สนทนาธรรม ตอนที่ 032


    ตอนที่ ๓๒

    สนทนาธรรมที่หมู่บ้านเมืองทองนิเวศน์ ๑

    พ.ศ. ๒๕๓๙


    ผู้ฟัง ในเมื่อเราสิ้นลมหายใจไปแล้วเนี่ย เรายังเชื่อว่าเราจะต้องเกิดมาในภพใหม่

    ท่านอาจารย์ เพราะว่าเราไม่รู้ลักษณะของจิตเราได้แต่เดาว่าจะเกิด หรือไม่เกิด หรือสงสัยใช่ไหม แต่ว่าเมื่อใดประจักษ์การเกิดดับสืบต่อของจิตเมื่อนั้นไม่สงสัยว่าจิตดับแล้วก็จิตเกิดต่อทันที เหมือนยังขณะนี้ พอเราอธิบายทุกคนก็เชื่อก็เป็นไปได้ใช่มั้ย เพราะว่าจิตเห็นต้องดับถึงจะมีจิตได้ยินจิตได้ยินต้องดับถึงจะมีจิตเห็นเพราะว่าเห็นต้องอาศัยจักขุประสาทะได้ยินต้องอาศัยโสตปสาทเหตุปัจจัยที่ทำให้จิต ๒ ชนิดนี้เกิดก็ต่างกันแล้ว เพราะฉะนั้นจะเกิดพร้อมกันก็ไม่ได้ นี้แสดงให้เห็นว่าเรายังสามารถที่จะเห็นได้ว่าจิตเนี่ยดับแล้วก็ต้องเกิดถ้าไม่เกิดเราก็ไม่เห็นอะไรต่อไปแต่นี่มีทั้งเห็นมีทั้งได้ยินมีทั้งคิดนึกวันนึงวันนึงก็เกิดสืบต่อกันเพื่อแสดงว่าพอจะเริ่มเข้าใจว่าจิตเนี่ยเกิดแล้วก็ดับเกิดแล้วก็ดับจนกว่าจะหมดเหตุปัจจัย เจตสิกมีกี่ชาติ

    ผู้ฟัง ๔ ชาติ

    ท่านอาจารย์ เจตสิกก็ต้องมี ๔ ชาติเพราะว่าเจตสิกเกิดกับจิตทุกดวงถ้าจิตเป็นกุศลเจตสิกก็เป็นกุศลถ้าจิตเป็นวิบากเจตสิกเป็นวิบากถ้าจิตเป็นกิริยาเจตสิกก็เป็นกิริยา เพราะฉะนั้นเจตสิกก็มี ๔ ชาติ

    ผู้ฟัง ไม่ชอบเลยว่าที่เข้าใจรู้ว่าเข้าใจแต่พอถามแล้วตอบไม่ได้เลย

    ท่านอาจารย์ ใช่ เพราะฉะนั้นแล้วต้องเข้าใจจริงๆ ถ้าถามเป็นจำนวนเนี่ยตอบได้คล่องเลย แต่ว่าถ้าถามเหตุผล หรือความเข้าใจเนี่ยจะตอบไม่ได้นี้เป็นเครื่องทดสอบว่าเราจำ หรือว่าเราเข้าใจ อย่างจิตกับเจตสิกเนี่ยเกิดร่วมกันไม่มีสักครั้งเดียวซึ่งจิตเกิดโดยปราศจากเจตสิก เพราะฉะนั้นเมื่อจิตมี ๔ ชาติเจตสิกจะมีกี่ชาติ เจตสิกก็ต้องมี ๔ ชาติด้วย แล้วถ้าจิตเป็นกุศลเจตสิกจะเป็นอกุศลไม่ได้ เพราะเกิดร่วมกันรู้อารมณ์เดียวกันดับพร้อมกันมีเหตุปัจจัยอย่างเดียวกัน เพราะฉะนั้นจิตเป็นวิบากเจตสิกก็ต้องเป็นวิบาก จิตเป็นกิริยาเจตสิกก็ต้องเป็นกิริยา จิตเป็นกุศลเจตสิกก็ต้องเป็นกุศล จิตเป็นอกุศลเจตสิกก็ต้องเป็นอกุศล

