ปกิณณกธรรม ตอนที่ 414


    ข้อความนี้อยู่ระหว่างตรวจสอบแก้ไข

    ตอนที่ ๔๑๔

    สนทนาธรรม ระหว่างเดินทางไปนมัสการสังเวชนียสถาน ประเทศอินเดีย

    พ.ศ. ๒๕๔๒


    ท่านอาจารย์ ถ้าศึกษาพระอภิธรรมเข้าใจก็ไม่มีข้อสงสัยเลยว่า ศีลทั้งหมดก็คือสภาพของจิตที่เป็นกุศลระดับต่างๆ ซึ่งจะต้องอบรมให้เจริญขึ้น แล้วก็มีทั้งวาริตตศีลที่ควรงดเว้น และจาริตตศีลที่ควรประพฤติปฏิบัติ ไม่ใช่มีแต่งดเว้นทางฝ่ายอกุศล แล้วทางฝ่ายกุศลที่เป็นกายวาจาที่ดี ไม่ประพฤติเลย ก็เป็นเรื่องการขัดเกลา มากๆ เลย ด้วยความเข้าใจที่ถูกต้อง

    ผู้ฟัง อย่างปกติชีวิตประจำวัน ถ้าเกิดเราหลงลืมสติ แล้วเราก็พูดเพ้อเจ้อ อันนี้เป็นอกุศลศีล ใช่ไหม

    ท่านอาจารย์ แน่นอนเลย ให้ทราบว่าเรามีศีลประเภทไหนมากในวันหนึ่งๆ

    ผู้ฟัง พระภิกษุ ปกติศีล ๒๒๗ ข้อ พระภิกษุ นี่ถ้าพูดเพ้อเจ้อ ก็อกุศลศีลด้วยหรือเปล่า

    ท่านอาจารย์ ขณะใดที่อกุศลจิตเกิด จะไม่สามารถรู้ได้ ถ้าไม่มีรูปเป็นทางของอกุศล เพราะฉะนั้น เราจะเห็นได้วเลย รูปนี่จะเคลื่อนไหวไปทางกาย หรือทางวาจาที่จะ ทำให้มีเสียงมีคำพูดออกมาได้ ก็เพราะจิตขณะนั้นเป็นอะไร แทนที่เราจะดูเพียงภายนอก เราก็รู้ถึงสภาพของจิตในขณะนั้น เรื่องอื่นก็ได้ ถ้าเข้าใจเรื่องนี้แล้ว ตอนนี้ทุกคนนั่งเงียบ เพราะเหตุว่ากลัว อกุศลศีลทางวาจา ถ้าเป็นอย่างนั้น ได้ดี เพราะเหตุว่าเหมือนเป็นพระอริยบุคคล ไม่พูดสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ แล้วเราจะรู้ได้เลย ถ้าเป็นอย่างนั้นจริงๆ โลกจะเงียบ และจะสงบลงมากเลย ไม่มีใครที่จะพูดเรื่องโน้นเรื่องนี้ ที่จะทำให้เกิดความเข้าใจผิดบ้าง หรือว่าเกิดน้อยใจเสียใจต่างๆ บ้าง หรือว่าเข้าใจไขว้เขวไปบ้าง หรืออะไรอย่างนั้น เพราะฉะนั้น ทุกคนก็จะเห็นประโยชน์ ของการที่มีกุศลศีล

