รวมสติปัฎฐาน ตอนที่ 03


    ตอนที่ ๓

    ท่านอาจารย์ หรือเวลาที่เป็นสุข เคยระลึกได้บ้างไหมว่า เป็นเพียงสภาพความรู้สึกชนิดหนึ่งเท่านั้น เวลาที่ความทุกข์เกิดขึ้นเคยระลึกได้บ้างไหมว่า เป็นสภาพความรู้สึกชนิดหนึ่งเท่านั้น

    เพียรระลึกรู้ความรู้สึกที่เกิดปรากฏ ไม่ว่าจะเป็นความรู้สึกเฉยๆ ความรู้สึกดีใจ ความรู้สึกเสียใจว่า สภาพความรู้สึกลักษณะในขณะนั้นไม่ใช่ตัวตน เพื่อจะได้รู้ชัดในความเกิดขึ้นและดับไปของความรู้สึกต่างๆ

    เพราะฉะนั้น จึงต้องมีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ การเจริญสติปัฏฐานไม่ใช่การเจริญสมาธิ หลายท่านที่ได้ฟังการเจริญสติปัฏฐานแล้วก็เสียดายเวลาของท่านที่ไปนั่งหลับตา และกล่าวว่า แทนที่จะไปนั่งหลับตาจดจ้องอยู่ที่อารมณ์เดียวแล้วไม่รู้อะไร ทำไมไม่ระลึกรู้ลักษณะของสิ่งที่กำลังปรากฏ เพิ่มความรู้ชัด คลายความไม่รู้ คลายความสงสัย คลายการยึดถือธาตุที่ รากฎตบอดเวลาว่า เป็นตัวตน เพราะถ้าจดจ้องอยู่ที่อารมณ์หนึ่งอารมณ์ใดอารมณ์เดียวแล้วก็ไม่รู้อารมณ์อื่น

    เป็นของที่แน่นอนว่า การที่จะมีปัญญารู้ชัด สติจะต้องระลึกรู้ลักษณะของสิ่งที่ปรากฏมากจึงจะเป็นมหาสติปัฏฐาน เพราะฉะนั้น การเจริญสมาธิรู้ที่ลมหายใจเท่านั้น เป็นอานาปานสติสมาธิ ไม่รู้อย่างอื่นเลย แต่เวลาที่อานาปานสติสมาธิเจริญอย่างไรจึงมีอานิสงส์มาก อานาปานสติสมาธินั้นจะต้องมีสติ เห็นกายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต ธรรมในธรรมจึงจะเป็นการเจริญอานาปานสติสมาธิที่มีผลมากมีอานิสงส์มาก มิฉะนั้นก็จะเป็นการเจริญเพียงอานาปานสติสมาธิที่บรรลุปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน

    แต่อาปานสติสมาธิที่เป็นสติปัฏฐาน จะต้องเห็นกายในกาย ขณะหายใจออกขณะหายใจเข้า เห็นเวทนาในเวทนาขณะหายใจออกขณะหายใจเข้า

    เพราะฉะนั้น ผู้ที่จะเจริญสติปัฏฐานและคิดว่าต้องรู้อารมณ์เดียว จะเป็นการเจริญปัญญาได้ไหม ไม่มีหนทางเลยที่ปัญญาจะเจริญขึ้น ละอะไรก็ไม่ได้ ยังยินดีพอใจจดจ้องต้องการ ไม่ใช่เป็นการเจริญมหาสติปัฏฐานแน่

    ข้อความต่อไปที่ว่า มีความเพียร ลักษณะของสัมมาวายามะ คือ เพียรระลึกรู้สิ่งที่ปรากฏ เวลาที่ระลึกรู้ลักษณะของกายในกายนั้น ก็ต้องมีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ คือ ตามระลึกสิ่งที่เกิดและกำลังปรากฏ ไม่ใช่สิ่งที่ยังไม่ปรากฏ ขณะนี้ทุกคนเจริญได้ มีเห็น มีสี มีได้ยิน มีเสียง มีความเพียรได้ มีสัมปชัญญะได้ มีสติได้เนืองๆ บ่อยๆ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้

