สนทนาธรรม ตอนที่ 041


    ตอนที่ ๔๑


    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นเมื่อเปลี่ยนจากจิตมาถามเรื่องเวทนาว่าคุณวีระมีเวทนาที่เป็นกามาวจรภูมิไหม

    ผู้ฟัง มี

    ท่านอาจารย์ มีเวทนาที่เป็นรูปาวจรภูมิไหม

    ผู้ฟัง ไม่มี

    ท่านอาจารย์ เพราะว่าเวทนาก็ต้องเกิดกับจิต เพราะฉะนั้นเวทนาของเราในวันหนึ่งๆ สุขบ้าง ทุกข์บ้าง ก็เป็นระดับขั้นกามาวจรจิต หรือกามภูมิ ซึ่งอาจารย์จะได้กล่าวต่อไปว่า กามาวจรจิตทั้งหมดที่เรามีเนี่ยมีกี่ชนิด และแบ่งเป็นพวกอย่างไร เชิญอาจารย์

    อ.สมพร กามาวจรจิตนี่ได้จิต ๔ เลย ๔ ชาติเราคงเข้าใจดีแล้ว เฉพาะกามาวจรจิต ๕๔ แบ่งออก เป็นจิต ๔ ชาติ จิต ๔ ชาติเราคงจำแนกกันได้แล้ว เพราะว่าชาติอกุศลเราก็รู้ว่าทั้งหมดมี ๑๒ อกุลจิต ที่เป็นมูล โลภมูลจิต ๘ โทะมูลจิต ๒ โมหมูลจิต ๒ เป็นชาติอกุศล ชาติอกุศลแล้วทีนี้ที่เป็นชาติกุศลล่ะ ชาติกุศลที่เป็นกามาวจรจิตก็มี ๘

    เฉพาะกามาวจรจิตมหากุศศลมี ๘ ชาติวิบาก ชาติกิริยา รวมแล้วทั้งหมดต้องมี ๕๔ ประเภท ๕๔ ดวงนี้ เฉพาะอกุศลนี่รู้ชัด เพราะอกุศลทั้งหมดมีแค่นี้เอง จิตที่จะได้ ๔ ชาติเฉพาะกามาวจรเท่านั้น นอกจากนั้น เช่น รูปาวจร อรูปาวจร โลกุตตร ก็ต้องเปลี่ยนไป

    พวกเรานี่จิตที่เป็นชาติอกุศลเกิดมาก ชาติที่เป็นกุศลก็เกิดน้อย ชาติที่เป็นกิริยามี ๒ ดวง นอกนั้นเกิดไม่ได้เลย ชาติที่เป็นวิบาก เกิดแล้วเกิดอีกเราก็ไม่รู้สึกตัวเพราะเป็นจิตที่ละเอียดกว่า เช่นจิตทางตาที่เราเห็นเนี่ย เห็นเป็นวิบาก เราไม่รู้สึกเลย ไปรู้สึกเมื่อเป็นกุศล หรืออกุศล ชอบไม่ชอบแล้ว กิเลสเกิดขึ้นเรารู้ ขณะที่มันเกิดนิดเดียว มันสั้นนิดเดียว เห็นเนี่ย เห็นแล้วก็ดับไป ได้ยินแล้วก็ดับไป มันสั้นมาก วิบากรู้ยาก เป็นจิตที่ละเอียดกว่า จิตที่หยาบกว่าคืออกุศศล อกุศลหยาบที่สุดเลย วิบากเป็นจิตที่ละเอียดรู้ยาก

