ปกิณณกธรรม ตอนที่ 403


    ข้อความนี้อยู่ระหว่างตรวจสอบแก้ไข

    ตอนที่ ๔๐๓

    สนทนาธรรม ระหว่างเดินทางไปนมัสการสังเวชนียสถาน ประเทศอินเดีย

    พ.ศ. ๒๕๓๘


    ท่านอาจารย์ เวลาที่พูดเรื่องขันธ์ ๕ เราจำได้หมดเลย รูปขันธ์ ได้แก่สภาพที่เป็นสภาพที่ไม่รู้อะไรเลย ทุกอย่างทุกประเภท ทั้งสี ทั้งเสียง ทั้งกลิ่น ทั้งรส ทุกอย่างเป็นรูปขันธ์ เวทนาขันธ์ได้แก่ความรู้สึกทุกประเภทอีกเหมือนกัน ไม่ว่าจะสุข จะทุกข์ จะเฉยๆ จะโสมนัส โทมนัสก็คือ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ก็เป็นสภาพที่จำ ซึ่งขณะนี้ทุกคน จำ จริงๆ แล้วสัญญาเกิดกับจิตทุกดวง จึงจำได้ในสิ่งที่กำลังปรากฏ ส่วนสังขารขันธ์ได้แก่เจตสิก ๕๐ ประเภท คิดดู ไม่ใช่เล็กน้อยเลย ๕๐ ประเภทเขาปรุงแต่ง จิตเกิดขึ้น เป็นจิตประเภทต่างๆ เพราะฉะนั้น จิตในขณะนี้ จะแสนโกฏิจักรวาล อย่างไรก็ตามแต่ เกิดขึ้นเพราะสังขารขัรธ์ที่ปรุงแต่ง ตามการสะสมของแต่ละจิตที่สะสมมา เป็นแต่ละบุคคล เพราะฉะนั้น ก็แสดงให้เห็นว่าเราต้องเข้าใจสังขารขันธ์ แม้แต่ที่ว่า กำลังน้อม แล้วก็ได้ยินเสียงอื่น แล้วก็อะไรๆ จะเกิดขึ้น ทั้งหมดคือเจตสิกที่ เป็นนามขันธ์ ๓ เกิดร่วมกับจิต จึงเป็นนามขันธ์ ๔ ไม่ใช่ใครเลยสักคนเดียว ปรุงแต่งให้คิดอย่างนั้นทำอย่างนี้ เพราะฉะนั้น ก่อนอื่นก็ตั้งต้นให้ถูกต้อง เมื่อเป็นสังขารขันธ์ก็ คือสังขารขันธ์ ทำอะไรไม่ได้เลย เพราะเหตุว่าเป็นเรื่องราวของสังขารขันธ์ ที่จะเกิดขึ้น ทำกิจการงานของแต่ละสังขารขันธ์

    ผู้ฟัง เรา มีความโลภ หรือต้องการที่จะดูในมหาสติปัฏฐาน แต่ขณะที่เรารู้ว่าแข็ง เป็นแต่เพียงธาตุไม่ใช่สัตว์บุคคล ตัวตน เราเขา ส่วนมากเราจะเป็นแต่เพียงท่อง จะให้รู้อย่างไร สำคัญขึ้นกว่านี้ อันนี้ดิฉันก็ถามอาจารย์มา ตั้งสิบปีแล้วมั้ง มันยังรู้สึกว่าเราท่องอยู่

    ผู้ฟัง ก็ต้องมีสภาพธรรม ที่แข็ง ปรากฏ จริงๆ

    ผู้ฟัง ก็มีปรากฏ

    ผู้ฟัง ปรากฏจริงๆ แแล้วก็มีการรู้สึกตัวอยู่ใน แข็งไม่ใช่เรา

    ผู้ฟัง แข็งไม่ใช่เราเหมือนกัน แต่มันลักษณะเหมือน อย่างกับ เราท่องอยู่

    ผู้ฟัง การท่อง คือการท่อง แต่สภาพธรรม แข็งก็เป็นจริง

    ผู้ฟัง รู้สึกเวทนาเกิดขึ้นมาก็ รู้สึกเหมือนเราท่อง ว่า อันนี้เป็นเวทนา ไม่ใช่สัตว์ บุคคล ตัวตนเราเขา ยังมีความรู้สึกว่า เราท่องอยู่

