นใจว่านี่กรรมหนึ่งของเขาที่เป็นอกุศลกรรม แต่ว่าชาติหน้าเขาเป็นพระราชาก็ได้ หรือพระราชาจะไปเกิดเป็นนกเป็นอะไรก็ได้ทั้งนั้น เพราะว่าทุกคนมีกรรมที่เป็นทั้งกุศลกรรม และอกุศลกรรมที่สะสมไว้ในจิตซึ่งมองไม่เห็นเลย แล้วก็เกิดขึ้นทีละหนึ่งขณะด้วย แต่ว่ามีปัจจัยที่จะทำให้สภาพธรรมที่เกิดต่อแล้วแต่ว่าจะเป็นจิตประเภทไหน จะเป็นกุศล จะเป็นอกุศล จะเป็นวิบาก จะเป็นกิริยาก็แล้วแต่ เขามีปัจจัยสะสมอยู่ในจิตแต่ละขณะ นี่ก็เป็นความน่าอัศจรรย์ของสภาพธรรม

    ซึ่งถ้าพระผู้มีพระภาคไม่ทรงตรัสรู้ ไม่มีใครสามารถที่จะรู้ลักษณะของจิตว่าไปยังไงมายังไงเป็นยังไง ต่อไปจะเป็นยังไงอีกเพราะเหตุว่าแม้แต่กำลังเห็นก็เป็นจิตขณะหนึ่ง ซึ่งหลังปฏิสนธิ แต่ทีนี้เรากำลังจะเริ่มตั้งแต่ปฏิสนธิจิต ว่าปฏิสนธิจิตนี้เป็นจิตชาติอะไร ต้องเป็นวิบากคือเป็นผลของกรรมหนึ่ง ขณะนั้นไม่ใช่กุศล ไม่ใช่อกุศล และทุกคนที่เกิดมาต่างกัน เป็นอย่างนี้อย่างนี้ เพราะกรรมที่ทำมาต่างกันมากเหลือเกิน มีคนกี่ร้อยพันล้านคนหน้าตาไม่เหมือนกันเลย แค่คิ้ว ตา จมูก ปาก ไม่เหมือนกันแล้ว

    ผู้ฟัง หมายถึงว่า สมมติเราเกิดมาเป็นคนอย่างนี้

    ท่านอาจารย์ ที่ว่าเป็นคน คือจิตขณะหนึ่ง เป็นวิบากจิตเกิดขึ้นทำกิจปฏิสนธิ ในวิบากจิตที่ทำกิจปฏิสนธินั้นมีอะไรบ้าง ไม่ใช่มารวมทีหลังคะ ในวิบากจิตที่ทำกิจปฏิสนธินั่นเองมีอะไรบ้าง มีปัจจัยทุกอย่างที่จะทำให้เกิดทุกขณะหลังจากปฏิสนธิ ไม่ใช่มารวมหลังปฏิสนธิ

    ผู้ฟัง เกิดหลังจากปฏิสนธิไหม

    ท่านอาจารย์ ไม่ใช่คิดถึงจิตทีละหนึ่งขณะ ในขณะหนึ่งมีอะไรในนั้นบ้าง ทุกอย่างหมด ตั้งกี่แสนโกฏิกัปป์มาแล้วก็ตามแต่ ที่สะสมมา

    เรากำลังพูดถึงจิตขณะแรกที่เป็นปฏิสนธิ ความจริงแล้วอยู่ในจิตทุกดวง แต่ทีนี้กรรม หนึ่งที่ทำให้ปฏิสนธิจิตเกิด ในปฏิสนธิจิตนั่นแหละมีอะไรอีก เยอะแยะ ทั้งหมดเก็บไว้หมดไม่ใช่หลังปฏิสนธิแล้วมี ในทุกๆ ขณะจิตมี

    ผู้ฟัง แล้วอย่างงี้เหมือนกับว่า ถ้าเราเกิดเป็นคน คนนี้แล้วเราจะได้รับผลต่อไปเหมือนกับมันคุ้มที่ว่าเราจะต้องรับผลอย่างนี้ๆ

    ท่านอาจารย์ ยังมีกรรมอื่นด้วยไม่ใช่มีแต่เฉพาะกรรมเดียวที่ทำให้ปฏิสนธิจิตเกิด เพราะฉะนั้นเราถึงต้องเริ่มต้นว่าปฏิสนธิจิตเกิดจากกรรมหนึ่ง ดับไปแล้วจิตขณะต่อไปก็เป็นภวังคจิต เป็นวิบากจิตประเภทเดียวกันเพราะเป็นผลของกรรมเดียวกันที่ทำให้ยังไม่ตาย ยังต้องเป็นบุคคลนี้อยู่แต่เมื่อเป็นบุคคลนี้ กรรมอื่นหลังจากปฏิสนธิมีโอกาสให้ผลเมื่อถึงวาระที่จะให้ผล ไม่ใช่แต่เฉพาะให้มาปฏิสนธิแล้วต้องเป็นอย่างนี้ตลอด

