สนทนาธรรม ตอนที่ 014


    ตอนที่ ๑๔

    สนทนาธรรมที่หมู่บ้านเมืองทองนิเวศน์ ๑

    พ.ศ. ๒๕๓๘


    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นทางมโนทวารเกิดต่อจากทางปันจทวารทำให้มีโลกของความคิดนึกต่างๆ ขึ้นนี่เป็นสิ่งซึ่งเป็นชีวิตประจำวันที่เราเห็นได้ว่าทางตามีปรมัตถธรรมเป็นอารมณ์ทางหูมีปรมัตถธรรมเป็นอารมณ์แล้วหลังจากนั้นก็เป็นเรื่องของมโนทวารที่จะคิดจะเป็นคำ หรือไม่เป็นคำก็คือคิด แล้วก็ไม่จำกัดเชื้อชาติด้วยชาติไหนเห็นแล้วก็เหมือนกันคือต้องคิด ดูทีวีภาษาไหนก็ได้เข้าใจไม่เข้าใจก็ตามทันทีที่ตาเห็นแล้วทุกคนที่หลังจากเห็นแล้วต้องคิด คิดต่างกันก็ได้ ธรรมที่สนทนาก็เพื่อความเข้าใจของทุกคนจริงๆ แล้วก็ต้องมีการทดสอบด้วยว่าที่ได้ฟังไปแล้วเนี่ยเข้าใจแค่ไหน เพราะไม่งั้นก็พูดพูดไปแล้วก็ไม่ทราบว่าฟังๆ กันไปเข้าใจได้แค่ไหนแล้ว

    เพราะฉะนั้น ทางทดสอบก็คือคำถาม การศึกษาธรรมจริงๆ แล้วคือการศึกษาสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ ไม่ว่าพระผู้มีพระภาคจะทรงแสดงถึง ๔๕ พรรษาโดยนัยต่างๆ จะใช้คำว่าธรรมปรมัตธรรมอริยสัจธรรมปฏิจจสมุปบาท ขันธ์ ๕ อายตนะ หรืออะไรก็ตามให้ทราบว่าทรงแสดงเรื่องของสภาพธรรมที่กำลังมีจริงๆ ในขณะนี้ที่กำลังปรากฏ เป็นสิ่งที่เราจะต้องเข้าใจไม่ใช่ว่าเราไปเรียนชื่อตามตำราเยอะแยะแต่ไม่รู้ว่าธรรมคืออะไร แล้วก็อยู่ที่ไหน แล้วฉะนั้นคำถามเนี่ยก็จะถาม ไม่ว่าจะกี่ครั้งก็ตามก็จะต้องเป็นเรื่องของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏแล้วก็ส่วนการที่จะขยายความต่อไปก็เพื่อที่จะทำให้เข้าใจลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏในขณะนี้นั่นเองเพราะนี่เป็นความจริงที่สุดสิ่งที่ผ่านมาแล้วหมดไปแล้วไม่มีใครพิสูจน์ได้ แต่สิ่งที่ยังไม่เกิดขึ้นก็ไม่มีใครรู้ว่าสิ่งที่จะเกิดขึ้นข้างหน้าเนี่ยคือ อะไรทั้งๆ ที่ก็มีตามีหูมีจมูกมีลิ้นมีกายมีใจแต่ก็ไม่ทราบว่าข้างหน้าคือเห็นขณะต่อไปจะได้ยิน หรือว่าจะคิดนึกเรื่องอะไรเพราะเหตุว่ายังเป็นสิ่งที่มาไม่ถึง เพราะฉะนั้นก่อนอื่นให้ทราบว่า ๔๕ พรรษาแล้วเราจะพูดกันไปอีกกี่เดือนกี่ปีก็ตามแต่ ก็ไม่พ้นความเข้าใจเรื่องของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ คือสิ่งที่มีจริงๆ ไม่เรียกอะไรเลยได้ไหม

    ผู้ฟัง ได้

    ท่านอาจารย์ เพราะเหตุว่ามีจริงๆ

    ผู้ฟัง มีจริง

    ท่านอาจารย์ แต่ทำไมต้องเรียก

    ผู้ฟัง เพื่อเป็นการสื่อความหมายให้รู้ว่าสิ่งๆ นั้นมีจริงถ้าหากว่าเราไม่ใช้คำๆ นี้แล้วเราจะอธิบายให้ใครทราบว่าสภาพธรรมที่มีจริงนั้นมีลักษณะอย่างไรมีสภาพอย่างไร

