สมถภาวนา ตอนที่ 08


    ที่จิตจะสงบได้ ต้องมีเหตุ ไม่ใช่อยู่ดีๆ ก็สงบ ใช่ไหมคะ แล้วเวลาที่จิตสงบในขณะนั้น ปราศจากความต้องการโลภะ โทสะ โมหะ และปัญญาก็จะต้องรู้ในลักษณะของจิตในขณะนั้นจริงๆ ว่าเป็นสภาพที่ผ่องใส สะอาดปราศจากอกุศลในขณะนั้น เพราะอะไร เหตุสำคัญที่สุดที่ผล จะเป็นไปอย่างที่ต้องการได้ ไม่ใช่ว่า การเจริญสมถะนั้น จะกระทำได้ด้วยการท่องคาถาภาษาบาลี แล้วก็จิตจะสงบ เป็นไปไม่ได้เลย ถ้าปัญญาไม่เกิดรู้ลักษณะของจิตในขณะนั้น

    4469 ที่จิตจะสงบได้ต้องมีเหตุมีปัจจัย

    ท่านอาจารย์ ธรรมทั้งหลายต้องมีเหตุมีปัจจัย ที่จิตจะสงบได้ ต้องมีเหตุ ไม่ใช่อยู่ดีๆ ก็สงบ ใช่ไหมคะ แล้วเวลาที่จิตสงบในขณะนั้น ปราศจากความต้องการโลภะ โทสะ โมหะ และปัญญาก็จะต้องรู้ในลักษณะของจิตในขณะนั้นจริงๆ ว่าเป็นสภาพที่ผ่องใส สะอาดปราศจากอกุศลในขณะนั้น เพราะอะไร เหตุสำคัญที่สุดที่ผล จะเป็นไปอย่างที่ต้องการได้ ไม่ใช่ว่า การเจริญสมถะนั้น จะกระทำได้ด้วยการท่องคาถาภาษาบาลี แล้วก็จิตจะสงบ เป็นไปไม่ได้เลย ถ้าปัญญาไม่เกิดรู้ลักษณะของจิตในขณะนั้น

    4470 จิตเป็นนามธรรมที่รู้ยากหากขาดปัญญา

    ท่านอาจารย์ ท่านผู้ฟังจะเห็นได้ว่า แม้จิตจะอยู่กับท่านทุกขณะ แต่ก็แสนยากที่จะรู้ สภาพความจริงของจิตในขณะนั้น เมื่อมีความยากอย่างนี้ ผู้ที่จะอบรมเจริญความสงบ จะสามารถจะทำได้อย่างไร ถ้าไม่รู้ลักษณะความสงบของจิต ของตนเสียก่อน ว่าขณะใดสงบ ขณะใดไม่สงบ เพราะว่าจิตรู้ยากจริงๆ กำลังเห็นก็เป็นจิตชนิด ๑ เป็นสภาพรู้ กำลังได้ยินก็เป็นจิตชนิด ๑ กำลังพอใจสิ่ง ๑ สิ่งใดก็เป็นจิตชนิด ๑ กำลังไม่พอใจก็เป็นจิตชนิด ๑ หรือว่ากำลังไม่มีโลภะ โทสะ แต่เมื่อมีความไม่รู้ ในสิ่งที่กำลังปรากฏ ในขณะนั้นก็ไม่ใช่ปัญญาคะ ไม่ใช่กุศลจิตแล้ว เพราะฉะนั้น ที่จะว่างๆ และ เฉยๆ โดยไม่ประกอบด้วยปัญญา จะมีประโยชน์ อะไร เพราะเหตุว่าขณะนั้นเป็นโมหมูลจิต ถึงแม้ว่าจะไม่ใช่โลภมูลจิต ไม่ใช่โทสมูลจิต ก็เป็นโมหมูลจิต ลักษณะของสภาพจิตที่ประกอบด้วย ปัญญาความรู้ ต่างกันมากกับขณะที่เฉยๆ แล้วไม่รู้อะไร ขณะที่กำลังรู้สึกเฉยๆ แล้วไม่รู้อะไร จะถือว่าดีไม่ได้ เพราะเหตุว่าไม่มีปัญญาที่จะรู้ลักษณะของสภาพธรรมตามความเป็นจริงในขณะนั้น เพราะฉะนั้น ปัญญาเป็นเรื่องที่สำคัญมาก สำหรับผู้ที่จะอบรม เจริญสมถะ หรือวิปัสสนา

