ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 44


    ชีวิตประจำวัน อกุศลจิตที่เกิด มีทวารหรือมีทางของอกุศลนั้นๆ คือบางครั้งก็เป็นกายทวาร บางครั้งก็เป็นวจีทวารตามกำลังของอกุศล

    วันหนึ่งๆ ที่ทุกท่านพูดนี้ ถ้าสติปัฏฐานไม่เกิด จะรู้ได้ไหมว่า ขณะนั้นโลภะเป็นปัจจัยให้พูดอย่างนั้นๆ หรือว่าโทสะเป็นปัจจัยให้พูดอย่างนั้นๆ เป็นปกติเลยใช่ไหม แต่ว่าเวลาที่เห็นว่าวาจาอย่างนั้น ไม่ควรพูด พูดแล้วเป็นโทษ พูดแล้วไม่เกิดประโยชน์อะไรทั้งสิ้น ขณะที่วิรัติทุจริตในขณะนั้น เป็นเพราะสภาพของปรมัตถธรรมหนึ่งคือ สัมมาวาจาเจตสิกเกิดขึ้น วิรัติทุจริต นี่แสดงให้เห็นแล้วว่า ปกติธรรมดาไม่มีการวิรัติใช่ไหม จะพูดเรื่องอาหารที่อร่อย ในขณะนั้นจิตอะไร ที่ทำให้วาจาเช่นนั้นเกิดขึ้น เป็นทวารของโลภมูลจิต

    เพราะฉะนั้น ถ้าขณะใดก็ตาม ที่จะมีอกุศลที่มีกำลังขึ้นๆ จนถึงกับจะทำให้เป็นวจีกรรม แล้วก็เกิดการวิรัติทุจริตขึ้น ใขณะนั้น สภาพที่วิรัติทุจริตนั้นเป็นสัมมาวาจาเจตสิก มิฉะนั้นแล้ว จะไม่มีธรรมที่จะวิรัติวจีทุจริต เพราะเหตุว่าเรื่องของอกุศลนี้ เป็นเรื่องซึ่งเกิดเป็นปกติ แล้วก็มีทวารที่จะปรากฏทางกาย ทางวาจา แต่การที่จะวิรัตินั้น ต้องเป็นเพราะโสภณเจตสิกเกิดขึ้น วิรัติทุจริตในขณะนั้น เพราะฉะนั้นก็จะเห็นได้ว่า วาจาหรือคำพูดนี้ ก็เป็นทางซึ่งเป็นมรรค ที่จะทำให้เป็นกรรมที่จะทำให้ไปสู่ผลต่างๆ และการเกิดในที่ต่างๆ ได้ สัมมากัมมันตะ ก็โดยนัยเดียวกัน เป็นโสภณเจตสิก ซึ่งเกิดขึ้นวิรัติทุจริตทางกาย เพราะฉะนั้นแสดงให้เห็นว่า วันหนึ่งๆ กายทวารของแต่ละคนนี้ เป็นไปในทางฝ่ายอกุศลมากเพียงไร

    เมื่อลืมตาตื่นขึ้นมา มีการเคลื่อนไหวกาย ถ้าสติปัฏฐานไม่เกิด จะไม่ทราบเลยว่าในขณะนั้น เป็นกายทวารของอกุศลจิต เพราะเหตุว่าโลภะเกิดเป็นประจำ ทันทีที่ตื่น พลิกตัวลุกขึ้น ขณะนั้นก็เป็นกายทวารของอกุศลจิต คือโลภมูลจิตที่มีความพอใจ มีความต้องการขวนขวาย ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ถ้าอกุศลนั้นมีกำลังขึ้น ถึงขั้นที่จะกระทำทุจริตกรรม ทุจริตกรรมนั้นก็เกิด ถ้าสัมมากัมมันตเจตสิกไม่เกิดขึ้นวิรัติทุจริตกรรม

