สมถภาวนา ตอนที่ 05


    ผู้ฟัง กัมมัสสกตาปัญญา

    ท่านอาจารย์ เวลานี้ถ้ากำลังเข้าใจเรื่องกรรม เรื่องผล คือ กรรมเป็นเหตุเป็นปัจจัยัให้เกิดวิบาก เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรส รู้สิ่งที่กระทบสัมผัสที่น่าพอใจเป็นผล นี่คือปัญญาที่เข้าใจอย่างนี้ ไม่ใช่ตัวตน เป็นมหากุศลญาณสัมปยุตต์ ขณะนั้นมีเอกัคคตาเจตสิกเกิดด้วยเป็นสัมมาสมาธิ เป็นขณิกสมาธิ

    ผู้ฟัง ย่อๆ ๓ อย่าง แล้วก็วิปัสสนาปัญญา รู้รูปนามเป็นไตรลักษณ์ เป็นวิปัสสนาปัญญาใช่ไหมครับ

    ท่านอาจารย์ รู้สภาพธรรมตามความเป็นจริง

    ผู้ฟัง ส่วนโลกุตตรปัญญานั้นหมายความถึงอริยสัจ

    ท่านอาจารย์ รู้แจ้งนิพพาน

    ผู้ฟัง เป็นโลกุตตรปัญญา

    ท่านอาจารย์ ปัญญามีมาก สมาธิก็ต้องมีมากตามลำดับ เพราะฉะนั้น อย่าพิจารณาเพียงชื่อ พิจารณาสภาพธรรมที่กำลังปรากฏในขณะนี้ให้สอดคล้องกับพระธรรมที่ได้ศึกษาแล้วเข้าใจแล้ว ถ้าศึกษาเรื่องมหากุศลญาณสัมปยุตต์ ต้องรู้ด้วยว่า ขณะไหน ขณะที่ฟังแล้วเข้าใจ แต่ไม่ใช่ตัวตน ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล เป็นจิตอะไรที่ได้ศึกษาแล้ว มหากุศลญาณสัมปยุตต์มีบัญญัติเป็นอารมณ์ และถ้าสติเกิด วิตกเจตสิกจรดในลักษณะของสภาพธรรมที่ปรากฏ เป็นสติปัฏฐาน เป็นมหากุศลญาณสัมปยุตต์ที่ไม่ได้มีบัญญัติเป็นอารมณ์ แต่มีปรมัตถธรรมเป็นอารมณ์

    3896 ปัจจัยของความสงบที่ถูกต้อง

    ท่านอาจารย์ สงบต้องหมายความถึงเป็นกุศลที่ปราศจากโลภะ โทสะ และโมหะ กำลังติดใจก็เป็นลักษณะของโลภะแล้ว เพราะฉะนั้น ท่านผู้ฟังต้องรู้ถึงจุดแยกตอนนี้ระหว่างความสงบกับโลภะ ถ้ายังไม่รู้ว่า ทั้งหมดที่เคยปฏิบัติมาแล้วว่า แท้ที่จริงเป็นความสบาย เป็นความพอใจ เป็นความชอบ เป็นความต้องการ จึงนั่งแล้วอยากจะเป็นอย่างนั้นอีก จะเป็นความสงบได้อย่างไร ความสงบเกิดได้ด้วยปัญญาแม้ในขณะนี้ นี่จึงจะเป็นความสงบจริงๆ สามารถจะสงบได้โดยปราศจากโลภะ โทสะ โมหะ และรู้ด้วยว่า จิตสงบเพราะอะไร จะต้องมีสิ่งที่เป็นปัจจัยของความสงบที่ถูกต้อง ไม่ใช่อยากจะสงบเลยไปนั่ง เพราะต้องการความสบายอย่างนั้นแล้วถือว่า ความสบายนั่นคือความสงบ นั่นไม่ใช่ความสงบแล้ว ที่จะไปนั่ง ต้องการอย่างนั้น ไม่ใช่ความสงบเลย

