สมถภาวนา ตอนที่ 17


    ลมหายใจก็คือโผฏฐัพพะ ลักษณะที่อ่อน ที่เบา หรือที่แรง หรือที่อุ่น หรือร้อน หรือที่เย็น ที่ปรากฏให้รู้ได้ ทางกายฉันนั้น เพราะฉะนั้น ความปรารถนาธรรมดา ซึ่งทุกคนมีอยู่ ในเย็นร้อน อ่อนแข็งที่ปรากฏทางกาย กับความต้องการ ซึ่งต้องการจะให้จิตจดจ้อง คือปรารถนาโผฏฐัพพะ ที่กระทบปรากฏนั่นเอง ก็ไม่มีความต่างกันเลย สำหรับผู้ที่ที่ปราศจากสติสัมปชัญญะ แล้วปัญญา ไม่เกิด รู้ความต่างกันของจิต เพราะเหตุว่า ขณะที่กำลังนั่งอยู่อย่างนี้ เวลาที่อกุศลจิตเกิดขึ้น มีโลภะ ความต้องการอารมณ์ ๑ อารมณ์ใด แล้วก็เปลี่ยนไปเป็นลมหายใจ ลักษณะของจิต ไม่ต่างกันเลย ใช่ไหมคะ เป็นความต้องการนั่นเอง แต่เปลี่ยนจากที่นั่งธรรมดา ไปหาโผฏฐัพพะ ที่กระทบที่จมูก ที่เป็นลมหายใจ เพราะฉะนั้น ไม่มีลักษณะของปัญญาที่รู้เหตุผล ว่าเพราะอะไร จะสงบ เมื่อระลึกที่ลมหมายใจ ไม่มีปัญญาที่รู้ เลยคะว่าเพราะอะไรจึงสงบเมื่อระลึกที่ลมหายใจ

    ผู้ถาม. เพราะฉะนั้น ความต้องการ ที่อาจารย์ได้อธิบาย ก็หมายความว่า ละเอียดจาก ย้ายจากกามคุณอารมณ์ มาเป็น

    ท่านอาจารย์ ธรรมดา คะโผฏฐัพพะ ที่กระทบ ใช่ไหมคะ ที่กาย เวลานี้ทุกท่านมีโผฏฐัพพะปรากฏ เพระาว่า ทุกท่านมีกาย กระทบ แต่ว่าความต้องการย้ายจาก ความต้องการความพอใจในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ไปสู่ความต้องการที่จะจดจ้องที่ลมหายใจโดยปัญญาม่รู้ว่าจิตที่ สงบเมื่อระลึกที่ลมหายใจนั้น มีลักษณะอย่างไร เพราะไม่มีความต่างกันเลย จากชั่วขณะที่มีโลภะธรรมดา กับการเปลี่ยนเป็นความต้องการที่จะจดจ้อง ที่ลมหายใจ มีอะไรที่ต่างกัน คะ ระหว่างนั้น ถ้าปัญญาไม่เกิด ก็คือโลภมูลจิตนั่นเอง

    ผู้ถาม. อันนี้สาเหตุที่แท้จริงแล้ว ของผู้ที่ปฏิบัติอย่างนั้นแล้ว เกิดจากความไม่เข้าใจ เป็นอันดับแรก ใช่ไหมครับ

    ท่านอาจารย์ พระผู้มีพระภาค ทรงแสดงว่า สำหรับการอบรมเจริญภาวนา ไม่ว่าจะเป็นสมถะ หรือ วิปัสสนาก็ตาม ย่อมไม่สามารถจะกระทำได้ ถ้าปราศจากปัญญา

    ผู้ถาม ปัญญาก็คือความเข้าใจ ได้ยินเข้าว่า หายใจเข้าพุท หายใจออกโธ แล้วก็จะเป็นกุศล

    ท่านอาจารย์ เข้าใจอะไรคะ

    ผู้ถาม. ก็ เข้าใจตามเขา โดยที่อาจจะเป็นความเข้าใจผิด

    5154 ยากที่จะรู้วาระจิตของผู้อื่น

    ท่านอาจารย์ เขาบอกว่าการฟังธรรมเป็นกุศล แต่เวลาฟังไปฟัง นี่คะ ไม่รู้เรื่องเลย แล้วก็จิตก็คิดนึกไปต่างๆ นานา เรื่องนั้นเรื่องนี้ แล้วก็จะเชื่อว่าการฟังธรรมเป็นกุศล ได้ไหมคะ ในเมื่อจิตของคนฟัง ต่างกัน

