ปกิณณกธรรม ตอนที่ 411


    ข้อความนี้อยู่ระหว่างตรวจสอบแก้ไข

    ตอนที่ ๔๑๑

    สนทนาธรรม ระหว่างเดินทางไปนมัสการสังเวชนียสถาน ประเทศอินเดีย

    พ.ศ. ๒๕๔๒


    ท่านอาจารย์ เพราะเหตุว่าสภาพธรรม มีจริงๆ แต่ว่าปัญญาจะเจริญตามลำดับขั้น ข้ามขั้นไม่ได้แลย เพราะฉะนั้น ขณะนี้ ซึ่งไม่เคยระลึกมาก่อนเลย ว่ามีสภาพธรรมที่กำลังปรากฏจริงๆ ก็เริ่มที่จะมีการระลึกแทรกในขณะที่สภาพนั้นปรากฏ แม้สั้น สภาพธรรมปรากฏสั้นมาก มากจริงๆ เราไม่ต้องไปคิดว่าสภาพธรรมปรากฏสั้นมาก เพราะว่าเวลานี้ ไม่ว่า สิ่งที่ปรากฏทางตาก็ดับไปแล้ว ที่คิดก็ดับไปแล้ว ที่ปรากฏสั้นๆ อีกก็มากมาย แต่เวลาที่สติไม่ระลึก มีใครรู้ สภาวะลักษณะของสภาพธรรมบ้าง ทั้งๆ ที่ธรรม มีลักษณะ สะ ประกอบด้วยลักษณะ เมื่อเป็นของจริง ต้องมีลักษณะ ที่จะปรากฏให้เข้าใจ ให้ศึกษาลักษณะนั้นได้ เพราะฉะนั้น เวลาที่สภาพธรรม ขณะนี้ ก็มีลักษณะของสภาพธรรมทุกอย่างเลย สิ่งที่ปรากฏทางตาก็มีลักษณะ คือกำลังปรากฏ ให้เห็นจริงๆ อย่างนี้แหละ เสียงที่ปรากฏทางหู ก็มีสภาวะของเขา คือลักษณะที่ปรากฏ ให้ได้ยินเสียงต่างๆ เห็นไหมต่างๆ จริงๆ ต่างๆ จริงๆ ใครรู้ สภาพรู้ หรือธาตุรู้เกิดเพราะปัจจัย เพราะความไม่รู้ของเรา กว่าพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า จะทรงบำเพ็ญพระบารมี ลองคิดดู สภาพธรรม ซึ่งเกิดดับสืบต่อกันเร็วมาก แต่พระปัญญาคุณสามารถที่จะประจักษ์ ความจริงว่าแต่ละอย่างเป็นสภาวะลักษณะแต่ละอย่าง แล้วก็ปรากฏได้แต่ละทาง และอายุก็สั้นมาก ธรรมคือของจริง มีของจริงให้พิสูจน์ เพราะอะไร ทางตาก็ต้องดับด้วย สลับกันอย่างเร็ว เพราะว่าเหมือนเห็นด้วย ได้ยินด้วย ซึ่งมันเป็นไปไม่ได้เลย ที่เราคิดว่าเสียงยาว มันยาวไม่ได้ แน่ๆ แต่คิดถึงกำลังของปัญญาซึ่งจะเกิดตามลำดับจริงๆ ตั้งแต่เริ่มที่จะค่อยๆ เกิดระลึกได้ ว่าขณะนี้มีสภาพธรรม ที่มีลักษณะปรากฏให้รู้ ก็เริ่มจะเห็นความต่างกัน ของขณะที่หลงลืมสติกับขณะที่สติเกิด เพราะว่าวันหนึ่งๆ เราก็ได้ยิน พูดอะไรกันก็ตั้งมากมาย ตั้งแต่เช้า กลางวัน ปรึกษาหารือกันเรื่องเวสาลี เรื่องอะไรๆ มากมาย เวลาที่เสียงปรากฏ กับจิตอื่น ที่ไม่ใช่สติปัฏฐาน มีใครสามารถที่จะรู้สภาวะลักษณะของเสียงนั้น เท่ากับสติที่ระลึก ทั้งๆ ที่ก็เป็นเสียงธรรมดา ไม่ต่างกันเลย แต่วันนี้เราจำได้ไหมว่าเรากระทบสัมผัสอะไรบ้าง รับประทานอาหารเมื่อกี้นี้ ทั้งนาน ทั้งแกงถั่ว จำรสได้ไหมว่ารสอะไรบ้าง แต่เวลาที่สติปัฏฐานเกิด สภาวะลักษณะเขามี แล้วสติกำลังระลึก ลองคิดดูว่าขณะนั้น เขาไม่ได้คิดเรื่องแกงถั่ว เขาไม่คิดเรื่องสี เขาไม่ได้คิดเรื่องแป้งนาน ขาวๆ ดำๆ แต่มีลักษณะของธรรมที่ปรากฏ แล้วสติระลึก

