สนทนาธรรม ตอนที่ 020


    ตอนที่ ๒๐

    สนทนาธรรมที่หมู่บ้านเมืองทองนิเวศน์ ๑

    พ.ศ. ๒๕๓๘


    ท่านอาจารย์ ถ้าเป็นผลของอกุศลเรียกว่าอกุศลวิบากคือผลค่ะวิบากนี้คือผล เพราะฉะนั้นถ้าเราพูดสั้นๆ ว่ากุศลต้องหมายถึงเหตุ ถ้าเราพูดสั้นๆ ว่าวิบากหมายความถึงผลแต่ที่นี่เมื่อหตุมี ๒ คือกุศลกรรมอย่าง ๑ อกุศลกรรมอย่าง ๑ เราก็ต้องพูดว่าถ้าผลของกุศลก็ชื่อว่ากุศลวิบากวิบากเป็นตัวยืนพื้นว่าผลแต่ผลของอะไรผลของกุศลกรรมจึงเป็นกุศลวิบาก เพราะฉะนั้นกุศลขณะหนึ่ง ดับแล้วแล้วก็นานค่ะกว่าวิบากซึ่งเป็นผลของกุศลกรรมนั้นจะเกิด อาจจะข้ามภพข้ามชาติไปก็ได้อย่างเราทำบุญวันนี้ไม่ใช่ว่าเราได้รับผลของบุญที่เราทำ หรือกุศลจิตของเราวันนี้ อาจจะเป็นพรุ่งนี้ อย่างเร็วจริงๆ แล้วไม่เร็วถึงขนาดนั้นเป็นในชาตินี้ก็ได้ หรือว่าชาติหน้าก็ได้ หรือในชาติโน้นๆ ต่อไปก็ได้คืออะไรผลของบุญก็คือวิบากจิต ผลของอกุศลก็คืออกุศลวิบากจิต คือตัวจิตนั่นเองนะคะ ซึ่งขณะนี้มีจิตหลายชนิดซึ่งเกิดแล้วก็ดับแล้วก็เกิดแล้วก็ดับสืบต่อกันแต่ถ้าจะจำแนกจิตทั้งหมดเลยไม่ว่าจะในภูมิมนุษย์ภูมิสวรรค์อะไรก็ตามจะมีอยู่เพียง ๔ อย่างโดยชาติคือการเกิดขึ้นเป็นกุศลก็เป็นกุศลเป็นอกุศลก็เป็นอกุศล เป็นวิบากคือเป็นผลก็เป็นวิบากเป็นกิริยาก็เป็นกิริยา ทีละหนึ่ง ขณะ และดวง ๑ ประเภท ๑ ก็เกิดเป็นชนิดเดียวค่ะจิตที่เป็นกุศลเมื่ิอเกิดปุ๊บเป็นกุศลทันทีต่อไปอีกขณะ หนึ่งเกิดขึ้นมาเป็นกุศลทันทีต่อจากนั้นไปอีกจิตเกิดขึ้นมาเป็นวิบากคือเป็นผลของกุศลกรรม หรือเป็นผลของอกุศลกรรมคือวิบาก ก็คิดจิตนั่นเองจิตที่เป็นเหตุกับจิตที่เป็นผลคือจิตไม่ใช่มีดวงเดียวนะคะ

    ผู้ฟัง จิตเป็นผลเป็นยังไง

    ท่านอาจารย์ คือวิบากจิต จิตเห็นนะคะ หรือปฏิสนธิจิตที่เราเกิดมาขณะแรกอันนั้นเป็นวิบากจิตคือเป็นผลของกรรมหนึ่ง ตัวกรรมทำไปแล้วเยอะแยะแต่กรรม หนึ่ง ทำให้ปฏิสนธิจิตคือวิบากจิตเกิดขึ้น ถ้าเราไม่ใช้คำว่าปฏิสนธิจิตเราจะใช้คำว่าวิบากจิตก็ได้คือจิตที่เป็นผลไม่ใช่จิตที่เป็นเหตุ

    ผู้ฟัง ขออนุญาตนะครับ ที่ถามตรงจุดนี้เพราะว่าผมเคยอ่านหนังสืออาจารย์ว่าที่เราผ่านมาทางทวารทั้ง ๖ นี่เป็นวิบากทั้งสิ้นที่เราผ่านประจำตาหูจมูลิ้นกายเป็นวิบากทั้งสิ้นที่เราได้เห็นได้ยินได้ลิ้มรสอะไรก็แล้วแต่