    ผู้ถาม. ได้

    ท่านอาจารย์ ได้อะไรคะ ขณะที่ฟัง เป็นกุศล แต่ขณะที่นึกคิดเป็นอกุศล ได้อะไร

    ผู้ถาม. จะเป็นกุศล หรือไม่กุศล แต่ว่าก็มีตัวอย่างที่ก่อนนี้ ใครพูดไปแล้ว ขณะที่กบฟังพระสวดมนต์ อยู่ในที่ไหนรู้ไหม

    ผู้ถาม. ค้างคาว

    ผู้ถาม. ค้างคาว เสร็จแล้วจะไปรู้เรื่องอะไร ค้างคาว ฟังพระสวดมนต์ แล้วหลังจากนั้น ค้างคาวนั้น ก็ตาย ได้ไปเกิดในสวรรค์ ก็หมายความว่าที่ได้ไปเกิดในสวรรค์ จิตก็ต้องเป็นกุศลสิครับ ก็ฟังพระสวดมนต์ไม่รู้เรื่องอะไรเลย แต่จิตก็เป็นกุศลได้

    ท่านอาจารย์ ใครจะรู้วาระจิตของค้างคาวทุกตัว กบทุกตัว คนทุกคน ที่ฟังธรรม แล้วลักษณะของกุศลจิตของใคร คนนั้นก็รู้ ไม่ใช่คนอื่นรู้ เพราะฉะนั้น ต่อไปนี้ ถ้าเห็นค้างคาวอยู่ในวัด ก็เข้าใจว่าเป็นกุศลทั้งหมด หรือคะ

    ผู้ถาม. คืออย่างนี้ครับ เขาถามผม แล้วผมจำบาลีได้ ค้างคาวไม่ได้รู้อะไร สรรพสัญญาในบาลีว่าอย่างนั้น สำคัญในเสียง คล้ายๆ กับเราฟังตนตรีมันเพราะ ก็ฟัง สรรพสัญญา ในนั้นว่าอย่างนั้น สำคัญในเสียงเท่านี้ จิตอื่นไม่ได้พูดถ้าอยากจะรู้ไปดูธรรมบท

    ท่านอาจารย์ ยากไหมคะ ที่จะรู้ว่าเป็นกุศล หรือ เป็นอกุศล

    5155 ความเพียรที่ถูกต้องคือความเพียรที่เกิดพร้อมกับสติ

    ท่านอาจารย์ เชิญคะ

    ผู้ถาม. ขอเรียนถามเรื่องความเพียร ครับ ที่พระพุทธเจ้าท่านตรัสไว้ว่า บุคคลพึงล่วงพ้นความทุกข์ได้ด้วยความเพียร ความเพียรในที่นี้นั้น เป็นความเพียรที่หมายถึง ความเพียรที่จะน้อมสติมาระลึกรู้ รูปธรรมหรือนามธรรม หรือความเพียรที่จะต้องไปเพ่ง หรือเไปเดินจงกรม ไปนั่งกรรมฐาน หรือเข้าห้อง ประเภทนั้น คือ อาจารย์ทำความเข้าใจ หน่อยครับ

    ท่านอาจารย์ คะ ความเพียรเกิดพร้อมกับสติ ไม่ต้องห่วงเรื่องความเพียร ในขณะใดที่สติเกิดขณะนั้นมวิริยเจตสิกเกิดร่วมด้วย

    ผู้ถาม. ก็แสดงว่าแค่นี้ก็เป็นลักษณะของการเพียรแล้ว อย่างเช่นในพระสุตตันตปิฏก พระสูตร ลักษณะของการเพียรมีความมุ่งหมาย ทางด้าน ว่าจะต้องมีความเพียรอย่างแรงกล้า เดินจงกรม นั่งกรรมฐาน อะไรอย่างนั้น แล้วอีกประการอย่างพระโสณเถระ เดินจนสนเท้าแตก ก็ทำให้เห็นได้ว่า ถ้าเราจะเพียรไปสู่พระนิพพานได้นั้นก็ ต้องทำอย่างพระโสณเถระ อย่างนั้น หรือเปล่า ครับ

    ท่านอาจารย์ แล้วผล เป็นอย่างไรคะ จะทำอย่างท่านพระโสณ คะ นั่นคือความปรารถนา ความต้องการที่จะทำ แล้วผล คืออย่างไร ผล นี่คะ คืออย่างไร คะ

    ผู้ถาม. ถ้าหากว่าไม่ก่อให้เกิดปัญญา ผมเข้าใจว่า คงไม่เป็นประโยชน์ แต่อย่างใดเลย

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น ที่สำคัญที่สุดคือปัญญา ใครจะทำอย่างไร เรื่องของการสะสมของแต่ละบุคคล เพราะฉะนั้น พระอริยเจ้าทั้งหลาย ที่เป็นบรรพชิตก็มี ที่เป็นคฤหัสถ์ ก็มี ท่านก็มีการบรรลุมรรคผล ตามโอกาสอันควรของท่าน แต่ว่าผู้ที่ยังไม่ได้อบรมเจริญปัญญา พอที่จะมีกำลังที่จะให้รู้แจ้งอริยสัจธรรม แล้วจะไปพยายามทำอย่างท่านพระโสณะบ้าง ผลก็ย่อมไม่เกิด