    4771 ทรงมุ่งให้เจริญสติปัฏฐานเป็นปรกติ

    ท่านอาจารย์ ถ้าท่านผู้ฟัง อ่านพระไตรปิฎก ท่านผู้ฟังจะเห็นว่าพระผู้มีพระภาค ทรงแสดงธรรม มากมายทีเดียว เพื่ออนุเคราะห์ให้กุศลจิตเกิด และเจริญ เช่นทรงแสดงธรรมให้พระภิกษุทั้งหลายเจริญเมตตา กายกรรมที่ประกอบด้วยเมตตา วจีกรรมที่ประกอบด้วยเมตตา มโนกรรมที่ประกอบด้วยเมตตา นี้คือการอบรมเจริญความสงบของจิต ที่เป็นกุศลที่เป็นสมถภาวนา แต่อย่าลืม ว่า ทุกข้อความที่พระผู้มีพระภาค ทรงแสดงนั้น ทรงมุ่งที่จะให้พุทธบริษัทอบรมเจริญสติปัฏฐาน เป็นปกติ เพราะฉะนั้น แม้จะทรงแสดงเรื่องของ เป็นผู้ที่มีกายกรรม วจีกรรม มโนกรรมประกอบด้วยเมตตา ก็ไม่ได้หมายความว่า ให้เป็นผู้ที่หลงลืมสติในขณะนั้นๆ เพราะเหตุว่าพระธรรมที่ทรงแสดงไว้จุดประสงค์ที่สูงที่สุด ก็คือให้ทุกท่านเป็นผู้ที่ไม่หลงลืมสติ เป็นผู้ที่อบรมเจริญสติปัฏฐาน เพราะฉะนั้น สติปัฏฐาน หรือสติปัฏฐานสูตร จะแทรกอยู่ทุกบรรทัด หรือว่าทุกพระธรรมคำสอนของพระผู้มีพระภาค ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของทาน หรือศีล หรือสมถะก็ตาม เพราะเหตุว่าหลายท่านจะเห็นได้ว่าในพระไตรปิฎก นั้นเต็มไปด้วยการให้อบรมเจริญกุศล ไม่ว่าจะเป็นการที่จะพิจารณาเห็น ความเป็นปฏิกูลของผมขนเล็บฟันหนัง ส่วนต่างๆ ของร่างกาย หรือว่าความเป็นผู้ที่สม่ำเสมอ ไม่เดือดร้อนใจ ไม่ดีใจ ไม่เสียใจ ในคำชม และในคำติ ในคำสรรเสริญ ในคำนินทาต่างๆ ความเป็นผู้ที่มีจิตมั่นคงไม่หวั่นไหว แล้วแต่ว่าขณะนั้นจิตเกิดขึ้น ระลึกเป็นไป ในความสงบ หรือว่าเป็นไปในสติปัฏฐาน แต่ว่าทั้งหมดก็เป็นกุศลที่ควรเจริญ ทาน ควรเจริญฉันใด ศีล ควรเจริญฉันใด สมถะ คือความสงบของจิต ก็ควรอบรมเจริญฉันนั้น แต่ว่าไม่ใช่ว่าให้เป็นผู้ที่ ปราศจากการเจริญสติปัฏฐาน แต่เแม้พระผู้มีพระภาค เอง ก็ไม่สามารถที่จะอนุเคราะห์ ให้สติปัฏฐาน ของทุกคน เกิดขึ้น ระลึกรู้ลักษณะสภาพของธรรมที่กำลังปรากฏ ได้ตลอดเวลา ไม่มีใครที่สติปัฏฐานจะเกิดได้ตลอดเวลา บางครั้ง ขณะที่ให้ทาน สติอาจจะไม่ระลึกรู้ ในสภาพของนามธรรม และรูปธรรม ที่เป็นสติปัฏฐาน เลย ในขณะนั้น แต่ว่าการให้ก็มีหลายครั้ง เพราะฉะนั้นบางครั้งสติก็เกิดระลึกบ้าง บางครั้งสติอาจจะไม่ระลึกเลย บางคร้งสติปัฏฐาน อาจจะมีมาก บางครั้งสติปัฏฐาน อาจจะมีน้อย เมื่อสภาพของจิตย่อมเกิดขึ้นเป็นไป ตามเหตุตามปัจจัยอย่างนี้ บางขณะแทนที่จิตจะเป็นอกุศล ปัญญาสามารถที่จะรู้ในสภาพของอกุศล และเห็นโทษ และจิตสงบได้ เพราะระลึกถึงอารมณ์ของสมถะ อารมณ์ ๑ อารมณ์ใด ในสมถกรรมฐาน ๔๐ ในขณะนั้นสติปัฏฐาน จะระลึกรู้ ในสภาพที่ ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่ตัวตน ด้วยได้ เพราะเป็นผู้ ที่ไม่เข้าใจผิดในการเจริญสติปัฏฐาน เพราะเป็นผู้ที่รู้หนทางว่าสติปัฏฐาน นั้น อบรมเจริญอย่างไร แต่ว่าสมถภาวนาก็เป็นกุศลขั้น ๑ ซึ่งควรที่จะอบรมเจริญให้มากด้วย แต่จุดประสงค์ คือสติปัฏฐาน ควรระลึกรู้ลักษณะสภาพของจิต แม้ว่าขณะนั้นเป็นเพียงความสงบขั้น สมถะ ที่เกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย ตามความเป็นจริงในขณะนั้น

