ปกิณณกธรรม ตอนที่ 65


    ตอนที่ ๖๕

    สนทนาธรรม ระหว่างเดินทางไปนมัสการสังเวชนียสถาน ประเทศอินเดีย

    ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๔


    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นเขารู้ใช่ไหมว่า ต้องเจริญสติปัฐาน หรือสติปัฐานต้องเกิดอีก คือถ้าจะไม่เป็นห่วงวิปัสสนาญาณที่เกิดแล้ว เพราะเหตุว่าถ้าห่วงปุ๊บ ติดอีกแล้ว เรื่องติดนี้จะตลอดหนทาง เพราะฉะนั้นผู้นั้นต้องเป็นผู้ที่ละเอียด และมีปัญญาจริงๆ ที่จะรู้ว่า นี่ไม่ใช่หนทาง เพราะฉะนั้นคนนั้นก็จะเข้าใจความหมายของสีลัพพตปรามาสกายคันถะ ว่านี่เอง คือขณะใดที่เขวไปไขว้มา หรือว่าออกไปนอกทาง คือติดนิดหนึ่งก็คือสีลัพพตปรามาส เพราะถ้าติดพยายามทำอะไร ชักจะจงใจ ชักจะต้องการขึ้นอีกแล้ว เพราะฉะนั้นผู้นั้นต้องมีความละเอียดที่จะรู้ว่า ถ้าไม่ละ ผู้นั้นก็ไม่มีทางที่จะเจริญต่อไป ถ้าไม่ละความต้องการ เพราะฉะนั้นเขาจะไม่ห่วงใย ไม่ติดข้อง ตอนนี้น่าจะเป็นวิปัสสนาญาณอีกทีหนึ่ง หรืออีกก้าวหนึ่ง หรืออีกระดับหนึ่ง ทั้งหมดยังคงอยู่เพราะยังไม่ดับเป็นสมุจเฉท เราจะเข้าใจความหมายว่า การดับเป็นสมุจเฉท คือต้องดับได้จริงๆ แต่ว่าเมื่อไหร่ ต้องเป็นไปตามลำดับขั้น เพราะฉะนั้นเมื่อสภาพธรรมมี ไม่ประจักษ์การเกิดดับ ไม่ถึงวิปัสสนาญาณขั้นสูงต่อไป ก็มีการระลึกลักษณะของสภาพธรรมนั้น เพื่อให้คุ้น เพื่อให้ชิน เพื่อให้คลาย เพราะเหตุว่าเราติดขณะที่เราไม่รู้เลยว่ามันขนาดไหน สาหัสสากันขนาดไหน เหมือนผ้าผืนหนึ่ง มันดำไปหมดเลย และมันก็ติดแน่นจะไปเขี่ยจะไปอย่างไร มันก็ไม่มีทางที่จะออกไปหมดเลย นอกจากทีละจุด ทีละน้อย ทีละหน่อย และใช้น้ำยาที่เขาใช้กัน สมัยโบราณใช้ดินเหนียวหรืออะไร ที่เขาทำกันในสมัยนั้น ที่ท่านแสดงในพระไตรปิฎก ของเราในยุคไหนสมัยไหนก็ตามแต่ คือสิ่งที่จะค่อยๆ คลาย ความไม่รู้ และความเห็นผิดในสภาพธรรม คนนั้นต้องระลึกลักษณะของสภาพธรรมโดยความเป็นอนัตตา และความเป็นอนัตตาต้องเพิ่มขึ้นๆ จนกระทั่ง ไม่ใช่ว่า อกุศลมาแล้ว แล้วก็ทำยังไงดี คือมันเป็นเรื่องของความเป็นเราทั้งหมดที่แสดงให้เห็นว่า เริ่มไม่รู้ความเป็นอนัตตาอีกแล้ว แต่ถ้าอกุศลก็คือหมดแล้ว กุศลก็คือหมดแล้ว คือไม่มีเราอยู่ในนามธรรม และรูปธรรมใดๆ ทั้งสิ้น เป็นโลกของปรมัตถธรรม จนกว่าจะประจักษ์เป็นวิปัสสนาญาณ แต่ละขั้นต่อไป ก็คือเหมือนอย่างนี้ คือจะต้องไม่มีการติดข้อง ไม่มีความหวัง และอบรมเจริญสติปัฏฐาน และมีความรู้ด้วยตัวของตัวเองว่า คลายไปแค่ไหน คลายคือสามารถที่เมื่อระลึกรู้ในความเป็นนามธรรม และรูปธรรม หรือว่า ยังก่อน จะต้องระลึกอีก ศึกษาไปอีก จนกว่าจะถึงระดับนั้นได้ ก็เป็นเรื่องตรง โดยขั้นการศึกษา สัจจญาณ ทุกคนรู้ใช่ไหมว่า ต้องหมายความถึงความมั่นคงจริงๆ ว่าสัจจญาณ ได้แก่ ๑ ทุกข์ ๒ สมุทัย ๓ นิโรธ ๔ มรรค ทั้งๆ ที่ไม่ประจักษ์เลย แต่มีความมั่นคงว่า คือเดี๋ยวนี้ไม่ใช่เวลาอื่น ไม่ไปทำอย่างอื่นเลย แล้วโลภะก็ต้องเป็นสิ่งที่ควรละด้วย ถ้าไม่มีความรู้ขั้นสัจจญาณ เขาก็ตามโลภะไป ไม่ได้ละ และก็ต้องรู้ด้วยว่า หนทางนี้เป็นหนทางที่เมื่อละแล้ว สามารถที่จะประจักษ์ลักษณะของนิพพานได้ ก็เป็นสิ่งที่เขามีความมั่นคงว่า ถ้ายังคงมีโลภะความติดข้องในสังขารขันธ์ทั้งหลายในสังขารธรรม