สนทนาธรรม ตอนที่ 010


    ตอนที่ ๑๐

    สนทนาธรรมที่หมู่บ้านเมืองทองนิเวศน์ ๑

    พ.ศ. ๒๕๓๗


    ท่านอาจารย์ เวลาฟังก็เข้าใจ แต่เวลากำลังกระทบ ความเข้าใจไม่ได้มาอยู่ที่แข็งกับสภาพที่รู้แข็ง เพราะฉะนั้น จึงมีความเข้าใจอีกขั้นหนึ่งซึ่งเรารู้ว่า ขั้นฟังก็รู้เรื่อง แต่ยังไม่ได้เข้าใจลักษณะที่ปรากฏ จนกว่าจะมีสติเกิดขึ้นระลึกในขณะที่กำลังมีสภาพธรรม หนึ่งสภาพธรรมใดปรากฏทางหนึ่งทางใด ไม่ว่าจะเป็นทางตา หู จมูก ลิ้น กาย หรือใจ เพราะฉะนั้น แล้วแต่ว่าสติจะระลึกที่ลักษณะใด เพราะเหตุว่าเป็นนามธรรมทั้งนั้น เป็นรูปธรรมทั้งนั้น ไม่ใช่เราเลย พร้อมที่จะให้พิสูจน์ อย่างทางตาก็พร้อมแล้ว มีสภาพเห็น มีสภาพที่รู้สิ่งที่ปรากฏทางตา คือ เห็น ซึ่งโต๊ะเก้าอี้ไม่เห็นไม่มีอาการที่รู้สีอันนี้ แต่สภาพที่กำลังเห็นคือรู้สี เป็นสภาพรู้ ค่อยๆ ฟัง ค่อยๆ เข้าใจเอาความเข้าใจ ไม่ใช่ให้ไปพิจารณา แต่ว่าถ้ามีการระลึกรู้ตรงลักษณะที่กำลังปรากฏแล้วค่อยๆ เข้าใจขึ้นที่ละน้อย เพราะเหตุว่าจิตเกิดดับเร็วมาก สติที่เกิดพร้อมจิตที่ระลึกที่แข็งก็ดับไปแล้ว สติที่ระลึกพร้อมทางตาที่กำลังเห็น หรือว่าเป็นอาการรู้ ก็ดับไปเร็วมาก

    เพราะฉะนั้น เพียงเกิดมานิดหนึ่ง แล้วก็ดับไป ปัญญาจะสมบูรณ์ถึงกับรู้จริงๆ ว่าสภาพรู้คืออย่างนี้ ไม่ใช่เรา หรือสิ่งที่ปรากฏซึ่งเป็นรูปธรรมนั้น ก็ไม่ใช่นามธรรม เป็นสิ่งที่มีจริง แต่ว่าทนต่อการที่จะเพิ่มปัญญาที่จะรู้ความจริงขึ้น ทีละเล็ก ทีละน้อย ไม่ใช่ว่าสิ่งที่มีจริงนั้นรู้ไม่ได้เลย สิ่งที่มีจริง ต้องรู้ได้ แต่ขาดสติ สติไม่เกิด หลงลืมสติ จึงไม่ระลึกตรงลักษณะของปรมัตถธรรม