    ถ้าเป็นในหมวดของกาย ที่ท่านกล่าวไว้

    ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้

    ข้อความอธิบายใน สติปัฏฐานวิภังค์ มีว่า

    ที่ว่ากำจัดอภิชฌา และโทมนัสในโลกเสียได้ ก็คือ กายนั่นเองชื่อว่าโลก แม้ อุปาทานขันธ์ ๕ ก็ชื่อว่า โลก นี้เรียกว่า โลก

    ถึงแม้ในขณะที่ระลึกที่กาย ขันธ์ ๕ ปรากฏก็ได้ แล้วแต่ว่า จะเป็นขันธ์หนึ่งขันธ์ใด เพราะฉะนั้น ก็กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลก

    ถ้าพิจารณากาย เห็นกายในกาย กายนั่นเองชื่อว่าโลก กายก็เป็นโลกด้วย ความหมายของอภิชฌา คือ ความกำหนัด

    ความกำหนัดนักแห่งจิตอันใด นี้เรียกว่า อภิชฌา

    โทมนัส ความหมายคือ ความไม่สบาย ความทุกข์ ความไม่แช่มชื่นทางใจ นี้เรียกว่า โทมนัส

    เวลานี้ถ้าเพลินไป สติไม่ระลึกในกายก็เป็นอภิชฌา ถ้าไม่แช่มชื่น ไม่พอใจ ไม่พิจารณาสภาพลักษณะของธรรมที่กำลังปรากฏทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ก็เป็นโทมนัส

    ที่จะกำจัดอภิชฌาและโทมนัสเสียได้ คือ ระลึกรู้ลักษณะของสิ่งที่ปรากฏ ไม่เลือก ไม่ติดข้อง ที่ว่าเห็นเวทนาในเวทนา ก็โดยนัยเดียวกัน คือ ความรู้สึกเป็นสุขบ้าง เป็นทุกข์บ้าง เฉยๆ บ้าง แล้วก็กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ เวทนานั้นเองชื่อว่าโลก แม้อุปาทานขันธ์ ๕ ก็ชื่อว่า โลก นี้เรียกว่า โลก

    เห็นจิตในจิต ก็โดยนัยเดียวกัน คือ ในบางคราวก็พิจารณารู้จิตของตนเอง และบางคราวก็พิจารณารู้จิตของบุคคลอื่นว่า ขณะนั้นกำลังมีราคะ หรือว่าปราศจากราคะ มีโทสะหรือปราศจากโทสะ เป็นต้น กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ จิตนั่นเองชื่อว่าโลก แม้อุปาทานขันธ์ ๕ ก็ชื่อว่า โลก นี้เรียกว่า โลก

    ไม่ใช่กำจัดที่อื่นเลย กำจัดอภิชฌาโทมนัสในโลก คือ ในขันธ์ ๕ ที่ปรากฏ ที่ว่าเห็นธรรมในธรรม ไม่ว่าจะเป็นภายในหรือภายนอกนั้น ก็แสดงเรื่องของนิวรณ์ เรื่องของโพชฌงค์ ที่ว่า กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ คือ ธรรมเหล่านั้นเองชื่อว่า โลก แม้อุปาทานขันธ์ ๕ ก็ชื่อว่า โลก นี้เรียกว่า โลก

    นี่เป็นเรื่องของอุทเทสวาระ

    อย่าคิดจำกัดสติ ไม่ว่าจะเป็นกายก็ระลึกได้ เวทนาก็ระลึกได้ จิตก็ระลึกได้ ธรรมทั้งหลายก็ระลึกได้ ไม่ว่าจะเป็นภายในที่ตนเอง หรือที่บุคคลอื่นที่เป็นภายนอก สติก็ระลึกได้ ถ้าจำกัด ก็เป็นตัวตน และไม่เป็นการเจริญปัญญาด้วย จำกัดไม่ให้ปัญญาเกิดขึ้น ซึ่งไม่ใช่การเจริญสติปัฏฐาน

    เพื่อประกอบความมั่นใจของท่านผู้ฟังให้เข้าใจชัดเจนว่า การเจริญสติปัฏฐานนั้นไม่เว้นสิ่งใด ขอกล่าวถึง พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุปกรณ์ สติปัฏฐานกถา ซึ่งเป็นคำถามตอบของท่านสกวาทีกับปรวาที