    ผู้ฟัง คะ เหมือนกับหนูเคยได้ยินในเทปค่ะ ว่าปฏิสนธิจิตแล้วเนี่ยภวังคจิต หรืออะไรก็จะเป็นเหมือนกับปฏิสนธิจิต แล้วก็

    ท่านอาจารย์ เป็นจิตประเภทเดียวกันถ้าเป็นกุศลวิบากก็กุศลวิบากชนิดเดียวกันถ้าเป็นอกุศลวิบากก็เป็นอกุศลวิบาก จะเปลี่ยนไม่ได้จนกว่าจะตาย ภวังคจิตต้องเหมือนปฏิสนธิจิต

    ผู้ฟัง แล้วหนูเข้าใจว่า เหมือนกับว่า เราเกิดมาด้วยปฏิสนธิจิตอย่างนี้แล้ว เหมือนกับคล้ายๆ กับพรหมลิขิตอย่างงั้นว่าจะต้องเป็นไปอย่างงั้นเราจะมาเปลี่ยนแปลง

    ท่านอาจารย์ เป็นไปตามการสะสมทั้งหมดที่อยู่ในจิต ของแต่ละขณะเขามีปัจจัยพร้อมที่จะให้ขณะไหนเกิด อย่างขณะนี้ที่ทุกคนนั่งอยู่ที่นี่ มีเหตุปัจจัยที่สะสมอยู่ในจิตของแต่ละคนตั้งแต่ปฏิสนธิที่พร้อมที่จะให้จักขุวิญญาณขณะนี้เกิดขึ้นเห็น พร้อมที่จะโสตวิญญาณขณะนี้เกิดขึ้นได้ยิน นี่ค่ะจิตได้ยิน จิตเห็นทั้งหมดเนี่ยสะสมสืบต่อในจิตแต่ละขณะ

    ผู้ฟัง อย่างหนูเกิดมาอย่างนี้ใช่ไหมคะแล้วหนูไม่มาที่นี่ก็ไม่ได้ยินใช่ไหมคะแต่ว่าต้องมา หรือป่าวคะ

    ท่านอาจารย์ ค่ะยังไงก็ตามแต่ คิดถึงเหตุการณ์ใหญ่ตัวเยอะแล้วก็ย่อยลงมาเหลือจิตขณะหนึ่งก็แล้วกัน ว่าแต่ละขณะนี่เขามีเหตุปัจจัยที่จะให้เกิดขึ้น

    ผู้ฟัง อะไรอย่างงี้เหมือนกับไม่ใช่อนัตตาใช่ไหมคะ

    ท่านอาจารย์ นี่เลยค่ะคืออนัตตาเพราะเราบังคับไม่ได้ตอนปฏิสนธิก็บังคับไม่ได้ จะให้กรรมไหนให้ผล และปฏิสนธิดับไปแล้ววิบากจิตต้องเกิดตามปัจจัยไม่ใช่มีใครไปบังคับไปเปลี่ยนให้วิบากอื่นประเภทอื่นมาเกิดต่อจากปฏิสนธิจิตก็ไม่ได้เพราะว่าปัจจัยของจิตดวงก่อนคืออนันตรปัจจัย สมนันตรปัจจัย ปัจจัยเยอะนะคะ ที่จะให้จิตขณะต่อไปเป็นอะไร

    ผู้ฟัง แต่เราเปลี่ยนเหตุปัจจัยได้ใช่ไหมคะ

    ท่านอาจารย์ ไม่มีเราค่ะ การสะสมก็คือเหตุปัจจัยนั่นเอง

    ผู้ฟัง อย่างการมาฟังธรรม เราสะสมปัญญาเพิ่มขึ้นจากที่เราไม่เคยรู้เลย

    ท่านอาจารย์ การฟังเป็นจิตซึ่งหลังจากดับไปแล้วก็สะสม สะสมทุกอย่างไม่ใช่สะสมเฉพาะฟังธรรม ฟังอื่นก็สะสมเหมือนกัน

    ผู้ฟัง แล้วมีการลบล้างอะไรกันไหมค่ะ

    ท่านอาจารย์ นี่เราคิดค่ะ เราชอบคิดที่จะมีตัวตนลบนั้นล้างนี่ หรืออะไรเป็นเรื่องที่จะต้องเข้าใจสภาพธรรมให้ถูกต้องเท่านั้นเอง