    เพราะฉะนั้น ขั้นต่อไปก็คือรู้ว่าขณะใดสติเกิด ขณะใดหลงลืมสติเท่านั้น แล้วก็ฟังไปอีก ไม่ใช่ให้ใครมาสอน ให้เราพิจารณา บางคนก็เลิ่กลักอยู่ไหน พิจารณายังไง โยนิโสมนสิการยังไง ไม่ใช่เรื่องของความเข้าใจ ไม่ใช่เรื่องของการอบรมความรู้ เป็นเรื่องพยายามจะทำ ปัญหาแล้ว เราแล้ว ต้องการแล้ว คือไม่มีการรู้เลยว่าโลภะเขาอยู่ที่ไหน เพราะฉะนั้น จะดับเขาไม่ได้เลย แล้วก็จริงๆ แล้ว เวลาที่โลภะเกิด มีความต้องการในขณะนั้น ไม่ต้องทำอะไรเลย สำหรับผู้ที่ยังไม่ได้เป็นพระอริยะบุคคล เพียงแต่ว่าเขายังไม่มีความเห็นที่ถูกต้อง ทุกคนมักจะมีปัญหา เวลาที่จะเจริญสติปัฎฐาน คล้ายๆ กับว่ามันเป็นอีกเรื่องหนึ่ง ซึ่งเราจะต้องทำให้ถูก คิดว่าอย่างนั้น แต่ความจริงแล้ว เป็นเรื่องที่ฟังให้เข้าใจ ต้องเปลี่ยนเลย แทนที่จะไป จะทำให้ถูก ต้องฟังให้เข้าใจจริงๆ เข้าใจด้วยลักษณะของสภาพรู้ว่าต่างกับสิ่งที่ไม่ใช่สภาพรู้ อันนี้ก็ต้องมีความเข้าใจ แล้วก็วิธีที่จะพิสูจน์ก็คือว่ากำลังเห็นนี่ ก็รู้กันละว่าเป็นจิต แล้วก็เป็นสภาพรู้ แต่นั่นมันชื่อ ทีนี้ที่จะไม่ไช่ชื่อ ก็ต่อเมื่อกำลังเห็นเดี๋ยวนี้ตามธรรมดาทุกคนก็พิสูจน์ได้ว่าความรู้เพิ่มขึ้นหรือเปล่าที่จะรู้ว่าลักษณะรู้ สภาพรู้ ธาตุรู้ อาการรู้ คืออย่างนี้เอง คือเห็นนี่แหละ เป็นอาการรู้ ลักษณะรู้ชนิดนึง แต่ทีนี้เราเห็นแล้ว เราไม่เคยพิจารณาเลย เราสามารถที่จะบอกได้ว่า เราเห็นอะไร เพราะเหตุว่าเราไม่เคยใส่ใจในลักษณะที่เป็นสภาพรู้ หรือเห็น แต่เรารู้ว่ามีสิ่งที่ปรากฏแล้วเราสามารถจะจดจำลักษณะของสิ่งที่ปรากฏได้ เพราะฉะนั้น ขณะนั้นไม่มีทางที่จะมารู้เลยว่าสภาพรู้ หรือธาตุรู้คืออย่างนี้

    ทีนี้เมื่อเราได้ฟังแล้ว เราก็รู้ว่าแท้ที่จริงแล้ว เราไม่เคยคุ้นเคยกับสภาพรู้เลย ทั้งๆ ที่เราฟังแล้วก็เข้าใจว่ามีสภาพธรรมสองอย่าง อย่างหนึ่ง เป็นสภาพที่ไม่รู้อะไรเลยไม่ใช่สภาพรู้ อีกอย่างหนึ่ง ก็เป็นสภาพรู้ นี่ก็คือส่วนที่เข้าใจจากการฟัง แต่ไม่ใช่เข้าใจในขณะที่สภาพรู้กำลังทำกิจการงานของสภาพรู้ คือ เห็น เพราะฉะนั้น จึงต้องมีการระลึกได้ในขณะที่กำลังเห็นว่า ในขณะที่กำลังเห็น ของจริง ก็คือว่ามีสิ่งที่ปรากฏทางตา ยืนยันว่าต้องมีสภาพเห็น สภาพที่รู้สิ่งที่ปรากฏทางตา เพราะฉะนั้น ลักษณะของสภาพรู้ ธาตุรู้ เป็นนามธรรมซึ่งไม่มีรูปร่างลักษณะอะไรเลย มีกิจการงานซึ่งเกิดขึ้นทำกิจเห็นอย่างรวดเร็ว แล้วก็มีจิตอื่นซึ่งเกิดขึ้นทำกิจอื่นๆ อย่างรวดเร็ว สลับต่อกันไปด้วย เพราะฉะนั้น จึงยากที่จะรู้ว่าแต่ละขณะตั้งแต่เกิดจนตายเป็นสภาพรู้ทั้งหมด เพราะเหตุว่าเดี๋ยวเห็น เดี๋ยวได้ยิน ก็มีแต่สิ่งที่ปรากฏทางตา มีเสียง มีรส มีกลิ่น มีอะไรต่างๆ ให้ไม่คิดถึงสิ่งที่ปรากฏทางตา หรือแม้แต่สิ่งที่ปรากฏทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เราก็ไปคิดเป็นเรื่อง เป็นราว เป็นลักษณะของสิ่งต่างๆ นี่คือหลงลืมสติ แล้วก็ไม่ใช่การรู้ลักษณะของสภาพธรรมที่ได้ยินได้ฟัง แล้วก็บอกว่าเข้าใจนะว่ามีสภาพธรรม ๒ อย่าง คือ มีสภาพรู้ กับ สภาพที่ไม่ใช่สภาพรู้ บอกว่าเข้าใจ แต่เวลาที่สภาพธรรมกำลังเกิดขึ้นทำกิจการงานจริงๆ ไม่ได้เข้าใจเลย

