สนทนาธรรม ตอนที่ 038


    ตอนที่ ๓๘


    ท่านอาจารย์ มีความพอใจในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ เมื่อไหร่เมื่อนั้นอนุสัยจะนอนเนื่อง กิเลสอันนั้นจะนอนเนื่องติดตามไปทุกขณะที่จิตเกิดดับสืบต่อกันจนกว่าจะสามารถดับได้ ซึ่งดับได้แต่ว่าดับได้ไม่เร็ว ค่อยๆ เข้าใจขึ้นซึ่งจะเป็นหนทางที่จะทำให้ดับได้ แต่ถ้าไม่มีความรู้ไม่มีความเข้าใจอะไรเลยจะไปปฏิบัติไม่มีทางดับได้ เพราะว่าไม่ได้เกิดความเข้าใจตั้งแต่ต้น ก็เป็นการดีที่เราจะทราบว่าถึงจะเกิดบนสวรรค์ก็ยังเป็นระดับนี้อยู่ ยังไม่สามารถที่จะขึ้นไปเป็นรูปพรหม อรูปพรหมได้ อยากไปหรือไม่ อยากไปไหน รูปพรหมหรือ จริงๆ แล้วไม่ได้อยากหรอก ฟังดูเหมือนดี แต่ใจยังไม่ถึง ยังคงเกี่ยวเนื่องกับรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ

    ผู้ฟัง ต่อไปก็ เราไม่ได้กล่าวในรายละเอียดถึงว่ากามาวจรจิต รูปาวจรจิต อรูปวจรจิต แม้กระทั่งโลกุตตรจิต

    ท่านอาจารย์ แต่เอาความต่างคร่าวๆ ได้ ความต่างคร่าวๆ คือขณะนี้ เราไม่ต้องแสวงหาเราก็เป็นกามาวจรจิตอยู่ แล้ว แต่การที่จะขึ้นอีกระดับหนึ่ง อยู่เฉยๆ ไม่ได้ ต้องเห็นโทษของอกุศล เพราะฉะนั้นแสดงให้เห็นว่าทางฝ่ายภูมิที่สูงขึ้น จะไม่มีอกุศลเลย อกุศลจะอยู่ในภูมิที่เป็นไปในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ที่เป็นกามาวจรเท่านั้นแต่ถ้าเราเห็นโทษของอกุศล และกุศลจิตสามารถที่จะเพิ่มขึ้นเป็นความสงบจากความติดข้องในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ จนกระทั่งในขณะนั้น มีความแนบแน่นด้วยสมาธิที่มีกำลังเป็นไปกับความสงบ ระดับนั้นจึงจะพ้นจากความยินดีในรูปเสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ เพราะฉะนั้นจะยากหรือไม่ที่เราจะอบรมจิตให้ถึงระดับอีกขั้นหนึ่ง ซึ่งพ้นจากรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ถ้าใช้คำว่ารูปาวจรจิต หรือรูปาวจรภูมิ รูปภูมิ อรูปภูมิ แสดงว่าจิตระดับนั้นพ้นจากความติดข้องในกามชั่วระยะที่เป็นรูปาวจรจิต อยากหรือไม่ อยากหรือไม่อยาก

