สมถภาวนา ตอนที่ 07


    คือคล้ายๆ ว่ามีสติระลึกอยู่ อันนี้ว่าจะไปว่า เป็นสติก็ไม่ใช่ ผมสังเกตุดู จะเป็นสมาธิก็ไม่เชิง อย่างไร ผมสังเกตุดู อันนี้จะถูกหรือเปล่า ครับ คล้ายๆ ว่า พอมีสติปั๊บ สมาธิมันจะตามมาคล้ายๆ ว่าเรารู้เรื่อง รู้ราว คือก็มีกาย มีจิต มีเวทนา มีธรรม คล้ายๆ เรารู้ว่าอย่างนั้นจะใช้ จิตเป็น สมาธิ อันนี้ ใช่หรือเปล่าครับ

    ท่านอาจารย์ คะ ขอให้ย้อนมาเป็นปกติ ขณะนี้ ตามธรรมดา ตามปกติอย่างนี้ อย่างพิเศษทั้งหลายทิ้งไปให้หมด ถ้าปัญญายังไม่สามารถที่จะรู้จริงในลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ ตามธรรมดา ตามปกติ ก็จงอบรมเจริญปัญญา แล้วจะรู้ว่าปัญญานั้น สามารถ ที่จะรู้ชัดในลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ ตามปกติได้ เป็นปัญญาจริงๆ ที่จะละ ความต้องการอื่น เพราะว่าถ้ามีอะไรที่ผิดปกติไป ดูเหมือนพิเศษ นั่นแหละคะ จะเป็นที่ตั้งของความพอใจทันที แล้วก็มีความต้องการที่จะให้เป็นอย่างนั้นอีก ใช่ไหมคะ แล้วจะละได้อย่างไร เล่าคะ

    ผู้ถาม. อันนี้ผมก็พยายามศึกษาจะหาหนทาง เพราะว่า

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น การที่จะละได้

    ผู้ถาม. มันมีความต้องการอยู่อย่างนี้

    ท่านอาจารย์ ก็ล่อไปเรื่อยๆ คะ เพราะฉะนั้น อารมณ์ของตัณหาหรือโลภะนั้นมีมาก ตัณหาหรือโลภะ จะปราศไปได้ก็ต่อเมื่อปัญญาเกิดขึ้น รู้ลักษณะของสภาพธรรมตามความเป็นจริง ถ้าตราบใจซึ่งปัญญายังไม่เกิด ก็ให้ทราบได้ว่า นายช่างเรือน ก็ยังแสวงหาอารมณ์ ที่ต้องการที่พอใจ อยู่ตลอดเวลา พร้อมความไม่รู้ เพราะฉะนั้น จึงต้องถาม เป็นอะไร นั่นสงบหรือเปล่า นั่นเป็นอะไร เกิดขึ้นได้อย่างไร นั่นเป็นลักษณะของความไม่รู้ ไม่ใช่ลักษณะของปัญญา แต่ว่า ถ้าท่านผู้ใดจะเข้าใจเรื่องของสมาธิว่า ที่ท่านเคยคิดว่าเป็นความสงบนั้น เป็นเพียงสมาธิ ซึ่งเป็น มิจฉาสมาธิ เพราะว่าไม่ใช่ความสงบของจิต ซึ่งเกิดเพราะปัญญา เพราะฉะนั้น ก็จะไม่สนใจ ในสมาธิต่างๆ เหล่านั้น แล้วก็อบรมความสงบของจิต ในขณะนี้ โดยรู้ว่าขณะนี้จิตสงบไหม จิตสงบ ขั้นใด เพราะอะไร เพราะสติระลึกรู้ลักษณะของสภาพธรรม ศึกษารู้ในสภาพที่ไม่ใช่ตัวตน ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ของสภาพธรรม ที่กำลังปรากฏ หรือว่าสงบเพราะรู้ลักษณะของกุศลจิต ที่กำลังสงบ ด้วยเมตตา ด้วยการระลึกถึงพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ หรือการระลึกถึงธาตุดิน ธาตุน้ำธ าตุลม ธาตุไฟ หรือการระลึกถึงสีสันวรรณณต่างๆ ด้วย โยนิโสมนสิการะ แล้วจิตสงบ ซึ่งเป็นปกติธรรมดา แล้วจะเทียบกันได้ว่าความสงบอย่างนี้ เป็นความสงบที่แท้จริง เพราะว่าไม่ใช่ความต้องการที่ปรารถนาสิ่ง ๑ สิ่งใดโดยการไปทำขึ้น แล้วไม่รู้ในสิ่งนั้น ขณะนั้นไม่รู้ และต้องการ แต่ว่า ขณะนี้เป็นความสงบ เพราะรู้ว่า จะสงบได้ด้วยเมตตา หรือกรุณา หรือมุทิตา หรืออุเบกขา หรือว่าอารมณ์อื่นของสมถกรรมฐาน เพราะว่าปัญญารู้ว่า ความสงบเกิดขึ้นเพราะ มนสิการะในอารมณ์ทั้งหลายที่กำลังปรากฏอย่างไร แล้วจิตจึงสงบได้ ความสงบอย่างนี้เป็นความสงบจริงๆ ปรากฏลักษณะของความสงบ ตามปกติพร้อมสติสัมปชัญญะ สมบูรณ์

