ปกิณณกธรรม ตอนที่ 66


    ตอนที่ ๖๖

    สนทนาธรรม ระหว่างเดินทางไปนมัสการสังเวชนียสถาน ประเทศอินเดีย

    ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๔


    ท่านอาจารย์ วันไหนที่เราจะเข้าใจอย่างนี้ เพราะว่าขณะที่กำลังคิดอย่างนี้ก็เป็นนามธรรมเป็นรูปธรรม แล้วเมื่อไหร่จะเป็นโลกของปรมัตถ์ ที่แม้ขณะคิดอย่างนี้ก็รู้ว่าเป็นธรรม จะต้องเป็นผู้ที่ละเอียดขึ้น โลภะติดในกุศลได้ไหม

    ผู้ฟัง ท่านอาจารย์กล่าวว่าโลภะต้องละ ขอให้ท่านอาจารย์ขยายคำว่าโลภะต้องละ อย่างไร

    ท่านอาจารย์ โลภะเป็นความติดข้อง เป็นสมุทัย แม้แต่คำว่าสมุทัย เรารู้ลึกซึ้งแค่ไหน

    ผู้ฟัง คำว่าละ คือ เราจะต้องอย่างไร

    ท่านอาจารย์ ละโลภะขั้นแรก คือ โลภะที่เกิดร่วมกับความเห็นผิด โลภะทั้งหมด มี ๘ ขั้นแรกไม่ได้ละโลภะใน รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส นั้นต้องพระอนาคามีบุคคล ละขั้นแรกคือพระโสดาบัน ละความเห็นผิด ตัวโลภะเราไม่เห็น เราเห็นความเห็นผิด แต่ความเห็นผิดต้องเกิดกับโลภะแน่นอน เพราะเขาติดข้องในความเห็นนี้จึงเห็นผิดอย่างนี้

    ผู้ฟัง ขอถามว่า ที่มีความคิดเห็นว่ากุศลจิต เป็นสิ่งที่ดี สิ่งที่มีมากขึ้นแล้วดี อกุศลจิตเป็นสิ่งที่ไม่ดี ไม่ทราบว่าเป็นความต้องการหรือว่าเป็นความคิดเห็นที่ถูกต้องหรือไม่ อย่างไร

    ท่านอาจารย์ เราจะรู้จิตของคนอื่นได้ไหม สภาพธรรมเกิด และดับเร็วมาก คุณโจนาธานจะสามารถรู้ตอนไหนว่า นี้เป็นกุศลหรือนี้เป็นอกุศล

    ผู้ฟัง รู้ไม่ได้

    ท่านอาจารย์ จะรู้เมื่อไหร่

    ผู้ฟัง ต้องเจริญสติก่อน

    ท่านอาจารย์ อีกนาน จนกว่าจะรู้ว่าเป็นนามธรรมหรือรูปธรรมก่อน เพราะว่าจริงๆ แล้ว สภาพธรรมที่เกิดกุศลสั้นนิดเดียวแล้วก็ดับ อกุศลเกิดขึ้นสั้นนิดเดียวแล้วก็ดับ แล้วเราก็พยายามคิดหรือฟังมา ถ้าฟังธรรมก็เป็นกุศล ได้ยินเสียงนก เป็นกุศลหรือเปล่า ทั้งที่เรากำลังฟังธรรม

    ผู้ฟัง เป็นวิบาก

    ท่านอาจารย์ วิบากดับไปแล้ว เป็นกุศล หรือ อกุศล

    ผู้ฟัง เป็นกุศล

    ท่านอาจารย์ เป็นกุศลหรือ ได้ยินเสียงนก

    ผู้ฟัง จริงๆ แล้ว พิจารณาว่าเป็นแค่เสียงเกิดขึ้นมา ไม่ได้สนใจเสียงตรงนั้น

    ท่านอาจารย์ ไม่ได้สนใจ แต่พิจารณาหรือเปล่า

    ผู้ฟัง คือ ฟังเสียงอาจารย์ อาจารย์บอกว่าให้ฟังเสียงนก ก็ได้ยินเสียง มีเสียงนกเกิดขึ้นจริงๆ แค่นั้นเอง

    ท่านอาจารย์ เมื่อวิบากที่ได้ยินเสียงนกดับไปแล้ว จิตเป็นกุศล หรืออกุศลต่อจากที่ได้ยิน

