ปกิณณกธรรม ตอนที่ 394


    ข้อความนี้อยู่ระหว่างตรวจสอบแก้ไข

    ตอนที่ ๓๙๔

    สนทนาธรรม ที่ จ.เชียงใหม่

    พ.ศ. ๒๕๔๗


    ผู้ฟัง อย่างสมมติว่า เรากำลังคิดติเตียนผู้อื่น คนนี้ทำไม่ดี แล้วทีนี้เราระลึกขึ้นได้ เรากำลังติเตียนผู้อื่น แล้วเราก็วิรัติ หยุดทันที ที่จะไม่ คิดต่อไป ว่าเราเป็นอกุศล มันไม่ใช่ขั้นสติปัฏฐาน ใช่ไหม เป็นเพียงแค่สติขั้นคิดเท่านั้นเอง มีเหตุปัจจัยพร้อมก็ทำให้สิ่งที่เราได้ยินได้ฟังมาเป็นสังขารขันธ์ปรุงแต่งให้เรา คิดแบบนั้น แต่ไม่ใช่ขั้นสติปัฏฐาน ใช่ไหม

    ท่านอาจารย์ เพราะว่าคิดก็คือคิด ขณะนั้นเข้าใจถูกหรือเปล่า เป็นกุศลหรือเปล่า นับว่าเป็นเรื่องที่เป็นความเข้าใจของเรา เมื่อฟัง เพราะฉะนั้น ฟังแล้วก็ค่อยๆ เข้าใจขึ้น ถ้ารู้ว่าขณะนี้เป็นธรรม ฟังแล้วก็พิจารณาเข้าใจ ที่ว่าไม่ใช่ตัวตนเลย เห็นมีจริงๆ แต่เห็นเกิดเมื่อมีปัจจัย ถ้าไม่มีจักขุปสาท เห็นอย่างไรๆ ก็เกิดไม่ได้ ก็เริ่มที่จะเข้าถึงความเป็นธรรมซึ่งไม่ใช่เรา ไม่สามารถจะบังคับบัญชาได้ และเห็นก็ไม่ได้เห็นตลอดไป จิตเกิดขึ้นทีละหนึ่งขณะ ทำกิจทีละหนึ่งอย่าง เวลาที่กำลังได้ยินก็ไม่ใช่เห็น ค่อยๆ เข้าใจจนกว่าจะรู้ลักษณะที่เป็นนามธรรม และเป็นรูปธรรม เพราะฉะนั้น โลภะ ไม่ใช่อย่างที่คนไทยคิดว่าโลภมากๆ นั่นคือคนนั้นโลภเป็นโลภะ แม้เพียงนิดเดียว เล็กน้อยนิดหน่อย ที่เป็นความติดข้องขณะใดก็เป็นลักษณะ ของสภาพธรรมนั้น เหมือนกลิ่นหอม กลิ่นไม่สะอาดนิดเดียว ไม่ต้องมาก ก็เปลี่ยนลักษณะของกลิ่นนั้นไม่ได้ สภาพธรรมแต่ละอย่าง จะน้อยจะมาก ก็คือลักษณะของสภาพธรรมนั้น โลภะก็คือโลภะ ชอบมากเป็นโลภะหรือเปล่า

    ผู้ฟัง เป็น วันนี้ถ้าเราระงับโลภะได้ ก็ด้วยยาขนานไหน

    ท่านอาจารย์ เรา

    ผู้ฟัง เราหรือมนุษย์ ปัจจุบัน

    ท่านอาจารย์ นั่นสิ

    ผู้ฟัง ถ้าเผื่อว่าเขา ทราบว่า ธรรมคือรู้ รับรู้แล้วว่านี่คือธรรม

    ท่านอาจารย์ เข้าใจ

    ผู้ฟัง เข้าใจ พอเข้าใจแล้วก็

    ท่านอาจารย์ รู้ว่าบังคับโลภะไม่ได้ นี้คือเข้าใจ แต่ ถ้าคิดจะบังคับนั่นคือไม่เข้าใจ

    ผู้ฟัง เราไม่ต้องบังคับโลภะเลยหรือ ปล่อยมันเกิดเลยหรือ

    ท่านอาจารย์ เราคิดว่าเราปล่อย แต่ถ้าไม่มีเหตุปัจจัย โลภะไม่เกิด เราปล่อยหรือไม่ปล่อย