    4450 เมตตาในสมถะ กับ ผู้เจริญสติปัฏฐาน

    ผู้ถาม. อันนี้ผมเคย เมื่อก่อนนี้ก็ยังติดในรส เป็นต้นว่า เราเจอะปลาตัว ๑ เห็นตัวปลาตัวมันใหญ่ เนิ้อมันคงอร่อย ก็อยาก ถึงแม้จะไม่ได้ทำทาน รักษาศีล แตว่าจิตบางทีมันก็นึกอยากจะกิน แต่เดี๋ยวนี้ ถ้าหากเรา เรา พอเราเห็นปั๊บ เกิดความเมตตา นี่มันเป็นสัตว์โลกร่วมกัน มันมีกรรมของมัน จะต้องเกิดมาเป็นปลาอย่างนี้ เรามีความเมตตา ความคิดที่อยากจะกิน คิดอยากจะฆ่า อะไรอย่างนี้มันก็ไม่มี อย่างนี้จัดว่าเมตตา ใช่ไหมครับ

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น ขณะนั้นสงบ ไม่ใช่ขั้นทาน ไม่ใช่นั้นศีล แต่ว่าเป็นขั้นความสงบของจิต เพราะระลึกด้วยเมตตา เพราะฉะนั้น ในขณะนั้นไม่ใช่การที่จะมีการต้องการที่จะให้เกิดอะไรที่พิเศษ แปลกประหลาดศจากปกติ แล้วก็ไม่รู้ ใช่ไหมคะ แต่เป็นความรู้ชัดพร้อมสติสัมปชัญญะ สมบูรณ์

    ผู้ถาม. อันนี้จัดอยู่ใน สมถะ ใช่ไหมครับ

    ท่านอาจารย์ สมถะ คะ แต่ว่ายากที่จะให้ถึง อุปจารสมาธิ หรืออัปปนาสมาธิ

    ผู้ถาม. อย่างนั้นยังไม่ต้องถึง เพราะว่า เพียงแต่ว่าให้มันมีแนวทางเพียงนิดๆ หน่อยๆ เพื่อจะได้เป็นหนทางไว้ว่า เผื่อไปชาติต่อๆ ไปอีกสักแสนกัปป หรือร้อยกัปป ก็ยังดีกว่าจะต้องไปวนเวียนอยู่ในนี้ ขอเพียงแต่ว่าให้ถูกทางเท่านั้นเอง

    ท่านอาจารย์ คะที่ท่านผู้ฟัง ไม่ได้มีความต้องการที่จะให้ ความสงบมั่นคงถึงอุปจารสมาธิ อัปปนาสมาธิ ก็เป็นการถูกต้อง เพราะยากที่บุคคลจะถึงได้ ถ้าศึกษาโดยตลอด จะเห็นว่าากว่าจิตจะสงบเป็นอุปจารณ์สมาธิได้ อัปปนาสมาธิได้ นี่คะแสนยาก ในร้อยคน พันคน หมื่นคน ที่จะเกิด อุคหนิมิตขึ้น ซึ่งเป็นเครื่องหมายของความสงบของจิต ซึ่งพร้อมประกอบด้วยสมาธิที่มั่นคงในขณะนั้นก็ยาก แล้วกว่าที่จะให้ถึงปฏิภาคนิมิต ซึ่งใกล้ที่จะถึงฌานจิต ก็แสนที่จะยากอีก ซึ่งในขณะเหล่านั้น ถ้าเป็นผู้ที่มีปกติอบรมเจริญสติปัฏฐาน แล้วละก็ สามารถที่จะรู้ชัดในลักษณะของนามธรรม และรูปธรรม ยิ่งขึ้น แทนที่จะมีความปรารถนา เพียงให้จิตสงบ เพราะเป็นผู้ที่ไม่รู้หนทาง ที่จะเจริญสติปัฏฐาน แต่ถ้าเป็นผู้ที่เจริญสติปัฏฐาน แล้ว ไม่ว่าจิตขณะนั้นจะเป็นกุศล หรืออกุศลอย่างไร ก็ไม่ยึดถือว่าเป็นสัตว์ เป็นบุคคล เป็นตัวตน ทั้งสิ้น เพราะฉะนั้น ในครั้งที่พระผู้มีพระภาค ยังไม่ปรินิพพาน พระอริยสาวกซึ่งบรรลุคุณธรรมเป็นพระอริยเจ้าโดยไม่ได้บรรลุถึงฌานจิต จึงมีมากกว่าพระอริยสาวกซึ่งบรรลุฌานด้วย เพราะฉะนั้น ยิ่งในยุคนี้ สมัยนี้ ท่านผู้ฟังที่ศึกษาเรื่องของฌานจิตจริงๆ จะเห็นได้ว่าเป็นการบรรลุที่ยากมาก เพราะฉะนั้น จึงควรอบรมเจริญปัญญา ที่จะรู้แจ้งอริยสัจธรรมเป็นพระอริยเจ้าโดยไม่คำนึงถึงว่าต้องให้บรรลุฌานจิต