    ท่านอาจารย์ แล้วสิ่งที่มีจริงเนี่ยต่อไปเราจะเห็นว่าใช้คำเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เพื่ออะไรเพื่อให้เราเข้าใจจริงๆ ละเอียดขึ้นในสภาพที่ไม่ใช่ตัวตน เพราะฉะนั้นเพียงแต่พูดว่าธรรมคำเดียว หรือว่าสิ่งที่มีจริงคำเดียวทั้งๆ ที่สิ่งนี้กำลังปรากฏก็ไม่ได้ละคลายการยึดถือสภาพธรรมว่าเป็นตัวตนได้เลย ต้องอาศัยพระธรรมเทศนาในเรื่องของสิ่งที่ปรากฏละเอียดขึ้นละเอียดขึ้นละเอียดขึ้น เพราะฉะนั้นเราจะค่อยๆ เพิ่มคำที่จะอธิบายความหมายของสิ่งที่มีจริงๆ อย่างที่ว่าสิ่งที่มีจริงไม่เรียกอะไรเลยได้ไหม ได้เพราะเหตุว่าแม้ไม่เรียกสภาพธรรมนั้นก็เป็นอย่างนั้นใครจะเปลี่ยนชื่อสภาพธรรมนั้นก็ยังคงเป็นอย่างนั้น อย่างเห็นจะใช้คำว่าเห็น หรือจะใช้คำอะไรก็ตามสภาพธรรมนี้เกิดขึ้น แล้วทำกิจเห็น ซึ่งดูเหมือนเป็นของตื่นก็ทำคิดเห็นมาตั้งแต่เกิดจนตายแล้วต่อไปก็จะต้องทำกิจเห็นอีกทำไมเราต้องพูดเรื่องนี้เพื่อที่จะให้รู้ว่าลักษณะจริงๆ ของสิ่งที่กำลังเห็นเนี่ยไม่ใช่ตัวตนอย่างไรเพราะเหตุว่าถ้าเป็นคนที่ไม่มีปัญญารู้ไม่ได้เลยเป็นเราหมดนั้นคือคนที่ไม่มีปัญญา แต่คนที่มีปัญญาคือคนที่ค่อยๆ เริ่มเข้าใจถูกในสิ่งที่มีจริงทุกๆ ขณะ เพราะฉะนั้นปรมัตถธรรมสิ่งที่มีจริงเนี่ยเป็นธรรมแล้วเป็นปรมัตถธรรมเพราะเหตุว่าไม่มีใครสามารถที่จะเปลี่ยนลักษณะสภาพธรรมนั้นได้เลย แต่การที่เราต้องใช้คำเพื่อที่จะให้เข้าใจคำที่เราใช้ คือบัญญัติจะเป็นภาษาอะไรได้หมดเพื่อให้เข้าใจสิ่งที่มีจริงๆ นั้น

    เพราะฉะนั้น เราก็จะทราบได้ว่าโลกที่เราเกิดมาแล้วก็ก่อนฟังธรรมเราอยู่ในโลกของ สมมติบัญญัติทั้งหมดเลยเพราะเหตุว่าแม้ว่าปรมัตถธรรมมีเกิดทำกิจหน้าที่ตั้งแต่เกิดจนตายคือทำกิจเห็นบ้างทำกิจได้ยินบ้างได้กลิ่นบ้างลิ้มรสบ้างกระทบสัมผัสบ้างคิดนึกบ้างก็ไม่รู้ความจริงว่านั่นคือกิจหน้าที่ของปรมัตถธรรมเป็นเราทั้งหมด เพราะฉะนั้นขณะใดก็ตามที่ไม่รู้เรื่องของปรมัตแม้ว่าสภาพธรรมที่เป็นปรมัตมีขณะนั้นก็เป็นโลกของบัญญัติ เพราะฉะนั้นให้ทราบว่าขณะใดที่ไม่รู้ลักษณะของปรมัตถธรรมขณะนั้นมีบัญญัติเป็นอารมณ์คือคิดนึกเรื่องของสิ่งที่มีทั้งนั้น ไม่ทราบตอนนี้มีข้อสงสัย ไหม

