สนทนาธรรม ตอนที่ 037


    ตอนที่ ๓๗


    ท่านอาจารย์ ตกลงทุกคนมั่นใจว่าทุกคนมีจิต ๔ ชาติ กุศล ๑ อกุศล ๑ วิบาก ๑ กิริยา ๑ และก็สำหรับกุศลกับอกุศลก็น่าคิดว่าอย่างไหนมากกว่ากัน การศึกษาธรรม เพื่อรู้ความจริงค่ะไม่ใช่รู้ว่ากุศลจิตมีอกุศลจิตมี แล้วก็เฉยๆ ไปแต่ถ้ารู้ว่ากุศลจิตมีอกุศลจิตมี แล้วอย่างไหนมากกว่ากันในวันนึงก็จะเป็นทางที่ว่าเมื่อมีโอกาสของกุศล และเราจะไม่ละเลยเลย ไม่ว่าจะเป็นโอกาสเล็กน้อยสักแค่ไหนเราก็ทำค่ะเพราะรู้ว่าขณะนั้นเป็นกุศลจิตดีกว่าจะให้จิตของเราเนี่ยเป็นอกุศล เพราะฉะนั้นคนที่มีความเข้าใจธรรม ก็จะมีปัจจัยที่จะทำให้กุศลจิตเกิดบ่อยขึ้น และก็มากประเภทขึ้นด้วยนี้เป็นผลของการศึกษาธรรมคือเป็นผู้ที่ประพฤติปฏิบัติตามด้วยไม่ใช่ฟังหรือศึกษาแบบทฤษฎีแบบวิชาการแบบภูมิศาสตร์ประวัติศาสตร์จดจำจำนวนสถิติ แต่เพื่อที่จะพิจารณา แล้วก็ปัญญาที่เกิดจากการรู้ความจริงก็จะทำหน้าที่ของปัญญา คือเห็นว่ากุศลเป็นสิ่งที่ควรเจริญ และอกุศลเป็นสิ่งที่ควรละ แต่เวลาที่มีปัจจัยที่อกุศลจิตเกิดทุกคนก็รู้ว่าปัญญาแค่นี้ทำอะไรไม่ได้ แต่โอกาศหน้ายังมีที่จะเป็นกุศล เพราะฉะนั้นทุกคนที่เห็นประโยชน์ของกุศลแม้ว่าขณะที่อกุศลจิตเกิดก็เกิดแล้วแต่ขณะต่อไปก็ยังเป็นโอกาสของกุศลได้ เพราะฉะนั้นก็ไม่ท้อถอย แล้วก็ไม่ต้องไปผิดหวังอะไร เพราะสภาพธรรมชีวิตจริงๆ คืออย่างนี้ก็ต้องรู้ความจริงอย่างนี้ เรื่องชาติ ๔ ชาติมีข้อสงสัยไหมคะ หมดหรือยังคะข้อสงสัยเรื่องชาติ ๔ ชาติ เรายังไม่ไปถึงความละเอียดว่ากุศลจิตมีกี่ดวงกี่ชนิดอกุศลจิตมีเท่าไหร่วิบากจิตมีเท่าไหร่กิริยาจิตมีเท่าไหร่แต่เรารู้คร่าวๆ ในชีวิตประจำวันได้ว่ากำลังเห็นเนี่ยเป็นผลของกรรม เพราะว่าเกิดมาเพื่อเห็นรับผลของกรรมทางตาเพื่อได้ยินรับผลของกรรมทางหูเพื่อได้กลิ่นรับผลของกรรมทางจมูกเพื่อลิ้มรสรับผลของกรรมทางลิ้นเพื่อรู้สิ่งที่กระทบสัมผัสรับผลของกรรมทางกายซึ่งยังไงๆ ทุกคนก็ต้องรับหนีไม่พ้นกรรมในอดีต เพราะฉะนั้นชีวิตจึงต่างกันไปแต่ละคนเนี่ยค่ะ มีกุศลวิบากมากบ้างมีอกุศลวิบากมากบ้างบางคนมีกุศลวิบากทางตาแต่ว่ามีอกุศลวิบากทางกายนี้ก็แสดงให้เห็นว่าทุกขณะเรียกแลกเปลี่ยนกันไม่ได้เลยเป็นผลของกรรมเมื่อกรรมเป็นสิ่งที่ทำให้วิบากจิตเกิดขึ้น และใครก็หลีกเลี่ยงวิบากจิตไม่เกิดไม่ได้ แต่หลังจากวิบากจิตเกิดแล้ว สำคัญที่สุดคือกุศลจิต หรืออกุศลจิตเกิด สำหรับกิริยาเราก็มีน้อยเพียง ๒ ขณะก็ผ่านไป แล้วพอถึงความละเอียดเราถึงจำได้แต่ถ้าใครจำได้ก่อนก็ดี เพราะว่าจำง่ายไม่ลืมหรอกจิต ๒ ดวงที่เป็นกิริยาจิต ถ้าไม่มีจะได้ต่อไปถึงเรื่องภูมิดีไหมคะ ไม่มีใครสงสัยนะคะ เรื่องชาติ ถามอีกนิดนึงนะคะ ฌานจิตเป็นจิตชาติอะไร