    ในพระไตรปิฎก มีข้อความตรงเลย คือสภาพธรรมปรากฏกับสติ สภาวะลักษณะนั้นปรากฏ แต่ถ้าคนที่ไม่มีสติ ก็จับไปกินไปทานไป ทำไปอะไรก็แล้วแต่ แต่ว่าลักษณะไม่ปรากฏ ด้วยเหตุนี้การศึกษาธรรม เราถึงได้รู้จุดประสงค์ว่า เราศึกษาเพื่ออะไร แล้วก็มีลักษณะจริงๆ ให้เข้าใจได้ อย่างเวลาที่เราเข้าใจสภาพธรรม แล้วเกิดความติดข้องขึ้น ซึ่งก็มีแสนจะมากมายเหลือเกินในวันหนึ่งๆ มีใครรู้บ้างว่ามากแค่ไหน ถ้าสติปัฏฐาน ไม่เกิดไม่มีทางรู้เลย แต่เวลาที่สติเกิด ระลึกได้ ขณะนั้นเราจะค่อยๆ ศึกษาลักษณะของสภาพนั้น แล้วก็เวลาที่เราไปอ่านเจอตรงไหนว่า โลภมูลจิต ทิฏฐิคตวิปปยุต ขณะไหน ก็คือขณะซึ่งเราไม่ได้มีความเห็นผิดเกิดร่วมด้วย เพราะฉะนั้น เราศึกษาเข้าใจจากแต่สภาพธรรม พอไปอ่านชื่อไหน เราก็รู้ ว่าชื่อนั้นหมายความถึงตรงนั้นๆ ขณะนั้นๆ แต่ถ้าจะให้เราเรียนแบบตัวอย่างออกมา เราก็ได้แต่เพียงตัวอย่าง แต่พอเหตุการณ์จริงๆ รู้ไหม เหตุการณ์จริงๆ ทั้งโลภะทิฏฐิคตวิปปยุต อย่างนี้ รู้ไหม กี่ดวงรู้ไหม ก็ไม่รู้เลย

    เพราะฉะนั้น ก็เป็นเรื่องที่เราจะต้อง เข้าใจจุดประสงค์ แล้วเราถึงจะรู้ว่า ทรงแสดงธรรมเพื่ออะไร เป็นเรื่องที่เราจะต้อง เข้าใจจุดประสงค์ แล้วเราถึงจะรู้ว่าทรงแสดงธรรมเพื่ออะไร แล้วทำไมอย่างท่านพระสารีบุตร ท่านไม่ได้จำเลยว่า เจตสิกเกิดกับจิตกี่ดวง แต่ฟังธรรม จากท่านพระอัสสชิ ไม่ได้แสดงเรื่องนี้ แต่แสดงธรรม ตัวธรรม ลักษณะของธรรม ความเข้าใจที่ท่านสะสมมานานแสนนาน จนชิน จนรู้ว่าธรรม คืออย่างนี้ ไม่ต้องไปนั่งสงสัย ไปต้องไปนั่งคิดว่านี่ธรรมอะไร นามธรรมรูปธรรมอะไร แต่ความที่ท่านอบรมมาแล้ว เมื่อฟัง สามารถที่จะประจักษ์ลักษณะนั้นตลอด จนเป็นพระโสดาบัน