    ท่านอาจารย์ ที่จริงแล้วเวลาพูดถึงเรื่องกามาวจรจิต หมายความถึงจิตของเราทุกคน ทำให้เราเนี่ยเริ่มเข้าใจจิตใจของเราขึ้น เมื่อจิตใจปกติในชีวิตประจำวันของเรายังไม่ไปสู่ระดับไหนเลยยัง อยู่กับรูป กับเสียง กับกลิ่น กับรส กับโพฎฐัพพะ คือสิ่งที่ กระทบสัมผัสทางกาย ไม่ว่าจะเป็นกุศลก็เป็นกุศลในเรื่องของรูป เสียง กลิ่น รส โพฎฐัพพะ ไม่ว่าจะเป็นอกุศลก็เป็นไปในเรื่องของรูป เสียง กลิ่น รส โพฎฐัพพะ เรียกว่าวนเวียนไป และการรับผลของกรรม เราก็รับผลของกรรมที่เป็นกามาวจรหมายความว่ารับเพียงแค่ตาเห็นสิ่งต่างๆ รับเพียงหูได้ยินเสียง จมูกได้กลิ่น ลิ้นลิ้มรสกายกระทบสัมผัส และผลของกรรมก็เห็นได้ว่า ไม่พ้นจาก ๕ ทางนี้เลย เป็นไปในเรื่องของกามทั้งหมด รูปเสียงกลิ่นรสโพฎฐัพพะ ทางกายวันนี้เจ็บไหม ปวดไหม เมื่อยไหม นั่นคือผลของกรรมที่ได้รับทั้งกาย ทางจมูกกลิ่นเป็นอย่างไร ทางตาเห็นอะไร ทางหูได้ยินเสียงอะไร นี่คือการรับผลของกรรมขั้นกามาวจร คือชีวิตของเราทั้งหมด จะไม่พ้นจากกาม คือรูป เสียง กลิ่น รส โพฎฐัพพะ

    เพราะฉะนั้นเราก็เพิ่มภาษาบาลีขึ้นมาอีก ที่อาจารย์ว่า "อวจร" คือเป็นไปในเรื่องของรูป เสียง กลิ่น รส โพฎฐัพพะ ทั้งหมดยังไม่ขึ้นไปสู่ระดับที่สูงกว่านี้ เพราะฉะนั้นก็ควรที่จะได้ทราบเพิ่มเติมเพื่อที่จะได้รู้จักชีวิตประจำวันของเราจริงๆ ว่าเราอยู่ระดับนี้แต่ว่าระดับนี้เนี่ยมีอะไรบ้าง ซึ่งกามาวจรจิตแบ่งได้เป็น ๓ พวกใหญ่ๆ เคยคิดไหม ว่าเป็น ๓ พวก ซึ่งถ้าไม่ศึกษาธรรมเนี่ยจะไม่ทราบเลย ๓ พวกก็คือ เป็นอกุศลจิต ประเภทหนึ่ง ซึ่งอกุศลจิตทั้งหมดเนี่ยไม่ว่าเราจะเกิดมาตั้งแต่เล็กจนโตจะไม่พ้นจากอกุศลจิต ๑๒ ประเภท หรือ ๑๒ ดวง จำนวนนิดเดียวเองแค่ ๑๒ แต่เกิดบ่อย และวนเวียนอยู่นี่แหละ ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ ชอบอะไรสิ่งที่ปรากฏทางตา ไม่ชอบอะไร สิ่งที่ปรากฏทันตา ไม่รู้อะไรก็ไม่รู้ความจริงของสิ่งที่ปรากฏทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ เพราะฉะนั้นในอกุศล ๑๒ ให้ทราบว่าแบ่งเป็นประเภทได้แก่จิตที่เกิดร่วมกับโลภะ ๘ ดวง เยอะ แล้วก็จิตที่เกิดร่วมกับโทะ ๒ ดวง แล้วก็จิตที่เกิดร่วมกับโมหะ ๒ ดวง เพราะฉะนั้นให้ทราบว่าโลภมูลจิต ๘ ดวง ชีวิตประจำวันจริงๆ แต่ว่าใน ๘ อะไรจะมากจะน้อย นี่แสดงให้เห็นว่าเราเริ่มรู้จักตัวเราจริงๆ ว่าเรากำลังสะสมอะไรขึ้นอีกในชีวิตประจำวัน โลภะเป็นสภาพที่ติดข้องต้องการ ไม่สละ ใครไม่มีบ้าง ใครไม่มีโลภะ ใครไม่มีคะ (พระอรหันต์เท่านั้น)

