รวมสติปัฎฐาน ตอนที่ 02


    ตอนที่ ๒

    ท่านอาจารย์ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ เพราะเหตุว่า ถ้าไม่มีความเพียรที่จะระลึกพิจารณารู้ลักษณะของสิ่งที่กำลังปรากฏ กี่ภพ กี่ชาติ ก็ไม่ประจักษ์ในลักษณะของสิ่งที่กำลังปรากฏตามความเป็นจริงได้ ซึ่งปรากฏตลอดเวลา เพราะฉะนั้นไม่ว่าจะเป็น กาย เวทนา จิต ธรรม ก็ต้องมีความเพียรอย่างนี้ คือ เพียรรู้ เวทนาเคยรู้บ้างไหม เคยระลึกได้บ้างไหมว่า กำลังรู้สึกเฉยๆ ใน ขณะที่กำลังเห็น ความรู้สึกเฉยๆ มีจริง เคยระลึกได้บ้างไหมว่า เป็นแต่เพียงความรู้สึกลักษณะหนึ่งเท่านั้น หรือเวลาที่เป็นสุข เคยระลึกได้บ้างไหมว่า เป็นเพียงสภาพความรู้สึกชนิดหนึ่งเท่านั้น เวลาที่ความทุกข์เกิดขึ้น เคยระลึกได้บ้างไหมว่า เป็นแต่เพียงสภาพความรู้สึกชนิดหนึ่งเท่านั้น ไม่ใช่เพียรที่อื่น แต่เพียรระลึกรู้ความรู้สึกที่เกิดปรากฏ ไม่ว่าจะเป็นความรู้สึกเฉยๆ ความรู้สึกดีใจ ความรู้สึกเสียใจว่า สภาพลักษณะในขณะนั้นไม่ใช่ตัวตน เพื่อจะได้รู้ชัดในความเกิดขึ้นและดับไปของความรู้สึกต่างๆ จึงต้องมีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ

    ผู้ฟัง คำว่า ไม่มีสติระลึกรู้ตามความเป็นจริง เช่น ถามเขาว่า เป็นสุขไหม เขาก็ตอบว่าเป็นสุข

    ท่านอาจารย์ ความสุข ตัวตนเป็นสุข ความสุขมี แต่หลงลืมสติไม่รู้ว่า ลักษณะที่เป็นสุขนั้นเป็นเพียงสภาพที่เกิดขึ้นแล้วดับไป เป็นสภาพความรู้สึกชนิดหนึ่งเท่านั้น ดังนั้นจึงมีแต่การเป็นตัวตนเพราะฉะนั้นการเจริญสติปัฏฐานไม่ใช่การเจริญสมาธิ หลายท่านที่ได้ฟังเรื่องการเจริญสติปัฏฐานแล้วก็เสียดายเวลาของท่านที่ไปนั่งหลับตา และกล่าวว่า แทนที่จะไปนั่งหลับตาจดจ้องอยู่ที่อารมณ์เดียวแล้วไม่รู้อะไร ทำไมไม่ระลึกรู้ลักษณะของสิ่งที่กำลังปรากฏ และเพิ่มความรู้ชัดเพื่อคลายความไม่รู้ คลายความสงสัย คลายการยึดถือสภาพที่ปรากฏตลอดเวลานี้ว่าเป็นตัวตนเสีย เพราะถ้าจดจ้องอยู่ที่อารมณ์เดียวแล้ว ไม่รู้อารมณ์อื่นแน่นอน ปัญญารู้ชัดเมื่อสติระลึกรู้ลักษณะของสิ่งที่กำลังปรากฏมากจึงเป็น “มหาสติปัฏฐาน” เพราะเหตุว่า ทรงแสดงเรื่องอานาปานสติสมาธิว่า เจริญอย่างไรจึงมีผลมาก จึงมีอานิสงส์มาก คือ ต้องเห็นกายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต ธรรมในธรรม ไม่ใช่ให้รู้ที่ลมหายใจเท่านั้น เพราะฉะนั้น การเจริญสมาธิเป็นอานาปาน รู้ที่ลมหายใจเท่านั้นเป็นอานาปานสติสมาธิ ไม่รู้อย่างอื่นเลย แต่เวลาที่อานาปานสติสมาธิเจริญอย่างไรจึงมีผลมาก มีอานิสงส์มาก อานาปานสติสมาธินั้นจะต้องมีสติ เห็นกายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต ธรรมในธรรม จึงจะเป็นการเจริญอานาปานสติสมาธิที่มีผลมาก มีอานิสงส์มาก มิฉะนั้นก็จะเป็นการเจริญเพียงอานาปานสติสมาธิที่บรรลุปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน แต่ไม่เห็นกายในกาย ไม่เห็นเวทนาในเวทนา