    ผู้ถาม. นี้ ผมเคยประสบมากับตัวเอง เคยเข้าห้องกรรมฐานมา ประมาณ ๓ เดือน ด้านปฏิบัติๆ ไปก็เข้าใจว่าตัวเองสำเร็จเป็นพระโสดาบันบุคคล แล้ว คือมันอย่างไรก็ไม่ทราบ ตัวเองหรอกตัวเองว่า สำเร็จแล้วอย่างนั้น อย่างนี้ แล้วผมก็ไปสอบอารมณ์กับอาจารย์ๆ ก็บอกว่ายัง ให้เราปฏิบัติต่อ เมื่อปฏิบัติอยู่ ขณะทำความเพียร เดินจงกรม นั่งกรรมฐานอยู่ ๒ วันกับคืน ไม่ได้นอน เลย เดินแล้วล้ม สลบ ล้มลงไปแล้วหัวแตก ก็ไม่ก่อให้เกิดปัญญา แล้วก็ไม่สามารถจะตัดกิเลสเป็นสุทจเฉท ได้แต่อย่างไร ก็ที่เล่าให้ฟัง ก็เพียงเป็นข้อคิดเห็นสำหรับ คนหมู่มาก ที่ได้ฟังเช่นนี้ สำหรับที่จะนำไปพิจารณาว่า ก่อให้เกิดประโยชน์ ไหม หรือว่า เป็นประโยชน์ ต่อตัวเองอย่างใด นี้ก็หมดปัญหา แล้วมีอีกปัญหา ๑ คือในขณะที่เรา บางอารมณ์ที่เรารู้สึกตื่นเต้นๆ อย่างมาก เราไม่ต้องการให้มันตื่นเต้น แล้วเราจะ เราสามารถจะบังคับได้

    ท่านอาจารย์ จะบังคับหรือคะ หรือว่าจะระลึกรู้ลักษณะของความตื่นเต้น ซึ่งมีจริง เกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย โดยมากทุกท่านไม่ชอบอกุศลเลย แน่นอนที่สุด แต่พอระลึกรู้ลักษณะของสภาพธรรม ยากนักที่จะไม่ระลึกรู้ลักษณะของอกุศลตามความเป็นจริงที่กำลังปรากฏ โลภมูลจิต มีอยู่เป็นประจำ เป็นประจำจนไม่รู้สึก ขณะนี้คะ ถ้าสติไม่เกิด ระลึกรู้ลักษณะของนามธรรมที่กำลังเห็น หรือรูปธรรมที่ปรากฏทางตา เสียงที่กำลังปรากฏ หรือนามธรรมที่ได้ยินเสียง ถ้าสติไม่เกิด ระลึกรู้ลักษณะของสภาพธรรมเหล่านี้ จะบอกได้ไหมคะว่าเมื่อก่อนที่สติจะเกิดนั้น เป็นกุศล หรือเป็นอกุศล ถ้าสติไม่เกิดแล้ว อกุศลที่มี มาก จนกระทั่งครอบงำ และ อกุศลนั้น ย่อมไม่สามารถที่จะรู้ลักษณะของรูปธรรม และนามธรรมใดๆ ได้เลย เพราะฉะนั้น ก็ขอ อนุโมทนาท่านผู้ฟัง คะ ที่ท่านทราบว่า ไม่ใช่พระโสดาบัน แล้วก็เมื่อปฏิบัติต่อไป ก็ยังมีการเผลอตัว ขณะที่ว่าหกล้มจนกระทั่งศีรษะกระแทรก ศีรษะแตก นั่นไม่ใช่ลักษณะของปัญญา แล้ว ก็ถ้าท่านผู้ฟังมีความสงสัย ลักษณะนั้น เป็นลักษณะของอะไร สภาพธรรมอะไร เวลาเผลอตัว ย่อมจะมีเหตุการณ์ต่างๆ เกิดขึ้น ได้ ถ้านั่งอยู่ ไม่เผลอ ก็คงจะไม่มีการที่จะ คะมำ หรือทำให้เกิดการล้มลงไปหรืออะไรขึ้น เพราะฉะนั้น เวลาที่มีการเผลอเกิดขึ้น ก็จะมีกอาการที่ผิดปกติที่ไม่ใช่สติสัมปชัญญะ เพราะฉะนั้น ในขณะนั้นเกิดขึ้น เพราะการปฏิยัติ ซึ่งทำให้กิดการเผลอขึ้น ทีละเล็กทีละน้อย ทีละเล็กทีละน้อย จนกระทั่งสามารถที่ทำให้เกิดล้ม แล้วก็มีอันตรายเกิดขึ้นได้ ไม่ใช่สติสัมปชัญญะ บริบูรณ์ อย่างในขณะนี้