    ถ้าเราเข้าใจจริงๆ ถึงการเกิดดับของจิต ซึ่งเร็วแสนเร็ว เราจะไม่สงสัยเลย ว่า ขึ้นอยู่กับปัญญา อย่างเดียว แล้วปัญญาที่จะอบรม ก็ขึ้นอยู่กับกาลเวลาเท่านั้น เพราะว่าสภาพธรรมไม่เปลี่ยน เห็นอย่างนี้ กี่ภพกี่ชาติก็อย่างนี้ ต่อไปเห็นก็เกิดขึ้นทำหน้าที่ เห็นสิ่งที่กำลังปรากฏ อย่างนี้ ๒,๕๐๐ กว่าปีมาแล้ว ยังไมรู้ แต่ค่อยๆ รู้ขึ้น ถึงจะเข้าใจว่าการศึกษาทั้งหมด เพื่อจุดประสงค์อันนี้ แล้วเราก็จะมีปัจจัยที่จะทำให้รู้ว่า เท่านั้นไม่พอ เพียงเข้าใจเรื่องราวไม่พอ ยังไม่ได้ลิ้มรส เหมือนทัพพีที่อยู่ในหม้อแกง คนหม้อแกงไปกี่หม้อก็แล้วแต่ รสอะไรก็ไม่รู้ แกงจืด แกงเผ็ด อะไรก็ไม่รู้ทั้งนั้น แต่ว่าเราจะไม่ศึกษาอย่างนั้น เราศึกษาเพื่อที่ว่าจะเป็นปัจจัยให้มีการระลึกได้ ที่จะเข้าใจสภาพธรรม และรู้ว่าธรรมเป็นอนัตตา แล้วก็มีการเกิดขึ้น และดับไปจริงๆ แต่ต้องอบรมปัญญา และเป็นผู้ที่ตรงต่อตัวเองมากๆ ถึงจะไม่หลงทาง ไม่อย่างนั้นทางหลงมีมากเหลือเกิน

    ผู้ฟัง ฟัง ก็คิดว่าเข้าใจ แต่ไม่นานก็ลืม แล้วท่านอาจารย์ เคยบอกว่า เวลาเข้าใจแล้วจะไม่ลืม หรือจะเป็นเพราะว่า ความเข้าใจนั้น อ่อนแรงมาก

    ท่านอาจารย์ เข้าใจอะไร

    ผู้ฟัง อย่างเช่นท่านอาจารย์พูดถึงโลภะ ขณะที่กำลังรับประทานอาหารหรือ สภาพโทสะที่เป็นโทสะ ฟังแล้วเข้าใจ เข้าใจเรื่องราว

    ท่านอาจารย์ เข้าใจชื่อ จำชื่อ แม้แต่คำว่า ธรรม เราได้ยินบ่อย แต่ว่ามีความมั่นคงที่จะรู้ว่าทุกอย่าง ไม่เว้นเลย เป็นธรรม มีคำว่า เป็นธรรมแล้วยังไม่พออีกหรือ เป็นธรรมก็คือ ไม่ใช่เป็นสิ่งหนึ่ง สิ่งใด ที่เราเคยเข้าใจว่าเป็นสิ่งนั้น

    ผู้ฟัง เราก็คิดว่าเรามั่นคง

    ท่านอาจารย์ เราก็ข้ามไปเรื่อย ข้ามตรงนี้ไปมั่นคงตรงนี้ ข้ามตรงนี้ไปมั่นคงตรงนั้น แต่พื้นฐานของเรา อย่างคำว่า ธรรม อย่างที่กำลังพูดถึง เดี๋ยวนี้ เราได้ยินมาบ่อยมาก ทุกอย่างเป็นธรรม แต่เราจะเริ่มสะกิดใจไหมว่า ถ้าทุกอย่างเป็นธรรม ก็ไม่ใช่สิ่งที่เราเคยเห็นเป็นอย่างนั้น อย่างนี้ เราต้องเข้าใจคำนี้ละเอียดขึ้นไปอีก ลึกลงไปอีก อย่าบอกว่า ฟังไปแล้ว มันหายไปไหน มันยังไม่ถึงไหน มันก็จะต้องหาย แต่ว่าถ้าเราเข้าใจจรดกระดูก มันก็ไปไหนไม่ได้