    ผู้ฟัง ปรมัตถธรรมกับสมมติบัญญัติใครๆ ยังไม่เข้าใจ เพราะว่าท่านอาจารย์ได้ๆ พูดรู้สึกว่าก็ชัดเจนดี สติสัมปชัญญะเริ่มแยกออก หรือยังครับว่าในขณะใดที่เป็นสมมติบัญญัติในขณะใดเป็นปรมัตถธรรม

    ท่านอาจารย์ ก็คงจะไม่ต้องแยกถึงขั้นสติเอาขั้นเข้าใจจริงๆ ว่าจริงๆ แล้วว่าถ้าเราจะแยกทางตาที่เห็นยังไม่ทันคิดนึกอะไรเลยทั้งสิ้น เป็นปรมัตถธรรมเพราะเหตุว่าเห็นก็มีจริงๆ สิ่งที่ปรากฏทางตาก็มีจริงก็ได้ปรมัตถธรรมในชีวิตประจำวัน ทางตาคือเห็นกับสิ่งที่ปรากฏ ทางหูคือได้ยินกับเสียง ทางจมูกก็คือกลิ่นกับการรู้กลิ่น ทางลิ้นขณะที่รสปรากฏรสๆ เป็นปรมัตถธรรม และกับภาพที่กำลังลิ้มรสก็เป็นปรมัตธรรม ทางกายที่รู้เย็นบ้างร้อนบ้างอ่อนบ้างแข็งบ้างอ่อนแข็งเย็นร้อนก็เป็นปรมัตถธรรม สภาพรู้ก็เป็นปรมัตถธรรม แต่วันนึงเราไม่ได้มีเพียงเท่านี้พอเห็นปุ๊บแล้วคิดต่อทันที เพราะฉะนั้นให้ทราบว่าขนาดใดที่ไม่ใช่ สภาพธรรมที่มีจริงๆ ที่กำลังปรากฏเป็นเรื่องการคิดนึกเรื่องราวต่างๆ เป็นเรื่องของบัญญัติ

    เพราะฉะนั้น เราก็จะแยกโลกออกได้ว่าเราอยู่ในโลกของปรมัตถ์กับในโลกของบัญญัติเมื่อไหร่ คือกำลังเห็นเป็นปรมัตคิดนึกเรื่องราวต่างๆ เป็นบัญญัติไม่ว่าจะคิดในเรื่องอะไรก็ตามทั้งสิ้นก็เป็นบัญญัติ ถ้าขณะนั้นไม่ได้มีปรมัตถธรรมเป็นอารมณ์ แยกได้ใช่ไหมคะระหว่างปรมัตกับบัญญัติเพราะถ้ายังแยกไม่ได้เรียนต่อไปก็ไม่มีประโยชน์อะไร แต่ว่าเราเรียนเพื่อที่จะให้เข้าใจสภาพปรมัตแท้ๆ ว่าทางตาเห็นกับสิ่งที่ปรากฏเป็นปรมัต ไม่ต้องเรียกชื่อก็เกิดขึ้นทำกิจการงานสิ่งที่ปรากฏก็ต้องปรากฏทางหูได้ยินกับเสียงเป็นปรมัตทางจมูกการได้กลิ่นกับกลิ่นเป็นปรมัตทางลิ้นรสกับสภาพที่ลิ้มรสเป็นปรมัตทางกายขณะที่กระทบสัมผัสเป็นปรมัตส่วนการคิดนึกเป็นของที่มีจริงเป็นจิตที่คิดโต๊ะเก้าอี้คิดไม่ได้เลย เพราะฉะนั้นเราทราบว่าปรมัตถธรรมขณะที่คิดก็เป็นปรมัตถธรรมแต่คิดเรื่องราวต่างๆ ของสิ่งที่ปรากฏ ขณะที่คิดเรื่องราวต่างๆ เป็นบัญญัติแต่จิตที่คิดเป็นปรมัต เพราะฉะนั้นโต๊ะเก้าอี้ หรือรูปเนี่ยจะรู้บัญญัติได้ไหม

    ผู้ฟัง ถ้าเป็นโต๊ะเก้าอี้คงรู้บัญญัติไม่ได้ เพราะฉะนั้นเราก็จะเริ่มเข้าใจแล้วนะ ว่า ในสภาพของนามธรรม และรูปธรรมนั้นมีสภาพ หรือลักษณะเป็นยังไงหากตามที่ท่านอาจารย์ได้แสดงไว้นะครับ ถ้าเรายังไม่เข้าใจในเรื่องเหล่านี้แล้วนะครับ อย่างที่ท่านอาจารย์ได้แสดงไว้ว่าเราจะปันธรรมต่อไปเข้าใจได้อย่างไรในเมื่อเบื้องต้นยังไม่เข้าใจสภาพธรรมที่เป็นนามธรรม และรูปธรรมแล้วเราจะเข้าใจได้อย่างไร