    ผู้ฟัง แต่มันต้องเกิด เพราะว่าเราเห็น

    ท่านอาจารย์ เวลาเกิดแล้ว เราบังคับไม่ให้เกิดได้ไหม

    ผู้ฟัง สักแต่ว่าเห็น ก็ไม่เกิด ก็ได้ยาขนานที่ท่านอาจารย์ให้เมื่อวาน

    ท่านอาจารย์ แต่ว่าเห็นโดยที่ไม่รู้ว่าเห็นเป็นอะไร

    ผู้ฟัง เป็นความรู้สึกว่ามี

    ท่านอาจารย์ เราสิ เห็น

    ผู้ฟัง ไม่เข้าใจ

    ท่านอาจารย์ เราเห็นแล้วเราก็จะบังคับไม่ให้ชอบ ต้องมีเราเห็น ใช่ไหม

    ผู้ฟัง ใช่

    ท่านอาจารย์ แล้วก็มีเราชอบ

    ผู้ฟัง ตอนแรก พยายามเข้าใจว่า ที่ท่านอาจารย์บอกว่า พอตาสัมผัสโต๊ะ ก็รู้ว่าแข็ง เห็นว่าแข็ง อะไรคือธรรม ตรงนี้ เป็นการรับรู้ว่าแข็ง

    ท่านอาจารย์ มีใครเห็นแข็งได้บ้าง เห็นแข็งไม่ได้

    ผู้ฟัง หรือถ้าเผื่อว่ามีใครมาหยิกเรา มือเขามากระทบกับกายเรา ก็รับรู้ตรงนี้เรียกว่าธรรม หรือเปล่า

    ท่านอาจารย์ ทุกอย่างเลย เป็นธรรมหมด ไม่มีอะไรเลยที่ไม่ใช่ธรรม มีลักษณะจริงๆ เกิดขึ้นดับไป เป็นธรรม ทั้งหมด

    ผู้ฟัง มันเกิดขึ้นแล้วว่า มีมือมากระทบกับเรา

    ท่านอาจารย์ นั่นคิด

    ผู้ฟัง ความรู้สึกว่ามีการกระทบเกิดขึ้น นี่คือธรรม

    ท่านอาจารย์ ขณะที่รู้ว่าแข็งตอนหนึ่ง ใช่ไหม

    ผู้ฟัง ตอนนี้สมมติว่าเป็นหยิกก่อน แล้วรู้ว่าเจ็บ

    ท่านอาจารย์ อะไรมากระทบ ถึงได้เจ็บ

    ผู้ฟัง เล็บคนอื่นกระทบ

    ท่านอาจารย์ เล็บ แข็งหรือเปล่า

    ผู้ฟัง เล็บแข็งกระทบกับกายของเรา

    ท่านอาจารย์ แข็งนั้นเราว่าเป็นเล็บ

    ผู้ฟัง เป็นสภาพว่าเป็นของแข็ง

    ท่านอาจารย์ ลักษณะแข็ง เราไปเข้าใจว่าเป็นเล็บ แต่จริงๆ คือแข็ง เพราะฉะนั้น เวลาที่กระทบแข็ง มีสภาพที่รู้ลักษณะแข็ง สภาพรู้ไม่ใช่เรา แข็งก็ไม่ใช่เรา แต่เมื่อแข็งกระทบก็มีสภาพที่รู้แข็งเกิดขึ้น แล้วก็ดับไป ไม่ใช่เราทั้งหมด ถ้าธรรมไม่เกิดไม่มีอะไรเลย แต่เมื่อมีธรรม เกิดแล้ว ยึดถือสภาพธรรม นั้นว่าเป็นเรา แต่ความจริงธรรม ก็ต้องเป็นธรรมอยู่นั่นเอง ใครจะไปยึดถือธรรมว่าเป็นเรา ธรรม ก็เป็น ธรรม ไม่เป็นของใคร โลภะเกิดขึ้นเหมือนกันหมดเลย ทุกคนลักษณะของโลภะ ติดข้องเหมือนกันหมด สุนัขตัวเล็กๆ ก็มีโลภะ แม่สุนัขก็มีโลภะ เด็กก็มีโลภะ โลภะก็เป็นโลภะ ไม่ใช่ของใครเลย แล้วก็ไม่ใช่โทสะ ก็คือมีใจที่เย็นๆ ค่อยๆ รู้ ค่อยๆ เข้าใจ ค่อยๆ อบรมไปทีละเล็กทีละน้อยที่จะให้เห็นถูกว่าเป็นธรรม