    5156 ตื่นเต้น ตกใจ อับอาย ขายหน้า เกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย

    ท่านอาจารย์ ขนะนี้กำลังเห็น กำลังได้ยิน ถ้าจะเกิดตื่นเต้น ตกใจ ก็เป็นสภาพธรรม ที่มีจริง เป็นของจริง ไม่ใช่ตัวตน แต่ความที่ยึดติดในเรา ก็ไม่ชอบที่จะให้เราเกิด ความตื่นเต้น ตกใจอย่างนั้น ไม่ม่ใครชอบให้ตัวเอง รู้สึกอับอาย รู้สึกขายหน้า รู้สึกตื่นเต้น รู้สึกตกใจ แต่ว่าสภาพธรรม เหล่านี้ เกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย เพราะฉะนั้น ถ้าไม่อบรมเจริญสติปัฏฐาน ก็มีความคิดที่อยากจะบังคับไม่ให้สภาพธรรม นั้นเกิดขึ้น แต่ว่าไม่สามารถที่จะบังคับได้ เพราะเหตุว่าตราบใดที่อกุศลธรรมยังไม่ได้ดับเป็น สมุจเฉท ต้องมีปัจจัยให้เกิด ความโกรธมีลักษณะหลายอย่าง ตั้งแต่ความขุ่นใจเล็กๆ น้อยๆ แม้แต่ความรู้สึกอับอาย ไม่พอใจ หรือว่ากระดากอายต่างๆ เหล่านี้ ก็เป็นสภาพธรรม ที่มีจริง แล้วก็ไม่ชอบ เพราะฉะนั้น ขณะนั้น นี่คะ ไม่ใช่โลภมูลจิต แต่เป็นสภาพธรรม ที่เกิดขึ้น แล้วถ้าระลึกรู้ลักษณะ สภาพธรรม นั้น จะเห็นว่าเป็นเพียงสภาพธรรม ที่เกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย แล้วก็มีการระลึกรู้ลักษณะของนามธรรม และรูปธรรม อื่นๆ ต่อๆ ไปได้ แทนที่จะคิดบังคับ เพราะเหตุว่าไม่สามารถที่จะบังคับได้ตลอดไป อาจจะมีความรู้สึกว่าบังคับได้ชั่วคราว แต่ตราบใดที่ยังไม่ดับเป็นสมุจเฉท สภาพธรรม ที่ไม่ชอบใจทั้งหลาย คือ อกุศลทั้งหลาย ก็ย่อมจะเกิดขึ้นในชีวติของแต่ละคน ลองระลึกดู ก็ต้อง มีสิ่งที่ไม่พอใจมากมาย หลายครั้ง หลายขณะ หลายหตุการณ์ทีเดียว แต่ว่าขณะนั้น ก็ควรที่จะรู้ลักษณะของกาย หรือเวทนา หรือจิต หรือธรรม ที่กำลังปรากฏ แล้วก็ละคลายการยึดถือว่าเป็นตัวตนทีละเล็กทีละน้อย จนในที่สุดก็สามารถจะดับได้เป็น สมุจเฉทเป็นลำดับขั้น แต่อย่าคิดที่จะบังคับ เพราะเหตุว่าไม่สามารถที่จะดับกิเลสได้ด้วยความเป็นตัวตน

