ปกิณณกธรรม ตอนที่ 391


    ข้อความนี้อยู่ระหว่างตรวจสอบแก้ไข

    ตอนที่ ๓๙๑

    สนทนาธรรม ที่ จ.เชียงใหม่

    พ.ศ. ๒๕๔๗


    ท่านอาจารย์ เพราะว่าปกติ จะเป็นสิ่งหนึ่ง สิ่งใดอยู่เสมอ อย่างเสียง กำลังปรากฏ เรารู้โดยการที่ฟังมาว่า ที่เสียงจะปรากฏได้ ก็เพราะเหตุว่า มีสภาพได้ยินเสียง ขณะนั้นกำลังมีได้ยิน แต่ก็ไม่เคยรู้ว่าลักษณะนั้น เป็นธรรม เพราะฉะนั้น ทั้งหมดที่มีจริงๆ เพื่อให้รู้ว่าเป็นธรรม เพื่อให้เข้าถึงสภาวะธรรมที่เป็นธรรม ลักษณะเดิมเหมือนเดิมทุกอย่างไม่เปลี่ยน แต่ให้เข้าใจถูกต้องว่าเป็นธรรม

    ผู้ฟัง ตอนนี้อาจารย์อธิบาย เข้าใจ เป็นเพียงสภาพธรรม ที่ปรากฏ มีเสียงกับการได้ยิน อันนี้คือจากการฟัง สิ่งที่ปรากฏจริงๆ เมื่อเสียงปรากฏ มันรวดเร็วมาก ไม่ว่าจะเป็นทางตา เห็น หรือเสียงเกิดขึ้นทางหู แล้วก็เกิดความนึกคิด หรือจะคิดเรื่องอะไรก็แล้วแต่เต็มไปด้วยความคิด ก็ทำให้เกิดการหลงลืมสติว่า ไม่คิดว่าเป็นธรรม เป็นว่าเป็นตัวเรา ที่ได้ยินเสียง มันจะเป็นลักษณะอย่างนี้ ทีนี้ว่าจะฟังให้มันจรดกระดูก ที่อาจารย์เคยกล่าวอย่างนั้น ก็ไม่ทราบว่าจะฟังอย่างไรต่อไป

    ท่านอาจารย์ ฟังให้เข้าใจขึ้นๆ จนกว่าสติสัมปชัญญะ จะเกิด ถึงเกิดแล้วก็ยังฟังต่อไปอีก

    ผู้ฟัง เกิดก็ฟังต่อ

    ผู้ฟัง ขออนุญาตเรียนถามท่านอาจารย์ สมมติว่าเราไปอ่านหนังสือมาเล่มหนึ่ง อย่างปรมัตถธรรมสังเขป ที่ของอาจารย์ ในการอ่านทำให้เราเข้าใจในเรื่องของบัญญัติ ทำให้เราเข้าใจเรื่องของปรมัตถ แล้วในปรมัตถแบ่งออกเป็นจิต เจตสิก รูป ในหนังสือก็จะเขียนไว้ว่า จิต มีกี่ประเภท เจตสิก ได้แก่อะไรบ้าง เช่น สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ จิต เป็นวิญญาณขันธ์ รูปเป็นสภาพที่ไม่รู้ คือในสิ่งที่อ่านมา แล้วเคยฟังอาจารย์มาบ้าง ในเทป เราจะเอาสิ่งเหล่านี้มาประมวลกับความคิดอย่างไร ในการที่เราจะเข้าใจสภาพธรรม ได้ดียิ่งขึ้น เพราะผมคิดว่า อ่านไปอ่านมา บางครั้งมันเหมือนกับว่า เราท่องเจตสิกมีอยู่ ๕๒ ดวง เป็นสังขารขันธ์ ๕๐ ดวง ผมก็ยังประมวลตัวเอง ไม่ออกว่า สิ่งที่ศึกษาจะให้เราเข้าใจสภาพธรรมนั้น อย่างไร แล้วก็สติปัฏฐาน จะเกิดอย่างไร

