ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 46


    จิตเป็นอธิบดี

    ถาม ขณะที่ไตร่ตรองเหตุผลจากธรรมนี้ ก็เป็นมีจิตเป็นใหญ่ใช่ไหมครับ

    อ.สุ ขณะนั้นไม่ใช่โลภมูลจิต

    ถาม ครับ ไตร่ตรองเหตุผล ตามสภาพธรรมที่ ….

    อ.สุ ขณะนั้นต้องเป็นมหากุศล

    ผู้ฟัง ขอบคุณมากครับ

    เคยจำเป็นจะต้องทำอะไรซึ่งไม่ค่อยชอบเลย แต่ก็ทำบ้างไหม ขณะนั้นอะไรเป็นอธิบดี ฉันทะหรือเปล่า ไม่ใช่แน่ อะไรเป็นอธิบดี ถ้าต้องอาศัยความเพียร วิริยะ อย่างถ้ามีปมเชือกนี้ อยากจะตัดหรือว่าอยากจะแก้ ทำอะไรจะง่ายกว่ากัน แต่ทีนี้ถ้าเกิดเพียรที่จะแก้ ขณะนั้นไม่ใช่มหากุศลแน่ ใช่ไหม เพราะฉะนั้น ในขณะที่กำลังพยายามที่จะแก้ปมนั้น ก็เป็นโลภมูลจิตที่มีวิริยะเป็นอธิบดี แต่ในขณะนี้กำลังกล่าวถึง โลภมูลจิตดวงที่ ๑ ทิฏฐิคตสัมปยุตต์ ไม่ใช่กล่าวถึงโลภมูลจิตทิฏฐิคตวิปยุตต์ ในขณะนั้นที่กำลังแก้ปมเชือกด้วยวิริยะ ก็ควรที่จะเป็นโลภทิฏฐิคตวิปยุตต์มากกว่า

    แต่ถ้าเป็นการกระทำที่จะต้องทำ เพราะมีทิฏฐิเกิดร่วมด้วย มีความยากลำบากที่จะต้องทำ ตามความเห็นผิดนั้น ในขณะนั้นก็สามารถจะพิจาณาได้อีกว่า เพราะฉันทะหรือเพราะวิริยะเป็นอธิบดี นี่ก็เป็นคนที่ ถ้าเป็นผู้ที่มีปกติอบรมเจริญสติปัฏฐานนี้ ย่อมสามารถที่จะระลึกลักษณะของสภาพธรรมที่เกิดขึ้นปรากฏในวันหนึ่งๆ ตามความเป็นจริงได้

    สำหรับอธิปติที่ ๒ คืออารัมมณาธิปติ ได้แก่อารมณ์ที่เป็นใหญ่ ซึ่งเมื่ออารมณ์นั้นเกิดเป็นใหญ่ ย่อมไม่มีใครทอดทิ้งไป เพราะเหตุว่าเป็นอารมณ์ที่น่าปรารถนา โทสะมูลจิตไม่มีใครชอบ เพราะฉะนั้น โทสะมูลจิตไม่เป็นอารัมมณาธิปติ โมหมูลจิตก็ไม่เป็นอารัมมณาธิปติ ทุกขกายวิญญาณก็ไม่เป็นอารัมมณาธิปติ นอกจากนั้นแล้ว เป็นอารัมมณาธิปติ รวมทั้งโลภมูลจิต ทิฏฐิคตสัมปยุตต์ดวงที่ ๑ นี้ ก็เป็นอารัมมณาธิปติด้วย ใครชอบโสมนัสสหคตัง ทิฏฐิคตสัมปยุตตัง อสังขาริกกัง มีไหมคนชอบ ใคร ช่างชอบ ทั้งๆ ที่เป็นโลภมูลจิต ทิฏฐิคตสัมปยุตตัง ใครชอบ โลภมูลจิตทิฏฐิคตสัมปยุตต์ ผู้ที่มีความเห็นผิด ย่อมชอบ ย่อมพอใจ ในความเห็นผิดอย่างนั้น เพราะฉะนั้น จึงมีความเห็นผิดมากมาย โดยที่ในขณะที่เห็ดผิดนั้น ต้องมีความพอใจอย่างยิ่ง ถ้าเป็นโลภมูลจิตดวงที่ ๑ คือโสมนัสสสหคตัง ทิฏฐิคสัมปยุตตัง อสังขาริกกัง