    4451 ปัญญาไม่ยึดถือสภาพธรรมว่ามีสัตว์ บุคคล ตัวตน

    ผู้ถาม. ตามธรรมดาเรามีสติรู้กาย รู้เวทนา รู้จิต รู้ธรรม ถึงจะมีไม่ตลอด มีบ้างเล็กๆ น้อยๆ ก็ยังไม่ถึงขั้น ที่จะนั่น จะต้อง คือปัญญา ที่ต้องนั่นจริงๆ จะต้องไม่ยึดถือ สิ่งเหล่านี้ว่าเป็นตัวตน บุคคล เราเขา ต้องมีปัญญอย่างนั้น ใช่ไหมครับ

    ท่านอาจารย์ ไม่ยึดเฉยๆ เอาเองอย่างนั้นไม่ได้ ต้องเกิดปัญญาที่รู้ชัดในลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ ตามปกติตามความเป็นจริงยิ่งขึ้นจนกว่าจะดับความความยึดถือ หรือเห็นผิดในสภาพธรรม ว่าเป็นคัวตน เป็นสัตว์ เป็นบุคคลได้

    ผู้ถาม. เท่าที่ฟังอาจารย์ บอก การเจริญวิปัสสนา ก็ให้รู้สภาพธรรม ที่กำลังปรากฏ ไม่ใช่สัตว์ บุคคล ไม่ใช่ตัวตน อยากจะให้ท่านอาจารย์ขยายความว่าธรรมเป็นอย่างไรครับ

    ท่านอาจารย์ กำลังลืมตา สภาพธรรม ปรากฏแล้ว หลับตาลง สภาพธรรม ที่ปรากฏทางตาในขณะที่ลืมตา ไม่ปรากฏแล้ว นี้คือความจริง หรือไม่จริงคะ เพราะฉะนั้น จึงศึกษา รู้ลักษณะของธรรมที่ปรากฏ ตามความเป็นจริงของสภาพธรรมนั้นๆ ว่าถ้าเป็นสิ่งที่ปรากฏทางตา ก็หาใช่สัตว์ บุคคล ตัวตน วัตถุสิ่งของ สิ่ง ๑ สิ่งใดไม่ ตามความเป็นจริง ก็เป็นแต่เพียงสิ่งที่ปรากฏ ทางตา เท่านั้นเอง ยากเหลือเกิน ที่จะไถ่ถอน สละคืน ความเห็นผิด ในสิ่งที่ปรากฏทางตา ว่าเป็นบุคคลนั้น บุคคลนี้ สิ่งนั้น สิ่งนี้ออกได้ แต่ให้น้อมระลึกถึงความจริงอยู่เสมอว่า สิ่งที่ปรากฏทางตาเป็นเพียงสิ่งที่ปรากฏทางตา เท่านั้น หลับตา แล้วความจริงคือไม่มีสิ่งที่ปรากฏทางตา ปรากฏอีก ทางหูทางจมูกทางลิ้นทางกายโดยนัยเดียวกัน

    4452 สมถะ - สมาธิ - วิปัสสนาภาวนา

    ท่านอาจารย์ ยังมีท่านผู้ฟังที่ต้องการที่จะพูดถึงเรื่องของสมถภาวนาอีกไหมคะ เชิญคะ

    ผู้ถาม. ฟังๆ แล้ว ที่อาจารย์พูด นี่ก็เข้าใจ ครับ แต่ทีนี้ ผม จะว่าวุ่นไปสักหน่อยก็ ตามใจเถอะครับ แต่ผมคิดว่าเพื่อประโยชน์ ของคนอื่น อยากให้อาจารย์อธิบายว่า สมถะ อย่าง ๑ สมาธิ อย่าง ๑ แล้วก็เจริญสติปัฏฐาน อย่าง ๑ ผมนะ จิตใจของผมชอบเจริญสติปัฏฐาน คือว่าเพื่อฝึกตนให้รู้ว่า ไม่ใช่ตัวตนเราเขา สัตว์ บุคคล เป็นสิ่งที่อย่างอาจารย์ ว่า เมื่อตระกี้นี้ นะ เห็นก็เป็นแต่เห็น ได้ยินก็เพียงได้ยิน ผม หรืออย่างนี้ครับ แต่ทีนี้ผมฟังๆ ดู บางท่านที่มาฟังใหม่ๆ อาจจะเขวไป เพราะฉะนั้น อยาก ขอความกรุณา ต้องขอโทษ ให้อาจารย์เน้นว่า สมาธิ อย่าง ๑สมถะ อย่าง ๑ เจริญสติปัฏฐาน นี่อย่าง ๑ ขอบพระคุณครับ

