สมถภาวนา ตอนที่ 09


    เพราะฉะนั้น อย่าปน อย่าถือว่าสมาธิ การจดจ้องที่อารมณ์ ๑ อารมณ์ใด ปราศจากสัมปชัญญะที่สมบูรณ์นั้น คือความสงบๆ จะต้องพร้อมด้วยสัมปชัญญะ ที่สมบูรณ์ เวลาที่เห็นสัตว์ เห็นบุคคล ใดๆ ตามปกติ สัมปชัญญะสมบูรณ์ มีความเมตตาเพิ่มขึ้น กว้างขึ้น ไม่ใช่แต่คนที่รู้จัก หรือว่าผู้ที่เป็นที่รัก แต่ว่าไม่ว่าคนนั้นจะเป็นศัตรู หรือว่าเป็นบุคคลที่ไม่รู้จักเลย จิตใจของท่านในขณะที่พบบุคคคลนั้น ก็เป็นจิตที่อ่อนโยน มีความหวังดี มีความปรารถนาที่จะให้บุคคลนั้นเป็นสุข ขณะนั้นสภาพของจิตที่ประกอบด้วยเมตตา จะปรากฏลักษณะของความสงบซึ่งต่างกับขณะที่เป็นโลภะ โทสะ โมหะ บางคนบอกว่าอดไม่ได้เลย ที่จะไม่พอใจในบุคคลอื่น เพียงเห็น นี่คะ หาที่ติแล้ว ไม่พอใจอย่างนั้นไม่พอใจอย่างนี้ โดยอัธยาศัยที่ได้สะสมมา เพราะฉะนั้น บุคคลนั้นก็ทราบความไม่สงบใจของตนเอง ว่าขณะนั้น เป็นอกุศล ถ้าไม่รู้ว่าขณะนั้นเป็นอกุศล ก็ไม่สามารถที่จะรู้ว่าสภาพธรรม ที่ต่างกับอกุศลธรรมนั้น สามารถที่จะเกิดได้ เป็นความเมตตาได้ ทำไหมจึงเป็นความรู้สึกไม่พอใจ ในบุคลอื่น ไม่มีความจำเป็นอะไรเลย ที่จะรู้สึกอย่างนั้น แต่เพราะสะสมมาที่จะรู้สึกอย่างนั้น ความรู้สึกอย่างนั้นก็เกิดขึ้น แล้วบางท่านก็ใช้คำว่าหมั่นไส้ ไม่ว่าจะเห็นใครก็หมั่นไส้ ก็เป็นอัธยาศัยที่สะสมาที่จะเป็นอกุศลจิต แต่ว่าเมื่อรู้ว่าสภาพธรรม ที่ตรงกันข้าม กับความรู้สึกอย่างนั้นเป็นอย่างไร ก็อบรมเจริญความเมตตา นี่คะ ให้เพิ่มขึ้น มากขึ้นกว้างขึ้น ทั่วขึ้น นั้นคือการอบรมภาวนา ไม่ใช่สมาธิ แต่ว่าเป็นความสงบของจิต แต่ว่าความสงบของจิตซึ่งเป็นกุศล นี่คะ สามารถที่จะเจริญมั่นคง พร้อมกับสมาธิ เพิ่มขึ้นเป็น ลำดับ จนกระทั่งถึงเป็นอุปจารสมาธิ และอัปปนาสมาธิตามควรแก่เหตุคืออารมณ์นั้น

    4780 เมตตาเป็นสมถภาวนาในชีวิตประจำวัน

    ผู้ถาม. เรื่องของเมตตา ปกติวัน ๑ จะเกิดได้หลายสิบเที่ยวทีเดียว แต่ก่อนนี้ไม่รู้จัก คำว่าเมตตาเป็นอย่างไร ภายหลังฟังอาจารย์ที่บรรยาย แล้วก็ตรึกนึกคิด แล้วก็ไตร่ตรองเหตุผลแล้ว จากนั้น วัน ๑ เจริญเมตตาได้ตั้งหลายๆ เที่ยว เพราะมีเหตุที่จะทำให้เมตตาเกิด หลายสิบ เลยทีเดียว ไม่ใช่นิดหน่อย วันหนึ่งต้องมีเหตุการณ์เยอะแยะเลย ถ้าเมตตาไม่เกิด จะเป็นโลภะ โทสะ อยู่ ๒ อันนี้ ทีนี้ตัดจากโลภะ โทสะ ออกไปแล้วก็กลายเป็นเมตตา ที่จะสงงเคระห์ อนุเคราะห์ คนอื่น วัน ๑ เกิด ดูเหมือนจะเจอตั้งหลายสิบเที่ยว ไม่เจอเล็กๆ น้อยๆ เมตตาภายหลังผมเกิดมากเหลือเกิน โดยเฉพาะเมตตาอย่างเดียว

