ปกิณณกธรรม ตอนที่ 376


    ข้อความนี้อยู่ระหว่างตรวจสอบแก้ไข

    ตอนที่ ๓๗๖

    สนทนาธรรม ที่ จ.เชียงใหม่

    พ.ศ. ๒๕๔๑


    ท่านอาจารย์ โดยย่อก็สามารถที่จะพอเข้าใจได้ ทุกคนถ้ารู้เรื่องจิต เข้าใจว่ามีจิต ก็รู้ เพิ่มเติมว่า ไม่ใช่มีแต่เฉพาะจิต มีสภาพธรรมที่เป็นนามธรรมเหมือนจิต มองไม่เห็น ไม่มีรูปร่าง แต่ไม่ใช่จิต เกิดร่วมกัน สภาพธรรมนั้นเป็นเจตสิก เพราะฉะนั้น เวลาที่จิตเกิด มีเอกัคคตาเจตสิก ซึ่งเป็นลักษณะที่เป็นสมาธิเวลาที่ตั้งมั่นอยู่ที่หนึ่งที่ใด เกิดร่วมด้วยทุกขณะ จะหลับจะตื่น จะนอน จะเกิด จะตาย จิตทุกขณะที่เกิด ต้องมีเอกัคคตาเจตสิกเกิดร่วมด้วย

    เอกัคคตาเจตสิก บางครั้งก็เป็นกุศล บางครั้งก็เป็นอกุศล ไม่ได้หมายความว่าเวลาที่เราสบายใจ เป็นกุศล แต่ต้องเวลาที่เราได้ศึกษาแล้วรู้ว่า ขณะนั้นเป็นอกุศล ถ้าไม่เป็นไปในทาน ไม่เป็นไปในศีล ไม่ได้เป็นไปในการสงบของจิต และไม่ได้เป็นไปในการระลึกรู้ลักษณะของสภาพธรรม

    เวลาที่พูดเรื่องธรรม ถ้าพูดๆ ไปไม่มีตัวอย่าง หรือไม่มีการถาม ก็ไม่สามารถที่จะทราบได้ว่า ผู้ฟังสามารถที่จะเข้าใจถึงจุดไหนแล้ว แต่ว่าถ้ามีการสอบถามบ้าง ก็จะทำให้เข้าใจขึ้น

    ผู้ฟัง สรุปแล้วระหว่างที่จิตว่าง

    ท่านอาจารย์ ยัง ยังไม่ว่าง กำลังพูดถึงเรื่องจิตที่ตั้งมั่นที่อารมณ์ แล้วก็เป็นกุศลก็ได้ อกุศลก็ได้ ด้วยเหตุนี้จึงมีทั้งมิจฉาสมาธิ และสัมมาสมาธิ จริงๆ ไม่ใช่โดยเราเรียก สภาพนั้นเป็นอย่างนั้นจริงๆ เราอาจจะเรียกมิจฉาสมาธิว่า สัมมาสมาธิ เพราะเราไม่รู้ เราไม่รู้จักสัมมาสมาธิ เราก็เรียกมิจฉาสมาธินั่นแหละว่าสัมมาสมาธิ แต่อะไรจะเป็นผู้ตัดสินว่า ขณะใดจะเป็นมิจฉาสมาธิ ขณะใดเป็นสัมมาสมาธิ สภาพธรรมนั้นเอง ไม่ใช่ความเห็นของบุคคลหนึ่งบุคคลใด ขณะใดที่เป็นสัมมาสมาธิ ต้องมีปัญญาเกิดร่วมด้วย ถ้าจะอบรมเจริญสมาธิที่เป็นกุศล ที่เป็นสัมมาต้องมีปัญญาเกิดร่วมด้วย ไม่ว่าจะเป็นสมถภาวนา หรือวิปัสสนาภาวนาต้องมีปัญญาเกิดร่วมด้วย และคำว่า ปัญญา ที่เราได้ยินในภาษาไทยก็ไม่ใช่สภาพธรรม ที่เป็นปัญญาแท้ๆ จริงๆ เราเพียงแต่คิดว่าาใครเก่ง ใครฉลาด คนนั้นก็มีปัญญา คือเรียกเอาง่ายๆ โดยที่ไม่รู้ตัวจริงของสภาพธรรมเลย เมื่อไม่ได้ศึกษาก็ไม่สามารถจะรู้ได้ เราก็คิดว่าขณะนั้น เป็นปัญญา