    นี่คือระดับขั้นของการศึกษาซึ่งต่างกัน ขั้นปริยัติก็คือการเข้าใจเรื่องของสภาพธรรม ขั้นสติระลึกก็คือขั้นรู้จริงๆ ว่าลักษณะรู้ สภาพรู้ที่กำลังมีเดี๋ยวนี้กำลังเป็นสภาพรู้ลักษณะไหนบ้าง คือทางตานี้คือเห็น ทางหูที่กำลังได้ยิน ทางใจที่คิดนึก นี่ทั้งหมดคือสิ่งที่สติจะต้องระลึกจนกว่าจะรู้จริงๆ ก็เท่านี้เอง เพราะฉะนั้น ไม่มีเหตุวิธีการ นอกจากฟังให้เข้าใจ ไม่ใช่ไปทำ จิรกาลภาวนา เพราะฉะนั้น ขณะนี้เท่านั้นที่สภาพธรรมกำลังปรากฏ นี่คือจะเรียกว่ามนต์วิเศษก็ได้ สำหรับที่จะทำให้หมดความกังวล หมดทุกข์ หมดโศก หมดทุกสิ่งทุกอย่างที่จะเป็นตัวตน เพราะเหตุว่ามีสภาพธรรมกำลังปรากฏ แล้วถ้าขณะนั้นสติระลึก และปัญญาเกิด จะค่อยๆ รู้ตามความเป็นจริงว่าเมื่อกี้นี้ก็ไม่ได้มี หลงลืมไปแล้ว ก็หมดแล้ว จะยุ่งอะไรกับสิ่งที่หมดไปแล้ว และอีกอย่างหนึ่งจะเห็นความละเอียด พอฟังปุ๊บก็เริ่มแล้วทางกายอะไรต่อต่างๆ นี่ก็ยังมีเยื่อใยของความเป็นตัวตนแสดงให้เห็นเลย เพราะฉะนั้น สักกายทิฏฐิไม่ใช่มีเพียงแค่ขันธ์ ๕ นะ ๒๐ เพราะฉะนั้น คนที่อบรมเจริญสติปัฎฐานถึงจะรู้ได้ว่า กว่าความเป็นตัวตนจะค่อยๆ ไม่ใช่หมดไป เพียงแต่ทีละน้อยๆ ที่ค่อยๆ จางไปไม่ใช่หมด ผู้นั้นจะเป็นผู้ที่รู้เลยว่า ขณะนั้นยังไม่ได้ละคลาย และก็การละคลายก็จะมีไม่ได้เลยถ้าไม่เป็นไปตามลำดับขั้น

    ด้วยเหตุนี้จึงทรงแสดงไว้ตามลำดับจริงๆ ตั้งแต่ขั้นเจริญสติปัฎฐานจนกระทั่งวิปัสสนาญาณแต่ละขั้นนี่ข้ามขั้นไม่ได้เลย ถ้ายังไม่ถึงขั้นคลายก็คลายไม่ได้แม้ว่าสภาพธรรมกำลังปรากฏ เพราะฉะนั้นก็เป็นเรื่องที่ละเอียดที่ว่าผู้ที่ฟังพระธรรมแล้วก็ประพฤติปฏิบัติตาม สติเกิดระลึก ผู้นั้นจะเห็นว่าทุกอย่างจริง เป็นจริงอย่างนั้นแล้วไม่มีการที่จะข้ามขั้นเลยเพราะว่าขั้นที่จะเป็นตัวตนที่กำลังหานาม หารูป จะเรียกก็คือขั้นเริ่มต้นจนกว่าจะค่อยๆ รู้ขึ้น เป็นอย่างนี้นะ ความเป็นตัวตนเยอะ เพราะฉะนั้นเราก็พูดถึงตอนที่มีสติสัมปชัญญะเป็นปกตินี่แหละที่เราจะได้ประโยชน์อย่างยิ่งจากการที่เราไม่หลับ แล้วเราเห็นโดยไม่เคยเข้าใจสภาพธรรม ได้ยินไม่เคยเข้าใจสภาพธรรม มารู้ว่าขณะนี้เป็นธรรมทั้งหมด

