นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทธสฺส
นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทธสฺส
นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทธสฺส
พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ
ธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิ
สงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ
•••..... ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย .....•••
--------------------
... สนทนาธรรมที่ ...
มูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา (มศพ.)
พระสูตร ที่จะนำมาสนทนาที่มูลนิธิฯ
วันเสาร์ที่ ๒๐ ตุลาคม ๒๕๖๑
คือ
จวนสูตร
(ว่าด้วยธรรมที่ทำให้มั่นคงและไม่มั่นคงในศาสนา)
จาก
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต เล่ม ๓๖ - หน้าที่ ๑๒
-------------------
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต เล่ม ๓๖ - หน้าที่ ๑๒
๘. จวนสูตร
(ว่าด้วยธรรมที่ทำให้มั่นคงและไม่มั่นคงในศาสนา)
[๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมเคลื่อน ไม่ตั้งมั่นในพระสัทธรรม ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุผู้ไม่มีศรัทธา ย่อมเคลื่อน ไม่ตั้งมั่นในพระสัทธรรม ภิกษุผู้ไม่มีหิริ ย่อมเคลื่อน ไม่ตั้งมั่น ในพระสัทธรรม ภิกษุผู้ไม่มีโอตตัปปะ ย่อมเคลื่อน ไม่ตั้งมั่นในพระสัทธรรม ภิกษุผู้เกียจคร้าน ย่อมเคลื่อน ไม่ตั้งมั่นในพระสัทธรรม ภิกษุผู้มีปัญญาทราม ย่อมเคลื่อน ไม่ตั้งมั่นในพระสัทธรรม ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมเคลื่อน ไม่ตั้งมั่นในพระสัทธรรม
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม๕ ประการ ย่อมไม่เคลื่อน ย่อมตั้งมั่นในพระสัทธรรม ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุผู้มีศรัทธา ย่อมไม่เคลื่อน ย่อมตั้งมั่นในพระสัทธรรม ภิกษุผู้มีหิริ ย่อมไม่เคลื่อน ย่อมตั้งมั่นในพระสัทธรรม ภิกษุผู้มีโอตตัปปะ ย่อมไม่เคลื่อน ย่อมตั้งมั่นในพระสัทธรรม ภิกษุผู้ปรารภความเพียร ย่อมไม่เคลื่อน ย่อมตั้งมั่นในพระสัทธรรม ภิกษุผู้มีปัญญา ย่อมไม่เคลื่อนย่อมตั้งมั่นในพระสัทธรรม
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมไม่เคลื่อน ย่อมตั้งมั่นในพระสัทธรรม
จบจวนสูตร ที่ ๘
อรรถกถาจวนสูตรที่ ๘
พึงทราบวินิจฉัยในจวนสูตรที่ ๘ ดังต่อไปนี้ :- บทว่า สทฺธมฺเม ได้แก่ ศาสนาสัทธรรม. บทว่า อสฺสทฺโธ ได้แก่ เป็นผู้เว้นจากศรัทธาแม้สองอย่าง คือ
โอกัปปนศรัทธา ศรัทธาแนบแน่น และ ปัจจักขศรัทธา ศรัทธาชัดแจ้ง.
บทว่า จวติ น ปติฏฺฐาติ ได้แก่ เคลื่อนจากคุณในศาสนานี้ ไม่สามารถดำรงอยู่ได้. ในสูตรนี้ตรัสทั้งดำรงอยู่ไม่ได้ ทั้งดำรงอยู่ได้.
จบอรรถกถาจวนสูตรที่ ๘
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ข้อความโดยสรุป
จวนสูตร*
(ว่าด้วยธรรมที่ทำให้มั่นคงและไม่มั่นคงในศาสนา)
พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดงว่า ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ เป็นผู้เคลื่อน ไม่ตั้งมั่นในพระสัทธรรม ได้แก่
๑. ไม่มีศรัทธา
๒. ไม่มีหิริ
๓. ไม่มีโอตตัปปะ
๔. เกียจคร้าน
๕. มีปัญญาทราม
และทรงแสดง ว่า ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ เป็นผู้ไม่เคลื่อน เป็นผู้ตั้งมั่นในพระสัทธรรม ได้แก่
๑. มีศรัทธา
๒. มีหิริ
๓. มีโอตตัปปะ
๔. ปรารภความเพียร
๕. มีปัญญา
(ตามข้อความที่ปรากฏในพระสูตร)
*หมายเหตุ จวนะ แปลว่า เคลื่อน ครับ
ขอเชิญคลิกศึกษาเพิ่มเติมได้ที่นี่ครับ
พระภิกษุ ต้องงดงามตามพระธรรมวินัย
ความหมายของคำว่า บวช
หิริ และ โอตตัปปะ [ธรรมสังคณีปกรณ์]
หิริโอตตัปปะ เป็นธรรมคุ้มครองโลก
ความเป็นบรรพชิต ถ้ารักษาไม่ดี มีแต่จะทำให้เกิดโทษ
ภิกษุต้องอาบัติ ถ้าไม่ปลงต้องตกนรกหรือไม่
พระทำผิดวินัยสงฆ์รับโทษอย่างไร
ลักษณะของทิฏฐิ กับ ปัญญา
พระสัทธรรม
โมฆบุรุษในโลกนี้ทำให้พระสัทธรรมเลือนหาย
ผู้ทำให้พระสัทธรรมเสื่อมและมั่นคง
สัทธรรม
สัทธรรมมีความหมายหลายนัย
...อนุโมทนาในกุศลจิตของทุก ๆ ท่านครับ...