    ผู้ฟัง การที่พิจารณาในเรื่องที่ผ่านมาแล้ว ถ้าเราคิดอกุศลอยู่เรื่อยๆ ตรงนี้มันจะกลายไปเป็นสติปัฏฐาน ได้หรือเปล่า

    ท่านอาจารย์ ไม่ทราบว่าสงสัยลักษณะของสติปัฏฐาน หรือสงสัยชื่อ

    ผู้ฟัง สงสัยกระบวนการคิด ผมเข้าใจว่า ถ้าเราคิด ถ้าไม่ผ่านการพิจารณาในเรื่องที่มากระทบให้ถูกต้องก่อน สติปัฏฐานก็จะไม่เกิด คือไม่มีความรู้ที่ถูกต้องก่อน เพราะฉะนั้น เข้าใจตอนนี้ขณะนี้ว่า เราน่าจะรู้ เรื่องที่ถูกต้องก่อน แล้วประมวลเป็นความคิดก่อน หลังจากนั้น เมื่อคิดถูกต้องอยู่เรื่อยๆ แล้ว มากระทบอีก มันก็จะกลายเป็นสติปัฏฐาน อย่างนี้หรือเปล่า

    ท่านอาจารย์ คงไม่กลาย แต่ละขณะ แต่ละขณะ ที่จริงแล้วถ้าจะเข้าใจสติปัฏฐาน ขณะนี้เห็น รู้ไหม ว่าลักษณะที่ปรากฏทางตากำลังเข้าใจถูกต้องว่าเป็นเพียงลักษณะธรรมอย่างหนึ่ง ที่ปรากฏ ทางตา ถ้ามีสิ่งทีปรากฏทางตาแล้วกำลังเข้าใจ ถูกในลักษณะนั้น ซึ่งไม่ใช่ คิดเป็นคำๆ แต่กำลังคุ้นเคยชินกับลักษณะนี้ว่า เป็นธรรม เป็นสิ่งที่มีจริง ลักษณะหนึ่ง ไม่ปรากฏทางอื่นเลย ไม่ปรากฏทางหู ไม่ปรากฏทางจมูก แต่กำลังปรากฏ เท่านั้นเอง ถ้ากำลังเข้าใจสิ่งที่กำลังปรากฏ ไม่ใช่คิด กำลังเข้าใจ

    ผู้ฟัง ตรงนี้เป็นสติปัฏฐาน หรือ

    ท่านอาจารย์ นี่ไง ติดที่ชื่อ สติปัฏฐาน คือขณะที่กำลังเข้าใจถูกในลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ ลักษณะ ไม่ใช่ชื่อ เพราะฉะนั้น ขณะนี้ ซึ่งเห็น เห็นเมื่อกี้นี้ก็หลงลืมสติไป แต่ขณะที่กำลังเข้าใจ กำลังเข้าใจสิ่งที่ปรากฏที่กำลังเผชิญหน้า แล้วไม่เคยเข้าใจเลย ว่าสิ่งนี้เป็นสิ่งที่ปรากฏ อย่างหนึ่งเท่านั้นเอง เป็นสีสันวัณณะที่ปรากฏ ลืมตาเมื่อไร มีเห็นเมื่อไร สิ่งนี้จึงปรากฏ ก็เพื่อให้รู้ว่า ทุกอย่างที่ปรากฏในชีวิตเป็นธรรมลักษณะต่างๆ มิฉะนั้นก็จะเป็นเราไปหมดเลย เราเห็น เราชอบ เราไม่ชอบ ซึ่งความจริงชอบก็เป็นธรรม อกุศลทั้งหมดเป็นธรรม กุศลทั้งหมดเป็นธรรม วิบากทั้งหมดเป็นธรรม ทุกอย่างที่เกิดดับเป็นธรรมทั้งหมดให้เข้าใจอย่างนี้แล้วก็จะรู้ว่า เราอยู่ที่ไหน ขณะที่กำลังเห็น สิ่งที่ปรากฏทางตา มีสีสันวัณณะต่างๆ ทำให้จำ และคิด เป็นคน เป็นโต๊ะเป็นวัตถุ อย่างเร็วมากเลย มีท่านผู้หนึ่งท่านกล่าวว่า เร็วยิ่งกว่า เงา ทันทีเลย เพราะฉะนั้น ก็จะเห็นได้ว่า พอเห็นก็ เห็นดอกไม้ เห็นคน ความจริงไม่ได้เคย รู้ถูกต้อง ว่าเป็นเพียงสิ่งที่ปรากฏเท่านั้นเอง ถ้ามีความรู้อย่างนี้ ขณะไหน ขณะนั้นก็คือไม่ติดในนิมิตอนุพยัญชนะ ไม่ได้สนใจกำลังรู้ว่าเป็นเพียงสิ่งที่ปรากฏทางตา ขณะนั้นไม่ได้สนใจ ในรายละเอียดในสีเขียวสีแดง ในความเป็นที่เรียกว่า เคยชินที่จะ คิดว่าเป็นแก้ว เป็นโต๊ะ เป็นดินสอ พวกนี้จะไม่มีเลย เพราะกำลังเข้าใจถูกต้องว่าเป็นเพียงสิ่งที่กำลังปรากฏ และความจริงๆ ๆ คืออย่างนั้นจริงๆ เป็นอื่นไปไม่ได้เลย เวลาที่เราส่องกระจก เห็นใคร