    5157 การอบรมภาวนาเป็นการอบรมเจริญปัญญา

    ท่านอาจารย์ ยังมีท่านผู้ฟัง ยังสงสัยอะไรบ้างไหมคะ สำหรับพุทธานุสติ ท่านผู้ฟังไม่ได้คิดสงสัยหรือคะว่า สมถภาวนานั้นมีถึง ๔๐ อารมณ์ ทำไมพระผู้มีพระภาค จึงตรัสว่า พระอริยสาวกทั้งหลายอยู่ด้วยการระลึกถึง พุทธานุสติ ธรรมานุสติ สังฆานุสติ สีลานุสติ จาคานุสติ และเทวตานุสติ มากกว่าวิหารธรรมอื่น นี้เป็นชีวิตจริงๆ เพราะฉะนั้น ท่านผู้ฟังจะเห็นได้ว่า ถ้าไม่เข้าใจในเหตุผลแล้ว ก็ไม่ทราบว่าทำไมพระอริยสาวกท่านจึงไม่อยู่ด้วยวิหารธรมอื่น แต่ว่าอยู่ด้วย อนุสติเป็นส่วนมาก สำหรับการอบรมเจริญภาวนา เป็นการอบรมเจริญปัญญา ไม่ว่าจะเป็นขั้น สมถะหรือขั้นวิปัสสนาก็ตาม เพราะเหตุว่า ธรรมที่เป็นกุศลได้แก่ ทาน ศีล และภาวนา หรือว่าศีล สมาธิ ปัญญา ชีวิตของทุกท่าน มีการให้ทาน มีการสละวัตถุ เพื่อประโยชน์สุขแก่บุคคลอื่นตามควรแก่โอกาส แล้วท่านก็มีการอบรมเจริญศีล แต่แม้กระนั้น ท่านที่มีการบริจาค มีการให้ทาน มีการรักษาศีลแล้ว ก็รู้สึกว่ายังไม่สามารถจะดับกิเลสได้ เป็นสมุจเฉท เพราะฉะนั้น จึงมีการอบรมเจริญภาวนา ซึ่งในการเจริญอบรมภาวนา นี้คะ เป็นเรื่องการอบรมเจริญปัญญา ไม่ว่าจะเป็นขั้น สมถะ หรือขั้นวิปัสสนาก็ตาม เพราะฉะนั้น ท่านผู้ฟังจะเห็นได้ว่า จุดประสงค์ คือการอบรมเจริญปัญญา เพราะฉะนั้น ผู้ที่ระลึกรู้พระพุทธคุณ ระลึกถึงพระพุทธคุณ ก็เป็นเพราะผู้ที่ได้เข้าใจพระธรรม ที่พระผู้มีพระภาค ทรงแสดง แล้วก็ประพฤติปฏิบัติ ตาม จนกระทั่งประจักษ์ แจ้งในอริยสัจธรรม รู้ว่าเป็นธรรมที่ดับกิเลสได้ เพราะฉะนั้น ท่านเหล่านั้นก็ย่อมจะระลึกถึง คุณของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า และปฏิบัติธรรมพร้อมกันด้วย การระลึกถึงพระคุณของพระผู้มีพระภาค นั้น ไม่ใช่เพียงระลึกแล้วไม่ประพฤติปฏิบัติตาม โดยเฉพาะสำหรับผู้ที่เป็นพระอริยเจ้า ท่านระลึกถึงพระธรรม แล้วท่านประพฤติปฏิบัติตาม จนกระทั่งดับกิเลสได้เป็นสมุจเฉท เพราะฉะนั้น การระลึกถึงคุณของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ของท่านจึงเป็นการปฏิบัติธรรม อบรมเจริญปัญญาที่จะรู้แจ้ง อริยสัจธรรมต่อไป