    ท่านอาจารย์ เฉพาะเห็นเฉพาะได้ยิน

    ผู้ฟัง ครับที่นี้ถ้าในหนังสือผมรู้สึกว่าผมจะจำได้ว่า แต่ถ้าเข้าทางใจไม่ใช่วิบาก

    ท่านอาจารย์ ถ้าพูดถึงใจจะมีวิบากเฉพาะตทาลัมพนะ ซึ่งเรายังไม่พูดถึงเลยปกติธรรมดาจะไม่มีใครรู้ถึงจิตนั้นยังขนาดนี้ราพูดถึงจิตที่เราพอจะรู้ได้คือเวลาที่เราจะตั้งต้นเข้าใจสภาพธรรมมอะไรหมายความว่าเราศึกษาจากตัวจริงของสภาพธรรมที่กำลังมีให้เข้าใจ อย่างเห็นอย่างนี้ค่ะมีจริงๆ แล้วก็ไม่เคยรู้ว่าเป็นจิตด้วย แต่ว่าถ้ารู้ล่ะว่านี้เป็นจิตที่เห็นยังต้องรู้อีกว่าจิตที่เห็นเนี่ยเป็นจิตชนิดไหนเพราะจิตมีเยอะ ในวันหนึ่งๆ เพราะฉะนั้นเวลาที่พูดถึงวิบากจิตหมายความว่าจิตที่เป็นผลของกรรมใช้คำว่าเป็นผลของกรรม เพราะฉะนั้นกรรมก็เป็นตัวหนึ่งขณะหนึ่ง ผลของกรรมก็เป็นอีกขณะหนึ่งกรรมกับผลของกรรมนี้จะเกิดพร้อมกันไม่ได้เลยกรรมคือกรรมเป็นเหตุผลของกรรมก็คือผล ซึ่งมาจากเหตุ

    ผู้ฟัง เราจะเห็นนี้จะได้เห็นผมก็ผมเคยพบอาจารย์ชาติไหนก็ไม่ทราบเดี๋ยวจะมาเห็นอาจารย์วันนี้การเห็นตรงนั้นเป็นวิบากที่เข้าทางทวารตาใช่ไหมตาหูจมูกลิ้นกายสามารถเข้าใจทีนี้ตรงใจเป็นวิบากตรงนี้ยังสงสัย

    ท่านอาจารย์ หลังจากชวนะดับไปแล้วตทาลัมพนะจึงเป็นวิบาก เพราะว่าใจไม่ได้อาศัยตาหูจมูกลิ้นกายเลย เพราะฉะนั้นเราถึงได้ไม่สามารถที่จะไปรู้ได้ว่าทางใจวิบากตอนไหน เพราะฉะนั้นในพระสูตรจะไม่มีการแสดงเรื่องตทาลัพนะสัมปฏิฉันนจิตสันตีรณะจิตเลยโดยนัยของพระสูตรทรงแสดงสำหรับคนที่ไปเฝ้า และสามารถที่จะพิจารณาเข้าใจสภาพธรรมที่สามารถจะรู้ได้เช่นเห็นขณะนี้ถ้าสมมติว่าที่นี่เป็นพระวิหารเชตวัน ก็ไม่ต่างกันคือพวกที่ไปเฝ้าก็เห็น พระผู้มีพระภาคทรงแสดงพระสูตรคือสิ่งที่กำลังปรากฏให้คนนั้นเข้าใจว่าเห็นมีไม่ใช่ตัวตนเป็นเพียงชั่วขณะจิตซึ่งเกิดเพราะปัจจัยหลายอย่างซึ่งปัจจัยหนึ่งซึ่งสำคัญที่สุดก็คือกรรมปัจจัย ถ้าไม่มีกรรมเป็นปัจจัยแล้วละก็จักขุปสาทก็ไม่มีโสตปสาทก็ไม่มี อย่างโต๊ะเก้าอี้ไม่ได้ทำกรรมอะไรเลยจะไปให้โต๊ะนี้มีตาก็ไม่ได้ เพราะเหตุว่าถ้ามีตามีจักขุปสาทหมายความว่าเป็นทางที่จะทำให้จิตเห็นเกิดขึ้นต้องเป็นทางของจิต

    ผู้ฟัง ตรงที่อาจารย์พูดเหล่านี้คือกัมมชรูปใช่ไหมถึงได้มีตาถึงได้มีอะไร

    ท่านอาจารย์ ตา หู จมูก ลิ้น กาย เป็นกัมมชรูปเป็นรูปซึ่งเกิดจากกรรม เพราะฉะนั้นแสดงให้เห็นว่าปัจจัยที่จะทำให้จิตซึ่งเป็นวิบากเกิดต้องอาศัยนอกจากกรรมซึ่งเป็นปัจจัยแล้วยังต้องอาศัยรูปซึ่งเกิดเพราะกรรมด้วยทั้งหมดนี้ค่ะเป็นงานของกรรมทั้งนั้น