    ผู้ฟัง ถ้ามีความรู้สึกว่า ท่อง ก็รู้สึกสภาพธรรม ที่รู้สึกนั้น ไม่ใช่เราที่รู้สึก เป็นสภาพธรรมที่รู้สึกนั้น เป็นนามธรรม ถ้าไม่อย่างนั้นก็ไม่หมดความสงสัยในสภาพธรรม

    ผู้ฟัง นั่นสิ ก็ทราบว่าแข็ง ยังรู้สึกว่าดิฉันยังท่องอยู่ นั้นแหละ ถึงแม้จะ เวทนา ความเจ็บปวดในร่างกาย ก็จะบอก อันนี้เป็นแต่เพียงนามธรรม มันก็ยังรู้สึกว่าท่อง แต่อาการของความไม่สบายก็ทราบ เหมือนกัน แต่รู้สึกมันน้อยกว่าท่อง มันยังไม่แน่ใจตัวเอง ว่าประจักษ์

    ท่านอาจารย์ เวลาที่ไม่ประจักษ์ ก็จะแน่ใจ ไม่ได้ แต่เวลาที่ประจักษ์ จะหมดความสงสัย เพราะฉะนั้น ก็แสดงให้เห็นว่าต้องอาศัย กาลเวลา ทุกคนก็เริ่มต้นอย่างนี้ ถามใครดู ทุกคนก็ท่องกันทั้งนั้น คือ ท่องที่นี่ หมายความว่า อดคิดไม่ได้ แสดงให้เห็นว่าสภาพธรรม มีมากแล้วสติระลึกเพียงแข็ง แต่ยังไม่ได้ระลึกลักษณะ ที่กำลังคิด เป็นคำๆ ว่าขณะที่คิดเป็นคำๆ ก็เป็นสภาพคิดไม่ใช่แข็ง เพราะเหตุว่าลักษณะของนามธรรมกับรูปธรรมนั้นต่างกัน แล้วก็แยกขาดจากกัน จริงๆ แต่เพราะเหตุว่า นามธรรมก็มีมากตั้งแต่เกิดจนตาย จนกระทั่งนั่งเดี๋ยวนี้ เสียงมี เห็นมี คิดมี สุขมี เฉยๆ มี นี่ก็แสดงให้เห็นว่าสภาพธรรม มีมาก แล้วแต่สติระลึก ในเมื่อสติระลึกแข็ง ไม่ได้ระลึกเห็น ไม่ได้ระลึกได้ยิน ไม่ได้ระลึกที่คิดนึก เพราะฉะนั้น สติขณะนั้นระลึกแข็ง แล้วก็คิด เพราะเหตุว่ายังชินกับการคิด จนกว่าจะรู้ว่า ขณะที่คิด ก็เป็นสภาพธรรม ที่คิด ไม่ใช่เราที่กำลังคิด จะได้ไม่กังวล ที่เรากังวลเพราะเหตุว่า เป็นตัวเราที่คิด แต่ว่าแข็ง เอาละ สติกำลังระลึก มีลักษณะที่แข็ง เป็นแข็ง แต่ก็เป็นตัวเราที่กำลังคิดว่าแข็งเป็นรูป แสดงให้เห็นว่า ตัวเรา ยังอยู่เต็มไปหมด ในนามอื่น รูปอื่น ที่สติไม่ได้ระลึก เพราะฉะนั้น ระลึกเพียงแข็งอย่างเดียวไม่พอ แม้แต่ขณะที่คิดว่าแข็ง ก็ต้องรู้ว่า นามธรรมนั้นไม่ใช่เห็น ไม่ใช่ได้ยิน ไม่ใช่สุข ไม่ใช่ทุกข์ เพราะฉะนั้น วันหนึ่งๆ มีนามธรรมเกิดมากมาย และรวดเร็ว ขณะใดที่สติไม่ระลึก นามนั้นก็ดับแล้ว รูปนั้นก็ดับแล้ว จริงๆ ไม่มีอะไรเหลือจริงๆ ถ้าเราจะระลึก แข็งใหม่ ไม่ใช่แข็งเก่า แต่ในความรู้สึกของเรา เหมือนกับเราระลึกตรงนี้ แล้วเราก็คิดเรื่องอื่นไป แล้วต่อมาเราก็ กลับมาระลึกที่แข็งตรงนี้อีก แต่ความจริงที่ว่าแข็งตรงนี้ ไม่ใช่แข็งเก่า จริงๆ แล้วสภาพธรรม เกิดดับเร็วมาก ขณะที่แข็งปรากฏ เวลาสติระลึก แล้วเราคิดว่าแข็งเป็นรูป แข็งนั้นเกิดแล้วดับแล้วอยู่เรื่อยๆ เพราะฉะนั้น ขึ้นอยู่กับว่าสติระลึกลักษณะสภาพธรรมใด แล้วความรู้ความเข้าใจจากการฟัง มั่นคงพอที่จะรู้ว่า ลักษณะอาการนั้น เป็นลักษณะที่เป็นนามธรรม แล้วลักษณะที่เป็นนามธรรม ไม่ใช่ชื่อเรียกว่านามธรรม แต่เป็นอาการรู้สิ่งหนึ่งสิ่งใด หรือว่าเป็นสภาพที่รู้สึก สภาพที่จำได้ ไม่ใช่สภาพที่เพียงอ่อน เพียงแข็ง เพียงเย็น เพียงร้อน เพราะว่าขณะนี้ แม้ว่า เสียงปรากฏ แต่ลักษณะของนามธรรมซึ่งเป็นนามล้วนๆ ไม่มีรูปใดๆ เจือปนเลย ที่กำลังรู้เสียง ลักษณะของนามล้วนๆ ที่ไม่มีรูปเจือปนเลย ยังไม่ปรากฏ เพราะฉะนั้น ก็รู้แต่เพียงชื่อว่า นามธรรม ที่กำลังได้ยินเสียงเป็น นามธรรม