    โดยเฉพาะเรื่องเล็กๆ น้อยๆ อย่างตัวอย่างที่ได้กล่าวถึงในคราวก่อน เช่นมะม่วงของเพื่อนบ้าน ดูเป็นเรื่องปกติธรรมดาเหลือเกิน ตั้งแต่เห็นแล้วก็พอใจ แต่ถ้าหลงลืมสติ โดยเฉพาะที่เป็นเด็กเล็กๆ นี้ ก็อาจจะเก็บมะม่วงของเพื่อนบ้าน ดูเป็นการกระทำที่เล็กน้อย ในสายตาของคนอื่น แต่ถ้าคิดว่าในขณะนั้นเป็นอกุศลจิต ที่ทำให้กายกรรมเกิดขึ้น ถือเอาสิ่งของของผู้อื่น ซึ่งเจ้าของไม่ได้ให้ แม้ว่าจะโดยรู้ หรือโดยไม่รู้ก็ตาม ว่าขณะนั้นเป็นอกุศลกรรม อกุศลกรรมก็ได้กระทำสำเร็จแล้ว เพราะฉะนั้นถ้าขณะนั้นสัมมากัมมันตเจตสิกไม่เกิดขึ้นวิรัติ ก็จะมีการล่วงทุจริตต่างๆ

    ตั้งแต่เด็ก สิ่งเล็กๆ น้อยๆ จนกระทั่งถึงการที่โตแล้ว ถ้าไม่พิจารณาการกระทำของตนเอง ก็อาจจะไม่ทราบว่าสัมมากัมมันตะ เกิดขึ้นวิรัติทุจริตกรรม ที่เคยเห็นว่าเล็กๆ น้อยๆ นั้นหรือเปล่า เพราะคนที่เคยเก็บมะม่วงของเพื่อนบ้านนั้น อาจจะเก็บตั้งแต่เด็กจนโต เรื่อยไปตลอด ได้ไหม เพราะคิดว่า เพียงมะม่วงของเพื่อนบ้าน ซึ่งเข้ามาในเขตบ้าน แต่ถ้าสัมมากัมมันตะเกิดขึ้นวิรัตินี้ จะไม่กระทำกายกรรมนั้น เพราะเห็นว่าเป็นสิ่งที่ไม่ควรกระทำ ในขณะนั้นก็เป็นมรรค คือเป็นทางของกุศล

    เพราะฉะนั้น จะเห็นได้ว่า สำหรับเจตสิกซึ่งเป็นมัคคปัจจัยทางฝ่ายกุศล มีปัญญาเจตสิก ๑ วิตกเจตสิก ๑ ซึ่งเป็นสัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจาเจตสิก ๑ สัมมากัมมัตเจตสิก ๑ สัมมาอาชีวเจตสิก ๑ วิริยเจตสิก ซึ่งเกิดกับกุศล และสติซึ่งเป็นโสภณเจตสิก ต้องเกิดกับโสภณจิตเท่านั้น และสัมมาสมาธิ ได้แก่เอกัคคตาเจตสิก ซึ่งเกิดกับกุศล นอกจากนั้นแล้วไม่ใช่มรรค ไม่เป็นมัคคปัจจัย

    เพราะฉะนั้น สำหรับมัคคปัจจัยนี้ เกิดกับกุศลจิตได้ เกิดกับอกุศลจิตได้ เกิดกับวิบากจิตได้ เกิดกับกิริยาจิตได้ แต่สำหรับอเหตุกจิตทั้งหมด ๑๘ ดวง เป็นจิตซึ่งอ่อนกำลัง ไม่มีกำลัง เกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย คือกรรมในอดีตที่ได้กระทำไว้ เป็นปัจจัยทำให้วิบากจิต ซึ่งเป็นอกุศลวิบาก ๗ ดวง และกุศลวิบากซึ่งเป็นอเหตุก ๘ ดวง และกิริยาจิตที่เป็นอเหตุกเกิดขึ้นเท่านั้น ทำกิจหน้าที่ ให้สำเร็จการรู้อารมณ์ ทางทวารแต่ละทวารเท่านั้นเอง เพราะฉะนั้น นอกจากในขณะปฏิสนธิแล้ว เจตสิกเหล่านี้ไม่ชื่อว่ามัคคปัจจัย เมื่อเกิดกับอเหตุกจิต

    นี่ก็เป็นเรื่องละเอียด ซึ่งจะศึกษาได้ต่อไปในเหตุผล แต่สำหรับที่กล่าวถึงเรื่องของฌานปัจจัยและมัคคปัจจัย ในที่นี้พอสังเขป ก็เพืื่อที่จะให้เห็นว่า ในขณะปฏิสนธินั้น เจตสิกที่เกิดร่วมด้วย แม้ว่าเป็นวิตกเจตสิกที่เกิดกับอุเบกขาสันตีรณอกุศลวิบาก หรืออุเบกขาสันตีรณกุศลวิบาก ก็เป็นฌานปัจจัยและมัคคปัจจัย