    เพราะฉะนั้น การที่จะเปลี่ยนความคิดเห็นของคนอื่นนี้ ถ้าได้ศึกษาเรื่องของปัจจัยโดยละเอียด จะเห็นได้ว่ายากที่จะเปลี่ยน เพราะเหตุว่า แต่ละคนย่อมเป็นเพียงสภาพธรรมที่เกิดขึ้นเป็นไป ตามการสะสมสืบต่อของเหตุปัจจัย ถ้าสะสมความเห็นผิดไว้มาก ไม่ว่าจะมีเหตุผลที่ถูกต้องประการใดๆ ก็ตาม ผู้ที่พอใจที่จะเห็นผิด ก็ย่อมพอใจที่จะยึดถือความเห็นผิดนั้นต่อไป เพราะฉะนั้นก็ควรที่จะได้ศึกษาธรรมโดยละเอียดจริงๆ เพราะเหตุว่าการที่จะเห็นผิด ในสมัยที่พระผู้มีพระภาคทรงดับขันธปรินิพพาน ๒๕๐๐ กว่าปีนี้ ถ้าไม่ศึกษาพระธรรมโดยละเอียดแล้ว ก็ย่อมจะทำให้มีความเห็นผิดในพระธรรมได้ ถ้าไม่พิจารณาโดยละเอียดให้ถูกต้องจริงๆ

    สำหรับอธิปติปัจจัย มีข้อสงสัยไหม

    ต่อไป โดยอาหารปัจจัย ตามคำถามตอนต้น คือสัตว์ทั้งหลายดำรงอยู่ได้ด้วยอาหาร เมื่อไหร่จะพ้นความเป็นสัตว์ ซึ่งดำรงอยู่ได้ด้วยอาหาร ก็ต่อเมื่อดับอาหาร เมื่อไม่มีอาหารที่จะเลี้ยงดู ก็ย่อมจะหมดความเป็นสัตว์ บุคคลใดๆ ทั้งสิ้น แต่เพราะเหตุว่า ยังมีอาหารเป็นปัจจัยเลี้ยงดูค้ำจุนอยู่ เพราะฉะนั้น ก็ยังไม่สิ้นสภาพของการที่จะต้องเป็นสัตว์ เป็นบุคคล เพราะเหตุว่ายังพร้อมด้วยอาหาร

    สำหรับสภาพธรรมที่เป็นอาหารปัจจัย นอกจากที่เป็นรูป ๑ คือกพฬิงการาหารแล้ว ก็เป็นนามธรรม ๓ ได้แก่ผัสสาหาร ๑ มโนสัญเจตนาหาร ๑ วิญญาณาหาร ๑ ไม่มีใครสามารถที่จะยับยั้งอาหารทั้ง ๓ นี้ได้ มีเหตุปัจจัยปรุงแต่งเกิดขึ้นเป็นไป

    สำหรับโลภมูลจิตดวงที่ ๑ ในนามอาหาร ๓ คือผัสสาหาร มโนสัญเจตนาหาร และวิญญาณาหาร ถ้ากล่าวถึงโลภมูลจิตดวงที่ ๑ เป็นอาหารอะไร เป็นวิญญาณาหาร เพราะเหตุว่าเป็นจิต นำมาซึ่งอะไรเวลาที่จิตเกิด เจตสิกซึ่งเกิดร่วมด้วย และอะไร และรูป ในภูมิที่มีขันธ์ ๕ เวลาที่จิตเกิดขึ้น เว้นทวิปัญญจวิญญาณ และรูปาวจรวิบาก ปฏิสนธิจิต และจุตติจิตของพระอรหันต์แล้ว จิตทุกดวงที่เกิด เป็นปัจจัยให้จิตตชรูปเกิด เพราะฉะนั้น เมื่อโลภมูลจิตเกิด เป็นวิญญาณาหาร นำมาซึ่งเจตสิกซึ่งเกิดร่วมด้วย และจิตตชรูป นอกจากนั้นแล้ว เจตนาเจตสิกที่เกิดกับโลภมูลจิตก็เป็นมโนสัญเจตนาหาร