    ผู้ฟัง ต่อจากเรื่องศีลนี้ ผมก็อยากจะขอสนทนาเรื่อง พุทธานุสติ สติระลึกถึงพระคุณของพระพุทธเจ้า เมื่อวันที่ผ่านมานี้ก็ พวกเรามีพระภิกษุกก็มีการพาไปที่เขาคิชฌกูฏ ต่อมาก็ถึงเวฬุวนาราม พระภิกษุองค์นั้นก็ชักชวนให้มีการระลึกถึงพระพุทธเจ้า โดยทำความสงบเสงี่ยม ประมาณ ๒ นาที หรือ ๓ นาที ที่น้อมใจไประลึกถึงพระคุณของพระพุทธเจ้า แล้วก็พวกเรา โดยมากก็ไม่ชอบ การนั่งเงียบๆ อย่างนี้ ผมอยากจะถาม การที่พวกเราที่นั่งนนัสการพระพุทธเจ้า แล้วก็กล่าววาจา ด้วยการสวดมนต์ เช่น อรหังสัมมาสัมพุทโธ วิชา จรณะสัมปันโน เป็นต้นนี้ เป็นการนมัสการพระพุทธคุณ ด้วยวาจา แล้วก็ต้องตั้งใจให้สงบเพื่อ กล่าววาจาอย่างนั้น มีการเดิน รอบพระเจอีย์ อะไรนี้ก็ต้อง ระลึกถึงพระคุณของพระพุทธเจ้าเหมือนกัน ผมอยากจะถามว่าต่างกันอย่างไร ในการที่ระลึกถึงพระพุทธเจ้า ที่น้อมใจไประลึกเฉยๆ ที่ไม่กล่าววาจา และการกล่าววาจา และการเดินรอบ พระคันธกุฏี หรือรอบเจดีย์นี้ก็ต่างกันอย่างไร

    ท่านอาจารย์ ตามความเป็นจริง สภาพธรรม มีต่างๆ เช่น ขณะที่กำลังคิด เป็นคำๆ แต่เสียงไม่ออกมาเลยก็ได้ ปกติเป็นอย่างนั้นหรือเปล่า คิดแต่เสียงไม่ออกมาเลยก็ได้ แต่บางครั้ง คิดแล้วเสียงออกมาเลย ขณะนั้นเกือบจะไม่รู้ว่ามีความตั้งใจที่จะให้เสียงออก เพราะฉะนั้น ถ้าละเอียดลงไปกว่านั้นอีก คือแม้แต่คำที่จะเอ่ย หรือเสียงที่จะออก ก็เป็นไปตามเหตุตามปัจจัย ซึ่งขณะนั้นบุคคลที่มีสติสัมปชัญญะ และก็มีความรู้ ก็จะศึกษาลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังเกิด แล้วจะเห็นว่าสภาพธรรมทั้งหลาย ไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาจริงๆ ในระหว่างที่เดินประทักษิณ กิริยาอาการภายนอกก็จะเป็นไปตามกุศลจิต ซึ่งมีการน้อมระลึกถึงพระคุณ แต่ไม่นาน ก็มีจิตประเภทอื่นเกิดขึ้น เพราะฉะนั้น เวลาที่เดินไปก็คิดไป เรื่องอื่นก็มี เห็นเทียน เห็นแสงสว่าง เห็นคน เห็นอะไรพวกนี้ ก็มีการคิดถึงสิ่งต่างๆ เหล่านั้นคั่น เพราะฉะนั้น ต้องเป็นผู้ที่ละเอียดจริงๆ จึงสามารถ ที่จะทราบได้ว่าจิตมีต่างๆ หลากหลาย ทั้งที่เป็นกุศล และอกุศล ซึ่งเกิดขึ้นตามเหตุตามปัจจัยจริงๆ ไม่ใช่เป็นเรื่องของคำพูด ที่เราจะเอาอะไรมาวัดระดับ แต่เป็นเรื่องของการที่เมื่อสภาพธรรม ที่เกิดขึ้นเป็นอย่างไร สติสัมปชัญญะ ปัญญา สามารถจะรู้ความจริง ของสภาพธรรมในขณะนั้นว่าเป็นอย่างนั้น คือไม่ไช่เรา แต่มีปัจจัยที่จะเกิดขึ้นเป็นอย่างนั้น ก็เป็นอย่างนั้น

