สนทนาธรรม ตอนที่ 043


    ตอนที่ ๔๓


    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นสภาพธรรมที่เป็นอกุลมากมายหลายอย่างสะสมพอกพูนปนเปผสมกันไปจนหนาเตอะตะ จนยากที่จะเอาออกไปได้แต่ปัญญาก็จะค่อยๆ เห็น ค่อยๆ แคะ ค่อยๆ เขี่ย ค่อยๆ ละ ค่อยๆ ทำลายไปทีละน้อยได้ด้วยความที่เข้าใจถูกต้องขึ้น เพราะฉะนั้นในขั้นต้น ทุกคนก็รู้ตามความเป็นจริง คนที่ยังมีกิเลสก็เหมือนกันหมด คนที่ยังมีโลภะ ในรูป ในเสียง ในกลิ่น ในรส ในโพฎฐัพพะ ก็เหมือนกันหมด นี่แต่ละคนจะได้รู้ว่าตัวเองสะสมอะไรมามากน้อยแค่ไหน แล้วก็เห็นโทษอะไรบ้างหรือยัง พอที่จะละคลายอะไรบ้างไหม หรือว่าก็ยังจะพอใจที่จะสะสมไปมากๆ อย่างผลของกุศลนำมาซึ่งอิฐฐารมณ์จริง แต่ว่าเราก็เห็นว่าเป็นสิ่งซึ่งเป็นผลของบุญก็เท่านั้นเอง แล้วก็ไม่ติดไม่ข้องมากไปเหมือนเดิมก็ได้ จะดีกว่าไหมคือเราไม่ใช่ไปปฏิเสธผลของกุศล แต่ในขณะเดียวกันจิตใจหลังจากที่ได้ผลของกุศลแล้วเราก็ไม่ติดข้องก็รู้ว่าเป็นเรื่องที่เป็นไปตามบุญกรรมชั่วขณะจิตหนึ่ง ขณะจิตหนึ่ง

    ผู้ฟัง สมมติว่าเราติดใจที่จะเรียนธรรมมาก ขอให้อาจารย์อธิบายติดใจตัวนี้เป็นอะไร

    ท่านอาจารย์ มีศรัทธา

    ผู้ฟัง มีศรัทธาหรือฉันทะ ฉันทะกับโลภะต่างกันอย่างไร

    ท่านอาจารย์ ต่างกันที่ว่าโลภะเป็นอกุศล ฉันทะเป็นกุศลก็ได้ เป็นอกุศลก็ได้

    ผู้ฟัง คือถ้าเผื่อเราจะมาระลึกรู้ ความรู้สึกมันจะต่างกันอย่างไร

    ท่านอาจารย์ โลภะเป็นความติดข้อง ฉันทะเป็นความต้องการที่จะกระทำ

    ผู้ฟัง ติดข้อง ต้องการฟังดูคล้ายกัน

    ท่านอาจารย์ ไม่เหมือนกัน ติดค่ะติด ติด

    ผู้ฟัง คือถ้าเผื่อท่องก็ได้ ว่าเป็นจิตเป็นเจตสิก อันนั้นอันนี้ แต่พอเวลารู้สึกมันจะยาก

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น ถ้าเรารู้จักโลภะว่าเป็นสภาพธรรมอย่างหนึ่ง ที่มีจริงเป็นเจตสิก คู่กันกับสภาพธรรมอีกอย่างหนึ่ง ซึ่งมีจริงซึ่งเป็นเจตสิกฝ่ายโสภณะ คืออโลภะ เหมือนไหม ฟังธรรมกับฟังเพลงนี้เหมือนกันไหม

    ผู้ฟัง ไม่เหมือน

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นนี่คือโลภะกับอโลภะ

    ผู้ฟัง แล้วฉันทะ

    ท่านอาจารย์ ฉันทะที่เกิดกับโลภะก็เหมือนกับโลภะ ฉันทะที่เกิดกับอโลภะก็เหมือนกับอโลภะ

    อ.นิภัทร จะเห็นได้ชัดขึ้นฉันทะที่ในโทสะนี่ไม่ติด ฉันทะในโทสะนี่ไม่ใช่เรื่องติด เป็นเรื่องพอใจจะโกรธมากกว่า