    หลายท่านจะไม่เชื่อที่บอกว่า กำลังจดจ้องเป็นสมาธินั้นไม่สงบ เพราะฉะนั้น ท่านผู้ฟังต้องแยกกันแล้วสมาธิ สมถะ วิปัสสนา บางครั้งในพระไตรปิฎกใช้คำว่า สมาธิเท่านั้น แต่ทรงมุ่งหมายสัมมาสมาธิซึ่งเป็นไปพร้อมกับความสงบ และปัญญา แม้ว่าจะเป็นปัญญาต่างขั้น เวลาที่ทรงแสดงธรรมถึงฌานขั้นต่างๆ ก็จะทรงใช้คำว่า “สมาธิ” แต่ก็อย่าเข้าใจผิดว่า แม้มิจฉาสมาธิก็ทรงมุ่งหมายในที่นั้น เพราะเหตุว่าถึงแม้จะใช้คำกลางว่า “สมาธิ” แต่ถ้าเป็นเรื่องของกุศลฌาน ย่อมหมายความถึงสัมมาสมาธิที่ต้องเกิดพร้อมกับความสงบ อย่าทิ้งคำว่า “ความสงบ” และในบางแห่งก็จะใช้คำชัดทีเดียว เวลาอธิบายลักษณะของสมาธิว่า สมาธิที่เป็นกุศลนั้นมุ่งหมายสมาธิที่เกิดพร้อมกับความมั่นคงของความสงบ ต้องมีความสงบอยู่ด้วยถ้าเป็นกุศล แต่ไม่ใช่ความสบาย และคิดว่า ความสบายนั้นคือความสงบ โดยปัญญาไม่ได้รู้เลยในสิ่งที่ปรากฏว่าเกิดขึ้นได้อย่างไร

    3972 อารมณ์ของสมถภาวนา

    ท่านอาจารย์ สำหรับในวันนี้ ขอกล่าวถึงอารมณ์ของสมถภาวนา ให้ท่านผู้ฟังได้พิจารณาว่า ท่านจะเจริญสมถภาวนาโดยอารมณ์ไหน แล้วก็จะเป็นไปได้ไหมสำหรับท่าน สำหรับ สมถกรรมฐานซึ่งเป็นอารมณ์ของสมถภาวนานั้น มี ๔๐ คือกสิณ ๑๐ สำหรับกสิณนี่ก็ได้แก่ ปฐวีกสิณ เตโชกสิณ วาโยกสิณ อาโปกสิณ ซึ่งได้แก่ธาตุดิน น้ำ ไฟ ลม นั่นเอง ซึ่งเหตุผลของการที่อาศัยกสิณซึ่งเป็น ธาตุดิน น้ำ ไฟ ลม ก็เพื่อที่จะให้จิตระลึกถึง ความไม่มีสาระ ของธาตุดินธาตุน้ำธาตุไฟธาตุลม ซึ่งเป็นรูปซึ่งเป็นใหญ่เป็นประธาน ปรากฏอยู่โดยทั่วไป อย่างดินนี่คะ ก็มีการแตกย่อยได้ แม้แต่ภูเขาซึ่งใหญ่มหาศาลก็ยัง สามารถที่จะทำลายย่อยยับลงไปได้ นั่นก็เป็นความไม่เที่ยงของธาตุดิน หรือแม้แต่ธาตุน้ำ ในบางครั้งก็ มากมายไหลหลั่ง ท่วมท้นล้นฝัง ในบางครั้งก็ขอดแห้งหายจนกระทั่งดินก็แตกระแหงไปหมด นั่นก็เป็นความไม่เที่ยง ถึงแม้ธาตุลมก็เช่นเดียวกัน เท่าที่จะระลึกให้เห็นได้ ตามความเป็นจริง ลมพายุอย่างแรงก็มี แต่เวลาที่อากาศอบอ้าว ลมสักเล็กน้อยก็ไม่มี ก็ต้องไปเอาพัดมาโบกให้เกิดลมขึ้น