จะไม่มีการที่จะสละสังขารธรรมเพื่อจะไปสู่ หรือว่ามีอสังขตะ วิสังขารธรรมเป็นอารมณ์ นี่คือขั้นสัจจญาณ แล้วก็ต้องรู้ได้ว่าหนทางนี้ก็คือทางเดียวคือสติปัฏฐาน ไม่ใช่สมาธิปัฏฐาน ไม่ใช่อะไรปัฏฐานทั้งนั้น นี่คือสัจจญาณโดยที่สติปัฏฐานยังไม่เกิด ขณะใดที่สติปัฏฐานเกิด นี่คือกิจจญาณของสติปัฏฐาน ไม่ใช่วิปัสสนาญาณเลยขั้นนี้ แต่กตญาณแรกที่สุดก่อนที่จะไปถึงขั้นนั้น ก็คือสามารถที่จะเห็นลักษณะของสภาพธรรมโดยความเป็นธาตุ โดยความเป็นธรรมแต่ละอย่าง ขณะนั้น ถึงจะสามารถรู้ว่า อันนี้ต้องดับจึงจะเป็นทุกขสัจจะ และถ้ายังมีความติดข้องในนี้อยู่ ในวิปัสสนาญาณนี้อยู่ ก็เป็นสมุทัย ซึ่งจะไม่ถึงมรรค เพราะฉะนั้นหนทางก็คือว่าเป็นเรื่องของการละ ซึ่งกตญาณของเขาในขณะที่มีการรู้แจ้งลักษณะของสภาพธรรม คือขณะนั้นไม่มีตัวตน แต่รู้ว่าเป็นเรื่องของธรรมโดยตลอด ที่จะต้องค่อยๆ เพิ่มขึ้น เพราะว่าความรู้ก่อนที่จะเป็น กิจจญาณ หรือ กตญาณ เป็นเพียงความเข้าใจ สัจจญาณ ถ้าเอาอันนั้นเป็นอันนี้เลยก็ไม่ได้ หรือจะเอากิจจญาณมาเป็นความรู้ที่สมบูรณ์เลยก็ไม่ได้ หรือจะเอาเพียงแค่วิปัสสนาญาณมาเป็นความรู้ที่สมบูรณ์เลยก็ไม่ได้ แต่จากปัญญาขั้นวิปัสสนาญาณ รู้เลยว่าไม่มีเรา ทั้งหมดนี้เป็นไปตามเหตุปัจจัยทั้งหมด เพราะฉะนั้นการที่จะรู้ลักษณะของทุกข์ ซึ่งขณะนั้นแม้ลักษณะของสภาพธรรมปรากฏทีละอย่างแน่นอน สภาพธรรมจะปรากฏพร้อมกันไม่ได้เลย ไม่ว่าจะเป็นเสียง ไม่ว่าจะเป็นกลิ่น ไม่ว่าจะเป็นความคิดนึก ไม่ว่าจะเป็นทุกข์เวทนา อะไรก็ที่ละอย่าง เพราะฉะนั้นจากการที่รู้ลักษณะของสภาพธรรมทีละอย่าง เป็นระดับขั้นของนามรูปปริจเฉทญาณ แม้ว่าสภาพหนึ่งเกิดแล้วดับไป อีกสภาพหนึ่งเกิดต่อแล้วดับไป อีกสภาพหนึ่งปรากฏต่อแล้วดับไป แต่ปัญญาขั้นต้น ไม่ถึงระดับที่จะเป็นอุทยัพพยญาณ แต่สัจจญาณของเขามีที่จะรู้ว่า อันนี้ที่เขาไม่รู้ แต่ว่าเขาจะรู้ได้ต่อเมื่อเขาอบรมต่อไป เพราะฉะนั้นก็มีความมั่นคงโดยขณะนั้นไม่มีเรา แต่เป็นตัวกตญาณ ปัญญาที่สามารถจะถึงระดับที่จะรู้ถึงสัจญาณที่มั่นคงต่อไปอีกระดับหนึ่ง เพราะว่าสัจจญาณของคนที่วิปัสสนาญาณยังไม่เกิด กับสัจจญาณของคนที่วิปัสสนาญาณเกิด หรือว่าสัจจญาณของผู้ที่เป็นอริยบุคคลก็ต้องต่างกัน แต่ทั้งหมดนี้ก็คือว่าจะต้องติดตามไปทั้งอริยสัจจ์ ๔ แล้วก็ในญาณ ๓ รอบเสมอ แต่เวลาที่วิปัสสนาญาณแรก แม้ว่าสภาพธรรมปรากฏทีละอย่าง เพราะจะปรากฏ ๒ อย่างไม่ได้ นี่คือความจริงใช่ไหม แต่ปัญญาระดับนั้น ไม่ถึงขั้นที่จะประจักษ์การเกิดดับ เพราะเหตุว่าเขายังจะต้องอบรมที่จะชินต่อโลกของปรมัตถ์ ที่จะชินต่อลักษณะของนามธรรม รูปธรรม ใดๆ ทั้งสิ้น จนกระทั่งละความสงสัยไปทีละเล็ก ที่ละน้อย ตามลำดับขั้น เพราะเรื่องของการที่จะรู้แจ้งอริยสัจจธรรม เป็นเรื่องของการดับกิเลสเป็นสมุจเฉท แต่ว่าสติปัฏฐานดับกิเลสไม่เป็นสมุจเฉท วิปัสสนาญาณแรกๆ จนกระทั่งมรรคจิตยังไม่เกิด ยังไม่ดับเป็นสมุจเฉท จะสมุจเฉทต่อเมื่อโลกุตตรจิตเกิด เพราะฉะนั้นคนนั้นจะมีความเข้าใจถูกในทุกขั้นตอน เราจะใช้คำว่ากตญาณ หรือไม่กตญาณหรืออะไร หรือไม่ใช่คำพูดใดๆ ก็ตาม แต่เปลี่ยนลักษณะของสภาพธรรมไม่ได้ แต่ว่าจะแสดงให้เห็นถึงความต่างกัน ของขั้นที่เป็นสัจจญาณ ขั้นที่เป็นกิจจญาณ ขั้นที่เป็นกตญาณตามลำดับ