    ท่านอาจารย์ ปรมัตถธรรมสังเขปก็สังเขปจริงๆ คือเป็นแต่เพียงหัวข้อ ซึ่งแต่ละคำที่เราได้ยินได้ฟังหรือเราอ่าน ไม่ว่าจะในหนังสือเล่มนั้นหรือที่อื่นก็ตามแต่ ต้องคิด พิจารณาไตร่ตรอง จนกระทั่งเป็นความเข้าใจอีกระดับหนึ่ง เพราะเหตุว่าใครที่อ่านได้ ธัม-มะ คือ ธรรมก็อ่านได้ แต่ว่าคำนั้นหมายความถึงอะไร เพราะฉะนั้น ขณะนี้ที่กล่าวว่า สิ่งที่มีจริงๆ มี กำลังปรากฏด้วย ลักษณะนั้นเป็นธรรมหรือเปล่า ถ้าบอกว่า ประโยคที่ว่า ทุกสิ่งเป็นธรรม แค่นี้ แล้วนี่เป็นธรรมหรือเปล่า แล้วนั่นเป็นธรรมหรือเปล่า ความรู้สึกเป็นธรรมหรือเปล่า ความโกรธ เป็นธรรมหรือเปล่า คือสิ่งที่ เพียงแค่ประโยคเดียว แต่ความเข้าใจของเราจากประโยคนั้นทั่วถึงไหม ว่าคิดก็เป็นธรรมหรือเปล่า แล้วในเมื่อสภาพที่มีจริง ก็เป็นนามธรรมกับรูปธรรม แต่นามธรรมก็ยังมี ๒ อย่าง คือ จิตกับเจตสิก ในขณะนี้ อะไรเป็นจิต สิ่งที่กำลังมีปรากฏ คือไม่ใช่เพียงให้อยู่แต่เพียงในหนังสือ แต่ว่าเป็นชีวิตจริง หนังสือกล่าวถึง สิ่งที่มีจริงเพื่อที่จะให้เราเข้าใจสิ่งที่มีจริง จิตกำลังรู้อะไรเดี๋ยวนี้

    ผู้ฟัง จิตก็ รับรู้สภาพที่ปรากฏ

    ท่านอาจารย์ สภาพรู้ เพราะฉะนั้น ทางตาที่กำลังเห็น เป็นจิต แล้วก็ทรงแสดงไว้ว่าขณะใด ที่จิตเกิดต้องมีเจตสิกเกิดร่วมด้วย เพราะฉะนั้น ขณะนี้เจตสิกไม่ได้ปรากฏ แต่รู้ว่ามีจากการศึกษา จนกว่าลักษณะใดปรากฏ กับสติสัมปชัญญะ ที่กล่าวอย่างนี้ เพราะเหตุว่า สภาพธรรม เกิดดับเร็วมาก ถ้าสติสัมปชัญญะ ไม่เกิด แม้กายวิญญาณรู้แข็งก็ดับแล้ว จักขุวิญญาณเห็นสีก็ดับแล้ว โสตวิญญาณได้ยินเสียงก็ดับแล้ว รูปที่ปรากฏก็ดับแล้ว ทุกอย่างดับหมด แต่ว่าเวลาที่สติสัมปชัญญะเกิด จะตามรู้สิ่งที่กำลังปรากฏนั่นแหละ ด้วยความเข้าใจในสิ่งนั้น

    ผู้ฟัง รู้ตามความเป็นจริง

    ท่านอาจารย์ เข้าใจในสิ่งนั้นไม่ใช่ในสิ่งอื่น ในสิ่งที่ปรากฏนั้นเอง ในขณะนั้นเองด้วย เพราะฉะนั้น จึงต้องมีการสนทนาธรรมด้วย มีการฟัง มีการไตร่ตรอง จนกว่าจะเป็นความเข้าใจว่า ทั้งหมดที่เราได้ยินได้ฟัง คือเดี๋ยวนี้เอง จริงๆ ทั้งจิต ทั้งเจตสิก รูป

    ผู้ฟัง คือ ณ ขณะจิตตรงนั้นเอง ใช่ไหม

    ท่านอาจารย์ จากความรู้ที่อ่านหรือฟังก็จะรู้ว่าเป็นเรื่องของ สิ่งที่มีจริงในชีวิตประจำวัน มีลักษณะที่สามารถจะรู้ได้ เข้าใจได้ จากการที่ไม่เคยรู้เลย ก็ไม่ใช่รู้เพียงจากอ่าน และจำ ว่าเจตสิก มี ๕๒ จิตมีเท่าไร แต่ว่าขณะนี้มีจิต เป็นจิตอะไรประเภทไหน ที่เราอ่านแล้ว คือ อ่านแล้วเข้าใจสิ่งที่กำลังมี ไม่ใช่เพียงอ่านแล้ว เข้าใจคำ ในหนังสือ แต่รู้ว่าคำนั้นมุ่งหมายถึงสภาพธรรมใด แล้วสภาพธรรมนั้นก็มีตลอดชีวิต เพราะฉะนั้น อ่านเพื่อให้เข้าใจสิ่งที่มีให้ถูกต้อง

    ผู้ฟัง อ่านเพื่อให้เข้าใจสิ่งที่มีให้ถูกต้อง

    ผู้ฟัง ก็ยังไม่ประจักษ์ชัด

    ท่านอาจารย์ เพราะเมื่อฟังนิดหน่อย จะประจักษ์ทันทีได้ไหม

    ถ. ก็คงไม่ได้

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น จะทำอย่างไร ถ้ายังไม่เข้าใจ