    ผู้ฟัง ฌานจิต

    ท่านอาจารย์ สำหรับคนที่เป็นมนุษย์ แล้วก็เจริญความสงบของจิตจนกระทั่งฌานจิตเกิด ฌานจิตนั้นเป็นชาติอะไร

    ผู้ฟัง ฌานจิตไม่มีอกุศลจิตเกิดกับฌานจิต เพราะฉะนั้นฌานจิตก็เป็นกุศลเป็นวิบาก แล้วก็เป็นกิริยาชาติ

    ท่านอาจารย์ สำหรับคนมนุษย์ในโลกนี้ถ้าทำความสงบจนกระทั้งฌานจิตเกิด ฌานจิตนั้นเป็นชาติอะไร

    ผู้ฟัง เป็นชาติกุศล

    ท่านอาจารย์ เป็นชาติกุศลถ้าคนนั้นเป็นพระโสดาบันที่ได้ฌาน ฌานจิตของพระโสดาบันเป็นอะไร

    ผู้ฟัง ก็เป็นชาติกุศล

    ท่านอาจารย์ เป็นชาติกุศลของพระสกทาคามี

    ผู้ฟัง เป็นชาติกุศล

    ท่านอาจารย์ ของพระอนาคามี

    ผู้ฟัง กุศลครับผม

    ท่านอาจารย์ ของพระอรหันต์

    ผู้ฟัง เป็นกิริยา

    ท่านอาจารย์ นี่ต้องเปลี่ยนแล้ว คือว่าสำหรับพระอรหันต์แล้วไม่มีทั้งกุศลจิต และอกุศลจิต พระอรหันต์จะเหลือจิตเพียง ๒ ชาติเท่านั้นคือวิบากจิตกับกิริยาจิต เพราะว่าพระอรหันต์ไม่เกิดอีกต่อไป เพราะฉะนั้นหลังจากที่ดับกิเลสแล้วแม้การกระทำใดๆ ทั้งสิ้นเป็นกิริยาจิตทั้งหมด แม้แต่จิตที่สงบของพระอรหันต์ก็ต่างกับจิตที่สงบของพระโสดาบัน เพราะว่าจิตที่สงบของพระโสดาบันยังเป็นปัจจัยให้เกิดแต่จุดที่สงบของพระอรหันต์ไม่เป็นปัจจัยให้เกิดจึงเป็นกิริยาจิต นี่เป็นความต่างกันของกุศลกับกิริยา เพราะเหตุว่าเป็นจิตฝ่ายดีแต่ว่าจิตฝ่ายดีประเภท ๑ นั้นเป็นปัจจัยให้เกิดอยู่ต่อไปเรื่อยๆ แต่จิตใจดีอีกประเภทนั้นไม่เป็นปัจจัยให้เกิดอีกเลย เพราะฉะนั้นก็ต้องเป็นของพระอรหันต์เท่านั้นสำหรับกิริยาจิตไม่มีกุศลเลย พระอรหันต์มีจิตกี่ชาติค่ะทบทวนอีกที