    ผู้ฟัง ถ้าเผื่อฉันทะบวกกับโทะแล้วยิ่งหมั่นเลยคือแหมไปสุดๆ เลย โกรธสุดๆ

    อ.นิภัทร แต่ไม่ใช่เป็นเรื่องติด แต่ถ้าโลภะเป็นเรื่องติด

    ท่านอาจารย์ คุณสุรีย์ก็ต้องรู้จักลักษณะสภาพของอโลภะ ซึ่งตรงกันข้ามกับโลภะ

    ผู้ฟัง ทราบ แต่ตอนนี้มันอยู่ระหว่างฉันทะกับโลภะ

    ท่านอาจารย์ ก็ไม่ต้องไปคิดถึงฉันทะ คิดถึงโลภะกับอโลภะ

    ผู้ฟัง คือปัญหามันอยู่ตรงฉันทะกับโลภะ

    อ.นิภัทร นั่นไงก็โลภะเกิดกับโทสะไม่ได้ แต่ฉันทะเกิดได้ ไม่เห็นความแตกต่างหรือ มันแตกต่างกันชัดเจน

    ท่านอาจารย์ เวลาที่โทสะเกิดพอใจที่จะโทสะไหม ที่จะเป็นโทะ (พอใจ) นั่นคือฉันทะไม่ใช่โลภะ แต่สภาพที่ติดข้องติดในสิ่งนั้น ต้องการนั่นเป็นลักษณะของโลภะ

    ผู้ฟัง ถ้าเกิดจะพูดออกมาเป็นความรู้สึก ใกล้ที่สุด ใกล้กับความรู้สึกก็คือ เป็นความติดข้องกับพอใจ

    ท่านอาจารย์ พอใจที่จะกระทำที่จะเป็นอย่างนั้น

    อ.สมพร ลองแยกให้ดูสักนิดหนึ่งนะ ฉันทะเจตสิก ฉันทะเจตสิกนี้เกิดกับจิตได้ ๔ ชาติ แต่ถ้าโลภเจตสิกเกิดกับจิตได้ชาติเดียว ใช่ไหม (ใช่ๆ) อย่างนี้พอมองเห็นต่างกันได้บ้าง ฉันทะบางอย่างที่เกิดกับโลภะ เช่นกามฉันทะ นี่ชัดเจนเกิดกับอกุศลจิต แต่ตามปกติฉันทะเกิดได้กับจิตได้ทั้ง ๔ ชาติ ที่เราก็สามารถจะแยกแยะได้ ฉันทะบางอย่างมีสภาพคล้ายๆ กับโลภะแต่ไม่ใช่โลภะ

    ผู้ฟัง อาจารย์ลองยกตัวอย่าง

    อ.สมพร เป็นความพอใจ เช่นพระโพธิสัตว์ปรารถนาจะเป็นพระพุทธเจ้า อันนี้เป็นฉันทะเรียกว่าฉันทกาม ความปรารถนาเป็นพระพุทธเจ้า ไม่ใช่โลภเจตสิก คือสภาพของเราถ้าไม่ได้ศึกษาพระอภิธรรมเราจะเห็นว่า ฉันทะตัวนี้น่าจะเป็นโลภะ แต่ไม่ใช่โลภะ เพราะความปรารถนาเป็นพระพุทธเจ้าเนี่ยเพื่อจะให้พ้นจากวัฏฏะ เพื่อจะให้สัตว์ทั้งหลายพ้นจากวัฏฏะ อันนี้ก็เป็นมหากุศล ใช่ไหม เพราะฉันทะเกิดกับจิตได้ ๔ ชาติก็ลองพิจารณาดู ถ้าเห็นเกิดกับโลภะก็ง่ายๆ เช่นกามฉันทะ เป็นนิวรณ์กั้นจิตที่เกิดกับโลภะ ก็แล้วแต่ว่าเขาจะเกิดกับอะไร เพราะว่าตัวของเขาเองเกิดได้กับจิตทั้ง ๔ ชาติ