    ผู้ฟัง ก็ต้องฟังไปอีก

    ท่านอาจารย์ จนกว่าจะเข้าใจขึ้น

    ผู้ฟัง ศึกษาในอรรถ ว่าคำนี้เป็นบาลี ก็ไปถามว่า ถ้าแปลเป็นภาษาไทย คำนี้แปลว่าอย่างไร ถ้าคนที่รู้ภาษาบาลีก็ว่า แปลเป็นไทยว่า อย่างนั้น ก็เอามาเชื่อมกันหมายถึงอย่างนั้น ก็เข้าใจ เวลาที่สภาพทางตากำลังเกิดขึ้น ให้เราพิจารณาสภาพธรรมทางตาอย่างเดียว ทางเสียงไม่ต้องไปสนใจ ใช่ไหม

    ท่านอาจารย์ ไม่ใช่ ขณะนี้เห็นไหม

    ผู้ฟัง เห็น

    ท่านอาจารย์ ได้ยินหรือเปล่า

    ผู้ฟัง ได้ยินด้วย

    ท่านอาจารย์ คิดนึกไหม มีอ่อนมีแข็งไหม พัดลมเย็นไหม แล้ว แต่สติสัมปชัญญะ จะเกิดหรือไม่เกิด ถ้าเกิด แล้วแต่สติสัมปชัญญะ จะรู้อะไร

    ผู้ฟัง ก็รู้สิ่งที่อาจารย์ว่า จิต เจตสิก รูป รู้แค่นั้น หรือสังสารวัฏ ที่อาจารย์เคยบอก

    ท่านอาจารย์ ถ้าขณะนี้สติสัมปชัญญะ จะเกิด เข้าใจสิ่งที่กำลังเห็น ว่าเป็นเพียงสิ่งที่ปรากฏเท่านั้น ถ้าจะเข้าใจเสียง คือ เสียงก็เป็นเพียงลักษณะที่ปรากฏเท่านั้น คิดนึกก็เป็นลักษณะหนึ่งที่กำลังคิดเท่านั้น

    ผู้ฟัง แล้วไม่ต้องไปปรุ่งแต่ง ใช่ไหม

    ส. ไม่มีใครจะไปทำอะไรได้เลย จะไปปรุงแต่งก็ไม่ได้

    ผู้ฟัง เพียงแต่รับรู้ อย่างเดียว

    ท่านอาจารย์ ค่อยๆ เข้าใจขึ้น

    ผู้ฟัง เข้าใจอย่างเดียว

    ท่านอาจารย์ ค่อยๆ เห็นนี้เข้าใจทันทีได้ไหม พอระลึกเมื่อไรก็เข้าใจมานิดหนึ่งว่า เป็น เพียงสิ่งที่ปรากฏเท่านั้นเอง

    ผู้ฟัง พอเห็น มันก็คิดไปเป็นชื่อ

    ท่านอาจารย์ เวลาคิดก็คิดเท่านั้นเอง รู้ในขณะที่คิด ไม่ใช่ไปท่องว่า คิดเท่านั้นเอง รู้ลักษณะที่คิดซึ่งต่างกับลักษณะที่เห็น ต่างกับลักษณะของสิ่งที่ปรากฏ ถ้ารู้จริงๆ คือวันหนึ่งไม่มีอะไรเลย นอกจากสภาพธรรม ลักษณะต่างๆ เท่านั้น ไม่มีคนไม่มีสัตว์ เท่านั้นคือไม่มีคนไม่มีสัตว์ ไม่มีเรื่องราวอะไร

    ผู้ฟัง แล้วตอนนั้นเอาสติ

    ท่านอาจารย์ เคยคิดว่าเราจะเอาสติ ทิ้งไปเลย ใครก็เอาสติมาไม่ได้ ถ้าสติไม่เกิด จะไปเอาสติที่ไหนมา สติก็เกิดแล้วก็ดับแล้ว ก็เอาไปไม่ได้อีก

    ผู้ฟัง เราจะต้องพิจารณาธรรมอย่างหนึ่ง อย่างใดตลอดไปเรื่อยๆ อย่างนี้ ใช่ไหม

    ท่านอาจารย์ เข้าใจ เมื่อสติมีการรู้ลักษณะของสิ่งนั้น

    ผู้ฟัง ทางเสียงก็เข้าใจทางเสียง

    ท่านอาจารย์ ถูกต้อง

    ผู้ฟัง ทางกลิ่นก็เข้าใจทางกลิ่น

    ท่านอาจารย์ ใช่

    ผู้ฟัง มันจะสลับกันอย่างนี้เรื่อยๆ ใช่ไหม

    ท่านอาจารย์ ถ้าสติไม่เกิด ก็ไม่เข้าใจ

    ผู้ฟัง ถ้าไปมีอารมณ์ร่วมดีใจเสียใจ ก็ไม่ต้องไปมี เพียงแต่ให้

    ท่านอาจารย์ อารมณ์ร่วมคืออะไร

    ผู้ฟัง คือมันเห็น ส่วนมากปุถุชนถ้าเห็นแล้วก็

    ท่านอาจารย์ ต้องเข้าใจโดยการฟังว่า เห็นเป็นขณะนี้ที่กำลังเห็นเท่านั้น ไม่ใช่ขณะที่คิด