    ท่านอาจารย์ คะ นี่เป็นการประพฤติปฏิบัติธรรมในชีวิตประจำวัน ทั้งทาน ทั้งศีล ทั้งสมถะ คือความสงบ และการอบรมเจริญสติปัฏฐาน เป็นปกติในชีวิตประจำวัน เพราะว่าชีวิตดำรงอยู่ชั่วขณะ ๑ ขณะ ๑ ของจิตเท่านั้น ขณะที่แล้ว ดับไปแล้ว หมดไปแล้ว ชีวิตก็หมดไปแล้ว เพราะฉะนั้น ขณะนี้ ที่จิตเกิดขึ้น เป็นชีวิตขณะ ๑ จริงๆ ที่ควรที่ที่จะอบรมเจริญกุศลแทนที่จะให้เป็นโลภะ โทสะ โมหะ แล้วแต่ว่าจะเป็นปัจจัยของกุศลขั้นใด ขณะนี้คงจะไม่เป็นปัจจัยของทานกุศล แล้วไม่เป็นปัจจัยของศีลด้วย ไม่มีวัตถุ ที่จะให้วิรัติทุจริต แต่ขณะนี้เป็นปัจจัยที่จะให้เกิดความสงบของจิต หรือสติปัฏฐาน ซึ่งเป็นกุศลขั้นภาวนาได้

    4800 การอบรมสมถภาวนาในชีวิตประจำวัน

    4801 สมถกรรมฐาน ๔๐

    ท่านอาจารย์ ขอกล่าวถึง สมถกรรมฐาน ๔๐ สำหรับผู้ที่อบรมเจริญสติปัฏฐาน จะพิจารณาว่าจิตของท่านจะสงบ โดยอารมณ์ของสมถกรรมฐานอะไร บ้าง สำหรับ สมถกรรมฐาน ๔๐ ได้แก่กสิณ ๑๐ อสุภะ ๑๐ อนุสติ ๑๐ พรหมวิหาร ๔ อรูปกรรมฐาน ๔ อาหาเรปฏิกูลสัญญา ๑ จตุธาตุววัฏฐานะ ๑ ซึ่งจะขอกล่าวถึง เป็นลำดับ

    4802 กสิณ ๑๐ ... ปฐวีกสิณ

    ท่านอาจารย์ สำหรับกสิณ ๑๐ ได้กล่วถึงแล้วในคราวก่อน ได้แก่ ภูตกสิณ ๔ คือปฐวีกสิณ ๑ อาโปกสิณ ๑ เตโชกสิณ ๑ วาโยกสิณ ๑ เพื่อให้จิตระลึก ที่สภาพของธาตุ ของรูปทั้งหลาย ตามความเป็นจริง เพื่อที่จะละคาย การติดการยึดถือ ในรูปธรรม ทั้งหลาย เพราะเหตุว่ารูปธรรมทั้งหลายซึ่งปรากฏ ให้เป็นที่ตั้งของความยินดี ความพอใจแล้ว ที่จะปราศจากปฐวี คือธาตุดิน ไม่มี ลักษณะที่อ่อน ที่แข็งย่อมเป็นใหญ่เป็นประธานของรูปทั้งหลาย ที่ปรากฏเป็นที่ตั้งที่พอใจ ที่ยินดี ท่านที่พอใจในเสื้อผ้า อาภรณ์เครื่องใช้ต่างๆ วัตถุต่างๆ ย่อมจะปราศจากธาตุดินไม่ได้ เมื่อกระทบสัมผัสดูก็ เป็นลักษณะอาการของธาตุดิน คือธาตุที่อ่อนที่แข็ง แต่ว่าโดยนัยของสมถภาวนานั้น ต่างกับโดยนัยของวิปัสสนาภาวนา สำหรับวิปัสสนาภาวนานั้น ระลึกรู้ลักษณะของเย็นร้อน อ่อนแข็ง ตรึงไหว ซึ่งเป็นมหาภูตรูป ๓ ที่สามารถกระทบสัมผัสทางกายได้ แล้วสำหรับปฐวีนั้น เป็นธาตุที่ปรากฏลักษณะที่อ่อนหรือแข็ง ในขณะที่กระทบสัมผัส ผู้ที่เจริญสติปัฏฐาน ระลึกศึกษา รู้ลักษณะสภาพของธาตุ ที่เพียงอ่อนเพียงแข็งจริงๆ ที่กำลังปรากฏ รู้ว่าขณะนั้น ไม่ใช่ตัวตน ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล จิตสงบจากการยึดถือ ธาตุที่อ่อนที่แข็งที่ปรากฏ ว่าเป็นเรา ของเรา หรือว่าเป็นวัตถุ สิ่ง ๑ สิ่งใด นีเป็นโดยนัยของวิปัสสนาภาวนา แต่ว่าสำหรับผู้ที่อบรมเจริญสมถภาวนา ก่อนการตรัสรู้ของพระผู้มีพระภาค รู้ว่าจิตของท่านเหล่านั้น มีกิเลสมาก มี่ปัจจัยให้อกุศลเกิดมาก มีความยินดีพอใจไม่ว่าจะในรูป ในเสียง ในกลิ่น ในรส ในโผฏฐัพพะ ที่ปรากฏทางตาทางหูทางจมูกทางลิ้นทางกาย เพราะฉะนั้น การที่จะให้จิตสงบ ก็โดยการที่จะไม่ให้จิตตกไป ตรึกไป นึกถึง รูปร่างสัณฐานของรูปทั้งหลาย ที่ปรากฏ แล้วก็เกิดความยินดี พอใจขึ้น เพราะฉะนั้น ท่านเหล่านั้น เพื่อที่จะให้จิตสงบ จึงใช้ปฐวี หรือดิน ทำเป็นกสิณคือวงกลม ให้ได้สีที่จะทำให้จิตสงบ ตั้งมั่น ไม่น้อมตรึกนึกถึงรูปร่างสัณฐานอื่นๆ เพราะเหตุว่า ถ้าสีไม่สม่ำเสมอ ก็