    ผู้ฟัง ที่อาจารย์ว่าธาตุน้ำ นี่ อาจารย์ จะเอาบัญญัติทางโลก หรือจะเอา พูดถึงทางวินัย

    ท่านอาจารย์ ต้องแยกอย่าลืมคะ โดยทั่วไปแล้วรวม แต่ก็ต้องแยกเป็นสมถภาวนา หรือ วิปัสสนาภาวนา

    ผู้ฟัง เวลานี้ผม เห็นอาจารย์พูดถึงว่าธาุตน้ำ

    ท่านอาจารย์ ที่พระผู้มีพระภาค ทรงแสดงไว้ในพระสูตร ทรงแสดงถึงความปรวนแปรของธาตุดิน น้ำ ไฟ ลม โดยอุปมาอย่างนี้ สำหรับที่จะให้เข้าใจถึงความไม่เที่ยง เพื่อที่จะน้อมจิตไปสู่ความสงบ ยังไม่ถึงวิปัสสนาที่จะประจักษ์ความเกิดดับ เพราะเหตุว่า นี้เป็นนัยของสมถภาวนา

    ผู้ฟัง เพียงแต่สังเคราะห์ ใช่ไหมครับอาจารย์

    ท่านอาจารย์ นัยของสมถภาวนาขั้น ๑ นัยของวิปัสสนาอีกขั้น ๑ อย่าลืมคะ

    ผู้ฟัง ครับๆ เท่านี้ ผมก็ไม่ข้าม

    ท่านอาจารย์ ธาตุดินธาตุน้ำธาตุไฟธาตุลม ก็มีความแปรปรวนไม่เที่ยง เพราะฉะนั้น ผู้ที่ยังงไม่สามารถที่จะประจักษ์แจ้งในอริยสัจธรรมโดยเฉพาะในสมัยซึ่งยังไม่มี การตรัสรู้ของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ไม่มีการแสดงให้สติระลึกรู้ลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏเลย ซึ่งท่านผู้ฟังเคยสงสัยว่า ทำไมในอดีตพระสาวกท่านช่างตรัสรู้ง่ายเหลือเกิน เพียงแต่พระผู้มีพระภาค หรือพระสาวก แสดงธรรมกับบุคคลนั้นโดยย่อเล็กน้อย เขาก็สามารถที่จะรู้แจ้งอริยสัจธรรมได้ แต่ต้องมีเหตุ คือบารมีที่ได้สะสมมาแล้ว แต่ะเมื่อยังไม่มีการฟังธรรม ก็ไม่มีการน้อมที่จะระลึกรู้ ลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ เพราะฉะนั้น บารมี จะเห็นได้ ในขณะนี้ท่านกำลังฟัง เรื่องสภาพธรรม ที่กำลังปรากฏ ถ้าเป็นผู้ที่ได้อบรมบารมีมาพร้อมแล้ว ระลึกรู้ลักษณะของสภาพธรรมที่ปรากฏ แทงตลอดทันที ในอริยสัจธรรม แต่เพราะบารมียังไม่เต็ม แม้ว่ากำลังฟังเรื่องสภาพธรรม ที่กำลังปรากฏ แล้วสภาพธรรม ก็กำลังปรากฏ จริงๆ แต่ยังไม่มีการรู้แจ้งอริยสัจธรรม ก็จะต้องอบรมบำเพ็ญภาวนา เจริญต่อไป จนกว่าบารมีจะเต็มพร้อมที่จะรู้แจ้งอริยสัจธรรมได้ เพราะฉะนั้น ก็ต้องแยกกันคะ ธรรมที่พระผู้มีพระภาค ทรงแสดงไว้มีมาก แล้วก็ทรงเกิ้อกูลทุกท่าน ทั้งในเรื่องของ ทาน ศีล สมถะ และวิปัสสนาภาวนา แต่มิได้ทรงมุ่งหมายให้ผู้ ๑ ผู้ใดที่ไม่สามารถที่จะบรรลุถึงฌานไปเจริญฌาน เรื่องของฌานมีมากในพระไตรปิฎก สำหรับใครโดยเฉพาะ คนในยุคนี้ สมัยนี้ แม้ในยุคโน้น ผู้ที่ได้บรรลุอริยสัจธรรม พร้อมฌานจิตก็ยังมีน้อย และสมัยนี้ ท่านสามารถที่จะถึงฌานได้ไหม ถ้าไม่สามารถ ก็อบรมเจริญปัญญาที่เป็นสติปัฏฐาน ที่จะรู้แจ้งอริยสัจธรรม อาจจะเป็นไปได้ โดยไม่สามารถที่จะบรรลุฌาน แต่สามารถที่จะบรรลุแจ้ง อริยสัจธรรม เป็นบุคคลที่มีกำลังน้อย ไม่ใช่ผู้ที่มีกำลังใหญ่คือสามารถที่จะสำเร็จทั้ง ๒ ประการ