    ผู้ฟัง กุศลก็ควรจะเจริญทุกขั้น ผมก็ว่าดีครับ

    ท่านอาจารย์ แล้วอย่างไร ดี แล้วทำรึเปล่า

    ผู้ฟัง ดี แต่ก็ไม่ได้ทำ มีความเห็นว่าดีเหมือนกัน

    ท่านอาจารย์ แล้วทำไมถึงไม่ทำ

    ผู้ฟัง ไม่ทำครับ ก็คิดว่าเราอยู่ในภูมินี้ควรเจริญสติปัฏฐานมากกว่า

    ท่านอาจารย์ ใช่

    ผู้ฟัง ควรเจริญปัญญา ดีที่สุด

    ท่าอาจารย์ ใช่ เพราะอะไร

    ผู้ฟัง เพราะเป็นสิ่งที่จะละกิเลสได้ตลอดไป เผื่อว่าสติปัญญาเกิดขึ้น

    ท่านอาจารย์ เพราะเหตุว่าถึงแม้ว่าจิตจะสงบระงับจากความติดข้องในรูป เสียงกลิ่น รส สัมผัส แต่ก็ชั่วคราวไม่สามารถที่จะดับได้เป็นสมุทเฉท เพราะฉะนั้นโดยมากการอบรมเจริญปัญญา ไม่ใช่จุดมุ่งที่จะไปเป็นรูปพรหมหรืออรูปพรหม แต่เพื่อเกิดปัญญารู้สภาพธรรมที่จะดับกิเลสได้ เพราะฉะนั้นในครั้งพุทธกาลก็มีผู้ที่เป็นพระอริยสาวกที่ได้ฌานก็มี ที่ไม่ได้ฌานคือว่าไม่เป็น จิตไม่ถึงรูปาวจรจิต อรูปาวจรจิต ก็มี ตกลงไม่ต้องใช่ไหม รูปาวจรกับอรูปาวจร

    ผู้ฟัง ครับ ถ้าได้ก็ดีครับ

    ท่านอาจารย์ ได้เฉยๆ ไม่มีทาง ต้องเพียรพยายามอย่างมาก แล้วจะเพียรหรือไม่

    ผู้ฟัง คิดว่าคงไม่เพียรถ้าเกิดว่าอยู่ในภูมินี้

    ท่านอาจาย์ อย่างไรก็ไม่ใช่ได้เฉยๆ มาอย่างรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ

    ผู้ฟัง ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย เป็นสุขเวทนากับทุกขเวทนา

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นทางตา หู จมูก ลิ้น เกิดร่วมกับอุเบกขา แต่ถ้าถึงกาย แล้วจะไม่เป็นอุเบกขาจะต้องเป็นสุขเวทนา หรือทุกขเวทนา ทางกายมี ๒ อย่าง ไม่มีอุเบกขา แต่มีสุขกับทุกขเวทนา ทางกายเป็นโสมนัสเวทนาได้หรือไม่

    ผู้ฟัง ไม่ได้

    ท่านอาจารย์ เป็นโทมนัสเวทนาได้ไหม

    ผู้ฟัง ไม่ได้

    ท่านอาจารย์ ไม่ได้ เพราะฉะนั้นโสมนัสเวทนากับโทมนัสเวทนาเกิดเมื่อไหร่

    ผู้ฟัง เกิดทางใจ

    ท่านอาจารย์ เกิดกับจิตอื่นที่ไม่ใช่ทวิปัญจวิญญาณจิต ๑๐ ดวง โดยเวทนา คงไม่มีข้อสงสัย

    ผู้ฟัง เมื่อสักครู่คุยกับคุณวีระว่าเวลาหลับมีเวทนาหรือไม่

    ท่านอาจารย์ แล้วคุณวีระตอบว่าอย่างไร

    ผู้ฟัง ตอนแรกบอกไม่มี แล้วพอสักประเดี๋ยวหนึ่งบอกว่ามี แล้วก็เรียนถามต่อว่าทำไมถึงทราบว่าในเวลาหลับถึงมีเวทนา คุณวีระตอบว่าอย่างไร เชิญอีกที

    ผู้ฟัง บอกว่าในหนังสือนี่บอกว่ามี

    ท่านอาจารย์ ถ้าหนังสือบอกว่าไม่มี

    ผู้ฟัง ผมก็เชื่อว่ามี ตามที่ตอบคุณกฤษณาต่อไปว่า เพราะว่าในระหว่างที่หลับ ก็มีภวังคจิตเกิด คือจิต สัพพสาธารณเจตสิกนี่ต้องเกิดกับจิตอยู่เสมอ เพราะฉะนั้นจะต้องมีเวทนาเกิดร่วมด้วย