    คนที่สามารถจะสร้างจรวดออกไปนอกโลกได้ มีปัญญาไหม

    ผู้ฟัง มี

    ส. ไม่ถูกต้อง เราคิดเองว่าเขามี แต่ปัญญาที่เป็นปัญญาเจตสิก เป็นสภาพของปัญญา คือ ความเห็นถูก เห็นถูกในอะไร ในสภาพธรรมที่กำลังปรากฏในขณะนี้ ต้องในขณะนี้ด้วย เพราะว่าสภาพธรรมมีมากมายเลย ทางตาก็เห็น ทางหูก็ได้ยิน ทางใจก็คิดนึก สุขทุกข์ต่างๆ เรื่องราวต่างๆ

    เพราะฉะนั้น เวลาที่มีความเห็นถูก จะเห็นถูกหลายๆ อย่างพร้อมกันไม่ได้ แต่ต้องเห็นถูกในสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่กำลังปรากฏ และปัญญารู้ความจริงของสิ่งนั้น จึงจะเป็นปัญญา

    ผู้ฟัง แล้วปัญญาที่เกิดขึ้น ขณะนั้นเราต้องรู้เองด้วย

    ท่านอาจารย์ ปัญญาเป็นสภาพรู้ ปัญญาที่จะเกิดแล้วไม่รู้ ไม่ได้เลย

    เพราะฉะนั้น เราอย่าเพิ่งคิดว่า อะไรเป็นสัมมา อะไรเป็นมิจฉา เพราะว่าเรายังไม่ได้เรียน แม้ว่าไม่ใช่สัมมา เราก็ไปบอกว่าเป็นสัมมาได้ ทำไมถึงจะทำสมาธิ

    ผู้ฟัง คิดว่าเป็นที่มาของสติ ธรรมดาเวลาเราทำอะไร บางทีจะครองสติไม่ค่อยอยู่ โกรธก่อนแล้วถึงนึกได้ว่า ไม่น่าจะไปโกรธ ไปตอบอะไรเขา คิดว่า ถ้าฝึกอย่างนี้อาจจะทำให้ความหนักแน่นมากขึ้น

    ท่านอาจารย์ แต่ทีนี้ ถ้าเริ่มฟังแล้วเริ่มพิจารณาว่า สติเป็นธรรมฝ่ายดี อย่างวันนี้ถ้าเราไม่ระลึกเป็นไปในการให้สิ่งที่เป็นประโยชน์แก่คนอื่น หรือว่าการที่จะวิรัติทุจริต จิตของเราขณะนี้เป็นอกุศล แล้วมีปัญญาก็จะรู้ว่า ทำอย่างไรที่กุศลจิตจะเกิด หรือว่าทำอย่างไร มีอะไรเป็นปัจจัยให้สามารถที่จะเกิดรู้ความจริงของสภาพธรรมขณะนี้ ถ้าไม่เป็นไปอย่างนี้ ต้องเป็นอกุศล

    เพราะฉะนั้น ไม่ใช่สติ อันนี้เราต้องค่อยๆ พิจารณาเป็นขั้นๆ ใครทำอะไรที่ไหน จะไปนอกโลก ทำอะไรเก่งทุกสิ่งทุกอย่าง แต่ถ้าขณะนั้นไม่ใช่กุศลจิตแล้ว ไม่ใช่สติ สมาธิเป็นได้ทั้งฝ่ายกุศล และอกุศล เพราะฉะนั้น เราถึงจะเริ่มเห็นว่า ถ้าเป็นฝ่ายกุศลแล้ว ไม่ใช่มีแต่สมาธิ ต้องมีสติด้วย เพราะว่าสติเป็นฝ่ายกุศล

    เวลาที่จะทำสมาธิ โดยคิดว่าถ้าทำแล้วสติจะเกิด ใช่ไหม ถ้ารู้จักลักษณะของสติ สติถึงจะเกิด ถ้าไม่รู้จักลักษณะของสติ เราก็คิดว่านั่นเป็นสติ เอาสมาธิเป็นสติก็ได้ แต่ความจริงสมาธิไม่ใช่สติ

    ต้องเข้าใจว่าสติคืออย่างไร เราถึงจะรู้ว่า ขณะนั้นสติเกิดหรือไม่เกิด ต้องมีความรู้ทุกอย่าง แล้วถึงจะทราบได้

