ปกิณณกธรรม ตอนที่ 395


    ข้อความนี้อยู่ระหว่างตรวจสอบแก้ไข

    ตอนที่ ๓๙๕

    สนทนาธรรม ที่ จ.เชียงใหม่

    พ.ศ. ๒๕๔๗


    ผู้ฟัง บัญญัติ คือสิ่งที่เราสร้างขึ้นมาเพื่อเรียกแทนสิ่งที่มีอยู่จริง

    ท่านอาจารย์ บัญญัติจริงๆ คือความคิดนึก เรื่องราว ชื่อต่างๆ คำต่างๆ

    ผู้ฟัง อย่างแข็งเป็นสภาพธรรม ที่มีอยู่จริง แต่เราก็ใช้คำว่าแข็ง เรียกสภาพธรรมนั้น

    ท่านอาจารย์ ในภาษาไทย จะใช้ภาษาอะไรได้หมด ที่จะให้เข้าใจว่าหมายความถึงลักษณะนั้น

    ผู้ฟัง แต่ว่าโต๊ะนี้ ไม่ใช่มีอยู่จริง แต่เรามีคำ เรียกว่า โต๊ะ

    ท่านอาจารย์ และอะไรจริง

    ผู้ฟัง สิ่งที่ปรากฏให้เราเห็นเป็นรูปร่างอย่างนี้เราเรียกว่า โต๊ะ

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น สิ่งที่มีจริงคืออะไร

    ผู้ฟัง สิ่งที่ปรากฏทางตา

    ท่านอาจารย์ มีจริง แล้วอะไรอีก

    ผู้ฟัง ถ้าเราสัมผัสโต๊ะเรารู้สึกว่าแข็ง ก็มีจริง

    ท่านอาจารย์ นั่นคือสิ่งที่มีจริง

    ผู้ฟัง แต่ว่าโต๊ะไม่มีจริง โต๊ะเป็นอารมณ์ของสติปัฏฐาน

    ท่านอาจารย์ โต๊ะเกิดเมื่อไร มีลักษณะอย่างไร

    ผู้ฟัง เมื่อเราคิด

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น เป็นจิตที่คิด ถ้าจิตไม่คิดโต๊ะไม่มี

    ผู้ฟัง แต่จิตที่คิดถึงโต๊ะ จิตนั้นก็เป็นอารมณ์ของสติปัฏฐาน ได้ ความคิดนั้น

    ท่านอาจารย์ ทุกอย่าง ถ้าสติปัฏฐาน ไม่รู้ว่าเป็นจิตที่คิด ก็ต้อง เป็นเราคิด

    ผู้ฟัง เพราะฉะนั้น ที่บอกว่าบัญญัติเป็นอารมณ์ของสติปัฏฐาน ไม่ได้ คือ

    ท่านอาจารย์ บัญญัติไม่มีสภาวะธรรม ไม่ใช่ธรรมที่เกิดดับ เพราะว่าอริยสัจ ๔ ทุกขลักษณะ ทุกขอริยสัจ ต้องเป็นสภาพธรรม ที่เกิดดับ ไม่มีบัญญัติเลย

    ผู้ฟัง บัญญัติจริงๆ ไม่มี

    ท่านอาจารย์ ถ้าจิตไม่คิด จะมีอะไร

    ผู้ฟัง คือ บัญญัติมีเมื่อจิตคิด เป็นบัญญัติ

    ท่านอาจารย์ เป็นอารมณ์ของจิตที่คิด

    ผู้ฟัง เป็นอารมณ์ของจิตที่คิด เพราะฉะนั้น ต้องรู้ว่าแม้คิด ก็คือ จิตที่คิดนั่นเอง ที่คิด เกิดแล้วดับ

    ผู้ฟัง ตรงนี้รู้สึกว่าเข้าใจยาก บัญญัติไม่มี

    ผู้ฟัง เรื่องที่ว่าคนชักชวนนั่น คืออะไร ไม่มีใคร ตรงนี้ เพราะท่านอาจารย์ เมตตาให้ตรงนี้ บงซึ้งตรงนี้จริงๆ เลย ที่ว่าไม่มีใครทุกอย่าง เราเข้าใจ แล้วเข้าใจเอง เพราะฉะนั้น ไม่มีคนชักจูง

    ผู้ฟัง ถ้าชักชวนไปในทางที่เป็นกุศล ไม่ดีหรือ

    ผู้ฟัง แต่ก็ไม่ใช่ว่าจะมีคน ในเมื่อ เรายังไม่มีแล้วคนอื่นจะมีได้อย่างไร ตรงนี้ต้องมั่นคง