    เพราะฉะนั้นถ้าเห็นใครพอใจในรูป ในเสียง ในกลิ่น ในรส ในโพฎฐัพพะ ทราบได้เลยยังไม่ใช่พระอนาคามีบุคคล เพราะเหตุว่าการที่จะละกิเลสต้องละตามลำดับขั้นแม้แต่โลภะ ก็เป็นสิ่งที่จะต้องรู้แล้วละ เพราะเหตุว่าถ้าไม่รู้ ไม่ละแน่ เพราะว่าบางคนเขาจะบอกว่าเขาไม่มีโลภะเลย พูดผิด หรือพูดถูก วันนี้ไม่มีโลภะพูดผิด หรือพูดถูก พูดผิด เพราะ จริงๆ แล้วโลภะมากเหลือเกิน วันนี้ไม่มีโทสะ พูดผิด หรือพูดถูกค่ะ ผิดอีก วันนี้ไม่มีเลยโมหะ พูดผิด หรือพูดถูก ก็ต้องผิด แม้ว่าจะเปลี่ยนคำถามเป็นยังไงผิดก็คือผิดให้ทราบว่าผู้ที่ยังไม่ได้ดับกิเลสเลย จะมีโลภะทั้ง ๘ ดวง แต่ว่าดวงไหนจะมาก หรือจะน้อยอาจารย์จะบอกให้ฟังว่า ๘ ดวงนั้นคืออะไรบ้างเชิญอาจารย์คะ

    อ.สมพร โลภะนี่ ๘ ดวง วันนี้ก่อนที่เราจะกล่าวถึง ๘ ดวงเราแบ่งออกเป็น ๒ ประเภทก่อน ก็จะได้จำได้ง่ายๆ ๘ ดวง ๔ ดวงประเภทหนึ่ง และ ๔ ดวงต้นประเภทหนึ่ง แล้ว ๔ ดวงหลังอีกประเภทหนึ่ง คือเราค่อยๆ แยกไปทีละน้อย โละภะที่เกิดพร้อมกับความยินดีคือโทมนัส ความยินดี ดีใจก็ได้ ๔ ดวง โลภะที่เกิดพร้อมกับเวทนา ที่อุเบกขาเฉยๆ อีก ๔ ดวง โลภะ ๘ แบ่งออกเป็น ๒ อย่าง แล้วแบ่งเป็น ๒ อย่างอีกอย่างหนึ่ง เกิดขึ้นเองเรียกว่าอสังหาริก มีกำลัง แล้วก็อาศัยคนอื่นชักจูงให้เกิดขึ้น คือกำลังมันอ่อนกว่า เรียกว่าสสังขาริก กำลังมันกว่าอีก ๔ ดวง ที่นี่ก็แบ่งโลภะ๘ ออกเป็น ๒ อันนี้แบ่งเป็น ๒ อย่างก่อน แล้วค่อยแบ่งว่าโลภะดวงที่ ๑ ที่โสมนัส มันมีกำลังอย่างไร ไม่ใช่มีกำลังกล้าประกอบด้วยโสมนัสอย่างเดียวแถมมีความเห็นผิด ดวงที่ ๑ จึงร้ายแรงมาก เกิดขึ้นเอง

    ดวงที่ ๒ ก็เหมือนดวงที่ ๑ ต่างกันที่อาศัยคนอื่นชักจูงให้เกิดขึ้น นี่ดวงที่ ๒ ก็เข้าในแง่ที่ว่าดวงที่ ๑ เป็นอสังขาริก ดวงที่ ๒ เป็นสสังขาริก

    ดวงที่ ๓ นั้นก็ต่างไปอีกนิดหนึ่ง หมายความว่าโลภะเป็นโสมนัสจริงแต่ไม่ประกอบด้วยความเห็นผิด เกิดขึ้นเองนี่ดวงที่ ๓