    ในครั้งโน้นไม่มีใครที่คิดเอาเอง แล้วไปทำเอง แต่ว่าฟังพระธรรม จากพระพุทธเจ้า และพระสาวก แล้วก็ศึกษา แล้วก็พิจารณาจนกระทั่งเป็นปัญญา แล้วถึงจะรู้ว่า ขณะนั้นเป็นกุศลหรือเป็นอกุศล ถ้าไม่มีสติไม่มีปัญญา สิ่งที่ทำไปจะเป็นกุศลได้ไหม ก็ไม่ได้ ก็เป็นอกุศล แต่คนชอบ ในที่นี้ถ้าถามทุกคน ว่ามีใครบ้างที่ไม่ชอบอกุศล

    ผู้ฟัง ไม่ชอบ

    ท่านอาจารย์ ไม่ชอบหรือ อาหารอร่อยไหม

    ผู้ฟัง อกุศลบางอย่างอย่างเช่น โทสะ

    ท่านอาจารย์ ก็แน่นอน ไม่ชอบอกุศลที่ทำให้ไม่สบาย เพราะอยากสบาย ตอนอยากสบายเป็นกุศลหรือเปล่า

    ผู้ฟัง เป็นอกุศล

    ท่านอาจารย์ ต้องเข้าใจละเอียดจริงๆ ใครถามว่า ใครไม่ชอบอกุศลบ้าง อย่างเพิ่งรีบตอบ เพราะว่าจริงๆ แล้ว รู้ทั้งรู้ ซึ่งทุกคนก็เรียนกันมาเป็น สิบปี ยี่สิบปี แต่ไม่ใช่การที่จะดับอกุศลหมด ถ้าปัญญาไม่เกิด แต่ปัญญาเท่านั้น ความรู้จึงจะละความไม่รู้ได้ และก็ละอกุศลอื่นๆ ด้วย

    คุณอรุณีฟังแล้วเป็นอย่างไร เป็นสภาพรู้ หรือธาตุรู้อารมณ์ มีคำว่า อารมณ์ จะหมายความว่าอย่างไร เพราะว่าพูดกันลัดๆ มากเลย อารมณ์ที่นี่

    ผู้ฟัง ยังไม่ทราบ

    ท่านอาจารย์ นี่เป็นสิ่งที่ทำให้เราได้ยินได้ฟัง แล้วเรายังไม่รุ้อะไรบ้าง ใช่ไหม แล้วเราก็จะต้องค่อยๆ รู้ขึ้น คนที่เขาฟังมาก่อน เขาก็จะทราบว่า จิตเป็นสภาพรู้ เพราะฉะนั้น ก็จะต้องมีสิ่งที่ถูกจิตรู้ จิตเป็นธาตุชนิดหนึ่งซึ่งเมื่อเกิดแล้ว ต้องรู้สิ่งหนึ่งสิ่งใด จะให้จิตไม่รู้ไม่ได้เลย สภาพที่ไม่รู้อะไร ไม่สามารถจะรู้อะไรเลย ไม่ใช่จิต เป็น รูปธรรม อย่างแข็ง กลิ่น รส เสียง พวกนี้ไม่สามารถจะรู้อะไรได้เลยทั้งสิ้น แม้ว่าเรามองไม่เห็นกลิ่น มองไม่เห็นเสียง แต่ก็เสียงก็ไม่ใช่จิต กลิ่นก็ไม่ใช่จิต เพราะว่ามีลักษณะของเสียงปรากฏให้ได้ยินทางหู แล้วมีลักษณะของกลิ่นปรากฏให้รู้ทางจมูก แต่จิตไม่ใช่กลิ่น ไม่ใช่เสียง ไม่มีรูปร่างสัณฐาน ไม่มีกลิ่น ไม่มีเสียงด้วย ปราศจากรูป ใดๆ ทั้งสิ้นโดยสิ้นเชิง แต่ว่าเป็นธาตุรู้ที่เกิดขึ้น แล้วต้องรู้สิ่งหนึ่งสิ่งใด สิ่งที่จิตรู้ คือ “อารัมมานะ” หรือ “อาลัมพนะ” คือสิ่งที่ถูกจิตรู้