    ถ้าเกิดกับอกุศลก็เป็นประเภทเดียวกับอกุศล ถ้าเกิดกับกุศลก็เป็นประเภทเดียวกับกุลศลที่เรียกว่ามหากุศล แต่อย่างใดอย่างหนึ่ง

    ผู้ฟัง หมายความว่าเขาเป็นเจตสิกตัวกลางอัญญสมานาเจตสิก

    อ.สมพร การเกิด เกิดได้กับจิต ๔ ชาติ

    ท่านอาจารย์ ฉันทะเกิดได้ทั่วไปทั้งกุศลก็มีฉันทะเกิดได้ วิบากอะไรก็มีฉันทะเกิดได้ แต่ว่าอกุศลนี่ โลภะเป็นอกุศล ฉันทะเป็นกุศลก็ได้ เป็นอกุศลก็ได้ เพราะฉะนั้นเวลาที่โลภะเกิดอย่างตัวอย่างคุณประทีป ลอดช่องต้องมัน ติดแล้วแล้วต้องการด้วย ต้องการในขณะที่ติดด้วย มีทั้งฉันทะมีทั้งโลภะ แล้วเวลาที่เป็นกุศล อโลภะเกิด ไม่ได้ติดข้อง ต้องการที่จะสละวัตถุเพื่อคนอื่น เพื่อประโยชน์ขณะนั้นก็มีฉันทะเกิดร่วมด้วยเป็นความพอใจต้องการที่จะกระทำกุศลนั้น นั่นคือลักษณะของฉันทะ แต่ตัวอโลภะคือไม่ใช่ตัวติดข้อง เพราะว่าขณะนั้นเป็นกุศล

    เพราะฉะนั้นฉันทะจะเกิดกับกุศลก็ได้ เกิดกับอกุศลก็ได้ ถ้าเกิดพอใจที่จะทำกุศลให้เด็กนักเรียนขาดแคลนอาหารกลางวัน ขณะจิตที่คิดเป็นกุศลแล้วก็มีฉันทะพอใจอันนั้นด้วยที่จะทำอย่างนั้น ในกุศลอันนั้น ไม่ว่าจะเป็นทาน ไม่ว่าจะเป็นศีลก็ตาม ที่เป็นอโลภะ อโทสะ ขณะนั้นก็มีฉันทะความพอใจในอันนั้นรวมอยู่ด้วย ฉันทะเป็นอัญญสมานา คือว่าเกิดกับจิตทุกประเภททั่วไปได้ ในขณะที่โลภะเกิดได้เฉพาะกับอกุศล ที่จริงจะใช้อย่างว่าที่เป็นการเลือกอารมณ์ก็ได้ เพราะเหตุว่าอย่างโลภะจะเกิด ก็จะเกิดในอะไร เพราะว่าจริงๆ แล้วฉันทะเขาจะไม่เกิดกับอเหตุกจิตเพราะเลือกไม่ได้ แต่เวลาที่เราจะชอบสิ่งหนึ่งสิ่งใดในขณะนั้น ก็มีสภาพที่ทำกิจติดข้องคือโลภะ และสภาพที่เลือกชอบในอารมณ์นั้นก็ได้ พอใจที่จะกระทำ พอใจในอาการนั้นอารมณ์นั้น

    อ.สมพร ขอแยกอีกนิดหนึ่ง โลภะมีลักษณะติดข้องในอารมณ์ ก็อย่างที่อาจารย์พูด ข้องในอารมณ์ก็ถูกท่านเปรียบไว้ในอรรถกถาว่า เปรียบเหมือนลิงติดตัง มันติดในลักษณะติดอย่างเดียว โลภะยึดติด หรือข้อง อะไรอย่างนี้ แต่ฉันทะมีลักษณะต่างจากโลภะ เรียกว่า กัตตุกัมยตา ฉันทะความเป็นผู้ใคร่เพื่อจะทำเป็นลักษณะของฉันทะ แต่ว่าเมื่อเกิดร่วมกับโลภะแล้วก็เป็นอกุศลหมดเลย มันร่วมกันได้เป็นผู้ใคร่เพื่อจะกระทำ