    ผู้ฟัง เห็น รูป รูปเรา

    ท่านอาจารย์ เราไปอยู่ในกระจก แล้วจริงๆ มีเราในกระจกหรือเปล่า ไม่มี แล้วทำไมเป็นเราในพระจก ส่องทีไร ก็เราในกระจก ผ่านเมื่อไรก็เราในกระจกทุกที ด้วยความคุ้นเคยกับรูปร่างสัณฐานที่ยึดถือ ที่ทรงจำ แต่ตวามจริงไม่มีใครในกระจก ฉันใด ไม่มีคนไม่มีสัตว์ในสิ่งที่ปรากฏทางตา เช่นเดียวกับแข็ง ตั้งแต่ศีรษะตลอดเท้าลักษณะแข็งปรากฏ เมื่อกระทบสัมผัส สิ่งที่แข็ง แต่ก่อนนี้เคยเป็นหนังสือเป็นไมโครโฟนเป็นอะไรต่างๆ ไม่เคยรู้เลยว่าลักษณะของแข็งมีจริงๆ เพียงแข็ง เพราะฉะนั้น ก็เป็นแต่เพียงลักษณะของสภาพธรรมแต่ละอย่างๆ ที่จะปรากฏได้ แต่ละทาง เช่น แข็งก็ต้องปรากฏ เมื่อกระทบสัมผัสกาย เห็นแข็ง เห็นไม่ได้เลย จะเห็นเมื่อไรก็เพียงสีสันวัณณะ แล้วก็จำว่าสิ่งนั้นแข็ง หรือจำว่าสิ่งนั้นเย็น แต่ว่าจริงๆ แล้ว ลักษณะที่เย็นหรือแข็ง ไม่ปรากฏทางตา เพราะฉะนั้น จะเห็นความรวดเร็ว และความไม่รู้ ความจริงของสิ่งที่มี เมื่อไรที่เกิดระลึกได้ ทั้งๆ ที่กำลังเห็น จะขณะไหนได้หมดเลย นั่งนอนยืนเดิน นั่งบนรถไฟ บนเครื่องบิน บนรถยนต์ ถ้ามีการรู้ลักษณะหนึ่ง ลักษณะใด กำลังมีความเข้าใจตรงนั้น จะเรียกว่าอะไร ถามคนอื่น หรือว่าใครจะบอกว่า ชื่ออะไร ก็ไม่สำคัญ เพราะเหตุว่าลักษณะนั้นกำลัง รู้ ตรงลักษณะนั้นด้วยความเข้าใจ ในสภาพที่กำลังปรากฏ แต่ถ้าจะใช้คำ ก็บัญญัติ ใช้คำว่า สติปัฏฐาน เพราะว่าเป็นสติอีกระดับหนึ่ง ไม่ใช่สติที่ระลึกเป็นไปในทาน ซึ่งขณะนั้นก็ไม่ใช่เรา บางครั้งก็ให้ บางครั้งก็ไม่ให้ ขณะที่ไม่ให้ ก็ไม่ใช่สติที่เป็นไปในทาน แต่ว่าขณะที่มีการให้เกิดขึ้น ก็ไม่ใช่เราเลย เป็นจิตที่มีสติเจตสิกเกิดร่วมด้วย เป็น โสภณจิต เพราะฉะนั้น ไม่ใช่สติปัฏฐาน เพราะว่าขณะนั้นไม่มีการระลึก รู้ ลักษณะของสภาพธรรมที่ปรากฏ ซึ่งสภาพธรรมจะปรากฏได้ ถ้าเป็นรูปในชีวิตประจำวัน ก็จะปรากฏได้ ๕ ทาง สีสันวัณณะปรากฏได้ทางตาเป็น รูปชนิดหนึ่ง เสียงปรากฏได้ทางหู เป็นรูปชนิด เสียงเป็นคนหรือเปล่า แล้วทำไมสีเป็นคน เสียงก็เป็นเสียง ฉันใด สีก็เป็นสี จะเป็นคนได้อย่างไร กลิ่นเป็นคนหรือเปล่า ก็ไม่เป็น กลิ่นก็เป็นกลิ่น