    ท่านอาจารย์ คุณประทีปก็เพิ่มมาอีก คือเพิ่มคำว่านามธรรมกับรูปธรรมเมื่อกี้เรามีคำว่าปรมัตกับบัญญัติตอนนี้คุณประทีปขยายความนามธรรมกับรูปธรรมซึ่งต้องอธิบาย

    ผู้ฟัง รูปธรรมก็คือเป็นสภาพธรรมที่ไม่รับรู้อารมณ์ คือไม่รู้อะไรไม่ว่าจะเป็นอะไรเขาจะไม่รู้ทั้งสิ้น ส่วนนามธรรมนั้นก็คือเป็นปรมัตถธรรมอย่าง หนึ่ง ที่รู้อารมณ์สามารถรับรู้อารมณ์

    ท่านอาจารย์ คุณประทีปก็เพิ่มมาอีก คือเพิ่มคำว่าอารมณ์ ซึ่งก็ต้องอธิบายเมื่อกี้พูดว่าโต๊ะเก้าอี้เนี่ยไม่รู้อารมณ์ เพราะฉะนั้นสิ่งใดที่พูดต้องเข้าใจในสิ่งที่พูด

    ผู้ฟัง อารมณ์คือสิ่งที่จิตรู้แม้แต่จิตเองจิตก็รู้นะกิจของจิตก็เป็นอารมณ์เหมือนกัน อะไรก็ตามที่จิตรู้เราถือว่าสิ่งนั้นคืออารมณ์ อาจจะเป็นปรมัตถอารมณ์ หรือบัญญัติอารมณ์ได้ทั้งสิ้นมันก็มีอยู่สองอารมณ์เท่านั้นคือปรมัตถอารมณ์ และบัญญัติอารมณ์จิตรู้ทุกอย่าง แม้แต่ตัวจิตเองจิตก็รู้ เพราะฉะนั้นอารมณ์ถ้าจะแยกออกได้ก็เป็นสองอย่างคือปรมัตถอารมณ์ และบัญญัติอารมณ์

    อ.สมพร คราวนี้คำว่าอารมณ์ อารมณ์นั่นคือปัจจัยให้จิตเกิดขึ้น ถ้าจิตไม่มีอารมณ์จิตก็เกิดขึ้นไม่ได้ อารัมมณะแปลว่าเป็นที่ยินดีของจิตเจตสิก จิตที่จะเกิดขึ้นได้ต้องมีอารมณ์ ดังนั้นอารมณ์จึงเป็นปัจจัยให้จิตเกิดขึ้น ถ้าไม่มีอารมณ์จิตก็เกิดขึ้นไม่ได้ ต้องมีอารมณ์จิตกับอารมณ์เป็นของคู่กัน แล้วคราวนี้คำว่ายินดี อันนี้ก็หมายความว่าท่านแยกคำจำกัดความว่าเป็นที่ยึดเหนี่ยวของจิตอารมณ์ เป็นที่ยึดเหนี่ยวของจิต เหมือนกับคนแก่ที่ลุกไม่ได้อาศัยไม้เท้าพยุงลุกขึ้นถ้าไม่มีไม้เท้าก็ลุกขึ้นไม่ได้ ก็คือเป็นปัจจัยนั่นเอง แล้วที่คำว่ายินดีเนี่ยส่วนมากท่านเปรียบเทียบเหมือนคนที่ไปเที่ยวในสวนดอกไม้ก็เห็นอะไรก็เป็นยินดีทั้งนั้นทั้งสีทั้งทุกสิ่งทุกอย่างเป็นที่ยินดีทั้ง ๒ อย่างนี้ภาษาไทยนะครับ ก็แปลว่า อารมณ์ อารมณ์หมายถึงว่าเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวของจิตทำให้จิตเกิดขึ้น พูดง่ายๆ ก็ว่าถ้าไม่มีอารมณ์จิตดวงนั้นจะไม่เกิดขึ้น เช่นสีไม่กระทบตาจิตเห็นจะไม่เกิดขึ้น สีนั่นเองเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยให้จิตเกิดขึ้น