    ท่านอาจารย์ สมาธิ เป็นความตั้งมั่นคง ที่อารมณ์ ๑ อารมณ์ใด ได้แก่ เอกัคคตาเจตสิกซึ่งเกิดกับจิตทุกดวง ทำให้จิต รู้ในอารมณ์ ๑ ทีละ ๑ ขณะ เท่านั้น ทางตาที่กำลังเห็น จะได้ยินด้วยไม่ได้ เอกัคคตาเจตสิกตั้งมั่นคงในอารมณ์ที่ปรากกในขณะที่เห็น จึงเห็นแต่เพียงสิ่งที่ปรากฏทางตาเท่านั้น นี่เป็นลักษณะของสมาธิ แต่ว่าโดยทั่วไป ในชีวิตประจำวัน ลักษณะของสมาธิซึ่งเป็น เอกัคคตาเจตสิกไม่ปรากฏ เพราะว่าจิต เกิดดับอย่างรวดเร็ว ต่อเมื่อใด จิตมีความตั้งมั่นคงในอารมณ์เดียว นานๆ จึงจะปรากฏลักษณะของสมาธิ เวลาที่มีความพอใจในสิ่ง ๑ สิ่งใด จดจ้องเฉพาะในสิ่งนั้นไม่สนใจในสิ่งอื่นเลย เรียกก็ไม่ได้ยิน พูดด้วยก็ไม่ได้ยิน ในขณะนั้นก็พอจะรู้ได้ว่าคนนั้นกำลังใจจดใจจ่อ จิตตั้งมั่น สนใจอยู่ในอารมณ์นั้น อารมณ์เดียวเท่านั้น นั่นก็เป็นลักษณะของสมาธิ หรือ เอกัคคตาเจตสิกซึ่งปรากฏอาการของสภาพที่เป็นสมาธิ เพราะฉะนั้น สมาธินอกจากจะเกิดกับจิตทุกดวง แต่ว่าบางครั้งบางขณะไม่ปรากฏลักษณะสภาพของสมาธิ จนกว่าจิตจะตั้งมั่น อยู่ที่อารมณ์เดียวนานๆ ด้วยอกุศลจิตก็ได้ เช่นด้วยความพอใจ เพลิดเพลิน จดจ้องในอารมณ์ที่กำลังได้รับอยู่ จะเป็นการทำสิ่ง ๑ สิ่งใดก็ตาม ถ้าตั้งใจจดจ้องอยู่ที่อารมณ์นั้น ก็จะเกิดปราฏลักษณะของสมาธิ หรือบางคนโกรธจัดๆ ใครจะพูดจะเตือนจะว่าอย่างไร ก็ไม่ได้ยินหมด ในขณะนั้น ความโกรธที่มีกำลัง ลักษณะของสมาธิก็ปรากฏ คิดเรื่องอื่นไม่ได้เลย ผูกโกรธ เดี๋ยวก็คิดเรื่องโกรธๆ ๆ อยู่ตลอดเวลา นั่นก็เป็นลักษณะของมิจฉาสมาธิ ซึ่งเกิดกับอกุศลจิต ในขณะที่ให้ทาน เอกัคคตาเจตสิก ก็ต้องเกิดร่วมกับจิตในขณะนั้นด้วย ทุกขณะไป แต่ว่าชั่วครู้ชั่วขณะที่ให้ เล็กน้อยมาก ลักษณะอาการของสมาธิก็ไม่ปรากฏอีกเหมือนกัน หรือในขณะที่วิรัติทุจริต ลักษณะอาการของสมาธิก็ไม่ปรากฏ เพราะฉะนั้น ส่วนใหญ่ที่ใชัคำว่าสมาธิ จะหมายความถึงเมื่อลักษณะของเอกัคคตาเจตสิกปรากฏ อาการของความตั้งมั่นคงที่อารมณ์ ๑ อารมณ์ใด จึงชื่อว่าสมาธิ แต่แม้กระนั้น คำว่าสมาธิ นี่คะ ก็ยังคงเป็นคำกลาง เช่นเดียวกับคำว่าทิฏฐิ เป็นความเห็นถูกก็ได้ เป็นความเห็นผิดก็ได้ ถ้าให้ชัดหรือให้ตรง ความเห็นผิด ก็คือมิจฉาทิฏฐิ ความเห็นถูก ก็คือสัมมาทิฏฐิ ฉันใด ถ้าจะให้ชัดให้ตรง สมาธิซึ่งเป็นอกุศล ก็ควรที่จะกล่าวว่า มิจฉาสมาธิ แล้วสมาธิที่เป็นกุศลก็กล่าวว่า เป็น สัมมาสมาธิ แต่ว่าพระธรรมมีมาก เพราะฉะนั้น แล้วแต่ว่า จะอยู่ในหัวข้อใด ถ้าเป็นไปในเรื่องของกุศล แม้แต่ใช้คำว่าสมาธิเท่านั้นก็มุ่งหมายสัมมาสมาธิ ที่เป็นกุศล ซึ่งท่านผู้ฟัง ต้องเป็นผู้ที่ละเอียด ศึกษาด้วยความรอบครอบว่าขณะนี้กำลังศึกษา เรื่องของกุศล หรือ อกุศล ถ้าเป็นเรื่องของ อกุศลก็เป็นเรื่องของ มิจฉาสมาธิ เป็นอกุศลทานก็มี เป็นฝ่ายอกุศลทั้งสิ้น ถ้าเป็นฝ่ายกุศล สมาธิซึ่งไม่ได้กล่าวถึง ว่าเป็นมิจฉาหรือสัมมา ก็ต้องเป็นสัมมา เพราะเหตุว่า เป็นทางฝ่ายกุศล เพราะฉะนั้น ถ้าเห็นคำว่าสมาธิกลางๆ ในพระไตรปิฎก ก็ควรที่จะได้ทราบว่าในขณะนั้น พระผู้มีพระภาค ทรงแสดงธรรมฝ่ายอกุศล หรือ ฝ่ายกุศล หรือแม้ในฝ่ายกุศล ถ้าเห็นคำกลางๆ ว่า สมาธิ ก็ควรที่จะได้เข้าใจว่าพระผู้มีพระภาค ทรงแสดงธรรม เรื่อง สมถภาวนา หรือวิปัสสนา เพราะเหตุว่าเป็น สัมมาสมาธิทั้ง สมถภาวนา และวิปัสสนาภาวนา แต่ว่าสัมมาสมาธิของ สมถภาวนา นั้นไม่ใช่สัมมาสมาธิในมรรคมีองค์ ๘ แต่ว่าสัมมาสมาธิ ในวิปัสสนานั้นเป็น มรรคมีองค์ ๘ เพราะฉะนั้น การศึกษาธรรมต้องเป็นเรื่องละเอียดจริงๆ