    ดวงที่ ๔ นั้นก็ต้องเช่นเดียวกัน โลภะประกอบด้วยโสมนัส ไม่ประกอบด้วยความเห็นผิด แต่เกิดขึ้นโดยอาศัยคนอื่นชักจูงให้เกิดขึ้น เรียกว่าสสังขาริก รวมเป็น ๔ ดวงนี้เป็นพวกหนึ่ง เรียกว่าประกอบด้วยโสมนัส ถ้าเราจำได้ ๔ ดวงนี้ ๔ ดวงหลังก็คงไม่มีปัญหาอะไร เพราะต่างกันเฉพาะเวทนาเท่านั้น

    ท่านอาจารย์ อันนี้ถ้าเราจะจำเวทนาไปเลยก็สะดวกกับเหตุผล เพราะเหตุว่าสภาพของโลภะเป็นสภาพที่ติดข้องต้องการ เพราะฉะนั้นเวทนา หรือความรู้สึกที่จะเกิดกับโลภะเนี่ยมี สอง อย่างเท่านั้นคือโสมนัส หรืออุเบกขา โทมนัสเวทนา ไม่มีสิทธิ์ไม่มีการที่สามารถเกิดกับโลภมูลจิตได้เลย เพราะเหตุว่าสภาพที่ติดข้องเป็นสภาพที่ต้องการก็จะต้องประกอบด้วยความรู้สึกเฉยๆ หรือว่าความรู้สึกโสมนัสคือดีใจ

    เพราะฉะนั้นให้ทราบว่า เวลาที่เราจะกล่าวถึงจิตแต่ละชนิด จะต้องแสดงความต่างกันของจิตโดยเวทนาเจตสิกซึ่งเกิดร่วมด้วย เพราะฉะนั้นในภาษาบาลี ที่เราจะรู้ว่าจิตดวงนี้ต่างจิตดวงนั้น และจะมีอันนึงก็คือว่าต่างกันโดยเวทนา หรือว่าประกอบด้วยเจตสิกอื่นซึ่งต่างกัน ใครมีปัญหาสงสัยไหมว่าโลภมูลจิต จะต้องเกิดร่วมกับเวทนาเพียง สองอย่างเท่านั้นคืออุเบกขาเวทนา หรือโสมนัสเวทนา จะเกิดกับเวทนาอื่นไม่ได้เลย ขณะใดที่ขุ่นใจ เวทนาเป็นอะไรค่ะคุณสุพรรณี (โทสะ) เป็นโลภมูลจิตได้รึไม่ (ไม่ได้) ไม่ได้ เป็นโมหะได้ไหม อะไรเกิดร่วมกับโมหะ อันนี้เรายังไม่พูดถึงเรื่องเจตสิก จริงๆ แล้วโมหเจตสิกเกิดร่วมด้วย ถูกต้องแต่ละทีนี่เรายังไม่ได้พูดถึงว่ามีเจตสิกอะไรเกิดกับจิตอะไร เราเพียงแต่พยายามจะเข้าใจลักษณะของโลภมูลจิตที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงว่าต่างกันเป็น ๘ แสดงให้เห็นว่าโลภะที่แต่ละคนมี และไม่ใช่ชนิดเดียวกันตลอดไปบ้างกาละ เป็นโลภะที่เกิดร่วมกับโสมนัส บางกาละ ก็เป็นโลภะที่เกิดร่วมกับอุเบกขา

    เพราะฉะนั้นในวัน หนึ่งๆ วัน หนึ่ง โดยยังไม่ต้องพูดถึงอย่างอื่นพูดถึงแต่เฉพาะเวทนาความรู้สึกซึ่งเกิดขึ้นกับโลภะ เราก็จะสังเกตได้ว่ามีความรู้สึก ๒ อย่าง โลภะบางอย่างบางขณะเกิดร่วมกับความรู้สึกโสมนัส บ้างขณะเกิดร่วมกับอุเบกขา ขอให้คุณบงยกตัวอย่าง โลภะที่เกิดร่วมกับอุเบกขา ตัวจริงๆ ของแต่ละคน