    ผู้ฟัง แสดงว่าไม่ได้รู้เลยไม่ได้เข้าใจลึกๆ เลยว่าอะไรเป็นยังไง

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นหลังจากฟังแล้วพิจารณาคิดใคร่ครวญในเหตุผล สำคัญมาก อย่างถ้ารู้ว่าจิตจะเกิดโดยปราศจากเจตสิกไม่ได้ และโดยนัยเดียวกันเจตสิกจะเกิดโดยปราศจากจิตไม่ได้นี่ก็จะทำให้เราได้เข้าใจว่าจิตชนิดไหนเป็นชาติอะไรเจตสิกก็ต้องเป็นชาติอย่างนั้น

    ผู้ฟัง อย่างเงี้ยนะลองฟังดูเนี่ยมันเป็น ปัญหาที่ง่ายมากแต่ทำไมตอบไม่ได้อย่างนี้เพราะว่าไม่ได้สะสมมาในอย่างงั้น

    ท่านอาจารย์ ต้องพิจารณาสิ่งที่ได้ฟังลึกลึก และละเอียดละเอียดต่อไปอีกแล้วก็อ่านด้วยอะไรด้วยหลายอย่างทบทวน ที่จริงแล้วทั้งหมดนี้จะอยู่ในหนังสือปรมัตธรรมสังเขป จะไม่นอกไปจากนี้เลย

    อ.นิภัทร ผมอยากจะขอปุจฉากับคุณประทีปหน่อย คือจำเป็น หรือไม่ที่เราจะต้องเรียนจิตเจตสิกรูปอะไรเนี่ยให้รู้ให้เข้าใจหมดจำเป็น หรือเปล่าครับ

    ผู้ฟัง ถ้าถามความรู้สึกผมก็ไม่จำเป็นนะ แต่ว่าถ้ารู้ได้ก็ดี

    อ.นิภัทร แล้วข้อปฏิบัติเราจะเอาอะไรเป็นข้อปฏิบัติถ้าเราไม่รู้

    ผู้ฟัง คือจะต้องฟังธรรมให้เข้าใจว่าแม่บดหมายถึงปรมัตถธรรมมีอะไรบ้าง และสภาพธรรมของปรมัตถธรรมนั้นๆ เนี่ยมีสภาพธรรมยังไง โดยที่ท่านอาจารย์ได้บรรยายไว้ในเทปมีนะท่านอาจารย์บรรยายไปสักพักนึงเดียวก็จะหันกลับมา

    อ.นิภัทร พอจะบอกได้คร่าวๆ ไม่ว่าเรารู้เพียงแค่ แค่ไหนถึงจะเป็นข้อปฏิบัติได้หมายความว่าเราไม่จำเป็นต้องรู้จิตทั้งหมดเจตสิกทั้งหมดรูปทั้งหมดคือเราไม่จำเป็นต้องจำได้ทั้งหมดแต่ว่าเราเข้าใจแค่ไหนมีความเข้าใจขนาดไหนถึงจะเป็นข้อปฏิบัติได้

    ผู้ฟัง จากตัวผมเอง ถ้าเราฟังธรรมที่ท่านอาจารย์ได้แสดงไว้แล้วสมมติว่าเรามาเริ่มฟังวันนี้เลยแล้วท่านอาจารย์ได้พูดถึงปรมัตถธรรมจิตเจตสิกรูปนิพพาน แล้วท่านอาจารย์ก็พยายามจะพูดจิตเจตสิกรูปนิพพานคราวนี้สมมติผมมาเริ่มต้นใหม่เริ่มฟังใหม่เราพยายามศึกษาให้รู้ว่าจิตนี่คืออะไรที่ท่านอาจารย์ได้แสดงไว้นะ จิตเป็นสภาพรับรู้อารมณ์ และเจตสิกคืออะไรลักษณะอย่างเงี่ย ไม่ใช่ว่าเราจะมีหัวข้อได้พยายามเปรียบเทียบสภาพธรรมกับสมมติบัญญัติคือเป็นการสื่อความหมายให้รู้สภาพธรรมตามความเป็นจริงว่าในปัจจุบันเนี่ยในปกติชีวิตประจำวันของเราเนี่ยจิตมีลักษณะยังไงพยายามศึกษาแล้วพิจารณาดูว่าเป็นยังไงเจตสิกเป็นยังไง

    อ.นิภัทร พอจะสรุปลงมาให้เป็นข้อๆ และสั้นๆ ได้ไหมว่าเราจำเป็นจะต้องรู้สภาพธรรมทางไหนบ้างถึงจะเป็นข้อปฏิบัติได้