    ผู้ฟัง ถ้าพระภิกษุชักชวนให้ เงียบๆ เพื่อน้อมใจไประลึกนี้ ทำไมจึงมีคนรังเกียจ

    ท่านอาจารย์ ก็ลืมไป ว่าขณะนั้นไม่มีพระภิกษุ มีแต่เสียงซึ่งได้ยิน และรู้ความหมาย ทุกคนต่อไปจะรู้จริงๆ ว่าไม่มีใครนอกจากจิต โลกใบหนึ่งที่เกิดขึ้นคือจิต เกิดขึ้นขณะใด ก็เป็นโลกๆ หนึ่ง ขณะนั้นมีใครที่ไหน ลองคิดถึงตอนเกิด อย่างที่เคยกล่าวถึงแล้ว ตอนเกิดไม่มีตา ไม่มีหู ไม่มีจมูก ไม่มีลิ้นก็ได้ แต่ว่าจิตเกิดพร้อมกับรูปที่เล็กมาก ๓ กลุ่ม ถ้าเกิดเป็นมนุษย์ คือ ๓ กลาป ขณะนั้น มืดไหม เพราะไม่เห็นอะไรเลย เสียงก็ไม่มี กลิ่นก็ไม่มี ที่จะปรากฏในขณะนั้น

    ถ้าคิดถึงสภาพของธาตุรู้ หรือว่าลักษณะรู้ จริงๆ แล้วไม่มีคนอื่น ถ้าไม่คิดถึง แล้วที่จะมีคนอื่นได้ ก็ต่อเมื่อมีการเห็น ในอดีต คุณบุตร สาวงษ์ ไม่เคยเห็นดิฉันเลย ไม่มีดิฉันในโลก จิตของคุณบุตร สาวงษ์ จนกว่าจะมีการได้ยินเสียงบาง หรือการเห็นบ้าง ต่อจากนั้นจึงมีการคิดถึง ว่าเป็นคนนั้นคนนี้ แล้วก็ฟังว่าคนนั้นพูดอย่างนี้ คนนี้พูดอย่างนั้น แต่ถ้าเป็นขณะที่รู้ความจริง ซึ่งก็ควรจะอบรมปัญญาที่จะรู้ ความจริงของสภาพธรรมว่า ธรรมเป็นอย่างนี้ไม่ได้เป็นอย่างอื่นเลย คือไม่มีใคร ไม่มีสัตว์ ไม่มีบุคคล แต่ว่าขณะใดก็ตามที่มีการเห็น ต้องเข้าใจถึงขณะที่อายุของจักขุปสาทรูป ๑๗ ขณะยังไม่ดับ แล้วสิ่งที่กระทบจักขุปสาทรูป ก็มีอายุ ๑๗ ขณะแล้วยังไม่ดับ เป็นปัจจัยให้จิตเห็น เกิดขึ้น เท่านั้นเอง คิดดู จะรวดเร็วสักแค่ไหน แล้วจะเอาคนที่ไหนมา เอาเรื่องที่ไหนมา