    ท่านอาจารย์ นี่แสดงให้เห็น แล้วผู้ศึกษา ผู้รู้ ผู้เข้าใจนี่จะต่างกับผู้ที่ไม่ศึกษา ไม่รู้ ไม่เข้าใจเลย เพราะว่าถ้าเป็นคำตอบแรกว่าไม่มี คือผู้ที่ไม่ได้ศึกษาเลยเมื่อลักษณะของเวทนาไม่ปรากฏก็บอกง่ายๆ ว่าไม่มี แต่ถ้าศึกษาแล้ว โดยเหตุผลมีจิตไหมถ้ามีจิตจะเกิดตามลำพังไม่ได้ต้องมีเจตสิกเกิดร่วมด้วยอย่างน้อยที่สุด ๗ ดวง แต่เวลาที่เป็นภวังค์ จิตเกิดมาก เจตสิกเกิดมากกว่า ๗ เพราะฉะนั้นถึงใครจะรู้ หรือไม่รู้ก็ตาม จิตเกิดขณะใดต้องมีเวทนาเกิดในขณะนั้น และเวทนาในขณะที่กำลังหลับเป็นอะไร มีเวทนา ๕ อย่าง สุข๑ ทุกข์๑ เฉยๆ ๑ โสมนัส๑ โทมนัส๑ ขณะที่นอนหลับเวทนาเป็นอะไร

    ผู้ฟัง ผมเดาว่าเป็นอุเบกขาเวทนาครับผม

    ท่านอาจารย์ แล้วก็จะรู้จริงๆ ได้ไหมคะ หรือได้เพียงแค่เดา

    ผู้ฟัง ได้เพียงแค่เดา

    ท่านอาจารย์ แน่นอน เพราะอะไรคะ

    ผู้ฟัง เพราะว่าตอนที่เป็นภวังคจิตนี่ จิตไม่ทราบ ก็ไม่ทราบเลยว่าเป็นเวทนาอะไร

    ท่านอาจารย์ ไม่รู้อารมณ์ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ แต่ต้องเป็นตัวเรา หรือตัวเองไม่ใช่คนอื่นที่จะรู้ว่า ความจริงคือความจริง เหตุผลคือเหตุผล ถ้ารู้ว่ามีจิตก็ต้องมีเวทนาเจตสิกเกิดร่วมด้วย แต่เวทนาเจตสิกชนิดไหน ประเภทไหน ไม่สามารถที่จะรู้ได้เพราะเหตุว่าจริงๆ แล้วไม่ใช่จิตที่รู้อารมณ์ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ

    เพราะฉะนั้นจึงเหมือนกับว่าโลกนี้ไม่ปรากฏ แต่เวลาที่เราบอกว่าเราสุข เรายังมีความรู้สึกว่าเราอยู่ในโลกของรูปที่ทำให้เราสุข หรือโลกของเสียงที่ทำให้เราสุข ต้องเป็นโลกหนึ่งโลกใดใน ๖ โลกที่ทำให้ความรู้สึกนั้นเกิดขึ้น แล้วเราสามารถที่จะรู้ได้ แต่ถ้าขณะใดจิตรู้อารมณ์โดยไม่อาศัยทวารคือตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ขณะที่เป็นภวังคจิตดำรงภพชาติขณะนั้นไม่สามารถที่จะรู้ได้ว่าเป็นจิตประเภทไหน และเวทนาประเภทไหนแต่ต้องมีเวทนา

    ผู้ฟัง ตอนที่จิตที่ไม่มีอารมณ์ทางทวารใดก็ตาม นอกจากเป็นทวาร นอกจากเป็นภวังคจิต แล้วยังมีอื่นอีกใช่ไหม เช่น อรูปฌาณ ที่ไม่ใช้ทวาร ที่ไม่รับอารมณ์ทางทวารใด