    ผู้ฟัง สภาพธรรมก็มีทางตาหูจมูกลิ้นกาย ทั้ง ๕ ทางเนี่ย เราควรจะได้ศึกษาให้รู้สภาพธรรม ทั้ง ๕ ทางนี้

    อ.นิภัทร ๕ ทาง ๖ ทางด้วยใช่ไหม

    ผู้ฟัง ๖ ทางด้วยแต่ว่าทางใจก็คล้ายๆ ว่ามันก็ค่อนข้างจะยากนะ

    อ.นิภัทร คือหมายความว่าเรารู้อยู่แล้วว่าการจะปฏิบัติ หรือจะเจริญสติปัฎฐานได้เราจะต้องมีความเข้าใจในสภาพธรรมที่จะเป็นข้อปฏิบัติเสียก่อน สภาพธรรมที่เราจะใช้เป็นข้อปฏิบัติคุณประทีปก็บอกว่าต้องรู้ทางตาทางหูทางจมูกทางลิ้นทางกายทางใจใช่ไหม อันนี้เราย่อคือหมายความว่าแทนที่จะเอาเราจะพูดถึงจิต ๘๙ เจตสิก ๕๒ รูป ๒๘ เราไม่พูดแล้วเราจะพูดว่าจะต้องเรียนรู้ข้อปฏิบัติ ทั้ง ๖ ครั้งนี้ให้เข้าใจคุณตาเนี่ยมีอะไรเป็นข้อปฏิบัติ ทางหูทางจมูกทางลิ้นทางกายทางใจไม่มีอะไรเป็นข้อปฏิบัติ