    4772 สภาพรู้ คือ อย่างไร

    ท่านอาจารย์ ไม่ทราบว่า ในวันนี้มีท่านผู้ฟัง มีข้อสงสัยอะไรบ้างหรือเปล่า คะ ในเรื่องการเจริญสติปัฏฐาน เป็นเรื่องที่ละเอียด แล้วสำหรับท่านที่อาจจะ ไม่ได้รับฟัง ตั้งแต่ตอนต้น บางท่านก็ยังคงมีข้อสงสัย บางประการในเรื่องการเจริญสติ เพราะฉะนั้น ถ้าท่านผู้ฟังท่านใด ยังมีข้อสงสัยในเรื่องการเจริญสติปัฏฐาน ก็ขอเชิญก่อน มีท่านผู้ฟังท่าน ๑ ถามว่า สภาพรู้ นี่คะ เป็นอย่างไร ที่ว่าเป็นสภาพรู้ ขณะที่กำลังเห็น ถ้าไม่มีสภาพรู้ สิ่งที่กำลังปรากฏ ทางตาในขณะนี้ ปรากฏไม่ได้ นี่คะ คือความหมายว่าสภาพรู้ก็คือกำลังรู้ สิ่ง ๑ สิ่งใด เช่นทางตา กำลังเห็น ขณะที่กำลังเห็นอย่างนี้ ยังไม่ใช่นึก ยังไม่ใช่ตรึกถึง รูปร่างสัณฐาน หรือยังไม่ได้คิดถึงคำสมมติบัญญัติ ใดๆ ทั้งสิ้น เป็นการรู้ คือมีสิ่งที่ปรากฏ ให้รู้ เพราะฉะนั้น เมื่อมีสิ่งที่ปรากฏให้รู้ สภาพรู้ก็ได้แก่ ขณะที่กำลังรู้ ในสิ่งที่ปรากฏ เช่นกำลังเห็น จะใช้คำว่า สีสันวรรณต่างๆ หรืออะไรก็แล้วแต่ ที่กำลังปรากฏ ในขณะนี้ นั่นคือปรากฏแก่สภาพรู้ ซึ่งสภาพรู้นั้นมีจริง ขณะที่กำลังเห็น นี่คะ ยังไม่เคยทราบ ยังไม่เคยคิด ยังไม่เคยพิจารณา รู้ว่า เป็นสภาพธรรม อย่าง ๑ ที่มีจริง แต่เมื่อได้ฟังแล้ว สภาพรู้ไม่เคยอยู่ห่างเลย ขณะที่กำลังเห็น ขณะที่กำลังได้ยิน ขณะที่กำลังได้กลิ่น ขณะที่กำลังลิ้มรส ขณะที่กำลังคิดนึก ทั้งหมดเป็นสภาพรู้แต่ละขณะ

    4773 การศึกษาธรรมไม่ได้แยกจากการฟังธรรม

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น การศึกษาธรรม ไม่ต้องแยกจากขณะที่กำลังฟัง เรื่องของธรรม เมื่อฟังเรื่องของธรรมใด เกิดความเข้าใจแล้ว ระลึกศึกษาเพื่อที่จะรู้จริง ในลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ ทันที เช่นในขณะนี้ กำลังเห็นๆ ๆ ก็ระลึกศึกษา รู้ว่าเป็นสภาพรู้สิ่งที่กำลังปรากฏทางตา นี่คือการเริ่มเข้าใจ สภาพธรรม ที่ปรากฏตามความเป็นจริง

    4774 จะกี่กัปป์ก็คือศึกษาสภาพธรรมในขณะนี้

    ท่านอาจารย์ ใน ๔ อสงไขยแสนกัปป หรือ ๒ อสงไขยแสนกัปป หรือ ๑ อสงไขยแสนกัปป หรือจะเป็นแสนกัปป หมื่นกัปป พันกัปป ร้อยกัปป หนึ่งกัปปก็ตามแต่ การศึกษาระลึกรู้ลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ ในขณะนี้ เป็นทางที่จะดับกิเลสได้เป็นสมุจเฉท ไม่ใช่ในขณะอื่นเลย เห็นอยู่เรื่อยๆ แต่ถ้าไม่ระลึก ไม่ศึกษาจนเพิ่มความเข้าใจขึ้น ย่อมไม่สามารถที่จะประจักษ์ความเกิดดับของนามธรรมที่เห็น ที่ได้ยิน ที่ได้กลิ่น ที่ลิ้สรส ที่คิดนึก ที่เป็นปกติในชีวิตประจำวัน หรือแม้แต่ความรู้สึกอื่นๆ เช่นโลภะ โทสะ โมหะ ความริษยา ความตระหนี่ ความฉลาด การที่สามารถที่จะเข้าใจ สิ่ง ๑ สิ่งใด ความคิด ตรึกไปต่างๆ