    นี่ก็แสดงให้เห็นว่า ในชั่วขณะเดียว ซึ่งโลภมูลจิตเกิดพร้อมกับเจตสิก ๑๙ ดวง มีปัจจัยหลายปัจจัย ทั้งเหตุปัจจัย อธิปติปัจจัย รวมถึงอาหารปัจจัยด้วย นอกจากนั้นแล้ว ผัสสเจตสิก ซึ่งเกิดกับโลภมูลจิต ก็เป็นผัสสาหาร เพราะเหตุว่า นำมาซึ่งเจตสิกอื่น และจิต และจิตตชรูป รวมกันไปได้เลย ถ้ากล่าวถึงเจตสิกที่เกิดร่วมกับจิตใด ก็หมายความว่า ทั้งจิตและเจตสิกนั้น เป็นปัจจัยให้จิตตชรูปเกิด ตามประเภทของจิตนั้น

    หมดไหม อาหาร ยังคงอยู่เรื่อยๆ ผัสสเจตสิกก็เกิดกับจิตทุกดวง เจตนาเจตสิกเป็นมโนสัญเจตนาหาร สำหรับผู้ที่ไม่ใช่พระอรหันต์แล้ว ก็นำมาซึ่งปฏิสนธินามรูป ไม่ใช่แต่เฉพาะรูปเท่านั้น ที่เป็นอาหาร เพราะเหตุว่ารูปเป็นอาหารของรูป แต่ว่านามก็เป็นอาหารของนามด้วย และก็สำหรับในภูมิที่มีขันธ์ ๕ นี้ ก็อาศัย โดยเฉพาะคือในภูมิมนุษย์ ก็ต้องอาศัยทั้งรูปอาหารและนามอาหาร

    ไม่อยากได้ไหม ไม่อยากที่ให้มีอาหารปัจจัยได้ไหม ได้หรือไม่ได้ หนทางเดียวคืออะไร ที่จะดับ อบรมเจริญปัญญา สติปัฏฐานที่จะระลึกรู้ลักษณะของสภาพธรรม จนกว่าปัญญาจะคมกล้าที่โลกุตตรจิตจะเกิด มิฉะนั้นแล้วก็ไม่มีทางเลย ที่ปัจจัยเหล่านี้จะดับได้

    มีข้อสงสัยไหมในเรื่องนี้

    ต่อไป โดยอินทรียปัจจัย สำหรับสภาพธรรมที่เป็นอินทริยปัจจัย หมายความถึงสภาพธรรมที่เป็นใหญ่เฉพาะกิจของตน ไม่เหมือนกับอธิปติปัจจัย ถ้าเป็นอธิปติปัจจัยแล้ว หมายความถึงเป็นใหญ่ ในบรรดาสหชาตธรรมที่เกิดร่วมกัน แต่ว่าสำหรับอินทริยปัจจัย แต่ละอย่างๆ ก็เป็นใหญ่เฉพาะในกิจของตนของตน

    สำหรับโลภมูลจิตดวงที่ ๑ คือโสมนัสสสหคตัง ทิฏฐิคตสัมปยุตตัง อสังขาริกกัง สภาพธรรมที่เป็นอินทริยปัจจัย ได้แก่ ชีวิตินทรียเจตสิก ๑ เวทนินทรียะ ๑ วิริยินทรียะ ๑ สมาธินทรีย ๑ มนินทรียะ ๑ เป็นสหชาตินทรียปัจจัย สำหรับลักษณะ ที่สภาพเหล่านี้เป็นอินทรียปัจจัย ก็ได้กล่าวถึงแล้ว ในเรื่องของอินทรียปัจจัย เมื่อเป็นโลภมูลจิต ก็ไม่ประกอบด้วยสัทธิทรีย์ สตินทรีย์ ปัญญินทรีย์ เพราะเหตุว่าอินทรีย์เหล่านั้นต้องเกิดกับกุศล