    ท่านอาจารย์ คุณประทีปเข้าใจทั้งหมดที่อาจารย์สมพรท่านพูดรึเปล่า

    ผู้ฟัง คิดว่าเข้าใจดีพอสมควร

    ท่านอาจารย์ เพราะคุณประทีปพูดเสมอเสมอว่าจำไม่ได้จำไม่ได้จำคำไม่ได้ก็จะพยายามให้ทุกคนเห็นว่าคุณประทีปจำได้ หรือจำไม่ได้ทุกอาทิตย์เนี่ย ก็พยายามจะทบทวนเพื่อเป็นเครื่องพิสูจน์ว่า การเข้าใจธรรมเนี่ยทำให้เราค่อยๆ จำคำนั้นไปด้วย หรือเปล่าเรียกว่าบอกแต่เพียงว่าเข้าใจ หรือจำอะไรไม่ได้เลยเนี่ยไม่ได้เหมือนคำว่าปรมัตถธรรมถ้าเข้าใจแล้วกับบัญญัติถ้าเข้าใจจริงๆ ๒ คำนี้ต่อหมายความว่าสามารถที่จะรู้ความหมายจริงๆ และไม่ใช่แต่เฉพาะรู้เพียงความหมายของชื่อยังรู้ขณะใด ที่เป็นปรมัตถ์ และขณะใดจิตเป็นบัญญัติด้วย เพราะฉะนั้นการที่เราศึกษาธรรม และเราจะไม่เผินหมายความว่าต้องเข้าใจจริงๆ คำที่ใช้ต้องไตร่ตรองไม่ใช่ว่าจำไม่ได้แต่ไม่ได้ลืมไปแต่เข้าใจแต่ต้องพิจารณาแล้วพิจารณาเล่าจนกระทั่ง ไม่มีความสงสัยเลยว่าบัญญัติคืออะไรปรมัตถธรรมคืออะไรซึ่งคุณพี่ก็บอกว่าเมื่อกี้ฟังอาจารย์สมพรแล้วเข้าใจอาจารย์ก็พูดตั้งหลายอย่างซึ่งหน้าซักถามผู้ที่เข้าใจ ให้เข้าใจขึ้นให้ไม่ลืมว่าทำไมจิตต้องมีอารมณ์

    ผู้ฟัง เพราะว่าจิตเป็นสภาพที่รับรู้อารมณ์ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้นมาจิตจะรู้ทั้งหมด

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นจิตเมื่อเป็นสภาพรู้ก็ต้องมีสิ่งที่ถูกรู้จะมีสภาพรู้เกิดขึ้นโดยไม่มีสิ่งที่ถูกรู้ไม่ได้เลย เพราะฉะนั้นเมื่อมีจิตก็ต้องมีอารมณ์คือสิ่งที่จิตรู้เพราะฉันอารมณ์ในภาษาไทยต่างกับภาษาบาลียังไง เพราะว่าถ้าคุณประทีปจะไปบอกคนอื่นซึ่งเขาไม่ได้ศึกษาธรรม ว่าอารมณ์คือสิ่งที่จิตรู้ไม่มีทางที่เขาจะเข้าใจได้เลย บางคนที่เข้าใจแล้วก็อาจจะคิดว่าน่าเบื่อ หรือเปล่าไม่ทราบที่เราก็ซ้ำไปซ้ำมาแต่ความจริงแม้ไม่ใช่สิ่งที่เบื่อค่ะแต่เป็นสิ่งที่เราจะเข้าใจสิ่งที่กำลังปรากฏขึ้นโดยที่ว่าเมื่อเป็นคำอะไรก็ตามที่เราเคยได้ยินได้ฟังมาในภาษาไทยแต่พอถึงภาษาบาลีเราต้องเปลี่ยนแล้วต้องเข้าใจให้ถูกต้องว่า อารมณ์หมายความถึงสิ่งที่จิตรู้นี่คือคำจำกัดความตายตัวเพราะเหตุว่าจิตเป็นสภาพรู้ถ้าคุณประทีปจะแถมคำว่าปัจจัยเพราะว่าได้ยินคำนี้ก็ต้องรู้ทุกคำที่ได้ยินปัจจัยคืออะไร