    ผู้ฟัง ………

    ท่านอาจารย์ ไม่ใช่ด้วยตัวตนที่จะต่อ แต่เพราะเป็นผู้มีปกติเจริญสติ สติจึงระลึกกายในกายที่ลมหายใจได้ ระลึกเวทนาที่เกิดเมื่อหายใจเข้า หายใจออกได้ ระลึกสภาพของจิตในขณะที่หายใจเข้า ในขณะที่หายใจออกได้ ระลึกถึงสภาพของธรรมในขณะที่หายใจออก หายใจเข้าได้ ไม่ใช่ให้จ้องอยู่ที่เดียว ถ้าเป็นการเจริญสมถภาวนา อานาปานสติสมาธิรู้ที่เดียวคือ ลมหายใจ แต่อาปานสติสมาธิที่เป็นมหาสติปัฏฐาน จะต้องเห็นกายในกาย ขณะหายใจออกขณะหายใจเข้า เห็นเวทนาในเวทนา ขณะหายใจออกขณะหายใจเข้า ไม่ใช่ให้รู้เพียงที่เดียว เพราะฉะนั้นผู้ที่จะเจริญสติปัฏฐานและก็คิดว่า ต้องรู้อารมณ์เดียว จะเป็นการเจริญปัญญาได้ไหม ไม่ได้รู้อะไรปัญญาจะเจริญได้อย่างไร อยู่ที่เดียวไม่มีหนทางเลยที่ปัญญาจะเจริญขึ้น ละอะไรไม่ได้ ยังยินดีพอใจ จดจ้องต้องการ ไม่ใช่การเจริญมหาสติปัฏฐานแน่นอน ข้อความต่อไปที่ว่า มีความเพียร ลักษณะของสัมมาวายามะ คือ เพียรระลึกรู้สิ่งที่ปรากฏ เพื่อให้มีสัมปชัญญะ ซึ่งเป็นชื่อของปัญญาที่รู้ชัด ไม่หลงเข้าใจผิด เป็นสัมมาทิฏฐิ และเพื่อให้มีสติ เวลาที่ระลึกรู้ลักษณะของกายในกายนั้น ก็ต้องมีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ คือ ตามระลึกสิ่งที่เกิดแล้วกำลังปรากฏ ไม่ใช่สิ่งที่ยังไม่ปรากฏ ขณะนี้ทุกคนเจริญได้ มีเห็น มีสี มีได้ยิน มีเสียง ในขณะนี้มีความเพียรได้ มีสัมปชัญญะได้ มีสติได้เนืองๆ บ่อยๆ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้

    ถ้าเป็นในหมวดของกาย ที่ท่านกล่าวไว้ว่า

    ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้

    ข้อความอธิบายใน สติปัฏฐานวิภังค์ มีว่า

    ที่ว่ากำจัดอภิชฌา และโทมนัสในโลกเสียได้ ก็คือ กายนั่นเองชื่อว่า โลก แม้อุปาทานขันธ์ ๕ ก็ชื่อว่า โลก นี้เรียกว่า โลก

    ถึงแม้ในขณะที่ระลึกที่กาย ขันธ์ ๕ ปรากฏก็ได้แล้วแต่ว่าจะเป็นขันธ์หนึ่งขันธ์ใด เพราะฉะนั้นก็กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลก

    ถ้าพิจารณากาย เห็นกายในกาย กายนั่นเองชื่อว่าโลก กายก็เป็นโลกด้วย ความหมายของอภิชฌา คือ ความกำหนัด

    ความกำหนัดนักแห่งจิตอันใด นี้เรียกว่า อภิชฌา

    โทมนัส ความหมายคือ ความไม่สบาย ความทุกข์ ความไม่แช่มชื่นทางใจ นี้เรียกว่า โทมนัส

    เวลานี้ถ้าเพลินไป สติไม่ระลึกในกายก็เป็นอภิชฌา ถ้าไม่แช่มชื่น ไม่พอใจ ไม่พิจารณาสภาพลักษณะของธรรมที่กำลังปรากฏทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ก็เป็นโทมนัส