    3973 วัณณกสิณในกสิณ ๑๐

    ท่านอาจารย์ สำหรับเรื่องของกสิณ ๑๐ ก็มีปฐวีกสิณ เตโชกสิณ อาโปกสิณ วาโยกสิณ ถ้ารู้จุดประสงค์ และความมุ่งหมายของการใช้กสิณเป็นอารมณ์ที่จะให้สงบ ก็จะย่อมเข้าใจตลอดไปถึงกสิณอื่นด้วย คือ วัณณกสิณ ได้แก่ สีต่างๆ สีแดง สีขาว สีเหลือง สีนิล คะ สิ่งที่ปรากฏทางตา สีที่เป็นใหญ่ มีสีแดง สีเหลือง สีนิล สีขาว ใช่ไหมคะ ใส่เสื้อสีอะไรคะ สีขาว หรือสีแดง หรือสีเขียว หรือสีเหลือง เพราะฉะนั้น การติด นี่คะ ยินดีพอใจในสีที่ปรากฏโดยลืมว่าเป็นเพียงสี ที่ปรากฏทางตา เท่านั้นเอง เพราะฉะนั้น ถ้ารู้การติดจริงๆ ในสิ่งที่ปรากฏทางตาว่าติดสี การที่จะใช้สี ที่เป็นสีล้วน ซึ่งจะไม่ให้น้อมไปสู่ การตรึกนึกถึง เรื่องราวของสีว่าเป็นสีคน สีวัตถุ สิ่งต่างๆ ที่น่าปรารถนา น่าพอใจ เพราะว่าโดยลักษณะของสภาพที่ปรากฏเป็นแต่เพียงเป็นสีเท่านั้นเอง ซึ่งเป็นสีต่างๆ สีเหลืองบ้าง สีเขียวบ้าง สีแดงบ้าง สีขาวบ้าง เท่านั้นเองจริงๆ นี่ไม่ใช่โดยนัยของวิปัสสนา โดยนัยของสมถะ ซึ่งเป็นบัญญัติ ไม่ใช่รู้ว่า แท้ที่จริงแล้ว ความหมายที่แท้จริงของสภาพธรรม ที่ปรากฏทางตานั้น ไม่ใช่การที่จะไปจดจำเป็นสีต่างๆ แต่เป็นการที่รู้ว่า นี่คือสภาพธรรม ที่มีจริง ที่กำลังปรากฏ เพราะฉะนั้น แม้แต่อรรถของคำว่า สภาพธรรมที่ปรากฏทางตา ฟังเผินๆ ดูเหมือนจะไม่น่าสงสัยเลย เข้าใจแล้ว ขณะนี้ทุกอย่างกำลังปรากฏทางตา แต่พร้อมกันนั้น ก็จะมีการเห็น เป็นสิ่งนั้นสิ่งนี้ด้วย ไม่ใช่เป็นปัญญาที่รู้ชัดจริงๆ ว่า ไม่มีอะไรเลย ในสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ ทางตาเพราะเหตุว่าเวลาท่ลืมตา นี่คะ ดูเสมือนว่ามีหลายสั่งหลายอย่างปรากฏ แต่พอหลับตาไปแล้ว ไม่มีอะไรเหลือเลย ถ้าจะมีการตรึกนึกถึงสิ่ง ๑ สิ่งใด ในใจ โดยขณะนั้นหลับตา ก็จะไม่มีสิ่งอื่นปรากฏพร้อมเหมือนขณะที่กำลังลืมตาอย่างนี้ ใช่ไหมคะ กำลังลืมตา พร้อมหมดทุกสิ่ง โต๊ะ เก้าอี้ พื้น ไฟ พัดลม ทุกสิ่งทุกอย่าง พร้อมหมด จะนึกหรือไม่นึกก็ตาม แต่ว่าทุกสิ่งทุกอย่างที่เคยนึกเป็นสิ่งนั้นสิ่งนี้ ปรากฏพร้อมกัน ขณะที่ลืมตา แต่พอหลับตาแล้ว จะนึกก็ต้องนึกถึงสัณฐาน ๑ สัณฐานใด รูปร่าง ๑ รูปร่างใด เพียงรูปร่าง ๑ สัญฐาน ๑ เท่านั้น อย่างอื่นทำไมไม่ปรากฏพร้อมกันรวมกัน เหมือนขณะลืมตา เพราะฉะนั้นความหมายของ สิ่งที่ปรากฏทางตา หรือวัณณ หรือรูปารมณ์นั้น ต้องเข้าใจ ว่าต่างกับขณะที่หลับตา เท่านั้นเอง และไม่ใช่การตรึกนึกถึงรูปร่างสัณฐานด้วย เพราะเหตุว่าการตรึกนึกถึง แม้หลับตา ก็นึกได้แต่วัณณ ทั้งหลายไม่ปรากฏ พร้มอกันทั้งหมด เหมือนในขณะที่ลืมตา นั่นเป็นการที่จะรู้โดยนัยของวิปัสสนา คือเห็นจริงว่าสิ่งที่ปรากฏทางตา เป็นแต่เพียงสิ่งที่ปรากฏทางตา ไม่ใช่การนึกถึงสีเป็นสีเหลือง สีแดง สีขาว สีนิล หรือสีเขียว แต่ว่าสมถภาวนา รู้ว่าจิตติดใน สีต่างๆ จึงอาศัยสี ซึ่งจะไม่น้อมนำให้ ตรึกนึกถึงรูปร่างสัณฐานซึ่งเคย พอใจ ว่าเป็นคน เป็นวัตถุ เป็นสิ่งต่างๆ เป็นดอกไม้ เป็นรูปร่างของบุคคลหรือว่าวัตถุ เพราะว่า เตือนให้ระลึกแต่เพียงว่าเป็นเพียงสีเท่านั้นโดยอาศัยสี เป็นบัญญัติให้นึกถึง ให้สงบ เพราะฉะนั้น สำหรับกสิณอีก ๔ ก็คือวัณณกสิณ ได้แก่ สีแดง สีเหลือง สีขาว สีเขียว หรือสีนิล นั่นเป็น ๘ กสิณแล้ว อีก ๒ ก็คือ อาโลกสิณ แสงสว่าง ๑ และอากาศกสิณอีก ๑ กสิณ ๑๐ ได้แก่ ปฐวี อาโป เตโช วาโย เป็น มหาภูตรูป ๔ แต่ว่าต้องเกิด เพราะสัญญา การน้อมระลึกถึงกสิณต่างๆ นั้น โดยอาศัยรูปกสิณ ไม่ใช่การรู้ปรมัตถธรรม ของดิน น้ำ ไฟ ลม โดยนัยของวิปัสสนา และสำหรับวัณณกสิณ ๔ ก็คือ สีเหลือง สีขาว สีแดง สีเขียว นอกจากนั้นก็มี อาโลกสิณแสงสว่าง ๑ และอากาศกสิณ คือการนึกถึงอากาศอีก ๑ ถ้านึกถึงอากาศแล้วก็จะเกิดโลภะ โทสะ ไหมคะ เป็นแต่เพียงอากาศ ความว่างเปล่า ไม่มีอะไร เพราะฉะนั้น ถ้ามนสิการะ โดยถูกต้อง ในความเป็นอากาศ ซึ่งมีอยู่แทรกอยู่ในวัตถุ ทั้งหลาย ในตัวก็มีอากาศอยู่มากมาย แล้วก็มีปัจจัยที่ทำให้ ธาตุทั้งหลายเกิดขึ้น คือ ปฐวี เตโช อาโป วาโย พร้อมทั้งรูปอื่นๆ เกิด จาก ความว่างเปล่านี่เอง เพราะฉะนั้น โดยแท้จริงแล้ว เมื่อรูปทั้งหลายเหล่านั้น ดับไป ก็หมดไม่มีอะไรนอกจากความว่างเปล่า เพราะฉะนั้น จะมาติดในความว่างเปล่า กระนั้นหรือ ถ้าจิตน้อมระลึกถึงอากาศคือความว่างเปล่าแล้วสงบ นั่นก็เป็น อากาศกสิณ แต่การที่จะให้จิตสงบ นี่คะ แสนยาก