    ผู้ฟัง จิตทุกดวงก็เป็นสภาวะ คือว่าเป็นสภาพธรรมที่มีลักษณะต่างๆ เฉพาะ

    ท่านอาจารย์ เป็นสภาวะธรรมทั้งหมด

    ผู้ฟัง เป็นสภาวะธรรมทั้งหมด รูปนี่มีทั้งหมด ๒๘ รูป แต่ไม่ใช่รูปทุกรูปที่เป็นสภาวะรูป

    ท่านอาจารย์ ถูกต้อง

    ผู้ฟัง รูปบางรูปก็เป็น อสภาวะรูป ซึ่งไม่ใช่รูปที่มีสภาวะต่างหาก

    ท่านอาจารย์ ไม่ใช่สภาวะจริง แต่มีไหม มีไหม

    ผู้ฟัง มี

    ท่านอาจารย์ เขาจะต้องต่อไปอีก ในเหตุในผลเรื่อยๆ เมื่อมีทรงแสดงไว้ ไม่ใช่ว่ามี แล้วไม่ทรงแสดง แต่ทรงแสดงโดยละเอียดว่ารูปไหนเป็น สภาวะรูป รูปไหน ไม่ใช่สภาวะรูป แต่เป็นปรมัตถธรรม ทั้ง ๒๘ รูป เพราะมีจริงๆ นี่การศึกษาเราก็ต้องเข้าใจละเอียดไป ละเอียดไปเรื่อยๆ

    วิทยากร. เมื่อครู่ ก็นักศึกษาเขาก็สนใจ เรื่องเจดีย์ที่เราบูชากัน ก็สงเคราะห์ เข้าเป็นบริโภคเจดีย์ คำว่าปริโภคะ ก็หมายความว่า สถานที่ที่พุทธองค์เคยใช้สอย รวมอย่างอื่นด้วย เช่น บาตร จีวร อะไร สถานที่นั้น ถ้าบรรจุบริขาร ๘ ของพระพุทธเจ้า เราก็เรียกว่า บริโภคเจดีย์ กำลังสนทนากันอย่างนี้ แต่ก็มีอีกเรื่องหนึ่ง เพราะว่า ปรารภว่าพระพุทธเจ้า ที่มาตรัสรู้ ที่โคนต้นโพธิ์ ๕ พระองค์ ตรัสรู้ไปแล้ว ๔ พระองค์ เหลืออีก ๑ พระองค์ ก็จะต้องมาตรัสรู้ที่ตรงนี้ ที่เดียวกัน ถือว่าต้นโพธิ์ เป็นศูนย์กลาง ทิศเบื้องหน้าเป็นทิศตะวันออก ทิศเบื้องหลังเป็นทิศตะวันตก ของต้นโพธิ์ ทิศเบื้องซ้ายเบื้องขวา แต่ว่ารัตนบัลลังก์ นี้จะตั้งอยู่ทางทิศตะวันออก หันหลังมาทางต้นโพธิ์ พระองค์ มีพระพักตร์ทางทิศตะวันออก รัตนบัลลังก์จะตั้งอยู่ตรงนี้เท่านั้น ทุกๆ พระองค์ ๕ พระองค์

    ผู้ฟัง ในเรื่องสติปัฏฐาน พระสูตร ๑ นี้ พระสารีบุตรก็ตอบปัญหาธรรม พระมหาโกฏฐิตะ เรื่องที่บรรลุมรรคผล พระมหาโกฏฐิตะ ก็ถามว่า ภิกษุ มีศีลก็ทำไว้ในใจอย่างไร จึงจะได้เป็นโสดาบัน พระสารีบุตร ก็ตอบว่า ต้องโยนิโสมนสิการ ในขันธ์ ๕ ว่า อนิจจัง เป็นต้น ขันธ์ ๕ นี้ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นโรค ตลอดถึง แล้วก็ได้เป็นโสดาบันบุคคล โดยมรรค ก็มีพระสูตรที่กล่าวถึง สติ เช่น ใน มหาสติปัฏฐาน ก็กล่าวถึงสติก็มีการละกิเลส เพราะฉะนั้น ธรรม ๒ นี้ เช่นกันอย่างไรแล้วก็มีลักษณะต่างกัน ผมก็ขอฟังธรรม เดี๋ยวนี้ ในเรื่องสติ และโยนิโสมนสิการ นี้