    ผู้ฟัง พระอรหันต์มีจิต ๒ ชาติครับ

    ท่านอาจารย์ คือ

    ผู้ฟัง วิบากจิตกิริยาจิต

    ท่านอาจารย์ กริยาจิต คุณวีระมีจิตกี่ชาติ

    ผู้ฟัง ผมมี ๔ ชาติครับ

    ท่านอาจารย์ พระโสดาบันมีกี่ชาติ

    ผู้ฟัง มี ๔ ชาติ

    ท่านอาจารย์ พระอรหันต์มีกี่ชาติ

    ผู้ฟัง ๒ ชาติ

    ท่านอาจารย์ ๒ ชาติค่ะไม่ยากเลยเป็นเหตุเป็นผลตลอดเลย ทีนี้ต่อไปเราจะถึงจิตโดยภูมิหมายความว่าจิตมีตั้งแต่ ๘๙ หรือ ๑๒๑ ทำยังไงเราถึงจะเข้าใจเป็นประเภทประเภทไปได้เมื่อแบ่งโดยชาติ ๔ ก็เป็นประเภท ๑ แบ่งโดยภูมินี่คือแบ่งโดยระดับของจิต ให้ทราบว่าภูมิ หรือภูมิ-มิ คือระดับของจิต แสดงให้เห็นว่าจิตมีหลายระดับจิตธรรมดา สามัญระดับต้นระดับต่ำสุดคือจิตที่เป็นไปในรูปเสียงกลิ่นรสโผฎฐัพพะซึ่งภาษาบาลีหมายความถึงกาม หรือกามอารมณ์ ถ้าพูดถึงกามนะคะ จะได้แก่รูปเสียงกลิ่นรสสัมผัส เพราะฉะนั้นจิตของเราที่เกิดมาไม่พ้นจากเห็นสีได้ยินเสียงได้กลิ่นลิ้มรสกระทบสัมผัส เพราะฉะนั้นเป็นจิตระดับขั้นต้น ไม่ต้องทำอะไรไม่ต้องขนขวายเลยค่ะจิตระดับนี้ เป็นขั้นธรรมดาสามัญที่สุด เพราะฉะนั้นจิตที่เป็นไปในรูปเสียงกลิ่นรสสัมผัสชื่อว่ากามาวจรจิต หมายความว่าเป็นจิตที่วนเวียน อวจร หรือ จะ-ระ แปลว่าไปวนเวียนไปกับรูปเสียงกลิ่นรส โผฎฐัพพะกามาวจรจิตเป็นจิตระดับที่ขั้นต้น หรือขั้นต่ำสุด ถ้าเราให้ทาน ขณะนั้นเป็นจิตอะไรคะโดยชาติ

    ผู้ฟัง เป็นกุศล

    ท่านอาจารย์ เป็นกุศล โดยภูมิเป็นอะไร

    ผู้ฟัง เป็นกามาวจรจิต

    ท่านอาจารย์ เป็นกามาวจรจิต เห็นไหมคะยังไม่ไปถึงไหนเลยยังอยู่แค่กามาวจร ถ้าเรางดเว้นการฆ่าสัตว์ ขณะนั้นเป็นจิตอะไร ชาติอะไร