    ผู้ฟัง เป็นสมมติว่ามีคน ชักชวน แต่ว่าจริงๆ แล้วก็ไม่มีคน

    วิทยากร.ประเด็นนี้ ผมก็นึกถึงพระสูตรเหตุการณ์ในครั้งพุทธกาล พวกพราหมณ์ เขาก็จะพูดต่อๆ กันว่า พระพุทธเจ้า มีมนต์ มีมายาเป็นเครื่องกลับใจ อย่าไปเฝ้าพระองค์ เพราะว่าถ้าไปเฝ้าแล้ว ก็จะนับถือพระองค์ ก็จะเลิก พวกพิธีพราหมณ์ พวกประเพณีของพราหมณ์ทั้งหลาย ก็จะเลิกกันหมด เพราะว่าเมื่อพระองค์ตรัสสอนแล้ว เป็น อนุสาสนียปาฏิหาร จะทำให้คนนั้นเข้าใจธรรม แล้วก็เป็นพระอริยบุคคล ซึ่งผู้ที่เข้าไปเฝ้าแล้ว ก็ได้รู้แจ้งธรรม แล้วก็ได้เปล่งความปลื้มปิติ ที่ได้ฟังธรรม มายาเครื่องกลับใจ หรือมนต์เครื่องกลับใจ นี้ดีนัก คือทำให้ท่านได้ดวงตาเห็นธรรม ได้หูตาสว่าง ได้รู้แจ้งความจริง ทำให้ละกิเลสได้เป็นลำดับขั้น นี้คืออนุสาสนียปาฏิหาร การแสดงธรรม พอฟังแล้วก็ทำให้คน คล้อยตามกับสิ่งที่เป็นจริง ผมหมายความอย่างนั้น คือเกิดความคล้อยตาม สิ่งที่ถูกต้อง

    ท่านอาจารย์ พูดสิ่งที่จริง

    ผู้ฟัง คล้อยตามความเป็นจริง

    ท่านอาจารย์ ไม่ได้บังคับไม่ได้ชวนอะไรทั้งสิ้น แต่พูดสิ่งที่จริง คิดเอง ฟังเอง พิจารณาเอง เข้าใจเอง

    ผู้ฟัง เมื่อกี้ได้ยินคำว่า สติปัฏฐาน ก็มีความสงสัย คำว่าสติปัฏฐาน แม้แต่ใน สติปัฏฐานสูตร ก็มีคำว่าสติปัฏฐาน แต่เราก็มีความเข้าใจว่า หนทางเดียวที่จะรู้แจ้งอริยสัจธรรมก็คือ มีนามธรรม กับ รูปธรรมซึ่งเป็น อารมณ์ของสติปัฏฐาน แต่ถ้าสมมติว่าเป็นสติ ซึ่งเป็นสติขั้นทาน ขั้นศีล หรือแม้แต่ ขั้นสมถภาวนาแล้ว สามารถใช้สติ ซึ่งเป็นขั้นทาน ขั้นศีล ขั้นเจริญสมถภาวนา ใช้คำว่า สติปัฏฐาน ได้ไหม

    ท่านอาจารย์ เวลาที่ให้ทานขณะนั้นรู้อะไร

    ผู้ฟัง ให้ทานก็คิดสงสารคนอื่น ก็คิดแต่จะให้

    ท่านอาจารย์ เป็นเราหรือว่าเป็นสภาพธรรม

    ผู้ฟัง ก็เป็นเรื่องราว

    ท่านอาจารย์ ขณะนั้นต้อง มีลักษณะของสภาพธรรมไม่เคย ขาดเลย ตลอดชีวิต แต่รู้ลักษณะอะไร ในขณะที่กำลังให้

    ผู้ฟัง สงสัยการใช้คำ การใช้คำว่าสติปัฏฐาน จะสามารถใช้คำว่าสติปัฏฐานของสติ ขั้นที่เป็นสมถภาวนา มีบัญญัติเป็นอารมณ์ได้

    ท่านอาจารย์ ไม่ได้ ใช้คำว่าสติสัมปชัญญะได้ ทั้งสมถะ และวิปัสสนา แต่ว่าใช้คำว่าสติปัฏฐาน กับสมถะ ไม่ได้ แต่ใช้คำว่า สติสัมปชัญญะ ได้ เพราะฉะนั้น สติสัมปชัญญะ มี ๒ ขั้น ขั้นสมถะกับขั้นวิปัสสนา แต่สติปัฏฐาน ต้องอย่างเดียว คือเป็นเรื่องที่จะทำให้รู้แจ้ง สภาพธรรมที่กำลังปรากฏ