    ท่านอาจารย์ ก่อนอื่นก็ควรที่จะได้ทราบว่า ทำไม คุณบุตร สาวงษ์ ถามเรื่องนี้ นี้เป็นสิ่งที่สำคัญมากสำหรับการที่จะได้ฟังสิ่งหนึ่งสิ่งใด ก็ควรที่จะคิดอย่างถ่องแท้ เพื่อที่จะได้ประโยชน์ ว่าเพราะเหตุไร ทำไม และประโยชน์ อย่างไร ในการที่จะได้ฟังเรื่องนี้ ทุกคนอาจจะศึกษาธรรมามากแล้ว เรื่องจิต เรื่องเจตสิก เรื่องปริเฉทต่างๆ เรื่องปัจจัย เรื่องอะไร ทั้งหมดเพื่อประโยชน์อะไร อันนี้ก็เช่นเดียวกัน การศึกษาธรรมเพื่อที่จะรู้ว่าเป็น สิ่งเดียวที่จะทำให้เราสามารถที่จะเข้าใจความจริงว่า พระผู้มีพระภาค ทรงตรัสรู้อะไร นี้สำคัญมาก เพราะเหตุว่าเรานับถือพระองค์มาสำหรับคนไทยก็อาจจะเรียกได้ว่าตั้งแต่รู้ความ แต่ว่ายังไม่เข้าใจจริงๆ ตราบใดที่ยังไม่ศึกษาพระธรรม

    การที่เราจะพูดเรื่องธรรมอย่างหนึ่งอย่างใด ต้องทราบว่าเพื่อประโยชน์อะไร เพื่อที่จะให้สติเกิดเดี๋ยวนี้ หรือว่าเพื่อเข้าใจหนทางที่ปัญญาจะเจริญขึ้น อย่างถูกต้อง นี่เป็นสิ่งที่สำคัญมาก เพราะว่าการศึกษาธรรมด้วยโลภะ ก็ได้ พอศึกษาแล้วทุกคนอยากได้กุศล อยากมีกุศล อยากทำกุศล กับผู้ที่รู้ว่ากุศล เป็นสิ่งที่ดี ขณะใดที่จิตที่ดีงามเกิดขึ้น เป็นไปทางหนึ่งทางใด ขณะนั้นเป็นกุศล ไม่ใช่ว่าเราต้องการกุศล แต่รู้ว่าขณะนั้นจิตเป็นกุศล

    การศึกษาธรรม ก็เพื่อที่จะให้ เข้าใจสภาพธรรมตามความเป็นจริง เพราะว่าธรรมมีมากมายเหลือเกิน แล้วแต่ว่าเราจะกล่าวถึง ธรรมในหัวข้อไหน อย่างไร เช่น ถ้าจะกล่าวเรื่องของกุศล กับอกุศล การศึกษาเรื่องของกุศล และอกุศล ก็ทำให้เราสามารถ ที่จะรู้ได้ว่า ขณะนี้จิตเราเป็นกุศล หรืออกุศล เพราะว่าโดยมากอยากได้กุศล แต่ไม่รู้ว่าขณะนี้ เป็นกุศล หรือเปล่า

    การศึกษาธรรมต้องละเอียดมาก แม้แต่เรื่องสติก็ ไม่ใช่ต้องการให้เรามีสติเดี๋ยวนี้ หรือว่ามีสติมากๆ แต่สำคัญที่สุดคือ มีสัมมาทิฏฐิ ความเห็นที่ถูกต้อง ในการอบรมเจริญปัญญาที่ถูกต้อง เพื่อที่จะรู้สภาพธรรม ตามความเป็นจริงได้ สำคัญที่สุดคือหนทางที่จะไม่ทำให้เราหลงผิด หรือว่าเข้าใจผิด เพราะฉะนั้น ที่คุณบุตร สาวงษ์ ถามเรื่อง โยนิโสมนสิการ ก็ไม่ใช่ให้ใครทำ หรือพยายามจะทำ ไม่มีใครสามารถที่จะทำอะไรได้ แต่ค่อยๆ ฟังธรรมให้เกิดความเข้าใจ แม้แต่คำ เช่น โยนิโสมนสิการ อาจารย์สมพรท่านคงจะแปลให้ความหมายคำนี้ โยนิโสมนสิการ เพราะว่าการที่จะพูดคำใด โดยไม่รู้ว่าคืออะไร หรือหมายความว่าอะไร จะไม่ทำให้เรามีความเข้าใจที่ชัดเจน