    ที่จะกำจัดอภิชฌาและโทมนัสเสียได้ คือ ระลึกรู้ลักษณะของสิ่งที่ปรากฏ ไม่เลือก ไม่ติดข้อง

    ที่ว่าเห็นเวทนาในเวทนาก็โดยนัยเดียวกัน คือ ความรู้สึกเป็นสุขบ้าง เป็นทุกข์บ้าง เฉยๆ บ้าง แล้วก็กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ เวทนานั้นเองชื่อว่าโลก แม้อุปาทานขันธ์ ๕ ก็ชื่อว่า โลก นี้เรียกว่า โลก

    เห็นจิตในจิตก็โดยนัยเดียวกัน คือ ในบางคราวก็พิจารณารู้จิตของตนเอง และบางคราวก็พิจารณารู้จิตของบุคคลอื่นว่า ขณะนั้นกำลังมีราคะ หรือปราศจากราคะ มีโทสะหรือปราศจากโทสะ เป็นต้น กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ จิตนั่นเองชื่อว่า โลก แม้อุปาทานขันธ์ ๕ ก็ชื่อว่า โลก นี้เรียกว่า โลก

    ไม่ใช่กำจัดที่อื่นเลย กำจัดอภิชฌาโทมนัสในโลก คือ ในขันธ์ ๕ ที่ปรากฏ

    ที่ว่าเห็นธรรมในธรรม ไม่ว่าจะเป็นภายในหรือภายนอกนั้น ก็แสดงเรื่องของนิวรณ์ เรื่องของโพชฌงค์ ที่ว่ากำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ คือ ธรรมเหล่านั้นเองชื่อว่าโลก แม้อุปาทานขันธ์ ๕ ก็ชื่อว่าโลก นี้เรียกว่าโลก

    นี่เป็นเรื่องของอุทเทสวาระ

    อย่าคิดจำกัดสติ ไม่ว่าจะเป็นกายก็ระลึกได้ เวทนาก็ระลึกได้ จิตก็ระลึกได้ ธรรมทั้งหลายก็ระลึกได้ ไม่ว่าจะเป็นภายในที่ตนเอง หรือที่บุคคลอื่นที่เป็นภายนอก สติก็ระลึกได้ ถ้าจำกัด ก็เป็นตัวตน และไม่เป็นการเจริญปัญญาด้วย จำกัดไม่ให้ปัญญาเกิดขึ้น ซึ่งไม่ใช่การเจริญสติปัฏฐาน

    เพื่อประกอบความมั่นใจของท่านผู้ฟังให้เข้าใจชัดเจนว่า การเจริญสติปัฏฐานนั้นไม่เว้นสิ่งใด ขอกล่าวถึง พระอภิธรรมปิฎก เล่ม ๖ กถาวัตถุปกรณ์ ภาค ๑ สติปัฏฐานกถา ซึ่งเป็นคำถามตอบของท่านสกวาทีกับปรวาที

    ท่านสกวาทีถามว่า ธรรมทั้งปวงเป็นสติปัฏฐานหรือ

    เวลาที่ศึกษาพระไตรปิฎก ก่อนที่จะดูคำตอบ ท่านก็อาจจะตอบเองได้ และก็ดูว่าตรงกันไหม ธรรมทั้งปวงเป็นสติปัฏฐานหรือ

    ปรวาทีตอบว่า ถูกแล้ว

    สกวาทีถามว่า ธรรมทั้งปวงเป็นสติ เป็นสตินทรีย์ เป็นสติพละ เป็นพุทธานุสติ ธัมมานุสติ สังฆานุสติ จาคานุสติ อานาปานสติ มรณานุสติ กายคตาสติหรือ

    ท่านสกวาทีไม่ยอมที่จะให้ผ่านไปง่ายๆ มิฉะนั้นแล้วก็จะไม่ชัดเจน ถ้ากล่าวว่า ธรรมทั้งปวงเป็นสติปัฏฐาน ถ้าอย่างนั้นธรรมทั้งปวงก็เป็นสติ เป็นสตินทรีย์ เป็นสติพละ เป็นพุทธานุสติ เป็นจาคานุสติ เป็นอานาปานสติ เป็นมรณานุสติ เป็นกายคตาสติหรือ