    เพราะฉะนั้น การศึกษา การพิจารณา ต้องละเอียดจริงๆ แล้วเป็นเฉพาะตัวด้วย คือว่าแต่ละคนก็ตอบตามทฤษฎีได้หมด แต่ตามความเป็นจริง คือขณะใดที่สติเกิด ขณะนั้นปัญญาของผู้นั้นจะรู้ว่า รู้ลักษณะที่เป็นจริงของสิ่งที่กำลังปรากฏมากน้อยแค่ไหน อันนี้เป็นผู้ที่ตรงมาก จะรู้ลักษณะของรูป หรือว่าจะรู้ลักษณะของนาม หรือว่ายังไม่รู้ก็ต้องค่อยๆ ศึกษา ที่นี่คือ ค่อยๆ เข้าใจทีละเล็กทีละน้อย จนกว่าจะหมดความสงสัย ซึ่งก็เป็นเรื่องของกาลเวลาอย่างเดียว ผ้าที่เปื้อนน้ำมันดินสีที่เหนียวมาก เราซักครั้งเดียวเอาไปจุ่มน้ำ หรือ สองครั้ง ร้อยครั้ง มันก็ออกไปไม่ได้ เพียงออกไป กลิ่นน้ำมัน ก็ยังติด แสดงให้เห็นว่าแม้แต่เพียงกลิ่น ก็แสดงว่ามีสิ่งนั้นอยู่ นี้แสดงให้เห็นว่าหมด กลิ่นเมื่อไร ก็หมายความว่าดับโดยสิ้นเชิง แต่ว่ากว่าจะถึงตอนที่จะดับสิ้นเชิง ก็ต้องค่อยๆ ซัก ค่อยๆ ทำไปทีละเล็กทีละน้อยจนกว่าจะหมด แม้กลิ่นของสิ่งนั้นก็ไม่มี อาศัยกาลเวลาเรื่องเดียว จึงเป็นจิรกาลภาวนา ทุกคนก็จะถามอย่างนี้ เพราะเหตุว่า เวลาที่ประจักษ์ หมดความสงสัย แต่เวลาที่ยังไม่ประจักษ์ ก็ยังต้องสงสัยอยู่

    ผู้ฟัง มันทำให้คิดอยู่เลย

    ท่านอาจารย์ ถึงตอนคิด ก็คิด จนกว่าจะรู้ว่าคิดก็เป็นสภาพธรรม อย่างหนึ่งก็ต้องค่อยๆ ไป

    ผู้ฟัง อันนี้ไม่ใช่ปัญหาที่เรียนถาม ขอให้เป็นอนุสสติ สำหรับที่ท่านอาจารย์ จะให้กับ พวกเรา เพราะว่าเมื่อเราอ่านไป สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงตรัสรู้ ดวงตา ญาณ ปัญญา วิชชา และแสงสว่าง ขอให้ความกระจ่างกับคำเหล่านี้เพื่อเป็นที่ระลึก สำหรับวันที่ตรัสรู้ในวันนี้ ที่เราได้มา

