ปกิณณกธรรม ตอนที่ 110


    ข้อความนี้อยู่ระหว่างตรวจสอบแก้ไข

    ตอนที่ ๑๑๐

    สนทนาธรรม ที่ เขาเต่า หัวหิน

    พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๓๖


    ท่านอาจารย์ อย่างวันนี้ ที่เรามาจากกรุงเทพ แล้วก็มาสนทนาธรรม มีใครคิดว่าจะทำให้เป็นบารมี แต่ขณะที่เรากำลังทำ ทั้งหมดนี้เป็นบารมี เวลานี้มีการฟังพระธรรม ขณะใดที่เข้าใจ ขณะนั้นเป็นกุศลแน่นอน ขณะใดที่เป็นกุศล ขณะนั้นสงบจากอกุศล รู้ลักษณะของจิตที่สงบในขณะนี้ไหม เพียงแต่รู้โดยการฟังว่าเป็นกุศล แต่จิตที่มีสภาพที่สงบจากอกุศลจริงๆ ลักษณะนั้นไม่ได้ปรากฏเพราะว่าสติสัมปชัญญะ ไม่ได้ระลึกที่สภาพของจิตที่เป็นกุศล เพราะฉะนั้นเราจะเรียนเรื่องของ กุศลจิต หรือ อกุศลจิต เรารู้ตามที่ แต่พอถึงเวลานี้จริงๆ ปัญญา และสติสัมปชัญญะไม่ไว ไม่คม พอที่จะรู้ความต่างกันของกุศลจิต และอกุศลจิต แต่โดยการฟัง รู้ว่ามีแน่ ทั้งกุศลจิต และอกุศลจิต ถ้ากุศลจิตมีมาก ขณะนี้ ไม่มีการเห็น ไม่มีการได้ยินที่จะทำให้กุศลนั้นมีอยู่เรื่อยๆ เพราะฉะนั้นคนที่เจริญสมถภาวนา ต้องเห็นโทษของโลภะ เพราะเหตุว่าวันหนึ่งๆ จิตเป็นโลภะ เวลาที่เห็น เวลาที่ได้ยิน น้อยครั้งที่จะเป็นโทสะ โลภะเป็นเจ้าเรือน ด้วยเหตุนี้สมถภาวนา จึงระงับ บรรเทา ละ คลาย โลภะในวันหนึ่ง ด้วยการที่ไม่ต้องเห็น พวกที่ทำฌาน ที่จะให้สงบมากๆ เขาต้องการที่จะให้บรรลุถึงกุศลขั้นที่ไม่เห็นเลย เพราะรู้มาเห็นแล้วใจหวั่นไหว ไม่ได้ยิน ไม่ให้ได้กลิ่น ไม่ให้ลิ้มรส ไม่รู้สิ่งที่กระทบสัมผัส ให้ถึงอัปปนาสมาธิ จึงจะเป็นอย่างนั้นได้ นี่เป็นเรื่องของปัญญาทั้งหมด เพราะฉะนั้นเวลาที่จะเจริญสมถภาวนา เริ่มต้นอย่างไร เริ่มต้นด้วยสติสัมปชัญญะที่สามารถแยกลักษณะของจิตที่เป็นกุศลว่าต่างกับลักษณะของจิตที่เป็นอกุศล ไม่ใช่ตำรา แต่เป็นในขณะที่อกุศลจิตกำลังเกิด หรือกุศลจิตกำลังเกิด เท่ากับว่าในขณะนี้ สามารถที่จะมีสติสัมปชัญญะที่จะรู้ว่า กุศลเกิดขณะที่กำลังเข้าใจ พอเห็นผีเสื้อปั๊บ อกุศลเกิดเพราะว่าสวยดี