    5158 การนมัสการ สักการะ เคารพ นับถือ บูชาพระผู้มีพระภาค

    ท่านอาจารย์ ข้อความใน ขุททกนิกาย จูฬนิทเทสข้อ ๖๒๗ มีความว่า คำว่า นมัสการอยู่ ความว่า นมัสการ สักการะ เคารพ นับถือ บูชาอยู่ ด้วยกายบ้าง ด้วยวาจาบ้าง ด้วยจิตบ้าง ด้วยการปฏิบัติเป็นไปตามประโยชน์บ้าง ด้วยการปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมบ้าง ย่อมอยู่ คือ ยับยั้งอยู่ตลอดคืน และวัน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า นมัสการอยู่ตลอดคืน และวัน ถ้าใครจะนมัสการพระผู้มีพระภาค อย่าลืมว่า ความว่า นมัสการ สักการะ เคารพ นับถือ บูชาอยู่ ด้วยกายบ้าง ด้วยวาจาบ้าง ด้วยจิตบ้าง ด้วยการปฏิบัติเป็นไปตามประโยชน์บ้าง ด้วยการปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมบ้าง ย่อมอยู่ คือ ยับยั้งอยู่ตลอดคืน และวัน นี่เป็นชีวิตจริงๆ ชีวิตวันนี้ คืนนี้ วันนี้ ที่เป็นตลอดคืน และวัน คือ นมัสการ สักการะ เคารพ นับถือ บูชาอยู่ ด้วยกายบ้าง กายวันนี้คะ นมัสการ สักการะ บูชา เคารพ นับถือ บ่อยไหมคะ พอไหมเพียงชั่วที่จะกราบ อัญชรีย์ หรือว่า นมัสการ ด้วยการไหว้ เท่านั้น แต่ว่ากายทั้งหมด ที่จะละเว้นทุจริต เว้นจากกายทุจริต ขณะใดขณะนั้นย่อมชื่อว่า นมัสการ สักการะ เคารพ บูชาพระผู้มีพระภาค เพราะฉะนั้น ผู้ทีรระลึกถึงพระผู้มีพระภาค บ่อยๆ ย่อมเสมือนกับพระผู้มีพระภาคประทับอยู่เฉพาะหน้า ไม่สามารถที่จะล่วงกายทุจริตได้ เพราะเหตุว่า ระลึกถึง พระผู้มีพระภาค ที่ได้ทรงแสดงธรรม ให้เห็นว่าธรรมใดเป็นอกุศล ที่ควรเว้น ธรรมใดเป็นกุศลที่ควรเจริญ แล้วสำหรับวาจาก็เช่นเดียวกัน ในวันหนึ่งๆ ผู้ที่ยังไม่ได้ดับกิเลส เป็นสมุจเฉท ลองพิจารณาวาจาของตนคะ ว่าเป็นไปในทางที่จะทำให้คนอื่น เดือดร้อน บ้างไหม บางทีลืมคิดถึงคนฟัง หรืออาจจะคิดว่าเขาคงไม่เดือดร้อนใจ พูดอย่างนี้คงไม่เป็นไร แต่ว่าถ้าท่านเป็นคนฟัง นี่คะ ท่านจะไม่รู้สึกอย่างนั้นเลย เพราะเหตุว่าคำพูดบางคำ แม้ว่าจะไม่ใช่คำหยาบคาย ที่เป็นผรุสวาจา ไม่ใช่คำที่รุนแรง แต่แม้กระนั้นก็เป็นคำที่ทำให้คนฟัง อาจจะเกิดความน้อยใจ หรือเสียใจ แม้เพียงเล็กน้อย ขณะนั้นถ้าสติเกิด จะเห็นความเป็นวจีทุจริต แต่ถ้าสติไม่เกิดก็ไม่รู้สึก ว่าเป็นอกุศล เพราะฉะนั้น สติที่เกิดขึ้น จะทำให้พิจารณาสภาพธรรม ในขณะนั้น เห็นอกุศลเป็นอกุศล และเห็นกุศลเป็นกุศล เพราะฉะนั้น ผู้ที่ระลึกถึง พระพุทธคุณ จะอยู่เฉยๆ ไหมคะ หรือว่าจะเตือนตัวเองที่จะประพฤติปฏิบัติ ตามพระธรรม เป็นการนมัสการะ เคารพ นอบน้อม แม้ด้วยวาจาสุจริต ไม่ใช่วาจาทุจริต นอกจากนั้นที่จะประพฤติเป็นไปทางกาย ทางวาจา ก็ยังมีการ นมัสการ สักการะ เคารพ นับถือ บูชาอยู่ ด้วยจิตบ้าง ธรรมดาของการเห็นการได้ยินที่มีเป็นปกติในชีวิตประจำวัน ย่อมเป็นปัจจัยที่จะให้จิตน้อมไป สู่อารมณ์ที่ปรากฏทางตา ด้วยโลภะบ้าง ด้วยโทสะบ้าง เพราะฉะนั้น การที่จะ นมัสการ สักการะ นอบน้อมพระผู้มีพระภาค ด้วยจิต คือการระลึกถึงพระพุทธคุณ แทนที่จะระลึกถึงรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ต่างๆ จะรู้ได้ว่าขณะใดที่จิตระลึกนึกถึงพระพุทธคุณ ขณะนั้นเป็นกุศล เพราะฉะนั้น วันหนึ่งๆ ตลอดคืน และวัน ในชีวิตประจำวัน การระลึกถึงพระผู้มีพระภาค ด้วยความนอบน้อม สักการะ เป็นไปในลักษณะใด ด้วยการเว้นกายทุจริต วจีทุจริต แล้วยังมีจิตที่น้อมระลึกถึงพระคุณ หรือว่าปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม คือระลึกรู้ลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ ตามลำดับขั้น ตั้งแต่กายสุจริต วจีสุจริต จนกระทั่งถึงความสงบ จนกระทั่งถึงปัญญาที่รู้ลักษณะของสภาพธรรมด้วยการเจริญสติปัฏฐาน เป็นการปกฺบัติธรรม สมควรแก่ธรรม นี่เป็นการระลึกถึงคุณของพระผู้มีพระภาค