    วิทยากร. โยนิโส เราก็แยกศัพท์ออก เพื่อจะได้จำง่าย เพราะว่าเวลาที่มันเกิดจริงๆ เราไม่ได้นึกถึงศัพท์ แต่นี้เราศึกษา เพื่อให้รู้ว่า โยนิโส แปลว่าโดยแยบคาย หรือแปลว่า โดยอุบายแยบคาย โยนิโส มีต่อศัพท์อีกเรียกว่า โยนิโสมนสิการ การกระทำไว้ในใจโดยแยบคาย แต่ขณะที่มันเกิดจริงๆ เราไม่ได้ นึกถึงบัญญัติ

    ท่านอาจารย์ คำแปล คือ กระทำไว้ในใจโดยแยบคาย ถ้าศึกษาอย่างนี้ก็มีเรา พอได้ยินว่าทำ เพราะเหตุว่าเราคุ้นเคยกับการที่จะถือสภาพธรรม ทั้งหมดว่าเป็นเรา พอได้ยินคำว่า ทำไว้ในใจโดยแยบคาย บางคนก็อยากจะทำ ทำได้ไหม คุณบุตร สาวงษ์ โยนิโสมนสิการ ทำได้ไหม

    ผู้ฟัง สภาพธรรม ทุกอย่าง ทำไม่ได้ แม้แต่ตนก็ไม่มี

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น ก็ต้องตรงต่อคำว่า อนัตตา แม้แต่ โยนิโสมนสิการจะเกิด หรือไม่เกิดแล้วแต่ว่าสะสมมา ที่จะทำให้ขณะนั้นมีสภาพธรรม ที่กระทำไว้ในใจโดยแยบคาย จึงเป็นกุศล แต่ไม่ใช่เราจะไปทำ โยนิโสมนสิการ แต่ขณะใดที่กุศลิจิตเกิด ขณะนั้นคือกระทำไว้ในใจโดยอุบายอันแยบคายแล้ว ไม่ใช่เราด้วย แต่เป็นสภาพของธรรม คือจิต และเจตสิก โดยเฉพาะสังขารขันธ์ ได้แก่เจตสิก ๕๐ ดวง กระทำไว้ในใจโดยแยบคาย จึงเป็นกุศล แม้แต่ในขณะที่กำลังฟัง เมื่อเห็นประโยชน์ ค่อยๆ พิจารณา ขณะนั้นก็ไม่ใช่คนหนึ่งคนใดเลย แต่เป็นสภาพธรรม ที่สะสมมา ที่จะพิจารณาที่จะเข้าใจ ในความเป็นอนัตตาของสภาพธรรม เพราะฉะนั้น ก็ไม่มีอะไรที่ยากแก่การที่จะเข้าใจ ถ้ารู้ว่า เป็นอนัตตา โยนิโสมนสิการ ขณะใดที่กุศลจิตเกิด เพราะขณะนั้นสภาพธรรมนั้น โยนิโสมนสิการ พิจารณาโดยแยบคาย โดยถูกต้องจึงเป็นกุศล

    ผู้ฟัง โยนิโสมนสิการนี้ก็ต้องทำให้มีสัมมาทิฏฐิ การเจริญกุศล เป็นสติปัฏฐาน มีโยนิโส ใช่ไหม