    ต่อไปเป็นปัจจัยที่ ๑๖ ที่จะทบทวน คือโดยฌานปัจจัย สภาพธรรมที่เป็นฌานปัจจัย ได้แก่วิตกเจตสิก ๑ วิจารเจตสิก ๑ ปีติเจตสิก ๑ โสมนัสเจตสิก ๑ เอกัคคตาเจตสิก ๑ และสำหรับเวทนาอีก ๒ คือโทมนัสเวทนา และอุเบกขาเวทนา ก็เป็นฌานปัจจัยด้วย แต่ว่าสำหรับโลภมูลจิตดวงที่ ๑ ก็ไม่มีโทมนัสเวทนา และอุเบกขาเวทนา เพราะฉะนั้นก็มีฌานปัจจัย ๕ คือวิตกเจตสิก วิจารเจตสิก ปีติเจตสิก โสมนัสเจตสิก เอกัคคตาเจตสิก เท่ากับองค์ฌานทางฝ่ายกุศลใช่ไหม สำหรับผู้ที่อบรมเจริญสมถภาวนา แต่ต่างกันที่ว่า โลภมูลจิต ทิฏฐิคตสัมปยุตตัง เป็นฌานปัจจัยที่เป็นอกุศล อางค์ธรรมเท่ากัน ประกอบด้วย วิตก วิจาร ปีติ โสมนัสหรือสุขเวทนา แล้วก็เอกัคคตา แต่ว่าสามารถที่จะเป็นฌานปัจจัยที่เป็นฝ่ายอกุศลได้ เพราะเหตุว่า โลภเจตสิกก็เกิดร่วมกับวิตกเจตสิก วิจารเจตสิก โลภมูลจิตดวงที่ ๑ ก็เกิดร่วมกับปีติเจตสิก โสมนัสเจติสก และเอกัคคตาเจตสิก เผาธรรมที่เป็นกุศล

    ปัจจัยต่อไป คือโดยมัคคปัจจัย สำหรับมรรค ส่วนมากท่านผู้ฟังก็ได้ทราบสัมมามรรค ๘ คือสัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ แต่สำหรับมัคคปัจจัยที่เป็นอกุศลก็มี เพราะเหตุว่ามรรคซึ่งเป็นหนทาง ย่อมมีทั้งหนทางที่ไปสู่สุคติ และหนทางที่ไปสู่ทุคติ

    สำหรับโลภมูลจิต โดยมัคคปัจจัยแล้ว ได้แก่วิตกเจตสิก วิริยเจตสิก เอกัคคตาเจตสิก และมิจฉาทิฏฐิ เพราะเหตุว่า สภาพที่เป็นมัคคปัจจัย ทั้งหมด มีที่เป็นสัมมามรรค และมิจฉามรรค แต่เมื่อกล่าวถึงโลภมูลจิตแล้ว ก็ต้องเป็นมิจฉามรรคทั้งหมด คือวิตกเจตสิกเป็นมิจฉาสังกัปปะ วิริยเจตสิกเป็นมิจฉาวายามะ เอกัคคตาเจตสิกก็เป็นมิจฉาสมาธิ และมิจฉาทิฏฐิ ก็เป็นมิจฉาทิฏฐิเจตสิก พาไปไหน ถ้าเป็นมิจฉามรรค ก็ต้องพาไปสู่ทุคติ

    สำหรับปัจจัยที่จะกล่าวถึงต่อไป เป็นปัจัยที่ยังไม่ได้กล่าวถึง เพราะเหตุว่าที่ได้กล่าวถึงปัจจัยมาแล้วทั้งหมดนี้ ก็ถึงอินทรียปัจจัย แล้วก็ได้กล่าวถึงฌานปัจจัยพอสมควรแล้ว ได้กล่าวถึงมัคคปัจจัยพอสมควร หมายความว่าขอถือโอกาสกล่าวเป็นปัจจัยต่อๆ ไปเลย แทนที่จะต้องย้อนไปกล่าวถึงฌานปัจจัยอีก หรือว่ามัคคปัจจัยอีก เพราะฉะนั้นที่ได้กล่าวถึงในเรื่องของฌานปัจจัยที่แล้วมาก็ดี ในเรื่องของมัคคปัจจัยที่แล้วมาก็ดี ก็เป็นการกล่าวถึงปัจจัยต่อไป เพื่อที่จะให้ครบทั้ง ๒๔ ปัจจัย