    เสียงในป่า มีไหม เสียงที่ดอยอินทนนท์ มีไหม แต่ใครบังคับไม่ให้เสียงเกิดไม่ได้ ถ้ามีปัจจัยของเสียงที่จะเกิด ถ้ามีของแข็ง ๒ อย่างกระทบกัน เป็นปัจจัยให้เสียงเกิดขึ้น ใครจะได้ยินหรือไม่ได้ยิน แต่เสียงก็เกิดตามเหตุตามปัจจัย ในป่ามีแข็งไหม คือถ้าศึกษาธรรมแล้วจะพบว่า ความเข้าใจของเรา เข้าใจในสิ่งที่เคยมีเป็นปกติ แต่ไม่ได้เข้าใจถูก เป็นความเข้าใจที่ถูกต้องในสิ่งที่มีตามปกติ ถ้าเราเคยเข้าใจว่า ทุกสิ่งทุกอย่างมีได้เมื่อมีเหตุปัจจัย เพราะฉะนั้น ถ้ามีเหตุปัจจัยของกลิ่นที่จะเกิด ที่ไหนก็ได้ ที่นั่นก็ต้องมีกลิ่น ใครจะรู้หรือไม่รู้ก็ต้องมี อย่างกองขยะต้องมีกลิ่นแน่นอน แต่ถ้าเราไม่ผ่านไม่มีจิตรู้ ขณะนั้นก็ไม่ได้กลิ่นขยะ แต่เมื่อมีธาตุดิน น้ำ ไฟ ลม ที่จะไม่ให้มีกลิ่น ไม่ได้ ต้องมีกลิ่นรวมอยู่ด้วย

    เพราะฉะนั้น เราก็เริ่มเข้าใจความจริงว่า จิตเป็นสภาพรู้หรือธาตุรู้ และสิ่งที่ถูกรู้คืออารมณ์ แต่สิ่งที่ไม่ได้เป็นอารมณ์ของจิต คือจิตไม่ได้รู้ แต่ถ้าสิ่งนั้นมีปัจจัยจะเกิดก็ต้องเกิด อย่างรูปที่เกิดจากกรรมมี รูปคน รูปสัตว์ ต่างกันตามกรรม แม้แต่ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ของแต่ละคน ก็เป็นรูปที่เกิดจากกรรม เราไม่รู้ แต่กรรมมี ก็ทำให้รูปนั้นเกิด แต่ว่าขณะใดที่รู้สิ่งหนึ่งสิ่งใด สิ่งนั้นเป็นอารมณ์

    นี่ต้องแยกความหมายของสิ่งที่กำลังเป็นอารมณ์ กำลังถูกรู้ กับสิ่งที่มี เมื่อมีเหตุปัจจัยก็มี เกิดขึ้น ใครจะรู้หรือไม่รู้ก็ตามแต่ ต้องเป็นไปตามเหตุปัจจัย แต่ก็ถูก ที่บอกว่า ไม่มีจิตที่รู้เสียงในป่า เพราะว่าเราอยู่ที่นี่ แต่จิตอื่นได้ยินเสียงอื่นได้ เมื่อมีเหตุปัจจัยให้จิตนั้นๆ เกิดได้ยินเสียงนั้นๆ

    อารมณ์ไม่ได้หมายความอย่างที่เราคิดเราเข้าใจว่า วันนี้อารมณ์ดี ทุกอย่างทำให้เราไม่สบายใจเลย ไม่ว่า รูป เสียง อะไรก็ดีไปหมด นั่นเป็นปลายเหตุ แต่ต้องมีต้นเหตุ คือเห็นสิ่งที่ดี ได้ยินเสียงที่ดี ได้กลิ่นที่ดี ลิ้มรสที่ดี รู้สิ่งที่กระทบสัมผัสที่ดี อารมณ์ทั้งหมดดี คือตัวอารมณ์ซึ่งจิตรู้ ถูกจิตรู้ดีทั้งหมด เราก็สรุปเอาว่า วันนั้นอารมณ์ดี แต่จริงๆ แล้วความหมายที่ถูกต้อง ที่ทรงแสดงไว้ อารัมมณะ คือสิ่งที่ถูกจิตรู้

    ถ้าเราศึกษาพระธรรม แล้วเข้าใจจริงๆ พระธรรมจะเปลี่ยนเป็นอย่างอื่นไม่ได้เลย อย่างอารัมมณะ ความหมายก็คือสิ่งที่ถูกจิตรู้ มีสัททรูป แล้วก็มีสัททารมณ์ สัททะ คือเสียง แต่สัททารมณ์คือเสียงที่จิตได้ยิน มีคันธรูป คือกลิ่น แต่คันธารมณ์คือกลิ่นที่จิตกำลังได้กลิ่นในขณะนั้น นี่เป็นความหมายที่เปลี่ยนไม่ได้เลย

