ปกิณณกธรรม ตอนที่ 419


    ข้อความนี้อยู่ระหว่างตรวจสอบแก้ไข

    ตอนที่ ๔๑๙

    สนทนาธรรม ระหว่างเดินทางไปนมัสการสังเวชนียสถาน ประเทศอินเดีย

    พ.ศ. ๒๕๔๒


    ท่านอาจารย์ ผู้ที่เข้าใจหนทางแล้ว ไม่หวั่นไหวเลย ว่าจะรู้แจ้งอริยสัจธรรมเมื่อไร ขณะไหน เพราะรู้ว่าเมื่อพร้อมเท่านั้นเมื่อสมบูรณ์เท่านั้น จึงสามารถที่จะประจักษ์ได้ เพราะฉะนั้น ก็ไม่มีการไปรอ แต่อบรมเหตุไปเรื่อยๆ นี่ก็เป็นหนทางตรง ที่จะทำให้ไม่มีอะไรเป็นเครื่องกั้น

    ปัญญาของพระโสดาบัน กับปุถุชนห่างไกลกันมาก ปุถุชน กับพระอริยบุคคล ซึ่งอริยบุคคลเหลืออีกเพียง ๗ ชาติ ปุถุชนนี้เท่าไร ผ่านมาแล้วแสนโกฏิกัปป์ ต่อไปข้างหน้าที่ละ ๑ ขณะ ๑ ขณะ ๑ ขณะจบชาติ ๑ ต่อไปอีกที๑ ขณะ ๑ ขณะจบอีกชาติ ๑ ไปเรื่อยๆ ไม่มีจบเพราะเหตุว่า ปัญญายังไม่ได้เกิดขึ้น เพราะฉะนั้น อย่าคิดว่าปัญญของพระโสดาบัน เล็กน้อยเพียงแต่ว่าสามารถที่จะประจักษ์การเกิดดับรู้แจ้งนิพพาน แต่อย่างอื่นก็เหมือนกับปุถุชน เพราะเหตุว่า กิเลสอื่นยังไม่ได้ดับ แต่ปัญญาของผู้ที่เป็นพระอริยบุคคล กับ ปุถุชนเทียบกันไม่ได้

    ผู้ฟัง ตอนที่พระอานนท์ สำเร็จเป็นพระอรหันต์ พระสัมพุทธเจ้า นิพพานไปแล้ว ใครเล่าที่มาพยากรณ์ว่า พระอานนท์ ได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์ คือหมายความว่าตอนนั้น นอกจากพระอนิรุทธ เท่านั้น ที่จะรู้วาระจิตของพระอานนท์

    ท่านอาจารย์ สะสมมาที่จะสงสัยอย่างนี้ คนอื่นยังไม่ได้สงสัยอย่างนี้ แต่ละคนก็เป็นแต่ละ ๑ จริงๆ แล้วแต่คุณหมอนิพนธ์จะคิดสงสัย ซึ่งก็ดูเหมือนน่าสงสัย ใครมาบอกว่าท่านพระอานนท์ บรรลุ ตอนนั้น ตรงนี้ ในเมื่อพระผู้มีพระภาค ทรงพยากรณ์ก่อนที่จะปรินิพพาน แล้วเมื่อปรินิพพานไปแล้ว ท่านพระอานนท์ถึงจะปรินิพพานหลังจากพระพุทธเจ้า แล้วใครมาเป็นคนบอก

    ผู้ฟัง แต่ผมเชื่อว่าพระอานนท์ คือพระอรหันต์

    ท่านอาจารย์ ไม่ต้องรู้ว่าใครบอก ก็เชื่อได้ มีหลักฐานควรเชื่อ

    ผู้ฟัง กราบเรียนถามท่านอาจารย์ เมื่อวานนี้ก็คือ ก่อนที่จะเลิกสนทนา อาจารย์ถามคุณสวนโอสถว่า ในข้อความในพระไตรปิฎก มีข้อความว่า ผัสสะปัฏฐานไหม หรือว่า สมาธิปัฏฐานไหม ซึ่ง ข้อความในพระไตรปิฎก เป็นสติปัฏฐาน พูดถึง สัมปยุตตธรรม สภาพธรรม เกิดพร้อมกัน มีทั้งเอกคตาเจตสิก มีทั้งผัสสะ แล้วก็มีทั้ง สติ ด้วย ทำไมข้อความในพระไตรปิฎก จึงใช้คำว่า สติปัฏฐาน ไม่ใช้คำว่า สมาธิปัฏฐาน