    ผู้ฟัง ต้องขอประทานโทษครับผมเลยถือโอกาสยึดไมโครโฟนมาถามอาจารย์เพราะว่าพอผมอ่านผมก็สงสัยแล้วมันก็จะมีคำตอบของตัวเองแต่ไม่แน่ใจจากวันนี้จะคำถามแรกย้อนใหม่ที่ผมอ่านนั้นผมอาจไม่จริงใช่ไหมผมเผลอไป หรือเปล่าไม่ทราบว่าที่เราผ่านมาทางผัสสะที่มาทางตาหูจมูกลิ้นกาย อันนั้นเป็นวิบากแต่ใจไม่ใช่อันนี้จำผิดก็บอก บอกผิดกรุณาบอกว่าผิดตรงไหน

    ท่านอาจารย์ เพราะว่าเราต้องไม่ลืมปรมัตถ์ธรรมทั้งหมดที่เราพูดนี้จะไม่พ้นจากจิตเจตสิกรูปนิพพานไม่ต้องพูดถึงเอาปรมัตถ์ธรรมที่เกิดก็แล้วกัน จะไม่พ้นจากจิตเจตสิกรูปเลยจะผ่านมาผ่านไปยังไงก็จะต้องชัดลงไปว่าที่เราพูดนั้นหมายความถึงจิต หรือหมายความถึงเจตสิก หรือหมายความถึงรูปถ้าพูดถึงเห็นต้องหมายความถึงจิตรูปชนิดนี้ต้องอาศัยจักขุปสาทรูปจึงเกิดได้นี่แสดงให้เห็นว่าใครก็สร้างจิตเห็นไม่ได้เลยทั้งสิ้นต้องเพราะปัจจัยคือมีจักขุปสาทจึงจะเป็นปัจจัยให้จิตเห็นเกิดขึ้น เพราะฉะนั้นจิตชนิดนี้เป็นธาตุชนิดหนึ่ง แต่ละธาตุจะมีลักษณะเฉพาะของเขา แล้วก็มีกิจการงานของเขาอย่างธาตุชนิดนี้ไม่มีทางจะเกิดถ้าไม่มีจักขุปสาทรูปใครก็ตามในโลกนี้ หรือโลกไหนทั้งสิ้นด้วยเหตุนี้อรูปพรหมไม่เห็น อรูปพรหมไม่มีรูปไม่มีจักขุปสาทรูปรูปพรมมีจักขุเห็นเทวดามีจักขุเห็นมนุษย์มีจักขุปสาทรูปเห็นสัตว์ที่มีจักขุปสาทรูปเห็น แสดงให้เห็นว่า ถ้าไม่มีจักขุปสาทรูปแล้ว ธาตุชนิดนี้จะเกิดไม่ได้

    ทั้งหมดเพื่อแสดงความเป็นอนัตตาจริงๆ ให้เห็นว่าไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาของใคร แล้วก็ไม่ใช่ตัวตนด้วยเพราะเหตุว่ามีปัจจัยก็เกิดเกิดแล้วก็ดับ และจะเป็นตัวตนของใครอยู่ที่ไหนได้แต่เพราะเหตุว่าไม่มีปัญญาที่จะรู้ความจริงของสภาพธรรมซึ่งกำลังเกิดดับในขณะนี้แม้ว่าเป็นแต่เพียงธาตุ หรือเป็นนามธาตุ และก็แต่ละชนิดด้วยเช่นทางตาป็นจักขุวิญญาณธาตุทางหูเป็นธาตุอีกชนิดหนึ่ง แล้วต้องอาศัยโสตปสาทรูป เพราะฉะนั้น ธาตุชนิดนี้คือโสตวิญญาณธาตุ เรียกกันคือแสดงให้เห็นว่าแม้จะเป็นนามธรรม เป็นนามธาตุ ก็ยังต้องเป็นนามธาตุต่างชนิด แล้วก็ถ้าพูดโดยชาติ ๔ คือ เป็นกุศล หรือเป็นอกุศล หรือเป็นวิบาก หรือเป็นกิริยา เราก็ตอบได้ว่าสำหรับจักขุวิญญาณคือ จิตเห็นเป็นวิบากจิต เป็นผลของกรรม เพราะเหตุว่าถ้าไม่มีกรรมเป็นปัจจัยแล้ว จักขุวิญญาณขณะนี้เกิดไม่ได้