    ผู้ฟัง ถ้าเป็นอุทยัพพยญาณ ก็คงจะเห็นการละกิเลสโดยชัดเจนว่า เป็นปหานปริญญา

    ท่านอาจารย์ อุทยัพพยญาณ ยังไม่ใช่ ปหานปริญญา ต้องภังคญาณ จึงจะเป็นปหานปริญญา

    ผู้ฟัง แต่ถ้าเป็นวิปัสสนาญาณแรก จะเห็นการละกิเลส ละตัณหาด้วยหรือไม่

    ท่านอาจารย์ ขณะนั้น แม้โลภะเกิด ไม่มีความเห็นว่าโลภะนั้นเป็นเรา เพราะขณะนั้นลักษณะของธาตุเท่านั้นที่ปรากฏกับวิปัสสนาญาณ คือเป็นธรรมแต่ละอย่าง เวลาที่เป็นวิปัสสนาญาณจะไม่มีลักษณะที่ปรากฏเหมือนอย่างเวลาที่ไม่ใช่วิปัสสนาญาณ เพราะว่าขณะนั้น ไม่มีอะไรนอกจากธาตุ แต่มีความคิดได้ ทุกอย่างยังเหมือนเดิม คือคิดได้อะไรได้ สงสัยก็ได้ ในขณะนั้น แต่ขณะนั้นไม่ใช่เรา แต่ว่าเป็นธาตุสงสัยที่ปรากฏ ทุกอย่างเหมือนเดิม เพราะยังไม่ดับเป็นสมุจเฉท

    ผู้ฟัง กตญาณจะรู้ในอริยสัจจ์ ๔ แต่สงสัยว่าถ้าเป็นวิปัสสนาญาณแรก เป็นกตญาณที่รู้ในทุกขสัจจ์เท่านั้น หรือว่า รู้ในสมุทยสัจจ์ด้วย