    ท่านสกวาทีถามว่า ธรรมทั้งปวงเป็นสติปัฏฐานหรือ

    เวลาที่ศึกษาพระไตรปิฎก ก่อนที่จะดูคำตอบ ท่านก็อาจจะตอบเองได้ และก็ดูว่าตรงกันไหม ธรรมทั้งปวงเป็นสติปัฏฐานหรือ

    ปรวาทีตอบว่า ถูกแล้ว

    สกวาทีถามว่า ธรรมทั้งปวงเป็นสติ เป็นสตินทรีย์ เป็นสติพละ เป็นพุทธานุสติ ธัมมานุสติ สังฆานุสติ จาคานุสติ อานาปานสติ มรณานุสติ กายคตาสติหรือ

    ท่านสกวาทีไม่ยอมที่จะให้ผ่านไปง่ายๆ มิฉะนั้นแล้วก็จะไม่ชัดเจน ถ้ากล่าวว่า ธรรมทั้งปวงเป็นสติปัฏฐาน ถ้าอย่างนั้นธรรมทั้งปวงก็เป็นสติ เป็นสตินทรีย์ เป็นสติพละ เป็นพุทธานุสติ เป็นจาคานุสติ เป็นอานาปานสติ เป็นมรณานุสติ เป็นกายคตาสติหรือ

    ปรวาทีตอบว่า ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น

    คำว่า สติปัฏฐาน หมายถึงสติเจตสิก ซึ่งเป็นองค์ของมรรคมีองค์ ๘ อย่างหนึ่งและหมายถึงอารมณ์ของสติปัฏฐานอีกอย่างหนึ่ง

    กาย เวทนา จิต ธรรม เป็นสติปัฏฐานเพราะเป็นอารมณ์ของสติ สติที่ระลึกเป็นไปในกาย เวทนา จิต ธรรม เป็นสติปัฏฐาน

    สติขั้นทาน ระลึกเป็นไปในทาน ไม่ใช่สติปัฏฐาน

    สติขั้นวิรัติทุจริต ไม่ใช่สติปัฏฐาน

    สติที่ทำให้จิตสงบเป็นสมาธิ ละความโกรธความโลภต่างๆ ไม่ใช่สติปัฏฐาน แต่สติปัฏฐานเป็นสติที่ระลึกรู้ลักษณะของกาย เวทนา จิต ธรรม

    สติ เป็นสติปัฏฐานด้วย และสิ่งที่สติระลึกรู้เป็นสติปัฏฐานด้วย เพราะฉะนั้น ข้อความข้างต้นที่สกวาทีถามว่า ธรรมทั้งปวงเป็นสติปัฏฐานหรือ ปรวาทีจึงตอบว่า ถูกแล้ว

    หมายความถึง สติปัฏฐานในความหมายของอารมณ์ของสติ คือ สติระลึกรู้ได้ แต่สำหรับที่สกวาทีถามว่า ธรรมทั้งปวงเป็นสติ เป็นสตินทรีย์ เป็นสติพละ เป็นพุทธานุ-สติ เป็นจาคานุสติ อานาปานสติ มรณานุสติ กายคตาสติหรือ ปรวาทีจึงกล่าวว่า ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น

    เย็น ร้อน อ่อน แข็ง จะเป็นสตินทรีย์ไม่ได้ เป็นสติพละไม่ได้ เป็นพุทธานุสติไม่ได้ ไม่ใช่ระลึกถึงพระพุทธคุณ เป็นจาคานุสติไม่ได้ เพราะเหตุว่า ที่สกวาทีถามครั้งที่ ๒ นั้น หมายถึงสติเจตสิก ซึ่งเป็นมรรคหนึ่งในมรรคมีองค์ ๘

    แต่ถ้าเป็นการเจริญสติปัฏฐาน ความเพียรระลึกที่ลักษณะ ไม่ว่าจะเป็นลักษณะของอิฏฐารมณ์หรืออนิฏฐารมณ์ เพื่อการรู้ชัดในลักษณะของรูปถ้าระลึกที่รูป ถ้าระลึกลักษณะของนาม คือ รู้ชัดในลักษณะที่เป็นสภาพรู้ ไม่ปะปนกัน