    ผู้ฟัง โลภะที่เกิดร่วมกับอุเบกขาหมายความว่า ถ้าโลภะเกิดขึ้นมาแล้วก็ไม่ได้มีความยินดีด้วยใช่ไหม

    ท่านอาจารย์ ถ้าเกิดแล้วต้องมีความต้องการติดข้องในสิ่งที่ปรากฏที่เป็นอารมณ์ของโลภะ อย่างทางตา เวลานี้คุณบงกำลังเห็นอะไร

    ผู้ฟัง เห็นหลายๆ อย่าง

    ท่านอาจารย์ สมมติว่าอย่างหนึ่ง เก้าอี้ เป็นโลภะ หรือไม่

    ผู้ฟัง เป็น แต่ว่าไม่ได้เป็นโสมนัส เพราะฉะนั้นนี่ป็นอุเบกขา

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น ในชีวิตประจำวันที่เราจะรู้ว่าขณะนั้นเป็นโลภะ และก็เกิดกับอุเบกขา เพราะว่าเราจะต้องรู้ลักษณะของโลภะ ๘ ว่าโลภะทั้งหมดเนี่ยมี ๘ แต่ขอให้เราทราบไปทีละเล็กที่ละน้อยด้วยความเข้าใจในชีวิตประจำวันว่าโลภะ ๘ ขณะไหนเป็นอย่างไร ซึ่งเราจะยกเวทนาขึ้นมากล่าวก่อน ว่าโลภะบางขณะเกิดกับอุเบกขาเวทนา บ้างขณะเกิดกับโสมนัสเวทนา วันนี้ หรือทุกวันก็ตามแต่ โลภะที่เกิดร่วมกับอุเบกขาความรู้สึกเฉยๆ มีมาก หรือว่าโลภะที่เกิดร่วมกับโสมนัสมีมาก (ไม่แน่นอน) คุณวีระคะ (อุเบกขาครับผม) สำหรับคุณวีระ

    ผู้ฟัง โลภะที่เกิดกับอุเบกขามีมากในวันนี้ ตั้งแต่วันนี้ ชีวิตประจำวัน

    ท่านอาจารย์ ทุกวันเลยใช่ไหม (ทุกวันครับ) เหตุผลค่ะ

    ผู้ฟัง เหตุผลเพราะว่า ไม่ค่อยจะได้ทราบอะไรเลยคือเหมือนกับว่าเวลาเราเห็น หรือว่าเราได้ยิน ได้กลิ่นต่างๆ เหล่านี้ ส่วนมากมักจะเฉยๆ แต่ว่าอยากจะเห็น

    ท่านอาจารย์ เรื่องของความอยาก หรือความต้องการ เป็นลักษณะของโลภะ แต่เวทนาความรู้สึกที่เกิดกับโลภะนี่รุนแรงแค่ไหน ดีใจมาก หรือว่าเพียงเฉยๆ อย่างเวลาที่เราตื่นนอนมาเพียงลืมตาถ้าขณะนั้นกุศลจิตไม่เกิด โทสะไม่เกิดขณะนั้นก็เป็นโลภะ ถ้าขณะนั้นไม่ใช่ เพียงแต่เป็นจิตอีกประเภทหนึ่ง ซึ่งไม่ประกอบด้วยโลภะซึ่งเราจะไม่กล่าวถึง เพราะส่วนใหญ่ และชีวิตประจำวันของเราจะมีความติดข้องในสิ่งที่ปรากฏ เพราะฉะนั้นขอคุณบงอีกครั้งเถอะ ว่าวันหนึ่งๆ เนี่ยโลภะเกิดร่วมกับอุเบกขา หรือเกิดร่วมกับโสมนัสมากกว่ากัน (อุเบกขามากกว่า โสมนัส) ของคนอื่นล่ะคะคุณสุรีย์ คุณประทีปล่ะคะ (อุเบกขาครับ) ก็คงจะเป็นทุกคนหมายความว่าเรามีความติดข้อง ทำไม ให้เหตุผลอีกนิดหนึ่ง ว่าทำไมถึงกล่าวว่าอุเบกขามากกว่า ขอเหตุผล