    มีข้อสงสัยอะไรไหมในตอนนี้

    การทบทวนปัจจัย จะไม่ทบทวนตามลำดับของปัจจัยก็ได้ แต่ว่าจะทบทวนโดยสภาพความเป็นปัจจัยของจิตและเจตสิก ๑๙ ดวง ซึ่งเกิดร่วมกัน ในโลภมูลจิตดวงที่ ๑ คือโดยสหชาตปัจจัย

    คำว่าสหชาติ ก็หมายความถึง สภาพธรรมที่เป็นปัจจัย ต้องเกิดพร้อมกับปัจจุยุปบันนธรรม คือสภาพธรรมที่ปัจจัยนั้นทำให้เกิดขึ้น ทั้งจิตและเจตสิก ๑๙ ดวงนี้ เป็นสหชาตปัจจัย คือผัสสเจตสิก เป็นปัจจัยแก่จิตและเจตสิกอื่นๆ อีก ๑๘ ดวง โดยนัยเดียวกัน สำหรับเจตสิกอื่นๆ เช่นเวทนาเจตสิก ซึ่งเกิดกับโลภมูลจิตดวงนี้ ก็เป็นปัจจัยแก่จิตและเจตสิกอื่นๆ อีก ๑๘ ดวง

    เพราะว่าจิตจะเกิดโดยที่ปราศจากเจตสิกไม่ได้ ทั้งจิตและเจตสิก ซึ่งอาศัยกันเกิดขึ้น ต้องเกิดขึ้นพร้อมกัน จะให้มีความเห็นผิด ซึ่งเป็นสภาพของทิฏฐิเจตสิกเกิด โดยไม่มีโลภเจตสิกเกิดร่วมด้วยไม่ได้ เพราะเหตุว่าขณะใดที่มีความเห็นผิด หมายความว่าขณะนั้นมีความพอใจ มีความติด มีการยึดถือในความเห็นนั้น เพราะฉะนั้น ทิฏฐิเจตสิกไม่สามารถจะเกิดได้ โดยปราศจากโลภเจตสิก แต่ว่าโลภเจตสิกสามารถจะเกิดได้ โดยปราศจากทิฏฐิเจตสิกนี้ ก็คือสิ่งซึ่งมีปกติในชีวิตประจำวัน ซึ่งจะเห็นได้ว่า ในวันหนึ่งๆ ก็มีโลภมูลจิตเกิดบ่อยๆ เป็นไปทางตาบ้าง ทางหูบ้าง ทางจมูกบ้าง ทางลิ้นบ้าง ทางกายบ้าง ทางใจบ้าง แต่เมื่อไหร่ ในวันหนึ่ง ซึ่งเป็นโลภมูลจิตทิฏฐิคตสัมปยุค ขณะนั้นก็ต้องเป็นในขณะที่มีความยึดมั่นในความเห็นผิด ซึ่งไม่ตรงกับลักษณะของสภาพธรรมตามความเป็นจริง

    เพราะฉะนั้น สำหรับปัจจัยที่ ๑ โดยสหชาตปัจจัย โลภมูลจิตเกิดร่วมกับเจตสิก ๑๙ ดวง ต่างก็เป็นปัจจัยซึ่งกันและกัน และต้องเกิดพร้อมกัน จึงชื่อว่าโลภมูลจิต เป็นสหชาตปัจจัยแก่เจตสิกซึ่งเกิดร่วมด้วย และเจตสิกซึ่งเกิดกับโลภมูลจิตนั้น ก็เป็นสหชาตปัจจัยแก่โลภมูลจิต ไม่มีปัญหาสำหรับสหชาตปัจจัย เพราะว่าทราบอยู่แล้วว่า จิตกับเจตสิกต้องเกิดพร้อมกัน