    ท่านอาจารย์ แต่จริงๆ แล้วคำถามนี้เป็นคำถามซึ่งอาจจะเป็นคำถามของที่อื่นแล้วก็ในอดีตด้วยเพราะเหตุว่าถ้าเราเข้าใจจริงๆ ว่าเรากำลังพูดถึงเรื่องสภาพธรรมที่เรากำลังฟังเราจะไม่คิดถึงเรื่องปฏิบัติเลย เพราะว่าส่วนใหญ่มักจะถามว่า รู้เท่าไหร่ รู้มากน้อยเท่าไรเรียนอะไรบ้างถึงจะปฏิบัติคือจุดมุ่งเดิมของท่านเหล่านั้นมุ่งปฏิบัติโดยที่ท่านไม่รู้อะไรเลยแต่สำหรับผู้ที่ตั้งจิตไว้ชอบจะไม่กังวลเรื่องการปฏิบัติแต่ว่าฟังธรรมแล้วเข้าใจเพราะรู้ว่าพระธรรมที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงเนี่ยทรงแสดงเรื่องสภาพธรรมที่กำลังปรากฏให้เราเริ่มเข้าใจขึ้นแล้วความเข้าใจของเราเนี่ยก็จะต้องเพิ่มขึ้นตามลำดับ เพราะฉะนั้นเมื่อยังไม่ถึงข้อปฏิบัติ หรือหนทางปฏิบัติ หรือสติจะเกิดปฏิบัติเราจะมานั่งกังวลว่าเท่าไหร่พอเท่านั้นเท่านี้พอไหมก็ไม่ตรง เพราะฉะนั้นจริงๆ แล้วไม่ต้องคิดถึงไม่ต้องกังวลเรื่องการปฏิบัติใดๆ ทั้งสิ้นมิเช่นนั้นแล้วก็จะเหมือนพวกที่อยากปฏิบัติแล้วก็ไปแสวงหาข้อปฏิบัติแล้วก็ไปถามกันว่าปฏิบัติยังไง นั่นคือพวก ๑ ซึ่งไม่เข้าใจว่าต้องเข้าใจธรรม เพราะฉะนั้นเวลาที่ธรรมขณะนี้กำลังปรากฏแล้วคนฟังก็เริ่มจะรู้ว่ายังไม่ได้เข้าใจสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ เพราะฉะนั้นจึงต้องฟังพอฟังแล้วก็ไม่กังวลเรื่องปฏิบัติ แต่ว่าเข้าใจขึ้นว่าปัญญามีหลายขั้นปัญญาขั้นฟัง ดับกิเลสอะไรไม่ได้เลยทำอะไรไม่ได้เลยเล็กน้อยมากเพราะเหตุว่าเป็นเพียงเข้าใจเรื่องราวของสภาพธรรมเท่านั้นทั้งๆ ที่ขณะนี้สภาพธรรมกำลังทำกิจของสภาพธรรมอยู่ทุกอย่าง เช่นสังขารสภาพธรรมก็ทำกิจเห็น ทางหูสภาพธรรมก็ทำกิจได้ยิน ตัวจริงของธรรมกำลังทำงานเกิดดับอยู่ตลอดเวลาแต่ว่าเรากำลังฟังเรื่องสภาพธรรมเพราะว่ายังไม่มีปัจจัยที่สติปัฎฐาน หรือว่าสติการปฏิบัติขั้นระลึกรู้ลักษณะของสภาพธรรมเนี่ยจะเกิด เพราะฉะนั้นจะไปกังวลทำไมในเมื่อยังฟังเรื่องนี้แล้วยังไม่เข้าใจพอ ส่วนที่ว่าจะพอ หรือไม่ก็คือว่าขณะใดที่สติปัฐานเกิดนั่นแสดงว่ามีปัจจัยพอที่สติจะระลึกลักษณะของสภาพธรรมที่ได้ฟังเรื่องราวมาแล้ว แล้วก็เข้าใจระดับขั้นเรื่องราว แต่ขณะนี้ที่สติกำลังระลึกลักษณะไม่ใช่เพียงแต่เข้าใจขั้นเรื่องราวแต่กำลังรู้ว่ามีสภาพปรมัตถ์ธรรมซึ่งโดยขั้นการศึกษาเนี่ยรู้ว่าไม่ใช่ตัวตนแต่รู้เป็นเรื่องราวไม่ใช่ตัวตน แต่เวลาที่สติปัฎฐานเกิดเริ่มจะรู้จักตัวจริงของสภาพธรรมว่าที่นี่อยู่ตรงนี้ คือสิ่งที่กำลังปรากฏเมื่อเช้านี้ก็พูดกันซะมากมายเรื่องลักษณะของสิ่งที่กำลังปรากฏแล้วก็จิตเห็นเป็นต้น เพราะฉะนั้นเราจะไม่กังวลอย่างนั้นเพียงแต่ว่าศึกษาเข้าใจมากขึ้นเพิ่มขึ้นแล้วเมื่อไหร่สติเกิดเมื่อนั้นก็คือสติกำลังปฏิบัติกิจของสติ และสติก็เป็นมรรค ๑ ในมรรคมีองค์ ๘ แล้วจะต้องประกอบพร้อมด้วยสัมมาทิฏฐิคือปัญญา ก็ไม่มีเรื่องที่จะไปต้องกังวลว่าทางตนเมื่อไหร่รู้เท่าไรมากน้อยเท่าไหร่ยังไง เพราะว่ามีความเข้าใจธรรมแล้วก็รู้ว่ามีเหตุปัจจัยที่จะทำให้สติปัฎฐานเกิดสติปัฎฐานก็เกิด เพราะฉะนั้นด้วยวิธีนี้จะเป็นการละคลายความคิดว่าจะปฏิบัติแล้วละคลายความหวังว่าจะต้องการรู้ลักษณะของนามธรรม และรูปธรรมแล้วก็พยายาม ทุกประการที่จะทำขึ้นโดยขณะนั้นไม่ใช่เป็นการรู้แล้วละ แต่ว่าพระธรรมทั้งหมดที่ทรงแสดงให้พุทธบริษัทเกิดปัญญาของตนเองเพื่อละความไม่รู้ แล้วจะเห็นได้ว่าเรื่องการละต้องละเป็นลำดับ อย่างขั้นฟังพอเริ่มเข้าใจ ก็ละความไม่เข้าใจ ความไม่รู้ที่เกิดจากการไม่เคยได้ยินได้ฟังมาก่อน ละได้เท่านี้เอง ละความไม่รู้ความไม่เข้าใจเพราะไม่เคยฟัง เพราะฉะนั้น เมื่อฟังขึ้นเข้าใจขึ้นความรู้ก็เพิ่มขึ้นจนกว่าจะเป็นอีกขั้น หนึ่ง คือสติปัฐานเกิด ก็ไม่ต้องกังวลว่าเมื่อไหร่ หรือเท่าไหร่ แต่ว่าเข้าใจเรื่องของสภาพธรรมขึ้น