    ผู้ฟัง คือว่าเราก็ต้องการ ติดข้องทุกอย่าง แล้วเราก็เฉยๆ เราไม่ได้ดีใจแต่พอ ถูกลอตเตอรี่ดีใจขึ้นมาแล้วเกิดโลภใหญ่ พอเราเกิดตื่นเต้นดีใจขึ้นมาเมื่อไร นั่นล่ะคือโทมนัสถ้าเราไม่ตื่นเต้นเราอยากได้แต่รู้สึกเฉยๆ ก็คืออุเบกขา

    ท่านอาจารย์ เพราะว่าบางเบาจนเราไม่รู้สึก โลภะที่เกิดร่วมกับอุเบกขามากที่สุดเพราะเหตุว่าไม่ใช่โทมนัส ถ้าเวลาที่เกิดโสมนัสคือแบบดีใจอย่างมาก เพลงเพราะเหลือเกินนักร้องคนนี้ ร้องเพราะมากเลยอะไรอย่างนั้น ขณะนั้นเราก็จะรู้สึกว่าเป็นโทมนัสเป็นความชอบใจอย่างยิ่ง แต่ชีวิตประจำวันซึ่งโทมนัสไม่เกิดเพราะเหตุว่าขณะนั้นไม่ได้หมายความว่าเราไม่ติดข้องในชีวิต เราติดข้องในชีวิตเราติดข้องในการเห็นเราติดข้องในการได้ยิน ซึ่งเป็นชีวิตจริงของเราซึ่งทุกคน ต้องการมีชีวิต ตื่นขึ้นมานี่ติดในสิ่งที่เห็น ในสิ่งที่ปรากฎทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกายติดโดยไม่รู้ เพราะฉะนั้นจึงเป็นความบางเบาแล้วก็ประกอบด้วยอุเบกขา เพราะเหตุว่าขณะนั้นไม่ใช่โสมนัส แต่ให้รู้จักตัวจริงว่าโลภมูลจิตที่เกิดร่วมกับอุเบกขาเวทนาคือชีวิตประจำวัน ปฏิเสธไม่ได้เลยทุกครั้งที่กุศลจิตไม่เกิดให้ทราบว่าอุเบกขาโลภมูลจิตเกิดแล้ว บางขนาดนั้น เบาขนาดนั้นจนกระทั่งเกือบเหมือนกับว่าไม่รู้สึกเลยว่าเป็นโลภะ แต่จริงๆ แล้วเป็นความติดข้อง