    ท่านอาจารย์ อรูปฌาณจิตมี ๓ ชาติ คืออรูปฌานกุศล อรูปฌานวิบาก อรูปฌานกิริยา นี่เป็นเหตุที่จำเป็นมากที่ต้องจำเรื่องชาติ ถ้าอรูปฌานกุศลแทนที่จะเป็นกุศลที่เป็นไปในทาน เป็นไปในศีล แต่ว่าเป็นจิตขณะนั้น ที่กำลังสงบมั่นคงในอารมณ์ซึ่งไม่ใช่รูปแต่ต้องมีอารมณ์ ถ้าจิตเกิด แล้วจะไม่มีอารมณ์ไม่ได้เลยนี้เป็นหลักที่๑ ไม่ว่าจะเกิดที่ไหนทั้งสิ้น หลักที่ ๒ ก็คือถึงแม้ว่าจะเป็นวิบากจิตที่ทำภวังคกิจ เมื่อเป็นจิต แล้วก็ต้องมีอารมณ์ทั้งนั้น เพราะฉะนั้นอรูปฌาณที่เป็นกุศล ก็ต้องมีอารมณ์ที่ทำให้จิตสงบมั่นคง แต่อารมณ์นั้นไม่ใช่รูปจึงเป็นอรูป รู้ได้ทางใจ จะกล่าวว่าไม่รู้ไม่ได้

    ผู้ฟัง ในขณะนั้นก็ต้องมีเวทนาเกิด

    ท่านอาจารย์ ต้องมี คือเวทนาเจตสิกต้องเกิดกับจิตทุกดวง นี่เป็นหลักที่๑ และภวังคจิตไม่ว่าจะเป็นภวังค์ในโลกมนุษย์ ภวังคจิตในสวรรค์ ภวังคจิตในรูปพรหมภูมิภวังคจิตในอรูปพรหมภูมิ ภวังคจิตในนรก ภวังคจิตในเปรต หรืออะไรก็ตามแต่ ภวังคจิตแล้วเป็นจิตที่ไม่รู้อารมณ์ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เหมือนกันหมด คุณวีระจะเป็นภวังค์ในมนุษย์ และเวลาไปเกิดในนรก ภวังคจิตที่อยู่ในนรก หรือว่าคุณวีระจะไปเกิดเป็นรูปพรหมบุคคลภวังคจิตขณะที่เป็นรูปพรหมบุคคล หรือจะไปเกิดเป็นอรูปพรหมบุคคล ภวังคจิตในอรูปพรหมบุคคลเหมือนกันหมด คือไม่รู้อารมณ์หนึ่งอารมณ์ใดทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ แต่ต้องมีอารมณ์ เพราะเหตุว่าภวังคจิตเป็นวิบากเกิดขึ้นเพราะกรรมเป็นปัจจัยทำให้ดำรงภพชาติความเป็นบุคคลนั้น และเมื่อมีจิตเกิดต้องมีอารมณ์ แต่ไม่ใช่อารมณ์ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ

    เพราะฉะนั้นถ้าจะเกิดในนรกแต่เป็นภวังค์ก็ไม่เดือดร้อนไม่รู้อารมณ์ที่กระทบกาย ถ้าเกิดเป็นรูปพรหมบุคคล แล้วเป็นภวังค์ก็ไม่เป็นไร ไม่เดือดร้อน ไม่รู้อารมณ์ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เหมือนกันขึ้นชื่อว่าเป็นภวังคจิตแล้วเหมือนกันทั้งนั้นไม่ว่าที่ไหน

    ผู้ฟัง เพราะฉะนั้นตรงนั้นเราก็เดาอีกได้ว่าเป็นอุเบกขาเวทนา

    ท่านอาจารย์ ที่ไหน

    ผู้ฟัง ที่ภวังคจิต ที่ไหนก็แล้วแต่ของทุกภพทุกชาติ

    ท่านอาจารย์ แล้วแต่ค่ะ กำกับไว้ค่ะ ว่าถ้าเป็นอรูปพรหม ภวังคจิตต้องเป็นอุเบกขาเวทนาแน่นอน เพราะเหตุว่าปัญจฌานประกอบด้วยอุเบกขาเวทนา แต่ถ้าเป็นปฐมฌานภูมิสำหรับรูปพรหมภูมิภวังคจิตเป็นโสมนัส แต่สำหรับมนุษย์นี่บอกไม่ได้เลย เพราะเหตุว่าถ้าเป็นผลของกามาวจรกุศลแล้วละก็ เวทนาที่เกิดร่วมด้วยเป็นอุเบกขาก็ได้เป็นโสมนัสก็ได้