    อาจจะทำให้นึกถึงรูปร่างต่างๆ ได้ ถ้าท่านมองดิน อาจจะเห็น เป็นรูปอะไรก็ได้ ใช่ไหมคะ แล้วแต่ท่านจะคิดไป ว่าเป็นรูปหน้า รูปจมูก รูปตา รูปอะไรก็ได้ เพราะฉะนั้น ถ้าเป็นลักษณะของดินซึ่ง เกลี้ยง กลึงอย่างดี ปราศจากธุลีละออง ที่จะทำให้เกิดเป็นสัณฐานต่างๆ ก็จะทำให้จิตของผู้ที่นึกถึงปฐวี คือน้อมนึกถึงเพียงธาตุดิน ว่าทุกสิ่งทุกอย่าง ก็จะไม่พ้นไปจากธาตุดินเท่านั้นเอง ที่ตั้งของความยินดีพอใจทั้งหลาย ของรูปธรรมทั้งหลายนั้น แท้ที่จริงแล้ว ก็เป็นแต่เพียง อาการปรากฏลักษณะต่างๆ ของธาตุดิน ที่ร่างกาย ที่ตัว ก็เป็นแต่เพียงอาการปรากฏ ลักษณะ ๑ ของธาตุดิน ที่วัตถุ สิ่งต่างๆ ซึ่งเป็นที่ตั้งของความยินดีพอใจ ก็เป็นอาการต่างๆ สัณฐานต่างๆ ของธาตุดินนั่นเอง เพราะฉะนั้น ถ้าเพียงน้อมนึกถึงความเป็นดิน เท่านั้น จิตก็จะสงบ เพราะฉะนั้น ท่านที่เข้าใจ เรื่องของการเจริญสติปัฏฐานแล้ว ก็คงจะไม่มีใครไปเจริญ สมถภาวนาที่เป็นกสิณ เพราะเหตุว่า ลักษณะอ่อนแข็งซึ่งเป็นธาตุที่มีจริง เป็นสภาพธรรม ที่ไม่ใช่ตัวตน สัตว์ บุคคล กำลังปรากฏอยู่แล้ว ในขณะนี้ ให้สติระลึก ศึกษาจนกว่าจะละคาย การที่เคยยึดถืออ่อนหรือแข็งนั้น เป็นสัตว์ เป็นบุคคล เป็นวัตถุ สิ่ง ๑ สิ่งใด โดยที่ไม่จำเป็นต้องไปน้อมระลึกถึง ความเป็นแต่เพียงธาตุดินโดย อาศัยปฐวีกสิณ ท่านก็สามารถที่จะอบรมเจริญปัญญา ระลึกรู้ลักษณะของปฐวี คือธาตุดินที่กำลังปรากฏ ทางกายในขณะนี้ได้

    4803 ทบทวนกสิณ ๑๐

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น สำหรับกสิณ ๑๐ ซึ่งได้แก่ ปฐวีกสิณ อาโปกสิณ เตโชกสิณ วาโยกสิณ เป็นภูตกสิณ ๔ แล้วก็วรรณกสิณอีก ๔ คือกสิณที่เป็นสีแดง สีขาว สีนิล หรือสีเขียว และสีเหลืองอีก ๔ นอกจากนั้นก็มี อาโลกะกสิณ คือแสงสว่าง และ อากาศกสิณ