    ผู้ฟัง คิดว่าเป็นกุศล

    ท่านอาจารย์ เห็นไหม เราจะรู้ได้อย่างไร เรานึกเอาว่าเป็น จะรู้จริงเมื่อไหร่อย่างไร เพราะฉะนั้นการฟังธรรม ถ้าฟังเผินๆ หรือฟังโดยไม่ไตร่ตรอง เราก็จะคิดว่าเป็นกุศล เห็นหรือไม่ ต้องฟังอีก ต้องรู้ความต่างจริงๆ ถึงฟังอีกก็รู้เพียงเรื่อง เพราะกุศลจิต อกุศลจิต ก็ดับแล้ว จะรู้จริงต่อเมื่อลักษณะของนามธรรม และรูปธรรมปรากฏ ที่ว่านามธรรม และรูปธรรมปรากฏก็คือมีลักษณะของนามธรรมเฉพาะอย่างปรากฏด้วย ไม่ใช่ว่าเฉพาะนามธรรมรูปธรรมแล้วไม่มีลักษณะอะไร แต่ต้องมีลักษณะของนามธรรม และรูปธรรมปรากฏทีละอย่าง แต่เพียงเราไม่รู้ว่าเป็นนามธรรม เพราะฉะนั้นความรู้ของเรา เป็นการคิดว่าเป็นกุศล แต่เราไม่รู้จักลักษณะจริงๆ ของกุศล จนกว่ารู้จริงๆ ว่าเป็นนามธรรมเมื่อไหร่ รูปธรรมเมื่อไหร่ โดยวิปัสสนาญาณ ขณะนั้นลักษณะของนามก็มีลักษณะของนาม จะเป็นโลภะ จะเป็นอะไรก็มีลักษณะเฉพาะตัว ซึ่งแสดงความเป็นนามธรรมของลักษณะนั้น ไม่ใช่ว่าบอกว่าเป็นนามธรรมรูปธรรม และไม่มีลักษณะอะไรเลย จะต้องมาตั้งต้นกันใหม่ว่า นามธรรมนี้เป็นโลภะ หรือเป็นกุศล หรือเป็นอะไร ไม่ใช่ แต่ความแจ่มแจ้งของปัญญาที่มีในสภาพธรรมที่ปรากฏ ไม่คลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง เพราะว่าเป็นระดับขั้นที่สามารถจะรู้ลักษณะที่เป็นนามธรรมหรือรูปธรรม เมื่อรู้ลักษณะที่เป็นนามธรรมคือตรง นามธรรมที่เป็นกุศลเป็นกุศล นามธรรมที่เป็นอกุศลเป็นอกุศล ถ้ารู้ตรงนามธรรมที่เป็นอกุศลจะมาเป็นกุศลตรงนั้นไม่ได้ นั้นคือคิด เพราะฉะนั้นจะรู้ตรงต่อเมื่อใด ต่อเมื่อสภาพธรรมที่เป็นนามธรรม และรูปธรรมปรากฏ เมื่อนั้นลักษณะที่เป็นกุศลหรืออกุศลก็ตรง

    ผู้ฟัง เพราะฉะนั้นทุกครั้งที่เรารู้อย่างนี้ คือเป็นการคิดเท่านั้น จริงๆ ไม่มีสภาพธรรมที่เกิดขึ้นจริงๆ กับเรา เพราะเรายังไม่มีปัญญาที่จะรู้ใช่หรือไม่

    ท่านอาจารย์ เราก็คิดเอาว่าเป็นกุศล และก็ผิดด้วย

    ผู้ฟัง เพราะคิดว่า ไม่ได้เกิดความชอบ หรือว่าไปสนใจ หรือโกรธอะไร เพราะไม่ใส่ใจตรงนั้น เลยคิดว่าเป็นกุศล