    ผู้ฟัง ที่เราสนทนากันในเรื่องของการเจริญวิปัสสนาภาวนา ท่านอาจารย์ก็จะใช้ประจำ และใช้บ่อย เรื่องของสติสัมปชัญญะ ก็ไม่เกิด

    ท่านอาจารย์ ถ้าไม่มีสติสัมปชัญญะ จะรู้ลักษณะของสภาพธรรม ไม่ได้ สติสัมปชัญญะ ขั้นนั้นเป็นสติปัฏฐาน

    ผู้ฟัง ขั้นนั้นเป็นสติปัฏฐาน

    ท่านอาจารย์ เวลาพูดถึงเรื่องสติปัฏฐาน หรือว่าพูดถึงเรื่องวิปัสสนา หรือพูดถึงเรื่องการอบรมเจริญปัญญา ที่จะรู้แจ้งลักษณะของสภาพธรรม บางทีใช้คำว่าสติ แต่ต้องเข้าใจว่าหมายความถึงระดับขั้นสติปัฏฐาน อย่างหลงลืมสติ ไม่ได้หมายความว่าขณะนั้นไม่ใช่กุศลขั้นอื่น แต่หมายความว่าขณะนั้น แม้เป็นกุศลขั้นอื่น ก็ไม่ใช่สติปัฏฐาน ที่ใช้คำว่า หลงลืมสติ เพราะว่าหัวข้อของสูตรนั้น มหาสติปัฏฐานสูตร หรือว่า สติปัฏฐานสูตร ก็ตามแต่ พูดว่าหลงลืมสติ จะหมายความถึงสติอื่นไม่ได้

    ผู้ฟัง สรุปแล้วว่าขั้นทาน ขั้นศีล ขั้นสมถภาวนา จะใช้คำว่าสติปัฏฐานไม่ได้ ใช่ไหม

    ท่านอาจารย์ ขณะที่ให้รู้อะไร

    ผู้ฟัง ถ้าขณะที่ให้ รู้ลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ

    ท่านอาจารย์ เป็นสติปัฏฐาน

    ผู้ฟัง ขณะนั้นเป็นสติปัฏฐาน

    ท่านอาจารย์ สติปัฏฐาน จะเกิดเมื่อไร ได้หมด ขณะนั่งที่นี่ ขณะให้ทาน ขณะกำลังรับประทานอาหาร กำลังทำงาน กำลังโทรศัพท์ กำลังทำอะไรก็แล้วแต่ กำลังรู้ลักษณะ ขณะนั้นเป็นปรมัตถธรรม ขณะนั้นกำลังไม่ใส่ใจในนิมิตอนุพยัญชนะ เพราะกำลังเข้าใจถูกต้องว่า เป็นลักษณะของธรรมเท่านั้น

    ผู้ฟัง เจริญุศล อีกคำคือ ขัดเกลากิเลส ถ้าเราได้ศึกษาอย่างนี้ไป มัน คำว่า เจริญกุศล ขั้นทานก็เจริญกุศล ขั้นศีลก็เจริญกุศล สมถภาวนาก็เจริญกุศล วิปัสสนาภาวนาก็เจริญกุศล ทีนี้ขั้นสมถภาวนา และวิปัสสนาภาวนา นั้นก็เป็นการเจริญกุศลที่ประกอบด้วยปัญญา ที่ผมเข้าใจอย่างนั้น ทีนี้เมื่อฟังดูแล้วก็น่าใจหาย เหมือนกัน เมื่อลืมตา ก็เป็นอกุศล ถ้าไม่ใช่ขณะที่ให้ทานรักษาศีล หรือสมถภาวนา หรือวิปัสสนาภาวนา จิตเป็นอกุศล มันก็จะเป็นลักษณะที่ว่า น่าเป็นห่วง เพราะมันเต็มไปด้วยอกุศล เพราะขณะที่เราให้ทานก็น้อย โอกาสก็น้อย รักษาศีลมันก็น้อยอีก ไม่ใช่เรา

    ท่านอาจารย์ ถ้าห่วงก็ต้องฟังธรรมให้เข้าใจมากๆ

    ผู้ฟัง ทีนี้ปัญหาที่ผมจะเรียนถามต่อไปนี้ว่า ในการฟังธรรม เป็นกุศล มันจะขัดเกลาจิตของเรา ที่ว่ามันเป็นอกุศลตลอดเวลา ทีนี้การฟังธรรม จริงอยู่ เราไม่ใช่ว่าจะฟังได้ทั้งวันทั้งคืน บางทีขณะที่ฟังอาจจะได้แค่ ๑๐ นาที ๕ นาทีอันนี้ถือว่าเราได้เจริญกุศลแล้ว แต่ว่าไม่ใช่ว่าประกอบด้วยปัญญา อันนี้ผมเข้าใจอย่างนี้ถูกต้องไหม