    อ.นิภัทร กระผมก็เคยได้ยินบรรดาพวกนักศึกษาธรรมด้วยกันที่มาฟังอาจารย์ คือถ้าตอนไหนที่ท่านอาจารย์พูดถึงเรื่องหลักธรรมยืดยาวเช่นพูดถึงเรื่องจิตเรื่องเจตสิกเรื่องอะไรต่ออะไรยืดยาวเนี่ยไม่ได้พูดถึงเกี่ยวกับปฏิบัติพูดง่ายๆ นะคือๆ ความเข้าใจมันยังไม่เสร็จ ยังไม่เข้าใจว่าปฏิบัติเป็นยังไง ก็จะทำให้คิดว่าห่างเหิน ห่างเหินจากข้อปฏิบัติห่างเหินจากการปฏิบัติห่างเหินจากการระลึกรู้ห่างเหินจากสติระลึกรู้สภาพธรรมคือมันมัวเพลิดเพลินไปตามเรื่องราวของธรรมที่มากมายอย่างกระผมเองก็มาตั้ง ตั้งเป้าหมาย และวัตถุประสงค์ด้วยตัวเองมาว่าเราศึกษาธรรมเนี่ยศึกษาทำไมศึกษาธรรมศึกษาทำไมศึกษามากๆ เนี่ยศึกษาไปทำไมตั้งวัตถุประสงค์ตัวเองว่าศึกษาธรรมเนี่ยวัตถุประสงค์ที่หลักจริงเพื่อความเข้าใจเพื่อความเข้าใจเท่านั้นเอง ศึกษามากมายเพื่อความเข้าใจความเข้าใจที่มีนี่แหละที่จะเป็นเหตุเป็นปัจจัย ที่จะเกื้อกูลที่จะให้สติระลึกรู้ได้ หรือที่สภาพธรรมทั้งหลายที่เราเข้าใจนี้เมื่อมีเหตุปัจจัยพอแล้วก็จะเกิดปฏิบัติธรรมหน้าที่ของตัวเองตามสมควร

    ท่านอาจารย์ ก็คงจะไม่มีใครกังวลเรื่องเมื่อไหร่จะปฏิบัติ หรือเท่าไหร่จะปฏิบัติเพราะเหตุว่าต้องขึ้นอยู่กับความเข้าใจ

    ผู้ฟัง ความเข้าใจแป็นสำคัญ

    ท่านอาจารย์ ถ้าอย่างงั้นก็ถามเลยว่าอภิธรรมคืออะไร คุณวีระ

    ผู้ฟัง คืออภิธรรมเนี่ยขออนุญาตเรียนว่าอภิคือความยิ่งใหญ่ ธรรมคือสภาพธรรมที่โดยทั่วไปก็ทุกอย่างเป็นสภาพธรรมหมด เพราะฉะนั้นอภิธรรมคือธรรมที่ยิ่งใหญ่ ยิ่งใหญ่ก็หมายความถึงว่าคงจะควบคุมครอบคลุมทุกอย่างไปหมดซึ่งจำเป็นที่เราจะต้องศึกษา

    อ.สมพร ที่ตอบว่าอภิธรรมคือธรรมที่ยิ่งใหญ่ คือจะตอบยังไงมันก็ไม่ผิดแต่ว่าเพราะว่ามีการแปลได้หลายนัย อภิแปลว่ายิ่งแปลว่าประเสริฐ อภิเฉพาะอภิเนี่ยแล้วก็ธรรมสภาวะที่ทรงไว้ สภาพที่ทรงไว้ ก็บวกกันอภิกับธรรมก็เป็น อภิธรรม ทีนี้ใจความทั้งหมดเราจะตอบอย่างไรก็ตามแต่อาจจะรวมลงในคำว่าเป็นของที่มีอยู่จริง มีอยู่จริงไม่ใช่มีอยู่โดยสมมติ อภิธรรมเป็นปรมัตถ์คือจะตอบว่าเป็นธรรมอันประเสริฐ ธรรมอันยิ่งธรรมอันใหญ่ธรรมอย่างไรอย่าง ๑ ก็ตาม ธรรมนี้ปราศจากสัตว์ปราศจากบุคคลเป็นปรมัตถสัจจะรวมความอยู่ว่าเป็นปรมัตถ์นั่นเอง หรืออธิธรรมไม่ใช่สัตว์ไม่ใช่บุคคลไม่ใช่บัญญัติ เป็นสภาวะที่มีอยู่จริง