    ผู้ฟัง คำว่าปัจจัยก็หมายถึงว่าสิ่งที่อุปการะให้สิ่งนั้นเกิดขึ้น คราวนี้คำว่าอารมณ์มันมี ๒ อย่างที่เป็นรูปก็มีเป็นนามก็มี คำว่าอารมณ์กับจิตเมื่อเราแยกจากกันได้แล้วเราก็เข้าใจเรื่องอารมณ์ให้ชัดเจนหมายความว่าอารมณ์นั้นเป็นทั้งรูปทั้งนาม รูปเป็นอารมณ์ก็ได้นามเป็นอารมณ์ก็ได้แต่ว่าจิตนั้นเป็นนามอย่างเดียวเป็นผู้รู้อารมณ์ จิตที่รู้อารมณ์นั้น แหละกลับมาเป็นอารมณ์ได้เหมือนกันเพราะจิตมีลักษณะเพียงอย่างเดียวมีการรู้อารมณ์เป็นลักษณะ ส่วนอารมณ์นั้นก็มากมาย ถึงจะมากอย่างไรก็เป็นของคู่กับจิต เพราะว่าอารมณ์เป็นปัจจัยให้จิตเกิดขึ้น จิตจะเกิดขึ้น ก็เพราะมีอารมณ์

    ท่านอาจารย์ เราได้ยินชื่อธาตุ ๔ บ่อยๆ ใช่ไหมธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลมแต่เฉพาะ ๓ ธาตุนี้เท่านั้นที่ปรากฏเมื่อกระทบกายคือเย็น หรือร้อนเป็นธาตุไฟ ๑ รูป อ่อน หรือแข็งเป็นธาตุดิน ๑ รูปตึง หรือไหวเป็นธาตุลม ๑ รูปรวม ๓ รูปปรากฎที่กาย เพราะฉะนั้นรูปที่ปรากฏทางตาหูจมูกลิ้นกายกี่รูป เรายังไม่รู้รูป ๒๘ ก็ไม่เป็นไรเรารู้ ๗ รูป

    ผู้ฟัง ผมยังสงสัยว่าทำไมอีกธาตุ หนึ่ง ไม่ปรากฏ

    ท่านอาจารย์ อาโปธาตุไม่ใช่ธาตุน้ำอย่างที่เราคิดว่าเราสัมผัสกระทบได้เพราะเห็นว่ากระทบทีไรก็เย็น หรือร้อน หรืออ่อน หรือแข็ง หรือตึง หรือไหว เพราะฉะนั้นธาตุน้ำเป็นธาตุที่ซึมซาบ หรือเกาะกลุ่มรูปที่เกิดร่วมกัน เพราะฉะนั้นจึงไม่ปรากฏเมื่อกระทบกายเพราะกระทบขณะใดก็อ่อน หรือแข็งเย็น หรือร้อนตึง หรือไหว เพราะฉะนั้นถึงแม้ว่ารูปจะมีเท่าไรก็ตามแต่ว่าที่ปรากฏจริงๆ ทางตาหูจมูกลิ้นกาย ๗ รูป

    ผู้ฟัง อันนี้เข้าใจ

    ท่านอาจารย์ เป็นขันธ์อะไร

    ผู้ฟัง เป็นรูปขันธ์

    ท่านอาจารย์ รูปขันธ์ที่ปรากฏให้รู้ได้แต่รูปขันธ์จริงๆ มีมากกว่านั้น

    ผู้ฟัง มากกว่า

    ท่านอาจารย์ แต่ที่ปรากฏให้รู้ได้ในชีวิตประจำวันจริงๆ ตลอดก็คือ ๗ รูป

    ผู้ฟัง ๗ รูปเราก็เรียงตามลำดับ รูปที่ ๑ คือสีเรียกว่ารูปารมณ์ ๒ ก็เสียงเรียกสัทธารมณ์ ๓ กลิ่น กลิ่นเป็นอารมณ์เรียกคันฐารมณ์แล้ว ๔ รส รสเนี่ยปรากฏทางลิ้น เป็นอารมณ์เรียกว่ารักษารมณ์ ทางกาย ทางกายเกี่ยวกับการกระทบเรียกว่าโผฏฐัพพะแปลว่ากระทบสิ่งที่จะมากระทบกายมี ๓ อย่าง คือธาตุดินธาตุไฟ ธาตุลมเว้นธาตุน้ำ ที่อาจารย์อธิบายแล้วเว้นธาตุน้ำ จึงเรียกว่าโผฏฐัพพารมณ์ที่มากระทบมี ๓