    ต่อไป ปัจจัยที่ ๒ โดยสัมปยุตปัจจัย หมายถึงสภาพธรรมที่เป็นนามธรรม ซึ่งเป็นปัจจัยแก่สภาพธรรมที่เป็นนามธรรมด้วยกัน ในขณะที่เกิดร่วมกันเท่านั้น เพราะเหตุว่า เป็นสภาพธรรมที่เข้ากันได้สนิท จึงเป็นสัมปยุตตปัจจัย ที่เข้ากันได้สนิท ก็เพราะเหตุว่า เป็นสภาพธรรมที่เกิดพร้อมกัน ๑ ดับพร้อมกัน ๑ รู้อารมณ์เดียวกัน ๑ และสำหรับในภูมิที่มีขันธ์ ๕ ต้องเกิดที่รูปเดียวกันด้วย ๑ นี่แสดงให้เห็นว่าสภาพธรรมที่เข้ากันได้สนิทจริงๆ ซึ่งเป็นนามธรรม

    ถ้าเป็นรูปธรรม กับนามธรรม ไม่สามารถที่จะเข้ากันได้สนิท เพราะเหตุว่ารูปธรรมไม่ใช่สภาพรู้อารมณ์ นอกจากนั้นยังต้องหมายความถึง ที่เป็นสัมปยุตตปัจจัยนั้น ในขณะที่เกิดพร้อมกัน ไม่ใช่ในขณะเกิดต่างขณะกัน จิตดวงหนึ่งเกิดขึ้น มีเจตสิกเกิดร่วมด้วยเท่าไหร่ก็ตาม ทั้งจิตและเจตสิกนั้นเป็นสัมปยุตตปัจจัยซึ่งกันและกัน เพราะเหตุว่าเข้ากันได้สนิทในขณะที่เกิดร่วมกัน รู้อารมณ์เดียวกัน ดับพร้อมกัน และเกิดที่รูปเดียวกัน

    ถ้าโลภมูลจิตดวงนี้ดับไป แล้วก็มีจิตอื่นเกิดต่อ จะชื่อว่าสัมปยุตตปัจจัยได้ไหม ถ้าจิตขณะนี้เกิด เป็นโลภมูลจิต แล้วดับไป แล้วจิตขณะต่อไปก็เกิดเป็นโลภมูลจิต โลภมูลจิตขณะที่ ๑ กับโลภมูลจิตขณะที่ ๒ เป็นสัมปยุตตปัจจัยหรือเปล่า เป็นหรือไม่เป็น โลภมูลจิตขณะที่ ๑ ก็เป็นนามธรรม โลภมูลจิตขณะที่ ๒ ก็เป็นนามธรรม แต่โลภมูลจิตขณะที่ ๑ เป็นสัมปยุตตปัจจัยกับโลภมูลจิตขณะที่ ๒ หรือเปล่า เป็นหรือไม่เป็น ไม่เป็น

    นี่คือสิ่งที่จะต้องเข้าใจว่าในขณะจิตเดียวซึ่งเกิดขึ้น ยังไม่พูดถึงขณะต่อไปเลย เพียงในขณะจิตเดียวที่เกิดขึ้น จิตและเจตสิกเกิดพร้อมกันเป็นสหชาตปัจจัย ต่างอาศัยกันและกันเกิดขึ้นจริง แต่ต้องเกิดพร้อมกัน แต่นอกจากเป็นจะเป็นสภาพซึ่งเกิดพร้อมกันแล้ว ยังเป็นสัมปยุตตปัจจัย เพราะเหตุว่าเป็นนามธรรมซึ่งเกิดพร้อมกันในขณะนั้น รู้อารมณ์เดียวกันในขณะนั้น แล้วก็ถ้าเป็นในภูมิที่มีขันธ์ ๕ ต้องเกิดที่รูปเดียวกันในขณะนั้น แล้วก็ต้องดับไปพร้อมกันด้วย จึงจะเป็นสัมปยุตตปัจจัย เพราะฉะนั้น โลภมูลจิตดวงที่ ๑ ดับไป เป็นปัจจัยให้โลภมูลจิตดวงที่ ๒ เกิด แต่ไม่ใช่สัมปยุตตปัจจัย

    ปัจจัยที่ ๓ โดยอัญญมัญญปัจจัย ชื่อเป็นภาษาบาลี แต่ว่าลักษณะของสภาพธรรม ไม่ต้องมีชื่ออะไรก็ได้ แต่ว่าที่ต้องใช้ชื่อ เพื่อที่จะแสดงให้เห็นลักษณะของการเป็นปัจจัย ของธรรมที่อาศัยกันเกิดขึ้น ถ้าโดยอัญญมัญญปัจจัย หมายความว่าสภาพธรรมที่เป็นปัจจัย และสภาพธรรมที่เป็นปัจจยุปบันนธรรม ต่างก็อาศัยซึ่งกันและกัน หมายความว่า ในขณะที่โลภมูลจิตเกิด แล้วก็มีเจตสิกเกิดร่วมด้วย โลภมูลจิตเป็นอัญญมัญญปัจจัยของเจตสิกซึ่งเกิดร่วมด้วยทั้งหมด และเจตสิกซึ่งเกิดทั้งหมดนั้น ก็เป็นอัญญมัญญปัจจัยแก่โลภมูลจิต