หรือว่าชอบ สามารถที่จะแยกอารมณ์ ทางตา ทางใจ ทางหู ทางใจ ออกได้ เพียงแต่ว่าปัญญาขั้นสมถะ ไม่สามารถที่จะรู้ว่า ไม่ใช่ตัวตน เป็นเพียงชั่วขณะจิตซึ่งมีนามธรรมเป็นอารมณ์ หรือมีรูปธรรมเป็นอารมณ์ เพราะฉะนั้นปัญญาขั้นสมถะ ไม่ใช่ปัญญาขั้นต่ำๆ แต่ต้องเป็นปัญญาที่เห็นโทษของโลภะที่มีมากในวันหนึ่งๆ และคิดถึงสิ่งที่จะให้กุศลจิตเกิด ติดต่อกันโดยที่สามารถที่จะไม่มีการเห็น การได้ยิน การได้กลิ่น การลิ้มรส การรู้สิ่งที่กระทบสัมผัส เวลานี้ถ้าใครจะเจริญสมถภาวนา หมายความว่า สติสัมปชัญญะสามารถรู้ลักษณะของจิต นี่คือการตั้งต้น และที่ทำๆ สมาธิกัน รู้อย่างนี้หรือเปล่า ถ้าไม่รู้ก็ไม่ใช่ แล้วเราจะไปบอกเขาอย่างไร เพราะว่าเขาไม่ได้อยากเข้าใจ เขาอยากทำ เรารู้ว่าจะต้องมีสติสัมปชัญญะ รู้ลักษณะของกุศลจิต และอกุศลจิต ขั้นสมถะ และเรารู้ด้วยว่ามันเป็นนามธรรม และรูปธรรมไม่ดีกว่าหรือ ในขณะที่สติสัมปชัญญะเกิด และก็มีจิตเป็นอารมณ์อยู่แล้ว และยังสามารถจะพิจารณาว่า ลักษณะนั้นเป็นสภาพรู้เท่านั้น ไม่ใช่เรา เป็นแต่เพียงนามธรรมชนิดหนึ่ง เรื่องอะไรจะไปหยุดแค่นี้เป็นกุศลเป็นอกุศล แล้วให้กุศลเท่านั้นที่เจริญ โดยที่ไม่รู้ว่าเป็นนามธรรม ไม่ใช่เรา ในเมื่อปัญญาเรารู้อยู่แล้ว ทั้งสมถภาวนา และวิปัสสนาภาวนา ปราศจากสติสัมปชัญญะไม่ได้ เมื่อปราศจากสติสัมปชัญญะไม่ได้ ก็ต้องมีนามคือจิตเป็นอารมณ์ แต่ว่าสมถภาวนา ไม่รู้ว่าลักษณะนั้นไม่ใช่ตัวตน สมถภาวนาเพียงแต่รู้ว่า สภาพของกุศลจิตสงบ สภาพของอกุศลจิตไม่สงบ แต่วิปัสนาภาวนา อกุศลจิตก็ไม่ใช่เรา ลักษณะที่ไม่สงบ ก็ไม่ใช่เรา กุศลจิตที่สงบ ก็ไม่ใช่เรา เรื่องอะไรเราจะหยุดอยู่แค่ให้มีแต่กุศลเรื่อยๆ โดยที่ไม่รู้ว่าไม่ใช่เรา ในเมื่อเราเข้าใจแล้ว เพราะฉะนั้นผู้ที่เจริญสติปัฎฐาน ก็รู้ประโยชน์ว่า การเข้าใจลักษณะของนามธรรม และรูปธรรมย่อมดีกว่าเพียงสงบ ไม่ใช่ว่าช่วงนี้เรามาทำสมถภาวนากัน เพราะว่ากุศลจิตไม่เกิด และอีกช่วงหนึ่งเราไปทำสติปัฎฐานกัน ไม่ใช่อย่างนั้น