    สติเป็นธรรมชาติที่ระลึกลักษณะของสิ่งที่กำลังปรากฏ แล้วรู้ถูกตามความเป็นจริง การระลึกลักษณะของเย็นที่ปรากฏทางกายเป็นของจริง เป็นลักษณะธรรมชาติชนิดหนึ่ง ไม่พึงยึดถือว่า เป็นตัวตน ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา เกิดแล้วหมดไป ถ้าระลึกที่ลักษณะรู้ รู้สึกว่า เย็น รู้ในลักษณะเย็น รู้ในลักษณะร้อน ขณะที่รู้สึกลักษณะร้อน รู้ลักษณะเย็น สติระลึกได้ว่า ลักษณะนั้นเป็นเพียงสภาพรู้เท่านั้น เพราะฉะนั้นผู้ที่จะเจริญสติ ขอให้ทราบความต่างกันของขณะที่หลงลืมสติกับขณะที่มีสติเป็นขั้นแรก หลงลืมสติคือ ไม่ได้รู้ลักษณะของสิ่งที่กำลังปรากฏ หลงไป เพลินไป แต่พอระลึกได้ก็รู้ลักษณะของสิ่งที่กำลังปรากฏทางหนึ่งทางใดก็ได้ ให้รู้ว่าสิ่งนั้นกำลังปรากฏจริงๆ ในขณะนั้น ลักษณะของสิ่งนั้นคืออะไร ถ้าจะระลึกที่เสียงก็รู้ว่า สิ่งนี้ปรากฏทางหูเท่านั้น ลักษณะที่ปรากฏทางหูเป็นลักษณะอย่างหนึ่ง ไม่ใช่รู้เรื่อง ไม่ใช่รู้เสียง แต่เวลาที่รู้เรื่องรู้ความหมายเป็นเพียงนามธรรมที่เกิดขึ้นรู้แล้วหมดไป เป็นลักษณะธรรมชาติอีกชนิดหนึ่ง

    บางท่านไม่ทราบว่า นามคืออะไร รูปคืออะไร โดยการศึกษาทราบขันธ์ ๕ รูปขันธ์มี ๑ นามขันธ์มี ๔ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ แต่เวลาเจริญสติไม่รู้ลักษณะของนามขันธ์ รูปขันธ์ ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น เพราะเหตุว่า ไม่ทราบลักษณะที่เป็นนาม ไม่ทราบลักษณะที่เป็นรูป ทราบแต่ชื่อว่าขันธ์ ๕ มีอะไรบ้าง รูปขันธ์เป็นรูป ๑ นามขันธ์เป็นนาม ๔ ทราบเพียงชื่อ แต่ถ้าทราบลักษณะจะรู้ว่า ลักษณะของรูป คือ สภาพที่ปรากฏทางตา หู จมูก ลิ้น กาย หรือใจ สภาพนั้นไม่ใช่สภาพรู้ ไม่ใช่สภาพที่รู้อารมณ์เลย ส่วนนามธรรมเป็นสภาพที่คิด ขณะที่คิดนั้นเป็นนามขันธ์เป็นนามธรรม

    ที่ได้เรียนมากมายในปริยัตินั้น ในขณะที่เกิดขึ้นปรากฏลักษณะที่ไม่มีรูปร่าง ไม่ใช่เย็น ไม่ใช่ร้อน ไม่ใช่สี ไม่ใช่เสียง ไม่ใช่กลิ่น แต่เป็นของที่มีจริง สภาพการนึกคิดเป็นของที่มีจริง ไม่ใช่รูปแต่เป็นนาม นามธรรมคือ สภาพที่รู้ทางตา รู้ทางหู รู้ทางจมูก รู้ทางลิ้น รู้ทางกาย คิดนึกทางใจ จำได้ เป็นสุข เป็นทุกข์ เป็นโลภ เป็นโกรธ เป็นหลง เป็นอิสสา เป็นมานะ เป็นพยาบาท เป็นสารพัดอย่างที่ทุกท่านมีมากๆ ไม่ใช่น้อย เพราะฉะนั้นเวลาที่อยากรู้ว่า นามธรรมคืออะไร มีลักษณะอย่างไร ที่ตัวท่านมีครบที่จะให้ระลึกได้ รู้ได้ในลักษณะของนามไม่ใช่ในชื่อ เพราะฉะนั้นผู้ที่รู้ว่า สภาพของนามธรรมเป็นสภาพที่รู้ เป็นสภาพที่จำ เป็นสภาพที่เป็นสุข เป็นทุกข์ คิดนึก โลภ โกรธ หลง เวลาที่ธรรมชาติเหล่านั้นเกิดขึ้น ท่านรู้ว่าลักษณะนั้นบัญญัติเรียกว่า นาม แต่คำบัญญัตินั้นหมายถึง สภาพแต่ละลักษณะที่รู้บ้าง จำบ้าง คิดนึกบ้าง เป็นทุกข์บ้างนั่นเอง