    ท่านอาจารย์ ขณะใดที่กุศลจิตเกิด ขณะนั้นเป็นโยนิโสมนสิการ จึงเป็นกุศล

    ผู้ฟัง การเรียนสติปัฏฐาน เป็นอย่างไร

    ท่านอาจารย์ โดยมากคนพูดคำว่า สติปัฏฐาน วิปัสสนา ด้วยความต้องการ ยังไม่ทันจะเข้าใจ จริงๆ ว่าสติปัฏฐาน คืออะไร ยังไม่เข้าใจแม้แต่ว่าขณะนี้ เป็นธรรม ถ้าไม่เข้าใจว่า ขณะนี้เป็นธรรม ก็ไม่มีประโยชน์เลยที่จะพูดเรื่องสติปัฏฐาน เพราะไม่เข้าใจ ต่อเมื่อใดที่เข้าใจว่า ธรรมคือทุกสิ่งทุกอย่าง ที่มีจริงในขณะนี้ ที่เกิดขึ้นกำลังปรากฏ เป็นธรรมทั้งหมด มี สภาวะลักษณะ คือลักษณะของภาวะของธรรมนั้น ให้รู้ว่าสิ่งนั้นเป็นอย่างนั้น คือสภาพที่เป็นรูปก็เป็นรูป สภาพที่เป็นนามก็เป็นนาม ไม่ใช่ว่าให้เราล่าช้า หรือว่าไม่ใช่ให้เราเร่งรีบ ทั้ง ๒ อย่าง ไม่ใช่พัก และไม่ใช่เพียร เพราะเหตุว่าถ้า พัก หมายความว่า รอไว้ก่อน ไม่จำเป็นที่จะต้องเข้าใจ ที่จะต้องรู้ ถ้าเร่งรีบ คือพยายามมากมายเหลือเกินด้วยความต้องการ ซึ่งทั้ง ๒ อย่างด้วยความเป็นตัวตน เพราะฉะนั้น จะต้องเข้าใจหนทางซึ่งแสดงไว้ ว่าเห็นยาก ที่จะรู้ว่า เป็นมรรค เป็นหนทางที่จะอบรมเจริญ เพราะลึกซึ้ง ไม่ใช่ว่าใครก็ตาม ที่ไม่รู้อะไรเลย แล้วก็จะเจริญสติปัฏฐาน เพียงได้รับคำบอกเล่าว่า เห็นเป็นนาม สิ่งที่ปรากฏทางตาเป็นรูป แต่ไม่ได้เข้าใจอะไร พูดตามได้ แต่ไม่เข้าใจ เพราะฉะนั้น เราก็คงจะไม่ต้องไปถึงในเรื่องของสติปัฏฐาน แต่ว่าเพิ่มความเข้าใจสภาพธรรมขึ้น ขณะใดที่เพิ่มความเข้าใจสภาพธรรมขึ้น นั่นคือปัจจัย เหตุที่จะทำให้สติปัฏฐานเกิด ระลึกรู้ลักษณะของสภาพธรรมได้ แต่ถ้าไม่มีความเข้าใจเพียงพอก็หวัง หรือว่ารอ หรือว่าต้องการสติปัฏฐาน ซึ่งก็เป็นเครื่องกั้น

    ผู้ฟัง มีการพูดกันเสมอว่า กิเลสทั้งหลายเป็นสิ่งที่ไม่ดี ควรละ โดยเฉพาะเรื่องของโลภะ แม้จะกล่าวว่า เป็นสมุทัย ผมก็มาพิจารณาว่า รู้เรื่องละด้วยการศึกษา แต่ถ้าจะละจริงๆ ต้องเป็นเรื่องของปัญญา แต่ว่าก่อนที่ปัญญาจะเกิดขึ้นแล้วก็ละ สิ่งที่มันเป็นกิเลส ก็ควรจะต้อง เป็นเรื่องของ รู้ถึงสิ่งที่ขณะนั้นกำลังปรากฏ แม้แต่เรื่องของโลภะที่ปรากฏก็ต้อง รู้ว่าขณะนั้น เป็นลักษณะของโลภะปรากฏ แล้วปัญญาเกิดขึ้น จึงจะพูดถึงเรื่องของการละได้ ถ้าจะละด้วยความเข้าใจจริงๆ คือ สติปัฏฐานเกิดระลึกรู้ลักษณะ มีปัญญาเกิดขึ้น การละก็คือค่อยๆ คลายทีละเล็กทีละน้อย อย่างนั้นใช่ไหม