    เพราะฉะนั้น ก็แสดงให้เห็นว่าเป็นการสะสม ความทรงจำ ในความเป็นอัตตา ตัวตน ว่ามีเขา แล้วก็มีเรา เมื่อมีเขามีเรา ก็มีรัก มีชัง มีชอบ มีไม่ชอบ ก็เท่านั้นเอง จนกว่าปัญญาจะรู้ความจริงมากขึ้น เพราะฉะนั้น คุณบุตร สาวงษ์ ก็จะไม่ไปคิดถึงเรื่องคนอื่น ว่าพอคนอื่นได้ยินเสียง พระภิกษุท่านกล่าวอย่างนี้ ก็รังเกียจ หรือไม่พอใจ เพราะจริงๆ แล้วขณะนั้น จิตคุณบุตร สาวงษ์ เท่านั้นที่เกิด แล้วก็คิดเรื่องนั้น แล้วจิตที่คิดเรื่องนั้น เป็น จิตอะไร แล้วดับแล้วด้วย ทุกคนอยู่ในโลก จริงๆ อย่างนี้เท่านั้นเอง ถ้ามีความรู้ความเข้าใจเพิ่มขึ้น ความจริงก็จะปรากฏ แต่ถ้าไม่มีความรู้ ความเข้าใจ ก็ยังคงเป็นโลกของมายา คือแท้ที่จริงก็คือจิต เจตสิก รูป เกิดดับ แต่ก็ยังมีความห็นด้วยวิปลาส ด้วยสัญญาความจำว่า เป็นสิ่งหนึ่ง สิ่งใด เป็นเราเป็นเขา ก็ไม่ใช่เรื่องคนอื่น เขาจะชอบหรือจะรังเกียจ หรืออะไร แต่เป็นสภาพจิตของคุณบุตร สาวงษ์ ขณะนั้นที่กำลังคิดเรื่องนั้น จิตนั้นเป็นอย่างไร

    ผู้ฟัง ผมก็ไม่ชอบ ในการไปนั่งทำสมาธิอะไร ก็อยากจะทราบว่ามีการต่างกันในเรื่องการนมัสการด้วยวาจา และก็การนมัสการด้วยใจ อยากจะทราบว่าต่างกันอย่างไร

    ท่านอาจารย์ รู้ด้วยจิตของ คุณบุตร สาวงษ์ เองเท่านั้น ไม่ไปคิดถึงจิตของคนอื่น จะรู้ได้เมื่อสภาพจิตของ คุณบุตร สาวงษ์ เป็นอย่างไร ขณะนั้นปัญญาก็จะรู้ตามความเป็นจริง ว่าเป็นอย่างนั้น โดยมากเรามีกุศลจิตที่มีความเลื่อมใส ศรัทธาในพระปัญญาคุณของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า แต่ปัญญาของเราสามารถที่จะรู้พระคุณ ตามที่เรากล่าวหรือยัง ถ้าปัญญาของเราไม่สามารถที่จะรู้พระคุณตามที่เรากล่าว ขณะนั้นบางครั้ง เวลาที่กล่าวไป จะรู้สึกสภาพของจิตว่า ความเลื่อมใสนั้นเล็กน้อย แค่ไหน เพราะความไม่รู้ในพระคุณนั้นๆ อย่าง วิชชา จรณะ สัมปันโน แปลได้ แต่ว่า วิชชา จรณะ พูดแล้วรู้ไหม ว่าหมายความว่าอะไร เพราะฉะนั้น เวลาที่เราไม่เข้าใจถึงพระคุณนั้น จริงๆ แต่เราพูดด้วยศรัทธา ความรู้สึกของความเลื่อมใส หรือความนอบน้อมในขณะนั้นจะน้อยกว่า การที่เรามีความเข้าใจเพิ่มขึ้น จริงๆ แล้วขณะใดที่เรากราบ นมัสการด้วย จิตที่ศรัทธา ขณะนั้น ยังเป็นศรัทธาที่มากกว่ากล่าวคำซึ่งเราไม่เข้าใจ เป็นเรื่องของแต่ละบุคคลจริงๆ ที่จะเกิด สติสัมปชัญญะ และพิจารณารู้สภาพจิตในขณะนั้น ธรรมทั้งหมดที่ได้เรียน จะเป็น ความจริง ต่อเมื่อสติเกิด แล้วก็ระลึกรู้ลักษณะของสภาพของธรรม ในขณะนั้น เท่านั้น แต่ถ้าจะเป็นการคิดใคร่ครวญ โดยที่สภาพธรรมนั้นไม่ปรากฏ ก็ไม่มีทางที่จะเข้าใจสภาพนั้นได้จริงๆ ก็ยังคิดต่อไปอีก แล้วลักษณะเป็นอย่างไร ระดับเป็นอย่างไร การที่กล่าวคำบูชานอบน้อมกับไม่เปล่งวาจาออกมาเป็นอย่างไร ก็เป็นเรื่องของแต่ละบุคคล