    ผู้ฟัง มองในแง่ว่าจิตสะสมตลอดเวลานะคะ แล้ววิบากเมื่อให้ผลแล้วเนี่ย ของใหม่ก็สะสมของเก่าก็มี แต่วิบากเนี่ยที่เป็นผลของที่เราสะสมมาเนี่ย มันจะชดเชยกับของเก่าไปไหม

    ท่านอาจารย์ ทำไมต้องใช้คำว่าชดเชย ไม่ใช่เรื่องเรามานั่งคิดตัวตนว่าเราจะชดเชยนะให้เข้าใจสภาพธรรม และจิตเกิดขึ้นขณะหนึ่งแล้วก็ดับไปเลย แต่ว่าการดับไปของจิตดวงก่อนนะคะ เป็นปัจจัยทำให้จิตขณะต่อไปเกิด แล้วก็จะเป็นจิตประเภทไหนด้วย ตามปัจจัยที่สะสม จะไปชดเชยไม่ชดเชยทำไมคะ

    ผู้ฟัง มันจะสะสมไปเรื่อยๆ หรือค่ะ

    ท่านอาจารย์ สะสมค่ะแต่ถ้าเป็นวิบากไม่สะสม วิบากเป็นผลแล้วก็หมดไปเลยค่ะ

    ผู้ฟัง เหมือนกับว่าเราสะสม สมมติว่าเราสะสมสิ่งไม่ดีมาตลอดนะคะ เริ่มของใหม่ ด้วยความเข้าใจธรรมแล้วก็ค่อยๆ ไป อันนี้ที่คำว่าชดเชยนี่หมายถึงว่ากรรมเก่าอกุศลที่เราสะสมไว้เดิม กับของใหม่ มันจะสร้างปัญญาใหม่ขึ้นมาเรื่อยๆ นี่ของเก่าก็ยังอยู่อย่างงั้น

    ท่านอาจารย์ ก็แล้วแต่ทำไมจะไปคิดอะไร ทำไมจะมีตัวเราไปล้างโน่นคิดนี่

    ผู้ฟัง เรียกว่าสะสมไปเรื่อยๆ แล้วก็มีเหตุ มีปัจจัยก็ให้ผลออกมา

    ท่านอาจารย์ เมื่อกี้คุณประทีปถามคนอื่นใช่ไหมคะว่า ๒เดือนที่ผ่านมาเนี่ยใครเข้าใจยังไงแล้วก็มีประสบการณ์ยังไง คืองี้ดิฉันก็ต้องถามคุณประทีปเพราะว่าคุณประทีปถามคนอื่น หมายความว่าใครก็ตามที่ตั้งคำถาม หมายความว่าคนนั้นมีเรื่องที่จะพูด ไม่ใช่ว่าถามคนอื่นให้เขาพูด ถูกไหมคะ

    เพราะฉะนั้นก็สรุปมาตั้งแต่ต้นที่คุณประทีปฟังมา ๒ เดือนนี่ ได้อะไรบ้าง เข้าใจอะไรขึ้น มีความเข้าใจอะไรตั้งแต่ต้น ลองช่วยให้คนอื่นได้ทราบบ้างสิคะ เพราะเหตุว่าที่ฟังแล้วนี่ค่ะ คือความเข้าใจอยากจะทราบว่าความเข้าใจจากการฟังแล้ว ไม่ใช่ฟังใหม่เอาที่ฟังแล้ว ๒ เดือนนี่นะคะ ความเข้าใจอันนั้นนะคะ

    ผู้ฟัง เข้าใจทั้งหมดนะครับ

    ท่านอาจารย์ เพราะเหตุว่าเข้าใจนี่เราจะเข้าใจเพิ่มขึ้นเมื่อเราฟังเพิ่มขึ้นเอาเฉพาะตอน ๒ เดือนนั้นนะคะ มีความเข้าใจอะไร ปรมัตถธรรมคืออะไร เวลาที่เราฟังแล้วบางทีเราคิดว่าเราฟังแล้วเราก็สับสนเรื่องคำ ซึ่งก็น่าเห็นใจเรื่องคำเพราะทุกคนก็จะอ้างบอกว่ามันเป็นภาษาบาลี หรืออะไรก็ตามแต่ แต่ว่ามันเป็นสภาพธรรมที่มีจริงๆ คะ เราใช้คำเพื่อที่จะเรียกสภาพธรรมนั้นแต่ต้องใช้คำให้ถูก เพื่อว่าความเข้าใจของเราจะได้ไม่สับสน

    เพราะฉะนั้น เราจะตั้งต้นเราก็ตั้งต้นอย่างชนิดซึ่งว่า งงไม่ได้ หรือว่าลืมไม่ได้เพราะว่าต่อไปในการศึกษาธรรมนี่ถ้าลืมมันก็หมดนะคะ ที่ฟังมาแล้วก็ลืมหมด เพราะฉะนั้นก็ต้องฟังด้วยความเข้าใจจริงๆ ตั้งต้นจริงๆ และเอาให้แน่ใจว่าปรมัตถ์ธรรมคืออะไร