    เพราะฉะนั้น สภาพธรรม ตรงตัวไม่เปลี่ยนแปลงเลย อยู่กับว่าสามารถที่จะเข้าใจแล้วก็รู้ มากขึ้นหรือเปล่าว่าไม่ใช่เรา เป็นแต่เพียงสภาพธรรม ที่พอเกิดดับอย่างเร็วมาก แล้วรวมกัน ก็เลยไม่รู้เลย ในขณะนี้ ทั้งเห็น ทั้งได้ยินทั้งคิดนึกด้วย ความจริงถ้าศึกษาโดยละเอียดจะทราบว่า มีจิตที่เกิดสลับกันแล้ว มีจิตอื่นคั่นมากมาย และรวดเร็วมาก ถึงแม้ว่าเสียงที่เราได้ยิน เราได้ยินทีละเสียง แต่ระหว่างเสียงมีอะไรคั่นหรือเปล่า อย่าลืม เราได้ยินทีละเสียง ระหว่างเสียงมีอะไรคั่น หรือเปล่า ต้องมีสภาพธรรม คั่น เราถึงได้บอกว่า ทีละเสียง ไม่ใช่เสียงเดียว แต่ทีละเสียง เพราะฉะนั้น ก็จะเห็นได้ว่า ทางนี้ฉันใด ทางอื่นก็ฉันนั้น ตรัสไว้ว่า กาม คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ เหมือนฟ้าแลบ เพราะว่ากระทบเกิดแล้วดับ ทุกทางไม่ว่าจะทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกายแต่เพราะความรวดเร็วมาก ก็เลยไม่รู้เลยว่าเกิดแล้วดับแล้ว

    เพราะฉะนั้น จึงต้องมีปัญญาอีกขั้นหนึ่ง ที่อบรม ที่ใช้คำว่า ภาวนา หมายความถึงให้สิ่งที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น คือปัญญาที่สามารถจะเห็นถูกเข้าใจถูก ในสิ่งที่มีจริงๆ ที่กำลังปรากฏ แล้วก็รู้ความต่างกันของความเข้าใจขั้นฟัง กับความเข้าใจลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ ถึงระดับขั้นที่ประจักษ์แจ้ง ความจริงของสภาพธรรมนั้น จนกว่าจะทั่ว จนกว่าจะละคลาย ปัญญาต้องเจริญตามลำดับ แต่ก็ต้องมีความเข้าใจถูก ว่าขณะไหน เป็นสติ ระดับไหน เป็นสติขั้นทาน เป็นสติขั้นศีล เป็นสติขั้นความสงบของจิต หรือเป็นสติที่กำลังรู้ลักษณะของสิ่งที่ปรากฏ แล้วเริ่มเข้าใจ อันไหนจะยาก สติขั้นทานยากไหม ตามอุปนิสัย บางคนมีทานุปนิสัย เร็ว ง่าย

    ผู้ฟัง ขอถามแบบคนไม่มีปัญญา ถ้าเกิดว่าคนที่เข้าใจว่าไม่มีตัวไม่มีตน

    ท่านอาจารย์ คนที่เห็นถูกหรือว่าเพียงเข้าใจ

    ผู้ฟัง ถ้าเกิดเขา เข้าใจผิด แล้วหลงผิด กายนี้ก็ไม่ใช่เขา คนอื่นก็ไม่มีตัวไม่มีตน อาจจะเกิดการเบียดเบียนซึ่งกัน และกัน ทำร้ายกัน