    4804 อากาสกสิณ

    ท่านอาจารย์ สำหรับในอากาสกสิณ ก็โดยนัยเดียวกัน ให้ระลึกถึงสภาพที่ว่างเปล่า มีไหมคะ สภาพที่ว่างเปล่า ที่ไม่ใช่ดิน น้ำ ไฟ ลม มีอยู่ตลอดทั่วร่างกาย คะ เพราะเหตุนี้ จึงสามารถที่จะแตกย่อยร่างกาย และวัตถุ สิ่งต่างๆ ออกได้ ถ้าไม่มีธาตุดิน น้ำ ไฟ ลม มาประชุมในที่นั้นๆ ในที่นั้นย่อมมีแต่ความว่างเปล่า เพราะฉะนั้น ตามความเป็นจริงแล้ว ความว่างเปล่า เท่านั้น ที่ปราศจากสิ่งซึ่งเป็นสาระ ทั้งหลาย ที่ควรจะน้อมคิดถึงว่า ธาตุดิน น้ำ ไฟ ลม ก็ไม่เที่ยง สภาพธรรม ทั้งหลายก็ไม่เที่ยง เมื่อปราศจากธาตุต่างๆ เหล่านั้นแล้ว ก็มีแต่เพียงความว่างเปล่าเท่านั้น ด้วยเหตุนี้ อากาสกสิณ ก็ทำให้ระลึกถึงความว่างเปล่า ที่ไม่มีสาระที่ไม่ควรที่จะยึดถือ

    4805 อาโลกกสิณ

    ท่านอาจารย์ สำหรับ อาโลกสิณ ก็โดยนัยเดียวกัน อาโลก คือแสงสว่าง ที่ปรากฏเป็นสีเขียว สึแดง สีต่างๆ เป็นที่ตั้งของความยินดีพอใจ ก็ย่อมมีได้ เพราะมีแสงสว่าง หรือความสว่างเท่านั้น เพราะฉะนั้น ที่จะรู้ว่าอะไรเป็นความสว่าง นั้นก็คือสภาพธรรม ที่ตรงกันข้ามกับความมืด ลักษณะของความสว่าง ตรงกันข้ามกับความมืด เพราะฉะนั้น เวลาที่ระลึกถึงแต่เพียงความสว่างเท่านั้น ก็ทำให้จิตในขณะนั้นปราศจากโลภะ โทสะ โมหะ ได้

    4806 กสิณ ๑๐ โดยนัยที่ต่างกันของสมถะกับวิปัสสนา

    ท่านอาจารย์ สำหรับในเรื่องกสิณ ๑๐ มีท่านผู้ใดสงสัยไหมคะ เพราะฉะนั้น สำหรับในยุคนี้ สมัยนี้ ผู้ที่อบรมเจริญสติปัฏฐาน และเห็นคุณประโยชน์ ของกุศล ประการอื่นๆ ด้วย เช่น ทาน ศีล และความสงบ จะมีท่านผู้ใดที่ไปแสวงหา กสิณ ๑๐ มาทำให้จิตสงบ ไหมคะ ในเมื่อทางตา ก็กำลังเห็นอยู่แล้ว ถ้าสติจะระลึกรู้ลักษณะ สภาพธรรมที่ ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่ตัวตน ก็เป็นการอบรมเจริญปัญญา ขั้นที่จะละการยึดถือว่าเป็นเราเห็น หรือว่าสิ่งที่เห็นนั้นเป็นเรา หรือว่าเป็นของเรา ก็สามารถที่จะเกิดความสงบที่ประกอบด้วยปัญญาได้ เพราะฉะนั้น การที่จะระลึกรู้ลักษณะของปฐวี โดยนัยของสมถะ ก็เพียงแต่เตือนให้นึกถึง ความไม่มีสาระของปฐวี ที่ไม่ควรยินดีพอใจ แตว่าโดยนัยของวิปัสสนานั้น ระลึกรู้ลักษณะที่ปรากฏ ที่กระทบกาย ที่อ่อน หรือที่แข็ง จริงๆ ไม่ต้องอาศัยนิมิต เครื่องหมาย ที่จะทำให้สงบ แต่ว่าระลึกรู้ลักษณะของสภาพของธาตอ่อน หรือแข็งที่กำลังปรากฏ แล้วก็เห็นความไม่ใช่ตัวตน ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล จริงๆ ในขณะนั้น เป็นสัจธรรม ขณะที่สติระลึกก็ปรากฏความไม่ใช่ตัวตน ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล เพราะเป็นแต่เพียงลักษณะที่อ่อนหรือแข็ง เท่านั้น เพราะฉะนั้น การอบรมเจริญความสงบในชีวิตประจำวัน สำหรับผู้ที่เข้าใจ เรื่องการเจริญสติปัฏฐาน ก็จะไม่มีท่านผู้ใดไปอาศัยความ สงบโดยเพ่งจ้องที่กสิณ มีไหมคะ ห้ามได้ไหมคะ ถ้าใครคิดจะทำอย่างนั้น ก็เป็นเรื่องของแต่ละท่าน สภาพธรรม ที่กำลังปรากฏ ก็แสนยากที่จะละการยึดถือว่าเป็นตัวตน เป็นสัตว์ เป็นบุคคล เพราะฉะนั้น ถ้าไปเจริญวิธีอื่น ที่ไม่รู้ชัดในสภาพธรรม ที่ปรากฏก็ยากเหลือเกิน ที่ปัญญาจะคมกล้าได้ในวัน ๑ ก็ยอมยิ่งช้าไปอีก อย่าลืม ว่าแม้ครั้งที่พระผู้มีพระภาค ยังไม่ปรินิพพาน พระอริยสาวก ซึ่งบรรลุ คุณธรรมเป็นพระอริยเจ้า โดยที่ไม่ได้ฌานนั้น มีมากกว่าผู้ที่ไม่ได้ฌานด้วย