    ผู้ฟัง พออารมณ์รู้แล้ว เรามาแปล ให้ชอบ ไม่ชอบ ก็เป็น เป็นอะไร

    ท่านอาจารย์ หมายความว่า ที่ทรงแสดงไว้ในพระสูตรจะไม่ละเอียดเท่าในพระอภิธรรม แต่ก็เราสามารถที่จะเข้าใจได้ เพราะเหตุว่าขณะนี้มีเห็น หลังจากที่เห็นแล้วก็จำว่า สิ่งที่เห็นเป็นอะไร แล้วก็ชอบหรือไม่ชอบในสิ่งที่เห็นนั้น มีเสียงปรากฏ แล้วก็ชอบไม่ชอบในเสียงนั้น

    เราก็ชอบเสียง ชอบสี ชอบกลิ่น ชอบรส ชอบสิ่งที่กระทบสัมผัส ชอบเรื่องราวต่างๆ ที่เราคิดนึก ที่สนุกสนาน แล้วเราก็ไม่ชอบสิ่งที่เราว่าไม่สวย แล้วก็เสียงก็ไม่เพราะ กลิ่นก็ไม่หอม รสก็ไม่อร่อย สิ่งที่กระทบสัมผัสก็ไม่สบาย

    ผู้ฟัง ความชอบ ไม่ชอบ ก็เป็นกิเลสเข้ามาเกี่ยวข้อง

    ท่านอาจารย์ เป็นเจตสิกที่เกิดกับจิต เจตสิกจะไม่เกิดกับรูป โต๊ะนี้ไม่มีเจตสิก แต่จิตเกิดขณะใดต้องมีเจตสิกเกิดร่วมด้วย เพราะว่าจิตเป็นสภาพรู้อย่างเดียว ล้วนๆ เลย ไม่ทำอะไรเลย ไม่สุข ไม่ทุกข์ ไม่ใช่ปัญญา ไม่ใช่สติ ไม่ใช่ความเพียร ไม่ใช่อะไรเลย

    ลักษณะของจิตเป็นแต่เพียงสภาพหรือธาตุชนิดหนึ่ง ซึ่งเกิดขึ้นแล้วรู้สิ่งที่กำลังปรากฏ เท่านั้น แล้วแต่ว่าอะไรกำลังปรากฏ เช่นในขณะนี้ทางตาที่กำลังเห็น จิตเห็นต้องมีเจตสิกเกิดร่วมด้วย คนตายไม่มีจิต เพราะฉะนั้น ไม่มีเห็น แต่ว่าสิ่งที่ปรากฏเป็นแต่เพียงธาตุชนิดหนึ่ง ซึ่งสามารถกระทบตาแล้วปรากฏ แล้วก็ดับเลย สั้นมาก แล้วเราก็ชอบในสิ่งที่กำลังปรากฏ หรือไม่ชอบในสิ่งที่กำลังปรากฏ

    ผู้ฟัง แล้วที่ชอบหรือไม่ชอบ มันเป็นอารมณ์ของจิตหรือเปล่า

    ท่านอาจารย์ ถ้ารู้สึกว่า ความรู้สึกชอบนั้นมีลักษณะอย่างไร ขณะนั้นชอบนั้นเป็นอารมณ์ของจิต

    ผู้ฟัง แต่ถ้าเกิดแล้วชอบอย่างนี้คือจิต

    ท่านอาจารย์ ชอบอย่างอื่น ชอบสิ่งหนึ่งสิ่งใด ขณะนั้นเป็นจิต และเจตสิกที่เกิดพร้อมกัน แล้วก็โลภเจตสิกก็ทำกิจติดข้องสิ่งที่ปรากฏ ที่เป็นอารมณ์