    . เราไม่ได้มาทำ เราควรจะศึกษาให้รู้ไหม สรุปว่าอย่างไร

    ท่านอาจารย์ สรุปเราจะต้องพิจารณา แม้แต่คำอรรถกถาว่า ที่อรรถกถาพูดอย่างนี้มีความหมายอย่างไร เพราะว่าการที่เราจะรับฟังอะไรมาก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นตัวหนังสือ คำพูดใดๆ ก็ตาม เราจะต้องพิจารณา แล้วเราจะต้องรู้ความหมาย แล้วจะต้องเป็นผู้ที่รู้จริงว่าคำนั้นมีความหมายอย่างไร ถ้าความหมายเป็นอย่างนั้น จะค้านกัน หมายความว่าวิปัสสนาญาณ ไม่มีหรอก ที่หนึ่ง ถ้าใช้คำว่าจริงๆ แล้วหมอเข้าใจอย่างนั้นจริงๆ ตามคำ แต่ความจริงแล้วท่านใช้คำว่า ตรุณวิปัสสนา นี้มีแน่นอนคำนี้ในพระไตรปิฎก หมายความว่า วิปัสสนาที่๑ ที่ ๒ ที่ ๓ ยังอ่อนมาก เพราะเหตุว่ายังไม่ประจักษ์ไตรลักษณ์ แต่หมายความว่าวิปัสสนาญาณ ไม่ใช่สติปัฎฐานแน่นอน เพราะว่าถ้าเป็นการเจริญสติปัฎฐาน ที่จะรู้ลักษณะของนามธรรม และรูปธรรม เอาตอนไหน ที่เป็นนามรูปปริจเฉทญาณ จะมีอะไรเป็นเครื่องวัด ถ้าไม่มีวิปัสสนาญาณที่ ๑ เป็นเครื่องวัด ไม่มีทางที่จะวัดได้เลยว่า ผลของการอบรมเจริญสติปัฎฐาน สภาพธรรมปรากฏกับปัญญาที่สมบูรณ์ถึงขั้นที่จะรู้จริงๆ โดยการประจักษ์ ไม่ใช่ด้วยการที่เราค่อยๆ อบรมไป ค่อยๆ เข้าใจไป ค่อยรู้ลักษณะของนามธรรม และรูปธรรมไป แต่หมายความว่า ต้องเป็นวิปัสสนาญาณแน่นอน ความต่างกันของสติปัฐาน กับ วิปัสสนาญาณ นี้ต้องมี คือสติปัฏฐานคือขณะใดก็ได้ ที่สติเกิด และระลึกลักษณะของสภาพธรรม และความเข้าใจ ค่อยๆ เพิ่มขึ้น ความเข้าใจที่เป็นสติปัฏฐาน แม้หลังจากวิปัสสนาญาณแล้ว ก็ต้องเป็นความเข้าใจ เรื่องนามธรรม และรูปธรรมนั่นเอง จะเปลี่ยนไม่ได้ แต่ทีนี้อะไรที่มาแทรกคั่น ที่จะรู้ว่าอันนี้คือวิปัสสนาญาณ ถ้าไม่มีวิปัสสนาญาณที่ ๔ มีไม่ได้แน่ อุทยัพพยญาณ นี้มีไม่ได้ แล้วก็จะไม่มีใครรู้ด้วยว่า วิปัสสนาญาณ ต่าง กับสติปัฏฐานอย่างไร เพราะว่าสติปัฏฐานที่กำลังระลึกไปเรื่อยๆ จะเป็นวิปัสสนาญาณไม่ได้ เพราะฉะนั้นที่ใช้คำว่า ตรุณวิปัสสนา จะใช้คู่กับ พลววิปัสสนา เพราะฉะนั้นที่อาจารย์ว่าจริงหมายความถึงว่า เป็นวิปัสสนาที่มีกำลัง แต่ไม่ใช่หมายความว่า นามรูปปริจเฉทญาณ จนถึง สัมสนญาณนั้นไม่ใช่วิปัสสนาญาณ อย่างนี้ไม่ได้แน่นอน และตามตำรา บางแห่งท่านจะยกอุทยัพพญาณ แล้วแต่ท่านจะนับ ๙ ๑๐ อะไร ก็เป็นเรื่องของท่านไป แต่หมายความว่าที่นับอย่างนั้นหมายความถึงเฉพาะ พลววิปัสนา แต่จะบอกว่า นามรูปปริจเฉทญาณ ไม่ใช่ วิปัสนาญาณไม่ได้

    ผู้ฟัง สงสัยต่อว่า ญาณที่ ๑ ถึงญาณที่ ๓ เป็น จินตญาณ

    ท่านอาจารย์ จินตญาณ เพราะเหตุว่า ไม่ใช่มาคิดเอาเอง แต่หมายความว่า แม้ขณะที่สภาพธรรมปรากฏ กำลังประจักษ์ ในลักษณะที่เป็นนามธรรม และรูปธรรม สภาพคิดซึ่งเป็นนามธรรมล้วนๆ นั้น ยังคิดถึงสภาพธรรมที่กำลังปรากฏในขณะนั้นได้ ยังมีสภาพนามธรรมที่คิด ในขณะนั้นที่เกิดสลับ