    ท่านอาจารย์ ใครกำลังทำร้าย จะพูดอย่างไรก็ตาม ก็เป็นเรานั่นแหละ ยึดถือ อกุศลจิตว่าเป็นเรา เบียดเบียนคนอื่น แล้วก็ไปคิดว่าไม่ใช่เราที่ไปเบียดเบียน ก็เป็นความเห็นผิดซ้ำเข้าไปอีก

    ผู้ฟัง จากที่ฟังๆ เรื่องการศึกษาหรือสนทนากัน จะมีว่า สิ่งที่ปรากฏทางตา เดี๋ยวก็มาแข็ง รู้ลักษณะ ตรงนี้แยกแยะไม่ถูกว่าเราจะสนใจ ตรงไหน

    ท่านอาจารย์ มีเราจะเลือก แต่จริงๆ แล้ว ฟังอะไรแล้วเข้าใจสิ่งที่กำลังฟัง ไม่ต้องไปคิดเรื่องอื่น แต่ได้ยินอะไรก็ให้เข้าใจสิ่งที่กำลังฟัง ได้ยินคำว่า ธรรม ก็ให้เข้าใจความหมายของธรรม ได้ยินคำว่า อนัตตา ก็ให้เข้าใจว่า อนัตตา คืออะไร สิ่งที่มี ไม่ใช่สิ่งที่ไม่มี สิ่งที่มีนั้นแหละ ไม่ใช่เรา เป็นธรรมแต่ละอย่าง เพราะฉะนั้น ก็ไม่ใช่ตัวตน ไม่ใช่สัตว์ไม่ใช่บุคคลจริงๆ เป็นสภาพธรรม ซึ่งใครก็เปลี่ยนแปลงลักษณะของสภาพธรรมนั้นไม่ได้ ฟังให้เข้าใจสิ่งที่กำลังมี กำลังปรากฏ

    ผู้ฟัง ท่านอาจารย์บอกว่าไม่ใช่เรา ตรงนี้ ยิ่งฟังใหม่ๆ ดิฉันกลัว ไม่ใช่เราแล้วมันจะเป็นอะไร มันกลัว

    ท่านอาจารย์ อกุศลที่ไม่ดีๆ มันเป็นเราหรือเปล่า ถ้าจะมีเรา อกุศลก็ต้องเป็นเราด้วย ที่ไม่ดี ไม่ดี นั่นแหละ ก็ต้องเป็นเรา

    ผู้ฟัง แต่พอเริ่มฟังมานานๆ ก็ยังไม่ชอบอยู่ดี ที่จะบอก ไม่มีเรา มันรู้สึก ขัดกับความรู้สึก แต่พอเหตุปัจจัยอะไรต่างๆ ทราบว่า จิต เกิดดับทีละขณะๆ

    ท่านอาจารย์ ชอบหรือไม่ชอบ ความจริงก็เป็นความจริง

    ผู้ฟัง แต่มันยึด มันรักมันชอบ ตอนนี้ มันครึ่งหนึ่งละ ที่ไม่ใช่เป็นเรา พอที่จะเข้าใจได้ ยอมตรงนี้ เพราะว่ามันเป็นอย่างนี้จริงๆ

    ท่านอาจารย์ ไม่มีเรา แต่มีความรู้สึกต่างๆ ความรู้สึกนั้นๆ ปัญญาสามารถจะรู้ได้ว่า ไม่ใช่เรา เสียใจก็ไม่ใช่เรา น้อยใจก็ไม่ใช่เรา ขุ่นเคืองใจก็ไม่ใช่เรา ก็เป็นสภาพธรรม นั้นๆ ที่เกิดแล้วก็ ดับไป ตามความเป็นจริง เพราะฉะนั้น ผู้ที่รู้ความจริงทุกข์น้อยลง เพราะเหตุว่าถ้ายังมีเราอยู่ ความเป็นเราจะทำให้ทุกข์มาก ทุกอย่างเพื่อเรา แม้แต่จะเข้าใจธรรม ศึกษาธรรม ก็อยากให้เราได้มีปัญญามากๆ อีก ความอยากไม่สิ้นสุด แต่ว่า ถ้าเข้าใจจริงๆ คือเมื่อทุกอย่างเป็นธรรม เมื่อมีอะไรเกิดขึ้นก็รู้ตามความเป็นจริง ว่าสิ่งนั้นเกิด แล้วก็ดับแล้วด้วย บังคับบัญชาไม่ได้ ชั่วขณะหนึ่ง ชั่วขณะหนึ่งเท่านั้นเอง