    ท่านอาจารย์ โลภมูลจิตดวงที่ ๑ ก็ยังไม่จบ เพราะว่าเรามาถึงแค่เวทนาเท่านั้นเองว่าที่คุณสุรีย์พูดเมื่อกี้นี้ต้องเข้าใจด้วยว่าที่มีกำลังใน ๘ ดวง ไม่ได้หมายความถึงเวลาที่ได้มาไม่ได้มา เราพูดถึงเฉพาะประเภทของโลภมูลจิตว่าใน ๘ ดวง โลภมูลจิตดวงที่ ๑ มีกำลังมาก เป็นดวงที่ ๑ เพราะว่าเกิดร่วมกับโสมนัสสเวทนา และที่พูดกันต่อไปก็คือว่าเวลาที่เกิดร่วมกับอุเบกขาเวทนา ก็มีกำลังน้อยกว่าเพราะเวทนาที่เกิดร่วมด้วยเป็นอุเบกขา เพราะฉะนั้นเราจะไม่มาถามว่าตรงนั้นเป็นอุเบกขา หรือเป็นโสมนัสได้มาไม่ได้มา แต่ให้ทราบว่าใน ๘ ดวงนี่ ดวงที่มีกำลังคือดวงที่ ๑ เกิดร่วมกับโสมนัสเวทนา แล้วยังไม่พอเพราะเหตุว่าจะต้องมีความเห็นผิดเกิดร่วมด้วย คือจะต้องค่อยๆ ศึกษาสภาพของโลภมูลจิต แม้ดวงที่ ๑ นี่ไปทีละอย่าง เพื่อเราจะได้จำได้ว่า ทำไมโทษถึงมาก ทำไมถึงมีกำลังมาก เพราะเหตุว่าไม่ใช่เพียงโสมนัสเวทนาที่เกิดกับโลภะเท่านั้น โลภะในขณะนั้นยังมีความเห็นผิดเกิดร่วมด้วยนี่เป็นโลภมูลจิตดวงที่ ๑

    ผู้ฟัง จะเข้าใจถูกหรือเปล่า เพราะว่าเช้านี้ยังนั่งสงสัยอยู่เหมือนกันแต่เผอิญนึกขึ้นมาออก คิดขึ้นมาเองว่าไม่ทราบจะเข้าใจถูกเปล่า อย่างเช่นว่า เราอยากจะนั่งทำสมาธิ ใช่ไหมก็คือเป็นโลภมูลจิต แล้วก็ทิฏฐิคตสัมปยุตต์ เพราะว่า จริงๆ แล้วการทำสมาธินี่ก็ไม่ใช่หนทางที่ถูก อันนี้ไม่ทราบจะเข้าใจถูกรึเปล่าอาจารย์

    ท่านอาจารย์ ถ้าคนรู้ว่าสมาธิคือสมาธิไม่มีความเห็นใดๆ ก็ได้

    ผู้ฟัง แต่ถ้าสมมติว่าเป็นแบบว่าเราอยากจะได้เพชรซาอุฯ ก็อีกประเด็นนึงแล้ว คืออันเนี้ยไม่มีความเห็นผิดเกิดขึ้นเลย

    ท่านอาจารย์ แล้วคุณมธุรสรู้ว่าสมาธิคือสมาธิ แล้วก็ชอบเวลาที่จิตเป็นสมาธิขณะนั้นก็ไม่มีความเห็นผิดใดๆ เกิดร่วมด้วย

    ผู้ฟัง ชอบสมาธิแต่วิธีการ

    ท่านอาจารย์ วิธีการสมาธิก็รู้ว่านั่นทำสมาธิก็ไม่มีความเห็นผิดใดๆ เพราะรู้ว่าสมาธิเป็นสมาธิ

    ผู้ฟัง ความเห็นผิด คือก็อาจจะเข้าใจว่าการทำสมาธินั้นเป็นทางที่จะทำให้พ้นทุกข์ หรือบรรลุธรรม หรือว่าไปนิพพานได้