    ผู้ฟัง อันนั้นคือ ความถูกต้องแต่ส่วนมากมันจะไม่อย่างนั้น ไปเจอคนที่ถูกใจ

    ท่านอาจารย์ คนละขณะ ต้องรู้ว่า คนละขณะ

    ผู้ฟัง ไม่ถูกใจก็ไม่ชอบ คนที่ชอบใจก็ว่า คนนั้นชอบ

    ท่านอาจารย์ คนละขณะ คนละลักษณะ ลักษณะต่างๆ กัน

    ผู้ฟัง การนั่งทำ เวลาก่อนนอน เวลาไหว้พระ สมาทานศีลแล้วก็สมควรจะต้องทำไหม คำว่า พุทโธ พุทโธ ให้อารมณ์นิ่งไปชั่วขณะหนึ่ง ก่อนนอน

    ท่านอาจารย์ แล้วเข้าใจอะไรตรงนั้น

    ผู้ฟัง ก็ไม่เข้าใจอะไร

    ท่านอาจารย์ ถ้าไม่เข้าใจอะไร แล้ว จะไปนั่งนิ่งๆ ทำไม

    ผู้ฟัง คือต้องการให้อารมณ์เป็นหนึ่งเดียว

    ท่านอาจารย์ นั้นคือโลภะ โลภะ ไม่เข้าใจอะไรทั้งสิ้นแต่ ต้องการ

    ผู้ฟัง ควรจะทำอย่างไรครับก่อนนอน

    ท่านอาจารย์ ควรจะเข้าใจหรือไม่เข้าใจ

    ผู้ฟัง แทนที่เราจะไปนั่งสมาธิ เราก็น้อมระลึกถึงสติปัฏฐาน ก่อนนอน หลับไปแค่ไหนก็หลับไปแค่นั้น ทำอย่างนั้น

    ท่านอาจารย์ พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงตรัสรู้แล้ว มีคนไปเฝ้าพระพุทธเจ้า คนที่ไปเฝ้า ทำอะไร

    ผู้ฟัง ก็ไปทูลถาม

    ท่านอาจารย์ เพื่ออะไร

    ผู้ฟัง เพื่อความเข้าใจ

    ท่านอาจารย์ พระพุทธเจ้า บอกให้นั่งนิ่งๆ เป็นหนึ่งหรือเปล่า หรือว่าแสดงธรรมให้เขา เข้าใจ

    ผู้ฟัง ในพระไตรปิฎก ก็บอกว่าแสดงธรรมให้เข้าใจ

    ท่านอาจารย์ อะไรประเสริฐที่สุดในชาตินี้ ที่เกิดมาเป็นมนุษย์

    ผู้ฟัง พระธรรม

    ท่านอาจารย์ เข้าใจพระธรรม เข้าใจสภาพธรรม

    ผู้ฟัง วันละเล็กวันละน้อย

    ท่านอาจารย์ อะไรก็ตามที่จะทำให้เข้าใจ ก็ใส่ใจอบรม มีการฟัง มีการพิจารณาให้เข้าใจขึ้น

    ผู้ฟัง แต่ส่วนมากวันวันหนึ่ง จะหลงลืมสติเป็นส่วนมาก เพราะสิ่งแวดล้อม พออารมณ์ แล่นไปกับสิ่งแวดล้อม

    ท่านอาจารย์ อกุศล เป็นธรรมหรือเปล่า

    ผู้ฟัง ป็นธรรมเหมือนกันแต่เป็นฝ่ายไม่ดี

    ท่านอาจารย์ บังคับได้ไหม

    ผู้ฟัง ไม่ได้ เกิดขึ้นเอง

    ท่านอาจารย์ แล้วถ้าไม่มีปัญญา อกุศลจะค่อยๆ ลดลงไปได้หรือเปล่า

    ผู้ฟัง ถ้าไม่มีปัญญา คงจะลดไม่ได้

    ท่านอาจารย์ เมื่อปัญญาเกิด ก็ละความไม่รู้ ละการยึดถือสภาพธรรม ที่กำลังปรากฏทีละเล็กทีละน้อย จนกว่าจะหมด