    เพราะฉะนั้นการฟังพระธรรมเพื่อเข้าใจ วิปัสสนาญาณอะไรๆ ไม่ต้องไปคำนึงถึง ไม่ต้องไปนั่งคิดเรื่องปฏิบัติไม่ต้องอะไรเลย เข้าใจลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏจากการฟัง จากการพิจารณาแล้วก็เวลาที่เข้าใจขึ้น นั้นคือการอบรมเจริญปัญญาพร้อมด้วยสติซึ่งก็ต้องเป็นสติปัฎฐานไปทีละเล็กทีละน้อย จนกว่าจะมีการประจักษ์ลักษณะของสภาพธรรม ข้อสำคัญที่สุดที่ลืมไม่ได้คือเข้าใจสิ่งที่กำลังปรากฏ ไม่อย่างนั้นจะเป็นความคิดนึกเรื่องนั้นเรื่องนี้ เรื่องนี้เรื่องนั้นอยู่ตลอด แต่ไม่ใช่เรื่องเข้าใจลักษณะของสิ่งที่กำลังปรากฏ

    ผู้ฟัง สติในขั้นการให้ทานนี่นะ ไม่ใช่สติปัฏฐาน เพราะฉะนั้นสติในขั้นทานนี่ก็ถ้าหากว่าเป็นไปในลักษณะสภาพธรรมที่เป็นสภาพธรรมที่ให้อย่างนี้ ก็น่าจะเป็นสติปัฎฐานได้ใช่ไหม

    ท่านอาจารย์ เวลาที่บอกว่าขณะที่ไม่มีตัวเรานะคะ มีแต่นามธรรมกับรูปธรรม แล้วนามธรรมเป็นสภาพรู้ รูปธรรมเป็นสภาพไม่รู้ เข้าใจไหมคะ

    ผู้ฟัง เข้าใจ

    ท่านอาจารย์ ขณะที่เข้าใจมีสติไหม ขณะที่เข้าใจมีสติเกิดร่วมด้วยในขณะนั้นไหม ก็มี เพราะฉะนั้นจะเห็นได้ว่าเราไม่รู้ลักษณะของสติทั้งๆ ที่สติเกิด กำลังเข้าใจนะ ต้องมีสติเป็นกุศลจิตที่เข้าใจ ไม่ใช่ตัวคุณประทีป แต่ลักษณะของสติที่เกิดแล้วเข้าใจในขณะนี้นะ คุณประทีปไม่เห็นลักษณะของสติเลย เพราะว่าไม่สามารถที่จะรู้ได้ถ้าไม่มีการระลึกที่ลักษณะของสติ หรือว่าขณะที่สติไม่ปรากฏ แต่ขั้นการศึกษานี้เราทราบว่าเมื่อไม่มีตัวตน และก็มีจิต มีเจตสิก มีรูป เพราะฉะนั้นไม่ว่าอะไรทั้งหมดจะไม่ต่างไปจากจิต เจตสิก รูป เลยถ้าพูดถึงโกรธเป็นเจตสิก ถ้าพูดถึงริษยาเป็นเจตสิก ถ้าพูดถึงเห็นเป็นจิต เป็นใหญ่เป็นประธานในการเห็นสิ่งที่ปรากฏ ถ้าพูดถึงได้ยินก็เป็นจิต ถ้าพูดถึงผัสสะการกระทบอารมณ์ขณะนั้นก็เป็นเจตสิก เพราะฉะนั้นเราเรียนเรื่องจิต เจตสิก รูป ก็เพื่อที่จะให้เห็นจริงๆ ว่า ที่เราไม่เคยรู้เลยเรื่องของตัวเราก็มาแตกย่อยออกเป็นจิตบ้าง เจตสิกบ้าง รูปบ้าง เพราะฉะนั้นขณะที่ฟัง และเข้าใจขณะนั้นเป็นกุศลจิต ต้องมีจิต เพราะโต้ะไม่รู้เรื่องเลย ต้องเป็นจิตที่ประกอบด้วยโสภณเจตสิกคือเจตสิกฝ่ายดี ซึ่งเจตสิกฝ่ายดีนั้นต้องมีสติเจตสิกเกิดร่วมด้วย