    5159 การระลึกถึงพระพุทธคุณเพื่อละคลายกิเลส และให้จิตสงบ

    ท่านอาจารย์ ถึงแม้ว่าจะกล่าวอย่างนี้ ท่านผู้ฟังแต่ละท่าน ก็ย่อมจะพิจารณาได้ว่าระลึกถึงคุณของพระผู้มีพระภาค มากหรือน้อย ในวันหนึ่งๆ สำหรับผู้ที่ไม่เข้าใจ พุทธานุสติ ก็อาจจะให้บุคคล ๑ บุคคลใด กราบไหว้บูชาพระพุทธรูป แต่ไม่ใช่เป็นการระลึกถึงพระคุณ ในทางโลกก็อาจจะมีการสร้าง มีการแจก หรือมีการมอบสิ่งที่เป็นเครื่องเตือนใจให้เกิดกุศล เช่นพระพุทธรูป แต่ว่าถ้าในขณะนั้นไม่ระลึกถึงพระคุณของพระผู้มีพระภาค ผู้นั้นก็ย่อมจะรู้ได้ จิตของตนเป็นกุศล หรือเป็นอกุศล หรือว่าเป็นโลภะ หรือว่าเป็นความสงบ เพราะว่าบางท่านก็อาจจะกล่าวว่า ถ้ากราบไหว้ นมัสการ พระพุทธรูปปางนั้นบ้าง หรือว่าปางนี้บ้าง ก็ย่อมที่จะให้เกิดลาภผลต่างๆ นี่เป็นคำสั่งสอนในทางโลก แต่ในทางธรรมไม่ใช่อย่างนั้น ตรงกันข้าม การระลึกถึงพระคุณ ถึงแม้ว่าจะมีพระพุทธรูปที่จะให้กราบไหว้ นมัสการ ก็เพื่อที่จะให้น้อมถึงพระพุทธคุณ ให้จิตสงบ แต่ตรงกันข้าม ขณะใดที่ไม่ระลึกถึงพระพุทธคุณ อาจจะมีความหวังในลาภบ้าง ในสักการะต่างๆ บ้าง ในขณะที่กราบไหว้พระพุทธรูป ขณะนั้นไม่ใช่ในทางธรรม ถ้าในทางธรรมแล้ว เพื่อที่จะละคลายกิเลส แล้วก็ให้เกิดความสงบ ขณะนั้นไม่มีโลภะ ไม่มีโทสะ ไม่มีโมหะ