    อ.นิภัทร ที่ว่าอถิธรรมยิ่งใหญ่ อะไรใหญ่ อะไรยิ่ง

    ผู้ฟัง ที่ว่าอถิยิ่งใหญ่อะไรเป็นสิ่งที่สำคัญ หรือว่าเป็นความประเสริฐปรมัตถ์ผมก็ขออนุญาตตอบว่าปรมัตถธรรมเป็นสิ่งที่ยิ่งใหญ่ เพราะว่าเป็นสิ่งที่ผมก็ลอกอาจารย์ คือเป็นสิ่งที่ทรงไว้ทรงไว้นี้หมายความถึงว่าคงจะทรงไว้ตลอดไปไม่ว่าจะ อย่างไรก็ตามคงจะต้องเป็นอย่างนี้ จะเป็นอย่างนี้ตลอดไปปรมัตถธรรมที่เป็นอย่างนี้ตลอดไปทรงไว้ตลอดไป เป็นสิ่งที่มีอยู่จริง ซึ่งไม่ใช่ไม่ใช่ ถึงแม้เราจะคิดว่ามีสัตว์มีบุคคลมีตัวตนอะไรต่างๆ ในลักษณะที่เป็นอยู่ธรรมดาเนี่ยสิ่งนั้นก็ยังไม่ยิ่งใหญ่เท่าก็สิ่งนั้นไม่ใช่สัตว์บุคคลตัวตน

    ท่านอาจารย์ หมายความว่าที่ว่าประเสริฐเพราะเหตุว่าเป็นของจริงจะดีจะชั่วยังไงก็ตามแต่ สิ่งใดก็ตามซึ่งเป็นสภาพธรรมที่มีจริงประเสริฐอภิยิ่งใหญ่ในที่นี้ไม่ได้หมายความว่าเป็นสิ่งที่ดีแต่หมายความว่าเป็นสิ่งที่จริง ซึ่งทุกคนปฏิเสธไม่ได้เป็นสัจจะเป็นความจริงซึ่งไม่ว่าจะเป็นชาติไหนภาษาไหนก็ตามเมื่อเข้าใจสภาพธรรมนี้แล้วก็ต้องยอมรับความจริงว่าสภาพจริงๆ นั้นเป็นอย่างนั้น ไม่มีใครสามารถที่จะปฏิเสธได้ไม่ว่าจะใช้ชื่ออย่างไรก็ตามแต่สภาพธรรมนั้นๆ ก็ทรงลักษณะของสภาพนั้นๆ ไว้ เพราะฉะนั้นในความหมายของอภิที่นี่ที่ว่ายิ่ง หรือใหญ่ หรือว่าถ้าเป็นความหมายอื่นหมายความถึงประเสริฐก็ประเสริฐในลักษณะซึ่งเป็นสัจจะธรรมเป็นความจริงซึ่งปฏิเสธไม่ได้ แต่ไม่ได้หมายความว่าจะต้องเป็นธรรมที่ดีเลิศเป็นธรรมฝ่ายดีเท่านั้นแม้แต่สิ่งที่ไม่ดี เมื่อเป็นสิ่งที่มีจริงเราก็ต้องยอมรับตามความเป็นจริงว่าสิ่งนั้นมีจริงแต่ไม่ใช่ตัวตน ไม่ใช่สัตว์ไม่ใช่บุคคลเป็นสภาพธรรมแต่ละชนิด อย่างโลภะความติดคล้องมีจริงโทสะความหยาบกระด้างของจิตมีจริง ทุกอย่างที่มีจริงเนี่ย เป็นอภิธรรมเพราะเหตุว่าโดยลักษณะนั้นเป็นปรมัตถธรรมซึ่งไม่มีเจ้าของไม่มีใครเป็นเจ้าของเลย ต้องทราบว่าธรรมทั้งหมดไม่มีใครเป็นเจ้าของ เวลานี้เราอาจจะคิดว่าเราเห็นเราได้ยินแล้วก็ร่างกายของเราเนี่ยตั้งแต่ศีรษะตลอดเท้าเนี่ย จริงๆ แล้วเราคิดว่าเป็นของเรา แต่ความจริงเนี่ยไม่ใช่เลยสักอย่างเดียวแม้แต่รูปแต่ละรูปก็มีสมุดฐานคือมีธรรมที่ก่อตั้งให้รูปแต่ละชนิดเกิดขึ้น ตาเป็นของเราไม่ได้เพราะเหตุว่ามีปัจจัยคือกรรมทำให้จักขุประสาทะเกิดแล้วดับ เพราะฉะนั้นไม่มีใครเป็นเจ้าของแม้แต่รูปสักรูปเดียว นามทุกชนิดโลภะโทสะเมตตากรุณาปัญญาทั้งหมดไม่มีใครเป็นเจ้าของ นี่แสดงให้เห็นถึงความเป็นอภิธรรม หรือปรมัตถธรรมซึ่งเป็นธรรมที่มีจริง และไม่มีใครเป็นเจ้าของคือไม่ใช่ตัวตนไม่ใช่สัตว์ไม่ใช่บุคคลไม่ใช่ของเราไม่ใช่ของใครทั้งนั้น