    คือโลภมูลจิตต้องอาศัยเจตสิกที่เป็นปัจจยุปบันนธรรม และเจตสิกซึ่งเป็นปัจจยุปบันนธรรม ต้องอาศัยจิต ซึ่งเป็นปัจจัย ทั้งปัจจัยและปัจจยุปบันนธรรมต่างต้องอาศัยกันและกัน จึงเป็นอัญญมัญญปัจจัย เพราะเหตุว่า บางครั้งหรือบางขณะ หรือว่าบางสภาพธรรม ปัจจัยทำให้ปัจยุปบันนธรรมเกิด โดยที่ว่าปัจจัยนั้นไม่ได้อาศัยปัจจยุปบันนธรรมเลย เช่นจิตเป็นปัจจัยให้จิตชรูปเกิด ถูกไหม เพราะเหตุว่า รูปซึ่งเกิดจากรรมก็มี รูปซึ่งเกิดจากจิตก็มี รูปซึ่งเกิดจากอุตุก็มี รูปซึ่งเกิดจากอาหารก็มี ถ้ากล่าวถึงจิตชรูป หมายความว่ารูปนี้ต้องอาศัยจิตเป็นสมุฏฐาน จึงเกิดมีขึ้นได้ ถ้าไม่มีจิต จิตชรูปจะเกิดไม่ได้เลย อย่างคนที่ตายแล้วนี้ ไม่มีจิตชรูปอีกเลย เพราะเหตุว่าจิตไม่เกิด

    เพราะฉะนั้น ถ้าเป็นจิตชรูปแล้ว จะเกิดขึ้นได้ ต้องอาศัย เพราะจิตเกิดขึ้นในขณะนั้นเป็นสมุฏฐาน เป็นธรรมที่ก่อตั้งให้รูปเกิดขึ้น แต่จิตชรูป ไม่ได้เป็นที่อาศัยเกิดของจิต เพราะฉะนั้นจิตชรูปไม่ใช่อัญญมัญญปัจจัย แต่สำหรับจิตต้องอาศัยเจตสิกเกิด และเจตสิกต้องอาศัยจิตเกิด ต่างต้องอาศัยซึ่งกันและกัน เพราะฉะนั้น ต่างก็เป็นอัญญมัญญปัจจัยซึ่งกันและกัน

    นี่ก็เป็นธรรมดาในชีวิตประจำวัน เพียงแต่ว่าทรงแสดงให้ละเอียดขึ้นว่า สภาพธรรมแต่ละอย่างซึ่งอาศัยกันเกิดขึ้น เป็นปัจจัยโดยอย่างไรเท่านั้นเอง แต่ถ้าเข้าใจแล้ว ก็เป็นการทบทวน โดยสภาพของปัจจัยนั้นๆ ซึ่งชื่อเป็นภาษาบาลีจริง แต่ว่าสภาพธรรมก็คือสภาพธรรมตามปกติ แต่ว่าเป็นปัจจัยโดยปัจจัยอย่างไรบ้าง

    มีข้อสงสัยไหมในเรื่องนี้ อัญญมัญญปัจจัย เหมือนกับไม้ ๓ อัน ซึ่งต้องอาศัยกัน จึงตั้งอยู่ได้ ถ้าเอาอันหนึ่งอันใดออกไปเสีย ก็ไม่สามารถจะตั้งอยู่ได้ ฉันใด อัญญมัญญปัจจัย ก็ฉันนั้น ถ้าบอกว่า จิตเป็นอัญญมัญญปัจจัย ต้องรู้เลยว่าสิ่งซึ่งเป็นปัจจยุปปันน ที่จิตนั้นทำให้เกิด จิตต้องอาศัยปัจจยุปบันนนั้นด้วย มิฉะนั้นจะไม่ใช้คำว่าอัญมัญญปัจจัย หรือถ้ากล่าวว่า เจตสิกเป็นอัญญมัญญปัจจัย ก็จะต้องรู้ทันทีว่า เมื่อเป็นปัจจัย หมายความว่าเป็นสภาพธรรม ที่ทำให้สภาพธรรมอื่นเป็นปัจจยุปบันนเกิดขึ้น และสภาพของปัจจัยนั้น ต้องอาศัยปัจจยุปบันนด้วย จึงจะเป็นอัญญมัญญปัจจัยซึ่งกันและกัน