    โดยเหตุนี้ ท่านสามารถจะรู้จักลักษณะของนามจริงๆ ที่ตัวของท่านชัดเจนว่า มีนามอะไรบ้างโดยสติระลึกในขณะที่สภาพนั้นๆ ปรากฏ ทุกท่านทราบว่า ท่านยังมีโลภะ ยังมีโทสะ แต่ไม่ทราบเวลาที่กำลังมีโลภะหรือกำลังมีโทสะ แต่ทราบว่าที่ตัวของท่านมีโลภะมาก มีโทสะมาก บางครั้งมีมานะ บางครั้งมีริษยาอิสสา บางครั้งมีมัจฉริยะ บางครั้งมีเมตตากรุณา ท่านทราบทุกอย่างแต่ไม่รู้ชัดคือ ไม่รู้ในขณะที่สิ่งนั้นกำลังปรากฏ ถ้ารู้ชัดในลักษณะของสิ่งนั้นที่กำลังปรากฏ สิ่งนั้นไม่มีรูปร่างเลย เป็นนามธรรมแต่ละชนิด ขณะนั้นท่านเข้าใจชัดเจนในความหมายของคำว่า นาม โดยไม่ติดอยู่เพียงคำบัญญัติว่า นาม เพราะเหตุว่า โดยมากท่านศึกษาปริยัติ ท่านคล่องว่าอะไรเป็นนามเป็นรูป แต่พอถึงเวลาเจริญสติแล้วงงเพราะไม่เคยระลึกรู้ลักษณะสิ่งนั้น ในขณะที่สิ่งนั้นกำลังปรากฏจริงๆ แต่ถ้าระลึกได้แล้วจะหมดความสงสัยในสภาพของนามของรูป ทุกขณะที่เกิดขึ้นแต่ละคน แต่ละอย่างไม่เหมือนกัน เกิดขึ้นต่างขณะกัน สติระลึกต่างขณะกัน ไม่มีอัตตาตัวตนไปบังคับให้ระลึกเหมือนกันได้

    เรื่องของการเจริญสติปัฏฐานเป็นเรื่องที่ไม่ควรประมาท เป็นเรื่องที่ควรเจริญ เป็นเรื่องที่ควรระลึกรู้ลักษณะของทุกสิ่งที่กำลังปรากฏ โดยไม่จำกัดไม่ว่าสิ่งนั้นเป็นอะไรก็ตาม ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ เป็นเรื่องที่สติควรระลึกรู้สภาพนั้นตามความเป็นจริง ถ้าเข้าใจอย่างนี้ก็จะไม่มีความสงสัยในเรื่องการเจริญสติปัฏฐาน จะไม่มีความคิดว่า ขณะนั้นเจริญสติปัฏฐานไม่ได้ ขณะนี้เจริญสติปัฏฐานไม่ได้ หรืออารมณ์นั้นเจริญสติปัฏฐานไม่ได้ อารมณ์นี้เจริญสติปัฏฐานไม่ได้ เพราะเหตุว่า ถ้ายังมีความเข้าใจอย่างนั้นจะไม่สามารถเข้าใจมหาสติปัฏฐานได้เลย ถ้าความเข้าใจเรื่องสติปัฏฐานชัดเจนมั่นคงจะไม่มีอุปสรรคที่จะเข้าใจมหาสติปัฏฐานสูตร

    พระปัจฉิมโอวาทใน ฑีฆนิกาย มหาวรรค มหาปรินิพพานสูตร มีข้อความว่า

    พระผู้มีพระภาครับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย บัดนี้ เราขอเตือนพวกเธอว่า สังขารทั้งหลาย มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา พวกเธอจงยังความไม่ประมาทให้ถึงพร้อมเถิด