    ผู้ฟัง งดเว้นการฆ่าสัตว์เป็นกุศลจิต

    ท่านอาจารย์ เป็นกุศลจิตเป็นชาติอะไร

    ผู้ฟัง เป็นชาติกุศล

    ท่านอาจารย์ เป็นชาติกุศล และก็เป็นภูมิอะไร

    ผู้ฟัง เป็นกามาวจรภูมิ

    ท่านอาจารย์ เป็นกามาวจรภูมิ จิตเห็นในขณะนี้เป็นชาติอะไร

    ผู้ฟัง จิตเห็นในขณะนี้วิญญาณจิตเป็นวิบากจิต

    ท่านอาจารย์ เป็นวิบากจิตเป็นภูมิอะไร

    ผู้ฟัง เป็นกามาวจรภูมิ

    ท่านอาจารย์ กามาวจรภูมิ จิตได้ยินในขณะนี้เป็นชาติอะไร

    ผู้ฟัง เป็นวิบากชาติ

    ท่านอาจารย์ เป็นวิบากเป็นชาติวิบากเป็นภูมิอะไรคะ

    ผู้ฟัง เป็นกามาวจรภูมิ

    ท่านอาจารย์ เป็นกามาวจรภูมิ โลภะเกิดขึ้นต้องการอยากได้เป็นจิตชาติอะไร

    ผู้ฟัง เป็นอกุศลชาติ

    ท่านอาจารย์ เป็นชาติอกุศลเป็นภูมิอะไร

    ผู้ฟัง เป็นกามาวจรภูมิ

    ท่านอาจารย์ เป็นกามาวจรภูมิ โทสะเกิดไม่พอใจขนาดนั้นเป็นจิตชาติอะไร

    ผู้ฟัง เป็นอกุศลชาติ

    ท่านอาจารย์ เป็นอกุศลเป็นภูมิอะไร

    ผู้ฟัง เป็นกามาวจรภูมิ

    ท่านอาจารย์ เป็นกามาวจรภูมิ นี่แสดงให้เห็นว่าชีวิตประจำวันของเรา ทั้งหมดเป็นกามาวจรจิตอยู่แค่นี้ ยังไม่ขึ้นไปสู่อีกระดับ๑ ซึ่งภูมิทั้งหมดของจิตหรือระดับของจิตทั้งหมดมี ๔ ขั้น หรือ ๔ ระดับหรือ ๔ ภูมิได้แก่กามาววจรจิตภูมิ ๑ เป็นกามภูมิ รูปาวจรจิตภูมิ ๑ เรียกสั้นๆ ว่ารูปภูมิ อรูปาวจรจิตภูมิ๑ เรียกสั้นๆ ว่าอรูปภูมิ โลกุตตรจิตอีกภูมิ ๑ คือโลกุตรภูมิสูงขึ้นตามลำดับ เพราะฉะนั้นแสดงให้เห็นว่ากุศลมีมาก สำหรับอกุศลเมื่อจะเป็นรูปาวจรภูมิอรูปาวจรภูมิเป็นโลกุตรภูมิไม่ได้เลย อกุศลจิตเป็นจิตระดับขั้นกามาวจรอย่างเดียว เพราะเหตุว่าเป็นไปในรูปเสียงกลิ่นรสโผฎฐัพพะเราชอบรูปสียงกลิ่นรสโผฎฐัพพะเราชังรูปเสียงกลิ่นรสโผฎฐัพพะเรามีทานก็เป็นไปกับรูปเสียงกลิ่นรสโผฎฐัพพะเราจะละเว้นทุจริตก็เป็นไปกับรูปเสียงกลิ่นรสโผฎฐัพพะ เพราะฉะนั้นสำหรับกามาวจรจิตหรือจิต ระดับต่ำสุดคือกามภูมิมี ๔ ชาติคือมีทั้งที่เป็นกุศลก็มีอกุศลก็มีวิบากก็มีกิริยาก็มีแต่ถ้าเป็นจิตที่ระดับสูงกว่านี้ไม่มีอกุศลเลย เพราะฉะนั้นจะเหลือจิตกี่ชาติคะ

    ผู้ฟัง เหลือ ๓ ชาติ

    ท่านอาจารย์ คือ

    ผู้ฟัง กุศลจิตวิบากจิตกิริยาจิต

    ท่านอาจารย์ กุศลจิตวิบากจิตกิริยาจิต

    ผู้ฟัง อันนี้สำหรับจิตของพระอรหันต์นะครับ เมื่อพูดถึงการเห็นก็เห็นอย่างปกติแต่ถ้าพูดถึงชาติของ ของจิตก็เป็นกิริยา จะเป็นโลกุตระ

    ท่านอาจารย์ จิตเห็น

    ผู้ฟัง จิตเห็น

    ท่านอาจารย์ จิตเห็นเป็นชาติอะไร

    ผู้ฟัง พระอรหันต์มีจิตอยู่ ๒ ชาติ

    ท่านอาจารย์ เรา จะเป็นพระอรหันต์หรือจะเป็นใครก็ตาม เราพูดถึงจิต จิตเห็นเป็นชาติอะไร