    3974 การจะให้จิตสงบเป็นสมาธิขั้นสูงแสนยาก

    ท่านอาจารย์ การที่จะให้จิตสงบ นี่คะ แสนยาก ไม่ใช่ว่าสามารถที่จะสงบแล้วก็มั่นคง ดื่มด่ำ แนบแน่น ในความสงบ ประกอบพร้อมด้วยสมาธิที่มั่นคงยิ่งขึ้น ตามขั้น พร้อมด้วยสติสัมปชัญญะ ซึ่งทุกท่านก็จะทดลองพิสูจน์ได้ ว่าสามารถจะเป็นอย่างนั้นไหม รู้ลักษณะของจิต ที่สงบไหม แล้ว จิตนั้นสงบขึ้น อีกนิดหน่อย ท่านรู้ไหม ถ้าไม่รู้ก็ไม่สามารถที่จะเจริญความสงบขึ้นไปอีกได้ เพราะเหตุว่าการที่จะให้ความสงบถึงขั้นอุปจารสมาธิก็ดี อัปปนาสมาธิก็ดี ต้องประกอบพร้อมด้วยสัมปชัญญะบริบูรณ์ ที่จะรู้ว่าขณะนั้นสงบเพิ่มขึ้นอีกนิดหนึ่งแล้ว อีกนิดหนึ่งแล้ว อีกนิดหนึ่งแล้ว จนกระทั่งถึงอุปจารสมาธิ แน่นอน ความรู้สึกตัวบริบูรณ์ในสภาพธรรมตามความเป็นจริงในขณะนั้น เมื่อ เป็นความสงบ ก็เป็นความสงบ ไม่ใช่ โลภะ เพราะฉะนั้น ปัญญาต้องสามารถแยกโลภะกับความสงบออกได้ จึงจะเจริญสมถภาวนา ไม่ใช่อยู่ดีๆ ไปนั่งรวมๆ กัน แล้วก็จดจ้องที่ ๑ ที่ใด แล้วก็มีแต่ความไม่รู้ทั้งหมด ทุกคนไม่รู้อะไรเลยไปถึงก็ไปนั่งๆ แล้วก็บอกว่าสงบแล้ว สงบแล้ว สงบแล้ว นั่นเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ เพราะว่าไม่ประกอบด้วยเหตุผล