    ท่านอาจารย์ ทั้งหมดนั้นก็คือ ปัญญาในลักษณะอาการต่างๆ ของปัญญา นั่นเอง เพราะว่าขณะนี้ ที่ยังไม่รู้แจ้งอริยสัจธรรม แล้วก็ไม่ได้เห็นสภาพธรรม ตามความเป็นจริง ก็เหมือนกับอยู่ในความมืด แล้วก็ขณะที่เกิดปัญญาจากการฟัง การศึกษาก็มีแสง หรือมีทางที่จะทำเราให้เข้าไปสู่ ความสว่าง คือความแจ่มชัด ที่จะได้ประจักษ์ลักษณะของสภาพธรรม ซึ่งปัญญาอบรมเจริญได้ จนกว่าจะสามารถประจักษ์แจ้งจริงๆ เมื่อประจักษ์แจ้งจริงๆ ก็เหมือนแสงสว่าง คือ เห็นชัดเจน ในสภาพธรรม โดยไม่สงสัย เหมือนกับเห็นสิ่งที่มีอยู่บนฝ่ามือ นี้ก็คงจะเป็นข้อความสั้นๆ ว่าขณะนี้ทุกท่าน ได้มีบุญที่ได้กระทำแล้ว ที่เป็น มหากุศลญาณสัมปยุตต ประกอบด้วยปัญญา ทำให้เราสนใจที่จะเข้าใจในพระธรรม มิฉะนั้นแล้วเราก็คงจะคิดว่า ไม่จำเป็นที่จะต้องมีปัญญาเกิดขึ้น แต่ว่าไม่ว่าเราจะเกิดมากี่ชาติก็ตาม จะมีสุขมีทุกข์ผ่านไปกี่ร้อยแสนชาติก็ตาม เราก็จะพ้นทุกข์ไปไม่ได้ ถ้าเราไม่ได้อบรมปัญญาถึงขั้นที่จะรู้แจ้งอริยสัจธรรม

    เพราะฉะนั้น การที่เราได้มา นมัสการสังเวชนียสถาน ได้มีโอกาสระลึกถึงคุณของพระรัตนตรัย ก็เพื่อเราจะได้เป็นผู้ที่มีความมั่นคง ในการที่จะเห็นคุณของพระรัตนตรัย แล้วก็ศึกษาธรรมให้เกิดปัญญายิ่งๆ ขึ้น จนกว่าจะเป็นแสงสว่างจริงๆ ที่จะเห็นสภาพธรรมได้ ตามความเป็นจริง แต่ให้ทราบว่าก่อนที่พระผู้มีพระภาค จะเสด็จดับขันธ์ ปรินิพพาน พระองค์ ทรงป่วยมากกว่าเรา แล้วด้วยพระมหากรุณา ทั้งๆ ที่ทรงประชวร ก็เสด็จมาที่นี่ เพื่อที่จะได้โปรดพุทธเวไนย คนสุดท้ายคือ ท่านพระภิกษุสุภัททะ เป็นสาวกองค์สุดท้าย สำหรับพวกเราเมื่อได้ฟังอย่างนี้ หรือว่า ได้ศึกษาธรรมมาแล้ว จุดนี้ ก็คงจะทำให้เรา ไม่ทอดทิ้งพระธรรมวินัยซึ่งพระองค์ได้ ทรงประทานไว้ให้ตั้งแต่ตรัสรู้ หรือถึงแม้ว่าใกล้จะปรินิพพาน ก็ยังทรงพระมหากรุณาแสดงธรรม เพราะฉะนั้น ทุกคนก็คงจะมีความรู้สึกว่าเราจะสนใจในพระธรรมมั่นคงยิ่งขึ้น ต่อไปเรื่อยๆ