    5160 การเจริญสมถภาวนาควรจบลงด้วยการเห็นธรรมในธรรม

    ท่านอาจารย์ มีท่านผู้ฟังสงสัยอะไรบ้างไหมคะ สำหรับพุทธานุสติ ท่านผู้ฟังก็จะเห็นได้ว่า ถ้าบุคคลนั้นไม่เข้าใจในพระธรรมแล้ว การระลึกถึงคุณของพระผู้มีพระภาค ย่อมยาก เพราะฉะนั้น สำหรับ สมถภาวนา ที่เป็นอนุสติ มี ๑๐ คงยังไม่ลืมว่า สมถภาวนาทั้งหมดมี ๔๐ ได้แก่ กสิณ ๑๐ อสุภ ๑๐ แล้วก็อนุสติ ๑๐ ที่กำลังกล่าวถึง สำหรับต่อจากอนุสติ ๑๐ นั้นก็ ยังจะไม่กล่าวถึง สำหรับอนุสติ ๑๐ นี่คะ มีพุทธานุสติ ธรรมานุสติ สังฆานุสติ สีลานุสติ จาคานุสติ เทวตานุสติ มรณสติ กายคตาสติ อานาปานสติ อุปสมานุสติ ซึ่งท่านผู้ฟังก็ควรที่จะทราบความเกี่ยวเนื่องกันของอารมณ์กรรมฐานทั้งหมดด้วย โดยนัยของการเจริญสติปัฏฐาน เพราะเหตุว่า สมถกรรมฐานทั้งหมดถ้าท่านผู้ฟังจะศึกษาเองโดยตรงจากพระไตรปิฎก หรือจากคัมภีร์วิสุทธิมรรคเป็นต้น ท่านผู้ฟังก็จะเห็นได้ว่า สมถกรรมฐานทั้งหมดทุกประการ จบลงด้วย เห็นธรรมในธรรมทั้งหลาย เพราะฉะนั้น จุดประสงค์ของการอบรมเจริญความสงบ ไม่ใช่เพียงให้สงบ แต่ต้องพร้อมกับ การเป็นผู้ที่มีปกติอบรมเจริญสติปัฏฐาน ด้วย สำหรับพุทธานุสติก็ดี ธรรมานุสติ ซึ่งเป็นการระลึกถึงพระธรรม สังฆานุสติซึ่งเป็นการระลึกถึงคุณของพระอริยสาวก สีลานุสติ การระลึกถึงศีลของท่าน คือของตนเอง ถ้าเป็นผู้ที่ทุศีล นี่คะ จะนึกถึงศีลได้อย่างไรคะ ไม่เห็นคุณของศีล แล้วก็ไม่รู้ความผ่องใส่ ของการสามารถที่จะละเว้นจากทุจริตกรรมได้ แต่ว่าทั้งๆ ที่น่าจะทำทุจริตกรรม ยังสามารถที่จะละเว้นได้ ก็ย่อมจะเกิดความปีติผ่องใส่ ในกุศลที่สามารถที่จะละเว้นทุจริตได้ เพราะฉะนั้น ผู้ที่มีปกติรักษาศีล จึงจะสามารถระลึกถึงคุณของศีลของตนได้ สำหรับจาคานุสติก็เช่นเดียวกัน เป็นผู้ที่เห็นคุณของการสามารถที่จะบริจาคได้ ในเมื่อสัตว์โลกทั้งหลายยากที่จะบริจาค เพราะเหตุว่าส่วนใหญ่แล้วก็เป็นผู้ที่ติด ในรูป ในเสียง ในกลิ่น ในรส ในโผฏฐัพพะ เพราะฉะนั้น ถ้าเป็นผู้ที่มีการบริจาคเนืองๆ มีความสามารถที่จะบริจาคบ่อยๆ การที่จะระลึกถึงจาคะ คือ การบริจาคของตน ย่อมทำให้เกิดจิตผ่องใสได้ที่ ตนสามารถที่จะเปลื้องตนเองได้จากความตระหนี่ ซึ่งละยาก แล้วสำหรับเทวตานุสติ การระลึกถึงคุณของเทวดา ผู้ที่เป็นพระอริยสาวกเท่านั้น ที่จะระลึกได้ เพราะเหตุว่าการที่บุคคคลใดจะได้เกิดในเทวโลกนั้น ต้องเป็นผลของกุศล เพราะฉะนั้น ถ้าท่านผู้นั้นยังไม่ได้ดับอกุศลเป็น สมุจเฉท ในวันหนึ่งๆ นี่นะคะ มีอกุศลจิตเกิดมากกว่ากุศลจิต มีอกุศลกรรมที่ได้กระทำแล้ว แล้วก็ยังไม่ได้ดับกิเลส เพราะฉะนั้น กรรมนั้น ย่อมสามารถที่จะเป็นเหตุให้เกิดในอบายภูมิได้ ผู้ที่ยังไม่เป็นพระอริยะ นี่คะจะระลึกถึงคุณของเทวดาทั้งหลาย ที่เกิดในเทวโลกด้วยกุศลกรรมต่างๆ ได้ไหม ระลึกได้ แต่ว่าไม่มีปัจจัยพอที่จะให้เกิดความสงบ แล้วก็สำหรับพุทธานุสติ ธรรมานุสติ สังฆานุสติ สีลานุสติ จาคานุสติ เทวตานุสติ เฉพาะผู้ที่เป็นพระอริยสาวกเท่านั้น ที่สามารถจะให้จิตสงบเมื่อระลึกถึงกรรมฐานเหล่านั้น สำหรับปุถุชนแล้วไม่สามารถที่จะถึงอุปจารสมาธิ แต่การระลึกถึงพระพุทธคุณก็ดี จนกระทั่งถึงการระลึกถึงคุณของเทวดาก็ดี ไม่สามารถจะให้จิตตั้งมั่นในอารมณ์เดียว ถึงขั้น อัปปนาสมาธิ ที่เป็นฌานจิตได้ แต่ว่าจุดประสงค์ของสมถภรรมฐานทุกบรรพ สำหรับผู้ที่มีปกติเจริญสติปัฏฐานนั้น อย่าลืมว่าเพื่อการเห็นธรรมในธรรม เพราะฉะนั้น แม้แต่อนุสติอื่นๆ อีก ๔ คือ มรณสติก็ตาม กายคตาสติก็ตาม อานาปานสติก็ตาม อุปสมานุสติก็ตาม เป็นเพียงเครื่องระลึกแล้วปัญญาก็ควรที่จะเกิดขึ้น ระลึกรู้ลักษณะของสภาพธรรมที่ปรากฏ เพื่อที่จะได้ ประจักษ์แจ้งในสภาพธรรม ที่ ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่ตัวตน

    5161 มรณสติหรือสติระลึกสภาพธรรม - อย่างไรจึงจะไม่ประมาท

    ท่านอาจารย์ ขอกล่าวถึงมรณสติเป็นตัวอย่าง ที่ว่า การระลึกถึงความตาย ถ้าระลึกโดยไม่แยบคายกุศลจิตไม่เกิด


    ฟังธรรมจากหัวข้อย่อย

    หมายเลข 4
    4 ม.ค. 2567

    ซีดีแนะนำ