    วิทยากร. ที่จริงก็มีหลายระดับที่ท่านอาจารย์ได้กล่าวแล้ว ซึ่งในการเจริญกุศลก็ ธรรมที่จะเป็นไปได้ ทุกกาล ที่มีโอกาส แต่สำหรับผู้ที่มีปกติเจริญสติปัฏฐาน ก็เจริญกุศลทุกประการ โดยไม่มีการเจาะจงที่จะเลือกหรือที่จะเว้น ตรงไหนๆ บ้าง ก็เมื่อไร สติเกิด ก็รู้ตรงนั้น คือถ้าท่านใดอ่านใน สติปัฏฐานสูตร ท่านจะกล่าวถึงว่าทางนี้เป็นทางเอก เพื่อความบริสุทธิ์ ของเหล่าสัตว์ทั้งหลาย เพื่อก้าวล่วง โสกปริเทว ทุกขโทมนัส แล้วก็เพื่อ รู้ญาญะธรรมเป็นต้น ท่านกล่าวไว้ใน สติปัฏฐานสูตร หรือ มหาสติปัฏฐานสูตร และท่านก็กล่าวว่า ภิกษุพิจารณาเห็นกายในกาย พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนา พิจารณาจิตในจิต พิจารณาเห็นธรรมในธรรม ข้อความมีใน สติปัฏฐานสูตร ท่านไปอ่านตรงนี้ก็อาจสงสัยก็ได้ มาฟังท่านอาจารย์บอกว่า รู้สภาพธรรม ที่ปรากฏ ก็อาจจะสงสัยว่า ไม่เหมือนกัน แต่จริงๆ แล้ว สภาพธรรม ที่ปรากฏ คือกาย เวทนา จิต ธรรม อย่างใดอย่างหนึ่งที่กำลังปรากฏนั่นเอง ไม่พ้นไปจากกาย เวทนา จิต ธรรม

    ผู้ฟัง มักจะได้ยินคำว่า มีปกติเจริญสติปัฏฐาน หมายความว่าอย่างไร ในเมื่อพวกเราโดยปกติ ก็หลงลืมสติ อยู่ ตลอดเวลา แล้วจะบอกว่าให้มีปกติเจริญสติปัฏฐาน นี้เป็นอย่างไร

    ท่านอาจารย์ ไม่ผิดปกติ เวลาที่สติปัฏฐาน เกิด ก็เป็นปกติ ไม่ไปทำอะไรขึ้นมาเลย ถ้าทำขึ้นมาก็คือไม่ใช่สติปัฏฐาน ไปเดินไปนั่งไปทำอะไรก็ตามแต่ ไม่ใช่ปกติก็ไม่ใช่สติปัฏฐาน

    ผู้ฟัง เพราะบางทีอ่านแล้วเราเข้าใจความหมายผิดไปเลย ว่าทุกขณะจะต้องพยายามเจริญสติ เพราะฉะนั้น ก็เลยเข้าใจถูกแล้วว่า มีปกติ คือเป็นปกติ เราเป็นอย่างไรก็เป็นอย่างนั้น

    ท่านอาจารย์ เป็นผู้ที่มีปกติ สติระลึกรู้ลักษณะของสภาพธรรมในขณะนั้น

    ผู้ฟัง ถ้าไม่ระลึกก็ไม่ระลึก

    ท่านอาจารย์ ก็เป็นผู้มีปกติ ปกติจริงๆ สติปัฏฐานจะเกิดก็รู้ลักษณะของสภาพธรรมในขณะนั้น