    คุณบุตร สาวงษ์ คงจะเคยอ่านเรื่องของพระภิกษุรูปหนึ่ง ซึ่งเวลาที่ท่านไปนมัสการ พระบรมสารีริกธาตุ ท่านจะไปเวลาที่ไม่มีคนอื่นไป ลองคิดถึงความศรัทธาของท่าน ความนอบน้อมของท่าน ซึ่งมีต่อพระรัตนไตร เฉพาะส่วนตัวที่ท่านสามารถจะแสดงความนอบน้อมของท่านได้ ในขณะนั้น ที่ไม่มีบุคคลอื่น กับเวลาที่มีบุคคลอื่น ท่านก็รู้ว่าจะนอบน้อมสักการะเหมือนขณะที่ไม่มีบุคคลอื่น ไม่เท่ากัน เพราะมีการเห็นคนนั้น มีการดูคนนี้ มีการที่ คนนั้นอาจจะเรียก หรืออาจจะทำเสียง หรือว่าอาจจะมาพูดกับท่านก็ได้ เพราะฉะนั้น จะเห็นได้ สำหรับพระภิกษุรูปนั้น ท่านมีอัธยาศัยที่จะกราบ นมัสการ เวลาที่ไม่มีบุคคลอื่นอยู่ด้วย ไม่ทราบคุณบุตร สาวงษ์ มีความรู้สึกอย่างนี้หรือเปล่าว่ามีความต่างกัน

    ผู้ฟัง อาจจะมีบางเวลาผมก็ ไม่กล่าววาจาที่สรรเสริญพระคุณของพระพุทธเจ้า แต่ก็อาจจะมี การน้อมใจไประลึกถึง ความบริสุทธิ์ของพระคุณ หรือก็ปัญญาคุณ ในขณะนั้นก็ อาจจะมีการเลื่อมใสโดยใจที่โน้มไประลึก นิดหนึ่งก็อาจจะมี แล้วก็อยู่ในกัมพูชาก็ ผมพูดธรรม หรือสติปัฏฐานบ่อยๆ เพื่อระลึกสภาพธรรม ที่กำลังมี กำลังปรากฏ ไม่ว่าเป็นจิตอะไร ก็เป็นแต่เพียงสภาพธรรม ที่กำลังปรากฏ อาจจะมีสติระลึกรู้ได้ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ตัวตน ไม่ว่าจิตนั้น เป็นจิตที่กามาวจรหรือ จิตอะไร ตลอดถึงอัปปนา เป็นปฐมฌาณ หรือก็ใน มหาคตจิต อะไรก็ไม่จำเป็น เพราะเป็นแต่เพียงจิตเท่านั้น แล้วก็มีผู้ฟังธรรม พูดกับผู้ที่ทำสมาธิ ว่ามีตัวตน แสวงหาธรรม ผู้นั้นก็ตอบมาว่า ถ้าทำสมาธิ มีตัวตนไปทำ ทุกคนที่ไปทำทานก็ เอามีตัวตนไปทำทาน รักษาศีลก็ต้องมีตัวตนไปรักษาศีล ถ้าไม่มีตัวตนไป ทำอย่างไร มีการโต้ตอบกันอย่างนั้น