    4807 อานิสงส์ของกสิณ ๑๐

    ท่านอาจารย์ สำหรับกสิณ ๑๐ สามารถที่จะให้ถึง สมาธิ ทั้ง อุปจารสมาธิ อัปปนาสมาธิ ซึ่งเป็นฌานจิต ตั้งแต่ปฐมฌานจน ถึงปัญจมฌาน ซึ่งมีผู้ประพฤติปฏิบัติ ก่อนการตรัสรู้ของพระผู้มีพระภาค เป็นอันมาก แต่ว่ากว่าจะได้บรรลุถึงสมาธิแต่ละขั้นนั้นก็ยากมาก เพราะว่าต้องประกอบด้วยสติสัมปชัญญะ สมบูรณ์

    4808 กสิณ ๑๐ กับผู้เข้าใจเรื่องการเจริญสติปัฏฐาน

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น การอบรมเจริญความสงบในชีวิตประจำวัน สำหรับผู้ที่เข้าใจเรื่องของการเจริญสติปัฏฐาน ก็จะไม่มีท่านผู้ใดไปอาศัยความสงบ โดยเพ่งจ้องที่กสิณ มีไหมคะ การอบรมเจริญสติปัฏฐาน จึงเป็นกุศลขั้นสูงที่สุด เพราะว่าเป็นปัญญา ที่รู้สภาพธรรม ตามความเป็นจริง จนสามารถที่จะดับ กิเลสได้ เป็นสมุจเฉท โดยที่กุศลขั้นอื่น ไม่สามารถที่จะดับกิเลสได้ เป็นสมุจเฉท

    4809 อสุภ ๑๐

    ท่านอาจารย์ สำหรับอารมณ์ของ สมถกรรมฐาน ๑๐ ต่อจาก กสิณ ๑๐ ก็คือ อสุภ ๑๐ โดยนัยของสมถภาวนา ที่จะให้จิตสงบจาก ราคะ หรือโลภะ นั้น ต้องอาศัยการเพ่ง จ้อง ระลึกถึง ซากศพในลักษณะต่างๆ ๑๐ ลักษณะด้วยกัน ซึ่งตามความเป็นจริง ท่านก็ไม่จำเป็นที่จะต้องกวงตำราดูว่า อสุภ นี้ตรงกับลักษณะไหน อาการไหน เพียงเป็นอสุภ แล้วก็น้อมระลึกถึงความจริง ของร่างกายว่าแท้ที่จริงแล้ว ไม่มีใครพ้นไปได้เลย คะ อสุภะ จะไม่งามสักแค่ไหน จะน่ารังเกียจสักแค่ไหน มีใครพ้นไปได้ คะ มีข้อความที่กล่าวว่า แม้ว่าผู้ใดจะมีผิวพรรณวรรณ ดั่งทองคำ แต่ผลสุดท้าย ก็จะต้องไม่พ้นจากสภาพ เขียว เหลิอง ช้ำ ดำ ม่วง แตกสลาย แล้วก็มีแผล หนองไหลออกมา เพราะฉะนั้น การที่จะน้อมระลึกถึง อสุภ ที่จะให้สงบขึ้น ก็จะต้องอาศัยการที่มีซากศพจริงๆ ที่จะต้องไปจดจ้อง แล้วก็ระลึกถึงความเป็น อสุภ อยู่เรื่อยๆ โดยนัยของการเจริญสมถภาวนา เพื่อที่จะให้ความสงบของจิต มั่นคงขึ้น สำหรับผู้ที่ต้องการให้ จิตมั่นคงถึงขั้น อุปจารสมาธิ และอัปปนาสมาธิ ซึ่งจะไม่ขอกล่าวถึงโดยละเอียดเพราะเหตุว่ามีกล่าวไว้ ในวิสุทธิมรรค ซึ่งถ้าท่านผู้ฟังท่านใดสนใจ ก็จะศึกษาได้ในวิสุทธิมรรค