    นี่เป็นเหตุที่เมื่อศึกษาเรื่องจิต ก่อนอื่นต้องศึกษาเรื่องชาติของจิต เพราะเหตุว่าจิตที่เกิดต่างกันเป็นจิตที่เป็นเหตุคือกรรมที่เป็นกุศลอกุศล และจิตที่เป็นวิบากคือจิตที่เป็นผล คือเอาตัวของเราตั้งแต่เกิดมา มาย่อยออกเป็นแต่ละขณะแล้วก็รู้ว่าแต่ละขณะถ้าเป็นจิตแล้วจะไม่พ้นจากที่เป็นกุศล หรืออกุศล หรือวิบาก หรือกิริยา และก็ไม่ปนกันด้วยจึงเกิดขึ้นขณะหนึ่งสั้นมากเร็วมากเป็นได้อย่างเดียวคือถ้าเป็นกุศลก็เป็นกุศล ถ้าเป็นอกุศลก็เป็นอกุศลถ้าเป็นวิบากคือเป็นผลของกรรมก็เป็นผลของกรรมคือไม่ใช่ตัวกรรมแต่เป็นผลของกรรม เพราะฉะนั้นขณะที่เห็นไม่ใช่กุศลจิตกุศลจิตต้องเป็นไปในเมตตาในกรุณา หรือว่าในความเอื้อเฟื้อในการสละวัตถุ เพื่อประโยชน์สุขแก่คนอื่นด้วยในการช่วยเหลือสงเคราะห์คนอื่นก็ตาม ในขณะนั้นเป็นสภาพจิตที่ดีงาม ไม่ใช่เห็นคนละขณะ เห็นทำอะไรไม่ได้เลย เห็นเป็นกุศลไม่ได้ เห็นคิดอะไรไม่ได้ เห็นเกิดขึ้นขณะเดียวสั้นๆ ทำหน้าที่เห็นแล้วดับ นี่คือจิตประเภทหนึ่ง ซึ่งเป็นผลของกรรม ภาษาบาลีใช้คำว่า วิบากจิต ถ้าได้ยินคำว่า วิบากก็คือผลของกรรม

    ผู้ฟัง อาจารย์ครับก็พูดถึงกุศล และอกุศลก็มีคำจำกัดความว่าถ้าเป็นกุศลให้ผลเป็นความสุขเป็นความสบายถ้าพูดถึงอกุศลก็ให้ผลเป็นความทุกข์ความเดือดร้อนที่มาพูดถึงกิริยาจิต จะให้ผลเป็นอะไรครับ

    ท่านอาจารย์ ไม่ใช่เหตุ และไม่ใช่ผล

    ผู้ฟัง แล้วก็เกิดขึ้นมาเพื่ออะไร

    ท่านอาจารย์ ทำกิจ

    ผู้ฟัง ทำกิจอะไรครับ

    ท่านอาจารย์ ทำกิจอาวัชชนะบ้าง หรือว่าทำกิจแล้วแต่จะเป็นชวนะบ้างก็แล้วแต่ประเภทเพราะว่ากิริยามีหลายชนิดเราจะตั้งต้นที่ชาติ และเราต่อไปจะเป็นภูมิ หรือจะเป็นกิจเป็นทวารเป็นอะไรต่างๆ จะสับสนกันไม่ได้

    ผู้ฟัง ครับผม

    ท่านอาจารย์ ให้ทราบชัดเจนลงไปว่ากิริยาจิตไม่ใช่กุศลจิตไม่ใช่อกุศล ซึ่งเป็นเหตุ

    ผู้ฟัง ครับผม

    ท่านอาจารย์ และไม่ใช่วิบากจิตซึ่งเป็นผล

    ผู้ฟัง พราะฉะนั้นการเกิดของกิริยาจิตจึงไม่มีผลในการที่จะให้ผลเป็นสุข หรือเป็นทุกข์อย่างนั้นใช่ไหมครับ

    ท่านอาจารย์ ไม่ใช่เหตุที่จะให้เกิดผล และไม่ใช่ผลซึ่งเกิดจากเหตุ

    ผู้ฟัง แล้วเขาเกิดมาทำอะไรครับ

    ท่านอาจารย์ ทำหน้าที่ของเขาจิตทุกดวงทำหน้าที่ค่ะไม่ใช่มีจิตที่เกิดมาโดยไม่ทำหน้าที่