    4453 สัมมาสมาธิในฌาน กับ ในมรรคมีองค์ ๘

    ท่านอาจารย์ เชิญคะ

    ผู้ถาม พูดถึงเรื่องของสัมมาสมาธิ ถ้าพระพุทธเจ้า จะอธิบายสัมมาสมาธิ ในอินทรีย์ก็ดี ในโพชฌงค์ก็ดี ในมรรค ๘ ก็ดี ดูเหมือนพระพุทธองค์จะอธิบายเหมือนๆ กันหมด คืออธิบายตั้งแต่ปฐมฌาน จนกระทั้งถึง จตุตถฌาน ในสัมมาสมาธิ พระพุทธองค์มักจะอธิบายอย่างนี้ทุกครั้ง เพราะฉะนั้น สัมมาสมาธิมันก็ต้องเป็นฌานเท่านั้น สิครับ

    ท่านอาจารย์ นี่ก็เป็นเรื่องละเอียดอีกเรื่อง ๑ ซึ่งพระผู้มีพระภาค ทรงแสดงพระธรรมโดยกว้างขวาง สำหรับผู้ที่ศึกษา จะเข้าใจให้ถูกต้อง ตามความเป็นจริง อย่าเข้าใจให้คลาดเคลื่อนไปจากความเป็นจริง เพราะเหตุว่าสมถะ กับ วิปัสสนา แยกได้ไหมคะ ทานกับสติปัฏฐาน แยกได้ไหม ศีลกับสติปัฏฐาน แยกได้ไหม มีใครบ้างคะ ซึ่งเจริญสติปัฏฐาน เท่านั้นแล้วก็ไม่มีทาน ไม่มีศีล ไม่มี นะคะ เพราะฉะนั้น ผู้ที่อบรมเจริญสติปัฏฐาน แล้ว ย่อมมีปัจจัยที่จะให้กุศลทุกประการเจริญขึ้น แม้แต่สมถะ หรือความสงบซึ่งไม่ เคยมีมาก่อน ไม่เคยรู้จักหน้าตาของความสงบเลย แต่เวลาที่อบรมเจริญสติปัฏฐาน แล้ว บางขณะมีปัจจัยของกุศลขั้นทานเกิดขึ้น ขณะนั้นก็เป็น ทานกุศล แล้วสติปัฏฐาน อาจจะระลึกรู้ลักษณะสภาพของธรรมในขณะที่กำลังบำเพ็ญทานกุศล รู้ว่า ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่ตัวตน ก็ได้ แต่ว่าทานในชีวิต ไม่ใช่มีครั้งเดียว มีหลายครั้ง บางครั้งสติก็กิดระลึกรู้ลักษณะของสภาพของจิตในขณะนั้น บางครั้งก็ไม่เกิด ก็เป็นแต่เพียงทานซึ่งไม่มีสติเกิดขึ้น ระลึกรู้ลักษณะสภาพของธรรมในขณะนั้น ว่า ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคลไม่ใช่ตัวตน ศีลก็โดยนัยเดียวกัน แล้วก็ผู้ที่อบรมเจริญสติปัฏฐาน มีความรู้ลักษณะของสภาพธรรมละเอียดขึ้น จิตเป็นอกุศล ปัญญารู้ตรงตามความเป็นจริงของอกุศลจิตในขณะนั้น ไม่เห็นอกุศลจิต เป็นกุศลจิต ด้วยเหตุนี้ในการอบรมเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ท่านพระอานนท์ก็ได้กล่าวถึงการรู้แจ้งอริยสัจธรรม ของบุคคลทั้งหลายว่า มีถึง ๔ อย่าง คือบางท่านเจริญสมถภาวนาก่อน บางท่านสมถเกิดก่อน วิปัสสนาเกิดภายหลัง แล้วบางท่านวิปัสสนาเกิดก่อน สมถะเกิดภายหลัง ซึ่งสมถะ ไม่ได้หมายความว่าจะต้องถึง อุปจารสมาธิ หรืออัปปนาสมาธิ เพียงแต่ว่าแทนที่อกุศลจิต จะเกิดบ่อยๆ มากๆ เหมือนเคย แม้ว่าไม่ใช่ทาน ไม่ใช่ศีล