    แต่ละลักษณะวิจิตมาก แต่สภาพธรรม เหล่านั้นทั้งหมด สติจะต้องระลึก รู้ชัด ประจักษ์ ในความเกิดดับ และความไม่ใช่ตัวตน ของสภาพธรรม แต่ละลักษณะนั้น เพราะฉะนั้น จึงเห็นได้ว่า เหตุใดถึงต้องเป็น ๔ อสงไขยแสนกัปป หรือ ๒ อสงไขยแสนกัปป หรือ ๑ อสงไขยแสนกัปป เพราะว่าไม่ใช่เรื่องที่จะเข้าใจ รู้ชัดในลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ ได้ โดยง่าย แต่เพราะเหตุว่าสภาพธรรมนั้นมีจริง จึงสามารถที่จะศึกษา และประจักษ์แจ้ง แทงตลอด ในลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ ได้ โดยเพิ่มความเข้าใจขึ้นเรื่อยๆ อย่าลืมคะ เพียงระลึก แล้วไม่เข้าใจ ไม่รู้ลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ ไม่สามารถที่จะเห็น ความเป็นธรรม ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ใดๆ ทั้งสิ้น แล้ว ธรรม ก็วิจิตมาก สะสมมาจนกระทั่งเป็นปัจจัยให้เหิดความนึกคิดต่างๆ นานา ในแต่ละขณะ ซึ่ง ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่ตัวตน แต่ก่อนอื่น จะต้องเข้าใจ อรรถ คือความหมาย ของสภาพธรรม ซึ่งเป็นสภาพรู้ ที่กำลังเห็น กำลังได้ยิน กำลังได้กลิ่น กำลังลิ้มรส กำลังรู้สิ่งที่กระทบสัมผัส กำลังคิดนึก เย็นปรากฏ ถ้าไม่มีสภาพรู้ คือรู้เย็นนั่นเอง คะ เย็นก็ปรากฏไม่ได้ เพราะฉะนั้น เย็นปรากฏขณะใด ใฝ่ใจ ใส่ใจ ศึกษาสังเกตุสภาพธรรม อีกอย่าง ๑ ซึ่งกำลังรู้เย็นในขณะนั้น เย็นจึงปรากฏได้ จึงจะสามารถเข้าใจสภาพธรรม ซึ่งเป็นสภาพรู้ได้