    ผู้ฟัง ถ้าไม่รู้ก็ผ่านไปด้วยความไม่รู้

    ท่านอาจารย์ ไม่รู้ก็เกิดแล้วดับแล้ว ก็เป็นไม่รู้ไป เวลาที่ธรรมไม่เกิดไม่ปรากฏ เราจะเข้าใจได้ไหม ไม่ว่าเราจะพูดเรื่องทาน เรื่องการขัดเกลาหรือเรื่องอะไร แต่ว่าตามความเป็นจริงของเรา ซึ่งเคยให้ทาน เราจะรู้ความต่างไหม ว่าการให้ของเราจะมีความต่างกันเมื่อมีปัญญา เกิดร่วมด้วย หรือว่า เมื่อมีความเข้าใจธรรมขึ้น การให้ทานของเราก็จะต่างกับขณะที่ ไม่มีความเข้าใจธรรม เพราะฉะนั้น ก็จะเห็นได้ว่าการให้ทานโดยที่ไม่มีความเข้าใจธรรม ก็เป็นอย่างหนึ่ง การให้ทานเมื่อมีความเข้าใจธรรมก็เป็นอีกอย่างหนึ่ง เพราะว่า ถึงแม้ว่าคนที่เข้าใจธรรมแล้ว ก็ไม่ได้หมายความว่าจะมีการให้ตลอดเวลา แต่เมื่อมีการให้อันเนื่องมาจากความเห็นถูก ความเข้าใจถูก เพราะว่าเขามีปัญญา เวลาที่ให้ เขาก็รู้เลยว่า แต่ละคน มีกรรมที่ได้กระทำแล้วเป็นเหตุ จะมีความทุกยาก มีความเดือดร้อน ขณะไหนเวลาไหนก็เพราะเหตุที่ได้กระทำมาแล้ว เพราะฉะนั้น ถ้าเขาสามารถที่จะช่วยได้ เขาก็ช่วยขณะนั้นก็ มีความเห็นที่ถูกต้องว่า คนนั้นเป็นอย่างนั้นเพราะอะไร แล้วก็ขณะที่ช่วยก็ไม่ได้หวังอะไรเลย ที่จะต้องการอนิสงส์ คือ มีสมบัติมากๆ หรือว่าจะไปเกิดบนสวรรค์หรืออะไรก็ไม่คิด แต่สภาพของจิตที่ให้ประกอบด้วยปัญญา ก็จะผ่องใส่กว่า ขณะใดที่ไม่เป็นไปกับโลภะ หรือความติดข้อง หรือความเป็นตัวตน ขณะนั้นก็เป็นการขัดเกลา แต่ว่าขัดเกลาจริงๆ ก็ต้องเป็นปัญญา เพราะว่าความเป็นตัวตนมีมาก ถ้าไม่มีความเข้าใจถูก แล้วก็มีแต่เพียงการให้ การให้ขณะนั้นก็ไม่สามารถที่จะรู้ได้ว่า แท้ที่จริงก็คือไม่ใช่เราที่กำลังให้

    ผู้ฟัง ถ้าเราไม่เข้าใจในสภาวะธรรม ในกรรมของบุคคลนั้น ที่ได้รับกรรมขณะนั้น ปัญญาที่พูด หมายถึง ต้องเข้าใจในสภาพธรรม ที่เกิดขึ้นนั้นคือปัญญา แต่ถ้าไม่มีปัญญาเราก็ไม่สามารถที่จะทำบุญกุศล ตรงนั้นด้วยปัญญาได้ ก็จะประกอบไปด้วย เกิดเป็นเห็น แล้วเกิดสภาพสงสาร หรือเกิดอะไรขึ้นมา ซึ่งเป็นสภาพที่เรียกว่า อาจจะเป็นทุกข์กับเราด้วยซ้ำไป ก็ได้

    ท่านอาจารย์ เวลาที่ใช้ภาษาไทยจะสับสน เวลาที่เห็นคนลำบาก เดือดร้อน แล้วสงสาร ขณะนั้นเป็นอะไร

    ผู้ฟัง เป็นโทสะ

    ท่านอาจารย์ ใช้ภาษาไทย สับสนแน่เลย กรุณาเป็นอะไร

    ผู้ฟัง เป็นเจตสิกที่ดี

    ท่านอาจารย์ กรุณาเจตสิกเกิดเมื่อไร

    ผู้ฟัง ไม่เกิด

    ท่านอาจารย์ ทำไมเดี๋ยวนี้ กรุณาไม่เกิด แล้วเมื่อไรกรุณาเกิด ถ้าเราบอกว่าสงสาร ขณะนั้น มีสภาพธรรม ที่เกิดดับสลับกัน ซึ่งต้องรู้ว่าขณะที่เป็นกุศล ไม่ใช่ขณะที่เป็นอกุศล ถ้าเรามีความเข้าใจ แล้วก็มีความเห็นใจในความทุกข์ของคนอื่น โดยที่จิตใจของเราไม่หวั่นไหว ไม่เดือดร้อน ขณะนั้นจึงจะเป็นกรุณา ต้องการที่จะให้เขาพ้นจากความทุกข์ เพราะฉะนั้น เวลาที่จะช่วยใครให้พ้นจากความทุกข์ อย่าให้ถึงกับเป็นโทมนัส เพราะเหตุว่าขณะนั้นที่โทมนัส เป็นอกุศล ก็ต้องแยก กรุณากับโทมนัส เพราะว่าโทมนัสเป็นเหตุใกล้ ใกล้ชิดมากกับกรุณา ถ้าไม่ศึกษาไม่เข้าใจ เราก็จะสงสารไป ร้องไห้ไป ก็ได้