    ท่านอาจารย์ เพราะลักษณะของสติเท่านั้น ที่เป็นสภาพที่ระลึก

    ผู้ฟัง แต่ว่าสติ ต้องอาศัยธรรมอื่นด้วย

    ท่านอาจารย์ เกิดพร้อมกัน ต่างคนก็ต่างทำหน้าที่ แต่ใครเป็นเจตสิกที่ระลึก

    ผู้ฟัง ต้องเป็นตัวสติ เพราะฉะนั้น สภาพธรรม ที่จะรู้ได้ต้องมีสติที่ระลึก

    ท่านอาจารย์ สภาพธรรม ไม่ได้เกิตตามลำพังเลย แต่ว่าใครเป็นสภาพที่ระลึก

    ผู้ฟัง ก็สติ

    ผู้ฟัง เรื่องที่พูดเป็นประเด็นที่ว่า ศีล เป็นพื้นฐานของสมาธิ สมาธิเป็นพื้นฐานของวิปัสสนา ไม่กระจ่าง คำพูดนี้ ไม่สรุป เป็นจริงหรือเปล่า หรืออย่างไร แค่ไหน เข้าใจ ศีล คืออะไร ศีลคือเจตนา ที่จะงดเว้นทุจริต

    ท่านอาจารย์ เห็นไหมว่า งงได้ ถ้าเราไม่พูดถึงจิต แต่ถ้าเป็นปรมัตถธรรม จะสะดวกขึ้น เพราะว่าจิตเกิดขึ้นทีละ ๑ ขณะ เวลาที่มีเจตนาที่จะวิรัติทุจริต เคยคิดบ้างไหมว่าไม่ฆ่าแล้ว ต่อไปนี้ น่าสงสาร บางคนเขาตกปลามาตั้งหลายตัว ตกบ่อยๆ สนุกมาก แล้วตอนหลัง เขาก็เกิดสงสาร แล้วก็ตั้งใจว่าต่อไปนี้ จะไม่ฆ่า ขณะนั้นก็เป็นเจตนา ที่จะวิรัติทุจริตทางกาย ขณะนั้นจะต้องมาบอกไหม ว่าชื่ออะไร ชื่อคุณบุญสุข หรือเปล่า แล้วก็รักษาศีล หรือเปล่า ต้องบอกไหม ในเมื่อสภาพของจิตเป็นอย่างไร ก็คืออย่างนั้น ขณะนั้นก็มีเจตนาที่จะวิรัติ แล้วจิตก็ดับ ขณะต่อไปอกุศลจิตเกิดแล้ว ได้ เพราะว่าเกิดอยู่เป็นประจำ เพราะฉะนั้น เราพิจารณาสภาพของจิต จะทำให้เราเข้าใจตามความเป็นจริงว่า ด้วยเหตุใดพระผู้มีพระภาค จึงทรงแสดง ปรมัตถธรรม ทรงแสดงว่าปรมัตถธรรม ทั้งหมดเป็นอนัตตา แล้วจะเข้าใจด้วยว่าเวลาที่กล่าวว่า เจตนาเป็นศีล หมายความถึงขณะไหน ต้องขณะที่เกิดกับจิต ซึ่งมีเจตนาที่จะวิรัติขณะนั้น จึงจะเป็นเจตนาศีล

    ผู้ฟัง ที่พูดนี้ คือ ความยุ่งยากอยู่ตรงที่ว่า คนที่คิดจะเจริญวิปัสสนาก็คิด ว่าต้องไปรักษาศีลเสียก่อน

    ท่านอาจารย์ เรื่องของความไม่รู้ปรมัตถธรรม ถ้าไม่รู้เรื่องราว ก็ยังรื่องหนึ่ง แล้วก็ยุ่งกันอยู่นี่ บางคน เขาบอกว่าถ้าไม่สมาทานแล้ว ไม่มีศีล เป็นไปได้อย่างไร เขาบอกว่าต้องสมาทาน ต่อให้เป็นคนดีวิรัติอย่างไร ก็ไม่มีศีล เพราะว่า ไม่ได้สมาทาน นี้ก็เป็นเรื่องของการที่เข้าใจภาษาคลาดเคลื่อน แล้วก็ไม่เข้าใจสภาพธรรมด้วย แต่ถ้าเข้าใจสภาพธรรมจริงๆ จะรู้ว่าจิตเกิด ต้องเป็นอย่าง ๑ อย่างใดใน ๔ ชาติ เป็นกุศลจะเปลี่ยนเป็นอกุศลไม่ได้ เป็นอกุศลจะเปลี่ยนเป็นกุศลไม่ได้ เป็นวิบากก็จะเปลี่ยนเป็นกุศล อกุศล กิริยาไม่ได้ เป็นกิริยาก็ต้องเป็นกิริยา ในชั่วขณะหนึ่งซึ่งแสนเร็ว แล้วก็เป็นนามธรรมด้วยเกิดขึ้นทำหน้าที่การงานเฉพาะ จิตแต่ละประเภท แต่ละขณะอย่างรวดเร็ว เพราะฉะนั้น การที่เราจะพูดเรื่องศีล ก็หมายความว่า ขณะนั้นเนื่องจากมีรูปก็เลยมีการกระทำทางกาย ทางวาจา ซึ่งเป็นไปตามจิต แล้วแต่ว่าจะเป็นการกระทำด้วย กุศลจิต หรืออกุศลจิต เพราะฉะนั้น ขณะใดที่เป็นกุศลจิตเกิดขึ้น เจตนาที่จะวิรัติทุจริต ทั้งๆ ที่ขณะนั้นก็ไม่มีสิ่งที่จะต้องให้วิรัติ แต่ว่ามีความจงใจ ตั้งใจเกิดขึ้นว่าจะไม่กระทำทุจริตกรรม ชั่วขณะนั้นเป็นกุศล ระดับศีล ไม่ใช่ทาน ไม่ใช่สมถภาวนา ไม่ใช่วิปัสสนาภาวนา นี้คือการแสดงระดับของกุศลประเภทต่างๆ แล้วเมื่อกุศลนี้ดับไปแล้ว ถึงเวลาจริงๆ อีกอย่างหนึ่งแล้ว เพราะฉะนั้น บางคนอยากจะได้กุศล แล้วคิดว่าขณะที่สมาทานเป็นกุศล เพราะฉะนั้น ก็สมาทานไว้ก่อนก็แล้วกัน