    ปรวาทีตอบว่า ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น

    คำว่า สติปัฏฐาน หมายถึงสติเจตสิก ซึ่งเป็นองค์ของมรรคมีองค์ ๘ อย่างหนึ่งและหมายถึงอารมณ์ของสติปัฏฐานอีกอย่างหนึ่ง

    กาย เวทนา จิต ธรรม เป็นสติปัฏฐาน เพราะเป็นอารมณ์ของสติ สติที่ระลึกเป็นไปในกาย เวทนา จิต ธรรม เป็นสติปัฏฐาน

    สติขั้นทาน ระลึกเป็นไปในทาน ไม่ใช่สติปัฏฐาน

    สติขั้นวิรัติทุจริต ไม่ใช่สติปัฏฐาน

    สติที่ทำให้จิตสงบเป็นสมาธิ ละความโกรธความโลภต่างๆ ไม่ใช่สติปัฏฐาน แต่สติปัฏฐานเป็นสติที่ระลึกรู้ลักษณะของกาย เวทนา จิต ธรรม

    สติ เป็นสติปัฏฐานด้วย และสิ่งที่สติระลึกรู้เป็นสติปัฏฐานด้วย เพราะฉะนั้น ข้อความข้างต้นที่สกวาทีถามว่า ธรรมทั้งปวงเป็นสติปัฏฐานหรือ ปรวาทีจึงตอบว่า ถูกแล้ว

    หมายความถึง สติปัฏฐานในความหมายของอารมณ์ของสติ คือ สติระลึกรู้ได้ แต่สำหรับที่สกวาทีถามว่า ธรรมทั้งปวงเป็นสติ เป็นสตินทรีย์ เป็นสติพละ เป็นพุทธานุสติ เป็นจาคานุสติ อานาปานสติ มรณานุสติ กายคตาสติหรือ ปรวาทีจึงกล่าวว่า ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น

    เย็น ร้อน อ่อน แข็ง จะเป็นสตินทรีย์ไม่ได้ เป็นสติพละไม่ได้ เป็นพุทธานุสติไม่ได้ ไม่ใช่ระลึกถึงพระพุทธคุณ เป็นจาคานุสติไม่ได้ เพราะเหตุว่า ที่สกวาทีถามครั้งที่ ๒ นั้น หมายถึงสติเจตสิก ซึ่งเป็นมรรคหนึ่งในมรรคมีองค์ ๘

    สกวาทีย้อนถามอีกว่า ธรรมทั้งปวงเป็นสติปัฏฐานหรือ

    ปรวาทีตอบว่า ถูกแล้ว

    คำถามกับคำตอบ เข้าใจกันระหว่างคน ๒ คน ที่รู้เรื่องความหมายของสติทั้ง ๒ ประการ คือ รู้ทั้งสติที่เป็นมรรคมีองค์ ๘ และรู้ทั้งสติปัฏฐานที่เป็นอารมณ์ของสติด้วย เพราะฉะนั้นจะพูดกันอย่างไร จะตอบกันอย่างไร ก็ต้องเข้าใจด้วยว่า ขณะนั้นถามถึงสติอะไร เมื่อถามถึงว่า ธรรมทั้งปวงเป็นสติปัฏฐานหรือ ปรวาทีตอบว่า ถูกแล้ว ก็ต้องเป็นในความหมายที่ว่า เป็นอารมณ์ของสติปัฏฐานได้ทุกอย่าง

    สกวาที เพื่อความแจ่มแจ้งก็ได้ถามต่อไปว่า จักขวายตนะเป็นสติปัฏฐานหรือ

    ปรวาทีกล่าวว่า ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น

    ถ้าปรวาทีตอบอย่างนี้ ปรวาทีตอบโดยนัยที่ว่า จักขวายตนะ คือ จักขุปสาท ไม่ใช่สติเจตสิก เพราะฉะนั้น ที่ว่าจักขวายตนะเป็นสติปัฏฐานหรือ ปรวาทีกล่าวตอบว่า ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ในความหมายที่ว่า จักขวายตนะไม่ใช่สติเจตสิก

    แต่ถ้าในความหมายที่ว่า เป็นอารมณ์ของสติ ก็เป็นสติปัฏฐานเพราะเป็นอารมณ์ของสติปัฏฐานแล้ว ต้องใช่