    4810 อสุภ ๑๐ โดยนัยที่ต่างกันของสมถะกับวิปัสสนา

    ท่านอาจารย์ แต่ว่าสำหรับโดยนัย ของวิปัสสนาภาวนา อสุภ ๑๐ เตือนให้สติ ระลึกรู้ถึงลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ เพราะเหตุว่า เป็นกายานุปัสสนาสติปัฏฐาน เพราะฉะนั้น โดยนัยของสมถภาวนา กับโดยนัยของวิปัสสนาภาวนานั้นต่างกันคือ สมถภาวนา มุ่งที่จะให้จิต ตั้งมั่นโดยอาศัย อสุภ เป็นอารมณ์ ที่จะตรึกนึกถึงวิตกอยู่เรื่อยๆ ในลักษณะของ อสุภ ที่ปรากฏจนกระทั่งเกิดนิมิตซึ่งหมายความถึง ว่าจิตสงบ เพราะมีอสุภ นั้น เป็นอารมณ์โดยชัดเจน ตามปกติธรรมดา มีใครชอบดู อสุภ บ้างไหมคะ /ไม่มีใครชอบเลย เพราะฉะนั้น ก็แสดงอยู่แล้วว่าจิตไม่สงบ ขณะที่เห็น อสุภ ใช่ไหมคะ ตามปกติ ไม่ใช่ว่าความสงบอยู่ที่อสุภ อย่าลืม ว่า ความสงบไม่ใช่อยู่ที่อารมณ์ ซึ่งเป็นสมถกรรมฐาน แต่อยู่ที่ปัญญาของผู้ที่มี โยนิโสมนสิการ รู้ว่าเหตุใด จิตจึงสงบได้ เมื่อเห็น อสุภ เพราะฉะนั้น ถ้าจิตของใคร ยังไม่สงบอยู่ ในขณะที่เห็น อสุภ ก็จะต้องรู้ตามความเป็นจริง ว่าขณะนั้นต่อ ให้ไปจ้องสักเท่าไร ก็ไม่สงบ จนกว่าปัญญาจะ มนสิการได้ถูกต้องว่า เมื่อเห็น อสุภ แล้ว สงบได้เพราะอย่างไร เมื่อรู้ว่าจิตสงบ เพราะอสุภ นั้น จึงสามารถที่จะสงบขึ้นอีกได้ ในคราวต่อๆ ไป เมื่อเห็น อสุภ โดยมากเด็กๆ ย่อมกลัวซากศพ แต่พอเป็นผู้ใหญ่ขึ้น ก็แล้วแต่ ว่าจะมี โยนิโสมนสิการ แล้วหรือยัง ถ้ายังไม่มีโยนิโสมนสิการ ก็ไม่สามารถที่จะเกิดความสงบได้ เพราะฉะนั้น ก็แล้วแต่ แต่ละท่านว่า จิตของงท่านสงบ แล้วหรือยัง ในขณะที่เห็น อสุภ ซึ่งบุคคลอื่น ไม่สามารถที่จะรู้ได้ เพราะฉะนั้น เป็นการไม่ถูกต้อง ที่จะชักชวนใครต่อใครก็ตาม ว่าไปทำสมถะกันเถอะ โดยที่มีอารมณ์นั้น อารมณ์นี้ เป็นอารมณ์ ให้ไปจดจ้องที่อารมณ์นั้น อารมณ์นี้ เพราะเหตุว่าบางคนเกิด อกุศลจิต แทน กุศลจิต ไม่สงบเลย ดูทั้งวันก็ไม่สงบ ก็เป็นไปได้ แต่ว่าโดยนัยของวิปัสสนาภาวนา ในมหาสติปัฏฐาน ทุกบรรพ ที่พระผู้มีพระภาค ทรงแสดงไว้ เพื่อให้ระลึกรู้ลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ ตามความเป็นจริงเพราะเหตุว่า คงจะไม่มีใครหลีกเลี่ยง การพบเห็น อสุภ ได้ในชีวิตประจำวัน ใช่ไหมคะ ต้องมีการเห็น บางคนก็กระทบสัมผัสถูกต้อง อสุภ นั้นด้วย เพราะฉะนั้น สภาพธรรม ที่กำลังปรากฏ ในขณะนั้น แม้เป็น อสุภ เคยเห็น เคยยึดถือว่าเป็น อสุภ แต่ว่าตามความเป็นจริงแล้ว ลักษณะของสภาพธรรมที่ปรากฏนั้น ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่ตัวตน ขณะที่สติระลึกตรง ลักษณะของสภาพธรรม ศึกษารู้ชัดในลักษณะที่เป็น รูปธรรม และนามธรรมในขณะที่กำลังประสบกับ อสุภ นั้น ไม่ว่าจะทางตา หรือทางจมูก หรือทางกายก็ตาม ขณะนั้นสติสามารถที่จะระลึกศึกษา รู้ลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ ตามความเป็นจริงได้ นี้โดยนัยของวิปัสสนาภาวนา