    อ.นิภัทร ตตฺถ วุตฺตาภิธมฺมตฺถา จตุธา ปรมตฺถโต พระอภิธรรมในอภิธรรมนั้นมีอัตอันยิ่งใหญ่ลึกซึ้งจริงๆ นะที่ว่าปรมัตถโตปรมัตถะ แต่ว่ามีอัตมีความหมายที่ยิ่งใหญ่ลึกซึ้งอย่างยิ่งเนี่ย ๔ อย่างคือ จิตฺตํ เจตสิกํ รูปํ นิพฺพานมีติ สพฺพถา ฯ คือจิตเจตสิกรูปนิพพาน ยิ่งใหญ่ในฐานะที่ทรงไว้ซึ่งความจริง อย่างยิ่ง ไม่มีอะไรที่จะไม่จริง และ อย่างความชั่วเนี่ยอกุศลชั่วยิ่งใหญ่จริงๆ คือยิ่งใหญ่ในฐานะที่เขาคงภาวะของไว้เป็นอย่างนั้นอย่างที่อาจารย์ว่า โลภะก็เป็นโลภะคือจะไปให้โลภะเป็นอย่างอื่นก็ไม่ได้

    ผู้ฟัง ท่านอาจารย์ เอ่อถ้าเกิดยิ่งใหญ่เนี่ยนะ เราจะแปลอีกความหมายจะได้ไหมว่าเค้าใหญ่มากจนบังคับบัญชาเขาไม่ได้เขาต้องเกิดตามเหตุปัจจัยอันนี้จะไปอนุเคราะห์ได้ไหม