    สกวาทีถามต่อไปอีกว่า จักขวายตนะเป็นสติปัฏฐานหรือ

    ปรวาทีตอบว่า ถูกแล้ว

    เข้าใจไหม ในความหมายของ ๒ อย่าง คือ ในความหมายของสติที่เป็นองค์มรรค ในความหมายของสติปัฏฐานซึ่งเป็นสิ่งที่สติกำลังระลึกรู้ เพราะฉะนั้นถ้าเข้าใจความหมายของสติปัฏฐาน ๒ นัย นี้ก็จะเข้าใจข้อความถามตอบระหว่างสกวาทีกับปรวาทีถูกต้อง

    ผู้ฟัง ………

    ท่านอาจารย์ ท่านทราบกันแล้ว มีกล่าวไว้ในที่อื่น ท่านเป็นสกวาทีกับปรวาทีแล้ว ท่านไม่จำเป็นต้องย้อนถามกันว่า ใครรู้อะไรหรือใครไม่รู้อะไร ในพยัญชนะเป็นแต่เพียงข้อความอย่างนี้ที่ว่า จักขวายตนะเป็นสติปัฏฐานหรือ ปรวาทีกล่าวตอบว่า ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น สกวาทีถามอีกครั้งว่า จักขวายตนะเป็นสติปัฏฐานหรือ ปรวาทีตอบว่า ถูกแล้ว ที่ตอบว่า ถูกแล้ว เพราะเป็นอารมณ์ของสติ ถ้าตอบว่าไม่ถูกหรือไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ก็เพราะเหตุว่า ไม่ใช่สติ ถึงจะเป็นสมาธิก็ไม่ใช่สติเพราะมรรคมีองค์ ๘

    สกวาทีถามต่อไปถึงโสตายตนะ คือ โสตปสาท เรื่อยไปถึงชิวหาปสาท กายปสาท ถามถึงรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพารมณ์ด้วยว่า เป็นสติปัฏฐานหรือ ท่านไม่เว้นอะไรเลย ไม่ให้เกิดความข้องใจสงสัยว่า การเจริญสติปัฏฐานต้องเว้นอย่างนั้น ต้องเว้นอย่างนี้ ในพระไตรปิฎกไม่เคยมีข้อความที่กล่าวว่า ให้เว้นเลย แต่มีข้อความว่า ธรรมทั้งปวงเป็นสติปัฏฐาน กล่าวไว้ชัดเจน