    3975 สภาพธรรมไม่ใช่สิ่งที่จะรู้ได้โดยง่าย

    ท่านอาจารย์ ก่อนอื่นท่านผู้ฟังควรจะได้พิจารณาความหมายของ สมถภาวนา ว่าเป็นการอบรมเจริญกุศล ที่เป็นความสงบของจิต ความสงบของจิตต้องหมายความถึงขณะที่ปราศจากโลภะ โทสะ โมหะ แล้วต้องเป็นปัญญาที่รู้จริง ว่า ขณะใด เป็นขณะที่จิตปราศจากโลภะ โทสะ โมหะ และขณะใดเป็นขณะที่มีโลภะ โทสะ โมหะ เพราะเหตุว่าเรื่องของสภาพธรรม ไม่ใช่เป็นสิ่งที่จะรู้ได้โดยง่าย เพราะเหตุว่าแม้ว่าสภาพธรรม มีจริง ขณะนี้ จิตอยู่ไม่ไกลเลย แต่ว่าลักษณะของจิต ขณะนี้เป็นอย่างไร ตามความเป็นจริงแล้ว จิตเกิดดับรวดเร็วมาก เพราะฉะนั้น ยากเหลือเกินที่จะทราบได้จริงๆ ว่าขณะไหน จิตเป็นกุศล หรือขณะไหน จิตเป็นอกุศลประเภทใด

    3976 ปรกติเรารู้ลักษณะของโทสมูลจิต

    ท่านอาจารย์ ถึงแม้ว่าท่านที่ทราบว่า ในวันหนึ่งๆ ย่อมมีอกุศลจิตมากกว่าอกุศลจิต แต่ว่าท่านรู้ลักษณะของอกูศลธรรมประเภทใด ปรกติธรรมดา ทุกท่านจะรู้ลักษณะของจิตที่ประกอบด้วยโทสะ เป็นโทสมูลจิต ขณะใดที่เกิดความไม่แช่มชื่น ขุ่นใจ ขัดเคืองใจ รำคาญใจไม่พอใจ แม้เพียงเล็กน้อย ขณะนั้นท่านรู้ ใช่ไหมคะ ว่าไม่สุข ไม่สงบในความรู้สึกของท่าน ท่านกล่าวว่าขณะนั้นไม่สุข ไม่สงบ เพราะฉะนั้น ท่านก็สามารถ จะรู้ ลักษณะของ โทสเจตสิก ซึ่งเกิดกับจิต จิตในขณะนั้นเป็น โทสมูลจิต แต่ถ้าขณะใดที่ จิตไม่ใช่โทสมูลจิต จะทราบลักษณะของอกุศลจิต ที่เป็นโลภมูลจิต ขณะใดที่ไม่ใช่กุศล ขณะนั้นย่อมเป็นอกุศล และถ้าขณะใดไม่ใช่โทสมูลจิต ขณะนั้นก็ต้องเป็นโลภมูลจิต หรือโมหมูลจิต เพราะฉะนั้น เมื่อ ท่านรู้ลักษณะของโทสมูลจิต เพราะว่าเป็นสภาพที่หยาบกระด้าง แล้วก็ไม่เกิดบ่อย เพราะฉะนั้น เวลาที่เกิดความรู้สึกขุ่นเคืองบ้าง รำคาญบ้าง ขัดเคืองบ้าง ไม่พอใจบ้าง ท่านก็รู้ในลักษณะอาการนั้น ในวันหนึ่งๆ ถ้าเอา โทสมูลจิตออกไป พอที่จะบอกได้ไหมคะว่า ขณะไหนเป็นกุศลจิต ขณะไหนเป็น อกุศลจิต ซึ่งเป็นโลภมูลจิต และโมหมูลจิต ถ้าเป็นโทสะ ละก็ทราบ โดยเวทนา ซึ่งเป็นเวทนาซึ่งไม่ยินดี ไม่พอใจ แต่ถ้าเป็นอุเบกขาเวทนา หรือว่า โสมนัสเวทนา ยากแก่การที่จะรู้ได้