    4775 สมถะ-สมาธิ-ปัญญา ในสมถภาวนา และวิปัสสนาภาวนา

    ท่านอาจารย์ เข้าใจว่ามีท่านผู้ฟังใหม่ หลายท่านซึ่งอาจจะสับสน เรื่องของการเจริญ สมถภาวนา และวิปัสสนาภาวนา และยังไม่เข้าใจชัดเจนในความหมายที่ต่างกัน ของคำว่า สมาธิ สมถะ และ วิปัสสนา ซึ่งเป็นปัญญาของการเจริญสมถภาวนา และปัญญาของการเจริญวิปัสสนาภาวนา เพราะฉะนั้น สำหรับในวันนี้ ขอกล่าวถึงการเจริญกุศล ซึ่งมีต่างกันเป็น ๓ ขั้น คือขั้นทาน ขั้นศีล และขั้นภาวนา สำหรับทานการให้ก็เป็นกุศลที่เจริญกันอยู่ทั่วๆ ไป และศีลก็ได้กล่าวถึงแล้ว แต่คำว่า ภาวนา การอบรมเจริญภาวนานั้น คือการอบรมเจริญสมถภาวนา อย่าง ๑ และวิปัสสนาภาวนาอีกอย่าง ๑ เรื่องของจิตใจ เป็นเรื่องยากจะรู้ได้ เพราะเหตุว่าจิตเกิดดับอย่างรวดเร็ว เช่นในขณะนี้ ปัญญาเท่านั้น ที่จะรู้ว่า จิตเป็นกุศล หรือ อกุศลอย่างไร เวลาที่ใช้คำว่าปัญญา นี่คะ ส่วนมากท่านผู้ฟังที่ฟังเรื่องของการเจริญวิปัสสนา จะคิดถึงปัญญาเฉพาะ ปัญญาที่รู้ลักษณะของสภาพธรรมที่ ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่ตัวตน โดยนัยของวิปัสสนาภาวนา เท่านั้น แต่ความจริงแล้ว ปัญญาเป็นสภาพธรรม ที่เห็นถูกเข้าใจถูก ในลักษณะของสภาพธรรมทั้งหลาย ตามความเป็นจริง แต่คำว่าตามความเป็นจริง ก็ต้องมีขั้นที่ต่างกันอีก ตามความเป็นจริงของขั้นสมถะนั้นก็คือว่า เวลาที่จิตเป็นอกุศล ก็รู้ว่าจิตเป็นอกุศล รู้ในลักษณะของอกุศลจิต แต่ไม่เห็นความเป็นอนัตตาของ จิตว่า ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่ตัวตน เวลาที่ท่านผู้ฟังเกิดความยินดีพอใจขึ้น ขณะนั้นทุกคนรู้ว่าเป็นสภาพที่สบายใจ เพลิดเพลิน ยินดีพอใจ ถึงแม้ว่าท่านจะไม่ได้ศึกษาธรรมเลย ท่านก็รู้อาการที่ต่างกันของจิต ขณะที่กำลังเพลิดเพลินยินดีพอใจว่า เป็นสภาพของจิตขณะ ๑ ซึ่งกำลังสบายใจ พอใจ สนุก เพลิดเพลิน ยินดี เพราะฉะนั้น เวลาที่จิตเป็นอกุศล เป็นโลภะ ผู้ที่มีปัญญาก็สามารถจะรู้ในลักษณะของจิตที่ประกอบด้วยโลภะนั้นว่า เป็นจิตประเภทนั้น แล้วก็วลาที่จิตเป็นโลภะ เกิดขึ้น ย่อมีความมากน้อยต่างกัน ถ้าเป็นโลภะที่มีกำลังมาก ตื่นเต้นดีใจเป็นสุข ทุกท่านทราบในอาการของสภาพธรรมของโลภะขณะนั้น แต่เวลานี้ ปกติธรรมดาชั่วขณะ เห็นบ้าง ได้ยินบ้าง ได้กลิ่นบ้าง ลิ้มรสบ้าง รู้สิ่งที่กระทบสัมผัสบ้าง แล้วไม่เกิดโทมนัส ไม่เกิดความไม่แช่มชื่น ขณะนั้นจะทราบไหมคะว่าเป็นโลภะ แต่ว่าการอบรมเจริญความสงบของจิต จะต้องเป็นผู้ที่มีปัญญาจริงๆ ที่รู้ว่าขณะนั้นก็เป็นอกุศลจิต จึงอบรมเจริญกุศล เพราะมีปัญญาที่รู้ว่า สติระลึกอย่างไร รู้อย่างไร จึงจะสงบ ปราศจากโลภะ โทสะ โมหะ แต่ว่าขณะนั้น เช่น ขณะที่กำลังมีเมตตา แทนโทสะ ขณะนั้นไม่รู้ว่าแม้ เมตตา ก็ไม่ใช่ตัวตน โทสะก็ไม่ใช่ตัวตน เพราะฉะนั้น ปัญญาขั้นสมถะ มีความรู้จริง ตามขั้นของสภาพธรรม ในขณะนั้นว่า ขณะนั้นเป็น อกุศล หรือขณะนั้น เป็นกุศล เพราะเหตุใด แต่ไม่สามารถที่จะดับ ความยึดถือสภาพธรรม ที่กำลังปรากฏนั้นว่าเป็นสัตว์ เป็นบุคคล เป็นตัวตน ได้ เพราะฉะนั้นปัญญาก็มีหลายขั้น ปัญญาที่รู้เหตุกับผล คือกรรม และวิบาก ก็เป็นปัญญา คะ ปัญญารู้ว่ากุศลธรรมเป็นสิ่งที่ควรเจริญ ควรจะซื่อสัตย์ ควรจะกตัญญูกตเวที นั่นก็เป็นปัญญาที่รู้สภาพธรรม ตามความเป็นจริง แต่คำว่าตามความเป็นจริงโดยที่ยังไม่ใช่ขั้นวิปัสสนา หรือสติปัฏฐาน นั้น ยังไม่สามรถที่จะดับความเห็นผิดว่าเป็นสัตว์ เป็นบุคคล เป็นตัวตน ได้ แต่เห็นตามความเป็นจริงว่า อกุศลกรรมให้ผลเป็นทุกข์หรือกุศลกรรมให้ผลเป็นสุข เพราะฉะนั้น ปัญญาจึงมีความต่างกันหลายขั้น หรือสัมมาทิฏฐิ ก็มีความต่างกันหลายขั้นปัญญาที่รู้ในกรรม และในผลของกรรม และปัญญาที่รู้ในการที่จะกระทำจิตให้สงบซึ่งเป็นฌานสัมมาทิฏฐิ ก็เป็น สัมมาทิฏฐิขั้น ๑ แต่ไม่ใช่สติปัฏฐาน เพราะฉะนั้น เวลาพูดถึง การรู้สภาพธรรม ตามความเป็นจริง ต้องแยกว่าขั้นไหน การรู้สภาพธรรม ตามความเป็นจริงขั้นสมถะ คือปัญญาที่รู้ว่าขณะนี้เป็นกุศล หรืออกุศล เมื่อรู้ว่าเป็นอกุศลแล้ว กุศลจิตจะเกิดได้อย่างไร นั่นคือปัญญาของผู้ที่จะอบรม สมถภาวนา ได้ เพราะฉะนั้น ผู้ที่ไม่ประกอบด้วยปัญญา ไม่สามารถที่จะอบรม เจริญความสงบของจิต ซึ่งเป็นกุศลขั้นที่สูงกว่า ทาน และศีลได้ แต่อย่าปนกับสติปัฏฐาน เป็นการรู้สภาพธรรม ตามความเป็นจริงเหมือนกัน แต่ว่าขั้นที่สามารถที่จะเห็นว่า ไม่ใช่ตัวตน ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล เพราะฉะนั้น เวลาใช้คำ ธรรมดาว่า การเจริญสมถภาวนา ต้องรู้สภาพธรรม ตามความเป็นจริง ตามความเป็นจริงว่า กุศล เป็นกุศล อกุศลเป็นอกุศล แต่ไม่ใช่ตามความเป็นจริงว่า ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่ตัวตน เพราะฉะนั้น ต้องแยกกัน และแม้แต่สมาธิ ความตั้งมั่นคงของจิต ก็อย่าคิดว่าเป็นเรื่องของสมถภาวนาเท่านั้น เพราะเหตุว่าแม้ในสติปัฏฐาน ก็มี สัมมาสมาธิ ความตั้งมั่นคงของจิต พร้อมด้วยการระลึกรู้ ศึกษา รู้ในลักษณะของสภาพธรรมที่ปรากฏ ว่า ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่ตัวตน ทีละเล็กทีละน้อย เพราะฉะนั้น เวลาที่มีคำกลางๆ ในพระไตรปิฎก เช่น คำว่าสมาธิ หรือแม้คำว่าปัญญา ก็จะต้องศึกษาให้ ทราบความต่างกันโดยละเอียดว่า เป็นสมาธิขั้นสมถะ หรือว่าเป็นสมาธิของสติปัฏฐาน ซึ่งเป็นวิปัสสนาภาวนา เวลาที่กล่าวถึงปัญญาก็จะต้องแยก โดยทราบว่า ถึงแม้จะใช้คำว่ารู้สภาพธรรม ตามความเป็นจริงโดยนัยของสมถะ หรือ ว่าโดยนัยของวิปัสสนา หรือแม้แต่สมถะ ความสงบนี่คะ ผู้ที่อบรมเจริญสติปัฏฐาน ไม่ใช่ว่าจะไม่สงบ ขณะใดก็ตาม ที่เป็นกุศล ขณะนั้นสงบจากโลภะ โทสะ โมหะ ถ้าไม่สงบ กุศลจิตเกิดไม่ได้ เพราะฉะนั้น ขณะที่ให้ทาน จิตก็สงบ แต่น้อย ไม่มากพอที่จะปรากฏ ให้เห็นลักษณะของความสงบได้ ด้วยเหตุนี้ ผู้ที่จะสงบยิ่งขึ้น จึงมีปัญญาที่รู้ว่าขณะที่ให้ทาน ขณะนั้น ความสงบของจิต เป็นอย่างไร แล้วจึงจะอบรมความสงบให่ยิ่งขึ้น โดยระลึกถึงจาคานุสติ การให้ทานที่ได้กระทำแล้ว และอารมณ์ กรรมฐานอื่นๆ ซึ่งเป็นสมถ กรรมฐาน เพราะฉะนั้น ก็ให้ทราบว่า แม้คำว่าสมถะ ก็มีขั้นของสมถภาวนา และวิปัสสาภาวนา แม้คำว่าสมาธิก็มีขั้นของสมถภาวนา และวิปัสสนาภาวนา แม้คำว่าปัญญาเห็นสภาพธรรม ตามความเป็นจริง ก็โดยขั้นของสมถภาวนา และวิปัสสนาภาวนา ด้วย