    ผู้ฟัง อย่างเช่นทางปัญจทวารอาวัชชนะจิตเป็นกิริยาจิต

    ท่านอาจารย์ คือนี้คนที่เรียนแล้วสามารถที่จะบอกชื่อของจิตได้แต่คนที่ยังไม่ได้เรียน หรือยังไม่เข้าใจตั้งต้นใหม่ๆ ให้ทราบก่อนว่ามีจิต ๔ ชาติ

    ผู้ฟัง ชาติกิริยามีผลอย่างไร ในอรรถกถาอัฏฐสาลินีท่านอุปมาไว้ว่าคนมาไว้ว่าเหมือนดอกไม้ลมๆ ก็ไม่สามารถที่จะให้เกิดอะไรได้

    ผู้ฟัง เหตุใดพระพุทธองค์จึงทรงแสดงว่าจิตการที่เราจะเรียนเรื่องจิตนั้นนะเราจะต้องรู้ชาติของจิตก่อนมี ๔ ชาติ เป็นพื้นฐานการเรียนเรื่องจิตรู้ลักษณะของจิตอย่างไรจึงทรงแสดงเรื่องชาติของจิตก่อน

    ท่านอาจารย์ ไม่ใช่หมายความว่าพระองค์ตั้งเป็นกฎขึ้นมาว่าจิตมี ๔ ชาติแต่หมายความว่าสภาพของจิตเป็นอย่างนั้น เพราะฉะนั้นคำว่าชาติ หรือ"ชา-ติ"หมายความถึงเกิดเมื่อจิตเกิดแล้วเป็นสภาพอย่างหนึ่งอย่างใดคือเป็นกุศลก็เป็นกุศลอย่างหนึ่ง เป็นอกุศลก็เป็นอกุศลอีกอย่างหนึ่ง แสดงให้เห็นความต่างกันของจิตแต่ละชนิดซึ่งเกิดว่าจิตแต่ละชนิดซึ่งเกิดเกิดเป็นอะไร ชา-ติ คือเกิดเป็นชาติกุศล หรือเป็นอกุศลซึ่งเป็นเหตุ แล้วเป็นวิบากคือที่เป็นผลไม่ใช่เหตุ และกิริยาจิตคือไม่ใช่เหตุ และไม่ใช่ผลคือไม่ใช่ทั้งกุศลไม่ใช่อกุศล และไม่ใช่วิบากด้วยเมื่อสภาพของจิตทั้งหมดที่มีอยู่จำแนกออกโดยประเภทของการเกิดขึ้นเป็นอย่างหนึ่งอย่างใดคือเป็นเหตุ และเป็นผลเพื่อที่จะให้เราเข้าใจถูก เพราะมิฉะนั้นแล้วเราก็สับสนบางคนก็บอกว่าเป็นผลของกรรม แต่ความจริงไม่ใช่ เป็นตัวกรรมเป็นเหตุที่จะให้เกิดผลต่างหาก บางคนก็บอกว่านี่เป็นเหตุ แต่ความจริงไม่ใช่ เป็นผล

    เพราะฉะนั้น ไม่มีใครที่จะรู้จริงถ้าไม่มีการตรัสรู้ เพราะเหตุว่าสภาพของจิตนั้นเกิดดับสืบต่อเร็วมาก อย่างทางตากำลังเห็นบางคนก็บอกว่าเป็นวิบากบางคนก็บอกว่าเป็นกุศลบางคนก็บอกว่าเป็นอกุศลแต่ด้วยการตรัสรู้จึงทรงแสดงลักษณะของจิตทีละหนึ่งขณะว่าจิตขณะใดก็ตามที่เกิดขึ้นจะต้องเป็นอย่างหนึ่งอย่างใดใน ๔ เพราะว่ากิดขึ้นเป็นเหตุ คือกุศล หรืออกุศลเกิดขึ้นเป็นผลคือกุสลวิบากเลย อกุศลวิบากเกิดขึ้น โดยไม่ใช่ทั้งที่เป็นกุศลอกุศล หรือวิบากจิตนั้นเป็นกิริยา อันนี้แสดงให้เห็นว่าถ้าไม่ใช่การตรัสรู้ และไม่มีใครสามารถที่จะรู้ได้เลยว่ากิริยาจิตนั้นมีด้วย หรือ เพียงแต่จะบอกได้ว่าจิตที่เป็นเหตุมี จิตที่เป็นผลมี แต่จะรู้ถึงกิริยาจิตไหม