    ผู้ฟัง ต่างกับญาณที่ ๔

    ท่านอาจารย์ ความแจ่มแจ้งจะต้องต่างกันมาก มิฉะนั้นวิปัสสนาญาณจะไม่คมขึ้น และก็ไม่สามารถที่จะดับกิเลส เป็นสมุจเฉทด้วย เพียงแค่ ๑ ๒ ๓ ไม่มีทาง ๔ ๕ ๖ ยิ่งไม่มีทาง ถึงแม้ว่าประจักษ์การเกิดดับเดี๋ยวนี้ ก็ยังไม่ถึง เพราะว่าจะต้องคมขึ้น ชัดเจนขึ้น เพราะฉะนั้นต้องทราบว่าวิปัสสนาญาณ ไม่ใช่สติปัฏฐาน ไม่ใช่ว่ากำลังเจริญๆ ไป แล้วพอแยกเป็นนาม เป็นรูป นั้นคือ นามรูปปริจเฉทญาณ ไม่ได้เด็ดขาด

    ผู้ฟัง วิปัสสนาไม่ใช่สติปัฐาน หมายความว่าอะไร

    ท่านอาจารย์ หมายความว่าไม่ใช่ ระดับของสติปัฎฐาน เวลานี้สติคุณเครือวัลย์เกิด คุณเครือวัลย์กำลังระลึกที่ลักษณะของรูปบ้าง นามบ้าง นี้เป็นวิปัสสนาญาณหรือ