    ผู้ฟัง อยากจะมีศีล

    ท่านอาจารย์ อยากเป็นกุศล เพราะว่าคนส่วนมาก จะถามว่า ได้บุญไหม ทำอย่างนี้ได้บุญไหม ทำอย่างนั้นได้บุญไหม จุดประสงค์ของการถามอย่างนี้เพื่ออะไร เขาคิดเรื่องได้ แต่เขาไม่ได้ทราบเลยว่าได้อะไร ได้โลภะ หรือว่าได้อะไร เพราะว่าจริงๆ แล้วกุศล เป็นสภาพของจิตที่ดีงาม ซึ่งไม่มีโลภะ ไม่มีโทสะ ไม่มีโมหะ ไม่มีอกุศลใดๆ เจือปนเลย ขณะนั้นจิตจึงผ่องใส เป็นสภาพที่ประกอบด้วยโสภณสาธารณะเจตสิก ทั้งศรัทธา ทั้งหิริ ทั้งโอตตัปปะ อโลภะ อโทสะ ขณะนั้นเป็นโสภณเจตสิก จิตนั้นจึงเป็นกุศลได้ เพราะฉะนั้น ต้องเป็นผู้ตรง อย่างเวลาที่ไปวัด แล้วก็ฟังธรรม แล้วก็มีการสมาทาน ว่าตาม หรือเจตนา บางคนก็ไม่รู้เรื่องเลย ปาณาติปาตา ก็ปาณาติปาตา แปลว่าอะไรก็ไม่รู้ แต่บอกให้ว่าตาม ก็ว่าตาม อย่างนั้นจะเป็นสมาทาน หรือเปล่า

    ผู้ฟัง ไม่เป็น

    ท่านอาจารย์ ไม่เป็น ถ้าศึกษาธรรมจริงๆ ถึงตัวธรรม สภาพธรรม จะทำให้เข้าใจได้ถูกต้องขึ้น

    ผู้ฟัง แม้แต่คนที่รู้ อย่างผม ผมแปลได้ ครับ แต่ว่าพอสมาทาน จบแล้ว ก็หมดแล้ว

    ท่านอาจารย์ ก็ใช่ เพราะว่าขณะนั้น เป็นความจงใจหรือเปล่า หรือว่า เป็นแต่เพียงการว่าตาม พวกที่ว่ากันเสียงดังๆ มีเจตนาอย่างนั้นจริงๆ หรือว่า ว่าตาม หรือแม้ไม่ว่าตามแต่เจตนาที่จะวิรัติก็เกิดขึ้นได้ เวลาเห็นบาปบุญคุณโทษหรืออะไรก็ตามแต่ ชีวิตนี้ก็สั้น แล้วเราทำไม ถึงจะต้องไปเบียดเบียนชีวิตอื่นให้สั้น แต่ไม่คิดว่าตัวเอง มีศีลมาจนกระทั่งถึงป่านนี้ เพราะว่าไปสมาทานไว้ หรืออย่างไร ไม่ได้คิดอย่างนั้นเลย เพราะฉะนั้น ถ้าความไม่เข้าใจมี จะทำให้ความเข้าใจ คลาดเคลื่อนได้ เพราะเหตุว่า คิดว่า เมื่อสมาทานแล้วก็มีศีลไปตลอด แต่ว่าตามความเป็นจริง จิตเกิดดับทีละหนึ่งขณะ ขณะใดที่เป็นกุศล เกิดแล้วก็ดับ ขณะต่อไปเป็นอกุศลแล้ว ถ้าเทียบกับกุศลศีล อกุศลศีลจะชัดเจนกว่า ความประพฤติทางกายทางวาจา เป็นเพราะกุศลจิต หรืออกุศลจิต นั้นจะชัดมาก