    เพราะฉะนั้นทุกครั้งที่กุศลจิตเกิดเราจะรู้ หรือไม่รู้ก็ตาม สติเกิดร่วมด้วย เวลาที่คุณประทีป คิดจะให้อะไรใครเพื่อประโยชน์สุขกับคนนั้น เป็นจิตไม่ใช่รูป รูปนี่ไม่รู้อะไรเลย แล้วก็ไม่ใช่จักขุวิญญาณด้วย จิตที่กำลังเห็นทำอย่างอื่นไม่ได้ เป็นกุศลไม่ได้ คิดเรื่องอะไรไม่ได้ ทำหน้าที่เดียวคือเห็น เพราะฉะนั้นจิตแต่ละประเภทที่เกิดขึ้นจะทำกิจเฉพาะของตนของตน ด้วยเหตุนี้เราจะต้องมาขยายด้วยว่า เรียนเรื่องจิตโดยละเอียดว่าเมื่อไม่ใช่ตัวเราแล้วก็มีจิตกี่ประเภท และจิตแต่ละประเภทนั้นเกิดขึ้นทำกิจอะไร ไม่คิดนั้นมีเจตสิกประกอบเท่าไหร่ ถึงจะรู้ได้ว่าจิตนั้นเป็นกุศล หรือเป็นอกุศล เพราะฉะนั้นขณะที่คุณประทีปคิดที่จะให้ สิ่งหนึ่ง สิ่งใด กับคนอื่นขณะนั้นบอกแล้วว่าไม่มีคุณประทีปก็ต้องมีจิต เจตสิก ซึ่งขณะนั้นต้องเป็นกุศลจิต และขณะที่มีการระลึกที่จะให้ขณะนั้นเมื่อเป็นกุศลจิตแล้วต้องมีสติเกิดร่วมด้วยทุกครั้งเพราะว่ามีโสภณสาธารณะเจตสิกทั้งหมด ๑๙ ดวง ที่จะต้องเกิดกับกุศลจิตแต่ละครั้ง หรือว่าจิตฝ่ายดีแต่ละครั้งซึ่งรวมสติเจตสิกด้วย มีอโลภเจตสิก มีอโทสเจตสิก มีสติเจตสิก มีศรัทธาเจตสิก

    ทุกครั้งที่คุณประทีปกำลังคิดจะให้ทานก็ไม่รู้เลยว่าขณะนั้นเป็นจิตฝ่ายดีซึ่งประกอบด้วยโสภณเจตสิกไม่มีคุณประทีป เพราะฉะนั้นขณะที่กำลังให้ทานเป็นสติที่ระลึกในการให้ ไม่ใช่ระลึกที่จะฟังธรรม ไม่ใช่ระลึกที่จะวิรัติทุจริตเพราะเหตุว่าถ้าไม่มีสติที่ระลึกเป็นไปในกุศล วันหนึ่งๆ ก็เป็นอกุศล ตื่นขึ้นมาวันนี้เราจะทำอะไร เรื่องของตัวเราทั้งหมดมาอีกแล้ว แปลว่าอกุศลในวันหนึ่งๆ เป็นเรื่องโลภะ แต่เวลาที่มีการระลึกได้ที่เป็นไปในกุศลขณะนั้นเป็นสติเจตสิกไม่ใช่คุณประทีป เพราะฉะนั้นจะถามว่าขณะนั้นเป็นสติ หรือเปล่า หรือเป็นสติปัฎฐาน หรือเปล่าก็ทราบได้ว่าสติมีหลายขั้นขณะใดที่เป็นกุศลขณะนั้นต้องมีสติเจตสิกเกิดร่วมด้วยเป็นสติขั้นทาน เรียกว่าขั้นทานเพราะระลึกที่จะให้ ไม่เป็นไปในการที่จะรับ หรือที่จะเอาที่จะเป็นของตัว ขณะที่วิรัติทุจริตขณะนั้นก็เป็นสติขั้นศีล ขณะที่โกรธใครแล้วก็ยังโกรธอยู่ต่อไป ขณะนั้นสติเกิดรึเปล่า ก็กำลังโกรธอยู่หลายๆ วันปกติธรรมดาลืมตาขึ้นมานี่โลภะแล้ว มีสติเกิด หรือเปล่า ขณะที่ลืมตามาจะไปเข้าห้องน้ำ แปรงฟัน ทำอะไรก็ตามสติเกิดรึเปล่า

    ผู้ฟัง แหมท่านอาจารย์พูดมาแบบนี้ใจฉันห่อเหี่ยว เมื่อกี้ใจมาเป็นกองนะให้กำลังใจเมื่อกี้นี้

    ท่านอาจารย์ นี่คือเราอีกแล้ว ต้องสลับกัน แต่ขณะที่โกรธอยู่นะ ขณะนั้นจะมีสติเกิดไหมคะกำลังโกรธ