    สำหรับปัจจัยที่ยังไม่ได้กล่าวถึง คือวิปยุตตปัจจัย วิปยุตตปัจจัย หมายความถึง สภาพธรรมที่เป็นปัจจัยกันโดยเข้ากันไม่ได้ เพราะฉะนั้นก็หมายความว่า นามธรรมเมื่อเป็นปัจจัยแก่รูป เป็นปัจจัยโดยวิปยุตตปัจจัย หรือเวลาที่รูปเป็นปัจจัยแก่นามธรรม เมื่อนามธรรมไม่ใช่รูป เพราะฉะนั้น เมื่อรูปเป็นปัจจัยแก่นามธรรม ก็เป็นปัจจัยโดยเป็นนวิปยุตตปัจจัย ไม่เหมือนกับสัมปยุตตปัจจัย คือสัมปยุตตปัจจัยนั้น ได้แก่นามธรรมเป็นปัจจัยแก่นามธรรม จิตเป็นปัจจัยแก่เจตสิก และเจตสิกเป็นปัจจัยแก่จิต นั่นเป็นสัมปยุตตธรรมจริงๆ เป็นสภาพธรรมที่เข้ากันได้ แต่สำหรับรูปธรรมกับนามธรรม เมื่อเป็นปัจจัยกันแล้ว เป็นโดยปัจจัยคือวิปยุตตปัจจัย เช่นจักขุปสาท เป็นปัจจัยโดยเป็นที่อาศัยให้เกิดจักขุวิญญาณ โดยวิปยุตตปัจจัย ไม่ว่าจะเป็นโดยนัยใดๆ ทั้งสิ้น ถ้ารูปเป็นปัจจัยแก่นาม และนามเป็นปัจจัยแก่รูปแล้ว เป็นโดยวิปยุตตปัจจัย เพราะฉะนั้นสำหรับโลภมูลจิตดวงที่ ๑ คือโสมนัสสหคตัง ทิฏฐิคตสัมปยุตตัง เป็นปัจจัยแก่จิตตชรูปโดยวิปยุตปัจจัย

    สำหรับปัจจัยต่อไป โดอัตถิปัจจัย หมายความถึงธรรมที่เป็นปัจจัยนี้ ต้องเป็นปัจจัยโดยสภาพที่ยังมีอยู่ จึงจะเป็นปัจจัยได้ เช่นสหชาตอัตถิปัจจัย ได้แก่จิตและเจตสกซึ่งเกิดร่วมกันในขณะนั้น เกิดพร้อมกัน คำว่าสหชาต หมายความว่าเป็นปัจจัย โดยเกิดพร้อมกับปัจจยุปบันน เพราะฉะนั้น โลภมูลจิตเป็นสหชาตัตถิปัจจัยแก่เจตสิกซึ่งเกิดร่วมด้วย และจิตตชรูป เพราะเหตุว่า จิตตชรูปต้องเกิดพร้อมกับจิต

    โลภมูลจิตเป็นปัจจัยแก่เจตสิกซึ่งเกิดร่วมด้วย ในขณะที่โลภมูลจิตยังมีอยู่ ขณะนั้น และเจตสิกซึ่งเกิดร่วมกับโลภมูลจิตนั้น ก็เป็นปัจจัยแก่โลภมูลจิต ในขณะที่เจตสิก ๑๙ ดวงนั้นยังมีอยู่ในขณะนั้น ยังไม่หมดไป และสำหรับโลภมูลจิตและเจตสิกซึ่งเป็นปัจจัยให้เกิดจิตตชรูป ก็จะเป็นปัจจัยให้เกิดจิตตชรูป ในขณะที่โลภมูลจิตนั้นยังมีอยู่เท่านั้น คือการเป็นปัจจัยโดยที่สภาพที่เป็นปัจจัยนั้นต้องกำลังมีอยู่ ชื่อว่าอัตถิปัจจัย