    ผู้ฟัง ในวันๆ หนึ่ง เราจะพูดได้ไหมอาจารย์ว่าโลภะมากกว่าโทสะ

    ท่านอาจารย์ ก็ทุกคนก็สังเกตตัวเองเพราะธรรมเป็นของจริงไม่มีระเบียบแบบแผนที่ต้องเป็นอย่างนี้ แต่หมายความว่าแต่ละคนเนี่ยจะรู้ความจริงของชีวิตว่าวันนี้เนี่ยเราเป็นทุกข์มาก หรือว่าเราเฉยๆ หรือว่าเราติดข้อง หรือว่าเราโทมนัส แต่ละคนไม่เหมือนกัน ถ้าใครทำอกุศลกรรมไว้หนักๆ ทุกข์ตลอดเลยตั้งแต่ลืมตาตื่นจนกระทั่งหลับ เต็มไปด้วยความโทมนัส คิดถึงแต่เรื่องที่ได้กระทำแล้วขณะนั้นจะกล่าวว่าโลภะมาก หรือว่าโทะเกิดมาก ก็เป็นเรื่องของแต่ละบุคคล เป็นเรื่องของแต่ละเหตุการณ์ แต่ถ้าปกติจริงๆ หมายความว่าธรรมดาๆ เนี่ยทุกคนก็โทมนัสก็ต้องน้อย หรือว่าโสมนัสก็ต้องน้อยกว่าอุเบกขา แต่ถ้าเป็นคนที่สะสมความโกรธไว้มาก ตื่นขึ้นด้วยความโกรธ ไม่พอใจไปหมดเลยทุกอย่างสิ่งที่ปรากฏดีๆ ก็ไม่ชอบ สิ่งที่ควรจะเป็นอิฐฐารมณ์ก็ไม่เป็นที่พอใจ นี่คือพวกที่สะสมโทสะไว้มาก แล้วโทสะในวันหนึ่งๆ ที่เราบอกเขาว่าคนนี้เป็นคนเจ้าโทสะ ก็แสดงให้เห็นแล้วว่าคนนี้แหละโทสะมูลจิต จิตที่เกิดร่วมกับโทสะเกิดขึ้นมากในวันนั้น หรือว่าในชีวิตของเขา เขาเป็นในลักษณะนั้น

    ผู้ฟัง งั้นก็ขึ้นอยู่กับการสะสมของแต่ละบุคคล

    ท่านอาจารย์ แต่ละบุคคน ในแต่ละวัน และแต่ละเหตุการณ์ด้วย นี่คืออกุศล

    ผู้ฟัง พูดถึงโมหะนี่

    ท่านอาจารย์ โมหะไว้ทีหลังดีไหม ละเอียดยิ่งกว่าโลภะ แค่โลภะ โทสะ ตัวใหญ่ๆ ให้ปรากฏใช่ไหม ก็ยังพอที่จะรู้ได้ว่าเป็นอกุศล ให้เห็นความเป็นอกุศลก่อน แล้วให้รู้จริงๆ ว่ามันเป็นอกุศล คือยอมรับว่าเป็นอกุศล อย่างชนิดจะบอกว่าวันนี้ไม่มีอกุศลเนี่ยไม่ได้ อย่างชนิดจะบอกว่าวันนี้ไม่มีโลภะเนี่ยไม่ได้ ต้องยอมรับตามความเป็นจริงว่ามี แล้วก็ต้องรู้ด้วยว่า โลภะเกิดร่วมกับความรู้สึก ๒ อย่าง

    เพราะฉะนั้นตัวเองก็รู้ตัวเองว่า โสมนัสเกิดอย่าคิดว่าดี เกิดร่วมกับโลภะมากกว่าอุเบกขาอีก เพราะเหตุว่าถ้าเป็นอุเบกขา โลภะะเกิดร่วมกับอุเบกขาก็ยังเรื่อยๆ ยังไม่มีกำลัง แต่เมื่อไหร่โลภะเกิดร่วมกับโสมนัสเมื่อนั้นให้ทราบว่า แรงกว่าโลภะซึ่งเกิดร่วมกับอุเบกขา

    ผู้ฟัง ตามที่ดิฉันคิด น่าจะบอกได้ว่าโลภะจะเกิดมากกว่าโทสะ

    ท่านอาจารย์ ส่วนใหญ่ค่ะ สวนใหญ่มากกว่าโทสะ มากกว่าโลภะที่เป็นโสมนัสแต่ทุกคนหวังอะไรไม่ได้หวังโลภะที่เกิดกับอุเบกขาใช่ไหมคะ หวังมากกว่านั้นคือโลภะที่เกิดร่วมกับโสมนัส เพราะฉะนั้นก็ชอบใจในอกุศล คุณประทีปไม่อยากมีกามาวจรจิตรึไม่