    ผู้ฟัง เพราะว่าคุณหมอถามขึ้นมาว่า เสียงที่พี่สงวนคุยกับผม มีอะไรเป็นสมุฏฐาน พี่ก็ไม่เคยเข้าใจคำถามนี้เลย ที่โสตวิญญาณ มีอะไรเป็นสมุฏฐาน พี่ก็บอกว่ามันต้องมีโสตปสาทเป็นปัจจัยกับมีสัทธารมณ์ ก็มีผัสสะ คุณหมอบอกว่าไม่ใช่ ความจริงพี่ไม่เข้าใจคำถาม จนกระทั่งมาเรียนอาจารย์ อาจารย์ก็อธิบาย พี่ไม่เข้าใจ คุณหมอถามว่า เสียงที่พูด มีจิต และอุตุเป็นสมุฏฐาน แล้วเมื่อพี่พูดออกไป จิตที่เป็นสมุฏฐานเพียง ๑๗ ขณะ มันก็ดับไปแล้ว ส่วนที่เหลือ คืออุตุที่จะทำให้เกิดโสตวิญญาณ อุตุต่อๆ ไปจนกระทั่งทำให้เกิดโสตวิญญาณ คุณหมอก็ดูยังไม่ค่อยจะเชื่อ

    ท่านอาจารย์ ปัญหาคือ ได้ยินเสียงคนพูด แล้วก็สงสัยว่าเสียงคนพูดเกิด จากอะไรเป็นสมุฏฐาน คือขอแบ่งเป็นตอนๆ ว่าได้ยินเสียงคนพูด เสียงคนที่พูดมีอะไรเป็นสมุฏฐาน

    ผู้ฟัง ผมถามอย่างนั้น

    ท่านอาจารย์ ต้องมีจิตเป็นสมุฏฐาน ทำให้เกิดวจีวิญญัติ คำว่า วจีวิญญัติรูป หมายความถึงรูปที่กระทบที่ฐานของเสียง ที่ทำให้เกิดเสียง ตามที่วิตกเจตสิก ตรึก เพราะว่าคนเราเวลาจะพูด เราต้องคิด เวลานี้เราอาจจะไม่รู้สึกตัวเลย ว่าทุกครั้งที่เราพูด คิดโดยวิตก วิจารเจตสิก แต่ว่าเวลาที่เรานึกในใจ เพราะเหตุว่า วิตก วิจารเจตสิก เป็นสภาพที่คิด โดยไม่พูดก็ได้ เราคิดในใจก่อน ว่าเราจะพูดก็ได้ คิดเรื่องอะไรก็ได้ นั่นคือคิดโดยไม่มีเสียง แต่เวลาที่คิดจะเกิดมีเสียงขึ้น ต้องอาศัย วจีวิญญัติรูป ซึ่งเป็นรูปที่กระทบที่ฐานของเสียง การที่รูปจะไหวไปได้ ถ้าไม่มีจิต รูปไหวไม่ได้ รูปที่เกิดจากกรรม จะไหวไม่ได้ เคลื่อนไหวไม่ได้ รูปที่เกิดจากอุตุ เกิดจากอาหารก็เช่นเดียวกัน แต่ว่าสำหรับรูปที่เกิดจากจิต เช่น เสียง ที่จะมีเสียงเปล่งออกมาได้ ก็หมายความว่า ต้องมีรูปที่เคลื่อนไหว ที่กระทบกันที่ทำให้เสียงเกิดขึ้น รูปนั้นเป็น วจีวิญญัติรูป สำหรับรูปทุกรูปซึ่งเกิดขึ้น จะมีอายุเพียง ๑๗ ขณะจิต ซึ่ง ๑๗ ขณะจิต เร็วมาก ขณะนี้ทางตาที่เห็น กับทางหูที่ได้ยินเกิน ๑๗ ขณะจิตแล้ว เพราะฉะนั้น ที่ทุกคนคิดว่ามีรูปมากมายของตัวเอง ทั้งเลือด ทั้งกระดูก ทั้งตับ ทั้งปอด ทั้งหัวใจให้ทราบว่าเป็นรูปที่อาศัยสมุฏฐาน เกิดแล้วดับเร็วมาก รูปใดไม่ปรากฏ รูปนั้นเกิดแล้วดับแล้ว เพราะฉะนั้น ไม่มีรูปใดที่ จีรังหรือเหลือเลย แม้แต่เสียงซึ่งเกิดจากจิตเป็นสมุฏฐาน ก็มีอายุเพียง ๑๗ ขณะจิต ต้องดับแล้ว แต่ว่าทำไมเราได้ยิน ก็เพราะเหตุว่า แม้ว่าจิตเป็นปัจจัยให้เกิดเสียง แล้วจิตนั้นก็ดับ แล้วก็มีจิตอื่น ซึ่งจะทำให้รูปอื่นเกิดขึ้นแล้ว ไม่ใช่เสียงที่คนอื่นได้ยิน เพราะฉะนั้น เวลาที่เราได้ยินเสียงคนอื่น หมายความว่ารูปที่ดับอย่างรวดเร็วนั้น มีอุตุในรูปนั้น เพราะเหตุว่า ต้องมีมหาภูตรูป ๔ ซึ่งจะทำให้มีเสียงเกิดดับสืบต่อ จนกระทั่งมากระทบกับโสตปสาท การได้ยินจึงเกิดขึ้น ซึ่งจริงๆ แล้ว ก็ไม่น่าจะสงสัย อย่างในโทรทัศน์ เราเห็นคน ในความรู้สึกของเรา ในความทรงจำสี ว่าเขากำลังพูดจริงๆ ไม่มีวจีวิญญัติเลย เพราะเหตุว่าในโทรทัศน์ไม่มีจิตเลย นี่ก็แสดงให้เห็นว่าคำที่เราได้ยินเกิดจากอุตุ ไม่ได้เกิดจากจิต เพราะฉะนั้น ให้ทราบว่า วจีวิญญัติรูป มีอายุเพียง ๑๗ ขณะ ทำให้กิดเสียงซึ่งมีอายุ ๑๗ ขณะเหมือนกัน แล้วก็ดับไป เพราะรูปทุกรูปดับเร็วมาก เลย ๑๗ ขณะต้องดับแล้ว ขณะของจิต หรือว่าขณะของรูป ที่ว่าขณะ ๑ ขณะของจิตหรือ ไม่ทราบจะบอกว่าอย่างไร เพราะว่าไม่สามารถจะมีอะไร ไปเป็นเครื่องวัดขณะหนึ่งของจิตได้เลย เร็วแสนเร็วสั้นแสนสั้น แต่อย่างนั้น พระผู้มีพระภาค ก็ยังทรงแสดงความต่างกันของขณะจิตหนึ่งที่เกิดขึ้นว่า แบ่งออกเป็น ๓ ขณะย่อย ที่เรียกว่า อนุขณะ ได้แก่ขณะที่เกิด ไม่ใช่ขณะที่ตั้งอยู่ ไม่ใช่ขณะที่ดับไป ขณะที่ดับ ก็ไม่ใช่ขณะที่เกิด ไม่ใช่ขณะที่ตั้งอยู่ แล้วขณะที่ตั้งอยู่ก็ไม่ใช่ขณะที่เกิด ไม่ใช่ขณะที่ดับ เร็วแสนเร็วอย่างนั้นก็ยังแบ่งออกเป็น ๓ ขณะย่อย เพื่อแสดงให้เห็นว่ารูปซึ่งมีจิตเป็นสมุฏฐานนั้น เกิดเมื่อไรในขณะไหน หรือรูปซึ่งมีกรรมเป็นสมุฏฐานก็เหมือนกัน