    นี่ก็ ๓ ปัจจัยแล้ว คือสหชาตปัจจัย ๑ สัมปยุตตปัจจัย ๒ อัญญมัญญปัจจัย ๓ ในขณะจิตเดียวเท่านั้น มีหลายปัจจัยที่จะทำให้สภาพธรรมนั้นเกิดขึ้นเป็นไปชั่วขณะเดียว ปัจจัยที่ ๔ คือโดยนิสสยปัจจัย ได้แก่ สภาพธรรมที่เป็นปัจจัยนั้น เป็นปัจจัยแก่ปัจจยุปบันนธรรม โดยเป็นที่อาศัยของปัจจยุปบันนธรรม คำว่า “นิสสัย” หมายความถึงที่อาศัย เพราะฉะนั้น จิตและเจตสิกทั้ง ๒ อย่าง ต่างก็เป็นนิสสยปัจจัยแก่กันและกัน เพราะเหตุว่าต้องอาศัยกัน

    ในภูมิที่มีขันธ์ ๕ เช่นในภูมินี้ จิตของทุกท่านนี้ ต้องอาศัยรูปเกิดขึ้น ไม่สามารถที่จะเกิดข้างนอกรูปร่างกายได้เลย เพราะฉะนั้น ในขณะที่โลภมูลจิตดวงที่ ๑ ซึ่งเป็นโสมนัสสหคตัง ทิฏฐิคตสัมปยุตตัง อสังขาริกัง เกิดขึ้น ลองพิจารณาดูว่า อะไรเป็นนิสสยปัจจัย เป็นที่อาศัยเกิดของโลภมูลจิตดวงนี้ ได้กล่าวถึงแล้วทั้งหมด ว่าจิตประเภทใดอาศัยรูปใดเกิด แต่ถ้ากล่าวถึงโลภมูลจิต ทุกคนมีโลภมูลจิต แต่ควรที่จะได้รู้ด้วยว่า เวลาที่โลภมูลจิตเกิด อาศัยรูปใดเป็นนิสสปัจจัย เป็นที่เกิด เป็นที่อาศัยเกิด พอที่จะทราบได้เองใช่ไหม ทางตาในขณะที่เห็น จักขุวิญญาณเกิดที่จักขุปสาท เพราะฉะนั้น จักขุปสาทเป็นนิสสยปัจจัย ที่อาศัยเกิดของจักขุวิญญาณ

    สำหรับโลภมูลจิต เวลาที่เห็นแล้วชอบนี้ โลภมูลจิตมีรูปใดเป็นนิสสยปัจจัย เป็นที่อาศัยเกิด รูปใด เป็นที่อาศัยเกิดของโลภมูลจิต โลภมูลจิตเกิดที่ไหน ต้องเกิดในตัวใช่ไหม เพราะฉะนั้นที่เกิดมีอยู่ ๖ จักขุปสาท ๑ เป็นที่เกิดของจักขุวิญญาณจิต ๒ ดวงที่กำลังเห็น โสตปสาทเป็นที่เกิดของโสตวิญญาณจิต ๒ ดวง ฆานปสาทเป็นที่เกิดของฆานวิญญาณจิต ๒ ดวง ชิวหาปสาทเป็นที่เกิดของชิวหาวิญญาณจิต ๒ ดวง กายปสาทเป็นที่เกิดของกายวิญญาณจิต ๒ ดวง เวลาที่เห็นหรือได้ยิน แล้วเกิดชอบพอใจ โลภมูลจิตนั้นเกิดที่รูปไหน ต้องมี

    ถาม หมายความว่าเกิดที่อายตนรูปไหนใช่ไหมครับ หมายความว่าขณะที่เป็น ตาเห็นก็เกิดในจักษุ

    อ.สุ แต่โลภมูลจิต เฉพาะขณะเดียวที่เกิดขึ้น มีรูปใดเป็นนิสสยปัจจัยเป็นที่อาศัยเกิด รูปเดียว คือรูปใด