    ผู้ฟัง ละไม่ได้ถาวร ละได้ สักครู่เดียว

    ท่านอาจารย์ ผู้ที่เป็นพระอริยบุคคล ละได้ถาวรหรือเปล่า

    ผู้ฟัง ตรงนั้นผมก็ไม่ทราบ

    ท่านอาจารย์ ถ้าอย่างนั้นพระพุทธเจ้า ละได้ถาวรหรือเปล่า

    ผู้ฟัง อันนั้น คงละได้แน่นอน

    ท่านอาจารย์ พระพุทธเจ้า เป็นพระอรหันต์หรือเปล่า แล้วพระอรหันต์องค์อื่น รูปอื่น นอกจาก พระพุทธเจ้า ละได้หรือเปล่า

    ผู้ฟัง คงจะละได้ ละได้แน่นอน

    ท่านอาจารย์ ละได้แน่นอน แล้วถ้าไม่ใช่พระอรหันต์ เป็นพระอนาคามีบุคคล ละกิเลสอะไรได้ถาวรหรือเปล่า ถึงได้เป็น พระอนาคามีบุคคล มิฉะนั้นจะเป็น พระอนาคามีบุคคลไม่ได้

    ผู้ฟัง ก็คงละได้เป็นบางส่วน

    ท่านอาจารย์ เป็นบางส่วน แต่เวลาที่ใช้คำว่าละถาวร คือเป็นสมุจเฉท หมายความว่าจะไม่เกิดอีกเลย ตามลำดับขั้นของปัญญา แต่ถ้าดับไม่ได้ คำสอนของพระพุทธเจ้า เป็นโมฆะ

    ผู้ฟัง สมัยพุทธกาลที่พระองค์ ก็ทรงนั่งคู้บัลลังก์ คือพระองค์ก็นั่งสมาธิ หรือเปล่า

    ท่านอาจารย์ แน่นอน

    ผู้ฟัง ตอนนั้นพระองค์ก็คงจะรู้สภาพ สติปัฏฐาน ๔ หมดแล้ว ถึงได้นั่ง แต่ถ้าเราไม่รู้ ไปนั่งก็เพียงแต่ทำให้จิตสงบอย่างเดียว เหมือนหินทับหญ้าที่เขาว่า ส่วนมากพระภิกษุแนะนำอย่างนั้น เป็นส่วนมาก

    ท่านอาจารย์ แต่พระภิกษุ ก็บังคับใครไม่ได้ แม้พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ก็ทรงบังคับ ใครไม่ได้เลย ทรงแสดงธรรมคือเหตุ และผล ตามความเป็นจริง ของสภาพธรรมนั้นๆ ให้ผู้ฟังเกิดปัญญาของตัวเอง ประโยชน์สูงสุดคือปัญญาของเราเอง ที่เกิดจากการไตร่ตรอง พระธรรมที่ได้ยินได้ฟัง ไม่ได้บังคับให้ใครเชื่อ ใครก็บังคับไม่ได้

    ผู้ฟัง อย่างนั้นก็ไม่ต้องทำ สักคน ก่อนนอนไหว้พระ สมาทานศีลก็ไม่ต้องนั่งสมาธิ ใช่ไหม

    ท่านอาจารย์ สมาทานศีลคืออะไร

    ผู้ฟัง สมาทานเอาเอง พุทโธเมนาโถ ธัมโมเมนาโถ สังโฆเมนาโถ อย่างนี้

    ท่านอาจารย์ และสมาทานจริงๆ คืออะไร ที่ใช้คำว่า สมาทาน

    ผู้ฟัง งดเว้น ชั่วขณะหนึ่งๆ

    ท่านอาจารย์ ทำไมไม่งดเว้นไป

    ผู้ฟัง เป็นเหตุปัจจัยที่จะต้อง

    ท่านอาจารย์ วันนี้ผิดศีลหรือยัง

    ผู้ฟัง วันนี้ยังไม่ผิดเลย

    ท่านอาจารย์ แล้วกลางคืน จะต้องสมาทานอีกหรือเปล่า

    ผู้ฟัง ก่อนนอน ก็ต้องสมาทาน

    ท่านอาจารย์ ก็ไม่ผิด

    ผู้ฟัง แล้วจะทำอย่างไร

    ท่านอาจารย์ ฟังพระธรรมจริงๆ จะไม่มีคำว่า ทำอย่างไรอีกต่อไปเลย

    ผู้ฟัง ผมฟังทุกคืน

    ผู้ฟัง ไม่มีคำว่าทำอย่างไร มีแต่ว่าเข้าใจ แล้วเราก็รู้ว่า เราเข้าใจสิ่งที่เราได้ยินได้ฟังแค่ไหน จากการฟังครั้งหนึ่ง เข้าใจได้แค่ไหน แล้วฟังอีก พิจารณาอีก เข้าใจอีกแค่ไหน แต่ไม่ใช่ไปทำ เข้าใจ