    ผู้ฟัง ไม่มีแน่

    ท่านอาจารย์ ลืมตาขึ้นมาต้องการโน่น ต้องการนี่ ไม่ได้คิดที่จะให้อะไรใคร มีสติเกิดรึเปล่า ไม่มี เพราะฉะนั้นต้องเฉพาะขนาดที่เป็นกุศล หรือโสภณจิตเท่านั้น

    ผู้ฟัง ท่านอาจารย์ ถ้าเป็นสภาพที่ระลึกที่การให้อย่างเดียว

    ท่านอาจารย์ คุณประทีปเข้าใจคำว่าระลึกผิดแล้วละ ถ้าในลักษณะคำถามของคุณประทีปนี่เหมือนกับนึกเรื่องของทาน มีมะม่วงที่บ้านนะคะ แล้วเอาไปให้เพื่อนบ้านขณะที่กำลังให้ มีสติไหม

    ผู้ฟัง ผมเปลี่ยนคำถามใหม่ว่า ในขณะที่จะให้นะ ถ้าสภาพระลึกรู้ถึงจิต เจตสิกที่กำลังมีสภาพให้เพราะว่าผมไม่รู้จะสื่อความหมายสมมติบัญญัติว่ายังไง

    ท่านอาจารย์ มีจิต มีเจตสิก มีรูป ที่สติจะระลึก

    ผู้ฟัง ระลึกเรื่องอะไรที่จะให้

    ท่านอาจารย์ เดี๋ยวก่อนนะมีตัวที่สติจะต้องระลึกที่เป็นสติปัฎฐานคือจิต เจตสิก รูป ๓ อย่างเท่านั้น เพราะฉะนั้นต้องเรียนลักษณะของ ๓ คำนี้ให้เข้าใจให้ถูก เข้าใจเรื่องจิต เข้าใจเรื่องเจตสิก เข้าใจเรื่องรูป แล้วสติจึงจะระลึกที่จิต เจตสิก ที่รูป นั้นคือสติปัฏฐาน

    ผู้ฟัง นึกไปอีกชั้นหนึ่ง

    ท่านอาจารย์ ไม่ใช่อีกชั้น ระลึกลักษณะของปรมัตธรรมที่มีลักษณะจริงๆ ปรากฏอย่างแข็งมีลักษณะจริงๆ ปรากฏ ถ้ารู้ตรงแข็ง ระลึกที่ลักษณะของรูป โดยไม่ต้องเรียกว่ารูปแต่มีแข็งปรากฏ ถ้าระลึกที่สภาพรู้นั้นเป็นลักษณะของนามธรรม เพราะฉะนั้นจะมีสภาพที่เป็นปรมัตถธรรม

    ระลึกที่นี่ไม่ได้ไปนั่งคิด ถ้าเป็นสติปัฐานแล้วรู้ลักษณะ เพียงแต่ว่าให้เข้าใจเรื่องของสติ เพราะเหตุว่าอยากจะรู้ว่าสติเป็นยังไง ก็สติขั้นทานก็คือขณะที่กำลังให้ทาน ขณะนั้นต้องมีสติเกิดร่วมด้วยเพราะว่าเป็นสภาพของจิตที่เป็นกุศล และจิตที่เป็นกุศลทุกประเภทให้เข้าใจว่ามีสติเจตสิกเกิดร่วมด้วย แต่ว่าถ้าไม่มีสติสัมปชัญญะระลึกลักษณะของสภาพธรรม ไม่มีทางที่จะรู้ลักษณะของสติรู้แต่ชื่อ ว่ามีสติเกิดร่วมด้วย เพราะฉะนั้นก็ต้องเป็นการเจริญปัญญาอีกขั้นหนึ่ง ถึงจะรู้ลักษณะของสติบ้าง

    ทุกอย่างต้องมีการตั้งต้นที่จะเข้าใจจริงๆ เพราะว่าบางคนอาจจะศึกษาธรรมแบบศึกษาให้เข้าใจเรื่องนั้นเรื่องนี้เยอะๆ คิดว่าต้องทำอย่างนั้น แต่ความจริงไม่ใช่ อย่าลืมว่าศึกษาเพื่อเข้าใจลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ อันนี้อย่าลืมไม่อย่างงั้นเราจะเป็นเจ้าตำรา หรือว่ารู้แต่เรื่องตำราแต่ว่าไม่รู้ของจริงๆ ที่กำลังปรากฏว่านี่คือสิ่งที่ตำราบอกให้เราเข้าใจ แต่เราก็ไปสนใจเรื่องของตำราเสีย ไม่สนใจเรื่องสิ่งที่กำลังปรากฎ เพราะฉะนั้นคุณประทีปตอบหน่อยนะ ว่าธรรมนี่คืออะไร