    ผู้ฟัง ก็คือจิตปรมัตถ์ เจตสิกปรมัตถ์ และรูปปรมัตถ์

    ท่านอาจารย์ ไม่ได้ถามว่ามีอะไรบ้าง

    ผู้ฟัง ครับ ปรมัตถ์คือสภาพธรรมที่เป็นจริง ครับ

    ท่านอาจารย์ สภาพธรรมที่มีจริงเป็นจริง มีอะไรบ้างเล่าไปเลยค่ะ

    ผู้ฟัง มีจิตปรมัตถ์ เจตสิกปรมัตถ์ รูปปรมัตถ์ และนิพพานครับ สังขารธรรม หรือขันธ์ ๕ นี่ครับ

    ท่านอาจารย์ พูดคำหนึ่งแล้วต้องอธิบายว่ามันคืออะไร ถ้าใช้คำว่าสังขารธรรมก็ต้องบอกสังขารธรรมคืออะไร เมื่อกี้มีปรมัตถ์ธรรม และตอนนี้มีสังขารธรรม เพราะฉะนั้น สังขารธรรมคืออะไร

    ผู้ฟัง สังขารธรรมก็คือสภาพธรรมที่มีการปรุงแต่ง

    ท่านอาจารย์ แล้วได้แก่ปรมัตถ์อะไร

    ผู้ฟัง ได้แก่รูปปรมัตถ์นะ จิตปรมัตถ์ เจตสิกปรมัตถ์ครับ

    ท่านอาจารย์ แล้วนิพพานเป็นสังขารธรรม หรือปล่าว

    ผู้ฟัง ไม่ใช่ครับ

    ท่านอาจารย์ นิพพานเป็นอะไร

    ผู้ฟัง เป็นวิสังขารธรรม

    ท่านอาจารย์ ถ้าไม่ใช้คำสังขารธรรม หรือวิสังขารธรรม จะใช้คำอื่นได้ไหม

    ผู้ฟัง ใช้คำว่าอสัขตธรรม หรือว่าสังขตธรรม

    ท่านอาจารย์ สังขตธรรมคืออะไร

    ผู้ฟัง ก็คือสังขารธรรม

    ท่านอาจารย์ สภาพธรรมที่เกิดแล้ว เพราะมีปัจจัยปรุงแต่ง

    ผู้ฟัง สังขารธรรมอย่างที่เรียนให้ท่านอาจารย์ทราบ ทีนี้ก็คงหมดแล้วครับ หมดแล้วนะครับ ทีนี้เข้ามาพูดถึงเรื่องขันธ์ ๕ นะครับ ขันธ์ ๕ ก็มี

    ท่านอาจารย์ แล้วทำไมต้องพูดเรื่องขันธ์ ๕ ด้วยละคะ เมื่อกี้นี้เราพูดเรื่องปรมัตถ์ธรรม และสังขารธรรม แล้วทำไมต้องพูดถึงขันธ์ ๕

    ผู้ฟัง เพื่อที่จะได้เข้าใจ เข้าใจมากยิ่งขึ้น ให้ละเอียดขึ้นครับ

    ท่านอาจารย์ ว่าอะไร จะมีเหตุผลอะไรไหมคะว่า ทำไมเมื่อทรงแสดงเรื่องของปรมัตถธรรมซึ่งมีจิต เจตสิก รูป และแสดงว่าในปรมัตถ์ธรรม ๔ สภาพธรรมใดเป็นสังขารธรรม สภาพธรรมใดเป็นวิสังขารธรรม แล้วทำไมยังแสดงเรื่องขันธ์ ๕ อีก

    ผู้ฟัง เพื่อเกิดความเข้าใจโดยนัยต่างๆ กันครับ ว่าเราสามารถที่จะเข้าใจได้ในลักษณะปรมัตถ์ธรรม หรือว่าขันธ์ ๕ อย่างใดอย่างหนึ่ง ก็ได้ครับ แล้วแต่

    ท่านอาจารย์ ที่จริงแล้ว เป็นการแสดงจำแนกออกไปเห็นความยึดมั่นที่ใช้คำว่าอุปาทานขันธ์แสดงให้เห็นว่า ทั้งๆ ที่ จิต เจตสิกเป็นนามธรรม และรูป เป็นรูปธรรม ความยึดมั่นของเราใน จิต เจตสิก ได้ออกมาในลักษณะใดบ้าง เพราะฉะนั้นก็จำแนกออกเป็นขันธ์ ๕ หรืออุปานขันธ์ ๕ คือขันธ์ซึ่งเป็นที่ตั้งของความยึดมั่น