    ผู้ฟัง ไม่เป็น

    ท่านอาจารย์ ต้องอบรมเจริญไป จนกว่าวิปัสสนาญาณนั้นจะเกิด ประจักษ์แจ้งสภาพธรรม ตามความเป็นจริง ซึ่งไม่ใช่ขณะที่กำลังระลึก และเข้าใจว่าค่อยๆ รู้ขึ้น ค่อยๆ มากขึ้น ค่อยๆ ชัดขึ้น เราจะคิดอย่างนี้ก็ได้ แต่ไม่ใช่การประจักษ์ การประจักษ์คือสิ่งนั้นปรากฏให้เห็น ตามความเป็นจริง ซึ่งจะปรากฏได้ก็ทางมโนทวาร ที่จะเป็นวิปัสสนาญาณ เป็นการประจักษ์แจ้ง ลักษณะของสภาพธรรม เป็นความสมบูรณ์ของปัญญา ชั่วขณะ ไม่ใช่ตลอดไป ชั่วขณะเพราะเวลานี้สภาพธรรม โดยการศึกษาทุกคนทราบว่า จากปัญจทวาร หรือ ทางหนึ่งทางใด และก็มีภวังค์คั่น และก็มโนทวาร เวลานี้กำลังเป็นอย่างนั้นตามความเป็นจริง แต่ไม่ปรากฏให้เห็นความจริงอย่างนี้ มโนทวารนี้ไม่มีปรากฏเลย จักขุทวารเห็นอยู่ตลอด และก็มีเสียงมาสลับ และตัวมโนทวารหายไปไหน ขณะที่มีการรู้อารมณ์ทางหนึ่งทางใด สภาพรู้หรือธาตุรู้ ไม่ใช่สิ่งที่ปรากฏ เป็นอาการรู้ลักษณะของสิ่งที่ปรากฏ สิ่งที่ปรากฏคือสิ่งที่ปรากฏ เรานั่งกันอยู่อย่างนี้ สิ่งที่ปรากฏทางตา เราไม่เคยรู้เลยว่า ที่เรารู้ว่าเป็นคนนี้ ทางใจ เพราะฉะนั้นเราจะเรียกว่า เราไปรู้ความจริงได้อย่างไร ถ้าสติเรามีการระลึกจริงๆ ค่อยรู้จริงๆ เราจะรู้ได้เลยว่ามันเพียงนิดเดียว แล้วต่อจากนั้นเป็นเรื่องของทางใจหมด ไม่ว่าจะเป็นทางหู หรือทางอะไรมาทั้งหมด เท่ากับว่ามากระทบให้ใจ เป็นศูนย์กลางให้ตั้งคิดนึกเรื่องราวต่างๆ เพราะว่าสิ่งนี้มันเพียงปรากฏเท่านั้น ถ้าเรามีความสามารถที่จะ ละ คลาย การยึดถือรูปที่กำลังปรากฏจริงๆ การเกิดดับของรูปนั้นก็ปรากฏได้ แต่เมื่อยังไม่มีการละ คลาย เลย ยังไม่มีการรู้เลยว่า แท้จริงสิ่งที่ปรากฏทางตา มันปรากฏเฉยๆ และทางใจปรุงแต่งคิดนึกไป เป็นเรื่องมโนทวารล้วนๆ เหมือนกันเรานั่งหลับตาคิด และลืมตาหน่อย แล้วกลับมาคิดไป แ ต่ทีนีhเพราะว่าเราไม่ได้หลับตา การนึกคิดของเรา มันก็เลยต่อทางตาที่เห็น เหมือนกับว่าพอเห็นแล้วเป็นเรื่องเลย แต่ถ้าสมมติว่าเราหลับตาอยู่ตลอด คิดแล้วก็ลืมมานิดหนึ่ง แล้วก็หลับตา จะรู้ได้เลยว่ารูปนี้มันเร็ว เพียงแต่ว่าปรากฏให้คิดนึกตาม ไม่ว่าจะเป็นทางตา หรือทางหู ทางจมูกทางลิ้น หรือทางกาย เราก็ถึงจะรู้ว่า โลกของมโนทวาร มันต้องมากกว่าทาง ปัญจทวาร เวลานี้มันไม่ปรากฏ เพราะไม่มีการระลึกที่จะรู้ลักษณะของสภาพธรรมตามความเป็นจริง แล้วก็ต่อกันสนิท จนกระทั่งลักษณะของมโนทวารไม่ได้ปรากฏ เพราะฉะนั้นจะไปดับอะไร อย่างไร ในเมื่อไม่มีการละ คลาย ที่จะรู้ว่าจริงๆ แล้ว มันเป็นเพียงสิ่งที่ปรากฏให้ใจได้นึกเท่านั้นเอง แล้วนึกไปสาระพัดนึก จะนึกยังไงก็นึกไปจากสิ่งที่ปรากฏทางตา เดี๋ยวทางหูมานึกต่ออีก ไม่มีการหยุดทางใจ แต่จากสิ่งที่มากระทบนิดๆ หน่อยๆ นี้ตลอด เพราะฉะนั้นโลกอีกโลกหนึ่งมันเป็นโลกที่ต่างกับโลกนี้ เป็นโลกของความที่ไม่มีเลยที่จะเป็นสัตว์บุคคล มีแต่สภาพธรรมล้วนๆ แต่ละอย่าง ที่ปรากฏทีละอย่าง