    ผู้ฟัง ในระหว่างที่มีจิตเป็นรูปฌาน ที่มีวิตก วิจาร ปิติ สุข และเอกัคคตา ในช่วงที่ วิตก วิจาร ปิติ สุข ละไปแล้ว คือ ฌานที่๑ ฌานที่๒ ฌานที่ ๓ ที่เป็นโสมนัสเวทนาเกิด มีโสมนัสเวทนาเกิดร่วมด้วยแน่ เพราะว่าฌานที่ ๔ ที่ไม่มี ปิติ สุข เกิด แล้ว

    ท่านอาจารย์ เวทนาเป็นโสมนัส เพราะฉะนั้นโสมนัสที่ปราศจากปีติมีที่เดียวคือจตุฌาน ยังเป็นเวทนาที่เป็นโสมนัสแต่ไม่มีปีติเจตสิกเกิดร่วมด้วย แต่เวทนาเป็นโสมนัส ถ้าถึงปัญจมฌานถึงจะเป็นอุเบกขาเวทนา

    ผู้ฟัง เข้าใจแล้วครับ

    ท่านอาจารย์ อย่าลืมเอาชาติกำกับไปด้วยไม่งั้นจะไม่ทราบว่าขณะนั้นรู้อารมณ์ทางไหนหรือเปล่า คุณวีระ ชอบเวทนาชนิดไหน

    ผู้ฟัง ชอบโสมนัสเวทนา

    ท่านอาจารย์ และอะไรอีก

    ผู้ฟัง สุขเวทนา

    ท่านอาจารย์ ต่อจากนั้นอะไรอีก

    ผู้ฟัง อทุกขมสุข หรืออุเบกขานี่ก็น่าจะชอบอยู่ ดีกว่าโทมนัส คือถ้าเป็นอทุกขมสุขเวทนา และอุเบกขาเวทนาก็ดี สงบดี ก็ชอบบ ชอบนี้จะเป็นโสมนัสเวทนาขึ้นมาอีกหรือเปล่า

    ท่านอาจารย์ หมายยความว่าชอบที่๑ คือโสมนัสเวทนา ที่ ๒ คือสุขเวทนา ที่ ๓ คืออุเบกขาเวทนา ที่ไม่ชอบคือโทมมัสเวทนากับทุกขเวทนา แต่ถ้ามีปัญญามากๆ จนกระทั่งถึงอรูปฌานเห็นโทษของโสมนัส เพราะฉะนั้นแสดงให้เห็นว่าแม้แต่เวทนานี่ ก็จะต้องจำแนกออกไปอีกว่าประกอบกับปัญญาหรือเปล่า ถ้าเป็นโสมนัสเวทนาที่เกิดกับโลภมูลจิต กับอุเบกขาเวทนาที่เกิดกับกุศลจิต ต้องการอะไร

    ผู้ฟัง อุเบกขาเวทนาที่เกิดกับกุศลจิต

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นเห็นไหมว่าเราจะต้องจำแนกชาติอีก ไม่ใช่เราจะตอบว่าเราชอบ แต่จริงๆ แล้วส่วนใหญ่ทุกคนก็ โลภะก็ชอบโสมนัสเวทนาไม่ว่าจะเป็นอกุศลก็ยังชอบ แต่ถ้าเปรียบเทียบ อะไรจะดีกว่ากัน ก็แสดงให้เห็นว่าโดยชาติ และฝ่ายกุศลต้องดีกว่า ประณีตดีกว่า

    เพราะฉะนั้นแม้ว่าจะเป็นเวทนาเจตสิกจะต่างกันตามเจตสิก และชาติของจิต ถ้าเจตสิกที่เกิดร่วมด้วยเป็นอกุศล โสมนัสเวทนานั้นก็อยาก แต่ถ้าขณะใดที่เวทนาเจตสิกที่เป็นโสมนัสเกิดกับกุศล ขณะนั้นเวทนาเจตสิกที่เป็นโสมนัสละเอียดกว่าโสมนัสเวทนาที่เกิดกับโลภะ

    ผู้ฟัง แต่มหากุศลจิตในดวงแรก ดวงที่๑ โสมนัสสหคตฌานสัมปยุตอสังขาริก ก็มีโสมนัสเข้ามาเกี่ยวด้วย