    ผู้ฟัง ………

    ท่านอาจารย์ แล้วแต่ที่จะระลึกรู้ ไม่ระลึกรู้เลย ระลึกแต่เพียงธาตุก็ได้ หมายความว่า จะระลึกรู้เฉพาะลักษณะที่เป็นธาตุแข็งหรืออ่อนก็ได้ หรือรู้ต่อว่า ธาตุอ่อนหรือแข็งนี้เป็นภายนอก ธาตุอ่อนหรือแข็งนี้เป็นภายใน ไม่จำกัด แล้วแต่ว่าจะเป็นกายหรือเป็นหมวดของธาตุบรรพ แต่ก่อนอื่นจะต้องเข้าใจความหมายของมหาสติปัฏฐานจริงๆ ที่ไม่เว้น ในพระไตรปิฎกมีแต่มหาสติปัฏฐานไม่เว้นอะไรเลย และอวิชชาความไม่รู้ ไม่ใช่ไม่รู้เฉพาะเห็นหรือได้ยิน สีก็ไม่รู้ เสียงก็ไม่รู้ ปนกับนามที่รู้เรื่อง ปนกับได้ยิน บางคนเอาเสียงมาเป็นได้ยิน และบางคนระลึกเฉพาะลักษณะของได้ยิน พอมีสติมีแต่ได้ยิน ไม่เคยรู้ลักษณะของเสียงเลย บางคนระลึกที่เสียงเท่านั้น ไม่เคยระลึกรู้สภาพที่รู้ทางหูที่ได้ยินเลย เพราะฉะนั้นพอมีสติมีแต่เสียง ไม่เคยรู้จักได้ยินว่าเป็นอย่างไร มีแต่ความสงสัย แล้วอย่างนี้เป็นปกติไหม ผู้ไม่เจริญสติปัฏฐานยังทราบว่า เสียงก็มี ได้ยินก็มี มีทั้ง ๒ อย่าง แต่ยังไม่แยกรู้ลักษณะโดยเด็ดขาดชัดเจนว่า เสียงที่ไม่ใช่ได้ยินต่างกันอย่างไร ได้ยินที่ไม่ใช่เสียงต่างกันอย่างไร การรู้เรื่องของเสียงที่ได้ยินนั้นไม่ใช่เสียง แต่เป็นนามธรรมอีกชนิดหนึ่ง เกิดทีหลัง เวลาดับผู้นั้นสามารถรู้ได้ว่า เสียงดับ หรือได้ยินดับ หรือว่า รู้เรื่องรู้ความหมายดับ เพราะพิจารณารู้ชัดเป็น อสัมโมหสัมปชัญญะ ไม่ได้เข้าใจผิดว่า เสียงเป็นได้ยิน หรือ การรู้ความหมายเป็นเสียง เพราะบางคนกล่าวว่า เสียงดับจริงๆ ง่ายมาก แต่ว่าเสียงดับหรือรู้เรื่องดับ เพราะทันทีที่เสียงดับก็รู้ว่า เป็นอะไรแล้วสิ่งนั้นก็หมดไป เมื่อยังไม่เจริญสติปัฏฐาน ความรู้ก็เป็นปกติธรรมดา เพราะฉะนั้น ผู้เจริญสติปัฏฐานรู้ชัดขึ้นแต่ไม่ใช่ผิดปกติว่า เมื่อสติเกิดมีแต่ได้ยินไม่มีเสียงเลย หรือมีแต่เสียงแล้วสงสัยมากว่า ได้ยินมีลักษณะอย่างไร นั่นไม่ใช่ปัญญา ถ้าเป็นปัญญาแล้วที่จะรู้เฉพาะได้ยินอย่างเดียวไม่รู้เสียงด้วยนั้นผิด เพราะอะไร จะรู้ได้อย่างไรว่าต่างกัน อาจจะเข้าใจว่าเสียงเป็นได้ยิน คิดว่า รู้ได้ยินแล้วก็ได้ เพราะเหตุว่า ไม่เคยรู้เลยว่าเสียงเป็นอย่างไร แต่ผู้ที่จะรู้ชัดในลักษณะของได้ยิน รู้ชัดในลักษณะของเสียง รู้ชัดในลักษณะของนามที่รู้เรื่อง ผู้นั้นรู้ชัดทั้งนามได้ยิน ทั้งเสียง ทั้งสภาพที่รู้ความหมายของเสียง รู้แยกกันได้จริงๆ เพราะเป็นนามเป็นรูปแต่ละชนิด นามได้ยินไม่ใช่นามรู้เรื่องไม่ใช่เสียง นามรูปที่ติดกันแน่นทั้ง ๖ ทางนั้นปัญญาพิจารณาแยกกระจัดกระจายความเป็นตัวตนออกหมด ไม่ติดกันที่จะยึดถือว่าเป็นตัวตนอีกต่อไป ถ้าสมมติว่า มีขวดใบหนึ่งจะตั้งอยู่ จะนอนลงไป จะย้ายจากที่หนึ่งไปอีกที่หนึ่ง ความรู้สึกว่าเป็นขวดก็ไม่หายไป แต่ถ้าขวดนั้นถูกทำให้แตกย่อยละเอียดลงไป ยังจะมีความเห็นว่านั่นเป็นขวดไหม ไม่ใช่ใช่ไหม เพราะฉะนั้น นามรูปก็เหมือนกัน ตราบใดที่ปัญญายังไม่รู้ชัด กระจัดกระจายลักษณะของแต่ละนาม แต่ละรูป แตกย่อยเป็นแต่ละทาง ตราบนั้นการจะละการยึดถือว่า เป็นตัวตน เป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใด ย่อมละไม่ได้ ต้องเป็นปัญญาที่รู้ชัด ทางตาเห็นจะรู้ว่าเป็นขวดแต่สภาพที่ปรากกฎทางตาก็อย่างหนึ่ง เวลาที่กระทบสัมผัสถึงแม้จะรู้ว่าเป็นขวดในภายหลัง แต่ลักษณะที่ปรากฏขณะที่กระทบสัมผัสก็เป็นรูปอีกลักษณะหนึ่ง ปัญญาต้องกระจัดกระจายสิ่งที่ประชุมรวมกันให้สำคัญยึดถือว่าเป็นขวดได้ จึงจะละการยึดถือว่าขวด ละการยึดถือว่าเป็นตัวตนได้ฉันใด นามรูปก็เหมือนกัน ที่ต้องมีสติระลึกรู้กายในกายไม่ใช่เท่านั้น เวทนาในเวทนาไม่ใช่เท่านั้น จิตในจิตไม่ใช่เท่านั้น ธรรมในธรรม เพื่อให้กระจัดกระจายสิ่งที่เคยประชุมรวมกันแล้วยึดถือว่าเป็นตัวตน ให้หมดการยึดถือได้