จิตก็ยังสงบด้วย ได้ ประกอบด้วยเมตตาบ้าง กรุณาบ้าง มุทิตาบ้าง อุเบกขาบ้าง หรือพุทธานุสติ ธัมมานุสติ สังฆานุสติ จาคานุสติ มรณสติ และอารมณ์อื่นๆ ของสมถภาวนา ของการที่จะให้จิตสงบในขณะนั้นก็เกิดได้ เพราะฉะนั้น จะเห็นได้ว่าพระผู้มีพระภาค ทรงแสดง กุศลทุกประการว่าเป็นสิ่งทีควรเจริญ พระผู้มีพระภาค ไม่สามารถที่จะให้สติปัฏฐาน ของใคร เกิดเป็นสติปัฏฐาน อยู่ได้ตลอดเวลา แล้วแต่ว่าขณะใดเป็นปัจจัยของทานกุศล หรือศีล หรือสมถะ ทรงแสดงคุณของกุศลทุกประการไว้ ว่าเป็นสิ่งที่ควรเจริญ ควรอบรม ให้เป็นบารมี ที่จะได้ขัดเกลากิเลสให้เบาบาง จนกระทั่งสามารถที่จะมีปัจจัยให้ปัญญา เกิดขึ้น รู้ชัดในสภาพธรรม ที่ปรากฏ ดับความยึดถือสภาพธรรม นั้น เป็นตัวตน เป็นสัตว์ เป็นบุคคลได้ ด้วยเหตุนี้ สำหรับท่านที่เจริญสมถภาวนา มีความสงบของจิตมั่นคงด้วยสมาธิ ขณะนั้นก็เป็น สัมมาสมาธิของสมถะ แล้วถ้าเป็นผู้ที่มีปกติ อบรมเจริญสติปัฏฐาน ในขณะนั้น สัมมาสมาธินั้นก็เป็น มรรคมีองค์ ๘ เพราะสติเกิดขึ้น ระลึกรู้ลักษณะสภาพของความสงบ และความมั่นคงของสมาธิ ในขณะนั้นว่า ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่ตัวตน เพราะฉะนั้น พระธรรมที่พระผู้มีพระภาค ทรงแสดง เป็นเรื่องของกุศลแต่ละขั้น ซึ่งเกิดสลับกันตามเหตุ ตามปัจจัย ตามความเป็นจริงของแต่ละบุคคล เพราะฉะนั้น สมถภาวนาก็เป็นกุศลที่ควรเจริญ แต่ว่าไม่ใช่ว่าต้องไปเจริญที่อื่น แต่ว่าขณะนี้ จิตสงบไหม ไม่คอยถึงข้างหน้า เพราะเหตุว่า การอบรมเจริญกุศล ควรที่จะเจริญทันที เพราะฉะนั้น ถ้าในขณะนี้ จิตไม่สงบ แล้วก็มีปัญญาที่รู้เหตุที่จะให้สงบเกิดขึ้น ก็เป็นปัจจัยที่จะให้กุศลจิตเกิดในขณะนี้ โดยไม่ต้องรอคอย อย่าเข้าใจว่าต้องเป็นที่อื่น แล้วจิตถึงจะสงบได้ ขณะนี้คะ ถ้ามีปัจจัยที่จะให้สงบ จิตก็สงบได้ และควรที่จะอบรม ความสงบของจิต เพราะเหตุว่ายากเหลือเกิน ที่จะดับกิเลสได้เป็นสมุจเฉทโดยไม่เจริญกุศลทุกประการ เพราะว่าจะให้สติเกิดขึ้น ระลึกรู้ลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ ให้รู้ชัดว่า ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่ตัวตน นี่คะ ต้องค่อยๆ อบรมขึ้น ปัญญานั้นจึงจะเกิด แต่ว่าใครมุ่งหวังที่จะไปต้องการให้สติเกิดขึ้น แล้วก็ศึกษา ให้รู้ชัดทันที เป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ ต้องอาศัยการอบรมเจริญกุศลทุกประการ ประกอบด้วย