    ผู้ฟัง มันไม่ใช่อารมณ์ ใช่ไหม

    ท่านอาจารย์ ถ้าขณะใดกำลังรู้ลักษณะที่ชอบ ที่เพลิน ที่สนุก ขณะนั้นกำลังรู้ลักษณะของโลภะ แต่ว่าถ้าไม่มีการอบรมเจริญปัญญา หรือว่าไม่ใช่ศีลที่เป็นไปกับความรู้ในลักษณะของสภาพธรรม ศีลนั้นก็ไม่วิสุทธิ เพราะเหตุว่าที่อาจารย์สมพรท่านพูดเมื่อกี้นี้ ลัดๆ ๆ ๆ แล้วก็เร็วๆ รู้สึกว่า แป๊บเดียวก็ถึงจบไปเลย จากทิฏฐิวิสุทธิ เหมือนกับว่า ใครๆ ที่นี่เวลาที่ไม่ล่วงศีลแล้วก็จะเป็นศีลวิสุทธิ หรือว่าบริบูรณ์แล้วก็เป็นศีลวิสุทธิ ไม่หวังแล้วก็เป็นศีลวิสุทธิ แต่ความจริงต้องรู้ว่า ที่ไม่หวัง หรือว่าที่จะบริสุทธิ์ ต้องพร้อมปัญญา ถ้าไม่มีปัญญาแล้วศีลนั้นจะบริสุทธิ์ไม่ได้ เพราะว่าศีลเป็นเรื่องของการประพฤติทางกาย ทางวาจา ซึ่งทุกชาติทุกศาสนา ก็คงจะมีคำสอนในเรื่องศีล คงจะไม่มีการที่ให้กายไปเบียดเบียน หรือว่าวาจาไปเบียดเบียน แต่ว่าถ้าไม่เป็นไปกับปัญญาที่จะรู้ลักษณะของสภาพธรรมแล้วละก็ ขณะนั้นอาจจะบอกว่า เป็นศีลที่ไม่ล่วง เป็นศีลที่ไม่หวัง แต่ถ้าไม่ประกอบด้วยปัญญาก็ยังไม่ใช่วิสุทธิ

    ศีลวิสุทธิ ต้องเป็นไปกับสติปัฏฐาน สมาธิในขณะนั้นที่เกิดร่วมกับสัมมาทิฏฐิ จึงจะเป็นจิตวิสุทธิ เพราะเหตุว่าถ้าอ่านคำอธิบายเรื่องของวิสุทธิ ๗ จะพบคำอธิบายเรื่องของปัญญาระดับสูงมาก คือ อัปนาสมาธิ อุปจารสมาธิ แต่เวลาที่ศึกษาธรรมต้องทราบว่า ไม่ว่าจะกล่าวถึงข้อความใด พระผู้มีพระภาคจะยกสภาพธรรมตั้งแต่ต่ำจนถึงสุดยอด เรื่องของขณิกสมาธิก็เป็นธรรมดา เพราะเอกัคคตาเจตสิกก็เกิดกับจิตทุกดวง เพราะฉะนั้น แม้ขณะที่เป็นอุปจารสมาธิ หรืออัปนาสมาธิ แต่เป็นไปกับปัญญาที่รู้ลักษณะของสภาพธรรมจึงจะเป็นจิตวิสุทธิ เพราะว่าถ้าเป็นผู้ที่เพียงอบรมเจริญฌาน ขณะนั้นก็ถึงอัปนาสมาธิ แต่ยังมีความเป็นเรา

    ถ้ายังมีความเป็นเรา จะทำให้ถึงทิฏฐิวิสุทธิ ไม่ได้เลย เพราะฉะนั้น ขณะนั้นเมื่อไม่เป็นหนทาง หรือไม่ใช่สมาธิที่จะทำให้ถึงทิฏฐิวิสุทธิ สมาธินั้นก็ไม่ใช่จิตวิสุทธิ เพราะเหตุว่าบางครั้งได้ยินคำว่าจิต แต่หมายความถึงสมาธิ แล้วที่ทรงแสดงก็ทุกระดับ ตั้งแต่อุปจารสมาธิ อัปปนาสมาธิ เพราะว่าขณิกสมาธิก็เป็นปกติอยู่แล้ว

    ผู้ฟัง ขอเรียนท่านอาจารย์สมพร คือ การไหว้พระ ไหว้อย่างไรเป็นกุศล เป็นมหากุศลญาณสัปยุตต์