    ผู้ฟัง ถ้าไม่เข้าใจในสภาพธรรม ที่อาจารย์พูด เราก็จะมีความโทมนัส มีความสงสารแบบนั้นมากกว่า กลับเป็นการสร้างอกุศลให้กับตัวเราเอง ใช่ไหมท่านอาจารย์ ในขณะที่ช่วยไป เราก็รู้สึก ส่วนมากก็จะเป็นแบบนั้น ถ้าเราเห็นผู้ใดที่กำลังได้รับความทุกข์ เราก็จะเข้าไป รู้สึกมีทุกข์กับเขาด้วย

    ท่านอาจารย์ ซึ่งที่จริงแล้ว เห็นใจได้ เข้าใจได้ช่วยได้ และก็เป็นอุเบกขาได้

    ผู้ฟัง มันไม่เป็น

    ท่านอาจารย์ เพราะไม่เข้าใจ แล้วจริงๆ แล้วไม่ได้สะสมมา แต่ถ้าคนที่สะสมมา เขาจะไม่หวั่นไหวเลย แล้วก็ยินดีที่ได้ช่วยคนนั้น จะมากจะน้อยให้เขาได้พ้นจากความทุกข์ ถ้าเศร้าหมองเมื่อไรก็คือ อกุศลเมื่อนั้น

    ผู้ฟัง อาจารย์ตรงนี้ จนกว่าใจจะไม่หวั่นไหว ตรงนี้ ก็คงจะอีกนาน

    ท่านอาจารย์ แล้วแต่การสะสม บางคนก็สะสมมาที่จะไม่หวั่นไหว ไม่ว่าจะเห็นอะไรก็คือรู้ว่า สิ่งนั้นก็คือ สภาพธรรมบ้าง หรือว่า สิ่งนั้นเกิดขึ้นเพราะมีกรรมที่ได้กระทำแล้ว เป็นเหตุบ้าง แล้วก็มีความรู้ มีความเข้าใจว่า ความเศร้าหมองไม่มีประโยชน์ อะไรเลย ธรรมฟังเพื่อให้เกิดความเข้าใจของเราเอง ไตร่ตรอง ตรึกตรอง แล้วก็ฟัง แล้วก็พิจารณา ถ้าปัญญาไม่เกิด แล้วก็จะถามคนอื่นว่าปัญญาหรือเปล่า อย่างนี้ คนอื่นจะตอบว่าอย่างไร

    ผู้ฟัง เป็นปัญญาแล้ว

    ท่านอาจารย์ แล้วใครจะรู้เล่า

    ผู้ฟัง ทราบว่า ความรู้สึก ว่าอยากช่วยเหลือคนอื่น แล้วก็ได้ช่วย เป็นปัญญาแล้วหรือยัง

    ท่านอาจารย์ พูดเป็นขณะ ขณะที่เข้าใจ และเห็นใจ เราจะไม่เบียดเบียน ประทุษร้ายคนนั้นเลย ถ้าสามารถจะช่วยได้ ความกรุณา ความเข้าใจ ความเห็นใจ ก็ทำให้เราช่วยคนนั้น จบแล้ว หมดแล้ว