    ท่านอาจารย์ โมหะมีหรือไม่ มี อกุศล มีโลภะ โทสะ โมหะ ไม่เป็นโลภะ ไม่เป็นโทสะ แต่ก็ยังเป็นโมหะอยู่ และความจริงมีโลภะด้วยหรือเปล่าก็ยังไม่รู้ เพราะฉะนั้นจะรู้จริงๆ ต่อเมื่อเป็นวิปัสสนาญาณ เพราะมีลักษณะของสภาพธรรมนั้นด้วย สภาพธรรมเกิดดับเร็วแสนเร็วมาก โลภะก็มี โทสะก็มี โมหะก็มี กุศล อกุศลก็มีทุกอย่าง แต่ไม่รู้ว่าเพราะว่าสติปัฏฐานไม่ระลึก สิ่งนั้นก็ดับแล้ว สิ่งที่ดับไปแล้ว ไม่มีใครที่จะตามไปรู้ได้เลย จะรู้ได้เฉพาะสิ่งที่กำลังปรากฏแล้วค่อยๆ ศึกษา คือค่อยๆ เข้าใจในลักษณะในสภาพเป็นนามธรรม และรูปธรรม เมื่อปรากฏเป็นลักษณะของนามธรรม และรูปธรรม ใครเปลี่ยนลักษณะไม่ได้ เช่นนามธรรมที่เป็นโทสะ ถ้าลักษณะนั้นปรากฏ และมีความรู้ในลักษณะที่เป็นนามธรรมของโทสะ เพราะว่าโทสะก็เป็นนามธรรมด้วย แต่ก่อนนี้ก็คือเป็นเรา แต่ว่าเวลาที่สติปัฏฐานเกิด โทสะก็เป็นสภาพธรรมอย่างหนึ่ง จนกว่าสภาพนั้นจะปรากฏในความเป็นธาตุ

    ผู้ฟัง แม้แต่เราไม่คิดเรื่องที่เป็นเรา คิดแต่เรื่องกุศลที่ตามมา เป็นเราใช่หรือไม่

    ท่านอาจารย์ แน่นอน ถ้าสติปัฏฐานไม่เกิด

    ผู้ฟัง แต่ไม่มีความรู้สึกเป็นเรา

    ท่านอาจารย์ แล้วเป็นอะไร

    ผู้ฟัง เป็นโมหะ

    ท่านอาจารย์ โดยมากจะคิดว่าความเป็นเราต้องเกิดทุกขณะ แต่จริงๆ ไม่ใช่ เป็นอนุสัย เพราะฉะนั้นวันหนึ่งๆ เราจะรู้ว่าเป็นโลภมูลจิตที่เป็นทิฏฐิคตสัมปยุตต์ คือ ประกอบด้วยความเห็นผิดหรือไม่ประกอบด้วยความเห็นผิด อย่างเรารับประทานอาหารอร่อยๆ เดินไปโน่นมานี้ จะเป็นความเห็นผิดหรือเปล่า ก็เป็นโลภมูลจิตที่ไม่เกิดร่วมกับความเห็นผิด

    ผู้ฟัง แต่ก่อนเราไม่รู้ว่า เป็นเรา

    ท่านอาจารย์ ขณะนั้น ไม่มีความเห็นผิดเกิดให้เรารู้

    ผู้ฟัง ไม่ใช่เห็นผิด แต่เป็นเราอยู่ตลอดเวลา

    ท่านอาจารย์ อนุสัย ไม่ใช่เกิดกับจิต ถ้าเกิดกับจิตก็กุศลเป็นกุศล อกุศลเป็นอกุศล โลภทิฎฐิคตสัมปยุตต์ กับ โลภทิฏฐิคตวิปปยุตต์ ไม่เหมือนกัน

    ผู้ฟัง พูดถึงเรื่องทิฎฐิ ที่ถามอาจารย์ว่าความคิดเห็น เรื่องกุศลจิตควรเจริญ อกุศลจิตควรละ ไม่ทราบความคิดเห็นแบบนั้นเป็นที่ทิฏฐิอย่างหนึ่ง หรือว่าเป็นความคิดเห็นเฉยๆ อย่างไร

    ท่านอาจารย์ อ่านพระไตรปิฏก แล้วก็ไม่ได้เข้าใจว่า ทั้ง ๓ ปิฎกทรงแสดงสัจจธรรม ความจริง ถ้าถามคุณโจนาธานว่า กุศลนี้ควรเจริญไหม คุณโจนาธานจะตอบว่าอย่างไร