    ผู้ฟัง เดี๋ยวอาจารย์ว่าตำราอีก แต่นี่ตำราว่าอย่างนี้

    ท่านอาจารย์ ตำราไหน

    ผู้ฟัง ตำราเรียนนักเรียน

    ท่านอาจารย์ ตำราเรียนมาจากไหน ใครเขียน ใครคิดหรือว่าจากพระไตรปิฎก

    ผู้ฟัง ไม่ใช่

    ท่านอาจารย์ ไม่ใช่ก็ต้องพูด เพราะว่าใครเขียน เราไม่ได้พูดเรื่องคนอื่นเขียน เราไม่ได้พูดเรื่องความคิดความเข้าใจของคนอื่น แต่เราศึกษาพระธรรม

    ผู้ฟัง เดี๋ยวๆ ผมพูดนิดหนึ่ง คือเขาบอกว่า การสมาทานเป็นศีลประเภทหนึ่ง เขาเรียกว่าเป็น ศีล ที่สมาทานวิรัติ

    ท่านอาจารย์ เจตนาศีล

    ผู้ฟัง สมาทานก็เป็นศีล

    ท่านอาจารย์ ขณะนั้นเป็นเจตนาศีล ยังไม่ได้วิรัติ อะไรเลย เพราะว่าไม่มีสิ่งที่จะให้วิรัติ เป็นแต่เพียง เจตนาเท่านั้นเอง แล้วก็ดับไปแล้ว หมดไปแล้วด้วย ถึงเวลาจริงๆ ก็รู้กัน จะวิรตีเจตสิกเกิดหรือเปล่า เพราะฉะนั้น ขณะที่วิรัติจริงๆ คือขณะที่วิรตีเจตสิกเกิด

    ผู้ฟัง แต่ถ้าคน ถ้าไม่มีศีล กุศลเจริญไม่ได้ เจริญวิปัสสนาไม่ได้

    ท่านอาจารย์ ก็คิดกันไปโดยไม่รู้สภาพปรมัตถธรรม เพราะฉะนั้น ถึงได้ศึกษาแล้วก็ต้องรู้จัก ธรรม คือตัวจริงๆ ของธรรมคือจิต เจตสิกด้วย ไม่ใช่ศึกษาเรื่องราวศึกษาคำ แต่ไม่รู้ว่าสภาพธรรม จริงๆ ขณะนั้นเป็นอย่างไร ก็เข้าใจผิดได้

    ผู้ฟัง สรุปว่าไปด้วยกัน ใช่ไหม

    ท่านอาจารย์ หมายความว่าอย่างไร

    ผู้ฟัง หมายความว่า จะศีล มีศีลด้วย แล้วก็จะระลึก วิปัสสนาด้วย ไปด้วยกัน

    ท่านอาจารย์ อย่างเพิ่งไปถึงอะไรๆ มารวมกัน เข้าใจไปตามลำดับ จิตที่เป็นกุศล เป็นอย่างไร เป็นไปในอะไรบ้าง เป็นไปในทานก็มี เป็นไปในศีลก็มี เป็นไปในความสงบของจิตก็มี เป็นไปในสติปัฏฐานก็มี ขณะนั้นเป็นกุศลจิต ให้เข้าถึงสภาพจิต ไม่ใช่ เป็นตัวหนังสือว่าเรื่องราวอย่างนี้ แล้วก็มีศีลกี่อย่าง กี่ดวงอย่างนั้นอย่างนี้ นั่นคือเรื่องราว แต่เวลาจิตเกิดจริงๆ นั้นเป็นอย่างไร ชัดเจนกว่า เมื่อเข้าใจเรื่องของจิต สภาพจิตจริงๆ

    ผู้ฟัง ผมมีเรื่องที่น่าพิจารณาว่า ที่ท่านอาจารย์บอกว่าต้องเป็นพระอริยบุคคลแล้ว ถึงจะไม่มีความเห็นผิดว่าพากเพียรในการอบรมเจริญสติปัฏฐาน ขั้นนั้น ระดับนั้น คือ เข้าใจสภาพธรรม ตามความเป็นจริง