    ผู้ฟัง ขันธ์ ๕ ประกอบด้วยรูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ แล้วก็วิญญาณขันธ์ ครับ

    ท่านอาจารย์ ที่จริงไม่อยากจะให้ใช้คำว่า ประกอบ ด้วยนะคะ เหมือนกับว่ามันต้องไปด้วยกันหมดทั้ง ๕ ขันธ์ ที่จริงแยกกันค่ะ หมายความว่าขันธ์ ๕ ได้แก่ รูปขันธ์๑ เวทนาขันธ์๑ สัญญาขันธ์๑ สังขารขันธ์๑ วิญญานขันธ์๑ แล้วทำไมจึงแยกเป็นรูปขันธ์

    ผู้ฟัง เพราะว่ารูปขันธ์นี้ เป็นสภาพธรรมที่ไม่รู้อะไร ไม่ใช่สภาพรู้ ไม่ใช่ธาตุรู้ ส่วนเวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ เป็นสภาพนามธรรมเป็นสภาพรู้ สภาพที่รู้อารมณ์ วิญญาณขันธ์ นี่คือจิต

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นขันธ์ ๕ ได้แก่ปรมัตถธรรมเท่าไหร่

    ผู้ฟัง ขันธ์ ๕ ได้แก่ ปรมัตถ์ธรรม ๓ คือ จิตปรมัตถ์ เจตสิกปรมัตถ์

    ท่านอาจารย์ อะไรเป็นอะไร

    ผู้ฟัง รูปปรมัตถ์เป็นรูปขันธ์ จิตปรมัตถ์ คือวิญญาณขันธ์ เจตสิกปรมัตถ์ คือเวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ และสังขารขันธ์

    อ.นิภัทร ถ้าพูดถึงว่าขันธ์ ๕ เฉยๆ กับอุปาทานขันธ์ ๕ นี่ต่างกันยังไง พูดคำว่าขันธ์เฉยๆ รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ กับพูดว่า รูปูปาทานขันธ์เวทนูปาทานขันธ์ สัญญูปาทานขันธ์ สังขารรูปาทานขันธ์ วิญาญูปาทานขันธ์ เนี่ยมันต่างกันยังไง

    ผู้ฟัง ถ้าขันธ์ ๕ ก็จะรวมกันทั้งหมด สภาพธรรมทั้งหมดแต่ถ้าพูดเป็นอย่างๆ ชื่อว่าเป็นรูปขันธ์ อะไรอย่างนั้น ใช่ไหมครับ

    อ.นิภัทร ไม่ๆ คือผมถามว่า ขันธ์ ๕ ล้วนๆ ไม่มีคำว่าอุปาทานมาบวกด้วย กับขันธ์ ๕ ที่มีอุปทานมาบวกด้วย มันต่างกันยังไง คือมันมีคำว่ารูปูปาทานขันธ์หมายความว่ารูปขันธ์กับอุปาทานมาบวกกัน เป็นแปลว่ายึดถือรูป ยึดถือเวทนา ยึดถือสัญญา ยึดถือสังขาร ยึดถือวิญญาณ ว่าเป็นเรา เป็นตัวตนของเรา เป็นขันธ์ ๕ ที่มีอุปาทานเข้ามาด้วย ส่วนขันธ์ ๕ เฉยๆ นะก็รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ มันเหมือนกันไหม ผมถามอย่างนั้น ขันธ์ ๕ ล้วนๆ กับขันธ์ ๕ ที่มีอุปทานเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย ต่างกัน หรือเหมือนกันอย่างไร

    ผู้ฟัง ถ้าเป็นอุปาทานขันธ์เข้ามาคล้ายๆ ว่าเราก็ยังยึดมั่นถือมั่นว่าเป็นตัวตนแต่ถ้าแสดงถึงขันธ์ก็เพื่อให้รู้ว่าสภาพธรรมก็มีแต่ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญานตามความเข้าใจของผม