    นี่แสดงให้เห็นว่าผู้นั้นไม่ใช่สัพพัญญูแน่ ถ้าไม่รู้ความจริงของสภาพธรรม เพราะจริงๆ แล้วถ้าทั้งนามธาตุรูปธาตุอย่างจิต และเจตสิกที่ใช้คำว่าธาตุคือไม่มีใครสามารถจะสร้างไม่มีใครสามารถจะบังคับไม่มีใครสามารถจะแปรธาตุนั้นให้เป็นอย่างอื่นได้เพราะเหตุว่าลักษณะของธาตุในพระพุทธศาสนาตรงตัวแล้วก็ตายตัวคือเปลี่ยนไม่ได้เลยจริงๆ แต่ละอย่างไม่เหมือนธาตุที่เราเอามาแปรกัน อันนั้นผสมแล้วกลายเป็นธาตุโน้นธาตุนี้ ในพระพุทธศาสนาแต่ละธาตุคือสภาพซึ่งทรงลักษณะของสภาพนั้นจริงๆ

    เพราะฉะนั้นสภาพซึ่งเป็นนามธาตุใครจะอยากให้เกิด หรือไม่เกิดแต่ธาตุนี้มีซึ่งบางคนก็คิดว่าเราไม่น่าจะเกิดมาเลยเกิดมาแล้วก็ต้องมาเห็นแล้วก็มาจำแล้วก็มาสุขแล้วก็มาทุกข์แล้วก็มาติดมาพอใจในสิ่งต่างๆ ถ้าเป็นต้นไม้ใบหญ้าก็ดีหรอกคือว่าเกิดมาแล้วก็ไม่เห็นรู้อะไรเลย ลมจะพัดน้ำจะท่วมก็ไม่ได้เดือดร้อนอะไรเลยแต่นั่นเป็นรูปธาตุซึ่งไม่ใช่ธาตุรู้แต่ส่วนนามธาตุเป็นธาตุที่มีจริงชนิดหนึ่ง ใครจะบอกว่าอย่าเกิดก็ไม่ได้เพราะมีเหตุปัจจัยที่จะให้ธาตุชนิดนี้เกิดธาตุชนิดนี้ก็เกิด เพราะฉะนั้นไม่ใช่มีใครไปสร้าง หรือว่าไปบันดาล หรือว่าไปทำลาย ธาุต่างๆ เหล่านี้ได้เลยด้วยเหตุนี้พระผู้มีพระภาคจึงได้ทรงบำเพ็ญพระบารมีเพื่อที่จะตรัสรู้ความจริงของธาตุทั้งหลายซึ่งถ้าจำแนกออกแล้วก็เป็นนามธาตุ และรูปธาตุแต่แม้กระนั้นนอกจากรูปธาตุซึ่งไม่ใช่ธาตุรู้อะไรเลยทั้งสิ้นสภาพที่ไม่ใช้รูป ก็เป็นนามธาตุยังต่างกันเป็นจิต และเจตสิก ซึ่งเป็นนามธาตุที่เกิดดับส่วนอีกธาตุหนึ่ง นั้นเป็นนิพพานนี้ก็แสดงให้เห็นว่าต้องเป็นผู้ที่ตรัสรู้ทั้งหมดจริงๆ จึงสามารถที่จะทรงแสดงได้แม้แต่เรื่องจิตทุกคนก็มีจิต และจิตก็เกิดแต่จิตที่เกิดนี้เป็นอะไรถ้าไม่มีปัญญาจริงๆ จะบอกไม่ได้เลยว่าจิตนี้เป็นกุศล หรือเป็นอกุศล หรือเป็นวิบาก หรือเป็นกริยาเพราะส่วนใหญ่ผู้ที่ไม่ได้ศึกษาเวลาไปเขาจะถามว่าทำอย่างนี้เป็นกุศลไม่ทำอย่างนี้เป็นอกุศลไหมนี่คือเรื่องที่ไม่รู้จริงๆ แต่ว่าการที่จะรู้ว่าเป็นกุศล หรืออกุศลไม่ใช่เพียงแค่มาบอกกันด้วยปากว่านี้เป็นกุศลนี้เป็นอกุศล ถ้าเป็นโดยลักษณะนั้นแล้วแล้วก็ความเข้าใจของตัวเองจะไม่มีเลยเพราะว่าฟังคำบอกเล่าให้ทานเป็นกุศลจบอ้าวฆ่าสัตว์เป็นอกุศลจบแต่เขาจะไม่รู้ลักษณะสภาพของจิตของเขาซึ่งขณะใดเป็นกุศลขณะใดเป็นอกุศลอย่างไร ด้วยเหตุนี้พระผู้มีพระภาคจึงได้ทรงแสดงเรื่องของสภาพธรรมที่มีจริงที่เป็นปรมัตธรรม ๔๕ พรรษาทรงแสดงทั้งพระวินัยปิฏกพระสุตตันปิฏกพระอภิธรรมปิฏกก็เป็นเรื่องเดียวกัน คือเป็นเรื่องชีวิตประจำวันแต่ละรูปแบบคือถ้าเป็นคฤหัสถ์ก็เป็นเรื่องความประพฤติอย่างคฤหัสถ์ถ้าเป็นบรรพชิตก็มีความประพฤติตามพระวินัยบัญญัติแต่ก็ไม่พ้นจากธาตุทั้งหลายซึ่งเกิดเพราะเหตุปัจจัยทั้งหมดแล้วก็ผู้ที่มีโอกาสได้ยินได้ฟังพระธรรม ก็สามารถที่จะพิจารณาไตร่ตรองเพิ่มความรู้ความเข้าใจในธาุทั้งหลาย ซึ่งกำลังเป็นธาตุทั้งนั้นในขณะนี้ในลักษณะของนามธาตุ และรูปธาตุ เพราะฉะนั้นที่ทรงแสดงเรื่องของจิต และเจตสิกโดยชาติว่าเป็นกุศล หนึ่ง เป็นอกุศล หนึ่ง เป็นวิบาก หนึ่ง เป็นกิริยา หนึ่ง แสดงให้เห็นว่าจิตทั้งหมดทุกประเภทในอดีตอนาคตปัจจุบันยังไงก็ตามเมื่อเกิดขึ้นมาครั้งหนึ่งๆ จะต้องเป็น ๑ ใน ๔ ชาติ นั่นก็เป็นเรื่องที่จะต้องรู้ด้วยตัวเองเข้าใจด้วย แต่ความเข้าใจจะต้องเพิ่มขึ้นตามลำดับคือต้องเข้าใจตั้งแต่ความต่างกันของลักษณะของนามธรรมกับรูปธรรมเสียก่อนทั้งๆ ที่เวลานี้ที่กำลังพูดถึงเรื่องชาติทั้ง ๔ ของจิตทั้งกุศลทั้งอกุศลทางวิบากทั้งกิริยา ขณะนี้ก็ครบค่ะทุกคนกำลังมีครบเลยจิตทุกชนิดกุศลจุดก็มีอกุศลจิตก็มีวิบากจิตก็มีกิริยาจิตก็มีแต่กำลังพูดเรื่องของจิต ยังไม่ได้ประจักษ์แจ้งลักษณะของจิตซึ่งเป็นธาตุแล้วก็เป็นชาติต่างๆ จริงๆ แต่ว่าสามารถที่จะอบรมปัญญาถึงขั้นที่จะรู้ได้แต่ต้องภายหลังจากที่เข้าใจแล้วโดยการฟังถ้าความเข้าใจขั้นการฟังไม่มีก็ไม่มีทางเลยที่จะมานั่ง ตอบ และถามกันว่านี้เป็นกุศล หรือเปล่านั้นเป็นอกุศล หรือเปล่าก็ถามกันไปอย่างนี้ตลอดก็ยังคงเป็นเรื่องราวของสภาพธรรมแต่ยังไม่รู้จักตัวธรรมจริงๆ