    4776 สมถภาวนาต้องไปเจริญในห้องไหม

    ท่านอาจารย์ มีท่านผู้ฟังมีข้อสงสัยอะไรบ้างไหมคะ เชิญคะ

    ผู้ถาม. ผมอยากจะถามว่าการเจริญสมถะ เป็นต้นว่าเมตตา จำเป็นไหมครับจะต้องไปอาศัยห้องหรือภาวนาในห้อง ในอะไรต่างๆ ถ้าจะเกิดจำเป็นจะต้องไปเกิดในห้องหรือเปล่า

    ท่านอาจารย์ ขณะนี้ ยังไม่ถึงข้างหน้า และอดีตก็ผ่านไปแล้ว เพราะฉะนั้น การอบรมเจริญภาวนาไม่ใช่คอยวันเวลา ทั้งสมถภาวนา และวิปัสสนาภาวนา

    ผู้ถาม. ผม มันมีระลึกอยู่ เมื่อก่อนนี้เคย ไปเจอะอาจารย์ท่าน ๑ ท่านบอกว่าให้ เจริญเมตตา บอกว่า เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา ถึงเวลามีเวลาก็ให้นั่น เจริญมาตั้งเป็น สิบๆ ปีก็ไม่มีความเมตตา ที่รู้ว่าไม่มีความเมตตาๆ เพราะอะไร มันยังมีการฆ่า มีการฆ่าสัตว์ ฆ่าปลา ฆ่า อะไรต่ออะไรอยู่ เวลามันเจริญอยู่ มันก็ไม่ฆ่า เวลาออกมามันฆ่า ทีนี้ผม ก็มา มีคราว ๑ ที่ผมเคยเล่าให้อาจารย์ฟังว่า ขึ้นไปรื้อหลังคาแล้วไปเจอะนกที่เจ้าบ้านจะเอา แล้วก็ ตกลงไม่ได้เอาให้เขา แล้วเจ้าของบ้าน พ่อบ้านก็มาบอกว่าจะไปทำ ทำไม ก็สัตว์โลกด้วยกัน อันนี้ผมสดุดใจ ตั้งแต่นั้นเรื่อยมา คือว่าเห็นสัตว์ เห็นอะไรมันก็ คิดว่าเป็นเพื่อร่วมโลกด้วยกัน เป็นสัตว์ ร่วมโลกด้วยกัน ความเมตตาที่ไม่เคย ภาวนาเลย แต่มันก็เมตตาอยู่เรื่อยไป ซ็ำมี มาอีกครั้ง ๑ ผู้ที่เคยได้เฝ้าสมเด็จพระสังฆราช วัดสะเกศ องค์ที่ท่านล่วงไปแล้ว ท่านมีหมาที่ขึ้นมาอยู่ในกุฏิท่านเยอะแยะ ใครๆ ไปคงจะรู้ สกปรก มีเด็กวัด พอแขกผู้ใหญ่มา มันก็ไปไล่ ท่านก็บอก เออะ เจ้าจะไปทมันทำไม จะไปตีมันทำไม เจ้ารู้หรือเปล่า ว่า นั่นนะ ชาติก่อนเคยเป็นพ่อเป็แม่เป็นคู่อาฆาต เป็นเมียเจ้า เป็นแม่เจ้า เป็นอ ะไรต่ออะไร ท่านรู้หรือเปล่า ผมได้ยิน จำอันนี้ ตั้งแต่นั้นเรื่อยมา ไม่ต้องภาวนา ไปเจอะที่ไหนก็รู้สึกว่า มีเมตตาเกิดขึ้น ผมคิดว่า จำเป็นจะเข้าไปอยู่ในห้อง ไปภาวนาเมตตา ให้ไปภาวนาสักร้อยปี ถ้าใจไม่มีปัญญา ไม่มี ผมว่าคงไม่เกิดผลอะไร