    ท่านอาจารย์ เหมือนกันคือหมายความว่าไม่ใช่ตัวตนไม่ใช่สัตว์ไม่ใช่บุคคลไม่มีใครสามารถที่จะไปแปรเปลี่ยนลักษณะของสภาพธรรมนั้นให้เป็นอย่างอื่นได้ เป็นธรรมล้วนๆ เป็นปรมัตถธรรม แล้วก็แสดงไว้ด้วยว่าปรมัตถธรรมมีเพียง ๔ เท่านั้นไม่เกิน เพราะฉะนั้นเวลาที่ได้ยินธรรมส่วนอื่นในพระไตรปิฏกไม่ว่าจะเป็นพระวินัยพระสูตร หรือพระอภิธรรมเช่น อริยสัจปฏิจะสมุปาทะหรือว่าโภชงอะไรก็ตามแต่ให้ทราบว่าไม่พ้นจากปรมัตถ์ธรรม ๔ คือไม่พ้นจากจิตไม่พ้นจากเจตสิกไม่พ้นจากรูปไม่พ้นจากนิพพาน เพราะฉะนั้นก็ง่ายมากที่เราได้รู้จักต้นตอจริงๆ ของธรรมว่าเพียง ๔ ไม่ว่าเราจะได้ยินอะไรก็ตามจะต้องทราบว่าลักษณะแท้จริงของเขาเนี่ยคือปรมัตถ์ชนิดไหนคือเป็นจิตเรียกว่าเป็นเจตสิต หรือว่าเป็นรูป หรือว่าเป็นนิพพาน เพราะฉะนั้นแค่ ๔ เนี่ยคงจะไม่มีใครที่นี่ที่จำไม่ได้จิตเจตสิกรูปนิพพาน แต่ข้อสำคัญก็คือว่าธรรมเนี่ยไม่ใช้สำหรับจำเลิกคิดที่จะจำ ใครที่จะจำจำจำไว้ ขอให้เริ่มด้วยความเข้าใจก่อน แล้วก็จำทีหลังเพราะเหตุว่าบางคนเนี่ยอาจจะชำนาญในการท่องสูตรคูณ และบางคนก็อาจจะคิดว่าจำไว้ก่อนก็ดี แต่จริงๆ แล้วจำไว้ยังไงก็ต้องลืมเมื่อไม่มีความเข้าใจแต่ว่าธรรมเนี่ยสำหรับเข้าใจไม่ใช่สำหรับจัง อย่างกำลังเห็นแนะต้องเป็นเรื่องที่ต้องเข้าใจให้ถูกต้องไม่ใช่ไปจำว่าเป็นนามธรรม และมีกี่ชนิดกี่ดวงประกอบด้วยเจตสิกเท่าไหร่ และก็ทองจำนวน ๗๐ อย่างนั้นจะไม่มีความหมายเลยแต่แม้แต่คำว่าจิตปรมัตถ์เพียงลักษณะเดียว ได้ยินแต่ชื่อจิต และก็ทุกคนก็รู้ว่ามีจิตมีแน่ๆ ขณะนี้ต้องมีจิตเพราะว่าไม่ใช่คนตาย ลักษณะที่ต่างกันของคนตายกับคนเป็นก็คือว่าคนตายมีแต่รูปเหลือแต่จิตไม่มีเลย เพราะฉะนั้นความสำคัญของจิตปรมัตถ์เนี่ยเป็นอันดับแรกที่ทรงแสดงไว้เริ่มด้วยจิต และเจตสิก และก็รูปแล้วก็ขอให้คิดถึงความสำคัญของจิตจริงๆ ทุกคนนอนหลับเหมือนกันหมดเลย ไม่มีใครทำอะไรเลยถ้าโลกนี้ทุกคนหลับสนิท แต่พอตื่นขึ้นเริ่ม มือใหม่ขยับเคลื่อนไหวป่าเห็นหูได้ยินทุกอย่างอาละวาด หรือว่าจะเรียกว่าอะไรก็ได้เต้นแร้งเต้นกาสารพัดตลอดวันด้วยอำนาจของจิต ถ้าไม่มีจิตประเภทซึ่งไม่ใช่ภวังคจิตซึ่งกำลังหลับสนิทเช่นจิตเห็นหลังจากเห็นแล้วก็มีจิต รู้ความหมายของสิ่งที่เห็นแล้วก็มีความชอบไม่ชอบในสิ่งที่เห็นทั้งวันนะคะ เป็นเรื่องของจิตประเภทต่างๆ ซึ่งเกิดขึ้นทำการงานโดยที่เราไม่รู้ตัวเลยว่าขณะนั้นเป็นจิตชนิดไหน นี่คือความไม่รู้แต่ถ้ารู้เรื่องจิตจะเห็นชัดว่าเป็นอกุศลจิตเนี่ยมากมายเหลือเกินแล้วก็ละเอียดมาก เพราะฉะนั้นวันนึงวันนึงซึ่งตื่นขึ้นมาเนี่ยทุกอย่างที่กระทำให้ทราบว่าด้วยอำนาจของโลภมูลจิตคือจิตที่ประกอบด้วยโลภะทั้งนั้นส่วนใหญ่ ส่วนกุศลแน่แทรกเรียกว่าเป็นแขก หรือว่าจรมาชั่วครั้งชั่วคราว นี่แสดงให้เห็นว่าวันนึงวันนึงในจิตทำหน้าที่การงานมาก ทั้งวันที่ตื่นทำไปเถอะจะทำอะไรก็แล้วแต่หล่อพระบ้างโทรศัพท์บ้างส่วนใหญ่แล้วพอถึงกลางคืนก็นอนหลับสนิทเป็นจิตอีกประเภท หนึ่ง ตื่นขึ้นมาอีกก็เป็นแร้งเต้นกาอาละวาด หรือจะทำอะไรก็ตามแต่ทุกวันทุกวันเนี่ยนะเป็นอย่างนี้เนี่ยจริงไหมแล้วก็หลับไป เพราะฉะนั้นถ้าเรารู้เรื่องของจิตมากขึ้นจิตของเราเนี่ยจะเริ่มมีปัจจัยที่จะทำให้เป็นกุศลเพิ่มขึ้น เพราะฉะนั้นวันนึงวันนึงเนี่ยแทนที่ตาหูจมูกลิ้นกายที่เห็นกระทบสิ่งต่างๆ น่าจะเป็นอกุศล ก็จะเปลี่ยนเป็นกุศลเพิ่มขึ้นด้วยปัญญานี่เป็นจุดประสงค์ซึ่งการที่จะรู้ความจริงซึ่งเป็นสัจธรรมของสภาพธรรมเป็นการที่ทำให้เราเนี่ยรู้จักตัวเราเอง


    ฟังธรรมจากหัวข้อย่อย

    หมายเลข 10
    5 ม.ค. 2567

    ซีดีแนะนำ