    ท่านอาจารย์ ต้องคิดถึงระดับธรรมดากับระดับอุกฤษฏ์ และที่ทรงแสดงโดยระดับอุกฤษฏ์ มีหรือไม่ เช่น จิตตวิสุทธิ ได้แก่ อุปจารสมาธิ กับ อัปปนาสมาธิ นี่คือจิตตวิสุทธิ เพราะฉะนั้นถ้าไม่เป็นอัปปนาสมาธิจะเป็นจิตตวิสุทธิหรือไม่ เหมือนกับถ้าไม่ถึงขั้นนั้น จะเป็นกตญาณหรือไม่ เพราะฉะนั้นเราก็ต้องทราบว่าทรงแสดงโดยนัยอุกฤษฏ์ ซึ่งนัยอุกฤษฏ์มีเครื่องเทียบเคียงว่า แม้แต่จิตตวิสุทธิที่ไม่กล่าวถึงขณิกสมาธิเลย แต่กล่าวเฉพาะอุปจารสมาธิกับอัปปนาสมาธิ เราก็ต้องเข้าใจว่าหมายรวมถึงด้วย เพราะขณะนั้นประกอบด้วยปัญญา ปัญญาเท่านั้นที่จะทำให้วิสุทธิ เพราะเหตุว่าถ้าคนนั้น ถึงอุปจารสมาธิหรืออัปปนาสมาธิ โดยที่ไม่ใช่สติปัฏฐาน คือไม่มี ศีลวิสุทธิ จิตตวิสุทธิ ทิฏฐิวิสุทธิ แล้ว แม้ได้ฌานก็ไม่ใช่จิตตวิสุทธิ ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จนถึงเนวสัญญานาสัญญายตนะ จะไม่ใช่จิตตวิสุทธิ เพราะฉะนั้นถ้าเราอ่านโดยไม่รอบคอบ เราก็จะคิดว่า อุปจารสมาธิ กับ อัปปนาสมาธิ เป็นจิตตวิสุทธิ แต่ความจริงเป็นวิสุทธิต้องเป็นในวิสุทธิ ๗ ตามลำดับ จากศีลวิสุทธิ ศีลธรรมดาไม่วิสุทธิเลย เพราะเหตุว่าขณะนั้นเป็นเรา สมาธิธรรมดาจนกระทั่งถึงเนวสัญญานาสัญญายตนะ ก็ไม่วิสุทธิ เพราะเหตุว่าไม่มีความรู้ว่าไม่ใช่เรา เป็นแต่เพียงนามธรรม และรูปธรรม ที่จะเป็นวิสุทธิได้สมาธิทุกขั้น ก็ต่อเมื่อประกอบด้วยปัญญา คือสติปัฏฐานที่รู้ลักษณะของสภาพธรรมนั้นว่า เป็นนามธรรมหรือเป็นรูปธรรม เพราะฉะนั้นแม้แต่จิตตวิสุทธิพวกที่ได้ฌานทั้งหมด ไม่ใช่เป็นจิตตวิสุทธิ ถ้าไม่เป็นไปในการอบรมเจริญวิปัสสนาหรือสติปัฏฐาน นี่คือจะต้องเข้าใจ ไม่เพียงแต่ชื่อมาว่าอันนี้ต้องเป็นอันนี้ อันนี้ต้องเป็นอันนี้ เพราะอันนี้ก็เป็นตัวอย่างอันหนึ่งว่า ถ้ากล่าวถึงจิตตวิสุทธิได้แก่อุปจารสมาธิ และอัปปนาสมาธิ คนก็จะเข้าใจว่าเวลาเป็นอุปจารสมาธิ และเป็นอัปปนาสมาธิ นั่นคือวิสุทธิ แต่ความจริงไม่ใช่ ต้องเป็นในเรื่องของการอบรมเจริญปัญญาฉันใด กตญาณก็เหมือนกัน เราจะไปจับตอนนั้นตอนเดียว แต่ว่าเราก็ต้องคิดถึงว่าขั้นที่ไม่อุกฤษฏ์ มีหรือไม่ ขั้นที่เป็นวิปัสสนาญาณไม่ใช่ขั้นสติปัฏฐาน แต่เป็นขั้นที่เป็นวิปัสสนาญาณตามลำดับ

    ผู้ฟัง แต่ก่อนเข้าใช้ว่า สัจจญาณเป็นปริยัติ แต่ไม่ใช่อย่างนั้น แต่เป็นปฏิบัติด้วย และมีหลายระดับด้วย ถ้าเป็นกิจจญาณ มีสัจจญาณด้วย ที่สลับกันได้หรือไม่