    ท่านอาจารย์ ท่านผู้ฟัง ก็คงจะได้เห็นด้วยตัวของท่านเอง ว่าเมตตานั้นอยู่ที่จิต ไม่ใช่อยู่ที่คำท่องบ่น หรือคำกล่าว เพราะว่าขณะที่ท่านจะกล่าวคำ ที่แสดงถึงเมตตา เช่น ขอให้สัตว์ทั้งหลายจงอย่ามีเวร มีภัย ต่อกันเลย แต่ว่าจิตในขณะนั้น เป็นอย่างไร เป็นอย่างที่ปากว่า หรือเปล่า หรือว่าปากพูดอย่าง ๑ แต่จิตในขณะนั้นที่กล่าวอย่างนั้นไม่ประกอบด้วยเมตตา ตรงกับคำที่กล่าว เวลาที่เห็นสัตว์เล็ก สัตว์น้อย หรือว่าเห็นบุคคล ๑ บุคคลใด แล้วก็เกิดเมตตาจิตในขณะนั้น ขณะนั้นชื่อว่าเป็นการอบรมเจริญภาวนาเมตตาแล้ว เพราะเหตุว่าถ้าท่านไปท่องบ่น แต่ว่าไม่รู้สภาพของจิตในขณะนั้น ว่าไม่ได้ตรงกับคำที่กล่าวเลย ก็เป็นแต่เพียงคำพูดเท่านั้นซึ่งใครๆ ก็พูดได้กล่าวได้ ไม่ว่าเด็กเล็กอย่งไร ก็สามารถที่จะกล่าวตามๆ กันไปได้ แต่ว่าจิตในขณะที่กล่าวนั้น ประกอบด้วยเมตตา หรือไม่ ใครจะทราบ บุคคลอื่นก็ไม่สามารถที่จะทราบได้ นอกจากจิตใจของท่านเอง คำพูดประโยคเดียวกัน นี่คะ ถามไถ่ทุกข์สุข ความเจ็บไข้ได้ป่วย ความเป็นอยู่ของบุคคลอื่น ตัวท่านเองสามารถที่จะสังเกตุพิจารณาจิตของท่านได้ แต่ละครั้งว่าขณะนั้นประกอบด้วยเมตตาหรือว่าไม่ประกอบด้วยเมตตา ไม่ว่าจะเป็นการกระทำทางกาย ทางวาจาก็ตาม สามารถที่จะพิจารณารู้ สภาพของจิตในขณะนั้นได้จริงๆ ว่าประกอบด้วยเมตตาหรือไม่ เพราะฉะนั้น เรื่องความเข้าใจผิด ที่ว่าต้องไปสู่ที่ ๑ ที่ใด หรือว่าจะต้องกล่าวคำเป็นภาษาบาลี ในการที่จะเจริญสมถะ โดยที่ไม่ศึกษาไม่รู้ลักษณะสภาพของจิตที่สงบ นี่คะ ย่อมไม่สามารถที่จะเจริญ สมถภาวนา หรือความสงบของจิตได้เลย