    ท่านอาจารย์ การฟังธรรมต้องฟังให้ตลอด พระพุทธเจ้าไม่เคยสอนให้ใครท้อถอย ทั้งหมดเป็น วิริยารัมภกถา คือให้เราอดทนที่จะเข้าใจ ธรรม ให้ถูกต้อง ต้องมีวิริยะไหม ไม่ใช่รีบไปทำ ใครเขาบอกให้ปฏิบัติก็ปฏิบัติเลย คนนั้น อดทนหรือเปล่า เป็นวิริยะหรือเปล่า เพราะส่วนมาก พอขึ้นชื่อว่า วิริยารัมภกถา ก็คิดว่าต้องบอกให้ไปเพียรกัน นั่งทั้งคืนไม่นอนเลย นี่คือความคิดของคน ซึ่งไม่เข้าใจในเหตุผลว่า วิริยารัมภกถา นี่คืออย่างไร เรื่องของการที่จะละโลภะ เป็นเรื่องยาก เป็นเรื่องลำบาก เป็นเรื่องไม่หลงทาง จะต้องมีความอดทน มีความเพียร ที่จะฟังธรรมให้เข้าใจ ชัดเจน ไม่ใช่รีบไปทำอะไร หรือไปเพียร เพราะฉะนั้น พระพุทธเจ้า ไม่ได้สอนให้ใครไม่เพียร แต่ไม่ใช่เพียรด้วยความเป็นเรา แม้แต่พระโสดาบันเอง ไม่ใช่ว่าท่านไม่มีความเพียร วิริยเจตสิกเกิดกับจิตเกือบทุกดวง เว้นจิต ๑๖ ดวง ไม่ต้องไปกังวลเรื่องเพียร แต่เพียรถูกหรือเปล่า พระโสดาบันไม่มีความเพียรผิด ไม่มีการหลงทางอย่างผู้ที่ไม่ใช่พระอริยบุคคล เพราะฉะนั้น ฟังก็ต้องฟังให้เข้าใจด้วย ว่าเพียรที่นี่ไม่ใช่เพียรด้วยความเป็นตัวตน

    ผู้ฟัง ผมขอเรียนถามว่า ผมจะค่อยๆ เข้าใจอย่างไร ท่านอาจารย์ ถึงจะรู้สึกว่า แม้ว่าการศึกษาพระธรรม

    ท่านอาจารย์ ขอโทษ ค่อยๆ เข้าใจอย่างไรถึงจะอย่างนั้น อย่างนี้ เป็นอะไร ที่ถามนี้เป็นโลภะ หรือเปล่า

    ผู้ฟัง เป็น

    ท่านอาจารย์ ถ้าฟังเข้าใจสิ่งที่กำลังฟัง ไม่ได้ขออะไรมากมายเลย ตำราอยู่ที่ไหน หน้าไหน อย่างไรๆ แต่ว่าเวลาฟัง ขอให้เข้าใจสิ่งที่กำลังฟัง แล้วความเข้าใจในสิ่งที่กำลังฟัง ก็จะสืบทอดไป เวลาฟังอีกสิ่งที่เข้าใจแล้วก็เข้าใจขึ้น ไม่ใช่ฟังแล้วหนังสือเล่มนั้น ว่าอย่างไร ตำราเล่มนี้ว่าอย่างไร ก็หมายความว่าขณะที่ฟัง ก็ไม่ได้เข้าใจสิ่งที่กำลังฟัง แต่ถ้าเราฟังเพื่อเข้าใจสิ่งที่กำลังฟัง สิ่งใดถูก สิ่งใดผิด พิจารณา แล้วสิ่งที่ถูกกับสภาพธรรม ที่กำลังปรากฏ นั่นคือความจริง ที่เราจะต้องศึกษาให้เข้าใจเพิ่มขึ้น เพราะฉะนั้น เมื่อเราเข้าใจอย่างนี้ เราก็ฟังอีก ขณะที่ฟัง ก็ความเข้าใจก็เพิ่มขึ้นอีก เพราะฉะนั้น ขอให้เข้าใจในสิ่งที่กำลังฟัง ปัญญาก็จะค่อยๆ เข้าใจเพิ่มขึ้น

    ผู้ฟัง ผมฟังจากผู้ที่

    ท่านอาจารย์ แล้วทำไม คิดว่าจะ อย่างไรอีกเล่า

    ผู้ฟัง ผมฟังจากผู้ที่ เรียนถามท่านอาจารย์ เหตุที่สติปัฏฐาน จะเกิดได้บ่อยๆ เนืองๆ ต้องมีสัญญาที่มั่นคง สัญญาคือความจำก็พยายามจำใหญ่ เพื่อจะให้สติปัฏฐาน เกิด

    ท่านอาจารย์ ก็นี่ไม่ได้ฟังด้วยความแยบคาย ไม่ได้ฟังโดยตลอด สัญญาความจำที่มั่นคงนี้คือ สัญญาที่ฟังเรื่องสภาพธรรม แล้วเข้าใจอย่างมั่นคง โดยเฉพาะไม่ต้องมาก ขณะนี้เป็นธรรม แค่นี้ก็พอ ถ้ามั่นคงจริงๆ สติก็รู้ว่า ธรรมขณะนี้คืออะไร เพราะฉะนั้น สติก็ระลึกได้ ที่ลักษณะของสภาพธรรมนั้น