    . เมื่อกี้ตามไม่ทัน ที่อาจารย์บอกว่าหลับตาแล้วลืมตา

    ท่านอาจารย์ ถ้าคุณมธุรส หลับตาอยู่นานๆ แล้วลืมตาขึ้นมา และหลับตาอยู่นานๆ คือคิดนึกไปเรื่อยๆ แล้วนานๆ ลืมตาขึ้นมาที แล้วก็คิดนึกไปอีก คุณมธุรสก็จะเห็นได้ว่า จิตที่คิดนึก มันคิดนึก และสิ่งที่ปรากฏทางตา เพียงปรากฏ คุณมธุรสเวลานี้ คิดนึกตามสิ่งที่ปรากฏทางตา เพราะมันปรากฏอยู่ตลอด แต่ถ้าคุณมธุรสเปลี่ยนใหม่ เป็นหลับตาแล้วก็คิดเรื่องอะไรก็ตามแต่ และลืมตา และก็หลับไป คุณจะรู้ว่าโลกของความคิดนึกมันมาก แต่ว่ามันอาศัยนิดเดียวจากทางตา นิดเดียวจากทางหู แต่ในเมื่อมันเร็วจนกระทั่งว่า เราไม่เคยรู้จักโลกทางมโนทวาร ที่เกิดต่อจากทางตา เพราะทางตาบังอยู่ตลอด เพราะฉะนั้นโลกของเรานี้มันก็เป็นอีกโลกหนึ่งซึ่งเต็มไปด้วยสิ่งซึ่งติดกันเป็นพืด และมันก็ไม่ได้แยกออกจากกัน และไม่สามารถจะรู้ด้วยว่ากำลังเห็น แท้ที่จริง คิดนึกมากกว่า เพราะว่ามันเป็นคนนั้นกำลังพูด เราจะรู้จริงๆ ว่าสิ่งนี้กำลังปรากฎ เพราะเราสามารถที่จะรู้ มโนทวารได้ เพียงปรากฏ และเรื่องของความคิดนึก เราจะคลายการที่จะเห็นว่าสิ่งที่ปรากฏเป็นสัตว์ เป็นบุคล และเราจะเริ่มรู้ว่ามันเป็นความคิดนึก เพราะฉะนั้นการที่จะแยกทางตาออกจากทางใจ เป็นทางที่ทำให้เราคลายกันเห็นสิ่งที่ปรากฏ เป็นสัตว์ เป็นบุคล ค่อยๆ รู้ความจริงเข้าเมื่อไหร่ เมื่อนั้นถึงจะประจักษ์การเกิด ดับได้ ไม่ใช่ว่าไม่รู้อะไร แล้วก็คอยเมื่อไหร่จะประจักษ์การเกิดดับ มันต้องเป็นเรื่องของการรู้ แล้วละไปเรื่อยๆ แล้วก็เพิ่มขึ้นด้วย จนกระทั่งเป็นปกติ ต้องเป็นชีวิตธรรมดาปกติ แล้วก็สามารถที่จะรู้ว่า ขณะใดมีสติ ขณะใดหลงลืมสติ พูดถึงว่าคุณจารุพันธุ์ลองเทียบเคียงว่า ถ้าคุณจารุพันธ์จะคิดไปเรื่อยๆ หลับตาคิด แล้วลืมตามานิดหนึ่ง แล้วก็คิดไป เพื่อเป็นการเปรียบเทียบ ให้รู้ว่าสิ่งที่ปรากฏทางตา กับทางความคิดทางใจ ความคิดทางใจ มันคิดมาก เพราะว่าเวลานี้ ทางตาไม่หลับลงไป ต่อเอาไว้สนิท เพราะฉะนั้นเรื่องของความคิดของเรา คิดนึกในเรื่องที่ปรากฏทางตา เพราะว่าทางตามันปรากฏให้เราคิดนึก แต่นี่ตามความเป็นจริง ทางตาดับ ไม่ใช่ไม่ดับ เพราะทางใจมันคิด เพราะฉะนั้นทางใจ มันไม่ใช่ทางตา เพื่อที่จะเห็นว่าการพิจารณา ละ คลาย การยึดถือสิ่งที่ปรากฏทางตาก็ต้องมีความรู้ ความเข้าใจ ที่จะแยกทางใจที่คิด โดยการที่รู้จริงๆ ว่า ทางตาเป็นเพียงสิ่งที่ปรากฏ แล้วต่อจากนั้นคิด ถ้าเราสามารถที่จะรู้ว่าเราอยู่ในโลกของความคิดมากมายเหลือเกิน โดยสิ่งที่ปรากฏนิดเดียว ไม่ว่าจะเป็นตาหรือทางหู แต่ว่าความเร็วของเขา และการที่สติไม่เคยระลึก และการที่ปัญญาไม่เคยรู้จริงๆ มันก็ทำให้เรา จมอยู่ในโลกของสิ่งที่มันรวมกัน และก็ติดแน่น จนเราคิดว่าสิ่งที่ปรากฏทางตานี้ไม่ดับเลย แต่ความจริงเหมือนทางทวารอื่นทุกทวาร ความคิดมากมายมหาศาล ก็คิดสิว่าทางตามันนิดเดียว ชั่วขณะจักขุวิญญาณ สัมปฏิจฉันนะ โลภมูลจิต และภวังค์คั่นเท่าไหร่ และทางมโนทวาร รับรู้อีกเท่าไหร่ ทางมโนทวารมากมาย