    สนทนาธรรม ระหว่างเดินทางไป นมัสการ สังเวชนียสถาน ประเทศอินเดีย พ.ศ.๒๕๓๘

    ส. ทุกคนรอคอยอยู่เสมอ เพราะเหตุว่าเราจะรอคอยอย่างนั้นบ้าง อย่างนี้บ้าง แต่การรอคอยในวันอื่นๆ คงจะไม่เหมือนการรอคอยมาสู่ดินแดนของพระพุทธองค์ เพราะว่าเราได้มีโอกาสฟังพระธรรมมานาน แล้วแม้ว่าพระธรรมจะพูดถึงเรื่องตาที่เห็นตามธรรมดา แล้วก็หู การได้ยินตามธรรมดา ไม่ว่าจะเป็น ๒,๕๐๐ กว่าปี ณ ดินแดนนี้ ซึ่งพระผู้มีพระภาค ได้เสด็จแล้วก็ได้ทรงแสดงธรรม ในสถานที่ต่างๆ แต่เราก็ยังมีโอกาสได้ อาจจะใช้คำว่า กลับมา อีกครั้งหนึ่งจากอดีต ซึ่งก็คงจะมีการเคยได้ฟังพระธรรมมาบ้าง มิฉะนั้นแล้วก็คงจะไม่มีความสนใจถึงกับที่จะได้มา นมัสการ ถึงสถานที่ที่จะทำให้เราระลึกถึงพระรัตนไตร เพราะเหตุว่าการที่เราได้ยินได้ฟัง เรื่องของสภาพธรรม ก็แสดงให้เห็นว่าไม่ว่าเราจะอยู่ที่ไหนก็มีสภาพธรรม ก็จริง แต่ใครเป็นผู้ที่ให้แสงสว่าง คือความเข้าใจที่จะทำให้เรารู้ว่า ไม่ว่าเราอยู่ที่ไหน ก็เป็นธรรมทั้งหมด แม้แต่จะเห็นที่กรุงเทพ หรือเห็นที่กัลกัตตา หรือว่าเห็นที่เมืองอื่นๆ ก็ตาม แสดงให้เห็นว่า เราได้มีโอกาสโดยกุศลกรรมที่ได้กระทำแล้ว ทำให้เราทุกคน ได้มาสู่ดินแดนที่จะทำให้น้อมระลึกถึงพระคุณของพระรัตนไตร เพราะเหตุว่าถ้าไม่มีการตรัสรู้ของพระผู้มีพระภาค เราก็ไม่มีโอกาสที่จะเกิดปัญญาที่จะเข้าใจได้ ว่าทุกอย่างเป็นสภาพธรรม เพราะฉะนั้น สำหรับวันนี้ก็คงจะเป็นความสมหวัง ที่เรารอคอย และก็ต่อไปทุกๆ วัน เราก็คงจะมีโอกาสสนทนาธรรม สำหรับวันนี้ก็คงจะเริ่มได้ ไม่ทราบคุณนีน่ามีอะไรไหม

    ผู้ฟัง ดิฉันสนทนากับคุณบุษบง เรื่องการบูชา เรื่องสติปัฏฐาน ด้วย เรื่องหนังสือการบูชา เรื่องสติปัฏฐาน ที่คุณสุจินต์ อธิบาย ชัดเจนดี ให้คนเข้าใจได้ พิจารณาปริยัติ ปฏิบัติ คุณบุษบงบอกว่าต้องทุกครั้ง แล้วก็มีจริง เพราะว่าทั้ง ๒ อย่างสำคัญ

    ท่านอาจารย์ ขอเชิญคุณสุรีย์

    ผู้ฟัง ขออนุโมทนาท่าน ที่ท่านได้มีโอกาสมาแสวงบุญที่นี้ ที่ว่าคนเราได้ยินทางหู อันนี้ก็เป็นธรรม ที่ได้ยินทางหู คุณนีน่าก็อาจจะชิน ต่อ เมื่อจิตได้ยิน แล้วก็จิตนึก ถึงอาจารย์ เป็นบัญญัติ อันนี้เป็นบัญญัติ ไม่ใช่ปรมัตถแล้ว นึกถึงหน้าอาจารย์ได้ ถ้าได้ยินเสียง สัญญาก็ทำให้นึกถึงอาจารย์ แต่ว่าพอสิ่งที่ปรากฏทางตา คุณนีน่าไม่รู้แล้ว ทีนี้ก็จะเรียนถามอาจารย์ว่า อันนี้เป็นบัญญัติ หรือปรมัตถ

    ท่านอาจารย์ เรื่องของบัญญัติ ปรมัตถก็เป็นเรื่องที่จะต้องทราบว่า สำหรับสภาพธรรม ที่มีจริงๆ มีลักษณะปรากฏ เป็นปรมัตถธรรม ได้แก่สภาพธรรม ที่เป็นจิต เจตสิก รูป นิพพาน ๔ อย่างเท่านั้น นอกจากนี้แล้วเป็นบัญญัติ เพราะฉะนั้น เราก็สามารถที่จะรู้ตายตัวได้ ว่า ปรมัตถธรรม มี ๔ คือ จิต เป็นธรรมชาติอย่างหนึ่ง ซึ่งเป็นใหญ่เป็นประธาน ในการรู้ ไม่ใช่เจตสิก ไม่ใช่รูป ไม่ใช่นิพพาน ส่วนเจตสิกก็เป็นสภาพธรรม อีกอย่างหนึ่ง ซึ่งไม่ใช่จิต ไม่ใช่รูป และก็ไม่ใช่นิพพานด้วย รูปก็เป็นสภาพธรรม ที่ไม่รู้อะไรเลย เพราะฉะนั้น ไม่ใช่จิต ไม่ใช่เจตสิก ไม่ใช่นิพพาน รูปเกิดขึ้น แต่รูปไม่รู้อะไร ส่วนนิพพานก็เป็นสภาพธรรม ที่ต่างจากจิต เจตสิก รูป เพราะเหตุว่าไม่ใช่สภาพธรรม ที่เกิดขึ้น เพราะฉะนั้น อะไรก็ตามที่ไม่ใช่จิต เจตสิก รูป นิพพานแล้ว เป็นบัญญัติ