    ผู้ฟัง ธรรมคือทุกขณะจิต ผมพูดอย่างรวมๆ

    ท่านอาจารย์ ไม่ได้

    ผู้ฟัง ธรรมก็คือธรรมชาติ ธรรมก็คือธรรมดาเนี่ยนะ ที่มีเหตุมีผลมีที่มาที่ไปอะไรนี่นะครับ เข้าใจอย่างสภาพรวมๆ นี่เป็นตัวอย่างที่ไม่ดีนะ ที่ผมไม่ค่อยชอบอภิธรรมนะครับ เพราะฉะนั้นอย่ามาเอาตัวอย่างผม ถ้าคุยในเรื่องวิชาการ ละผมตกม้า

    ท่านอาจารย์ นี่เรื่องจริง แล้วเรายังไม่ไปถึงสติปัฏฐานด้วย แต่กว่าจะไปได้ก็ต้องตั้งต้นให้เข้าใจชัดเจนนะคะ

    ผู้ฟัง พูดถึงสภาพธรรม ธรรมก็คือธรรมชาติอยู่ในขณะนี้ครับ

    อ.สมพร ธรรมที่เรากำลังพูดถึงนี่นะครับ หมายถึงสภาวะที่มีอยู่จริง ไม่ใช่มีอยู่โดยที่ไม่มีข้อพิสูจน์ เมื่อพิสูจน์แล้วนะครับ สภาวะอย่างใดอย่างหนึ่งนะครับ ก็คงเป็นอย่างนั้นเช่นจิตนี่ครับ พิสูจน์เท่าไหร่ๆ ก็มีอยู่ แต่ว่าเราไม่สามารถจะพิสูจน์ได้ทางโลกมีอาศัยทางธรรมซึ่งอาศัยปัญญา ธรรมก็มาจาก ธระ แปลว่าทรงไว้ คำว่าทรงไว้ ก็หมายถึงว่า ทรงไว้ซึ่งภาวะตามความเป็นจริงนะครับ เป็นของจริงเป็นของที่มีอยู่จริง เช่นเป็นจิต เป็นเจตสิก เป็นรูป หรือนิพพานอย่างไดอย่างหนึ่ง

    ท่านอาจารย์ ธรรมที่ไม่ดีมีไหมคะ

    อ.สมพร มีครับ ธรรมที่ไม่ดี

    ท่านอาจารย์ หมายความถึงทุกสิ่งทุกอย่างที่มี เป็นธรรมใช่ไหมคะ พิสูจน์ได้ แล้วธรรมที่ไม่ดีก็ไม่ใช่ ดีก็ไม่ใช่ มีไหมคะ

    อ.สมพร มีครับ

    ท่านอาจารย์ อันที่จริงเราก็กระโดดไปหน่อยๆ นะคะ เพราะว่าจริงๆ แล้วก็รู้สึกว่าทุกคนก็ฟังมาเยอะนะคะ แต่ว่าถ้าเราจะพูดทบทวนก็คงจะได้ว่าธรรมที่เรากล่าวถึงหมายความถึงปรมัตถธรรม สภาพธรรมที่มีลักษณะจริงๆ แล้วก็ไม่มีใครสามารถที่จะเปลี่ยนแปลงสภาพธรรมนั้นๆ ได้จึงใช้คำว่า ปะระมะ อย่างยิ่ง คือว่าไม่มีใครจะไปมีอำนาจเปลี่ยนแปลงลักษณะของสภาพธรรมนั้นได้ เป็นปรมัตถธรรมเป็นสภาพธรรมที่มีจริงๆ แล้วเมื่อกี้นี้เราก็พูดกันไปถึงเรื่องสภาพธรรมที่มีจริงที่เป็นปรมัตธรรมมี ๔ คือ ๑ จิต ๒ เจตสิก ๓ รูป ๔ นิพพาน ส่วนเรื่องนิพพานยังไม่กล่าวเพราะอะไร ต้องมีเหตุผลด้วยไม่ใช่อยู่ดีๆ บางคนก็อยากจะพูดเรื่องนิพพานโดยที่ไม่รู้เรื่องของ จิต เจตสิก รูป เลยก็เป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ทั้งๆ ที่นิพพานเป็นปรมัตถธรรมมีจริง แต่ยังไม่กล่าวเพราะเหตุว่าขณะนี้อะไรปรากฏ มีจิต มีเจตสิก มีรูป แต่ยังไม่รู้ เรื่องจิต เรื่องเจตสิก เรื่องรูป เพราะฉะนั้นจะไปพูดถึงนิพพานก็ไม่สามารถที่จะเข้าใจได้ เพราะฉะนั้นถ้ามีสิ่งใดที่กำลังปรากฏแล้วยังไม่เคยเข้าใจยังไม่เคยฟังยังไม่เคยรู้