    ในที่นี้ก็มีการยึดถือตัวตน เป็นการละเอียดมาก อยู่ในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าผู้ที่ฟัง หรือเจริญสติปัฏฐาน แล้วก็ตอบตรงนี้ก็ไม่ได้ เพราะทุกวันก็ตัวตนไปทำทาน ก็ตัวตนไปรักษาศีลด้วย แล้วก็ว่าให้ผู้ไปทำสมาธิ ว่ามีตัวตนไปทำสมาธิ มีตัวตน อยากจะได้ ธรรมอย่างนี้ อยากจะได้ธรรมอย่างนี้ ไม่ว่าตัวตนของเราก็ไม่มี แต่ทุกๆ วันก็มีตัวตนไปทำทานด้วย เพราะฉะนั้น ผู้ทำสมาธิเมื่อตอบมาก็อึดอัด ตอบไปก็ไม่ได้

    ท่านอาจารย์ ต้องเป็นผู้ตรง ก็ถามคนนั้นว่าตัวตนมีหรือเปล่าในคำสอนของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า

    ผู้ฟัง ตัวตนเป็นบัญญัติ แต่ก็ตัวตนจริงๆ เป็นสัตว์บุคคล ก็ไม่มี

    ท่านอาจารย์ เมื่อเขาตอบอย่างนี้ เขายอมรับแล้วว่าไม่มีตัวตน แต่เพราะเหตุว่าเขาไม่ใช่พระโสดาบัน เพราะฉะนั้น ก็ยังมีความเป็นเขา จนกว่าจะอบรมเจริญปัญญาให้มากขึ้น แต่เขาต้องยอมรับก่อนว่า เป็นตัวตนเพราะไม่มีปัญญา ที่จะรู้ว่าไม่ใช่ตัวตน ไม่อย่างนั้นเขาก็จะไม่อบรมเจริญปัญญาเลย เพราะเขาบอก มีตัวตนทั้งนั้น แต่ว่ามีหนทางที่จะรู้ว่าไม่ใช่ตัวตน และพระผู้มีพระภาค ทรงแสดงว่ามีตัวตนหรือไม่มีตัวตน เขาจะเชื่อตัวเขา หรือเขาจะเชื่อคนที่มีปัญญากว่าเขา ถ้าเขาเชื่อคนที่มีปัญญากว่าเขา เขาก็ต้องศึกษาคำสอนของพระผู้มีพระภาคแน่นอน แล้วแต่ว่าเขานับถือใคร เขาก็ต้องศึกษาคำสอนของบุคคลนั้น ไม่ใช่นับถือแล้ว ไม่ฟัง ไม่สอน จะชื่อว่านับถือได้อย่างไร

    ผู้ฟัง ผู้ที่ไปทำสมาธิ ก็อาจจะรู้คำว่า อนัตตา แต่ก็การปฏบัติของเขา ก็รู้สึกว่าทำเพื่อละ การยึดถือว่าเป็นอัตตา แต่ก็มีผู้ไปว่า ทำสมาธินี้ มีตัวตนเพื่อจะอยากได้เป็นสมาธิ

    ท่านอาจารย์ ถ้าเป็นความเห็นถูก จะทำ หรือไปทำ ไหม หรืออธิบายได้ไหม สมาธิมีกี่อย่าง แล้วสมาธิ คืออะไร เพราะฉะนั้น ก่อนที่เราจะปักใจเชื่อในความเห็นใดๆ ทั้งสิ้น ไม่ว่าจะพูดเรื่องอะไร ที่ควรที่จะถามก่อนว่า คืออะไร ถ้าจะพูดเรื่องทำสมาธิ ก็ต้องถามกันว่าสมาธิคืออะไร ไม่ใช่พูดกันไป โดยไม่รู้ว่าสมาธิคืออะไร ก็ไม่มีวันจบ แต่ถ้าถามกันก่อนว่าสมาธิคืออะไร คำตอบก็จะถูกว่า ตอบผิด หรือตอบถูก เข้าใจผิด หรือเข้าใจถูก มีความรู้ในเรื่องสมาธิ หรือไม่มีความรู้ในเรื่องสมาธิเลย รู้จักความต่างกันของมิจฉาสมาธิ กับสัมมาสมาธิ หรือเปล่า ถ้าไม่รู้ขณะที่ทำนั้น จะเป็นสมาธิ ประเภทไหน ถ้าปัญญาไม่มี ไม่สามารถที่จะรู้ความต่างกัน ก็เป็นเรื่องที่ต้องตรง แล้วก็มีเหตุผล แล้วก็มีการแจ่มแจ้ง ถ้าบุคคลนั้น เป็นผู้ที่ต้องการความจริง ต้องการประโยชน์ ต้องการรับฟัง ก็พูดได้ ถามดูว่าสมาธิ คืออะไร

