ปัจจัยนำไปสู่การรู้แจ้งธรรม - สมถภาวนา และ วิปัสสนาภาวนา [ตอนที่ 3]

 
wittawat
วันที่  24 มิ.ย. 2562
หมายเลข  30962
อ่าน  881

ตอนที่ 3 [สนทนาธรรมกับชาวต่างชาติ]

การอบรมเจริญสมถภาวนา และการอบรมเจริญวิปัสสนาภาวนา ต่างกันโดยจุดประสงค์ และระดับของปัญญาที่จะอบรมเจริญภาวนาประเภทนั้นๆ

ในการอบรมเจริญสมถภาวนา มหากุศลจิตประกอบด้วยปัญญามีอารมณ์ที่จำเพาะแต่ละประเภท เพื่อที่จะได้เกิดความสงบ และจิตแนบแน่นมั่นคงในอารมณ์ของสมถภาวนา

ในการอบรมเจริญวิปัสสนา ปรมัตถธรรม (สิ่งที่มีอยู่จริงที่มีลักษณะของตน ไม่สามารถเปลี่ยนได้) เป็นอารมณ์ของปัญญา มีนามธรรม และรูปธรรมที่เกิดขึ้นและปรากฏและดับไป มหากุศลจิตประกอบด้วยปัญญาสามารถที่จะสังเกตและศึกษาความจริงแต่ละหนึ่งแต่ละขณะ ครั้งแล้วครั้งเล่า ด้วยหนทางนี้ ปัญญาสามารถที่จะค่อยๆ รู้ขึ้นว่าธรรมไม่ใช่สัตว์ บุคคล หรือตัวตน

ผลของสมถภาวนาคือการเกิดเป็นพรหมบุคคลในพรหมโลก

ผลของการอบรมเจริญวิปัสสนาคือปัญญาที่รู้สิ่งที่มีจริงตามความเป็นจริง และดับกิเลส โลกุตตรมรรคจิตมีนิพพานเป็นอารมณ์และดับกิเลสตามลำดับขั้นของการรู้แจ้งอริยสัจธรรม เมื่อถึงอรหัตตมรรค กิเลสทั้งหมดก็ดับได้อย่างสมบูรณ์ด้วยมรรคจิต ซึ่งหมายถึงการถึงที่สุดของการเกิดและตายในสังสารวัฏฏ์ คือการไม่เกิดอีกเลย

ผู้ที่อบรมเจริญวิปัสสนาภาวนา ควรเป็นผู้ที่ตรงต่อตนเอง ควรที่จะพิจารณาว่ายังคงมีกิเลสครบทั้งหมด และไม่ควรเชื่ออย่างผิดๆ ว่า โลภะต้องถูกละได้ก่อนกิเลสอื่น ซึ่งเป็นไปไม่ได้ ผู้ที่ยังเป็นปุถุชน (หนาแน่นด้วยกิเลส) ไม่สามารถที่จะข้ามขั้นของการอบรมเจริญความเข้าใจ และเป็นพระอรหันต์ได้ทันที (เพราะโลภะทั้งหมดดับได้เป็นสมุทเฉทด้วยอรหัตตมรรค) ก่อนอื่น ความติดข้องว่าเป็นเรา (สักกายทิฏฐิ) ที่ผู้นั้นสำคัญว่าสิ่งที่มีจริงนั้นเป็น กลุ่มก้อน (ฆนะ) เป็นเรา เป็นสัตว์ หรือบุคคล ควรที่จะถูกดับอย่างสมบูรณ์ก่อน จากนั้นกิเลสอื่นๆ จึงสามารถดับได้ตามลำดับขั้น ถ้าใครไม่รู้ว่าขณะที่เขากำลังเห็นอยู่ไม่มีเรา สัตว์หรือบุคคล ผู้นั้นจะดับกิเลส เช่นความติดข้อง และความไม่พอใจได้อย่างไร โดยนัยเดียวกัน ทางทวารอื่นๆ (ทางหู ทางจมูก ... ทางกาย) ตราบเท่าที่มีความเห็นว่าเป็นเรา กิเลสก็ไม่สามารถที่จะดับได้สิ้น

ข้อความนี้แปลจาก...The Factors Leading to Enlightenment - Samatha vs Vipassana

อ่านตอนอื่นๆ ... กดลิ้งค์

1. กิเลส 3 ระดับ ... กดลิ้งค์

2. เริ่มด้วยความเข้าใจถูก ... กดลิ้งค์

3. สมถภาวนาและวิปัสสนาภาวนา ... กดลิ้งค์

4. มรรค 5 ... กดลิ้งค์

5. สติปัฏฐาน 4 ... กดลิ้งค์

6. สติปัฏฐาน 3 ความหมาย ... กดลิ้งค์

7. สัมมัปปธาน 4 ... กดลิ้งค์

8. อิทธิบาท 4 ... กดลิ้งค์

9. อินทรีย์ 5 ... กดลิ้งค์

10. พละ 5 ... กดลิ้งค์

11. โพชฌงค์ 7 ... กดลิ้งค์

12. มรรคมีองค์ 8 ... กดลิ้งค์

13. มรรควิถีจิต ... กดลิ้งค์

14. ปัจจเวกขณวิถีจิต 5 วาระ ... กดลิ้งค์


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
peem
วันที่ 29 มิ.ย. 2562

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
chatchai.k
วันที่ 6 พ.ย. 2563

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