    ผู้ฟัง จะตอบว่าควรเจริญ

    ท่านอาจารย์ ถูก ใช่ไหม ท่านทรงแสดงอย่างนี้ใช่หรือไหม กุศลควรเจริญถูกแล้ว ใครวันนี้กุศลจิตเกิดมากๆ บ้าง ทั้งๆ ที่เราบอกว่าควรเจริญ คือความจริงเป็นอย่างนี้ แต่มีปัจจัยที่จะเป็นอย่างนี้หรือเปล่า ทรงแสดงเหตุผลแน่นอน อกุศลเป็นสิ่งที่ควรละ พระพุทธเจ้าจะไม่ตอบว่า ไม่เป็นไร มีก็ได้ ไม่มีเลย อกุศลแม้น้อยนิดก็ต้องละ กุศลแม้น้อยนิดก็ควรเจริญ แต่เกิดหรือเปล่า เวลานี้เกิดหรือเปล่า เราไปทัชมาฮาล เราไปซื้อของ กุศลเกิดหรือเปล่า ทรงแสดงธรรมตามความเป็นจริงให้ไตร่ตรอง ให้เข้าใจถูกต้อง ให้มีปัจจัยที่กุศลจิตจะเกิด แต่ไม่ใช่หมายความว่าฟังธรรมรู้ว่ากุศลควรเจริญ เจริญเลยเยอะๆ เพราะควรเจริญ และอกุศลควรละ ก็ละๆ ๆ เพราะว่าไม่ควรมี ทำได้หรือเปล่า คิดว่าถูกต้องที่มีเราทำหรือเปล่า แต่ถ้าเข้าใจถูกต้องว่ากุศลเป็นธรรม อกุศลเป็นธรรม เกิดขึ้นเพราะปัจจัย ไม่มีใครอยากมีอกุศลเลย แต่ใครล่ะที่ไม่มีอกุศล และกุศลทุกคนก็อยากมีแต่ใครมีบ่อยๆ ใช่ไหม ถ้ามีความเข้าใจถูกต้องอย่างนี้ก็เป็นปัจจัย ที่จะทำให้ค่อยๆ คลายอกุศล เพราะมีการระลึกได้ว่าเป็นอกุศล แต่ไม่ใช่เป็นเราที่อยากจะมีกุศลมากๆ และก็อยากจะละอกุศลให้หมดไปเลย ไม่มีใครทำได้เลย ทรงแสดงสัจจธรรมเป็น ๓ ปิฎก แล้วแต่ว่าระดับขั้นพระวินัย หรือขั้นพระสูตร หรือขั้นพระอภิธรรม และทุกคนก็พิสูจน์ด้วยตัวเอง มีความซาบซึ้งในกุศลควรเจริญ แค่ไหนก็เป็นแค่นั้น ทั้งๆ ที่อ่านแล้วก็รู้ กี่วันก็อ่านอย่างนี้ แต่อกุศลก็ยังมีอย่างนี้ใช่ไหม และเอาคำนี้ไปไว้ตรงไหน เพราะว่าไม่มีปัจจัย และไม่ใช่เรา คิดว่าเราจะพยายามไปบังคับ ใครบังคับได้ทั้งวัน ไปอยู่ป่า กินเผือกกินมัน ทำเนวสัญญานาสัญญายตนะนั้นระงับ แต่ไม่ได้เป็นการที่จะละ เพราะมีศีลที่จะละอกุศลขั้นหนึ่ง ความสงบของจิตที่เป็นสมาธิขั้นต่างๆ ละอกุศลอีกขั้นหนึ่ง และการอบรมเจริญปัญญาละกุศลอีกขั้นหนึ่ง ทรงแสดงไว้ เราก็จะไปควรละควรเจริญ รีบๆ ทำใหญ่ แต่ทำไม่ได้ แต่เมื่อไหร่เกิด เรารู้ว่ามีปัจจัยจึงเกิด กุศลของแต่ละคนแต่ละทางไม่เหมือนกัน คนหนึ่งชอบให้ทาน อีกคนหนึ่งชอบรักษาศีล อีกคนไม่สนใจเรื่องความเห็นจะผิดจะถูกอย่างไรไม่สนใจเลย ฉันมีทานมีศีลแล้ว ก็ตามการที่เขาสะสมมาอย่างไรก็มีปัจจัยที่จะเกิดขึ้นอย่างนั้น ไม่ใช่ว่าเราไม่มีการสะสมอุปนิสัยในเรื่องปัญญาเลย แล้วอยากเป็นพระโสดาบัน แล้วไปนั่งทำอะไรให้เป็นพระโสดาบัน ทั้งๆ ที่เราไม่มีความเข้าใจ ไม่มีการสะสมที่จะให้ถึงความเป็นพระโสดาบัน แต่เราอยากเป็น ใช่ไหม