    ผู้ฟัง ถ้าเราไม่ได้ รู้ตรงสภาพธรรม ขณะนั้นเป็นสภาพคิดนึก แล้วก็เหมือนจะหยุดกันไปเฉยๆ คิดนึกแล้วก็จบกันเท่านั้น จริงๆ แล้ว สภาพคิดนึกก็เป็นธรรมด้วย

    ท่านอาจารย์ ตลอดชีวิต เห็นได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรส รู้สิ่งที่กระทบสัมผัส คิดนึก แล้วก็มีจิต ๒ ประเภทที่ ต่างกันใหญ่ๆ คือจิตที่ไม่ได้อาศัยตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ รู้อารมณ์ใดๆ ของโลกนี้เลย เช่น ขณะที่นอนหลับสนิท ถ้าจะกล่าวถึงขณะแรกที่เกิด จิตขณะแรก ก็ไม่ได้เห็นไม่ได้ยินอะไรเลย โลกนี้ ก็ไม่ปรากฏ มืดสนิทเลย แต่มีธาตุรู้เกิดขึ้นแล้ว ถ้าเราเข้าใจถูกต้อง ว่าจิตเป็น สภาพรู้ต้องมีสิ่งที่ถูกรู้ อย่างที่เมื่อวานเรากล่าวถึง ความหมายของคำว่า อารมณ์ ในภาษาไทย ซึ่งภาษาบาลีต้องออกเสียงว่า อารัมมนะ หรือ อาลัมพนะ หมายความถึงสิ่งที่จิตกำลังรู้ ปฏิสนธิจิต เป็นสภาพรู้ต้องมีอารมณ์ไหม ต้องมีอารัมมนะไหม มี แต่ไม่ใช่ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ นี่ก็แสดงให้เห็นถึงว่า เราไม่รู้อะไรเลย ว่าจริงๆ แล้วไม่ใช่เราเพราะเหตุว่ามีเหตุปัจจัยที่จะเกิด ก็เกิดเป็นอย่างนี้ เกิดเป็นอย่างนี้แล้ว จะเปลี่ยนเป็นอย่างอื่นก็ไม่ได้ เพราะฉะนั้น เวลาที่ปฏิสนธิจิตดับไปแล้ว กรรมก็ยังทำให้วิบากจิตประเภทเดียวกับปฏิสนธิจิต เกิดสืบต่อจากปฏิสนธิ ดำรงภพชาติความเป็นบุคคลนี้จนกว่า จะตาย นี่ก็แสดงให้เห็นว่า จิตขณะที่ไม่รู้ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย เป็นจิตประเภทที่ไม่ได้อาศัย ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ก็สามารถที่จะรู้อารมณ์ได้ ถ้าเป็นจิตเกิด แล้วต้องรู้อารมณ์ แต่ว่าอารมณ์นั้นไม่ปรากฏ เพราะที่อารมณ์จะปรากฏได้ต้อง ทางตาเห็น หูได้ยิน จมูกได้กลิ่น ลิ้นลิ้มรส กายกระทบสิ่งที่สัมผัส คิดนึกเท่านั้น นอกจากนั้นแล้วเป็นจิตที่ ไม่ได้รู้อารมณ์ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ก็ไม่ใช่เราทั้งหมดเลย ตั้งแต่ขณะแรกที่เกิด จนขณะที่ดำรงภพชาติ เป็นภวังคจิต แต่ก็จะต้องมีการเห็นการได้ยินซึ่งบังคับไม่ได้ เพราะว่าเป็นไปตามเหตุที่ได้กระทำแล้วคือ กรรมใดพร้อมที่จะให้ผล ให้เห็นทางตา หรือว่ากรรมใดพร้อมที่จะให้ผล คือได้ยินเสียงทางหู นี้ก็แสดงให้เห็นว่าเราไม่สามารถบังคับบัญชาอะไรได้ ทุกอย่าง ทุกขณะ เกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย เห็นสิ่งเดียวกัน คนหนึ่งติดข้อง อีกคนไม่พอใจ ทำไมไม่เหมือนกัน ก็แล้วแต่การสะสม ความคิดของแต่ละคนในขณะนี้ ไม่เหมือนกันเลย ไม่พูดไม่รู้ แล้วก็บางคนก็คิดลึกมากเลย ก็ยิ่งไม่รู้ใหญ่เลย คนอื่นไม่สามารถที่จะรู้ความคิดลึกๆ ของบางคนได้ ว่าเขากำลังคิดอะไรอยู่ เพราะฉะนั้น ก็แสดงให้เห็นว่า แม้แต่คิด ก็ไม่ได้อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาเลย จะตั้งใจให้คิดอย่างนั้นเกิด ได้ไหม ไม่ได้ พอคิดเกิดขึ้นแล้ว อย่าคิดอย่างนี้ได้ไหม ก็ไม่ได้ นับวันก็จะเห็นความเป็นอนัตตา ถ้ายิ่งเข้าใจธรรม แล้วก็ ฟังมากขึ้น ก็จะเข้าใจโดยขั้นการฟังว่า เป็นธรรม จนกว่าสติ จะเกิดอีกระดับหนึ่ง แล้วก็รู้ตรงลักษณะของสภาพธรรม ไม่ต้องบอกใครว่าเป็นสติปัฏฐาน ไม่ต้อง ให้ใครมาบอกด้วย แล้วก็ไม่ต้อง ถามใครด้วย ก็กำลังเข้าใจลักษณะของสภาพธรรมขณะใด ขณะนั้นก็เป็นสติปัฏฐาน