    ผู้ฟัง เป็นชาติวิบาก

    ท่านอาจารย์ เป็นชาติวิบาก เพราะฉะนั้นพระอรหันต์จึงมีจิต ๒ชาติ คือ วิบากจิตกับกิริยาจิต เพราะพระอรหันต์ที่ยังไม่ปรินิพพานยังต้องมีการรับผลของกรรมคือมีจิตซึ่งเป็นวิบากจิตที่เกิดขึ้น

    ผู้ฟัง ที่นี่ในชวนจิตที่ไม่ใช่พระอรหันต์เป็นกุศล หรือเป็นอกุศล ต้องให้ผลเป็นวิบากที่เป็นกุศลวิบากอกุศลวิบาก สำหรับพระอรหันต์เป็นกิริยา และเกิดในชวนเนี่ย

    ท่านอาจารย์ ไม่ให้ผลข้างหน้าค่ะ สำหรับกุศลขณะนี้เป็นเหตุที่จะให้เกิดผลข้างหน้าจึงชื่อว่ากุศลจึงเป็นชาติกุศล แต่ถ้าดับกิเลสหมดแม้ว่าเป็นสภาพที่ดีงาม แต่เมื่อไม่ให้ผลจึงเป็นกิริยา เพราะเหตุว่าไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบาก

    ผู้ฟัง เมื่อเป็นกริยา และเกิดในชวนะจะมีผลอะไรครับ

    ท่านอาจารย์ ไม่ได้มีผลอะไรค่ะหมายความว่าเป็นจิตที่ดีงามซึ่งต้องทำชวนกิจเพราะเหตุว่าขณะนั้นไม่ได้ทำกิจเห็นไม่ได้ทำสัมปฏิฉันนกิจไม่ได้ทำสันตีรณะกิจไม่ได้ทำโวฎฐัพพนกิจแต่ต้องทำชวนกิจค่ะ ต้องทำเพราะว่าจากเห็นแล้วจะให้เป็นอะไรท่านต้องรู้ความหมาย และสิ่งที่ปรากฏเป็นอะไรพระอานนท์ต้องรู้ว่านี่คือพระอรหันต์สัมมาสัมพุทธเจ้าซึ่งจักขุวิญญาณไม่รู้สัมปฏิฉันนะสันตีรณะโวฎฐัพพนะไม่รู้ ชวนจิตวาระแรกก็ไม่รู้ต้องถึงมโนทวารถึงจะรู้ เพราะฉะนั้นต้องแยกเรื่องกิจกับชาติ เป็นทางที่จะทำให้เราค่อยๆ เข้าใจจิตซึ่งมีอยู่ตลอดเวลาชัดขึ้น และไม่ใช่ตัวตนเพราะเหตุใด ต้องรู้ด้วยจิตที่เป็นเหตุเป็นผล และรู้ระดับขั้นของจิตด้วย

    ผู้ฟัง อย่างที่บอกว่าเรา เรารังเกียจอกุศล ก็ผมก็มานั่งพิจารณา มันคงจะไม่ใช่เป็นความรังเกียจอย่างจริงๆ เพราะว่าถ้ารังเกียจจริงๆ มันก็คงจะมีการงดเว้นได้ไปตลอดเลยแต่นี่บางทีเนี่ยนะเราจะเว้นเฉพาะ กิเลสที่เป็นโทสะ แต่ถ้าเป็นโลภะก็ไม่เห็นมีความเดือดร้อนอะไร

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นเวลาที่คุณสุกลบอกว่ารังเกียจอกุศล ไม่ใช่คุณสุกลค่ะขณะนั้นต้องเป็นหิริเจตสิกซึ่งเกิดกับกุศลจิต และก็ไม่ใช่ถาวร ชั่วขณะ เพราะฉะนั้นแต่ละคนมีทั้งกุศล แล้วก็มีทั้งอกุศล เวลาที่เราจะอนุโมทนาใครอนุโมทนาในกุศลชั่วกาละที่เป็นกุศล พอกุศลนั้นดับไปแล้วจะไปอนุโมทนาในอกุศลของคนไหมคะ เพราะฉะนั้นขณะที่เราอนุโมทนา อนุโมทนาในกุศลเฉพาะกาลเฉพาะกาล ไม่ว่าจะเป็นใครทั้งสิ้นคนนั้นยังมีอกุศลอยู่ เพราะฉะนั้นเราจะไม่อนุโมทนาในอกุศล แต่เราอนุโมทนาในกุศลเฉพาะขณะที่เป็นกุศลเท่านั้น