    ท่านอาจารย์ อันนี้เรากำลังพูดถึง ชื่อ และชื่อจะมีปัญหามาก เราจะหยิบยกตัวนี้มาชื่อหนึ่งตรงนั้นชื่อหนึ่ง แล้วพยายามที่จะเข้าใจ แต่ถ้าเราเข้าใจในสภาพธรรมกับเหตุผล ชื่อตามมาทีหลังได้ คุณนีน่าคิดว่าสัจจญาณเฉพาะปริยัติใช่ไหม

    ผู้ฟัง แต่ก่อน

    ท่านอาจารย์ แต่เดี๋ยวนี้ไม่ใช่เฉพาะปริยัติ เพราะเหตุว่า ๓ รอบ ไม่ใช่รอบเดียว ถึงจะเป็น ๑๒ ได้ ใช่ไหม จะขาดอันหนึ่งอันใดไม่ได้เลย เพราะฉะนั้นตอบแบบนี้ไม่ได้หมายความว่าสัจจญาณ ไม่ใช่ปริยัติ รวมปริยัตด้วย และเมื่อมีสัจจญาณแล้ว ก็มีกิจจญาณ เวลาที่มีกิจจญาณ สัจจญาณหายไปหรือเปล่า มีด้วยรึเปล่า ต้องมีด้วย เพราะฉะนั้นเราถึงได้เข้าใจความหมายความว่าอย่างไร ไม่ใช่ว่าพอมีอันนี้แล้วอันนั้นหายไป และพอถึงกตญาณ สัจจญาณมีไหม กิจจญาณมีไหม หรือมีแต่กตญาณ

    ผู้ฟัง ทั้ง ๓ ตัวอยู่ด้วยกัน

    ท่านอาจารย์ ไม่ได้ขาดหายไป พระไตรปิฎก และอรรถกถา ช่วยให้เราไม่เข้าใจผิด ถ้าเรามีความเข้าใจถูก จะมีอยู่ทั้งหมดตรงตามที่เราเข้าใจ แต่ถ้าเราเข้าใจผิด อันนี้จะไม่ตรงกับอันนั้น อันนั้นจะไม่ตรงกับอันนี้ เพราะฉะนั้นถ้าเรามีความเข้าใจผิดตั้งแต่ต้น จะสอดคล้องหมด เพราะว่าเราก็จะไปพบข้อความอย่างนี้ ตรงตามที่เข้าใจถูก เพราะฉะนั้นความเข้าใจถูกตั้งแต่ต้น พื้นฐานสำคัญที่สุด ถ้าเรามีความเข้าใจผิดตั้งแต่ต้น จะค่อยๆ ผิดไปทีละเรื่องๆ เพราะว่าเวลาเราไปเจออะไร เราก็อาจจะคิดว่าไม่เหมือนกับที่เราเคยเจอมาก่อน เพราะฉะนั้นอันนี้ต้องผิด แต่ความจริงข้อความนี้จะเหมือนกันตลอดไม่ได้ เพราะว่ากว้างขวางมาก แสดงตรงนี้ส่วนหนึ่ง แสดงตรงนั้นส่วนหนึ่ง อีกที่หนึ่งอีกหลายส่วน เพราะฉะนั้นต้องเอาทั้งหมดนี้มาประกอบกัน สอดคล้องกันเมื่อไหร่เมื่อนั้นเป็นความถูกต้องที่จะไม่ขัดกันเลย

    ผู้ฟัง อาจารย์กล่าวว่า สำหรับผู้ที่เข้าใจในเรื่องของสติปัฏฐาน ก็จะไม่ไปทำสมาธิ แต่ว่าถ้าเป็นสัมมาสมาธิแล้ว สำหรับผู้ที่มีเวลาว่างมากในชีวิตประจำวันอย่างพระภิกษุ การที่จะเจริญสัมมาสมาธิโดยการนั่ง จะผิดปกติหรือไม่ ถ้าเขาเข้าใจ