    ท่านอาจารย์ เกิดร่วมด้วย ไม่ใช่เกี่ยว เกิดร่วมด้วยกับจิตนั้น

    ผู้ฟัง เพราะฉะนั้นน่าจะเป็นจิตดวงที่น่าจะชอบ น่าจะเลือกที่สุด

    ท่านอาจารย์ ประณีตกว่า หมายความว่าโสมนัสเวทนา เราต้องรู้ด้วยว่าเป็นชาติอะไร ถ้าเป็นชาติอกุศลเกิดร่วมกับโลภะสนุกมาก เพลินมาก เป็นโสมนัส ยังหยาบกว่าโสมนัสเวทนาที่เกิดกับกุศลจิต นี่แสดงให้เห็นว่าแม้เป็นโสมนัสด้วยกันก็ต่างกันตามเจตสิกที่เกิดร่วมด้วย

    ผู้ฟัง ยกตัวอย่างว่า โสมนัสเวทนา โสมนัสสหคต ฌานสัปยุตต คือฌานสัมปยุต ด้วยก็น่าจะเป็นจิตดวงที่น่าจะเลือกมากกว่า

    ท่านอาจารย์ หมายความว่าประณีตกว่า แล้วก็ยังขึ้นไปถึงระดับอีกภูมิหนึ่ง ด้วยถ้าเป็นรูปภูมิก็ยังไม่ประณีตเท่าอรูปภูมิ ซึ่งเปลี่ยนจากโสมนัสเป็นอุเบกขา แสดงให้เห็นถึงความต่าง ความละเอียดไม่ว่าเราจะกล่าวถึงเวทนาชนิดไหน จะกล่าวถึงอุเบกขาเวทนาก็ต้องจำกัดว่าเป็นกุศล หรือเป็นอกุศล ภูมิไหน ถ้าอุเบกขาเวทนาที่เกิดกับกุศลจิต ก็ย่อมดีกว่าโสมนัสเวทนาที่เกิดกับอกุศลจิต ที่เป็นกามาวจรภูมิด้วยกัน ทำไมต้องพูดเรื่องเวทนาด้วย

    ผู้ฟัง การที่พูดเรื่องเวทนาก็เสมือนกับว่าจำเป็นที่ต้องพูดเรื่องเจตสิกก็เพื่อที่จะจำแนกให้เห็นว่า จิตที่เกิดขึ้นแค่ให้เราทราบว่าจิตที่เกิดขึ้นสามารถจำแนกได้ออก และเห็นได้ชัดขึ้นว่าเป็นกุศล หรืออกุศล เวทนาก็เหมือนกัน

    ท่านอาจารย์ แล้วก็ยังแสดงให้เห็นถึงความติดข้องของเราว่าจริงๆ แล้วไม่ว่าเราจะปรารถนารูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ หรืออะไรก็ตาม เพื่อเวทนาเจตสิกจะเกิดขึ้นรู้สึกในอารมณ์นั้นเท่านั้น ทุกคนแสวงหาความสุข ลักษณะสุขนั้นก็คือเวทนาเจตสิก เพราะฉะนั้นทุกคนแสวงหาทุกอย่างเพื่อให้เวทนาเจตสิกเกิดขึ้นเป็นสุขชั่วขณะหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นอาหารที่อร่อย หรือสีสันวรรณะที่น่าดู เสียงที่ไพเราะทั้งหมด ก็เพื่อเวทนาเจตสิก นี่ก็แสดงให้เห็นถึงความติดข้องในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ เพราะเหตุว่าเวทนาติดในสิ่งนั้น ชั่วขณะเดียวๆ

    ผู้ฟัง เวทนาในฝ่ายอกุศลที่ละเอียดกว่าฝ่ายกุศลมีหรือไม่

    ท่านอาจารย์ โทมนัสเวทนาที่เกิดกับโทสมูลจิตก็หยาบกว่าเวทนาที่เกิดกับโลภมูลจิต

    ผูัฟัง เวทนาทางฝ่ายอกุศลจะมีละเอียดกว่าฝ่ายกุศลหรือไม่เมื่อเทียบกัน

    ท่านอาจารย์ ตามระดับขั้นตามภูมิ ก็อย่างเวทนาที่เป็นไปในทาน เวทนาที่เป็นไปในศีล เวทนาที่เป็นไปในความสงบ เวทนาที่เป็นไปพร้อมสติปัฏฐาน