    ผู้ฟัง บางคนก็ว่าไปอย่าง ว่าฟังเข้าใจแล้ว เข้าใจแล้วไม่ปฏิบัติ แล้วจะได้อะไร เขาว่าอย่างนี้

    ท่านอาจารย์ ก็ถามเขา ว่าปฏิบัติคืออะไร คือทุกอย่าง ต้องเป็นความเข้าใจ ว่าเข้าใจอย่างไร ไม่ใช่ฟังมาก็ไม่รู้เรื่อง

    ผู้ฟัง เข้าใจว่านั่งขัดสมาธิ พุทโธ พุทโธ นั่นคือการปฏิบัติ ถ้าเพียงแต่รู้สภาพธรรมอย่างเดียวแล้วไม่ไปนั่งอย่างนั้น ก็เหมือนกับว่า รู้ ไม่ปฏิบัติ เราเข้าใจว่าอย่างนั้น

    ท่านอาจารย์ ถ้าอย่างนั้นใครปฏิบัติ

    ผู้ฟัง ผมคิดว่าธรรมของท่านอาจารย์ นี้คงจะถูกต้องเที่ยงตรงดี เปรียบเทียบดูแล้ว

    ท่านอาจารย์ แล้วใครปฏิบัติ

    ผู้ฟัง ถ้าเป็นปุถุชนก็ คงจะว่าตัวเองปฏิบัติ

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น นั่นผิด ใช่ไหม ใครก็ตามที่ปฏิบัติ คือทำด้วยความเป็นตัวตน จะถูกไม่ได้

    ผู้ฟัง จะทำ ที่จริงก็เป็นเจตสิกที่จะทำ ใช่ไหม

    ท่านอาจารย์ ใช่ บังคับไม่ได้ และก็เป็นองค์ของมรรคด้วย แต่ละองค์ที่ปฏิบัติ หน้าที่ของมรรคนั้นๆ ฟังได้แต่ว่าต้องไตร่ตรอง พิจารณา ในเหตุในผล

    ผู้ฟัง ที่เราพูดถึงความเข้าใจในสภาพธรรม ที่กำลังปรากฏ เราจะได้ยินได้ฟังเสมอว่า ต้องมีการคิดพิจารณา สังเกต สำเหนียก ที่นี้การเอาสิ่งที่จะเอามาคิดพิจารณา สิ่งที่มาพิจารณาอย่างน้อย คือสัญญา คือความจำได้หมายรู้ที่เราได้ฟังมา และรวมถึงหลายสิ่งหลายอย่าง ตรงนี้ คือกระบวนการคิดทั้งนั้น แต่เมื่อเราพูดถึงความเข้าใจ ความเข้าใจไม่ใช่การคิด พูดถูกหรือเปล่า บางครั้งรู้สึกได้ยินอย่างนี้ ถ้าสมมติว่าความเข้าใจไม่ใช่คิด หรือผมจำผิด คิดว่าสิ่งที่ผมพูดมาถูกต้อง จึงต้องมีการคิดๆ ๆ พินิจ พิจารณาจนได้คำตอบเป็นความเข้าใจของตนเอง

    ท่านอาจารย์ จิตเห็น คิดได้ไหม

    ผู้ฟัง ไม่ได้

    ท่านอาจารย์ จิตได้ยิน

    ผู้ฟัง ไม่ได้

    ท่านอาจารย์ ได้กลิ่น

    ผู้ฟัง ไม่ได้

    ท่านอาจารย์ ลิ้มรส

    ผู้ฟัง ไม่ได้

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น จิตอะไรคิด

    ผู้ฟัง จิตคิด

    ท่านอาจารย์ นั่นสิมีจิตหลายประเภท จิตอะไรคิด จิตเห็นไม่คิด จิตได้ยินก็คิดไม่ได้ จิตเห็น เห็นอย่างเดียว จิตได้ยินก็ได้ยินอย่างเดียว เพราะฉะนั้น จิตอะไรคิด