    ในเรื่องของอสุภะ เวลาที่เห็นศพในลักษณะต่างๆ ไม่ได้ยึดถือใช่ไหม แล้วที่ตัวปฏิกูลเหมือนกันไหม ทำไมจึงยึดถือ ที่ศพ ที่อสุภะ เย็นไหมลองจับดู ที่ตัวนี้เย็นไหม ก็เย็น แล้วทำไมยึดถือ เพราะฉะนั้นเหตุที่อสุภะอยู่ในกายานุปัสสนาสติปัฏฐาน เพื่อระลึกรู้สภาพความจริงของอสุภะว่า มีลักษณะที่ไม่ได้ต่างจากที่กายนี้ อสุภะมีเย็น ที่กายก็มีเย็นเหมือนกัน แล้วจะไปหลงยึดถือที่ตัวนี้ทำไม นี้เป็นเรื่องของการเจริญสติปัฏฐานที่ไม่ได้มุ่งให้ไปเพ่งจ้องอสุภะจนเกิดนิมิตเป็นปฐมฌาน นั่นเป็นเรื่องของสมถภาวนา แต่ว่าเรื่องวิปัสสนาภาวนาหรือมหาสติปัฏฐานมีการพิจารณาโดยนัยต่างกัน แต่ก็เป็นเรื่องของความจริงเพื่อให้ละคลายเหมือนกัน ในเมื่อไม่ยึดถืออสุภะภายนอกฉันใด ไฉนจึงหลงยึดถือสภาพของสิ่งที่มีอสุภะที่กายนี้เหมือนกัน เพราะฉะนั้น การเจริญสติปัฏฐานเพื่อให้ระลึกแล้วรู้ชัด ไม่ใช่ระลึกเฉยๆ ระลึกแล้วรู้ชัดรู้ได้ทุกอย่าง อสุภะมีเย็น กายมีเย็น อสุภะมีสี กายมีสี ทุกอย่างอสุภะมี ที่กายก็มี เมื่อเห็นอสุภะแล้วระลึกได้ก็ควรระลึกที่จะไม่ยึดถือกายนี้โดยความรู้ชัดในลักษณะ ไม่ใช่เพียงนึก ไม่ใช่เพียงมีสติแล้วนึก แต่มีสติแล้วรู้ชัดจึงละ ลักษณะของกลิ่นเป็นสภาพที่ปรากฏทางจมูกใช่ไหม

    ผู้ฟัง อสุภะหมายความถึงซากศพที่กำลังขึ้นอืด มีกลิ่นรุนแรงมาก แต่ที่กายของเราๆ ก็ไม่ได้กลิ่นกายรุนแรงเช่นเดียวกับอสุภะ ตรงนี้หมายความว่าอย่างไร

    ท่านอาจารย์ กายของเราคงจะหอมกว่าของคนอื่น ถ้ามีเขามีเรา ความจริงกลิ่นใดๆ ไม่ว่าจะเป็นอนิฏฐารมณ์หรืออิฏฐารมณ์ ลักษณะที่แท้จริงก็เป็นเพียงสิ่งที่ปรากฏทางจมูก เพราะฉะนั้น กลิ่นอสุภะทำให้เกิดวิราคะ น้อมระลึกถึงสภาพที่เป็นอสุภะที่ทำให้ไม่หลงไม่ติด แต่ว่าผู้ที่เจริญสติปัฏฐานไม่ใช่ระลึกแค่นั้น แต่ระลึกแล้วรู้ชัดในสภาพที่ปรากฏทางจมูกเป็นลักษณะของรูปชนิดหนึ่งเท่านั้น เพราะฉะนั้น ที่กายบางครั้งหอม


    ฟังธรรมจากหัวข้อย่อย

    หมายเลข 8
    2 พ.ย. 2566

    ซีดีแนะนำ