    ผู้ฟัง ท่านอาจารย์วิสยรูป กับโคจรรูป เหมือนกันรึเปล่า

    ผู้ฟัง วิสยก็แปลว่าอารมณ์ อารมณ์ที่ปรากฏเฉพาะเฉพาะ

    ผู้ฟัง อารมณ์ที่ปรากฏเฉพาะ เฉพาะทางใช่ไหม

    ผู้ฟัง ใช่เฉพาะทางที่ปรากฏ เช่นสีที่ปรากฏทางตาเรียกวิสยแต่คำว่าโคจรเป็นชื่ออารมณ์ทั่วไปทั่วไป คำว่าวิสยก็แปลว่าอารมณ์โคจรก็แปลว่าอารมณ์คำว่าโคจรจึงมีความหมายกว้างแต่ถึงอย่างนั้นก็แปลว่าอารมณ์เหมือนกัน ถ้าแยกจากอีกอัน ๑ มีความหมายอย่างอื่นก็ได้คำว่าโคจรเป็นที่เที่ยวไปของโคเหมือนว่าดุจจะเป็นที่เที่ยวไปของโคคำว่าโคจรแปลว่าเที่ยวไป ดังนั้นคำว่าโคจร ซึ่งเราแปลกันว่าอารมณ์นั้นมีความหมายกว้างอารมณ์ทุกอย่างเป็นโคจรได้

    ผู้ฟัง ทั้งหมดก็ต้องทั้ง ๖ ทั้ง ๖ ทวาร

    ผู้ฟัง หมดเลยนะครับ อารมณ์ต้องมีทั้ง ๖ ทวาร

    ผู้ฟัง ถ้าเป็นวิสย วิสยรูป ๔ หรือ ๗ นี้เฉพาะทางปัจจทวารใช่ หรือป่าว

    ผู้ฟัง วิสยนี่ก็มักจะเรียกทางอารมณ์ทางปัจจทวารโดยเฉพาะ เราจะเรียกโคจรก็ไม่ผิด ส่วนมากในพระสูตรใช้คำว่าโคจร พระอภิธรรมใช้ ๒ อย่าง วิสยกับโคจร แปลว่าอารมณ์

    ท่านอาจารย์ จะระ (จร) แปลว่าไป เที่ยวไป โคก็คือวัว เพราะฉะนั้นโคจรรูปหมายความถึงรูปซึ่งเป็นที่เที่ยวไปของจิตเพราะว่าจริงๆ แล้วไม่ใช่โค

    ผู้ฟัง ไม่ใช่โคจริงๆ ตามที่เราเข้าใจ

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นโคจรรูปคือรูปซึ่งเป็นที่เที่ยวไปของโคคือจิต ครับไม่ค่อยจะได้รูปกับวิสยรูปนี้จำนวนเท่ากันมั้ยคะหมายความว่าถ้าพูดถึงคนจะระคืออารมณ์กว้างแต่ถ้ามีคำว่าคงจะละรูปเนี่ยต้องหมายความถึงวิศวะรูป ๗

    ผู้ฟัง ก็ต้องเท่ากัน

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นวิสยรูป ๗ นั่นเองคือโคจรรูป หรือโคจรรูปก็คือวิสยรูป เพราะฉะนั้นรูปอื่นนอกจากนี้ไม่ใช่โคจรรูปนอกจากนี้อีก ๒๑ รูป

    ผู้ฟัง ท่านไม่เรียกอย่างนั้น

    ท่านอาจารย์ ไม่เรียก เพราะฉะนั้นโคจรรูปหมายเฉพาะรูปที่ปรากฏที่เที่ยวไปทางตาหูจมูกลิ้นกาย ๗ รูป ซึ่งใช้คำว่าโคจรรูปก็ได้จะใช้คำว่าวิสยรูปก็ได้ด้วยเหตุว่าถ้าใช้วิสยรูปก็อย่างที่อาจารย์บอกว่าภาษาบาลีหมายความถึงรู้ได้เฉพาะทางเฉพาะทางลักษณะเฉพาะแต่ละอย่างก็ปรากฏแต่ละทาง