    หทยวัตถุ

    นี่เป็นชีวิตประจำวันจริงๆ ที่จะเห็นได้ว่า การที่สภาพธรรมแต่ละครั้ง แต่ละประเภทจะเกิดขึ้น ถ้าสามารถจะรู้ ถึงที่เกิดด้วย ก็จะเห็นความต่างกันว่า จริง เห็นทางตา แล้วก็เกิดความพอใจขึ้น แต่ว่าโลภมูลจิตไม่ได้เกิดที่จักขุปสาท แต่เกิดที่หทยวัตถุ เพราะฉะนั้น หทยวัตถุเป็นนิสสยปัจจัยของโลภมูลจิต แล้วโลภมูลจิตเป็นนิสสยปัจจัยของหทยวัตถุหรือเปล่า ชีวิตประจำวันจริงๆ ถ้าจะศึกษาเรื่องของปัจจัย ก็มีเรื่องที่จะต้องพิจารณาศึกษาได้มากทีเดียวว่า เมื่อหทยวัตถุเป็นนิสสยปัจจัยให้เกิดโลภมูลจิต แล้วโลภมูลจิตเป็นนิสสยปัจจัยให้เกิดหทยวัตถุ หรือเปล่า ไม่เป็น เพราะเหตุว่าหทยวัตถุเป็นที่เกิดเท่านั้นเอง ในภูมิที่มีขันธ์ ๕ จิตจะต้องอาศัยรูปเป็นที่เกิด

    เวลาเห็นนี้ ชอบสิ่งที่ปรากฏทางตา ถ้าไม่มีจักขุปสาท ไม่พบเห็นสิ่งนั้น ย่อมไม่ชอบในสิ่งนั้นจริง แต่เวลาที่โลภมูลจิตเกิด ไม่ใช่จิตเห็น ซึ่งเกิดที่จักขุปสาท เพียงแต่อาศัยจักขุปสาท เป็นทวารที่จะให้เกิดความพอใจ เพราะฉะนั้น โลภมูลจิตเกิดที่หทยวัตถุ ในขณะที่จักขุวิญญาณเกิดที่จักขุปสาท นี่ก็แสดงให้เห็นถึงความรวดเร็ว และความเป็นปัจจัยของจิตที่ต่างขณะกัน ว่าแม้แต่การที่จะอาศัยรูปเกิดขึ้น ก็อาศัยรูปที่ต่างกันด้วย อาศัยจักขุปสาทเป็นทวารหรือเป็นทาง แต่ว่าโลภมูลจิตเกิดที่หทยวัตถุ แต่ถ้าเป็นจักขุวิญญาณจิต ต้องมีจักขุปสาทเป็นนิสสยปัจจัย คือเป็นที่อาศัย

    เพราะฉะนั้น ถ้าจะทราบความหมายในภาษาบาลีเพิ่มเติมไปเรื่อยๆ เช่นคำว่า “นิสสย” หมายความถึงที่อาศัย เพราะเหตุว่า ภาษาไทยเราอาจจะใช้คำว่านิสัย สำหรับ นิสสย แต่ในทางธรรมแล้ว “นิสสย” หมายความถึงที่อาศัย แม้แต่ทางพระวินัยนี้ พระภิกษุที่บวช ก็จะต้องถือนิสสัยกับพระอุปัชฌาอาจารย์ เพราะเหตุว่า จะต้องอาศัยคำสั่งสอนของท่าน ที่จะอบรม จนกว่าจะพ้นสภาพของการเป็นภิกษุใหม่ นั่นก็เป็นความหมายในทางธรรม เพราะฉะนั้น ถ้าพูดถึงนิสสยปัจจัย ก็รู้ได้ว่าจักขุปสาทที่มีนี้ เป็นที่อาศัย ที่เกิดของจักขุวิญญาณ แต่ว่าสำหรับโลภมูลจิตแล้ว เป็นนิสสยปัจจัยแก่นามธรรม คือเจตสิก แต่ไม่เป็นนิสสยปัจจัยแก่รูปธรรม เพาะเหตุว่าจักขุปสาทเกิดเพราะกรรมเป็นปัจจัย โสตปสาท ฆานปสาท ชิวหาปสาท กายปสาท เกิดขึ้นเพราะกรรมเป็นปัจจัย แม้หทยวัตถุก็เกิดขึ้นเพราะกรรมเป็นปัจจัย ไม่ใช่จิตตชรูป