    ผู้ฟัง ที่ว่ารังเกียจแท้ที่จริงก็คือว่าเจตสิกที่เป็นหิริโอตตัปปะเกิดต่างหาก เราก็มาพูดว่าเป็นตัวเราคิดว่ารังเกียจ

    ท่านอาจารย์ แน่นอนทั้งหมดคือจิตเจตสิก

    ผู้ฟัง แต่ยังไม่ถึงขั้นปัญญาใช่ไหมครับ

    ท่านอาจารย์ ขั้นเข้าใจขั้นฟังนะคะ

    ผู้ฟัง เพราะว่าในขณะที่หิริโอตตัปปเกิดขนาดนั้นก็เป็นการ

    ท่านอาจารย์ เป็นธรรมแต่ไม่รู้ว่าเป็นธรรมคิดว่าเป็นเรา

    ผู้ฟัง เลยพูดว่าเรารังเกียจ

    ท่านอาจารย์ ทุกอย่างที่เป็นใครคนหนึ่งคนใดลอกคราบออก ลอกชื่อลอกออกหมดทุกอย่างก็คือธรรมแต่ละขณะไม่ต้องใส่เสื้อใส่ชื่ออะไรทั้งหมดเป็นตัวธรรมจริงๆ ไม่ต้องมีป้ายติด

    ผู้ฟัง ยากมากครับ

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นต้องอบรม อบรมได้ จากขั้นการฟังเดี๋ยวนี้ค่ะเรื่อยเรื่อยไป ค่อยๆ เข้าใจขึ้น แต่ถ้าขณะนี้ไม่เข้าใจไม่มีทางเลยที่ใครจะไปหมดกิเลส ไม่มีทางเลยที่จะใครจะอบรมเจริญปัญญา เพราะเหตุว่าไม่รู้ แล้วจะอบรมได้ยังไง จะไปนั่งทำอะไรยังไงปัญญาก็ไม่เกิดเพราะว่าพื้นความรู้ความเข้าใจขั้นต้นไม่มี เพราะฉะนั้นความเข้าใจขั้นต่อไปจะมีไม่ได้เลย แล้วเขาก็ไม่รู้ด้วยว่าปัญญาคือความที่เห็นถูกเข้าใจถูกในสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ เขาก็เลยทำอย่างอื่นซึ่งไม่ใช่การรู้ลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ

    ผู้ฟัง นี้จากที่ผู้สอนธรรม เท่าที่ผมฟังจากเทป ก็ไม่ได้พูดในเรื่องของความรู้หรือตัวปัญญาเลย ทีนี้ว่าสติเนี่ยพูดครับว่าเราจะต้องมีสติกำกับ เพื่อไม่ให้มีการหลงลืม แล้วก็จะได้มีการละเว้นจะเห็นประโยชน์ของสติเหมือนกันแต่ว่าเป็นลักษณะที่มีสติอยู่แล้ว และเอาสติไปกำกับในสิ่งที่จะทำให้เกิดเป็นบุญเป็นกุศลต่อไป

    ท่านอาจารย์ จริงๆ แล้วต้องเข้าใจว่าต้องอบรมเจริญสติให้มีขึ้น เหมือนกับอบรมเจริญปัญญาเพราะเหตุว่าปัญญายังไม่มี สติก็ยังน้อยเกิดบ้างไม่เกิดบ้าง หรืออาจจะไม่เกิดเลยขั้นสติปัฎฐาน เพราะฉะนั้นไม่ใช่ว่าเอาสติมีสติกำกับไว้เลยพวกนั้นไม่ได้อบรมเจริญให้มีขึ้น ให้เพิ่มขึ้นจึงใช้คำว่าภาวนา ต้องทราบว่าธรรมทั้งหลายเป็นอนัตตาไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาของใครทั้งหมด ภูมิไหนสูงที่สุดคะคุณวีระ