    นี้ก็เป็นการทบทวนโดยย่อ ซึ่งถ้าจะคิดถึงสภาพธรรมอื่น ก็ย่อมจะพิจารณาได้ เช่นมหาภูตรูปเป็นปัจจัยใก้เกิดมหาภูตรูป มหาภูตรูป ๔ ได้แก่ ธาตุดิน ๑ ธาตุน้ำ ๑ ธาตุไฟ ๑ ธาตุลม ๑ ถ้ายกมหาภูตรูปหนึ่งเป็นปัจจัย มหาภูตรูปสามเป็นปัจจยุปบันน เพราะฉะนั้น ในขณะที่มหาภูตรูป ๑ เป็นปัจจัยแก่มหาภูตรูป ๓ ต้องเป็นปัจจัยในขณะที่มหาภูตรูป ๑ กำลังมีอยู่ในขณะนั้นเอง เช่นเดียวกับ มหาภูตรูป ๔ เป็นปัจจัยแก่อุปาทายรูป คือรูปซึ่งอาศัยเกิดกับมหาภูตรูปนั้น มหาภูตรูปที่จะเป็นปัจจัยแก่อุปาทายรูปได้ ก็ต้องในขณะที่มหาภูตรูปนั้นยังมีอยู่ โดยนัยของอัตถิปัจจัย

    มีข้อสงสัยไหมในเรื่องนี้ สภาพธรรมกำลังอยู่ที่ตัว เกิดดับ โดยปัจจัยต่างๆ พร้อมทั้งรูปภายนอกด้วย ก็เป็นปัจจัยกัน โดยอัตถิปัจจัยด้วย

    สำหรับปัจจัยต่อไป เป็นปัจจัยที่คู่กับอัตถิปัจจัย ได้แก่อวิคตปัจจัย ซึ่งเป็นธรรมอุปการะโดยเป็นปัจจัย โดยเป็นสภาพที่ยังไม่ปราศไป คือยังไม่จากไป ยังไม่หมดไป ยังไม่สิ้นไปสำหรับอัตถิปัจจัยนั้น เป็นปัจจัยโดยเป็นสภาพที่ยังมีอยู่ แต่อวิคตปัจจัย เป็นปัจจัยโดยสภาพที่ยังไม่ปราศไป คือยังไม่หมดไป เพราะเหตุว่า ถึงแม้ว่าจะเป็นสภาพธรรมที่มีอยู่ด้วยกันในขณะนั้นก็จริง แต่ว่าอาจจะปราศไป คือจากสภาพธรรมอื่นที่อยู่ในที่นั้น ขณะไหนก็ได้ ถ้าเป็นโดยลักษณะนั้น ไม่ใช่โดยอวิคตปัจจัย แต่ถ้าโดยอวิคตปัจจัยแล้ว หมายความว่า สภาพธรรมที่เป็นปัจจัย นอกจากจะเป็นปัจจัยโดยอัตถิปัจจัย เพราะโดยเป็นสภาพที่ยังมีอยู่แล้ว ยังต้องเป็นปัจจัยโดยเป็นอวิคตปัจจัย คือถึงมีอยู่ ก็ยังไม่ปราศไป

    อันนี้ก็คงไม่เป็นที่สงสัย ระหว่างจิตกับเจตสิก เวลาที่จิตเกิด ในขณะที่จิตมี เกิดขึ้น เป็นปัจจัยให้เจตสิกเกิดพร้อมกัน ในขณะที่จิตนั้นยังมี โดยเป็นนอัตถิปัจจัย และในขณะที่จิตเกิดขึ้น เป็นปัจจัยให้เจตสิกเกิดร่วมด้วย พร้อมกันในขณะนั้น นอกจากจะเป็นโดยอัตถิปัจจัยแล้ว ยังเป็นโดยอวิคตปัจจัย คือโดยที่จิตนั้นยังไม่ปราศไปด้วย ยังมีอยู่ และยังไม่ปราศไป