    ผู้ฟัง คือยกตัวอย่างที่ โคเที่ยวไปอารมณ์ที่โคเที่ยวไป

    ท่านอาจารย์ ก็เมื่อกี้นี้นับแล้วนะคุณประทีปนับแล้วที่ว่ารูปารมณ์สิ่งที่ปรากฏทางตา ๑ เป็นที่ท่องเที่ยวไปของจิตเพราะเห็นเรื่อยๆ เสียงที่ปรากฏทางหูก็เป็นที่ท่องเที่ยวไปของจิตเพราะปรากฏให้รู้ได้ทางหู กลิ่นคือคันธารมณ์ปรากฏให้รู้ได้ทางจมูก รสคือรักษารมณ์ปรากฏให้รู้ได้ทางลิ้น โพทับพะ ๓ คือธาตุดินอ่อน หรือแข็งธาตุไฟเย็น หรือร้อนธาตุลมตึง หรือไหว ๓ รูป นี้ปรากฏให้รู้ทางกายตลอด เพราะฉะนั้นรูปที่ปรากฏทางตาหูจมูกลิ้นกายเป็นที่ท่องเที่ยวไปของจิต จิตจะไม่รู้รูปอื่นเลยแม้ว่ามี จิตจะรู้ ๗ รูปเป็นประจำ เพราะฉะนั้นก็เป็นที่ท่องเที่ยวไปของจิตจึงชื่อว่า ๗ รูปนี้เป็นโคจรรูป หรือเป็นวิสยรูปเพราะว่ารู้ได้เฉพาะแต่ละทาง

    ผู้ฟัง ๗ รูปนี้เรียกว่าอะไร

    ท่านอาจารย์ โคจรรูป หรือวิสยรูปถ้าโคจรรูปก็หมายความถึงที่ท่องเที่ยวไปของโคคือจิตถ้าวิสยรูปก็หมายความถึงรูปที่รู้ได้เฉพาะแต่ละทางแต่ละทวาร

    ผู้ฟัง เมื่อถึงขันธ์แต่ผมมาติดใจคำว่าขันธ์ที่คุณนิภัทรพูดถึงแปลว่า สูญได้

    อ.นิภัทร ตามรูปศัพท์จริงๆ มาจากคำว่าขันธ์ (ขํ) รูปบทหน้าถ้าธาตุ ขันธ์แปลว่าว่างเปล่า หรืออากาศธาตุ ขนฺธาคำว่าธาแปลว่าคงไว้ทรงไว้ซึ่งความว่างเปล่า เอาจุดกลมๆ เป็นนเป็นนหนูก็เป็นขันธะ ธา ลบอาออกไปก็เป็นขันธะ ขันธะแปลตามตัวจริงๆ ตามธาตุแปลตามรากศัพท์แปลว่าทรงไว้ซึ่งความว่างเปล่า ซึ่งความสูญ น่ะมันไม่มีอะไรอ่ะทีนี้ถ้าเราจะเอามาใช้ในในสภาวะธรรมเนี่ยมันก็ได้ใช่ไหมอาจารย์ มันก็ได้อย่างรูปเวทนาสัญญาสังขารวิณญาณขันธ์ ๕ เนี่ยสูญจากสัตว์ มันสูญจากสัตว์ จากชีวะ บุคคลจากนิสสัตโต นิชชีโว มันไม่มีสัตว์ไม่มีชีวิตมันเป็นแต่สภาวธรรมแต่ละอย่างๆ คำว่าสูญเนี่ยก็คือ สูญได้ในคำว่าขันธ์ ๕ ก็คงสูญจากความเป็นตัวตนเป็นสัตว์เป็นบุคคลเป็นเราเป็นเขาเป็นแต่สภาวธรรมแต่ละอย่างเท่านั้น

    ผู้ฟัง ทีนี้อาจารย์จะให้ตั้งคำถามเรื่องขันธ์ ๕ กับคุณประทีปคุณนิภัทรช่วยตั้ง

    อ.นิภัทร ขันธ์ ๕ นี่เป็นปรมัตถธรรมได้เท่าไหร่

    ผู้ฟัง เป็นปรมัตถธรรมได้ ๓

    อ.นิภัทร ขันธ์ คือว่าขันธ์มี ๕ ใช่ไหมคุณก็บอกว่าขันธ์มี ๕ ได้ปรมัตถ์ธรรม ๓ คือจิตปรมัตถ์เจตสิกปรมัตถ์รูปปรมัตถ์ทีนี้เราก็บอกว่าแล้วเรามาถามอีกว่าขันธ์ ๕ เนี่ยขันธ์อะไรเป็นปรมัตถธรรมอะไรได้บ้าง


    ฟังธรรมจากหัวข้อย่อย

    หมายเลข 10
    5 ม.ค. 2567

    ซีดีแนะนำ