    ผู้ฟัง บางทีก็คิดว่า ต้องไปรักษาศีล ให้บริสุทธิเสียก่อน สติปัฏฐาน จะเกิดมากๆ เราฟัง เราก็พอรู้ ว่าแต่ละคน ก็ต่างก็ มีความปรารถนาที่จะให้สติปัฏฐาน เกิดมากๆ

    ท่านอาจารย์ ถ้าปรารถนาให้เกิดมากๆ ก็เป็นอะไร

    ผู้ฟัง ทุกคนก็ต้องรู้จักตัวเองดีพอสมควร

    ท่านอาจารย์ ตามความเป็นจริง เป็นอย่างไรก็คืออย่างนั้น เมื่อไม่มีปัจจัยให้สติจะเกิด ก็ศึกษามากขึ้น สติก็เกิดได้ เมื่อมีความเข้าใจเพิ่มขึ้น แต่ไม่ใช่ไปทำอย่างอื่น

    ผู้ฟัง เพียงว่าในขณะที่ฟังพระธรรม หรือฟังท่านอาจารย์บรรยาย

    ท่านอาจารย์ พอฟังแล้วก็อยาก

    ผู้ฟัง ตรงนี้จะเรียนถามท่านอาจารย์พอดี

    ท่านอาจารย์ ก็ต้องฟัง จนกระทั่งหายอยาก ซึ่งยาก หายอยากนี้ คุณประทีป จะเห็นความลึกของความเป็นตัวตน เพื่อตัวทั้งหมด ไม่ใช่เพื่อสละ ความเป็นเราเลย แต่ถ้าเราฟังธรรมเรื่องของกุศล แล้วกุศลจิตก็เกิด ฟังธรรมเรื่องการฟังให้เข้าใจธรรม เราก็ฟังให้เข้าใจธรรม เราก็ไม่ต้องไปทำอย่างอื่นให้เดือดร้อน

    สภาพธรรมที่เป็นสังขารขันธ์ เราเรียนทำไม ชื่อนี้ บอกอยู่ชัดเจน สติก็เป็นสังขารขันธ์ ปัญญาก็เป็นสังขารขันธ์ ศรัทธาก็เป็นสังขารขันธ์ ปรุงแต่งให้กุศลจิตเกิด ตามลำดับขั้น เพราะฉะนั้น ขณะนี้กำลังเป็นสังขารขันธ์ แล้วเรายังจะไปทำอะไรอีก มีตัวเราเข้าไปเกี่ยวข้องจะไปทำ ไม่ใช่หน้าที่ของสังขารขันธ์เสียแล้ว เป็นหน้าที่ของเรา จะทำ ก็ทำไมเราไม่ฟังให้เข้าใจ ว่าไม่มีใครเป็นตัวตนได้เลย สังขารขันธ์เป็นสังขารขันธ์ กำลังปรุงแต่งอยู่แล้ว ขณะนี้ ไม่ต้องไปเพิ่มเติมอะไรอีก

    ผู้ฟัง ผมก็มักจะเรียนถาม ท่านอาจารย์ว่า ทำอย่างไรให้สติเกิด และสติเกิดอย่างไรโดยที่จะไม่ให้โลภะเกิด

    ท่านอาจารย์ แล้วตอนนี้คำถามไม่มี

    ผู้ฟัง ตอนนี้เข้าใจแล้ว เข้าใจว่าจิตเป็นสภาพรู้ เราจะรู้ว่าโลภะเกิด ก็ต่อเมื่อมีสภาพรู้แล้วว่ามีโลภะเกิด ตอนนี้รู้แล้ว แต่ว่าจะไม่ให้เกิดได้อย่างไร ในเมื่อมันเกิดแล้ว

    ท่านอาจารย์ ก็ยังอยากอยู่ นี้แปลว่ายังอยากอยู่

    ผู้ฟัง ก็ต้องเข้าใจมากขึ้นอีก เข้าใจมากขึ้นอีก

    ท่านอาจารย์ ถูกต้อง ถ้าเข้าใจแล้ว จะไม่ถามคำถามนี้เลย ว่าทำอย่างไร

    ผู้ฟัง เพราะว่าฟังจากคำถามหลายๆ ท่าน รวมทั้งตัวผมเองด้วย

    ท่านอาจารย์ ใครถาม ก็รู้เลย ว่าคนนั้นถามเพราะอะไร เพราะไม่เข้าใจ แล้วก็เพราะอยาก ๒ อย่าง อวิชชา กับ โลภะ ก็พาหลง แล้วแต่ว่าจะหลงทางอย่างแนบเนียนหรือว่า หลงทางอย่างชัดเจน พอที่จะรู้ได้ แต่คนที่หลง ไม่รู้