    ผู้ฟัง ในเรื่องสมาธิ ที่มีจิตใจที่สงบจากอกุศล สำหรับอย่างนี้ แสวงหาครูบาอาจารย์ เพื่อบอกอารมณ์ของกัมมฐาน แล้วก็แสวงหาที่อยู่ ที่อยู่ ที่วัดหรือที่ประชุมกันในการทำสมาธิ นี้

    ท่านอาจารย์ นั่นคือเรื่องของเขา เราก็คงจะไม่พูดเรื่องสัมมาสมาธิ กับคนข้างนอกห้องนี้ หรือถ้าใครอยากจะไปทำสมาธิ แล้วก็ไม่ต้องการเหตุผล เราก็คงจะไม่พูดกับเขา แต่ที่เราพูดกันที่นี่ ก็เพราะเหตุว่าเป็นผู้ที่รับฟัง เหตุผลกับความจริง เพราะฉะนั้น เราก็คงจะพูดได้กับคนที่ต้องการรู้ความจริงกับเหตุผลเท่านั้น ส่วนใครจะไปทำอะไร ก็แล้วแต่อัธยาศัย ถ้าตราบใดที่ไม่ฟังเหตุผล ไม่ฟังความจริง พูดความจริงก็ไม่มีประโยชน์

    ผู้ฟัง ผมก็ควรกลับมาถามว่าทุกๆ วันนี้ ที่เราอยู่ในบ้าน เช่น ผม เป็นต้น แล้วก็ไม่กล่าววาจา ระลึกถึงพระพุทธคุณ หรือพระธรรมคุณว่า สวากขาโต เป็นต้นนี้ มีการเงียบๆ พร้อมใจไประลึกถึงคุณของพระพุทธ หรือพระธรรม หรือพระสงฆ์นี้ มีพระสารีบุตร พระโมคคัลลา เป็นต้น ก็การน้อมจิตระลึกถึงอย่างนี้ รู้สึกว่าอาจจะเป็นกุศลได้ ก็อาจจะถูกหรือก็ผิดอย่างไร

    ท่านอาจารย์ ถ้าเป็นกุศล ผิดไหม

    ผู้ฟัง ผมก็รู้ว่าเป็นกุศลก็ถูก แต่ผมก็สังเกตว่า โดยมากบางคน ในการฟังเรื่องสติปัฏฐานแล้ว ก็มีการรังเกียจในการ น้อมใจไประลึกถึง พระคุณของพระพุทธเจ้า มีการเกลียด

    ท่านอาจารย์ นั่นหมายความว่าเขาเข้าใจ หรือเปล่า ถ้าเขาเข้าใจ เขาจะรังเกียจกุศล ได้ไหม

    ผู้ฟัง การเกลียดกุศล นี้ ก็เป็นการไม่เข้าใจในเรื่องกุศล

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น เป็นความไม่เข้าใจ

    ผู้ฟัง กรุณาช่วย เรื่องพระพุทธเจ้าที่ทรงแสดงวิหารธรรม ของพระอริยบุคคล มีพุทธานุสสติ เป็นต้นนี้ พระอริยบุคคลโดยมากก็อยู่ในบ้านเป็นธรรมดาๆ เช่นอยู่ในกรุงสาวัตถีนี้ มีพระอริยบุคคคลใน ๗ จำนวนก็มี ๕ เป็นพระอริยบุคคล ถ้าอยู่ในสาวัตถีนี้มีคนประมาณ ๗ ล้านคนก็มีพระอริยบุคคล ๕ ล้าน แล้วก็มีวิหารธรรมใน พุทธานุสสติ นี้ก็มีวิหารธรรมอย่างไร