    ผู้ฟัง สงสัยเรื่องที่เป็นเราด้วย ตัณหา มานะ ทิฏฐิ และในขณะที่ว่าสักกายทิฏฐิ ไม่เป็นตัวตน คือ ไม่ยึดถือขันธ์ ๕ ว่าเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใด มีความเข้าใจว่า ไม่ยึดถือสักกายทิฏฐิ เราจะละสักกายทิฏฐิได้ด้วย เหตุของสักกายทิฏฐิเป็นอวิชชาหรือความไม่รู้ แต่การที่ไม่เป็นเราด้วยตัณหา มานะ ทิฏฐิ เป็นเรื่องของโลภะ

    ท่านอาจารย์ โลภะเฉพาะตัณหา

    ผู้ฟัง มานะ

    ท่านอาจารย์ มานะเป็นมานะเจตสิก

    ผู้ฟัง แต่อยู่ในโลภเจตสิก

    ท่านอาจารย์ เกิดด้วยกัน แต่มานะ ไม่ใช่โลภะ ถึงเกิดด้วยกัน มานะก็ไม่ใช่โลภะ

    ผู้ฟัง แล้วที่เป็นสักกายทิฏฐิ

    ท่านอาจารย์ เป็นความเห็นผิด ที่ไม่ใช่ โลภะ และไม่ใช่มานะ เจตสิก ๓ ประเภท

    ผู้ฟัง ที่ว่าไม่ใช่ตัวตน

    ท่านอาจารย์ เห็นว่าเป็นเรา ด้วยทิฏฐิ ด้วยมานะ หรือด้วยตัณหา

    ผู้ฟัง หรือเห็นว่าเป็นตัวตน เหมือนกันหรือไม่

    ท่านอาจารย์ ทิฏฐิ คือ ตัวตน

    ผู้ฟัง การยึดถือว่าเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใด

    ท่านอาจารย์ มีการยึดถือสภาพธรรม ด้วยทิฏฐิ ด้วยโลภะ หรือด้วยทิฏฐิ หรือด้วยมานะ มี ๓ อย่าง ที่ยังมีความเห็นว่าเป็นเรา เป็นเราด้วยทิฏฐิ หรือเป็นเราด้วยตัณหา หรือเป็นเราด้วยมานะ มี ๓ เราในขณะนี้

    ผู้ฟัง ในขณะนั้นมีสักกายทิฏฐิด้วย

    ท่านอาจารย์ ถ้าเป็นเราด้วยทิฏฐิ ก็เป็นทิฏฐิทุกชนิด ถ้าไม่ใช่ ก็เป็นเราด้วยตัณหา หรือว่าด้วยมานะด้วยความเป็นเรา

    ผู้ฟัง ในความเป็นเรา ด้วย ตัณหา มานะ ทิฏฐิ ที่ท่านทรงแสดงเอาไว้ตรงนี้ ทรงแสดงตามลำดับในชีวิตประจำวันที่ว่าเกิดมากน้อยแตกต่างกันไป หรือไม่

    ท่านอาจารย์ เพื่อการละ ถึงแม้ว่าจะละความเป็นเราด้วยทิฏฐิแล้ว ยังมีความเป็นเราด้วยมานะ กับความเป็นเราด้วยโลภะ ซึ่งจะตัองละด้วย แม้ว่าจะไม่มีเราด้วยทิฏฐิ ก็ยังมีเราได้โลภะ ด้วยตัณหา หรือว่ามีเราด้วยมานะ

    ผู้ฟัง แต่ในชีวิตประจำวันส่วนใหญ่ ความเป็นเราที่เกิดขึ้นมากที่สุดก็คือ เป็นไปในตัณหา ใช่หรือไม่

    ท่านอาจารย์ แล้วแต่คน คนที่เขาเห็นผิด ที่เขากำลังรบราฆ่าฟันกัน เขาก็มีความเห็นผิดมากในวันหนึ่งๆ