    ท่านอาจารย์ ละ อะไรก่อน

    ผู้ฟัง ละความไม่รู้ก่อน

    ท่านอาจารย์ ละอะไรอีก

    ผู้ฟัง ละความเป็นตัวตน

    ท่านอาจารย์ ต้องตามลำดับจริงๆ

    ผู้ฟัง ก่อนจะเดินทางมาที่นี่ผมมีโอกาสที่ได้คุยกับท่านผู้ใหญ่ที่ฟังรายการธรรมของท่านอาจารย์ สุจินต์มา ๓๐ กว่าปีแล้ว ท่านก็พูดอย่างตรงๆ บอกว่า ดิฉันฟังธรรมของท่านอาจารย์สุจินต์มา ๓๐ กว่าปีแล้ว ดิฉันยังไม่ค่อยเข้าใจเลย แต่ก็ไม่เคยมีความคิดว่าจะเบื่อ หรือไม่อยากฟัง รู้ว่าเป็นสิ่งที่ยากมาก สติปัฏฐาน ฟังเรื่องสติปัฏฐาน สติปัฏฐานก็ไม่เกิด ผมก็บอกว่า เป็นความจริงทุกประการเลย

    คำว่า ปรมัตถธรรม ๔ ใช้คำว่า จิต เจตสิก รูปธรรมนามธรรม ใครเป็นผู้ที่จะกล่าวคำนี้ ถ้าไม่ใช่บุคคลที่ได้อบรมปัญญามา ๔ อสงไขยแสนกัป คำนี้จะไม่ปรากฏขึ้นมาในโลกเลย ผมก็บอกว่า เพราะฉะนั้น ความอดทนอันนี้เป็นสิ่งที่ถูกต้อง แต่ว่าถ้าใครจะรู้ ก็รู้ ถ้าใครไม่รู้ก็ไม่ต้องไปคิดว่า ทำไมเราฟังมา ๓๐ หรือว่าฟังมา ๒๐ แล้วทำไม เราไม่เกิด คือไม่เกิดก็ไม่เกิด ถ้าจะเกิด ใครจะไปห้ามก็ไม่ได้ ผมก็คุยไปตามที่พอจะเข้าใจ สำหรับท่านผู้นั้นท่านก็หัวเราะชอบใจ คือท่านก็บอกว่า เวลานี้จะให้ท่านพูด ท่านก็พูดไม่ได้ ถามว่าสติปัฏฐาน เกิดไหม ไม่เกิด แต่ไม่ท้อถอย ยังฟังธรรม ของท่านอาจารย์ ทุกวันนี้อยู่ อันนี้ก็กล่าวให้ในฐานะที่ว่าได้มีความเห็นของสหายธรรม

    ท่านอาจารย์ นี้ก็เป็นผลของการฟัง ที่ทำให้รู้ตัวเองตามความเป็นจริง เพราะว่าบางคนไม่ทราบ ไม่รู้ลักษณะของปัญญา ว่าถ้าเป็นปัญญาเจตสิกแล้ว ปัญญานั้นรู้อะไร และที่จะเป็นการรู้แจ้ง ที่เป็นอริยสัจ คือรู้ความจริงของอะไรก็ไม่ทราบ แต่เข้าใจว่าตัวเองรู้ก็มี เพราะฉะนั้น การฟังก็ทำให้รู้จักตัวเองว่ารู้ หรือไม่รู้อะไร

    ผู้ฟัง การระลึกรู้กับ บางครั้งเหมือนกับว่าเราระลึกรู้ แต่บางครั้งก็เหมือนกับว่าเป็นสัญญา ก็เลยไม่ทราบว่าตรงนี้ ความแตกต่าง

    ท่านอาจารย์ ความไม่รู้ก็คือความไม่รู้ ยังไม่รู้ก็ไม่รู้ สัญญาคือความจำ

    ผู้ฟัง คล้ายๆ มันเหมือนกับว่าเราเรียนรู้แล้วเราเหมือนกับว่าเราจำบัญญัติ อย่างนั้น

    ท่านอาจารย์ ถ้าความจริงเป็นอย่างนั้นก็ คืออย่างนั้น เปลี่ยนความจริงนั้นไม่ได้ เพราะฉะนั้น เป็นผู้ตรงต่อลักษณะของสภาพนั้น

    ผู้ฟัง ก็ต่างกัน ใช่ไหม ระลึกกับสัญญา

    ท่านอาจารย์ สัญญาคือการจำ ไม่ใช่การระลึก

    ฟังธรรมจากหัวข้อย่อย

    หมายเลข 99
    23 มี.ค. 2567