    ผู้ฟัง พอดีคุณนีน่าได้ฟังเทป หรือว่าไปอ่านหนังสือจากที่ได้มีการสนทนาธรรมกันที่บ้านคุณพี่หญิง นพรัตน์ ผมได้มีโอกาสได้เริ่มต้นบอกว่า เมื่อพูดถึง ความตาย ทุกคนก็ต้องมีความกลัว ทีนี้ กลัวความตายจริงๆ แล้วกลัวอะไร ได้อธิบายไปตามความเข้าใจว่า น่าจะเป็นการกลัวความพลัดพราก จากความเป็นบุคคลที่รักในครอบครัว หรือว่าไม่อยากให้คนที่เรารักต้องพลัดพรากไป แต่ว่าได้พูดบอกว่า ถ้าสมมติว่า คนที่ไม่มีความกลัวเลยหมายความว่าจะต้องเป็นบุคคล ๑ เช่น พระอรหันต์ ๒ ช้างศึก ๓ ม้าออกศึกอะไรทำนองนั้น ซึ่งคุณนีน่าก็บอกว่า อันนี้เป็นสิ่งที่ดี ฟังแล้วก็ รู้สึกว่าพอใจมาก แต่ความจริงผมเอง ผมก็คิด ว่า ทุกวันนี้ ถึงแม้ว่าจะได้เคยพูดเรื่องนี้ไปแล้ว แต่ว่าความกลัวตายก็ยังมีอยู่ไม่ได้น้อยลงไปเลย แล้วมันก็คิด อยู่ว่า ความจริงถ้าหากว่าเราจะตายเดั่ยวนี้ ถ้าจิตเราเศร้าหมอง มันก็หมดโอกาสที่จะได้ไปสู่ภพภูมิที่ดี ก็ห่วงไปอีก แต่ว่าอย่างไรก็ตาม คือสิ่งที่มันยังเป็นความรักตัวตนทำให้เกิดความรู้สึกว่า ยังไม่อยากตายในช่วงนี้ ทั้งๆ ที่จะตายก็ได้ หรือไม่ตายก็ได้ อันนี้ไม่ทราบว่าท่านอาจารย์จะมีความคิดเห็นอย่างไร พอที่จะเป็นคำแนะนำ ที่เป็นประโยชน์ต่อไป สำหรับเรื่องนี้ก่อน

    ท่านอาจารย์ ถ้าปัญญายังไม่มากพอ เราก็ไม่สามารถที่จะรู้ได้ว่าเรานี้ กลัวตายแค่ไหน แต่ว่าเราเอง เราไม่รู้เลยว่า เราจะตายเมื่อไร การกลัวตายมันก็ไม่มีประโยชน์ คิดจริงๆ แล้วเราจะกลัวทำไมในเมื่อเราไม่รู้ว่าเราจะตายเมื่อไร คือเรามีหลายวิธีที่จะคิดในสิ่งที่เป็นประโยชน์ ถ้าคิดแล้วเป็นอกุศล เป็นความโทมนัส เป็นความหวาดกลัวแล้วเราก็รู้ว่าเราไม่ได้ตาย และไปกลัวมันก็เสียเวลาปล่าๆ เพราะเราไม่รู้จริงๆ ว่าเราจะตายเมื่อไร ถ้าเป็นผู้ที่ระลึกลักษณะของสภาพธรรม แล้วก็อบรมเจริญปัญญาค่อยๆ เข้าใจขึ้น เวลาที่เข้าใจสภาพธรรม เราจะรู้เลย ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน ธรรมก็คือธรรม จะรู้โลกนี้ ธรรมคือธรรม จะอยู่โลกหน้า ธรรมคือธรรม

    ฟังธรรมจากหัวข้อย่อย

    หมายเลข 99
    23 มี.ค. 2567