    ผู้ฟัง แต่อาจารย์เคยสอนว่า ทางปัญจทวาร และทางมโนทวารนั้น ไม่สามารถจะแยกออกจากกันได้ เร็วมาก

    ท่านอาจารย์ ปกติธรรมดา ใครแยกได้ ถ้าวิปัสสนาญาณ ไม่เกิด นี้คือความต่างกันของการอบรมเจริญปัญญา ทีละเล็กทีละน้อย จนกว่าจะเป็นวิปัสสนาญาณเพราะว่าถ้าไม่มีระดับขั้นของปัญญา ที่ประจักษ์แจ้งลักษณะของสภาพธรรม ธรรมก็ไม่แจ่มแจ้ง การขาดจากกันโดยเด็ดขาด ลักษณะที่ต่างกันของรูปธรรม กับ นามธรรม เพราะเวลานี้ก็เห็นรูปบ้าง คิดถึงเรื่องบ้าง รูปบ้าง บัญญัติบ้าง อะไรบ้าง เกิดดับอย่างเร็วที่สุด

    เพราะฉะนั้น ก็จะทราบได้ว่า ถ้ารู้เพียงเท่านี้ ไม่สามารถที่จะประจักษ์ลักษณะต่างกันจริงๆ ที่แท้จริงของนามธรรม และรูปธรรม จนกว่าเป็น นามรูปปริจเฉทญาณ คือความสมบูรณ์ของปัญญา ซึ่งเป็นวิปัสสนาญาณขั้นที่ ๑ ซึ่งจะต้องต่างกับขณะที่สติกำลังเริ่มระลึก แล้วก็ค่อยๆ รู้ขึ้นแม้ว่าขณะนั้นจะระลึก ลักษณะของนามธรรม ซึ่งเป็นทางมโนทวาร จึงสามารถที่จะระลึกลักษณะของนามธรรมก็จริง แต่ว่าไม่ได้ปรากฏความต่างกัน เพราะเวลานี้ ปัญจทวารกับมโนทวาร สลับกันอยู่ตลอดเวลา สติจะระลึกลักษณะของรูปทางตา หรือว่านามที่กำลังเห็น หรือว่าเสียงทางหู หรือว่านามธรรมที่กำลังได้ยินก็ตาม เป็นแต่เพียงระดับขั้นที่สติเริ่มระลึก เพื่อที่จะเข้าใจลักษณะที่ต่างกัน แต่ลักษณะที่ต่างกันจะปรากฏจนไม่มีความสงสัยในลักษณะของนามธรรม เมื่อเป็นนามรูปปริจเฉทญาณ ซึ่งขณะนั้นจะไม่สงสัยในลักษณะของมโนทวาร เพราะเหตุว่า เพราะมโนทวารปรากฏ ธรรมที่เป็นนามธรรม และรูปธรรม จึงแจ่มแจ้งในลักษณะที่ต่างกัน

    ผู้ฟัง มีคำอีกคำที่ว่า ปัญจทวารปิดบังมโนทวาร ปิดบังอย่างไร

    ท่านอาจารย์ เวลานี้ หมอเป็นมโนทวารไหม นี่คือคำตอบ ปิดบังหรือเปล่า

    ผู้ฟัง ไม่รู้มโนทวาร

    ท่านอาจารย์ นั่นคือปิดบังแล้ว มโนทวารมีอยู่ตลอดเวลาก็ไม่ปรากฏเลย เดี๋ยวเห็นเดี๋ยวได้ยินตลอด แม้ว่าจะมีคิดนึก ก็ยังมีเห็นอยู่ เดี๋ยวนี้ ก็ยังได้ยินอยู่ นี่แสดงว่า ปัญจทวารปิดบังมโนทวาร แต่ถ้าเป็นวิปัสสนาญาณ มโนทวาร จะปิดบังปัญจทวารได้

    ผู้ฟัง กราบเรียนถาม แล้วที่ไม่ปิดบังเป็นอย่างไร

    ท่านอาจารย์ อะไรปิดบังอะไร

    ผู้ฟัง เพราะตอนนี้ที่ว่าปัญจทวารปิดบังมโนทวาร

    ท่านอาจารย์ ที่ไม่ปิดบังคือ วิปัสสนาญาณ ซึ่งต้องเป็น ปรากฏลักษณะของมโนทวาร

    ผู้ฟัง เพราะว่าได้มีโอกาส คุยกับอาจารย์บุตร สาวงษ์ บอกว่า มีมรรคมีองค์ ๖ ด้วยอยากจะเรียน ขอคำชี้แจง