    ท่านอาจารย์ อันนั้นเป็นความเห็นผิด อันนี้เพิ่มขึ้นมาอีกนิดหนึ่ง คือเรื่องความเห็นผิด นอกจากจะมีโลภะโสมนัสแล้วก็ยังประกอบ หรือมีความเห็นผิดเกิดร่วมด้วย เพราะฉะนั้นเรื่องความเห็นผิดนี้เป็นเรื่องที่สำคัญมาก เพราะเหตุว่าถ้าเห็นผิดจากความเป็นจริงอย่างหนทางปฏิบัติที่ไม่ทำให้เกิดปัญญา และเข้าใจว่าหนทางนั้นจะทำให้เกิดปัญญา บุคคลนั้นไม่มีทางเลยที่ปัญญาจะเกิดไม่ว่าจะเพียรทำสักเท่าไหร่ก็ตาม นี่ก็เป็นโทษของความเห็นผิด เพราะว่าทำเท่าไหร่ก็ไม่เห็นถูก เรื่องนี้มีข้อสงสัยอะไรบ้างไหมในเรื่องของความเห็นผิด ต่างคนต่างรู้ในชีวิตประจำวันของแต่ละบุคคลว่ามีความเห็นผิดเกิดร่วมกับโลภะ หรือว่าไม่มีความเห็นผิดเกิดร่วมกับโลภะ

    ผู้ฟัง คนยังมีความเข้าใจกันส่วนใหญ่ผมเคยไปสัมผัสหลายแห่งว่า ถ้าจะให้มีปัญญา ให้เกิดปัญญา จะต้องทำสมาธิ ถ้าไม่ทำสมาธิไม่มีทางที่ปัญญาจะเกิดได้

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นขณะที่บุคคลนั้นพูดอย่างนั้น เราศึกษา และเรารู้เลยว่าจิตขณะนั้นเป็นโลภมูลจิตทิฏฐิคตสัมปยุตต์ ทีนี้เพิ่มภาษาบาลีอีกซักนิดนึงคือเวลาที่เราพูดถึงเวทนาที่เกิดกับจิต เราจะใช้คำว่า " สหคต " เช่น โสมนัสสสหคตัง หมาย ความว่า มีโสมนัสสเวทนาเกิดร่วมด้วยแต่โดยศัพท์ก็คงจะแปลว่าไปด้วยกัน แต่ว่าไปด้วยกันก็คือเกิดด้วยกันแล้วก็ไปด้วยกันไม่ใช่ว่าไปด้วยกันลอยๆ แต่ต้องเกิดด้วยกันด้วย คตัง หรือ คต เราใช้บ่อยสวรรคต "คต"ก็แปลว่าไป "สห" แปลว่าร่วมกัน

    เพราะฉะนั้นจะไปร่วมกันก็ต้องเกิดร่วมกัน เพราะฉะนั้น โสมนัสสสหคตัง คือโลภมูลจิตขณะนั้นเกิดร่วมกับโสมนัสสเวทนา แต่พอถึงทิฏฐิเกิดร่วมด้วยภาษาบาลีจะใช้คำว่าสัมปยุตตัง เพราะฉะนั้นโลภมูลจิตดวงที่ ๑ จะเป็น " โสมนัสสสหคตังทิฏฐิคตสัมปยุตตัง " ผู้ที่มีประสบการณ์มากๆ ช่วยพูดถึงมิจฉาทิฎฐิให้เข้าใจบ้างว่าเป็นไปในเรื่องอะไรบ้าง เช่นเรื่องกรรม เรื่องผลของกรรม ทุกคนมีกรรมเป็นของตนเองถ้าไม่เชื่อเรื่องนี้ไปเชื่ออย่างอื่นอย่างนี้ คุณวีระมีตัวอย่างมิจฉาทิฏฐิไหม ชีวิตประจำวันที่เราเห็นกันอยู่ทุกวันๆ ที่เขามีความเห็นผิดกันมีความเห็นผิดในลักษณะไหนบ้าง