    สำหรับอวิคตปัจจัย คงไม่มีข้อสงสัย

    ปัจจัยต่อไปคือโดยนัตถิปัจจัย ได้แก่สภาพธรรมที่อุปการะโดยเป็นสภาพที่ไม่มีแล้ว ตรงกันข้ามกับอัตถิปัจจัย อัตถิปัจจัยหมายความถึงเป็นสภาพธรรมในขณะที่กำลังมีอยู่ แต่นัตถิปัจจัย เป็นสภาพธรรมที่เป็นปัจจัยโดยเป็นสภาพที่ไม่มีแล้ว ได้แก่จิตและเจตสิกดวงก่อนๆ ที่เกิดแล้วดับ เป็นปัจจัยแก่นามธรรม คือจิตปละเจตสิกดวงหลังๆ ซึ่งเกิดต่อ ถ้าจิตดวงหนึ่งยังเกิดอยู่ ยังไม่ดับไป จะไม่สามารถมีจิตดวงอื่นเกิดได้เลย แต่ต้องจิตดวงที่กำลังมีอยู่นี้แหละ ดับไป ปราศไปเสียก่อน จึงจะเป็นปัจจัยให้จิตดวงต่อไปเกิดขึ้นได้ เพราะฉะนั้น การดับไปของจิตดวงก่อน ซึ่งเป็นปัจจัยให้จิตดวงหลังเกิดขึ้นนั้น โดยนัตถิปัจจัย คือเป็นสภาพธรรมที่เป็นปัจจัยโดยไม่มีแล้ว จึงจะทำให้สภาพธรรมที่เป็นปัจจยุปบันนเกิดขึ้นได้

    สำหรับโลภมูลจิตดวงที่ ๑ ก็เป็นนัตถิปัจจัยแก่จิตดวงต่อไปซึ่งจะเกิดต่อ ถ้าเป็นชวนจิตดวงที่ ๑ คือเป็นโลภมูลจิตขณะที่ ๑ ดับไป ก็เป็นนัตถิปัจจัยให้โลภมูลจิตดวงที่ ๒ เกิดต่อ ถ้าเป็นโลภมูลจิตดวงที่ ๒ เกิดแล้ว ดับไป ก็เป็นนัตถิปัจจัยให้โลภมูลจิตดวงที่ ๓ เกิดต่อ เพราะฉะนั้น จิตและเจตสิกทุกดวงซึ่งเกิดร่วมกัน เป็นปัจจัยโดยไม่มีแล้วให้จิตดวงต่อไปเกิด คือต้อง ปัจจยุปบันนต้องเกิด เมื่อจิตดวงก่อนไม่มีแล้ว

    สำหรับปัจจัยที่คู่กับนัตถิปัจจัย คือวิคตปัจจัย วิคตปัจจัยเป็นปัจจัยที่อุปการะ โดยเป็นสภาพที่ปราศไปแล้ว ที่ว่าไม่มี ต้องไม่มีโดยปราศไป ไม่ใช่ว่า ไม่เคยมีเลย เพราะฉะนั้นสำหรับนัตถิปัจจัยและวิคตปัจจัย ก็เป็นสภาพธรรมที่เป็นปัจจัยคู่กัน เหมือนกับอัตถิปัจจัยและอวิคตปัจจัย แต่ว่าสำหรับอัตถิปัจจัยนั้น นอกจากนามธรรม จะเป็นปัจจัยแก่นามธรรมแล้ว รูปธรรมก็ยังเป็นปัจจัยแก่รูปธรรมได้ด้วย แต่ส่วนนัตถิปัจจัย เฉพาะนามเท่านั้น เช่น เมื่อจิตเจตสิกดวงก่อนเกิดแล้วดับไป ก็เป็นปัจจัยให้จิตและเจตสิกดวงหลังเกิดขึ้น สำหรับนัตถิ ปัจจัยนั้น เฉพาะนามธรรมเป็นปัจจัยแก่นามธรรม

    ทั้งหมดก็ ๒๒ ปัจจัย ปัจจัยทั้งหมด โดยประเภทใหญ่ๆ มี ๒๔ ปัจจัย แต่สำหรับโลภมูลจิต เป็นปัจจัยได้เพียง ๒๒ ปัจจัยเท่านั้น ที่เป็นปัจจัยไม่ได้ คือโลภมูลจิตไม่เป็นปุเรชาตปัจจัย และไม่เป็นวิปากปัจจัย