    ผู้ฟัง ฝ่ายกุศลนี้จะต้องละเอียดกว่าฝ่ายอกุศล ละเอียดขึ้นๆ ทีนี้การที่เราจะมีความเข้าใจ และก็ฟังให้เกิดประโยชน์จริงๆ ถ้าไม่เข้าใจในกิจหน้าที่ของกิเลสที่เกิดขึ้นมาทำกิจในแต่ละขณะๆ ก็ดูเหมือนว่าเรื่องกิเลสเป็นสิ่งที่ไม่ยากในการที่จะละ แล้วก็จะไม่เห็นความสำคัญของข้อปฏิบัติที่เป็นการเจริญสติปัฏฐานเลย อาจารย์จะมีคำอธิบายให้ละเอียดชัดเจนอย่างไร

    ท่านอาจารย์ ก็คือว่าทุกอย่างที่เป็นประโยชน์ต่อการที่จะเข้าใจลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ เพราะฉะนั้นจริงๆ แล้ว ธรรมเป็นเรื่องที่เหมือนกับถ้าดูในพระไตรปิฏก จะเห็นได้ว่าผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้ และในสูตรนั้นก็ตรัสอย่างนั้น ในนิกายนั้นก็ตรัสอย่างนี้ พอถึงพระอภิธรรมก็ตรัสอย่างนั้น ก็ไม่พ้นจากสภาพธรรมที่กำลังปรากฏไม่ว่าจะจำแนกเป็นทีฆนิกาย มัชฌิมนิกาย เป็นพระสูตร หรือพระวินัย หรือพระอภิธรรมก็ตาม ก็เป็นเรื่องธรรมขณะนี้ เดี๋ยวนี้ ที่กำลังปรากฏ ชีวิตประจำวันจริงๆ

    นี่คือจุดประสงค์ที่ทรงแสดงพระธรรมเพื่อให้เข้าใจสภาพธรรม เพราะฉะนั้นจะฟังเรื่องเจตสิก จะฟังเรื่องจิต จะฟังเรื่องจำแนกอกุศลโดยนัยต่างๆ พรือพระสูตรต่างๆ อยู่ที่ว่าขณะที่กำลังฟัง เข้าใจสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ นี่คือสิ่งที่สำคัญที่สุด ฟังเพื่อให้เข้าใจสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ เพราะว่าอย่างอื่นไม่สามารถจะทำให้เราเกิดปัญญาได้เพราะยังไม่ปรากฏ ขณะที่ผ่านไปเมื่อครู่นี้ ก็ไปจะเข้าใจไม่ได้เพราะว่าดับไปหมดแล้ว ขณะที่ยังไม่ปรากฏ ยังไม่เกิด ยังมาไม่ถึง ก็ไม่สามารถที่จะรู้ได้ แต่ขณะนี้ เดี๋ยวนี้ที่กำลังเห็น กำลังได้ยิน คือเข้าใจสภาพธรรม นี่คือจุดประสงค์ไม่ว่าจะทรงแสดงโดยส่วนหนึ่ง ส่วนใดในพระไตรปิฎกตลอด ๔๕ พรรษา

    ผู้ฟัง สังเกตในความรู้สึกของตัวเองด้วยความคิดของตัวเอง ว่าเวลาที่เราจำจำนวนของเจตสิก ๑๔ นะ ก็ดูเหมือนว่ามันก็ไม่ได้มีอะไรที่น่าเป็นห่วงถึงสังสารข้างหน้าเลย แต่พอมารับฟังที่ท่านอาจารย์จำแนกอกุศลธรรม ๙ กอง ก็รู้สึกว่าเป็นเรื่องที่ยิ่งใหญ่จริงๆ เลยแม้ท่านอาจารย์จะพูดเรื่องอนุสัยก็ดี เรื่องกิเลสก็ดี ก็เป็นส่วนหนึ่งของกิเลสที่จัดออกเป็นประเภท ๙ กองใหญ่ๆ