    4811 อสุภ ๑๐ กับผู้เข้าใจเรื่องการเจริญสติปัฏฐาน

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น ท่านที่มีปกติอบรมเจริญสติปัฏฐาน ก็คงจะไม่เข้าไปสู่ป่าช้า แล้วก็ไปเพ่ง อสุภ เพื่อที่จะให้สงบ แล้วก็เกิดนิมิต ความสงบที่มั่นคงขึ้น จนกระทั่งถึงอุปจารสมาธิ และอัปปนาสมาธิ เพราะเหตุว่า ผู้ที่อบรมเจริญสมถภาวนา โดยไม่ได้เป็นผู้ที่มีปกติ อบรมเจริญสติปัฏฐาน ย่อมหวังผล คือปฐมฌาน จากการที่มี อสุภ เป็นอารมณ์ เพราะเหตุว่า สำหรับ อสุภกรรมฐานนั้น ไม่สามารถที่จะให้จิตตั้งมั่น ถึงขั้น ทุตยฌาน ตติยฌาน จตุถฌาน และปัญจมฌานได้ เพราะเหตุว่าตามปกติธรรมดานั้น อสุภ ย่อมเป็นอารมณ์ ซึ่งไม่เป็นที่พอใจ เพราะฉะนั้น จึงต้องอาศัยวิตก ตรึกถึง อสุภ นั้น ด้วยความสงบจริงๆ ถ้าปราศจากวิตกโดยแยบคลายแล้วละก็ จิตย่อม ไม่สงบ ถึงแม้จะสงบ ก็สงบได้เพียงขั้นของปฐมฌานเท่านั้น ไม่สามารถที่จะถึงฌานขั้นต่อๆ ไปได้ เพราะฉะนั้น เรื่องของสมถภาวนานี้ก็เป็นเรื่องที่ละเอียดมาก

    4812 อสุภอาศัยวิตกเจตสิกที่จะตรึกอย่างไร

    ท่านอาจารย์ เวลานี้วิตก ก็ตรึกอยู่แล้ว

    ผู้ถาม. เวลานี้ยังไม่มี อสุภ ที่จะเห็น แต่ขณะที่เห็น อสุภ แล้ว ที่อาจารย์ ว่า อาศัย วิตกเจตสิก ที่จะตรึก ทีนี้เราจะตรึกอย่างไร ครับ ถึง อสุภ มันจะสงบ

    ท่านอาจารย์ ต้อง อสุภ กำลังปรากฏ คะ สำหรับผู้ที่เจริญ สมถภาวนา

    ผู้ถาม. ครับ ต้องมี อสุภ กำลังปรากฏ แล้ว ก็เราก็จะตรึก ตรึกว่าอย่างไร ครับ

    ท่านอาจารย์ เห็น ความเป็น ปฏิกูล หรือความเป็น อสุภ เห็นความไม่งาม เพื่อที่จะะละความยินดีพอใจ

    ผู้ถาม. แล้วก็ ตรึกว่า ไม่งามๆ อย่างนั้นหรือ

    ท่านอาจารย์ ไม่ใช่ท่อง คะ แต่เห็น แล้วก็สลด

    ผู้ถาม. ไม่ต้องท่อง หรือครับ

    ท่านอาจารย์ เวลาที่เกิดสงดสังเวช ขึ้น ไม่ต้องท่อง ใช่ไหมคะ

    ผู้ถาม. ครับ

    ท่านอาจารย์ จิตสงบได้

    ผู้ถาม. ครับ ก็เลยไม่เข้าใจคำพูดของอาจารย์ ว่า อาศัยวิตก ก็เลยไม่รู้ว่า อาศัยวิตกๆ ทำอะไร