    ผู้ฟัง อยากจะถามเรื่องลักษณะของทิฏฐิ กับ ลักษณะของความคิด ความคิดเรื่องธรรม ซึ่งเป็นเรื่อง ความคิดผิดเรื่องธรรม กับ มิจฉาทิฏฐิ ลักษณะต่างกันอย่างไร

    ท่านอาจารย์ ถ้าคิดเรื่องธรรม ก็ต้องถามว่าคิดด้วยความเข้าใจ หรือคิดด้วยความไม่เข้าใจ หรือคิดด้วยความเห็นผิด อย่างไรก็ต้องมีความคิดใช่ไหม มีวิตกเจตสิก และขณะที่คิดเรื่องธรรมมีความเข้าใจที่ถูกต้อง หรือว่ามีความเห็นผิด ถ้ามีความเข้าใจที่ถูกต้องก็เป็นปัญญาเป็นโสภณะ ถ้าเป็นความเข้าใจผิดก็เป็นทิฏฐิเจตสิก คือความเห็นผิดความเข้าใจผิด เราต้องทราบว่าถ้าเราศึกษาปรมัตถธรรม ไม่มีตัวเรา ขั้นเข้าใจก็ต้องเข้าใจจริงๆ ว่าไม่มี แม้ว่าสติปัฏฐานยังไม่เกิด แต่ความเข้าใจต้องมั่นคงว่า ขณะนี้ไม่มีอะไร นอกจากจิต เจตสิก รูป ถ้าขณะใดที่คิด จะคิดด้วยกุศลจิตหรืออกุศลจิต ในเรื่องอะไร หรือว่าในเรื่องของธรรม ก็ต้องมีความเห็นถูกเป็นปัญญา และความเห็นผิดที่เป็นมิจฉาทิฎฐิ

    ผู้ฟัง ความคิดมีหลายระดับ ความคิดเห็นเป็นสิ่งที่สะสมไว้ ต่างกันหรือไม่

    ท่านอาจารย์ ขณะนี้ ผู้ที่ไม่ใช่พระโสดาบันบุคคล ยังไม่หมดความเห็นผิด ยังต้องมีเชื้อมีอนุสัย ทิฏฐานุสัย ที่จะทำให้เกิดความเห็นผิด แต่ถ้าขณะใดที่ไม่ได้มีความเห็นผิดเกิดขึ้น ขณะนั้นเราจะไม่รู้เลยว่า เราสะสมความเห็นผิดในเรื่องอะไรบ้าง จนกว่าเมื่อไหร่ที่ความเห็นผิดเกิดปรากฏ เมื่อนั้นถึงจะรู้ว่า ขณะนั้นมีความเห็นผิดเรื่องนั้นที่ยังไม่ดับ ทำให้เกิดความคิดผิดในขณะนั้นขึ้น

    ผู้ฟัง สมมติว่าฟังธรรมที่ท่านอาจารย์พูด แล้วเข้าใจผิด หมายความว่า ขณะนั้นคิดผิดใช่หรือไม่ ไม่เหมือนกับทิฏฐิ

    ท่านอาจารย์ ก่อนอื่นต้องทราบว่า จิตขณะนั้น เป็นกุศลหรืออกุศล

    ผู้ฟัง เข้าใจผิดก็เป็นอกุศล

    ท่านอาจารย์ ขณะที่เข้าใจผิดขณะนั้นเป็นเรื่องอะไรที่เข้าใจผิด

    ผู้ฟัง เรื่องธรรม

    ท่านอาจารย์ ก็ต้องเป็นมิจฉาทิฎฐิ มิจฉาแปลว่าผิด ทิฏฐิแปลว่าความเห็น เพราะฉะนั้นความเห็นผิดก็เป็นความเห็นผิด

    ผู้ฟัง แล้วความเห็นผิด ที่เราสะสมไว้

    ท่านอาจารย์ ถ้าไม่เกิดก็ไม่รู้ว่าเห็นผิดอะไร ใช่ไหม ต้องเกิดขณะใดก็รู้ว่าเป็นความเห็นผิดขณะนั้น เรารู้ไม่ได้เลยว่าความเห็นผิดจะเกิดเมื่อไหร่ วันไหน เพราะมีปัจจัยให้เกิดความเห็นผิดอย่างนั้น เกิดขึ้นถึงจะรู้ว่าขณะนั้นเป็นความเห็นผิดอย่างนั้น และความเห็นผิดอย่างอื่นก็ยังมี แต่ว่าถ้าไม่เกิดขึ้นเราก็ไม่สามารถจะรู้ได้ว่าเรายังมีความเห็นผิดอย่างนั้นอยู่ จนกว่าจะเกิดเมื่อไหร่ก็เห็นเมื่อนั้น

