ปัจจัยนำไปสู่การรู้แจ้งธรรม - มรรควิถีจิต [ตอนที่ 13]

 
wittawat
วันที่  27 มิ.ย. 2562
หมายเลข  30978
อ่าน  1,223

ตอนที่ 13 [สนทนาธรรมกับชาวต่างชาติ]

โลกุตตรจิตเกิดพร้อมกับธรรมที่เป็นฝักฝ่ายแห่งการตรัสรู้ทั้งหมด โพธิปักขิยธรรม 37 ประการ เมื่อถึงการตรัสรู้ (รู้แจ้งอริยสัจธรรม) และนิพพานปรากฏให้รู้ผ่านทางมโนทวารวิถี วิถีจิตทั้งหลายเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องดังต่อไปนี้

-ภวังคจิตหลายดวง ที่เป็นวิบากจิตที่เป็นญานสัมปยุตต์

-ภวังคจลนะ (ภวังค์ไหว) เป็นวิบากจิตที่เป็นญานสัมปยุตต์

-ภวังคุปปัจเฉทะ (หยุดภวังค์) เป็นวิบากจิตที่เป็นญานสัมปยุตต์

-มโนทวาราวัชชนจิต (กระทำทางให้วิถีจิตทางใจเกิด) เป็นกริยาจิต เป็นประตูทางใจหรือมโนทวาร

-บริกรรม (เตรียมความพร้อม) เป็นมหากุศลจิตญานสัมปยุตต์

-อุปจาร (ใกล้ชิด) เป็นมหากุศลจิตญานสัมปยุตต์ประเภทเดียวกันกับบริกรรม

-อนุโลม (ปรับตัว, แปลงตัว) เป็นมหากุศลจิตญานสัมปยุตต์ประเภทเดียวกันกับบริกรรม

-ชวนจิต โคตรภู (เปลี่ยนโคตร เปลี่ยนตระกูล) เป็นมหากุศลจิตญานสัมปยุตต์ประเภทเดียวกันกับบริกรรม

-โสตาปัตติมรรคจิต เป็นโลกุตตรกุศลจิต

-โสตาปัตติผลจิต เป็นโลกุตตรวิบากจิต

-ภวังคจิต เป็นวิบากจิตญานสัมปยุตต์

ในกรณีที่เป็นโลกุตตรฌานจิต โลกุตตรฌานจิตจะเกิดร่วมกับองค์ฌานในระดับของฌานจิตที่บรรลุแล้วนั้นๆ ก่อนที่จะมีการตรัสรู้ ดังนั้นถ้ามีโลกุตตรฌานจิตเกิดร่วมกับองค์ของทุติยฌาน วิตกเจตสิก ที่เป็นสัมมาสังกัปปะ (ความนึกชอบ ความดำริชอบ) นั้นก็จะไม่เกิดร่วมด้วย ถ้ามีโลกุตตรฌานจิตเกิดร่วมกับองค์ของตติยฌาน วิจารเจตสิก (เจตสิกที่รักษาการนึก เจตสิกที่ตรอง) ก็จะไม่เกิดขึ้น ถ้ามีโลกุตตรฌานจิตเกิดร่วมกับองค์ของจตุตถฌาน ปีติเจตสิก (เจตสิกที่ปลาบปลื้มยินดี) ก็ไม่เกิดขึ้น ถ้ามีโลกุตตรฌานจิตที่เกิดร่วมกับปัญจมฌาน ก็จะมีเวทนาเป็นอุเบกขา (ความรู้สึกไม่ดีใจ ไม่เสียใจ) แทนที่จะเป็นโสมนัสเวทนา (ความรู้สึกพอใจ)

ผู้ที่คมกล้า (ติกขบุคคล) และรู้แจ้งอริยสัจจธรรมได้อย่างรวดเร็ว จะไม่ต้องมีบริกรรม (นามธรรมที่เตรียมความพร้อม) ในระหว่างของมรรควิถีจิตที่เกิดขึ้น เพราะฉะนั้นวิถึจิตนั้นจึงมีอุปจาร อนุโลม โคตรภู มรรคจิต ต่อจากนั้นแทนที่จะเป็นผลจิต 2ขณะ ก็จะมีผลจิต 3 ขณะแทน

ข้อความนี้แปลจาก...The Factors Leading to Enlightenment - Magga-vithi-citta

อ่านตอนอื่นๆ ... กดลิ้งค์

1. กิเลส 3 ระดับ ... กดลิ้งค์

2. เริ่มด้วยความเข้าใจถูก ... กดลิ้งค์

3. สมถภาวนาและวิปัสสนาภาวนา ... กดลิ้งค์

4. มรรค 5 ... กดลิ้งค์

5. สติปัฏฐาน 4 ... กดลิ้งค์

6. สติปัฏฐาน 3 ความหมาย ... กดลิ้งค์

7. สัมมัปปธาน 4 ... กดลิ้งค์

8. อิทธิบาท 4 ... กดลิ้งค์

9. อินทรีย์ 5 ... กดลิ้งค์

10. พละ 5 ... กดลิ้งค์

11. โพชฌงค์ 7 ... กดลิ้งค์

12. มรรคมีองค์ 8 ... กดลิ้งค์

13. มรรควิถีจิต ... กดลิ้งค์

14. ปัจจเวกขณวิถีจิต 5 วาระ ... กดลิ้งค์


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
chatchai.k
วันที่ 6 พ.ย. 2563

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