    ท่านอาจารย์ ไม่ใช่นึกเป็นคำๆ คะ วิตก คือการตรึกนึกถึง รูปก็ได้ เสียงก็ได้ กลิ่นก็ได้ รสก็ได้ โผฏฐัพพะก็ได้

    4813 อสุภเหมาะกับคนกลัวผีหรือไม่

    ผู้ถาม. อยากจะถามว่า คนกลัวผี ไปพิจารณา อสุภ เหมาะหรือไม่เหมาะ

    ท่านอาจารย์ ไม่เหมาะคะ ต้องหายกลัวเสียก่อน แล้วพิจารณา เพราะว่าโดยปกตินั้น อสุภ ไม่ใช่สิ่งที่เจริญตา ที่ใครๆ ปรารถนาที่จะดู หลายท่านทีเดียวคะ กลัว ตอนเป็นเด็ก ก็คงจะกลัวกันมากทีเดียว แล้วก็เมื่อโตขึ้นก็แล้วแต่ว่า จะยังคงมีความกลัวเหลืออยู่มากน้อยเพียงใด เพราะฉะนั้น ในขณะนั้นที่กลัว นีคะ จิตไม่สงบ

    4814 อสุภกับคุณค่าของการอบรมเจริญสติปัฏฐาน

    ท่านอาจารย์ ยังมีท่านผู้ฟังสงสัยอะไรในเรื่องนี้บ้างไหมคะ เพราะฉะนั้น จะเห็นได้ ตามความเป็นจริงว่า กุศลใดๆ ก็ไม่สามารถจะดับกิเลสได้ เป็นสมุจเฉท เพราะฉะนั้น จึงควรเห็นคุณค่าของการอบรมเจริญสติปัฏฐาน ยิ่งขึ้น มากว่าอย่างอื่น เพราะถึงแม้ว่า จะไปเพ่งจ้องระลึกรู้ ความเป็น อสุภ ของซากศพ ก็ชั่วขณะที่จิตสงบ มั่นคง ถึงแม้ว่าจะถึง อุปจารสมาธิ หรืออัปปนาสมาธิ คือสมาธิที่แนบแน่น มั่นคงในอารมณ์ ที่เป็นนิมิต จนกระทั่งไม่มีการเห็นการได้ยิน การได้กลิ่น การลิ้มรส การรู้อารมณ์ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ อื่นใดเลย นอกจากจดจ้องแนบแน่นที่นิมิตที่มั่นคงนั้น แต่ก็สภาพธรรมทั้งหลาย ไม่เที่ยง เพราะฉะนั้น เมื่อขณะจิตนั้นดับไป แล้ว ก็มีปัจัยที่จะให้อกุศลจิตเกิดขึ้นต่อไปได้ เพราะเหตุว่าไม่ใช่ปัญญาที่ สามารถที่จะดับกิเลสได้ เป็นสมุจเฉท เพราะฉะนั้น ผู้ที่อบรมเจริญสติปัฏฐาน ก็ไม่ไปแสวงหาซากศพมาเพ่งจ้อง เพราะรู้ว่าไม่ใช่หนทางที่จะดับกิเลสได้ เป็น สมุจเฉท แต่ว่าชั่วขณะ ๑ ขณะ ๑ ที่มีชีวิตอยู่ ย่อมมีโอกาสหรือว่ามีกาละ ที่จะเห็น อสุภ คือซากศพ เพราะฉะนั้น ในขณะใดที่เห็น ขณะนั้น นี่คะ ควรที่จะรู้สภาพจิตของตนว่าสงบไหม หรือว่าปัญญาที่เป็นสติปัฏฐาน เกิดไหม ไม่ว่าจะเห็น สิ่งใดทั้งสิ้น แม้ อสุภ เพราะว่าโดยปกตินั้น อสุภ ไม่ใช่สิ่งที่เจริญตา ที่ใครๆ ปรารถนา ที่จะดู หลายท่านทีเดียว คะ กลัว ตอนเป็นเด็ก ก็คงจะกลัวกันมากทีเดียว แล้วก็เมื่อโตขึ้น ก็แล้วแต่ว่า จะยังคงมีความกลัวเหลืออยู่มากน้อยเพียงใด เพราะฉะนั้น ในขณะนั้นที่กลัว นี่คะ จิตไม่สงบ ถ้าไม่ศึกษาสภาพของจิตในขณะนั้น โดย โยนิโสมนสิการ แล้ว ความสงบย่อมเกิดไม่ได้ แต่เมื่อได้ฟัง พระธรรม


    ฟังธรรมจากหัวข้อย่อย

    หมายเลข 4
    4 ม.ค. 2567

    ซีดีแนะนำ