    ท่านอาจารย์ คือให้เห็นชัดคือแต่ละคนนี่ รู้สึกว่าก็รู้ตัวเองว่ามีกิเลส ทุกคนนี่รู้ แต่ลึกแค่ไหน มากแค่ไหน ละเอียดแค่ไหนไม่รู้ รู้แต่เพียงว่าตัวเองนี่มีกิเลส แต่ว่ากิเลสที่ว่ามี เมื่อได้ฟังเรื่องราวของกิเลส แล้วจะเห็นได้ว่ามากมายมหาศาลเพราะเหตุว่าเป็นนามธรรม แล้วก็มีอยู่ไม่รู้จักจบสิ้นเพราะเหตุว่าเมื่อมีเหตุ หรือเชื้อที่จะให้เกิดกิเลสเมื่อไหร่ กิเลสก็เกิดโดยไม่รู้ตัว

    เพราะฉะนั้นผู้ที่มีกิเลสแล้วรู้ ก็ยังดีกว่าผู้ที่ขณะนั้นเป็นกุศลจิตแต่ไม่รู้ เพราะฉะนั้นสำคัญที่ความรู้ มีกิเลสก็มีกันทุกคน แต่ว่าคนที่มีกิเลส แล้วรู้ว่ามีกิเลสก็มีทางที่จะเห็นโทษของกิเลสได้ แล้วถ้ายิ่งเห็นความละเอียดความลึกของกิเลสความเหนียวแน่นของกิเลสผู้นั้นก็จะเห็นโทษเห็นภัย ว่ากิเลสที่เราคิดว่าน้อย เล็กๆ ไม่มีอะไร วาจาเราจะกล่าวอย่างไร กายเราจะทำอย่างไร ใจเราจะคิดอย่างไรก็เหมือนทุกคน ใครๆ ก็เป็นอย่างนี้ ก็เลยกลายเป็นเรื่องประมาท แต่ไม่ใช่เป็นเรื่องที่เห็นภัยของกิเลสแม้เพียงเล็กน้อย ซึ่งจริงๆ แล้วกิเลสที่ว่ามาก ก็เกิดขึ้นทีละนิด ทีละหน่อย ทีละเล็ก ทีละน้อยนั่นเอง จนกระทั่งมีมาก แล้วก็ลึกๆ แล้วก็เหนียวแน่น

    ผู้ฟัง ที่บอกว่าควรเจริญกุศลทุกประการ แต่เรื่องกิเลสก็ยังไม่ค่อยรู้ ยังไม่ค่อยจะมีความเข้าใจอย่างถูกต้อง ทั้งกิเลสก็ไม่รู้ ทั้งประโยชน์ของกุศลก็ไม่รู้ โอกาสที่จะทำ กุศลก็เลยน้อยลงไป ถ้าเราเข้าใจเรื่องกิเลสว่ามันเป็นสิ่งที่เป็นโทษ แล้วก็ขณะใดที่กิเลสเกิดในขณะนั้น ก็จะไม่มีสิ่งที่จะเป็นเรื่องของการสละ หรือการจะมีเมตตาอะไรต่างๆ ก็เลยคิดว่าถ้าประโยชน์ที่พอจะทำให้เราเห็นได้ คือว่าถ้าเราเห็นว่ากิเลสเป็นโทษ กุศลย่อมจะเจริญขึ้นมาได้

    ท่านอาจารย์ ก็เห็นอย่างที่ว่า คือเห็นว่ามี แต่น้อยเหลือเกิน ความเห็นแค่นี้ช่วยอะไรไม่ได้ คือรู้ว่ามีแต่ยังไม่ละเอียดพอที่จะเห็นโทษ เพราะฉะนั้นการฟังพระธรรมนี่จะทำให้เกิดปัญญาที่จะรู้ความจริงยิ่งขึ้น


    ฟังธรรมจากหัวข้อย่อย

    หมายเลข 10
    17 ม.ค. 2567

    ซีดีแนะนำ