    อ.นิภัทร ถ้าขันธ์เฉยๆ ยังไม่มีอุปาทาน

    ผู้ฟัง ถ้าขันธ์เฉยๆ ยังไม่มีอุปาทาน

    ท่านอาจารย์ จริงๆ แล้วนะคะ เราต้องเข้าใจสภาพธรรม ว่าอุปาทานขันธ์นั้นส่วน หนึ่งจริงๆ ธรรมดารูปขันธ์ก็คือรูปขันธ์ แต่เวลาที่เรามีความยึดมั่น ติดพอใจในรูปนั้น รูปนั้นเป็นรูป ที่เป็นที่ตั้งของความยินดีพอใจ เพราะธรรมดารูปก็คือรูป แต่ทีนี้ความยินดีพอใจนั้นเป็นไปในรูป เพราะฉะนั้นรูปซึ่งเป็นที่ตั้งของความยินดีพอใจนั่นก็คือรูปูปาทานขันธ์มีคำว่ารูปกับอุปทาน ขันธ์ซึ่งเป็นที่ตั้งที่ยึดถือของความติด เท่านั้นเองแสดงให้เห็นว่าทำไมทั้ง ๕ ขันธ์นี้ค่ะมีอุปทานเข้าไปด้วย รูปูปาทานขันธ์ เวทนูปาทานขันธ์ สัญญูปาทานขันธ์ สังขารูปาทานขันธ์ วิญญาณูปาทานขันธ์ เพราะเหตุว่าความยึดติดมั่น ยึดติดมั่นในทั้ง ๕ ขันธ์ ไม่ได้ขาดไปจากขันธ์หนึ่งขันธ์ใดเลย แต่เวลาที่ไม่ได้พูดถึงความยึดมั่น พูดเฉพาะขันธ์เฉยๆ ขันธ์นั่นก็คือขันธ์เท่านั้นเอง รูปขันธ์ก็เป็นรูปขันธ์ ใครจะติดใครจะยึดมั่น หรือไม่ยึดมั่นรูปขันธ์ก็เป็นรูปขันธ์

    แต่รูปขันธ์ใดเป็นที่ตั้งของความยินดีพอใจ รูปขันธ์นั้นก็เป็นรูปูปาทานขันธ์ คือเป็นรูปขันธ์ซึ่งเป็นที่ยินดีพอใจ อีกอย่างหนึ่ง ร่างกายของเราตั้งแต่ศีรษะตลอดเท้านะคะ เป็นอุปาทานขันธ์ หรือว่าเป็นขันธ์เฉยๆ

    ผู้ฟัง ร่างกายตลอดเท้าก็เป็นเป็นรูปขันธ์เฉยๆ ครับ

    ท่านอาจารย์ ไม่ติดเลย หรือค่ะ ไม่มีความยินดีพอใจ หรือคะ ในรูปขันธ์ไม่มีความยึดมั่นเลย หรือค่ะ

    อ.นิภัทร มีความยึดมั่น

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นเป็นรูปูปาทานขันธ์ รูปขันธ์คือรูปขันธ์ แต่ว่ารูปขันธ์นี้เป็นที่ตั้งของความยินดีหนึ่ง และยังเป็นรูปซึ่งเกิดจากความยินดีพอใจด้วย เพราะฉะนั้นมีความหมาย ๒ อย่าง คำว่าอุปาทานขันธ์หมายความว่า อย่างรูปขันธ์ก็คือรูปซึ่งเป็นที่ตั้งของความยินดีอย่างหนึ่ง แล้วก็เป็นรูปซึ่งเกิดเพราะความยินดีติดข้องเพราะอุปาทานอีกอย่างหนึ่ง

    ผู้ฟัง ครับก็แล้วแต่ แล้วแต่จะยึดมั่น หรือไม่ยึดมั่นใช่ไหมครับท่านอาจารย์

    ท่านอาจารย์ ขันธ์ก็คือขันธ์คือสภาพธรรมซึ่งเกิดดับ เมื่อรูปก็เป็นสภาพที่เกิดดับ เพราะฉะนั้นรูปก็เป็นรูปขันธ์ เวทนาก็เป็นสภาพที่เกิดดับอะไรก็ตามซึ่งเกิดดับ และเป็นขันธ์ทั้งนั้น แต่ที่แยกจิตเจตสิกรูปเป็นขันธ์ ๕ เพราะเหตุว่าแต่ละขันธ์ ใน ๕ ขันธ์นี่คะเป็นที่ตั้งของความยินดีพอใจทั้งนั้น

    ผู้ฟัง ถ้ายังเป็นมนุษย์ปุถุชนนี้ก็ยังถือว่าอยู่ในความยินดีพอใจ

    ท่านอาจารย์ แล้วก็มี ๒ ความหมาย คือความหมายหนึ่ง ขันธ์นี้เกิดจากความยึดถือเพราะเหตุว่าถ้าเราไม่มีความยึดมั่นคือไม่มีอุปาทานเราไม่มีการเกิดมาเลย แต่เพราะเหตุว่าเรามีความยึดมั่นในภพในชาติมีการเกิดมา