    ผู้ฟัง สมมติว่าวิปัสสนาญาณ มี อารัมมาณะเป็นอกุศลจิต นามธรรม และต้องมีรูปธรรมด้วย ไม่ใช่วิบากจิต ที่เป็นอารัมมาณะ แต่มีกัมมัสสกตญาณ ถูกต้องไหม

    ท่านอาจารย์ การฟังต้องฟังดี ไม่ใช่ว่าไม่มีการเว้นเลย แต่ต้องเว้นตามสมควร เช่น เวลาที่พิจารณาลักษณะของ อกุศลจิต ขณะนั้นไม่ใช่วิบากจิต จึงรู้ว่าขณะไหนเป็นวิบาก และขณะไหนไม่ใช่วิบาก ไม่ใช่ว่า เมื่อบอกว่า ตลอดวิปัสสนาญาณ ไปจนกว่าจะถึงมรรควิถี เป็นการรู้เรื่องกรรม และผลของกรรม ไม่ใช่ว่าจะต้องรู้เพียงแค่นี้ หรืออย่างเดียว อย่างอื่นก็รู้ และเมื่อรู้อย่างอื่น ก็ทำให้รู้ความต่างกันยิ่งขึ้น ว่าวิบากคือวิบาก เป็นสภาพธรรม ที่ต้องเกิดเมื่อมีเหตุปัจจัย เพราะกำลังรู้ สิ่งซึ่งเกิดเพราะเหตุปัจจัย เมื่อรู้ว่าสิ่งนั้นเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย ก็จะรู้ได้ว่า ขณะที่เห็นต่างกับขณะที่โกรธ หรือขณะที่ชอบ หรือขณะที่เป็นกุศล ซึ่งขณะที่ชอบ ขณะที่เป็นกุศล ก็เป็นสิ่งที่เกิดเพราะปัจจัยเหมือนกัน หรือแม้วิบากจิตก็เกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัยเหมือนกัน แต่ความเป็นธาตุของนามธาตุนั้นต่างกัน