    4454 กุศลทุกประการควรเจริญ

    ท่านอาจารย์ พระผู้มีพระภาค ทรงแสดง กุศลทุกประการว่าเป็นสิ่งทีควรเจริญ พระผู้มีพระภาค ไม่สามารถที่จะให้สติปัฏฐาน ของใคร เกิดเป็นสติปัฏฐาน อยู่ได้ตลอดเวลา แล้วแต่ว่าขณะใดเป็นปัจจัยของทานกุศล หรือศีล หรือสมถะ ทรงแสดงคุณของกุศลทุกประการไว้ ว่าเป็นสิ่งที่ควรเจริญ ควรอบรม ให้เป็นบารมี ที่จะได้ขัดเกลากิเลสให้เบาบาง จนกระทั่งสามารถที่จะมีปัจจัยให้ปัญญา เกิดขึ้น รู้ชัดในสภาพธรรม ที่ปรากฏ ดับความยึดถือสภาพธรรม นั้น เป็นตัวตน เป็นสัตว์ เป็นบุคคลได้ ด้วยเหตุนี้ สำหรับท่านที่เจริญสมถภาวนา มีความสงบของจิตมั่นคงด้วยสมาธิ ขณะนั้นก็เป็น สัมมาสมาธิของสมถะ แล้วถ้าเป็นผู้ที่มีปกติ อบรมเจริญสติปัฏฐาน ในขณะนั้น สัมมาสมาธินั้นก็เป็น มรรคมีองค์ ๘ เพราะสติเกิดขึ้น ระลึกรู้ลักษณะสภาพของความสงบ และความมั่นคงของสมาธิ ในขณะนั้นว่า ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่ตัวตน เพราะฉะนั้น พระธรรมที่พระผู้มีพระภาค ทรงแสดง เป็นเรื่องของกุศลแต่ละขั้น ซึ่งเกิดสลับกันตามเหตุ ตามปัจจัย ตามความเป็นจริงของแต่ละบุคคล เพราะฉะนั้น สมถภาวนาก็เป็นกุศลที่ควรเจริญ แต่ว่าไม่ใช่ว่าต้องไปเจริญที่อื่น แต่ว่าขณะนี้ จิตสงบไหม ไม่คอยถึงข้างหน้า เพราะเหตุว่า การอบรมเจริญกุศล ควรที่จะเจริญทันที เพราะฉะนั้น ถ้าในขณะนี้ จิตไม่สงบ แล้วก็มีปัญญาที่รู้เหตุที่ให้จะให้สงบเกิดขึ้น ก็เป็นปัจจัยที่จะให้กุศลจิตเกิดในขณะนี้ โดยไม่ต้องรอคอย อย่าเข้าใจว่าต้องเป็นที่อื่น แล้วจิตถึงจะสงบได้ ขณะนี้คะ ถ้ามีปัจจัยที่จะให้สงบ จิตก็สงบได้ และควรที่จะอบรม ความสงบของจิต เพราะเหตุว่ายากเหลือเกิน ที่จะดับกิเลสได้เป็นสมุจเฉทโดยไม่เจริญกุศลทุกประการ เพราะว่าจะให้สติเกิดขึ้น ระลึกรู้ลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ ให้รู้ชัดว่า ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่ตัวตน นี่คะ ต้องค่อยๆ อบรมขึ้น ปัญญานั้นจึงจะเกิด แต่ว่าใครมุ่งหวังที่จะไปต้องการให้สติเกิดขึ้น แล้วก็ศึกษา ให้รู้ชัดทันที เป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ ต้องอาศัยการอบรมเจริญกุศลทุกประการ ประกอบด้วย

    4466 อกุศลสมาธิมีแต่ความสงสัย และต้องการ

    ท่านอาจารย์ ยังมีข้อสังสัยในเรื่องของสมถะ คือความสงบของจิตซึ่ง เป็นกุศลบ้างไหมคะ อย่าปนกับ อกุศลสมาธิ ถ้าเป็นสมาธิซึ่งไม่ประกอบด้วยปัญญา เป็นอกุศลสมาธิแล้วละก็ จะเต็มไปด้วยความสงสัย ความต้องการ ความไม่รู้ในสิ่งที่เกิดขึ้น ว่าเกิดขึ้นได้อย่างไร แล้วก็มีแต่ความต้องการให้สิ่งนั้นเกิดขึ้นอีก เพราะว่าบางครั้ง อาจจะปรากฏเหมือนสภาพที่จิตใสมากทีเดียว แต่ว่าไม่รู้อะไร ไม่รู้ว่าลักษณะนั้น เป็นอะไร แล้วที่ใสๆ อย่างนั้น รู้อะไรก็ไม่รู้ ในขณะนั้น เป็นแต่เพียงลักษณะของจิตซึ่งปรากฏเหมือน ใสเหลือเกิน แต่ทั้งๆ ที่ใสอย่างนั้น ก็ยังไม่รู้ ยังมีความปรารถนาที่จะให้ใสยิ่งกว่านั้น เพราะคิดว่าอาจจะรู้อะไรบ้าง แต่ก็ไม่ปรากฏว่ารู้อะไร นั่นเป็นลักษณะของอกุศลสมาธิ ซึ่งท่านผู้ใดก็ตาม พยายามจดจ้องที่อารมณ์ ๑ อารมณ์ใด ทำให้จิตตั้งมั่นที่อารมณ์ ๑ อารมณ์ใด อาการปรากฏของสมาธิ นี่คะ จะมีลักษณะต่างๆ แต่ทั้งหมด ไม่ประกอบด้วยปัญญา เพราะไม่มีความรู้ ในสภาพที่กำลังปรากฏในขณะนั้น แต่จะมีความสงสัย แล้วก็มีความต้องการให้ ยิ่งกว่านั้นอีก เพราะ หวังว่าคงจะรู้อะไรบ้าง ถ้าจิตสงบยิ่งกว่านั้น แต่ก็ปรากฏว่าไม่รู้อะไร เพราะว่าไม่ประกอบด้วยความรู้ ตั้งแต่เริ่มต้น ที่จะเป็นสมาธิ