    ท่านอาจารย์ ถ้าเป็นในครั้งพุทธกาล พระผู้มีพระภาคทรงทราบว่าภิกษุรูปนี้ สามารถจะได้ทั้งสมถภาวนา และวิปัสสนาภาวนา สำหรับแต่ละบุคคล เพราะฉะนั้นสำหรับเรา วิปัสสนานั้นยากมาก สติปัฏฐานก็ไม่ง่ายเลย โอกาสที่จะอบรมก็คือในชาติที่เราเกิดมาได้ฟังพระธรรม ได้เข้าใจพระธรรม เพราะฉะนั้นถ้าเราคิดว่าสติปัฏฐานไม่เกิด เราจะไปทางสมาธิ สัจจญาณของเรามั่นคงหรือไม่ เพราะว่าถ้าเราคิดอย่างนี้ เราก็จะไปทำสมาธิเรื่อยๆ แต่ถ้าเรารู้ว่า แม้สติเกิดก็มีสมาธิซึ่งเป็นสัมมาสมาธิแล้ว เราจะไปทำสมาธิอะไร นอกจากเรารู้ว่าเราไม่รู้อะไรใช่ไหม เราก็ควรที่จะมีสัจจญาณที่มั่นคง ทำให้สติเกิดระลึก เพราะฉะนั้นวันหนึ่ง มีคนที่ฟังธรรมด้วยกันหลายคน ฟังเรื่องสติปัฏฐานด้วย ฟังเรื่องวิปัสสนาฌานด้วย ฟังเรื่องอริยสัจจ์ด้วย คนหนึ่งระลึกเพราะมีเหตุปัจจัย คนหนึ่งสติไม่เกิดไปทำอย่างอื่น ก็เพราะมีเหตุปัจจัยที่จะทำอย่างนั้น เพราะฉะนั้นอะไรขาด คือสัจจญาณที่มั่นคง ที่จะเป็นปัจจัยให้สติเกิด เพราะฉะนั้นเราก็สะสมความมั่นคงอันนี้เพื่อที่จะให้สติปัฏฐานเกิดเป็นสัจจญาณ แต่ไม่ใช่ว่า ทั้งๆ ที่นั่งอยู่ด้วยกัน คนหนึ่งสติปัฏฐานเกิดแล้วเพราะมีเหตุปัจจัย อีกคนหนึ่งไปทำอย่างอื่นสติปัฏฐานไม่เกิด ทำสมาธิเสียใช่ไหม นี้ก็เพราะเหตุปัจจัยทั้งหมดไม่ใช่เรา ต้องรู้ว่าไม่ใช่เรา ใครจะทำอะไรก็คือมีเหตุปัจจัยที่จะให้ทำอย่างนั้น แต่ถ้าเป็นคนที่เข้าใจถูกต้องจริงๆ สมาธิใดจะประเสริฐเท่ากับสมาธิที่เกิดร่วมกับมรรค เพราะว่ามรรคเท่านั้น เป็นสังขารธรรมที่ประเสริฐถ้ากล่าวถึงสังขารธรรม เพราะว่าเป็นการอบรมที่จะให้ปัญญารู้ลักษณะของสภาพธรรม

    ผู้ฟัง อันนี้ไม่ได้หมายถึงสมาธิที่จะไปจดจ้องอยู่ในอารมณ์เดียว หรือว่าจะให้ได้ฌาน แต่ว่าเป็นสมาธิที่สามารถจะมีสติปัฏฐานเกิดสลับได้

    ท่านอาจารย์ สมาธิอย่างไร ที่สามารถให้สติปัฏฐานเกิดสลับได้

    ผู้ฟัง พุทธานุสติ หรือ ธัมมานุสติ

    ท่านอาจารย์ อันนั้นเป็นของธรรมดา ถ้าอ่านต่อไปจะพบว่าพุทธานุสตินี้ถึงอรหัตผลเลย เพราะเหตุว่าเป็นสัจจธรรม เราไม่ได้ห้ามใครเลย ต่อเมื่อเป็นโลกของปรมัตถ์ทั้งหมด จิตระลึกถึงพระพุทธคุณก็เป็นสภาพธรรม คือเราสามารถมีความเข้าใจได้ถูกต้องว่าทั้งหมดนี้เป็นธรรม ชินต่อลักษณะของความเป็นธาตุ เพราะว่าเป็นวิปัสสนาญาณแต่ละขั้น จนกว่าจะถึง โสดาปัตติมรรค จนกระทั่งถึงอรหัตมรรค แม้ขณะที่ระลึกก็คือไม่ใช่เรา แต่ไม่ใช่ว่าคนที่อ่านพยัญชนะนี้แล้วคิดว่าเพียงระลึกถึงพระพุทธคุณ ก็สามารถที่จะรู้แจ้งอริยสัจจธรรมได้ แต่ที่จะรู้แจ้งอริยสัจจธรรมได้ หนทางเดียวคือสติปัฏฐาน เพราะฉะนั้นการระลึกถึงพระพุทธคุณไม่ห้าม และการที่จะระลึกนั้น สามารถที่จะถึงอรหัตมรรคได้ เพราะเหตุว่าขณะนั้นรู้ว่าไม่ใช่เราที่ระลึก ไม่ว่าจะเป็นปีติหรือเป็นอะไร ก็คือเป็นโลกของปรมัตถ์ที่สติสามารถจะรู้ เพราะเหตุว่าเป็นวิปัสสนาญาณทั้งหมด