    ผู้ฟัง โลกุตรภูมิ

    ท่านอาจารย์ โลกุตรภูมิ มีจิตกี่ดวงที่เป็นโลกุตรภูมิภูมิ

    ผู้ฟัง มี ๘ ดวง

    ท่านอาจารย์ ๘ ดวง เท่านั้นนะคะ เป็นจิตของพระอริยะทั้งหมด

    อ.นิภัทร โลกุตตรจิตเป็นสังขตธรรม หรืออสังขตธรรม

    ผู้ฟัง โลกุตตรจิต เป็นสังขตธรรม ครับผม

    อ.นิภัทร คือธรรมมันมีอยู่ ๒ อย่างใช่ไหมสังขตธรรมกับอสังขตธรรม โลกุตตรจิตเป็นจิตโลกุตรภูมิสูงสุดแล้ว แต่ว่าโลกุตตรจิตยังจัดเป็นสังขคตธรรมอยู่หรือว่าเป็นอสังขตธรรม

    ผู้ฟัง ครับ

    อ.นิภัทร โลกุตตรจิตเกิดดับหรือเปล่า

    ผู้ฟัง เกิดดับครับ

    ท่านอาจารย์ สภาพธรรมที่เกิดดับจะเป็นสังขตธรรมหรืออสังขตธรรม

    ผู้ฟัง เป็นสังขตธรรม

    อ.นิภัทร เพราะฉะนั้นเโลกุตตรจิตนี้ก็เป็นสังขตธรรมเพราะว่าถึงจะเป็นโลกุตตรจิตมีพระนิพพานเป็นอารมณ์ก็จริงแต่ว่าไม่ได้มีอยู่ตลอดเวลา

    ผู้ฟัง ครับผม

    อ.นิภัทร จะต้องมีเกิดดับ มรรคจิตเกิดขณะเดียวผลจิตเกิด ๑ ขณะ ๒ ขณะ ๓ ขณะอะไรอย่างนี้แล้วก็ดับ พระนิพพานเท่านั้นที่เป็นอสังขตธรรมเพราะไม่เกิดไม่ดับ

    ผู้ฟัง ครับผม พระนิพพานไม่ใช่จิตใช่ไหมครับ

    อ.นิภัทร ไม่ใช่จิต

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นต้องแม่นนะคะ ต้องตายตัว ถ้าจิตเจตสิกแล้วต้องเกิดดับ เพราะฉะนั้นถ้าเป็นโลกุตตรจิตต้องหมายความถึงตัวจิต และต้องเป็นสังขตะคือเกิดแล้วก็ดับ เฉพาะนิพพานเท่านั้นที่เป็นอสังขตะ

    อ.นิภัทร สังขตธรรมกับอสังขตธรรม มีอีกชื่อ ๑ ที่เรียกสังขตธรรมก็เรียกว่าสังขารธรรมก็ได้ อสังขตธรรมก็เรียกว่าอสังขารธรรม สังขตะกับสังขารมูลศัพท์มันอันเดียวกันมันแปลว่าสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งได้เรียกว่าสังขาร สิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งสิ่งที่เกิดมาจากปัจจัยปรุงแต่งเป็นสังขาร ส่วนอะ แปลว่าไม่ ไม่มีปัจจัยปรุงแต่ง ก็มีที่ใช้ชอบพูดกันเสมอก็คือคำว่า โลกุตรธรรม ๙ หรือเรียกว่านวโลกุตรธรรม ๙ ก็ได้แก่มรรค ๔ ผล ๔ และนิพพาน ๑ เป็น ๙ เรียกว่าโลกุตรธรรม ๙ โลกุตรธรรม ๙ บางทีเราก็อาจจะเข้าใจไขว้เขวว่าเป็นอสังขตธรรมทั้งหมด แต่ความจริงท่านอาจารย์ก็ได้พูดอยู่ว่าถ้าเป็นจิตแล้ว จะเป็นจิตชาติชาติใดภูมิใดก็ตามถ้าขึ้นชื่อว่าจิตแล้ว จะต้องเป็นสังขตธรรมเพราะมีเกิดมีดับ ในโลกุตรธรรม ๙ มรรค ๔ ผล ๔ เป็นสังขตธรรมส่วนพระนิพพานเท่านั้นที่เป็นอสังขตธรรม เพราะพระนิพพานไม่เกิดไม่ดับแล้วก็ไม่ใช่จิตด้วย