    . ทางใจไม่สำคัญหรือ

    ท่านอาจารย์ ทางใจ คุณจารุพันธ์ จะรู้ว่าโลกของสมมติบัญญัติ มันตั้งต้นที่ทางใจ ถ้าไม่มีการคิดนึกที่ทางใจ ไม่มีสมมติบัญญัติทั้งหลาย มันก็มีแต่ปรมัตถ์ทางทวารทั้ง ๕

    ผู้ฟัง อันที่จริงเราไปเข้าใจคำว่า สมมติบัญญัติ ถึงชื่อ ความจริงผมว่ามากมายกว่านั้น ชื่อเป็นเพียงแต่ตัวอย่างเดียว

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นเราจะไม่รู้เลยว่า แท้จริงสมมติสัจจะ กับ ปรมัตถสัจจะ มันแยกกันตรงไหน ถ้าทางปัญจทวารแล้ว ปรมัตถสัจจะ เรายังไม่ต้องไปคิดชื่อเสียง เรียงนาม อะไรทั้งสิ้น มันเป็นสภาพธรรมที่เกิดปรากฏ กระทบ แล้วดับ แต่ว่าสมมติสัจจะนี้เต็ม เทียบมางมโนทวาร

    ผู้ฟัง อยากให้ช่วยกรุณาอธิบายว่า การศึกษาพระอภิธรรม จำเป็นสำหรับการเจริญสติปัฎฐานอย่างไรบ้าง แล้วก็ต้องศึกษาพระอภิธรรมสักแค่ไหน จึงจะเป็นเหตุปัจจัย เป็นพื้นฐานในการเจริญสติปัฎฐานได้เพื่อเกื้อกูล

    สมพร การศึกษาพระอภิธรรม เราต้องเข้าใจว่าพระอภิธรรมคืออะไร อภิธรรมมาจากอภิ ศัพท์หนึ่ง ธรรม ศัพท์หนึ่ง เพราะว่าดูหัวข้อแล้วธรรมล้วนๆ ไม่มีบัญญัติ เพราะว่าอภิธรรม มีความหมายหลายอย่าง แต่ในที่นี้ก็แปลว่าธรรมอันยิ่ง คือมีแต่ธรรม ไม่มีบัญญัติ เป็นธรรมอันยิ่ง ถ้ามีบัญญัติด้วยก็ไม่ใช่ธรรมอันยิ่ง ธรรมอันยิ่งก็คือสัจจะ ที่เป็นของจริง ถ้าเราไม่ศึกษาให้เข้าใจ เรื่องปรมัตถธรรมแล้ว เราจะปฏิบัติ เราจะทำอย่างไร เราไม่รู้จักแม้สติ ไม่รู้จักแม้อารมณ์ของสติ เราก็ยึดบัญญัติเป็นอารมณ์ที่เราชำนาญมาตั้งแต่เล็กจนกระทั่งโต ดังนั้นเราจำเป็นต้องศึกษาพระอภิธรรมเพื่อให้เข้าใจว่า อันนี้เป็นบัญญัติ อันนี้เป็นปรมัตถ์ แต่ว่าการศึกษามากน้อย แล้วแต่ว่าปัจจัยของเราได้สะสมมา ถ้าสะสมมามากแล้ว ก็เข้าใจธรรมได้รวดเร็ว แม้ศึกษาเวลาเล็กน้อย แต่ถ้าเราศึกษามาน้อยในชาติก่อน ในชาตินี้เราก็ต้องศึกษาให้มาก ศึกษาจนกระทั่งเราเข้าใจว่า ปรมัตถธรรมคืออะไร เบื้องต้นศึกษาการที่กล่าวว่าที่กล่าวถึงอาหาร เพราะว่าพบสัตบุรุษ ก็เป็นปัจจัยให้เกิดการฟัง การฟังนั้นก็คือการศึกษาธรรมนั่นเอง การศึกษาธรรมแล้ว เราก็ได้ศรัทธา เมื่อได้ศรัทธาแล้ว เราก็พิจารณาได้ แล้วปฏิบัติได้ถูกต้อง เพราะอำนาจการพิจารณา ซึ่งเป็นโยนิโสมนสิการ การศึกษาต้องให้เข้าใจ ถ้าไม่เข้าใจ ก็ไม่สามารถปฏิบัติได้ถูกต้อง ที่บอกว่ามากน้อย ก็ไม่สามารถจะพูดได้ พูดได้เพียงแต่ว่า ศึกษาให้เข้าใจ เข้าใจเป็นมาตรฐาน