    ผู้ฟัง ไม่ทราบว่าจะถูกหรือเปล่า ก็คงจะมีจิตที่เป็นกุศล กับอกุศล

    ท่านอาจารย์ สำหรับผู้ที่ไม่ใช่พระอรหันต์ เพราะฉะนั้น ที่คิดไม่ใช่เรา ถ้าเราคิดจะทำอะไรสนุกสนาน อร่อยดี สวยงาม ขณะนั้นก็เป็นอกุศลจิต ที่คิด ถูกต้องไหม แต่ถ้าขณะใดที่คิดแล้วก็เข้าใจ ขณะนั้นจิตคิดมีปัญญาเกิดร่วมด้วย แต่บางทีเราก็คิดเป็นกุศลโดยที่ไม่มีปัญญาเกิดร่วมด้วยก็ได้ คิดให้ทาน สิ่งที่เป็นประโยชน์ กับคนอื่น นี่คือ คิดเป็นกุศล หรือกุศลจิตคิด เพราะฉะนั้น บางคนก็พูดเรื่องกุศลจิต และ อกุศลจิต คล่อง แต่ว่าไม่รู้ว่า ขณะไหน ขณะที่เป็นกุศลหรืออกุศล มีหลายระดับ ตั้งแต่ขั้นทาน ก็เป็นกุศลที่ระลึก เป็นไปในทาน เป็นจิตที่ดี เพราะว่าคิดถึงประโยชน์ สุขของคนอื่น แล้วมีการสละให้ได้ด้วย ขณะที่ให้เป็นกุศลจิตแน่นอน อกุศลจิตให้ไม่ได้เลย เพราะฉะนั้น กุศลจิต ก็จะคิดในทางของกุศล ในทางที่ไม่เบียดเบียนคนอื่น คิดเมตตา คิดช่วยเหลือ จนกระทั่งคิดธรรม เวลาที่คิดไตร่ตรองเป็นความเข้าใจถูก ความเห็นถูกที่เพิ่มขึ้น ขณะนั้นก็เป็นจิต เป็นกุศล ที่สูงกว่าขั้นทาน ขั้นศีล หรือขั้นความสงบของจิต

    เวลาพูดถึงกุศล ก็จะมีกุศล หลายระดับ แล้วสำหรับอกุศลก็ คิดไปในเรื่องของโลภะ คิดไปในเรื่องติดข้องต่างๆ คิดไปด้วยความพยายาท ขุ่นเคืองต่างๆ คิดไปในเรื่องความเบียดเบียนต่างๆ นั่นก็เป็นอกุศลจิตที่คิด เพราะฉะนั้น แม้แต่ความคิด เราก็ควรจะทราบว่าขณะนั้น ไม่ใช่เรา ทั้งหมดเป็นธรรม คือพอเราเริ่มฟังธรรม เราก็ เข้าใจว่าธรรมคือสิ่งที่มีจริงๆ แต่ว่าเวลาที่ใช้คำว่าธรรม ก็หมายความว่า ไม่เป็นของใคร ไม่มีใครเป็นเจ้าของ แต่เป็นสิ่งที่มี แล้วธรรมที่มีจริงๆ ถ้าแบ่งอย่างใหญ่ๆ ก็ ๒ ประเภท ธรรมที่เกิดมีปัจจัยปรุงแต่งก็เกิด ธรรมที่ไม่เกิด เพราะไม่มีปัจจัยปรุงแต่ง ธรรมที่เกิดก็จะมี ๒ อย่าง คือนามธรรมกับรูปธรรม เป็นสภาพธรรมที่ไม่รู้อะไร ก็เกิด อย่างต้นไม้ ดอกไม้ ไม่ได้รู้อะไรเลย ข้าวทุกอย่างที่มี ก็เกิดขึ้นทั้งนั้น แต่ไม่ใช่สภาพรู้ แต่สภาพธรรม อีกอย่างหนึ่ง คือนามธรรม เป็นธาตุ เป็นสิ่งที่มีจริง แล้วก็มีเหตุปัจจัยปรุงแต่งเกิดขึ้นด้วย เมื่อเกิดแล้วก็ดับด้วย เพราะว่าทุกสิ่งทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นนามธรรม หรือรูปธรรม เกิดแล้วก็ดับ นี้คือ แค่ขณะที่กำลังเข้าใจอย่างนี้จริงๆ ขณะนั้นเป็นกุศล ไมใช่เรา ต้องเข้าใจจนกระทั่ง ถึงว่าต้องไม่มีเราเลย ทุกอย่างเป็นธรรม แต่ละอย่างนี้คือการศึกษาธรรม ถ้าใครได้ยินคำว่าธรรม แล้วก็เข้าใจคำว่าธรรม ก็จะรู้ว่าธรรมมากมายที่จะต้อง เข้าใจจนกว่าจะไม่ยึดถือสภาพธรรมนั้นๆ ว่าเป็นเรา นี่คือการศึกษาธรรม แล้วก็จะนำไปสู่ปฏิปัตติ คือการถึงลักษณะของสภาพธรรมแต่ละอย่าง ด้วยสติสัมปชัญญะ ขณะไหนก็ได้เมื่อไรก็ได้ จะนั่ง จะยืน จะนอน จะเดินก็ได้ นั่นคือปฏิปัตติ ถ้าใครพูดถึงเรื่องปฏิบัติแล้วไม่เข้าใจ เรื่องปฏิบัติเลย ก็คิดว่าปฏิบัติคือการทำ เพราะว่าในภาษาไทยเรา พอใช้คำว่าปฏิบัติ เราคิดถึงทำ แปลว่า ทำโดยตรง แต่ว่าศัพท์เดิมที่ใช้ในภาษามคธ ซึ่งเป็นภาษาที่ทรงแสดงธรรม ก็เลย เรียกว่า ภาษาบาลี เป็นภาษาของพระศาสนา ปฏิปัตติ ปฏิ แปลว่า เฉพาะ ปัต-ติ แปลว่าถึง ขณะนี้เรารู้ว่าเป็นธรรม แต่ไม่ได้ถึงความเป็นธรรม ของธรรมที่กำลังปรากฏ เพียงฟัง ขั้นฟังนี้เผินมาก คือเริ่มได้ยินคำว่า ธรรม แต่อย่าผ่านไปเลย เพราะเมื่อกี้ ถ้าบอกว่า อกุศลไม่ใช่ธรรมก็ผิดแล้ว เห็น ถ้าบอกว่าไม่ใช่ธรรมก็ผิดอีก เพราะว่าทุกอย่างที่มีจริงๆ มีลักษณะเฉพาะ แต่ละอย่าง ก็เป็นธรรมแต่ละชนิด เพราะฉะนั้น เราจะรู้ได้ว่าเพียง ขั้นการฟังแล้วได้ยิน แล้วเริ่มเข้าใจนิดๆ หน่อยๆ ยังไม่ได้ถึงเฉพาะลักษณะของสภาพธรรมจริงๆ เพราะขณะนี้สภาพธรรม ทุกอย่างเกิดดับเร็วมาก ที่เหมือนกับว่าเห็นตลอดเวลา ความจริงเห็นหนึ่งขณะจิต แต่ว่าการเกิดดับสลับหลาย วาระซับซ้อนกัน สืบต่อกัน ก็ทำให้ปรากฏ ด้วยความทรงจำในรูปร่างสัณฐาน แล้วไม่ลืมเลย เพราะว่าไม่ประจักษ์การเกิดดับของสภาพธรรม ก็ไปจำแต่เรื่องราวสัณฐานของสิ่งที่ปรากฏ แล้วก็ยึดมั่นในเรื่องราวสัณฐานของสิ่งที่ปรากฏ เป็นสัตว์ต่างๆ เป็นบุคคลต่างๆ เป็นวัตถุ สิ่งของต่างๆ นั่นคือการจำนิมิตของสังขารธรรมที่ เกิดดับสืบต่อจนขณะนี้ เราไม่รู้การเกิดดับสืบต่อของสภาพธรรมเลย ถ้าสติสัมปชัญญะ ไม่เกิด ไม่มีการถึงลักษณะของสภาพธรรมนั้น ก็จะไปรู้ความจริงของสภาพธรรมนั้นได้อย่างไร