    เพราะฉะนั้น พระธรรมที่ทรงแสดงทรงแสดงถึงเรื่องสภาพธรรมที่กำลังมีอยู่ในขณะนี้ให้ฟังให้เข้าใจก่อน เมื่อเข้าใจแล้วจริงๆ เห็นจริงๆ ว่าไม่ใช่เราอย่างไรเป็นธาตุอย่างไรเป็นจิตอย่างไรเป็นเจตสิกอย่างไรเป็นรูปอย่างไรมีความเข้าใจที่มั่นคงมั่นคงคือไม่ลืมเพราะเข้าใจ เพราะฉะนั้นจะบอกว่า๒เดือนก่อนฟังแล้วก็ตอนนี้มีเสียงแทรก หรืออะไรต่ออะไร ฟังแล้วต้องเข้าใจค่ะไม่ใช่เกี่ยวกับอันใหม่ เพราะฉะนั้นความเข้าใจของทุกคนสำคัญที่สุดคือว่าฟังเพื่อให้เข้าใจลักษณะของสภาพธรรมจริงๆ ชื่อตอนแรกยากก็ค่อยๆ เข้าใจขึ้นแต่ยากกว่านั้นก็คือลักษณะของสภาพธรรมจริงๆ ที่กำลังเกิดขึ้นทำกิจการงานต่างๆ เพราะฉะนั้นในขั้นต้นเมื่อรู้เรื่องของปรมัตธรรม แล้วก็มารู้เรื่องของจิตแล้วก็ค่อยๆ รู้ถึงเรื่องเจตสิกเรื่องรูปซึ่งจริงๆ แล้วเราก็ไม่จำเป็นที่จะต้องกางตำรา หรือว่าตามตัวเลข หรืออะไรอย่างนั้นแต่หมายความว่าเมื่อพูดถึงสิ่งใดก็ตามขอให้มีความเข้าใจในสิ่งนั้นจริงๆ ค่ะ ให้เข้าใจลึกลงไปถึงสิ่งนั้นจริงๆ อย่างสภาพธรรมทั้งหลายไม่ใช่สัตว์ไม่ใช่บุคคลไม่ใช่ตัวตนเราก็จะไม่มีความพอใจเพียงแค่อ้าวไม่ใช่ตัวตนก็ไม่ใช่ตัวตนแต่ต้องรู้ว่าไม่ใช่ตัวตนแล้วเป็นอะไร โดยชื่อที่ทรงแสดงไว้ก็เป็นจิตเจตสิกรูกแต่โดยสภาพธรรมก็มีจริงๆ แต่เมื่อยังไม่สามารถที่จะเข้าใจลักษณะของจิตเจตสิกรูปได้ก็ต้องอาศัยการฟังจนกระทั่งเข้าใจเพิ่มขึ้น นี่เป็นเหตุที่การศึกษาเพื่อทำต้องศึกษาตลอดชีวิตจนกว่าจะเป็นพระอรหันต์ เพราะฉะนั้นก็คงจะไม่ต้องสงสัยเรื่องทำไมเราถึงจะต้องรู้เรื่องชาติของจิต และเจตสิกว่าเป็นกุศลเป็นอกุศลเป็นวิบากเป็นกิริยาก็เพื่อที่จะให้เห็นความไม่ใช่ตัวตนจริงๆ เริ่มจากการที่จะเข้าใจสภาพจิตของเราเองซึ่งเราไม่เคยรู้แล้วก็เคยยึดถือว่าเป็นเรา และเป็นของเรา