    ปุเรชาตปัจจัยได้แก่รูปที่เกิดก่อน แล้วยังไม่ดับไป เป็นปัจจัยแก่นามธรรม ความหมายของปุเราชตปัจจัย ปุเรชาตะคือสภาพของรูปธรรมที่เกิดก่อน แล้วยังไม่ดับ เป็นปัจจัยให้เกิดนามธรรม เช่นในขณะที่ทุกท่านกำลังเห็นในขณะนี้ จักขุปสาทเกิดก่อนจักขุวิญญาณ รูปารมณ์ที่กำลังปรากฏในขณะนี้ก็เกิดก่อนจักขุวิญญาณ เพราะฉะนั้น ทั้งจักขุปสาท และรูปารมณ์จึงเป็นปุเรชาตปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ ในขณะที่กำลังได้ยินเสียง เสียงต้องเกิดแล้ว กระทบกับโสตปสาท เพราะฉะนั้น ทั้งเสียงและโสตปสาทเกิดก่อน โสตวิญญาณที่ได้ยินเสียง เพราะฉะนั้น ทั้งเสียงและโสตปสาทเป็นปัจจัยแก่โสตวิญญาณ โดยเป็นปุเรชาตปัจจัย เป็นรูปธรรมซึ่งเกิดก่อน แล้วยังไม่ดับ เป็นปัจจัยให้นามธรรมเกิดขึ้น

    เพราะฉะนั้น สำหรับโลภมูลจิตดวงที่ ๑ เมื่อไม่ใช่รูป จึงไม่เป็นปุเรชาตปัจจัย อีกปัจจัยหนึ่งคือ โลภมูลจิตไม่เป็นวิปากปัจจัย เพราะเหตุว่าโลภมูลจิตไม่ใช่วิบากจิต สภาพธรรมที่เป็นวิปากปัจจัย ต้องได้แก่วิบากจิต และวิบากเจตสิก ซึ่งเกิดร่วมกัน ต่างเป็นปัจจัยแก่กันและกัน โดยต่างก็เป็นวิบากซึ่งเป็นปัจจัยต่อกัน วิบากเจตสิก จะเป็นปัจจัยแก่วิบากจิตเท่านั้น และวิบากจิตก็จะเป็นปัจจัยแก่วิบากเจตสิกเท่านั้น วิบากจิตจะเป็นปัจจัยแก่กุศลเจตสิกไม่ได้ วิบากจิตจะเป็นปัจจัยแก่อกุศลเจตสิกไม่ได้ วิบากจิตจะเป็นปัจจัยให้เกิดกิริยาจิตไม่ได้ วิบากจิตจะเป็นปัจจัยให้เกิดวิบากเจตสิกได้ ในขณะที่วิบากจิตเกิดร่วมกันกับวิบากเจตสิก และวิบากเจตสิกก็จะเป็นปัจจัยให้กุศลจิตเกิด อกุศลจิตเกิด กิริยาจิตเกิดไม่ได้ วิบากเจตสิกจะต้องเป็นปัจจัยให้วิบากจิตเกิดเท่านั้น เพราะฉะนั้นวิปากปัจจัยก็คือ สภาพธรรมซึ่งเป็นวิบาก เป็นปัจจัยให้วิบากเกิดร่วมกัน คือวิบากจิตเป็นวิปากปัจจัยให้เกิดวิบากเจตสิก และวิบากเจตสิกเป็นปัจจัยให้เกิดวิบากจิต เมื่อโลภมูลจิตไม่ใช่วิบาก เพราะฉะนั้น โลภมูลจิตจึงไม่เป็นวิปากปัจจัย

    สำหรับการที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงเรื่องของปัจจัย พระองค์ทรงแสดงโดยละเอียดมาก

    จบ ปัจจัย ๒๔ ตลับที่ ๒๓


    ฟังธรรมจากหัวข้อย่อย

    หมายเลข 5
    23 ส.ค. 2566

    ซีดีแนะนำ