    การศึกษาพระธรรม ที่พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงตรัสรู้ ด้วยการทรงบำเพ็ญพระบารมี ยิ่งด้วยพระปัญญา ๔ อสงไขยแสนกัป ถ้ายิ่งด้วยศรัทธาต้องอบรมบารมี ๘ อสงไขยแสนกัป ถ้ายิ่งด้วยวิริยะ ๑๖ อสงไขยแสนกัป ไม่นับก่อนนั้นซึ่งก็มีความคิดที่จะรู้ลักษณะของสภาพธรรมที่ปรากฏ ตามความเป็นจริง แต่ต้องหลังจากที่ได้รับคำพยากรณ์ จากพระพุทธเจ้า พระองค์หนึ่งพระองค์ใด เพราะฉะนั้น เราอยู่ตรงไหน เราอยู่ตรงกำลังเริ่มฟังในสมัยไหนที่กำลังจะอบรมไป ที่จะให้เข้าใจจนกระทั่งประจักษ์แจ้ง ลักษณะของสภาพธรรม แต่เราไม่จำเป็นที่จะต้องย้อนไปถึงอดีตเลย ว่าเราเคยได้เฝ้า และได้ฟัง พระธรรมมาบ้างแล้ว มากน้อยแค่ไหน แต่ขณะนี้ พิสูจน์ได้เลย ได้ยินคำว่า ธรรม เรามีความเข้าใจแค่ไหน เข้าใจเพียงเรื่องว่าเป็นธรรม หรือรู้จริงๆ ว่าขณะนี้เป็นธรรมแน่นอน

    ฟังธรรมจากหัวข้อย่อย

    หมายเลข 99
    23 มี.ค. 2567