    ผู้ฟัง ไม่อยากไม่ได้ครับต้องมีทุกท่านครับ

    ท่านอาจารย์ แต่ถามถึงว่า อยากค่อยๆ พ้นๆ ไปไหมคะ

    ผู้ฟัง ก็เป็นทำนองนั้นครับ เอาสภาพธรรมตามความเป็นจริง หรือว่าเอา

    ท่านอาจารย์ ถามเนี่ยค่ะคุณประทีปอยากพ้นจากกามาวจรจิตไหม

    ผู้ฟัง อยากครับอยากที่ผมเรียนตามตรงว่าอยาก เพราะว่ามีอยู่สมย หนึ่ง ผมไปนั่งทำสมาธิเพื่อจะให้พ้นจากกามาวจรจิต เป็นรูปาวจรจิต เคยไปนั่งทำอยู่พักหนึ่ง ถ้าพูดถึงอย่างนั้นแล้วเนี่ยอยากแน่นอนครับ เป็นแน่นอนครับต้องยอมรับครับ

    ท่านอาจารย์ แล้วเมื่อกี้นี้อยากรับประทานอะไรหรอไม่ อยากครับ แล้วอย่างนั้นจะพ้นจากกามาวจรจิตได้ไหม

    ผู้ฟัง ผมนึกว่าถามเป็นขณะจิต เป็นไปตามขนาดครับใช่คือ

    ท่านอาจารย์ ไม่ค่ำคือถามจริงๆ เนี่ยค่ะว่าอยากจะพ้นจากกามาวจรจิตไหม

    ผู้ฟัง ตอนนี้ยังไม่อยาก

    ท่านอาจารย์ อันนี้เป็นความจริงใช่ไหมคะ เพราะว่าถ้าใครบอกว่าอยากถึงนิพพานเนี่ย เอ๊ะจริง หรือ ที่ว่าอยากจะถึงนิพพาน ถ้าอยากพ้นกามาวจรจิตอยากพ้นอย่างไร อยากพ้นระดับไหน หรืออยากพ้นชั่วคราว หรือว่าอยากจะต้องการกามาวจรธรรมที่มันละเอียดประณีตกว่านี้ หรืออะไรอย่างนี้ เพราะฉะนั้นทุกคนที่มาศึกษาพระธรรม และเป็นผู้ที่ตรง แล้วเป็นผู้ที่จริงใจ ด้วยการที่รู้จักตัวเองเพิ่มขึ้น ตราบใดที่ปัญญายังไม่เกิด จนกระทั่งเห็นลักษณะของสภาพธรรม ที่เกิดแล้วก็ดับไปอย่างรวดเร็วเพียงชั่วขณะที่ปรากฏ และเราจะบอกว่าเราไม่อยากที่จะมีกาม รูป เสียง กลิ่น รส โพฎฐัพพะ เนี่ยก็ย่อมจะเป็นไปไม่ได้ ก็เพราะว่าพอลืมตัวไปนิดนึงก็ติดซะแล้ว เดี๋ยวก็ติดอีก เดี๋ยวก็ติดอีก ใช่ไหม พอถามไม่ติด พอกำลังเผชิญหน้าก็ติด เพราะฉะนั้นต้องแยก ถ้าเป็นความคิด หรือความหวัง หรืออุดมการณ์ที่เราต้องการจะเป็นอย่างนั้น เอาความจริงใจ ว่าแท้ที่จริงแล้วเนี่ยยังไม่พ้นเพราะอะไร

    ผู้ฟัง ก็ยัง ยังมีโลภะอยู่

    ท่านอาจารย์ ถ้าย่อลงมาอีกนิดหนึ่ง ขณะนี้ให้รู้ ปัญญารู้ลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ เอาไหม

    ผู้ฟัง เอาครับอย่างนี้เอาครับ

    ท่านอาจารย์ ถ้ารู้ก็ถึงสิคะนิพพาน

    ผู้ฟัง ผมคงอีกนานครับ

    ท่านอาจารย์ แต่ยังไงก็ตามถ้ารู้ รู้ ไปจะต้องถึง


    ฟังธรรมจากหัวข้อย่อย

    หมายเลข 10
    5 ม.ค. 2567

    ซีดีแนะนำ