    เพราะฉะนั้น รูปซึ่งเกิดเพราะความยินดียึดมั่นก็เป็นรูปูปาทานขันธ์ แล้วเมื่อเกิดมาแล้ว ก็ยังเป็นที่ตั้งของความยินดียึดมั่นด้วย ก็แยกไปแต่ไม่มีความสำคัญในเรื่องชื่อเพราะเหตุว่าถ้าเราเข้าใจสภาพธรรม แล้วเราจะไม่ลืมก็อยู่ที่ตัวเราจริงๆ ทุกวันนี้คะ ทีนี้เรื่องปรมัตถ์ธรรม ๔ เราก็คงจะพูดถึงเฉพาะเรื่องของ จิต เจตสิก รูป ซึ่งเป็นสังขารธรรมเพราะว่าเรื่องของนิพพานก็เป็นเรื่องที่ว่า ถ้าตราบใดที่ยังไม่รู้เรื่องของ จิต เจตสิกรูป แล้วก็คงจะไม่ต้องกล่าวถึง

    ที่นี้คุณประทีปจะให้คำอธิบายสั้นๆ ทบทวน จิต เจตสิก รูปหน่อยนึงไหมคะก่อนที่เราจะไปเรื่องอื่น

    ผู้ฟัง จิตก็คือเป็นสภาพที่รู้อารมณ์นะครับ จิตเป็นใหญ่เป็นประธานมีสภาพรู้อารมณ์เพียงอย่างเดียวนะครับ แล้วก็ผมก็ต่อท้ายนิด ก็คือเท่าที่จำได้อารมณ์ก็คือสิ่งที่จิตรู้ อันนี้เรามาพูดถึงเจตสิก เจตสิกนั้นก็เป็นสภาพรู้ที่เกิดขึ้นพร้อมกับจิต ดับพร้อมกับจิต รู้อารมณ์เดียวกับจิต แล้วก็ปรุงแต่ง จำสัญญาหมายแล้วก็ปรุงแต่ง นี่คือ จิตเจตสิก ส่วนรูปนั้นก็คือเป็นสภาพที่ไม่รู้อารมณ์อะไร เป็นสภาพที่ที่ไม่ใช่ธาตุรู้ไม่ใช่สภาพรู้ เท่าที่จำได้ครับ

    ท่านอาจารย์ การฟังพระธรรมนี่ทุกคำที่ใช้ขอให้เข้าใจเราอย่าข้ามค่ะ อย่าคิดว่านี่เราเข้าใจแล้ว เพราะฉะนั้นถ้าใช้คำว่าวิบาก หรือกุศล หรืออกุศล หรือกิริยา ไม่เข้าใจคำไหน

    ผู้ฟัง คือกุศลกับอกุศลนี่เข้าใจว่าเวลาจิตเรานี่ถ้าคิดอะไรดี หรือไม่ดี เราก็ทราบใช่มั้ยคะ อันนี้คือสภาพของจิตของเรา

    ท่านอาจารย์ แยกกุศล อกุศล วิบาก กริยา สิคะ ว่าใน ๔ อย่างนี่ไม่เข้าใจคำไหน ไม่เข้าใจวิบากกับกิริยา เข้าใจกุศลกับอกุศลแล้วนะคะ ยกตัวอย่างกุศลกับอกุศล

    ผู้ฟัง ถ้าสมมติว่าเราได้เห็นอะไรซึ่ง เราพอใจ เรารู้สึกใจสบายนะคะ เรารู้ว่าจิตเป็นกุศลค่ะ

    ท่านอาจารย์ ผิดค่ะ

    ผู้ฟัง งั้นขอให้อาจารย์ช่วยกรุณานะคะ

    ท่านอาจารย์ แสดงให้เห็นว่าได้ยินได้ฟังอะไรมานี่นะคะ อย่าเพิ่งคิดว่าเราเข้าใจแล้วค่ะ กุศลแปลว่าสภาพจิตที่ดีงาม ไม่ติดข้อง เพราะฉะนั้นต้องเป็นไปในเรื่องของสภาพที่ไม่มีโลภะ โทสะ โมหะ ขณะที่เราให้ทาน สละได้ สิ่งนั้นเพื่อประโยชน์ของคนอื่นไม่ไช่ขณะที่เรากำลังสนุกสนานหัวเราะชอบใจ นี่ต่างกันแล้วใช่ไหมคะ

    เพราะฉะนั้นเวลาที่เราฟังธรรม แม้แต่เรื่องคำว่าชาติ หรือชา-ติ เราก็ต้องเข้าใจ กุศลเราก็ต้องเข้าใจ อกุศลเราก็ต้องเข้าใจ วิบากก็ต้องเข้าใจ กิริยาก็ต้องเข้าใจ อย่าไปคิดว่าเข้าใจ กุศล อกุศล แต่ไม่เข้าใจวิบากกับกิริยา คำว่ากุศลคงจะไม่ต้องใช้ภาษาบาลี เรียบเรียงมาเพราะว่าจริงๆ แล้วในตำราทั้งหลาย เรียกว่าในหนังสือมีก็ให้ทราบว่าเป็นสภาพของจิตที่ดีงาม กุศลต้องเป็นสภาพธรรมที่เป็นนามธรรมที่เป็นปรมัตถ์ธรรมคือจิต และเจตสิก เข้าใจปรมัตถ์ธรรมแล้วใช่ไหมคะ คราวที่แล้วมาฟัง หรือเปล่าคะ