    ผู้ฟัง ทุกคนก็ยังคงจะพอใจใน รูป รส กลิ่น เสียง โผฎฐัพพะ อยู่ แต่ว่าจะแยกแยะกันอย่างไร ระหว่างที่จะเห็นประโยชน์ของธรรม กับการที่จะติดในธรรม หรือว่าความติดข้องในการที่จะอยากให้สติเกิด

    ท่านอาจารย์ ติดในธรรมหมายความว่าอย่างไร

    ผู้ฟัง คิดว่าอยากจะเจริญกุศลให้มากๆ อย่างเช่น รู้ว่าถ้าไปทัชมาฮาล ไม่ได้คุยธรรม แล้วก็คงจะต้องมีแต่อกุศลทั้งนั้น แต่ว่าสนทนาธรรมดีกว่ากุศลเจริญ หรือว่าบางคนคิดว่าถ้าคิดฟุ้งซ่านไปเรื่องอื่นก็ไม่มีประโยชน์

    ท่านอาจารย์ สิ่งที่ยังไม่เกิดทั้งนั้นเลย ไม่ว่าจะไปทัชมาฮาลหรือไม่ไป ก็ยังไม่เกิดขึ้น สำหรับตอนนั้นที่เขายังไม่ตัดสินใจ และพูดถึงเวลานี้ เราก็เลยพูดถึงสิ่งที่ยังไม่เกิด ถ้าเกิดจะเป็นยังไง แต่เดี๋ยวนี้สิ่งใดที่กำลังปรากฏ เราควรจะพูดถึงสิ่งนี้ แล้วเราจะเข้าใจมากขึ้น และเราก็จะรู้ว่าเรากลัวอะไรถ้าเราไปทัชมาฮาล ไม่มีตาหรือ ไม่มีเห็นหรือ ไม่มีสุขหรือ ก็มีทุกอย่าง เรานั่งที่นี่ก็มีโลภะ เราก็มี แต่ว่าต่างอารมณ์ อารมณ์นั่นก็คืออารมณ์ที่ไม่ใช้อารมณ์ที่นี่ เพราะฉะนั้นเราไม่ใช่เป็นคนที่อยากจะดัดตัวเราชนิดซึ่งแข็ง เปลี่ยนจากหน้ามือเป็นหลังมือ แต่รู้ว่า ต่อให้ไปทำอย่างฤาษี อยู่ในป่า กินเผือกกินมัน ไม่กินรสอาหารที่อร่อย เราก็ไม่ได้ละความติดข้องในรูป ในเสียง ในกลิ่น ในรส ในโผฎฐัพพะ เพราะว่าสิ่งแรกที่ต้องละคือความเห็นที่ยึดถือสภาพธรรมว่าเป็นเรา ซึ่งเป็นรากฐานของความเห็นผิดทั้งมวล เรากล้าพอที่จะเผชิญกับสิ่งซึ่งสะสมมา เพื่อที่จะรู้ว่า เราไม่ได้สร้าง ไม่มีใครอยากมีโลภะเลย แต่โลภะเกิดแล้วเพราะมีเหตุปัจจัย นี้ต่างหากที่ต้องรู้ ไม่ใช่เราพยายามไปกีดกันไม่ให้โลภะเกิด แล้วเราก็ไม่รู้ตลอดไป ยับยั้งด้วยสมาธิจนกระทั่งถึงขั้นเนวสัญญานาสัญญายตนะ อุทกดาบสก็ประกาศว่าถึงแล้วซึ่งเวทย์ รู้แล้วทั้งหมด แต่พระเจ้าตรัสรู้แล้วว่า นี่ไม่ถึง นี่ยังไม่ได้ดับกิเลสอะไรเลย นี่เพียงแต่รู้จักกิเลสที่เกิด แต่กิเลสที่ไม่เกิดไม่รู้จัก กิเลสที่เป็นพืชเชื้อที่สะสมอยู่ ซึ่งเป็นเหตุที่จะให้เกิดกิเลสที่ปรากฏ เขาไม่รู้ส่วนนี้ เพราะฉะนั้นอะไรก็เกิดโดยที่เราไม่อยากให้เกิด โลภะใครอยาก โทสะใครอยาก พูดแต่สิ่งที่ดีเลิศทั้งนั้นเลย คือไม่ให้มีโลภะในรูป ในเสียง ในกลิ่น ในรส ในโผฎฐัพพะ เดี๋ยวไปตรงนี้จะมี เดี๋ยวไปตรงนั้นจะมี ลืมว่าอยู่ตรงนี้ก็มี เดี๋ยวนี้ก็มี แต่ว่าความเห็นของเรา เป็นสิ่งแรกที่เราควรที่จะอบรมความรู้ที่จะละการยึดถือสภาพธรรมว่าเป็นเรา เพราะเวลานี้ ใครเกิดโลภะ ถ้าโลภะไม่เกิด ก็ไม่รู้ ใครเกิดโทสะ ถ้าโทสะไม่เกิด ก็ไม่รู้ มีทั้งหมดแต่รู้เมื่อเกิด และปัญญาก็สามารถจะรู้สิ่งนี้ เพื่อที่จะดับเชื้อที่จะทำให้เกิด แต่ถ้าไม่รู้อันนี้ อันนี้ไม่ปรากฏ ไม่รู้ว่าไม่ใช่เราเลย เป็นแต่เพียงสภาพธรรมชนิดหนึ่งเท่านั้น เราไม่ได้เตรียมตัวล่วงหน้าเลยที่จะให้อะไรเกิด แม้แต่โลภะขณะนี้ หรือโทสะขณะนี้ เราก็ไม่ได้เตรียมตัวล่วงหน้า เราเพียงคิดว่าเป็นเราเตรียม แต่สิ่งที่จะเกิดจริงๆ ไม่ใช่เพราะเราคิดจะเตรียม แต่เพราะเหตุว่ามีปัจจัยที่จะเกิด อย่างโลภะซึ่งเราไม่อยากให้เกิดก็เกิด