    ผู้ฟัง คือเห็นผิดว่า คือไม่เห็นสภาพตามความเป็นจริง

    ท่านอาจารย์ แล้วมีความเห็นความเชื่ออย่างไรที่เราเห็นว่ามันไม่ถูกต้อง

    ผู้ฟัง เช่นความเชื่อนี้ก็คือว่าอย่างอาทิเช่น ความที่ไม่เชื่อในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ก็เป็นอันหนึ่งถึงแม้เราจะเชื่อ เราจะเป็นพุทธศาสนิกชนแต่ว่าเราก็ไม่ทราบว่า พระพุทธเจ้า พระธรรมเจ้า พระสังฆเจ้าเป็นอย่างไร

    ท่านอาจารย์ อย่างเชื่อในตะกรุดเนี่ยเป็นมิจฉาทิฏฐิหรือไม่

    ผู้ฟัง เป็นการเชื่อที่ติดข้องอยู่ในสิ่งที่ที่ไม่น่าจะเป็นความจริงหรือว่าสีลพตปรามาส เนี่ยหมายความถึงว่าการเชื่อในศีล หรือเชื่อความเชื่ออื่นที่ไม่มีเหตุผลที่จะอ้างอิงได้

    ท่านอาจารย์ คนที่จะตัวอย่างได้เยอะคงจะเป็นคุณธนิษฐ์ เรื่องของความเห็นผิดทั่วๆ ไปของชาวโลกทุกวันนี้ โดยเฉพาะยุคนี้สมัยนี้จะได้พิจารณาดูว่าเป็นความเห็นผิดไหมในลักษณะไหน

    ผู้ฟัง ครับอย่างเกี่ยวกับเรื่องมงคลตื่นข่าวต่างๆ เช่นเครื่องรางของขลัง ผมขอเรียนว่าคำว่าเครื่องรางกับของขลังแยกกันให้เข้าใจก่อนว่า ถ้าเป็นเครื่องรางหมายถึงวัตถุสิ่งนั้น เขายกย่องกันว่ามันมีอานุภาพในตัวของมัน เช่นเหล็กไหล เพชรหน้าทั่ง งากำจัด งูสวัด หมอนนกกระเต็น แล้วก็คตต่างๆ อะไรมากมาย

    ท่านอาจารย์ งูสวัดนี่ไม่ใช่โรคหรือ

    ผู้ฟัง ไม่ใช่ แต่ลักษณะงูสวัดเนี่ย คืองูมันกินงูด้วยกัน อีกตัวก็กลืนทางนี้ไป แล้วในที่สุดมันไปชนกันแล้วคายออกไม่ได้แล้วก็ตาย

    ท่านอาจารย์ แล้วศักดิ์สิทธิ์ยังไง

    ผู้ฟัง เขาถือว่าเป็นของเครื่องรางที่สามารถจะ คุ้มภยันอันตรายอะไรตั้งมากมาย ท่านอาจารย์ งูตายแล้วนะ

    ผู้ฟัง มันเป็นทั้งคู่ครับ ต่างตัวต่างกินกัน

    ท่านอาจารย์ กินเสร็จแล้วไม่ตาย

    ผู้ฟัง มันกินแล้วมันกลืนไปแล้วคายออกไม่ได้กลายเป็นชนกันแล้วตายแล้วครับ แล้วก็ใครๆ ไปเจอเนี่ยเอามาส่วนมากจะเอามาตากเอามาทำให้แห้งแล้วก็ไปทำเครื่องรางของขลัง

    ท่านอาจารย์ อันนี้เป็นความเห็นผิดอย่างหนึ่ง เขาก็เชื่อว่าอย่างไรถ้ามีงูสวัด

    ผู้ฟัง คือเครื่องรางต่างๆ นี่คิดว่ามันต้องกันภยันอันตรายได้ และนำมาไว้ที่บ้านเป็นสิริมงคลอะไรอันนี้ได้ อันนี้ถ้าอีกเรื่องก็คือจากของขลัง นำวัตถุสิ่งนั้นมา และที่เราใช้คำว่าพุทธาภิเษกหรือใช้พลังจิตเนี่ยเข้าไปเช่น พระเครื่อง ตะกรุด ผ้าประเจียด อะไรต่างๆ คือผู้นั้นเรียนทางไสยศาสตร์มา มีพลังจิตก็สามารถกำหนดพลังจิตแม้กระทั่งสักทั้งตัว สักยันต์ต่างๆ เนี่ยแล้วก็ ทำให้พลังจิตเนี่ยไปอยู่ในวัตถุสิ่งนั้นว่าเป็นวัตถุที่เรียกว่าวัตถุมงคล นี่ต้องแยกกันคนละอย่างอันนี้ถือว่าเป็นมงคลตื่นข่าว และจัดอยู่ในความความเห็นผิด