    ผู้ฟัง ไม่เคยมาฟังที่นี่

    ท่านอาจารย์ ไม่เคยมาฟัง ฟังที่ไหนคะ

    ผู้ฟัง คือส่วนใหญ่แล้วจะฟังเทป ฟังเทปของอาจารย์ และอาจารย์อื่นๆ นะคะ แล้วก็ตอนนี้ก็เริ่มไปฟังที่วัดบวรกับอาจารย์สักครั้ง หรือสองครั้งค่ะ จริงๆ แล้วทางอภิธรรมนี่ไม่รู้เรื่องเลยค่ะ

    ผู้ฟัง อาจารย์คะ ในเมื่อจิตมี ๔ ชาติ กุศล อกุศล วิบาก กิริยา และเจตสิก ๕๒ ดวง จะมีชาติบ้างไหมคะ

    ท่านอาจารย์ เพราะเหตุว่าจิต เจตสิก ต้องเกิดด้วยกันดับพร้อมกันรู้อารมณ์เดียวกัน เพราะฉะนั้นถ้าพูดถึงชาติคือความเกิดขึ้นซึ่งเป็นกุศล๑ อกุศล๑ วิบาก๑ กิริยา๑ หมายความถึงทั้งจิต และเจตสิก เจตสิกก็มีชาติเดียวกับจิตที่เกิดด้วยกัน ถ้าจิตเกิดขึ้นเป็นอกุศล เจตสิกที่เกิดร่วมด้วยก็เป็นอกุศล

    ผู้ฟัง แล้วเจตสิก ๕๒ ดวงนี้นะคะ ดวงไหนเป็นอกุศลนะคะ ๕๒ ดวง ใช่โลภะ อกุศลจิตมี ๑๒ ดวง อกุศลเจตสิก ๑๔ นะคะ

    ท่านอาจารย์ เราพูดให้ตรงว่าอกุศลเจตสิก ๑๔ และถ้าอกุศลจิตเท่าไหร่

    ผู้ฟัง ๑๒ ค่ะ ก็เป็นอกุศลชาติ ใช่ไหมคะแล้วก็อัปมัญญาเจตสิก ๑๓ ดวง นี่คือชาติอะไร

    ท่านอาจารย์ อย่าไปพูดถึงเลยจำนวน กำลังนี้พูดถึงเรื่องชาติของจิตก่อน และเจตสิกนะคะ ให้เข้าใจเรื่อง ๔ ชาติให้ชัดๆ เลย ถ้าถามคุณสุพรรณีว่ากุศลได้แก่อะไร

    ผู้ฟัง กุศลก็คือสิ่งที่ดี

    ท่านอาจารย์ ได้แก่อะไรคะ

    ผู้ฟัง ได้แก่จิต และเจตสิก

    ท่านอาจารย์ ได้แก่จิต และเจตสิก อกุศลได้แก่อะไรคะ

    ผู้ฟัง อกุศลก็ จิต และเจตสิก ใช่ไหมคะ มันเกิดร่วมกัน

    ท่านอาจารย์ วิบากได้แก่อะไร

    ผู้ฟัง ก็จิต เจตสิก

    ท่านอาจารย์ กิริยาได้แก่อะไร

    ผู้ฟัง ก็เหมือนกัน

    ท่านอาจารย์ อันนี้ถูกต้อง และต้องไม่ลืมด้วย ถ้าจิตไม่เป็นกุศล จิตเป็นอะไร

    ผู้ฟัง จิตไม่เป็นกุศล ก็เป็นอกุศล ถ้าไม่ใช่อกุศลก็เป็นอุเบกขา ก็เป็นอกุศลใช่ไหมคะ

    ท่านอาจารย์ เอาใหม่นะคะ ถ้าจิตไม่เป็นอกุศล จิตเป็นอะไรคะ จิตที่เกิดขึ้นนี่ ถ้าไม่เป็นอกุศล

    ผู้ฟัง วิบากได้ไหมคะ

    ท่านอาจารย์ ได้ทั้งนั้นจะเป็นกุศล หรือเป็นวิบาก หรือเป็นกริยาก็ได้ค่ะเพราะว่าต้องเป็นอย่างหนึ่ง อย่างใดใน ๔ ค่ะ

    ผู้ฟัง ค่ะ อ่อ ค่ะๆ


    ฟังธรรมจากหัวข้อย่อย

    หมายเลข 10
    5 ม.ค. 2567

    ซีดีแนะนำ