    ผู้ฟัง เห็นความต่างกันว่าการติดใน รูป รส กลิ่น เสียง โผฏฐัพพะ กับการติดในธรรม หรือว่าคนที่ก็ต้องการที่จะอยากให้กุศลจิตเกิด ความต้องการนั้นจะมีความแตกต่างอย่างไร กับความต้องการที่เป็น รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ

    ท่านอาจารย์ เขาต้องรู้ว่า ความอยากเป็นสิ่งที่ต้องละ เวลาที่เขาอยาก เขาไม่รู้เลย ถึงแม้ว่าตอนนี้เขาว่าเขาไม่อยากให้สิ่งนี้เกิด ประเดี๋ยวก็อยากให้สิ่งนี้เกิดอีกแล้ว เพราะว่ามันมี จะไม่ให้เกิดไม่ได้ จะกันอย่างไร

    ผู้ฟัง ก็ไม่ต่างกัน ความต้องการติดใน รูป รส กลิ่น เสียง โผฏฐัพพะ กับความต้องการติดในกุศลไม่อยากให้อกุศลเกิด

    ท่านอาจารย์ เราต้องเป็นผู้ละเอียดที่จะรู้ว่า “อยาก” เป็น “อยาก” เท่านั้น แต่ความเข้าใจ เป็นความเข้าใจที่จะละความอยาก

    ผู้ฟัง ถ้าเกิดเป็นความเข้าใจตรงนี้ว่า ถ้าเขาไม่ต้องการอกุศล แต่ว่าต้องการกุศล ก็จะต้องรู้ตามความเป็นจริง ก็เหมือนกับการที่จะติดใน รูป รส กลิ่น เสียง โผฏฐัพพะ

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นพระพุทธเจ้าไม่ห้ามใครเลย แต่ทรงแสดงให้เห็นตามความเป็นจริงว่า “อยาก” คือ “อยาก” ซึ่งต้องละ ตัวอยากนี้ต้องละ

    ผู้ฟัง คิดว่า ถึงป้องกันอย่างไร ก็ต้องมีอกุศลแน่นอน แต่ว่า คิดว่าถ้าเข้าใจเรื่องของสภาพธรรม การที่จะมีการสังวร ระวัง ก็สามารถที่จะรู้ตามความเป็นจริงได้

    ท่านอาจารย์ เป็นหน้าที่ของปัญญา สังขารขันธ์นี้เรารู้เลย เว้นเจตสิก ๒ ดวง ที่เหลือเป็นสังขารขันธ์ทั้งหมด หิริ โอตัปปะ หรืออะไรก็สังขารขันธ์ทั้งนั้น ไม่ใช่เรา เพราะฉะนั้นวันไหนที่เราจะเข้าใจอย่างนี้ เพราะว่าขณะที่กำลังคิดอย่างนี้ ก็เป็นนามธรรมเป็นรูปธรรม แล้วเมื่อไหร่จะเป็นโลกของปรมัตถ์ที่แม้ขณะคิดอย่างนี้ก็รู้ว่าเป็นธรรม จะต้องเป็นผู้ที่ละเอียดขึ้น โลภะติดในกุศลได้ไหม

    ฟังธรรมจากหัวข้อย่อย

    หมายเลข 15
    17 เม.ย. 2567

    ซีดีแนะนำ