    4777 เมตตาอยู่ที่จิตไม่ใช่คำท่องบ่นหรือคำกล่าว

    ท่านอาจารย์ ท่านผู้ฟัง ก็คงจะได้เห็นด้วยตัวของท่านเอง ว่าเมตตานั้นอยู่ที่จิต ไม่ใช่อยู่ที่คำท่องบ่น หรือคำกล่าว เพราะว่าขณะที่ท่านจะกล่าวคำ ที่แสดงถึงเมตตา เช่น ขอให้สัตว์ทั้งหลายจงอย่ามีเวร มีภัย ต่อกันเลย แต่ว่าจิตในขณะนั้น เป็นอย่างไร เป็นอย่างที่ปากว่า หรือเปล่า หรือว่าปากพูดอย่าง ๑ แต่จิตในขณะนั้นที่กล่าวอย่างนั้นไม่ประกอบด้วยเมตตา ตรงกับคำที่กล่าว เวลาที่เห็นสัตว์เล็ก สัตว์น้อย หรือว่าเห็นบุคคล ๑ บุคคลใด แล้วก็เกิดเมตตาจิตในขณะนั้น ขณะนั้นชื่อว่าเป็นการอบรมเจริญภาวนาเมตตาแล้ว เพราะเหตุว่าถ้าท่านไปท่องบ่น แต่ว่าไม่รู้สภาพของจิตในขณะนั้น ว่าไม่ได้ตรงกับคำที่กล่าวเลย ก็เป็นแต่เพียงคำพูดเท่านั้นซึ่งใครๆ ก็พูดได้กล่าวได้ ไม่ว่าเด็กเล็กอย่งไร ก็สามารถที่จะกล่าวตามๆ กันไปได้ แต่ว่าจิตในขณะที่กล่าวนั้น ประกอบด้วยเมตตา หรือไม่ ใครจะทราบ บุคคลอื่นก็ไม่สามารถที่จะทราบได้ นอกจากจิตใจของท่านเอง คำพูดประโยคเดียวกัน นี่คะ ถามไถ่ทุกข์สุข ความเจ็บไข้ได้ป่วย ความเป็นอยู่ของบุคคลอื่น ตัวท่านเองสามารถที่จะสังเกตุพิจารณาจิตของท่านได้ แต่ละครั้งว่าขณะนั้นประกอบด้วยเมตตาหรือว่าไม่ประกอบด้วยเมตตา ไม่ว่าจะเป็นการกระทำทางกาย ทางวาจาก็ตาม สามารถที่จะพิจารณารู้ สภาพของจิตในขณะนั้นได้จริงๆ ว่าประกอบด้วยเมตตาหรือไม่

    4778 ความต่างกันของสมาธิกับสมถะ

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น ท่านผู้ฟังต้องทราบความต่างกันของสมาธิ และสมถะ อย่าเอาความจดจ้องตั้งมั่นอยู่ที่อารมณ์ ๑ อารมณ์ใด โดยอาศัยการท่องบ่นว่าขณะนั้น จะทำให้จิตสงบได้ เพราะเหตุว่าขณะนั้น เป็นแต่เพียงสมาธิ การที่ให้จิตจดจองอยู่ที่อารมณ์ ๑ อารมณ์ใด โดยปราศจากปัญญา โดยไม่รู้ลักษณะของความสงบของจิตที่ ค่อยๆ สงบขึ้นๆ ๆ จนปรากฏว่าความสงบนั้นมั่นคง ประกอบด้วยสมาธิ พร้อมด้วยสติสัมปชัญญะ บริบูรณ์ นั่นจึงจะเป็นการอบรมความสงบที่แท้จริง ไม่ใช่เป็นการที่ไปเพ่งจ้อง ด้วยความต้องการ โดยที่จิตไม่สงบเลย แล้วขณะนั้นจะขาดสัมปชัญญะ โดยการที่จะเพิ่ม ความไม่รู้สึกตัวขึ้น ทีละน้อยๆ จนปรกฏสิ่งที่ผิดปกติ เช่นการเห็นภาพซึ่งไม่ใช่ขณะที่กำลังเห็น เดี๋ยวนี้ตามความเป็นจริง โดยที่ว่าบุคคลนั้นก็ไม่เข้าใจ ถ้าไม่ฟังธรรมให้เกิดความเข้าใจแล้ว ขณะนั้นก็ยังมีความปรารถนา ยังมีความต้องการที่จะให้เห็นภาพนิมิตต่างๆ แล้วก็เข้าใจว่าขณะนั้นเป็นผลของการอบรมเจริญภาวนา จิตใจสงบแล้ว แต่ว่าตามความเป็นจริงผู้ที่อบรมสมถภาวนา หรือวิปัสสนาภาวนานั้น ตจะต้องพร้อมด้วยสติสัมปชัญญะ สมบูรณ์

    4779 การเห็นในขณะนี้เป็นสิ่งที่ปัญญาจะต้องรู้

    ท่านอาจารย์ การเห็นสิ่งอื่น กับการเห็นในขณะนี้ อะไรจริงกว่ากัน ที่ปัญญาจะต้องรู้ ขณะนี้จริงมาก ใช่ไหมคะ ที่กำลังเห็น นี่คะ อย่าคิดว่าไม่จริง ไม่ต้องไปทำเห็นอื่นขึ้นมาเพื่อคิดว่าขณะนั้น เป็นปัญญาที่คมกล้า รู้ในสิ่งที่กำลังปรากฏ โดยที่ขณะนี้กำลังเห็นอยู่ไม่ใช่ตัวตน ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ตามปกติ ควรที่ปัญญาจะรู้แจ้งในการเห็นเดี๋ยวนี้ ไม่ใช่การเห็นภาพนิมิต หรือ การเห็นสิ่งต่างๆ ซึ่งไม่ใช่การเห็นจริงๆ แต่เกิดขึ้นเพราะการที่ให้จิตจดจ้องอยู่ที่อารมณ์ ๑ อารมณ์ใด จนปราศจากสัมปชัญญะที่สมบูรณ์ เพราะฉะนั้น อย่าปน อย่าถือว่าสมาธิ การจดจ้องที่อารมณ์ ๑ อารมณ์ใด ปราศจากสัมปชัญญะที่สมบูรณ์นั้น คือความสงบ


    ฟังธรรมจากหัวข้อย่อย

    หมายเลข 4
    4 ม.ค. 2567

    ซีดีแนะนำ