    . มีท่านผู้ฟังถามมาว่า โยนิโสมนสิการ ความหมายที่แท้จริงเป็นอย่างไร

    สมพร โยนิโสนมสิการ ก่อนที่กุศลจะเกิด แล้วก็มีโยนิโสมนสิการ บางครั้งก็เรียกจิตดวงนั้นว่า เป็นชวนปฏิปาทกนมสิการ ชวนะ เกิดได้กับกุศลบ้าง อกุศลบ้าง กิริยาบ้าง แต่ว่าสำหรับโยนิโสมนสิการ เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้กุศลเกิดโดยตรง ตรงข้ามกับอโยนิโสมนสิการ เพราะว่าจะเป็นปัญจทวาร หรือมโนทวารก็ตาม ถ้ากุศลจะเกิด ต้องมีโยนิโสมนสิการ กระทำไว้ในใจโดยแยบคาย เราว่าในภาษาไทยมันยาว แต่คำว่ากระทำไว้ในใจโดยแยบคาย ถ้าวิถีจิตมันเร็ว เราก็ไม่รู้จะเปรียบเทียบอย่างไรได้ มันเร็ว เสมือนหนึ่งว่ามันช้า แต่ว่าความจริง จิตมันแล่นเร็ว เป็นเบื้องต้นของกุศลคือ โยนิโสมนสิการ คือชวนปฎิปาทกนมสิการ มนสิการที่ให้สำเร็จเป็นชวนะ เป็นกุศลเกิดขึ้นอีกอย่างหนึ่ง เรียกมโนทวาราวัชชนะ หรือ โวฏฐัพพนะ อะไรก็เป็นทำนองเดียวกัน

    ท่านอาจารย์ ถ้าจะหมายความถึง โยนิโสนมสิการ ที่เป็นปัจจัยให้กุศลจิตเกิด หมายความถึงในขณะจิตดวงเดียวกัน เพราะว่าขณะที่เป็นกุศล ต้องเป็นโยนิโสนมสิการ ถ้าเป็นอกุศลก็ต้องเป็นอโยนิโสมนสิการ แต่ว่าสำหรับกิริยาจิต ที่เป็นอเหตุกจิต เป็นกุศลไม่ได้เป็นอกุศลไม่ได้ เพราะฉะนั้นเป็นแต่เพียงขณะที่กระทำทาง โดยการสะสมมา ไม่ใช่ว่าตัวเขามีอำนาจที่จะไปให้กุศลเกิด และ กุศลจิตเกิด แต่ว่าเป็นกิจของจิต เพราะว่าจิตนี้จะต้องทำกิจตั้งแต่ปฏิสนธิมา จนกระทั่งเป็นภวังค์ จนกระทั่งขณะที่อารมณ์กระทบก็จะต้องมี วิถีปฏิปาทกนมสิการ อีกชื่อหนึ่งก็คือ ปัญจทวาราวชัชนะ เพราะเหตุว่าเป็นจิตที่เป็นวิถีดวงแรก ที่จะทำให้วิถีหลังๆ เกิดได้ ถ้าจิตดวงนี้ไม่เกิด วิถีจิตจะเกิดไม่ได้เลย ก็ต้องเป็นภวังค์ไปเรื่อยๆ เพราะฉะนั้นสำหรับ ปัญจทวาราวัชชนะ เป็นอเหตุกจิต เป็นชาติกิริยา ซึ่งไม่ใช่กุศล และไม่ใช่อกุศล

    ฟังธรรมจากหัวข้อย่อย

    หมายเลข 15
    22 มี.ค. 2567

    ซีดีแนะนำ