    ผู้ฟัง เรารู้สึกว่าก่อนฟัง เราไม่เคยรู้อะไรอย่างนี้มาก่อน ฟังไปฟังไปทำไมเราทำความเข้าใจ หรือคล้อยตามไป เรื่อยๆ เรื่อยๆ

    ท่านอาจารย์ เดี๋ยวก่อน คุณฉัตรชัยเกิดคนเดียวหรือเปล่า

    ผู้ฟัง เกิดคนเดียว

    ท่านอาจารย์ เห็นคนเดียวหรือเปล่า

    ผู้ฟัง เห็นคนเดียว

    ท่านอาจารย์ ได้ยินคนเดียวหรือเปล่า

    ผู้ฟัง คนอื่นได้ยินบ้าง

    ท่านอาจารย์ ไม่ใช่เวลาที่จิตได้ยิน เกิดขึ้นสำหรับคุณฉัตรชัย คนอื่นไปได้ยิน ร่วมได้ยินตรงนั้นด้วยหรือเปล่า

    ผู้ฟัง ได้ยินคนเดียว

    ท่านอาจารย์ คนเดียว คิดนึกคนเดียวหรือเปล่า

    ผู้ฟัง ใช่

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น ไม่มีคนอื่น ไม่ต้องไปกลัว

    ผู้ฟัง ไม่ได้กลัว แต่เป็นความรู้สึกว่า เราฟังไปเรื่อยๆ ก็

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น เป็นจิตที่คิด

    ผู้ฟัง คิดว่าเป็นความเข้าใจ เรื่องอย่างนี้มาก่อน เราไม่รู้เรื่องพวกนี้ ฟังครั้งแรกเราก็ไม่รู้ คือไม่คิดว่าจะเป็นอย่างนี้

    ท่านอาจารย์ ผู้ที่ฟังธรรมแล้วเข้าใจ จะเริ่มรู้จักพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า แล้วก็จะเห็นพระคุณด้วย เพราะนอกจากพระองค์แล้ว ใครๆ ก็ไม่สามารถที่จะแสดงธรรม อย่างนี้ได้ แล้วก็คนที่ได้ฟังแล้วก็ได้รู้แจ้งสภาพธรรม ตามที่ทรงแสดงด้วยพระมหากรุณา มากมายนับไม่ถ้วนเลย จนถึงเราสมัยนี้ก็ยัง มีโอกาสได้ยินได้ฟังคำที่ตรัสด้วยพระองค์เอง ณ พระวิหารเชตวัน ณ พระวิหารอื่นๆ เหมือนเลย ตามพระไตรปิฎก

    ผู้ฟัง บัญญัติ เป็นอารมณ์ของสติปัฏฐาน ไม่ได้ ใช่ไหม

    ท่านอาจารย์ บัญญัติ มีจริงๆ หรือเปล่า

    ผู้ฟัง บัญญัติ คือสิ่งที่เราสร้างขึ้นมาเพื่อเรียกแทนสิ่งที่มีจริง

    ท่านอาจารย์ บัญญัติจริงๆ คือความคิดนึก เรื่องราว ชื่อต่างๆ คำต่างๆ

    ฟังธรรมจากหัวข้อย่อย

    หมายเลข 99
    23 มี.ค. 2567