    สมพร. การไหว้พระ ในขณะที่เราไหว้พระ จิตเราไม่ตั้งมั่น อาจจะตั้งมั่นขณะหนึ่ง นึกถึงพระพุทธเจ้า แล้วเปล่ง นโม นอบน้อม ถ้าเราไม่รู้ความหมาย จิตเราก็ไม่ตั้งมั่น เช่นปากเราว่าอย่างนี้ แต่ใจเราคิดอย่างอื่น ไม่ตั้งมั่น คือ การที่จะนอบน้อมต่อพระพุทธเจ้า จึงกล่าวถึง ๓ ครั้ง นโม ต้องกล่าวถึง ๓ ครั้ง ครั้ง ๑ ตั้งมั่นก็ยังดี บางที ๒ ครั้งไม่ตั้งมั่น ตั้งมั่นครั้งเดียวก็กุศล ประเสริฐ เพราะว่าขณะที่จิตไม่ตั้งมั่น เป็นอกุศลเจือปน ท่านจึงกล่าว นโม ถึง ๓ จบ เพราะว่าให้จิตตั้งมั่นสักครั้งหนึ่งก็ยังดี ปกติจิตของเรา ไม่ตั้งมั่น เพราะว่าระคนด้วยกิเลสมากมาย อยู่ทางบ้าน เขาเรียกว่าคับแคบ ระคนด้วยนิวรณ์มากมาย เวลาที่จะตั้ง นโม นอบน้อมต่อพระพุทธเจ้า ปากก็ว่าอย่างหนึ่ง ใจก็คิด อย่างหนึ่ง อย่างนี้ไม่ตั้งมั่น กุศลไม่เกิด ขณะใดตั้งมั่น ขณะนั้นจึงเป็นกุศล อันนี้เป็นเบื้องต้นสำหรับนอบน้อมต่อพระรัตนตรัย จิตอาจจะเป็นได้กุศล ก็เป็นได้ อกุศลก็ได้ แต่ขอให้เรารู้ว่า ถ้าจิตผ่องใสขณะใด ขณะนั้นต้องเป็นกุศลแน่นอน ถ้ายังเศร้าหมองอยู่ ถึงปากเราจะว่า นโม ตัสส ภควโต จิตเศร้าหมองอยู่ก็ยังไม่เป็นกุศล เพราะว่าคำว่า กุศล หมายความว่าผ่องใส จิตไม่เศร้าหมอง

    ท่านอาจารย์ ถ้าเรามีความสามารถเข้าใจขณะนี้ เดี๋ยวนี้ เราไม่ต้องไปกังวล หรือนึกถึงขณะอื่นว่า เป็นกรรม เป็นวิบาก หรือเป็นอะไร เพราะว่าเริ่มทีเดียวต้องเข้าใจว่าเริ่มจากธรรม เป็นสิ่งที่มีจริง เมื่อเข้าใจว่า เป็นธรรม เป็นสิ่งที่มีจริง เราก็จะได้เข้าใจต่อไปอีก จากการศึกษาว่า ธรรมคือสิ่งที่มีจริงมี ๒ ลักษณะ คือ สภาพธรรมอย่างหนึ่ง ไม่สามารถจะรู้อะไรได้เลย เพียงฟังเท่านี้ เราสามารถที่จะรู้ลักษณะของสิ่งซึ่งกำลังมีเดี๋ยวนี้ แล้วไม่รู้อะไรจริงๆ ทางตาที่กำลังเห็นมีสิ่งนี้ไหม มีสภาพธรรมที่มีจริง แต่ไม่สามารถจะรู้อะไรได้ ทางหู ขณะที่กำลังได้ยิน เราสามารถที่จะเข้าใจลักษณะของสภาพธรรมที่มีจริง ซึ่งไม่สามารถจะรู้อะไรได้ว่า เป็นสิ่งที่มีจริง นี่คือธรรมที่ปัญญาจะต้องรู้จนกระทั่งประจักษ์แจ้งว่า เป็นธรรม นอกจากรูปธรรม คือ สิ่งที่มี แล้วไม่สามารถจะรู้อะไรได้ ก็มีธรรมอีกอย่างหนึ่งซึ่งน่าอัศจรรย์มาก คือ สภาพอันนี้คือนามธาตุ หรือนามธรรม ซึ่งสามารถที่จะรู้ลักษณะของสิ่งที่กำลังปรากฏต่างๆ ถ้าไม่มีธาตุรู้ ไม่มีนามธรรม ไม่มีนามธาตุ จะไม่มีอะไรปรากฏที่นี่ หรือที่ไหนเลยทั้งสิ้น