    เราก็จะพูดถึงเรื่องสิ่งที่มีให้เข้าใจเสียก่อน เพราะฉะนั้นเราก็จะพูดเรื่องจิต เรื่องเจตสิก เรื่องรูป แล้วเมื่อกี้คำถามที่ว่าธรรมที่เป็นกุศลมีไหม คุณประทีป ก็บอกว่ามีธรรมที่เป็นอกุศลมีไหม คุณประทีปก็ตอบว่ามี และธรรมที่ไม่ใช่กุศล ไม่ใช่อกุศลมีไหมคุณประทีปก็ตอบว่ามี ยกตัวอย่างคะ

    ผู้ฟัง ก็รูปนะครับ หรือในขณะที่ปรากฏทางตานะครับ ที่ไม่ใช่ทั้งกุศล อกุศลก็คือในขณะที่มีสิ่งที่ปรากฏทางตา ก็เป็นรูปนะครับ

    ท่านอาจารย์ รู้ใช่ไหมคะ หรือทราบแล้วเรื่องของชาติของจิต ๔ อย่าง แต่เราจะไม่ไปถึงอันนั้นเลยค่ะ

    ผู้ฟัง คือฟังหลายครั้งแล้วครับ

    ท่านอาจารย์ อย่างนั้นนะคะ ถ้าอย่างนั้นหมายความว่าคุณประทีปรู้จักคำว่าธรรม

    ผู้ฟัง รู้จักครับผม

    ท่านอาจารย์ แล้วได้รู้จักปรมัตถธรรม แล้วรู้จักคำว่าจิต เจตสิก รูป ๓ อย่าง เพิ่มอีกนิดหนึ่ง สังขารธรรม เคยได้ยินไหม

    ผู้ฟัง ได้ยินครับ

    ท่านอาจารย์ แล้วคืออะไร ทุกอย่างที่ได้ยินควรจะเข้าใจค่ะ จะได้ไม่ลืม

    ผู้ฟัง สังขารธรรมก็คือทั้งหมด จิต เจตสิก รูป ก็เป็นสังขารธรรม เป็นสภาพธรรมทุกสิ่งทุกอย่างที่รวมอยู่ในสังขารธรรม

    ท่านอาจารย์ ไม่ใช่รวมนะคะ คุณประทีปพูดคล้ายๆ กับเป็นกอง และในสังขารธรรม มีอะไรบ้าง นี้แสดงว่าเรายังไม่รู้ความหมายของคำว่าสังขารธรรม มีคำว่าธรรม และมีคำว่าสังขาระเพิ่ม เคยได้ยินคำว่าสังขารไม่ใช่หรอคะ แล้วก็ต้องเข้าใจคำที่ได้ยินสิ เพราะว่าเราจะไม่ผ่านไป อะไรก็ตามที่ฟังแล้วไม่เข้าใจไม่เอา เอาเข้าใจ เวลานี้เข้าใจคำว่าธรรมแล้วมีคำว่าสังขาร เพราะฉะนั้นสังขารนี้คืออะไร หมายความว่าอะไร เป็นธรรม หรือเปล่า สังขารนี้เป็นธรรมประเภทไหน ยังไงถึงได้เป็นสังขารเมื่อกี้ก็เป็นธรรม และตอนนี้มาเป็นสังขารขึ้นมา

    ผู้ฟัง คือผมฟังบ่อยนะครับ สังขารธรรม สังขตธรรม ผมก็ยังจำได้ว่าถ้าจำยากๆ ก็สังขตอะไรอย่างนี้


    ฟังธรรมจากหัวข้อย่อย

    หมายเลข 10
    22 ม.ค. 2567

    ซีดีแนะนำ