    ท่านอาจารย์ ขณะใดที่คุณบุตร สาวงษ์ ศึกษาธรรม สนทนาธรรม เข้าใจธรรม ระลึกถึงพระคุณ หรือเปล่า เป็นการระลึกถึงพระคุณแม้ไม่พูด แม้ไม่กล่าว คำว่า อิติปิโส ภควา แต่ใครสามารถที่จะแสดงความจริงของสภาพธรรม ที่กำลังปรากฏในขณะนี้ ซึ่งไม่เคยรู้มาเลย ให้ค่อยๆ เข้าใจขึ้นได้ การที่เข้าใจอย่างนี้ แล้วมีความรู้สึกอย่างนี้ เป็นการระลึกถึงพระพุทธคุณหรือเปล่า

    ผู้ฟัง ใช่ นั้นเป็นวิหารธรรม

    ท่านอาจารย์ ใช่

    ผู้ฟัง ต่อไปนี้ผมอยากจะสนทนาในเรื่องธรรมที่เกิดดับ โดยมากก็มีการสนทนาเรื่องสภาพธรรม ที่เกิดดับ ที่เกิดนี้เป็น อุปาทขณะ การดับก็เป็น ภังคขณะ แต่ก็มีพระพุทธเจ้า ทรงแสดงในพระสูตร โดยมากก็ การเกิดของรูป ของเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณนี้ ก็เพราะอวิชชา ตัณหา อุปาทาน และกรรมเป็นอดีต แล้วก็ในปัจจุบันนี้ ก็มีปัจจัยของรูปของนาม นี้เป็นการเกิดของรูปของนาม แล้วก็การดับ ก็เพราะการดับ อวิชชา เป็นต้นนี้ก็มีการกล่าวโดยมากในพระสูตร เพราะการกล่าวอย่างนี้ ผมก็มีการพิจารณาในการเกิดของกรรมนี้ เพราะอวิชชา เป็นปัจจัย แต่ผู้นับถือ พระพุทธศาสนานี้ ที่มีศรัทธาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา แล้วก็มีการเชื่อในกรรม ผลก็มีการเข้าใจว่าการทำกรรมทุกอย่างนี้ มีการทำทาน ทำศีลทั้งหมดก็มีเราไปทำ มีเราทำทาน ทำศีล เพราะฉะนั้น กรรมที่เกิดเพราะอวิชชาเป็นปัจจัยนี้ก็คงเป็นธรรมที่ลึกซึ้ง แล้วก็ธรรมนี้อาจจะพิจารณา ให้เห็นด้วย โยนิโสนมสิการ พิจารณาด้วยไม่มีสติระลึก สภาพธรรมที่กำลังปรากฏ อาจจะมีโอกาสจะเห็นบ้างไหม

    ท่านอาจารย์ พิจารณาเป็นเรื่องโดยที่สติไม่ได้ระลึกลักษณะของสภาพธรรม

    ผู้ฟัง ก็เป็นพิจารณา เป็นแต่เพียง พยัญชนะ เท่านั้น ใช่ไหม

    ท่านอาจารย์ สามารถที่จะนำไปสู่ความเข้าใจขึ้น เพราะถ้าไม่ได้ยินได้ฟังเลย ก็ไม่สามารถที่จะคิดได้ อย่างเรื่องของกรรมปัจจัย เราก็ทราบว่าผลของกรรมคือขณะนี้ ที่กำลังเห็น ไม่ใช่คนอื่นทำให้เลย

    ฟังธรรมจากหัวข้อย่อย

    หมายเลข 99
    23 มี.ค. 2567