    ผู้ฟัง เคยอธิบายไว้อยู่ ๒ ครั้ง ที่บอกว่าให้รู้สติ เมื่อสติเกิดระลึกรู้ รูปหรือนาม คำพูดอันนี้ กับที่ท่านอาจารย์บอกว่า ถ้ามีสติเกิดแล้ว คือ มีแข็งกับรู้แข็ง แค่นั้นจบ กับที่ท่านอาจารย์ตอบคำถามของคุณป้าสุรี ซึ่ง ๒ อย่างนี้ มีลักษณะของสภาพธรรม ขอให้ท่านอาจารย์อธิบาย ๒ คำพูดนี้ว่าลักษณะสภาพธรรมของ อันแรก หมายถึงว่า เราทราบเพียงรูปหรือนามอย่างเดียว กับอันที่สอง หมายถึงว่าสติต่อเนื่องกันทั้งสองอย่าง รูปแล้วไปนาม หรือว่าอย่างไร

    ท่านอาจารย์ ไม่มีกฎเกณฑ์ แต่ต้องเป็นความเข้าใจว่าขณะนี้ เป็นนามธรรม และเป็นรูปธรรมเท่านั้น เข้าใจจริงๆ อย่างนี้หรือเปล่า ได้ยินเสียงไหม

    ผู้ฟัง ได้ยิน

    ท่านอาจารย์ ได้ยินจริงๆ ใช่ไหม อะไรเป็นรูป อะไรเป็นนาม

    ผู้ฟัง เสียงเป็นรูป ได้ยินเป็นนาม

    ท่านอาจารย์ นี่คือจำได้

    ผู้ฟัง ไม่ นี่คือ สติระลึกรู้

    ท่านอาจารย์ สติระลึกรู้อะไร

    ผู้ฟัง ระลึกรู้ เสียง กับ ได้ยิน

    ท่านอาจารย์ พร้อมกันหรือไม่

    ผู้ฟัง มันชิดกัน

    ท่านอาจารย์ คำถามว่าพร้อมกันหรือไม่

    ผู้ฟัง ไม่พร้อมกัน

    ท่านอาจารย์ เวลาที่ระลึกลักษณะของนามธรรม สภาพที่ได้ยิน ขณะนั้นรู้อะไร

    ผู้ฟัง ก็เป็นสภาพรู้ เสียงนั้น

    ท่านอาจารย์ ขณะที่เห็น หละ

    ถ. เห็น ก็เห็นสิ่งที่ปรากฏให้เราเห็น

    ท่านอาจารย์ รู้ลักษณะของเห็น เข้าใจว่าเป็นสภาพรู้ใช่ไหม เข้าใจอย่างไรว่าเป็นสภาพรู้ เวลานี้กำลังเข้าใจว่าเป็นสภาพรู้หรือไม่ ที่กำลังเห็น

    ผู้ฟัง เข้าใจว่าเป็นสภาพรู้

    ท่านอาจารย์ เข้าใจแล้ว

    ผู้ฟัง เรารู้สิ่งที่เราเห็น

    ท่านอาจารย์ เข้าใจแล้วหรือยังว่าเป็นสภาพรู้

    ผู้ฟัง เข้าใจว่าเป็นสภาพรู้

    ท่านอาจารย์ ก็เป็นความรู้ในขั้นการฟัง เข้าใจว่าขณะนี้ ลักษณะของเห็น ไม่ใช่สิ่งที่กำลังปรากฏทางตา นี่คือขั้นฟังหรือว่าไม่ใช่ขั้นนี้ ที่กำลังเห็นเดี๋ยวนี้ เป็นความเข้าใจขั้นฟังหรือว่าไม่ใช่ขั้นฟัง

    ผู้ฟัง ถ้าเป็นทางตา ยังมีความรู้สึกว่าไม่กระจ่างเท่าเสียง เพราะทางโสตทวารจะเข้าใจว่า ไม่ใช่เพียงแค่รู้แค่เข้าใจ หมายถึงว่า ประสบกับของจริง กับ คำพูดที่ท่านอาจารย์อธิบายตรงกัน