    4066 อารมณ์ที่ตั้งของโลภะ

    ท่านอาจารย์ แล้วสำหรับโลภมูลจิตก็เกิดบ่อย เกิดมากเหลือเกิน ทั้งทางตาทางหูทางจมูกทางลิ้นทางกายทางใจ แผ่ซ่านไปในอารมณ์ทั้งปวง ไม่ว่าอารมณ์ใดๆ ทั้งสิ้น ย่อมเป็นที่ตั้งของโลภะ ความยินดีพอใจได้ทั้งหมด เพราะฉะนั้น จึงควรที่จะสังวร ระวัง อย่างยิ่ง สิ่งที่ท่านเคยพอใจ เข้าใจว่าสงบ ควรที่จะได้รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ขณะนั้นเป็นความสงบจริงหรือเปล่า หรือว่าเป็นโลภมูลจิต ถ้าจะพิจารณาลักษณะของโลภะตามที่ได้ศึกษาก็ทราบว่าเป็นสภาพขณะที่กำลังพอใจ กำลังเพลิดเพลิน กำลังยินดี กำลังต้องการ ในสิ่ง ๑ สิ่งใด ซึงในวันหนึ่งๆ มีเป็นปรกติ ขณะที่กำลังจะอ่านหนังสือพิมพ์ ขณะนั้นถ้าสติเกิด จะรู้ได้ว่า เป็นจิตอะไร มีความต้องการเกิดขึ้นเป็นปรกติธรรมดาในชีวิตประจำวัน ถึงแมัว่าไม่ใช่ขณะที่จะอ่านหนังสือพิมพ์ก็ตาม จะพูด จะคิด จะทำ สิ่ง ๑ สิ่งใด ย่อมไม่พ้นไปจากความปรารถนา ความต้องการ คือโลภมูลจิต เพราะฉะนั้น ลักษณะของโลภะ ถ้าสังเกตุพิจารณาจริงๆ ก็ยังรู้สึกตัวว่า ขณะนั้นเป็นโลภะ

    4067 โมหะละเอียดยิ่งกว่าโลภะ และโทสะ

    ท่านอาจารย์ สำหรับโมหเจตสิก ซึ่งเป็นสภาพที่ไม่รู้ หลงไป ไม่สามารถที่จะเป็นกุศลในขณะนั้นได้ เป็นสภาพธรรม ที่ยิ่งละเอียดกว่า โลภะ และโทสะ เพราะเหตุว่าขณะใดก็ตาม ที่จิตเป็นโทสะ คือเป็นโลภมูลจิต ขณะนั้นต้องมีโมหเจตสิกเกิดร่วมด้วย คือสภาพที่ไม่รู้ในลักษณะของสิ่งที่ปรากฏ เพราะฉะนั้น เวลาที่ความรู้สึกของท่าน เป็นความรู้สึกเฉยๆ ก็ควรที่จะได้สังวร พิจารณาโดยละเอียดว่า ขณะนั้น สงบ เป็นกุศล หรือว่าเป็นอกุศลซึ่งเป็นโมหมูลจิต

    4068 ความสงบตั้งมั่นในสมถภาวนา

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น เรื่องของการอบรมเจริญความสงบซึ่งเป็น สมถภาวนา เป็นเรื่องที่ละเอียดจริงๆ แล้วท่านควรจะได้พิจารณาโดยละเอียดรอบครอบ พร้อมทั้งศึกษาลักษณะสภาพของจิต ที่กำลังปรากฏในขณะนั้น จนเป็นปัญญาที่รู้ว่าขณะนั้นเป็นกุศล หรือเป็นอกุศล จึงจะเจริญความสงบได้ เพราะฉะนั้น ท่านที่ใคร่จะอบรมเจริญกุศล ขั้นต่อไป คือ ไม่ใช่เพียงขั้นทาน และขั้นศีล แต่ต้องการที่จะขัดเกลากิเลสด้วยการอบรมเจริญกุศลที่เป็นสมถภาวนา และวิปัสสนาภาวนา ก็จะต้องเป็นผู้ที่ประกอบด้วยปัญญา รู้ในลักษณะของจิต ในขณะนั้น จึงจะอบรมเจริญกุศล ซึ่งเป็นภาวนา ได้แก่ สมถภาวนา หรือวิปัสสนาภาวนา


    ฟังธรรมจากหัวข้อย่อย

    หมายเลข 4
    4 ม.ค. 2567

    ซีดีแนะนำ