    ผู้ฟัง ที่อาจารย์พูดก็หมายความว่ากุศลชาติอกุศลชาติวิบากชาติ และกริยาชาติก็คือการเกิดของจิตที่เป็นเหตุคือกุศลอกุศล

    ท่านอาจารย์ สภาพของจิตที่เกิดขึ้นนั้นเป็นอย่างไร

    ผู้ฟัง สภาพของจิตที่เกิดขึ้นแล้ว

    ท่านอาจารย์ ชาติคือความเป็น หรือการเป็น

    ผู้ฟัง สภาพของจิตที่เกิดขึ้นนั้นเป็นอย่างไร

    ท่านอาจารย์ เป็นกุศล หรือเป็นอกุศล หรือเป็นวิบาก หรือเป็นกิริยา

    ผู้ฟัง ซึ่งก็ครบหมดคือมีทั้งเหตุ และผลที่เกิด

    ท่านอาจารย์ ที่ละหนึ่ง ชนิดหนึ่ง

    ผู้ฟัง อันนี้สำคัญสมมติว่าเราจะเข้าใจรู้สึกภาษานั้นต้องชัดช่วยมากเลยเป็นสภาพของจิตที่เกิด เป็นสภาพของจิตที่เกิดขึ้นนั้นสภาพของจิตที่เกิดขึ้นนั้นเป็นชาติอะไรแล้วชาติอะไรนั่นตัวเหตุก็คือกุศลชาติ และอกุศลชาติตัวผลก็คือวิบากชาติซึ่งก็อยู่ในชีวิตประจำวัน และมีกิริยาชาติซึ่งอันนี้ถ้าเราจะรู้จักก็คงจะต้องรู้จักลึกกว่านี้ ใช่ไหม ก็ขอแขวนไว้ก่อน

    ท่านอาจารย์ มีใครสงสัยแรื่อง๔ ชาติ บ้างมั้ยคะ

    ผู้ฟัง รู้สึกตอนเช้าเราจะสรุปได้ ๒ ประเด็นคืออันที่หนึ่ง ชาติคืออะไร


    ฟังธรรมจากหัวข้อย่อย

    หมายเลข 10
    3 ม.ค. 2567

    ซีดีแนะนำ