    ผู้ฟัง วิปัสสนาญาณ ไม่ใช่หลายอย่าง มีนามธรรม และรูปธรรม แต่รู้อย่างไร

    ท่านอาจารย์ ต้องรู้ทั่ว ไม่ใช่รู้อย่างเดียว

    ผู้ฟัง แม้แต่วิปัสสนญาณ ที่เหลือ รู้ทั่ว

    ท่านอาจารย์ วิปัสสนาญาณที่ ๑ คือปัญญา ที่ถึงความสมบูรณ์ที่สภาพธรรม ปรากฏกับปัญญาที่ได้อบรมแล้ว ตามความเป็นจริง เพราะฉะนั้น ลักษณะของนามธาตุ ต่างกับลักษณะของรูปโดยสิ้นเชิง ซึ่งคำว่าโดยสิ้นเชิงที่นี่ ถ้านามธาตุไม่ปรากฏ เราจะกล่าวว่าโดยสิ้นเชิงยังไม่ได้ ต่อเมื่อใดที่นามธาตุปรากฏโดยสิ้นเชิง คือไม่มีรูปเจือปนเลย ทั้งโลกไม่มี ไม่มีอะไรที่เป็นรูปปรากฏในขณะนั้น นอกจากเป็นธาตุรู้เท่านั้น ที่กำลังปรากฏ เพราะฉะนั้น ก็จะเห็นได้ว่า เมื่อเริ่มต้นรู้ลักษณะของนามธาตุ ประจักษ์ลักษณะของนามธาตุ เวลาที่นามธาตุอื่น ก็เป็นนามธาตุ แต่ทำไมต้องรู้ทั่ว เพราะแค่นั้นไม่พอ ที่จะต้องมีความรู้ในลักษณะของนามธาตุอื่นๆ โดยกว่าจะสมบูรณ์เป็นวิปัสสนาญาณขั้นที่สูงขึ้นไปอีก เช่น การรู้เรื่องสภาพของปัจจัยก็จะต้องมีการรู้ลักษณะที่ต่างกันของสภาพธรรม จึงรู้ว่า เพราะปัจจัยต่างกัน และที่รู้ว่าทั้งหมดจะเห็น กัมมัสสกตาญาณ ก็เพราะเหตุว่าบังคับบัญชาไม่ได้ แต่หมายความว่า ต้องรู้เฉพาะวิบาก ไม่ใช่อย่างนั้น เวลาที่รู้กุศล อกุศล ก็รู้ว่านั่นไม่ใช่วิบาก เพราะฉะนั้น จึงรู้ว่าขณะใดเป็นวิบาก ขณะใดไม่ใช่วิบาก เพราะรู้ด้วยว่าขณะที่ไม่ใช่วิบาก ปัญญาก็รู้ตามความเป็นจริงว่าขณะนั้น ไม่ใช่วิบาก เพราะฉะนั้น ที่รู้ว่าตลอดหมด ก็เพราะเหตุว่าไม่เคยขาด นามธรรมรูปธรรมทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ แต่เวลาที่ บอกว่า ไม่เคยขาด คนฟังต้องเว้นเอง ไม่ใช่ว่าขณะนี้ มีแต่ เห็นๆ ๆ ๆ ไม่มีได้ยินเลย หรือว่ามีได้ยินตลอดเวลาไม่เคยขาด คนฟังต้องฟังด้วย ขณะเห็น ไม่ใช่ขณะได้ยิน ขณะได้ยิน ไม่ใช่ขณะเห็น นี้เป็นเหตุที่เมื่อเวลาที่เรเาเข้าใจธรรมแล้ว คนฟังสามารถที่จะเข้าใจคำ ที่พูด เพราะว่าไม่สามารถจะบรรจุทุกอย่างลงไป มันก็ไขว้เขวในสิ่งที่กำลังจะพูด อย่างเราบอกว่า ขณะนี้มีเห็นตลอดเวลา เราพูดได้ แต่คนก็จะต้องเข้าใจด้วยว่า มีคิดนึกคั่น มีภวังค์คั่น ถ้าเขารู้ แต่แราจะใช้คำว่า มีเห็นตลอดเวลาได้ไหม ถ้าบอกว่าไม่ได้ คุณต้องบอกว่า ขณะนี้เวลาเห็น ต้องมีภวังค์คั่น ต้องมีอะไรคั่น ก็เป็นเรื่องยาวที่ทุกครั้ง พอพูดถึงเรื่องเห็น ก็ต้องรู้ ขณะนี้มีภวังค์คั่น มีจิตอื่นคั่นด้วย เพราะฉะนั้น เรื่องการฟังก็ต้องฟังด้วยความแยบคายจริงๆ ว่า หมายความว่าอะไร เว้นอะไร หรือบอกว่าพระอรหันต์มีสติตลอดเวลา ถ้าคนที่รู้ ก็บอกว่าตลอดเวลาไม่ได้ เพราะเหตุว่า สติไม่ได้เกิดกับ อเหตุกจิต แต่คนที่รู้แล้วก็ เข้าใจว่าคำพูดอย่างนี้หมายความว่าอย่างไร คือไม่ใช่ว่า จะมีอกุศลจิตเกิด เพราะเหตุว่า พระอรหันต์จะมี อกุศลจิต เกิดไม่ได้ มีโสภณจิต มีโสภณเจตสิกเกิดได้ เป็นมหากิริยาญาณวิปปยุตได้ เป็นมหากิริยาญาณสัมปยุตได้ ก็เป็นเรื่องที่ต้องเข้าใจ

    ผู้ฟัง เวลามีวิปัสสนาญาณ ต้องมีหลายวาระ

    ท่านอาจารย์ แน่นอน ไม่อย่างนั้นจะเป็นวิปัสสนาญาณไม่ได้ ถ้ารู้ เพราะบางคนบอกว่ารู้ชัดแล้วลักษณะนี้ เป็นนามธรรม เพราะขณะนั้นไม่มีอะไรเลย นอนอยู่คนเดียว กลิ่นไม่มี เสียงไม่มี รสไม่มี เพราะฉะนั้น ขณะนั้น เป็นนามธรรม แต่ขณะนั้นเป็นวิปัสสนาญาณหรือเปล่า เป็นปัญญาที่สามารถที่จะรู้ลักษณะที่ต่างกันของนามธรรม และรูปธรรมหรือเปล่า แล้วไม่ใช่แต่เฉพาะนามธรรมเดียว รูปธรรมเดียว ตามความเป็นจริงในขณะนี้

    ผู้ฟัง อกุศลจิต เป็นอารัมมาณะก็ได้

    ท่านอาจารย์ ทุกอย่างๆ ๆ ปัญญาต้องรู้ทั่ว ถ้าไม่รู้ทั่วก็ละไม่ได้ ไม่เป็นความสมบูรณ์ของปัญญา

    ผู้ฟัง ยากมาก

    ท่านอาจารย์ ถ้าง่าย เป็นพระโสดาบันกันทั้งหมด เหมือนในครั้งนั้น กรุงสาวัตถี มีพระโสดาบันเท่าไร

    ผู้ฟัง ถ้ารู้วิบาก ถ้ามีอกุศลจิต เป็นอารัมมาณะ

    ท่านอาจารย์ ขณะที่กำลังรู้วิบาก ไม่มีชื่อวิบาก

    ผู้ฟัง ไม่มีชื่อ

    ฟังธรรมจากหัวข้อย่อย

    หมายเลข 99
    23 มี.ค. 2567