    เพราะฉะนั้น ที่มีโลกปรากฏ มีสิ่งที่ปรากฏทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ ก็เพราะมีสภาพรู้ อันนี้เราค่อยๆ เข้าใจ จนกระทั่งเราสามารถรู้ว่า สิ่งที่มีจริงมีลักษณะที่ต่างกันเป็น ๒ อย่าง คือ รูปธรรม ไม่สามารถจะรู้อะไรเลยทั้งสิ้น และนามธรรม คือ สภาพที่สามารถที่จะรู้ สิ่งที่กำลังปรากฏ

    ปัญญาของเราแค่นี้ รู้จริงอย่างนี้หรือยัง เพียงแค่ได้ฟังอย่างนี้ เป็นเรื่องของสภาพที่มีจริงๆ แต่ปัญญาที่ประจักษ์แจ้งลักษณะของสภาพธรรม ๒ อย่างนี้ มีจริงหรือยัง เพราะว่าการที่จะรู้ไม่ว่าจะรู้อะไรในพระไตรปิฎก ไม่พ้นจก ๒ อย่าง คือไม่พ้นจากนามธรรม และรูปธรรม ซึ่งนามธรรมก็ต่างกันเป็น ๒ อย่าง คือ จิตกับเจตสิก แล้วก็แตกออกไปอีก ตามความสามารถของผู้ที่สามารถจะศึกษา สามารถที่จะเข้าใจ สามารถที่จะประจักษ์แจ้ง แต่ว่าถ้าคิดถึงความจริงซึ่งจะต้องอบรม คือการที่สามารถจะรู้ลักษณะที่ต่างกันของนามธรรม และรูปธรรมในขณะนี้เป็นเบื้องต้น ตรงกับที่ได้ฟังว่า การฟังเริ่มอย่างนี้ เพราะฉะนั้น ปัญญาที่ประจักษ์แจ้งก็เริ่มอย่างนี้ คือวิปัสสนญาณ แรกนั้นคือ นามรูปปริจเฉทญาณ ไม่ใช่เรื่องการไปรู้กรรมหรือวิบาก หรืออะไรทั้งสิ้น แต่รู้ลักษณะของธาตุ ๒ อย่างซึ่งต่างกัน

    ผู้ฟัง ถ้าอย่างนั้นแสดงว่า การพิจารณาตรงนั้นก็เป็นการพิจารณาลักษณะของนามกับรูปที่ต่างกัน จนสมบูรณ์ที่นามรูปปริจเฉทญาณก่อน

    ท่านอาจารย์ การศึกษาต้องทราบว่า พระไตรปิฎก เราศึกษาพระปัญญาคุณของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ทั้ง ๓ ปิฎก เป็นพระปัญญาคุณ พระบริสุทธิคุณ พระมหากรุณาคุณ อย่างพระปัญญาคุณ ไม่เคยมีใครที่จะมาบอกเราว่า ขณะนี้สภาพธรรมที่มีจริงๆ สิ่งที่กำลังปรากฏตั้งแต่เกิดจนตายเป็นธรรม แล้วทั้งหมดเป็นธรรม หรือเป็นธาตุทั้งนั้น โลภธาตุ รูปธาตุ สัททธาตุ จักขุธาตุ จักขุวิญณธาตุ ทุกอย่างเป็นธาตุทั้งนั้น แล้วปัญญาของเราเริ่มค่อยๆ คิด ค่อยๆ เข้าใจ ค่อยๆ รู้ว่า จริงหรือเปล่า ซึ่งยังไม่ต้องไปถึงอะไรมากเลย เพียงลักษณะที่ต่างกัน ที่ได้ฟัง นามธรรมกับรูปธรรม เราสามารถที่จะเข้าถึงลักษณะที่เป็นธาตุ ที่ไม่ใช่เรา ซึ่งเป็นสภาพรู้ ประจักษ์แจ้งชัดว่า ลักษณะนั้นไม่มีรูปใดๆ เจือปนเลยทั้งสิ้น

    นี่คือการที่ศึกษาต้องศึกษาตั้งต้นจากตรงนี้ แล้วเวลาที่อมรมเจริญปัญญาก็รู้เหมือนอย่างนี้ คือรู้ว่าลักษณะของสภาพธรรมเป็นอย่างนี้ เป็นธรรม แทนที่จะเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใด

    ฟังธรรมจากหัวข้อย่อย

    หมายเลข 99
    23 มี.ค. 2567