    ผู้ฟัง คราวที่แล้วเราพูดกันถึงเรื่องภูมิของจิต ครับภูมิของจิตชาติของจิต แล้วก็เรา เกือบจะขึ้นถึงเรื่องเวทนา เวทนาคือหมายความว่าแยกจิตโดยโดยเวทนา ในเรื่องชาติของจิต เราก็ได้พูดกันคือทบทวนกันว่าจิตมี ๔ ชาตินะครับ ก็คือกุศล ๑ อกุศล ๑ กิริยา ๑ แล้วก็วิบากจิต ๑ นะครับ ในส่วนของภูมิของจิต แล้วก็พูดถึงเรื่องของการจำแนกจิตออกโดยจำแนกเป็นภูมิ ภูมิของจิตแบ่งออกเป็น ๔ ภูมิ ก็คือกามาวจรภูมินะครับ แล้วก็รูปาวจรภูมิ อรูปาวจรภูมิ โลกุตรภูมิ

    ท่านอาจารย์ คุณวีระมีจิตครบทั้ง ๔ ภูมิไหมคะ

    ผู้ฟัง ของผมนะครับ ไม่มีไม่ครบครับผม

    ท่านอาจารย์ มีกี่ภูมิค่ะ

    ผู้ฟัง มีกามาวจรภูมิ

    ท่านอาจารย์ มีภูมิเดียว

    ผู้ฟัง มีภูมิเดียว

    ท่านอาจารย์ มีกามาวจรภูมิซึ่งเป็นภูมิที่ต่ำสุดแล้วยังไงคะที่ว่าเป็นกามาวจรภูมิหมายความว่าไงคะ

    ผู้ฟัง คือจิตที่ มีเหตุเกี่ยวข้องกับรูปรสกลิ่นเสียง

    ท่านอาจารย์ ค่ะเป็นไปเกี่ยวเนื่องกับรูปเสียงกลิ่นรสโผฎฐัพพะ ยังไม่ถึงรูปาวจรภูมิหรือคะ

    ผู้ฟัง ยังไม่ถึง

    ท่านอาจารย์ ยังไม่ถึงรูปาวจรภูมิด้วยแสดงให้เห็นว่าจิตมีหลายระดับเหลือเกินค่ะ ที่ชินกับเรามากที่สุดไม่พ้นไปได้เลยก็คือระดับต่ำสุดคือกามาวจรจิตซึ่งเป็นไปกับรูปทางตาเสียงทางหูกลิ่นทางจมูกรสทางลิ้นสิ่งที่กระทบสัมผัสกายใจก็คิดนึกแต่เรื่องนี้ ไม่พ้นจาก เรื่องรูปเสียงกลิ่นรสโผฎฐัพพะยังไม่ขยับขึ้นไปถึงอีก ๓ ภูมิแต่แสดงให้เห็นว่าจิตวิจิตรต่างกันจริงๆ แสดงว่าถึงแม้ว่าเราไม่มีจิตระดับรูปาวจรจิต อรูปาวจรจิต โลกุตตรจิต ก็ตามแต่ แต่ให้ทราบว่าผู้ที่ถึงระดับภูมิต่างๆ เหล่านั้นมี เพราะฉะนั้นก็แสดงให้เห็นว่าเรารู้จักตัวเราขึ้น ว่าเราเป็นคนชนิดไหน อยู่ในโลกไหนแล้วก็ยังเกี่ยวข้องอย่างไรกับกาม เพราะฉะนั้นก็เต็มไปด้วยกามราคานุสัย มีความพอใจในรูปเสียงกลิ่นรสโผฎฐัพพะเมื่อไหร่เมื่อนั้นล่ะค่ะอนุสัย จะนอนเนื่องกิเลสอันนั้นจะนอนเนื่องติดตามไปทุกขณะที่จิตเกิดดับสืบต่อกัน


    ฟังธรรมจากหัวข้อย่อย

    หมายเลข 10
    18 ม.ค. 2567

    ซีดีแนะนำ