    4467 สมาธิปรากฏเมื่อสติสัมปชัญญะสมบูรณ์รู้ภาวะที่สงบ

    ท่านอาจารย์ ยังมีท่านผู้ฟัง สงสัยอะไรบ้างไหม คะ ในเรื่องของสมถภาวนา เชิญคะ

    ผู้ถาม. ถ้าอย่างนั้น อย่างที่ท่านอาจารย์ อธิบายมาก็ หมายความว่าการเจริญสตินี้ เมื่อเจริญสติไปมากๆ ยิ่งขึ้น ก็นับว่านานทีเดียวคะ ก็จะ ลักษณะของสัมมาสมาธิ ก็จะปรากฏได้ เพราะว่าขณะนั้นจิตก็จะได้รับความสงบขณะที่เจริญเมตตาบ่อยๆ

    ท่านอาจารย์ เวลาที่สมาธิจะปรากฏ ผู้ที่เจริญความสงบด้วยปัญญาที่ถูกต้อง จะรู้ในลักษณะของความมั่นคงของความสงบที่ ค่อยๆ เพิ่มกำลังขึ้นด้วย ด้วยสติสัมปชัญญะ สมบูรณ์ พร้อมกับความสงบ ผิดกับขณะที่เป็นอกุศลสมาธิมาก

    4468 การอบรมปัญญาเป็นเรื่องสำคัญในการอบรมจิต

    ท่านอาจารย์ มีท่านผู้ฟังมีข้อสงสัยอะไรบ้างไหม คะ เชิญคะ

    ผู้ถาม. น่าอัศจรรย์ ไม่เคยมีมา ที่อาจารย์ได้กล่าวว่า การที่จะเจริญสมถภาวนา หรือวิปัสสนาภาวนา ก่อนที่จะเจริญวิปัสสนาภาวนานั้น ต้องมีปัญญารู้ ลักษณะของสติ ว่าเวลามีสติ ต่างกับเวลาหลงลืมสติอย่างไร ถึงจะเจริญวิปัสสนาได้ ถ้าไม่รู้ลักษณะของสติว่า เวลามีสติต่างกับเวลาหลงลืมสติแล้ว จะเจริญวิปัสสนาไม่ได้ แล้วในการเจริญสมถภาวนา อาจารย์ก็ได้กล่าวว่า ก่อนที่จะเจริญสมถภาวนานั้น ต้องรู้จักลักษณะของความสงบ ถ้าผู้ใดไม่รู้จักลักษณะของความสงบแล้ว ผู้นั้นจะเจริญสมถภาวนาไม่ได้ อันนี้เป็นน่าอัศจรรย์ที่กระผมยังไม่เคยได้ยิน แล้วผมคิดว่าความเป็นจริง มันก็เป็นอย่างนั้น ตามที่อาจารย์ได้กล่าวนั้น ที่ผมเข้าใจ แล้วก็ผมรู้จักทั่วๆ ไป คนที่จะเจริญวิปัสสนาก็ดี เจริญสมถภาวนาก็ดี มักจะ ก่อนที่จะเจริญภาวนาทั้ง ๒ ไม่จำเป็นที่จะต้องรู้จักอะไร มาก่อนทั้งนั้น

    ท่านอาจารย์ แล้วส่วนมาก ท่านที่ต้องการผลเร็ว นี่คะ แล้วท่านที่ต้องการที่จะได้ทุกอย่างมาโดยง่าย ก็มักจะพอใจในข้อปฏิบัติที่ไม่ต้องรู้อะไร ใช่ไหมคะ เพียงแต่ว่า ทำอย่างไร ก็ทำกันไป แต่ว่าไม่มีปัญญาที่จะรู้ลักษณะสภาพของจิต และความสงบ ซึ่งเรื่องของปัญญา นี้ เป็นเรื่องที่สำคัญมาก ในการที่จะอบรม จิต ถ้าปัญญาไม่เกิดรู้ว่าจิตขณะนี้เป็นอย่างไร เป็นกุศลหรืออกุศลอย่างไร แล้วละก็ อบรมจิตไม่ได้ มีแต่ความต้องการ คะ เช่นการที่จะเข้าใจว่าจะเจริญสมถะ โดยการที่กราบพระ แล้วก็กล่าวคาถาเป็นภาษาบาลี ขณะนั้น ปัญญาอยู่ที่ไหนคะ ปัญญารู้อะไร ขณะที่กำลังกล่าวอย่างนั้น ก็ตาม หรือกำลังนั่งในลักษณะสบายๆ อย่าง ๑ อย่างใดก็ตาม ขณะนั้นปัญญาอยู่ที่ ไหน ที่จะรู้สภาพของจิตที่กำลังเป็นอยู่ในขณะนั้นว่า สงบหรือไม่สงบ เพราะอะไร อย่างไร ธรรมทั้งหลายต้องมีเหตุมีปัจจัย ที่จิตจะสงบได้ ต้องมีเหตุ


    ฟังธรรมจากหัวข้อย่อย

    หมายเลข 4
    4 ม.ค. 2567

    ซีดีแนะนำ