    ท่านอาจารย์ ถ้าศึกษาธรรม จะพบว่า ธรรมที่มีลักษณะที่ปรากฏให้รู้ได้ พระผู้มีพระภาค ทรงแสดงไว้ แต่ส่วนใดซึ่งรู้ไม่ได้ ก็จะมีตำราที่กล่าวว่าบางอาจารย์กล่าวว่า นี่ไม่ใช่ในครั้งนี้เท่านั้น แม้แต่ในครั้งโน้น หลังจากปรินิพพานแล้ว ในอรรถกถา อย่างที่เคยยกข้อความเรื่อง ของ กุกกุจจะ ว่า พระอริยบุคคลระดับไหนละ ละโดยฐานะอย่างไร เพราะว่าใน สัมโมหวิโนทนี กล่าวไว้อย่างหนึ่ง ใน อรรถสาลินี จะกล่าวไว้อีกอย่างหนึ่ง เพราะฉะนั้น อะไรก็ตาม ซึ่งระดับขั้นปัญญาของเรา ไม่สามารถที่จะไปรู้ได้ เราก็ไม่จำเป็นต้องมานั่งคิด มันจะเป็นอย่างไร เจตสิกจะประกอบเท่าไร แต่ว่าสามารถที่จะวินิจฉัยได้หลายอย่าง เช่น มรรคมีองค์ ๕ แน่นอน ต้องครบทั้ง ๕ จะขาด ๑ ใน ๕ ไม่ได้เลย เพราะเหตุใด เพราะเหตุว่า สำหรับวิรตีเจตสิก จะเกิดพร้อมได้ทั้ง ๓ วิรตี เฉพาะในโลกุตตรจิตเท่านั้น แต่ว่าตามธรรมดาในชีวิตประจำวัน ขณะใดที่มีการวิรัติกายทุจริต เพราะว่าหลายคนก็คงจะเคยผ่านชีวิตมา ก็มีบางครั้งซึ่งอาจจะเกือบจะทำกายทุจริต แต่ขณะที่วิรัติ เพราะว่าเจตสิกชนิดนี้เกิดขึ้น ทำกิจวิรัติ ไม่ใช่เรา ถ้าเจตสิกนี้ไม่เกิด การวิรัติก็มีไม่ได้ ไม่ว่าจะเป็นทางกาย หรือทางวาจา ซึ่งส่วนใหญ่แล้วเรามักจะลืม เรื่องวาจา แต่ความจริงวาจามาก ในวันหนึ่งๆ มีพูดเล่นพูดล้อหลายๆ อย่าง แล้วแต่ว่าจะเป็นวจีทุจริตหรือไม่เป็น แต่ถ้าสามารถที่จะฟังพระธรรม เห็นความละเอียด แล้วก็วิรตีเจตสิกเกิดขึ้นวิรัติวาจาทุจริต ขณะนั้นก็เป็นชีวิตประจำวัน สติปัฏฐาน คือ ระลึกลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ เพราะฉะนั้น เราจะวินิจฉัยได้ว่า เพราะเหตุว่า ทรงแสดงไว้ชัดเจนว่า เฉพาะในโลกุตตรจิตเท่านั้น ที่วิรตีทั้ง ๓ จะเกิดร่วมกันได้ เพราะฉะนั้น ก็แสดงให้เห็นว่า ขณะอื่นซึ่งไม่ใช่โลกุตตระ วิรตีเจตสิกจะเกิดขึ้น เพียงหนึ่งอย่าง จะเกิดพร้อมกันทั้ง ๓ ไม่ได้ นี้เป็นเหตุหนึ่ง ซึ่งปัญญาของเรา เวลาที่สติสัมปชัญญะ ระลึกลักษณะของสภาพธรรมเราไม่สามารถ จะรู้ว่าขณะนั้น มีเจตสิกเกิดร่วมด้วยเท่าไร แต่ว่าอาศัยหลักที่ได้ทรงแสดงไว้ เพราะแม้แต่อาจารย์ในครั้งอดีต ก็ยังกล่าวไว้ว่า กรุณาก็ดี มุทิตาก็ดี ซึ่งต้องมีสัตว์บุคคลเป็นอารมณ์ เพราะฉะนั้น พรหมวิหาร ๔ จะไม่เกิดกับปัญจทวารวิถี นี่ก็คืออาจารย์บางท่านกล่าวไว้อย่างนี้ แต่ไม่ควรจะเห็นอย่างนั้น เพราะฉะนั้น ก็จะต้องมีพระอาจารย์ในอดีต ซึ่งท่านแสดงให้เห็นว่า มีความคิดเห็นอย่างนี้ แต่ว่าความคิดเห็นนั้นไม่ถูกต้อง มีอีกหลายตอน ที่เป็นอย่างนี้ เพราะฉะนั้น ต้องอาศัยการศึกษาอย่างกว้างขวาง ขึ้น และการพิจารณาละเอียดขึ้น เพราะฉะนั้น เวลาที่ปกติธรรมดา มีวิรตีเจตสิกเกิด แล้วแต่ว่าจะเป็น ๑ ใน ๓ แล้วสติสัมปชัญญะระลึก เราไม่สามารถที่จะรู้ความเกิดดับสืบต่อเนื่องกันอย่างรวดเร็ว ของปัญจทวารวิถี และมโนทวารวิถี และปัญจทวารวิถีอีก และมโนทวารวิถีอีก เพราะฉะนั้น ก็เป็นเรื่องซึ่ง ถ้าอาศัยคำที่ทรงแสดงไว้ว่า วิรตีปกติธรรมดา จะเกิดเพียงหนึ่งขณะนั้น เราก็น่าจะมีวิรตีเจตสิกเกิดพร้อมกับ มหากุศลจิต แม้ขณะที่สติปัฏฐานเกิดได้

    ฟังธรรมจากหัวข้อย่อย

    หมายเลข 99
    23 มี.ค. 2567