    มีข้อสงสัยในเรื่องของนิสสยปัจจัยไหม อย่าลืมว่า การที่จะอาศัยเป็นได้ทั้งนามธรรมและรูปธรรม แต่ว่าถ้ากล่าวถึงโลภมูลจิตดวงที่ ๑ เป็นนิสสยปัจจัยหรือเปล่า เป็น เป็นนิสสยปัจจัยของอะไร ของเจตสิกซึ่งเกิดร่วมด้วย พร้อมกันนั้น เจตสิกซึ่งเกิดร่วมดับโลภมูลจิต ก็เป็นนิสสยปัจจัยของเจตสิกด้วย นี่คือปฏิจจสมุปบาท โดยนัยของปัจจยาการ ที่แสดงถึงว่า เมื่ออาศัยเกิดแล้วโดยปัจจัยอะไรด้วย

    ปัจจัยที่ ๕ คือ โดยอุปนิสสยปัจจัย ได้แก่สภาพธรรมที่เป็นที่อาศัยที่มีกำลัง แก่สภาพธรรมอื่นที่เกิดขึ้น แต่ว่าสำหรับอุปนิสสยปัจจัย นั้นเป็นสภาพที่เป็นปัจจัย โดยเป็นที่อาศัยที่มีกำลังแก่สภาพธรรมที่ไม่ได้เกิดพร้อมกัน นี้เป็นความต่างกัน อุปนิสสยปัจจัย ถ้าโดยการทบทวน ก็คงจะไม่ลืมว่ามี ๓ คืออารัมมณูปนิสสยํจจัย ๑ อนันตรูปนิสสยปัจจัย ๑ ปกตูปนิสสยปัจจัย ๑ โดยนัยของอารัมมณูปนิสสยปัจจัย โลภมูลจิตทิฏฐิคตสัมปยุตต์ เป็นที่อาศัยที่มีกำลัง โดยเป็นอารมณ์ของโลภมูลจิตขณะต่อๆ ไป ที่จะเกิดขึ้นข้างหน้า ถ้ามีความชอบใจ หรือมีความพอใจในความเห็นผิดอย่างไหน มักจะคิดถึงความเห็นผิดนั้นอีก แล้วก็มีความโน้มเอียงที่ต้องการ ที่พอใจ ที่ติด ที่ยึด ในความเห็นนั้นอีก นี่ก็เป็นของธรรมดา เพราะฉะนั้น โลภมูลจิตทิฏฐิคตสัมปยุตต์ที่เกิดขึ้นขณะหนึ่ง เป็นที่พอใจในความเห็นผิดนั้น ถึงแม้ว่าจะดับไปแล้วก็จริง แต่ก็ยังเป็นอารมณ์ที่จะทำให้โลภมูลจิตทิฏฐิคตสัมปยุตต์ เกิดต่อไปข้างหน้าได้

    สำหรับอนันตรูปนิสสยปัจจัย ก็โดยนัยเดียวกันกับอนันตรปัจจัย คือการดับไปของโลภมูลจิตดวงก่อนเป็นปัจจัย โดยเป็นที่อาศัยที่มีกำลัง ทำให้โลภมูลจิตดวงต่อไปเกิดสืบต่อในชวนวิถี และสำหรับดวงสุดท้าย ที่เป็นชวนวิถี ก็เป็นปัจจัยให้ตทาลัมพนะเกิด หรืวว่าภวังคจิตเกิด ตามวิถีจิตเท่านั้นเอง

    สำหรับโดยนัยของปกตูปนิสสยปัจัย เป็นที่อาศัยที่มีกำลังโดยปกติที่ได้กระทำ คือสะสมไว้ เป็นชีวิตประจำวันจริงๆ โลภมูลจิตขณะหนึ่งเกิดแล้ว ดับไปไม่สูญหาย สะสมสืบต่อในจิตดวงต่อๆ ไป เคยกระทำไว้ เคยคิดอย่างนั้น เคยเห็นอย่างนั้น เพราะฉะนั้น ก็เป็นการสะสมที่มีกำลังที่จะทำให้


    ฟังธรรมจากหัวข้อย่อย

    หมายเลข 5
    23 ส.ค. 2566

    ซีดีแนะนำ