    โอวาทครั้งสุดท้ายสำหรับพุทธบริษัทยังคงเป็นการเจริญสติปัฏฐาน คือ ให้ระลึกลักษณะของสังขารทั้งหลายที่มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา ไม่ว่าจะเป็นสิ่งใดทั้งสิ้นที่ปรากฏทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ ก็เป็นเครื่องระลึกสำหรับให้ปัญญารู้ชัดในลักษณะของสิ่งที่ปรากฏ ไม่ยึดถือสภาพธรรมทั้งหลายนั้นว่า เป็นสัตว์ บุคคล ตัวตน

    ข้อความใน มหาสติปัฏฐานสูตร เรื่องอุทเทสวารกถา ซึ่งเป็นกายานุปัสสนาสติปัฏฐานบรรพที่ ๑ คือ อานาปานบรรพ มีข้อความว่า

    ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพิจารณาเห็นกายในกายอยู่อย่างไรเล่า

    ภิกษุในธรรมวินัยนี้ไปสู่ป่าก็ดี ไปสู่โคนไม้ก็ดี ไปสู่เรือนว่างก็ดี นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ลดำรงสติไว้เฉพาะหน้า เธอมีสติหายใจออก มีสติหายใจเข้า

    เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่าเราหายใจออกยาว เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่าเราหายใจเข้ายาว

    เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่าเราหายใจออกสั้น เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่า เราหายใจเข้าสั้น

    ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้กำหนดรู้ตลอดกองลมหายใจทั้งปวง หายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้กำหนดรู้ตลอดกองลมหายใจทั้งปวง หายใจเข้า

    ย่อมสำเหนียกว่า เราจะระงับกายสังขาร หายใจออก

    ย่อมสำเหนียกว่า เราจะระงับกายสังขาร หายใจเข้า

    ดูกร ภิกษุทั้งหลาย นายช่างกลึง หรือลูกมือของนายช่างกลึงผู้ขยัน เมื่อชักเชือกกลึงยาว ก็รู้ชัดว่าเราชักยาว เมื่อชักเชือกกลึงสั้น ก็รู้ชัดว่าเราชักสั้น แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน

    เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่าเราหายใจออกยาว เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่า เราหายใจเข้ายาว

    เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่าเราหายใจออกสั้น เมื่อหายใจเข้าใจสั้น ก็รู้ชัดว่า เราหายใจเข้าสั้น

    ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้กำหนดรู้กองลมทั้งปวง หายใจออก

    ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้กำหนดรู้กองลมทั้งปวง หายใจเข้า

    ย่อมสำเหนียกว่า เราจักระงับกายสังขาร หายใจออก

    ย่อมสำเหนียกว่า เราจักระงับกายสังขาร หายใจเข้า

    ดังพรรณนามาฉะนี้

    ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกาย ภายในบ้าง

    พิจารณาเห็นกายในกาย ภายนอกบ้าง

    พิจารณาเห็นกายในกาย ทั้งภายในทั้งภายนอกบ้าง

    พิจารณาเห็นธรรม คือ ความเกิดขึ้นในกายบ้าง

    พิจารณาเห็นธรรม คือ ความเสื่อมในกายบ้าง

    พิจารณาเห็นธรรม คือ ทั้งความเกิดขึ้นทั้งความเสื่อมในกายบ้าง ย่อมอยู่

    อีกอย่างหนึ่ง สติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า กายมีอยู่ ก็เพียงสักแต่ว่าความรู้ เพียงสักแต่ว่าอาศัยระลึกเท่านั้น เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฎฐิไม่อาศัยอยู่แล้ว และไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก

    ดูกร ภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่า พิจารณาเห็นกายในกายอยู่

    จบอานาปานบรรพ

    นี่เป็นข้อความโดยตรงจากพระไตรปิฎก สำหรับอานาปานบรรพคงจะมีพยัญชนะที่ทำให้ยังข้องใจหรือสงสัยอยู่ แต่ข้อสำคัญคือ มหาสติปัฏฐาน ถึงแม้ว่า ในบรรพนี้จะมีคำว่า เราหายใจเข้า เราหายใจออก เป็นเครื่องระลึกเพื่อให้รู้ชัด คือ เห็นกายในกายซึ่งไม่ใช่เรา ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่ตัวตน เพราะฉะนั้น ก็ต้องเข้าใจพยัญชนะด้วย

    สำหรับอานาปานสตินั้น


    ฟังธรรมจากหัวข้อย่อย

    หมายเลข 8
    20 ม.ค. 2565

    ซีดีแนะนำ