    ท่านอาจารย์ ขณะที่ระลึกลักษณะของสภาพที่ได้ยินว่ามีจริง เป็นลักษณะรู้หรือสภาพรู้ชนิดหนึ่ง ไม่ใช่ขณะที่กำลังเห็น ซึ่งเป็นสภาพรู้อีกชนิดหนึ่ง เพราะฉะนั้นก็ระลึกลักษณะของสภาพรู้ ขณะที่สติระลึกก็ค่อยๆ รู้ว่าลักษณะนั้น เป็นสภาพที่สามารถจะรู้ เป็นธาตุรู้ชนิดหนึ่ง

    ผู้ฟัง ท่านอาจารย์บอกว่าทุกทวารจะมีความเหมือนกัน

    ท่านอาจารย์ อะไรเหมือนกัน

    ผู้ฟัง หมายถึงว่าการรู้รูปกับนาม นามก็เป็นสภาพรู้เหมือนกัน แต่ว่าถ้าเป็นนามทางโสตทวาร เราจะรู้เสียง แต่ถ้าทางตาเราจะรู้สิ่งที่เราเห็น แต่เหมือนกับว่าไม่ชัดเจนเท่าทางเสียง

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นจะทำอย่างไรต่อไป

    ผู้ฟัง ระลึกต่อไป

    ผู้ฟัง ได้ยินคำว่าระลึกต่อไป นี้คืออันดับแรกก่อน ระลึกคืออะไร แล้วระลึกต่อไปนี้คืออย่างไร

    ท่านอาจารย์ หมอวิภากรจะตอบได้ หรือไม่ ในคำถามของคุณจรัส

    หมอ ระลึกอันแรก ถ้าสติเกิดเมื่อไหร่ ก็คือระลึกไปเรื่อยๆ เมื่อใดสติเกิดโดยที่ไม่ได้เป็นการเจาะจงหรือว่าตั้งใจไปบังคับ เมื่อสติเกิดเราก็ระลึกรู้ ฟังธรรมไปเรื่อยๆ จนกระทั่งเป็นสังขารขันธ์ที่จะให้เราเกิดความระลึกรู้เกิดสติขึ้น แล้วระลึกไปเรื่อยๆ เมื่อระลึกไปเรื่อยๆ ปัญญาก็จะมากขึ้น ก็จะมีความชัดเจนไปเทียบเท่ากับทางโสตทวารมากขึ้น คิดว่าเข้าใจเช่นนี้

    ผู้ฟัง ในเมื่อความไม่มีตัวตนที่จะสามารถระลึกได้ แล้วบอกว่าให้ระลึกต่อไป จะไม่ขัดกันเองหรือ เพราะที่เข้าใจ ที่ทำได้คือฟังต่อไป ฟังธรรมที่ไม่ว่าใครก็ตามแสดงให้ฟังให้เข้าใจให้มากขึ้น คือสิ่งที่ ปัญญาน้อยพอจะเข้าใจได้ ไม่ทราบว่าจะขัดกับคุณหมอหรือเปล่า

    หมอ ที่ว่าระลึกต่อไป ไม่ใช่ว่าให้ไปบังคับ หมายความว่า เมื่อใดที่สติเกิดก็ให้ระลึกรู้ มีการฟังธรรม เราทราบว่าเป็นปัจจัยที่ทำให้สติเกิดระลึกรู้มากขึ้นเรื่อยๆ เมื่อไหร่ที่สติเกิด แต่ไม่ได้หมายความว่าเป็นการเจาะจงหรือบังคับ

    ท่านอาจารย์ ฟังไป เข้าใจไป และรู้ว่าไม่มีตัวเรายิ่งขึ้น พร้อมทั้งไม่ใช่เพียงขั้นพิจารณาหรือเข้าใจเฉยๆ เพราะว่าเราอาจจะพูดได้ว่าไม่มีเรา แต่ว่ารู้จริงๆ ในลักษณะที่เป็นสภาพรู้หรือธาตุรู้

    ฟังธรรมจากหัวข้อย่อย

    หมายเลข 15
    18 เม.ย. 2567

    ซีดีแนะนำ