    ท่านอาจารย์ ไม่ทราบท่านอื่นมีความเห็นอย่างไร ยังมีแนวโน้มที่จะเชื่อหรือไม่เชื่อเชื่อครึ่งไม่เชื่อครึ่ง หรือว่าเชื่อไว้บ้างก็ดี หรืออะไรอย่างนี้มีไหม คุณเผชิญค่ะ เรื่องเครื่องรางของขลังต่างๆ จะจริงหรือไม่จริง จะเชื่อหรือไม่เชื่อ จะมีเหตุผลเป็นไปไดไหม เป็นมิจฉาทิฏฐิหรือเปล่าถ้าเชื่อ

    ผู้ฟัง เท่าที่ผมศึกษามา แต่เรื่องพวกนี้ไม่เชื่อนะครับ เพราะว่าถ้าเข้าใจเรื่องกรรมแล้วเรื่องพวกนี้ก็จะตัดออกไปเลย เพราะว่าส่วนใหญ่ถ้าศึกษาเรื่องกรรมแล้วก็ทุกอย่างก็เป็นไปตามกฎแห่งกรรม เครื่องรางของขลังนี้ก็จะไม่สนใจเลย

    ท่านอาจารย์ รู้สึกว่าจะทำให้เขวไปจากความมั่นคงในเรื่องของกรรมถ้าผู้ใดเชื่อคิดอย่างนั้นหรือไม่ ไม่ทราบคนอื่นจะคิดอย่างไร แต่ว่าที่จริงแล้วถ้าเป็นพุทธบริษัท จะต้องเป็นผู้ที่มีความมั่นคงในกรรม เพราะเหตุว่าถ้าจะพิจารณาให้ลึกลงไปจริงๆ แม้แต่ขณะจิตที่เกิดก็มีเหตุปัจจัยที่ทำให้เกิดอย่างการเห็นในขณะนี้ ไม่มีตระกรุดมาทำให้เห็น ไม่มีของขลัง ไม่มีอะไรที่จะมาทำให้เราเห็นสิ่งที่ดี หรือไม่ดี เพราะเหตุว่าก็ขึ้นอยู่กับกรรมว่าเป็นกุศลกรรม หรือเป็นอกุศลกรรม

    เพราะฉะนั้นสิ่งต่างๆ เจ้ากรรมนายเวร วัตถุต่างๆ ไม่มีทางที่จะมาแปรเปลี่ยนขณะจิตของกรรมที่จะให้ผลคือวิบากเกิดขึ้นในขณะนี้ ที่จะได้รับผลของกรรมทางตา หูจมูก ลิ้น กาย เพราะฉะนั้นถ้าไปเชื่อในสิ่งต่างๆ เหล่านั้นจะทำให้เราเขวออกไปจากการที่จะเป็นผู้ที่มั่นคงในเรื่องของกรรมของตน

    ที่พูดชื่อซ้ำๆ สำหรับให้ทุกคนไม่ต้องท่องนั่นเอง และก็ควรที่จะได้เข้าใจความหมายของคำที่ใช้ด้วยประโยชน์สำคัญที่สุดก็คือว่าไม่ใช่เพียงรู้ชื่อ หรือเรียนชื่อแต่ให้ทราบว่าในขณะนี้จิตของทุกคนเป็นจิตประเภทนี้ คือกามาวจรจิต อาจารย์จะกรุณาให้ความหมายอีกทีหนึ่งซ้ำไปซ้ำมา

    อ.สมพร กามาวจรแล้วก็แยกศัพท์ออกได้เป็น กามะ อวจร และจิต แยกได้ถึง ๓ ศัพท์

    ท่านอาจารย์ ถ้าสั้นๆ จะกล่าวว่ากาม หรือกามะเนี้ยได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส

    อ.สมพร ก็ขอขยายเพิ่มเติมอีกนิดหนึ่ง คำว่ากามะ กามมีสองอย่าง อย่างแรกเรียกวัตถุกาม อย่างหลังเรียกว่ากิเลสกาม ก็กามสองอย่างนี้วัตถุกามคืออะไร วัตถุก็ได้แก่รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ๕ อย่างนี้บางครั้งท่านก็เรียกว่าเบญจกามคุณ หมายถึงรูป เสียง กลิ่น รส ซึ่งเรากำลังเห็น กำลังได้ยิน กำลังได้กลิ่น เป็นต้นเหล่านี้ ทำไมท่านจึงเรียกว่ากาม ก็มันเป็นวัตถุทำให้เราติดอกติดใจ กามจริงๆ แปลว่าความใคร่ อันนี้เรียกว่าวัตถุกาม ส่วนกิเลสกามนั้นได้แก่ตัณหา ตัณหามีชื่อ ๓ อย่าง ชื่ออัน หนึ่ง เรียกว่ากามตัณหา ที่ ๒ ก็ภวตัณหา ที่ ๓ ก็วิภวตัณหา แต่ในที่นี้ท่านมุ่งเอากามตัณหา เพราะว่าจิตที่จะท่องเที่ยวไปในกามภพ ส่วนมากเป็นกามตัณหา

    ท่านอาจารย์ อาจารย์หมายความว่าเวลานี้มีสองคำเพิ่มขึ้นมา กามกับตัณหาแสดงให้เห็นว่าแยกกัน ตัณหาเป็นความติดเป็นความต้องการในกามคือในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ เพราะฉะนั้นถ้าเราจะจำสั้นๆ กาม หรือกามะ ก็คือรูป เสียง กลิ่นรส โผฏฐัพพะ กามตัณหาก็คือความยินดีติดข้องในรูปที่เห็นทางตา ในเสียง ในกลิ่นในรส ในโผฏฐัพพะ ใช่ไหมคะ

    อ.สมพร ใช่ครับคือเราจำสั้นๆ อย่างนั้นน่ะมันก็มีประโยชน์ดี คือเราแยกศัพท์ว่ากาม เป็นวัตถุอย่างหนึ่ง เป็นวัตถุก็คือรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ อีกอันนึงเป็นตัณหา กามนะครับ แต่ว่าเพื่อจะแยกกันให้เด็ดขาดท่านจึงเรียกว่ากามตัณหาความยินดีในกามคือก็คือความยินดีในรูป ในเสียง ในกลิ่น ในรส ในโผฏฐัพพะนั่นแหละ อันแรกเรียกว่าวัตถุกาม รวมถึงวัตถุอย่างเดียว วัตถุเดียวก็คือรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ แต่ว่าว่ามันเนื่องอยู่ด้วยตัณหา ทุกวันนี้เรามีความใคร่ก็เพราะตัณหานั่นเอง ท่านจึงเรียกว่ากามตัณหา

    ท่านอาจารย์ คุณวีระจะละกามตัณหา หรือเปล่าคะ ยังไม่ละ จะละไหมคะ

    ผู้ฟัง ละได้ยากก็คงจะยังไม่ละครับ

    ท่านอาจารย์ อันนี้ถูกต้องไหมคนอื่นเห็นด้วยไหม เรารู้เลยว่ารูปที่ปรากฏทางตาทุกคนพอใจแล้วก็ละยาก อย่าคิดเลยว่าจะละได้ถ้าไม่ใช่เป็นพระอนาคามีบุคคล คือถ้ายังไม่รู้แจ้งอริยสัจธรรมถึงกับเป็นพระโสดาบัน พระสกทาคามี พระอนาคามีบุคคลเพียงพระโสดาบัน ละความยินดีในรูป ในเสียง ในกลิ่น ในรส ในโผฏฐัพพะไม่ได้


    ฟังธรรมจากหัวข้อย่อย

    หมายเลข 10
    28 ม.ค. 2567

    ซีดีแนะนำ