จวนสูตร ... วันเสาร์ที่ ๒๐ ตุลาคม ๒๕๖๑
โดย มศพ.  16 ต.ค. 2561
หัวข้อหมายเลข 30174

นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทธสฺส
นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทธสฺส
นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทธสฺส

พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ
ธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิ
สงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ

•••..... ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย .....•••

... สนทนาธรรมที่ ...

มูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา (มศพ.)

พระสูตร ที่จะนำมาสนทนาที่มูลนิธิฯ

วันเสาร์ที่ ๒๐ ตุลาคม ๒๕๖๑

จาก

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต เล่ม ๓๖ - หน้าที่ ๑๒

๘. จวนสูตร

(ว่าด้วยธรรมที่ทำให้มั่นคงและไม่มั่นคงในศาสนา)
[๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมเคลื่อน ไม่ตั้งมั่นในพระสัทธรรม ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุผู้ไม่มีศรัทธา ย่อมเคลื่อน ไม่ตั้งมั่นในพระสัทธรรม ภิกษุผู้ไม่มีหิริ ย่อมเคลื่อน ไม่ตั้งมั่น ในพระสัทธรรม ภิกษุผู้ไม่มีโอตตัปปะ ย่อมเคลื่อน ไม่ตั้งมั่นในพระสัทธรรม ภิกษุผู้เกียจคร้าน ย่อมเคลื่อน ไม่ตั้งมั่นในพระสัทธรรม ภิกษุผู้มีปัญญาทราม ย่อมเคลื่อน ไม่ตั้งมั่นในพระสัทธรรม ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมเคลื่อน ไม่ตั้งมั่นในพระสัทธรรม

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม๕ ประการ ย่อมไม่เคลื่อน ย่อมตั้งมั่นในพระสัทธรรม ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุผู้มีศรัทธา ย่อมไม่เคลื่อน ย่อมตั้งมั่นในพระสัทธรรม ภิกษุผู้มีหิริ ย่อมไม่เคลื่อน ย่อมตั้งมั่นในพระสัทธรรม ภิกษุผู้มีโอตตัปปะ ย่อมไม่เคลื่อน ย่อมตั้งมั่นในพระสัทธรรม ภิกษุผู้ปรารภความเพียร ย่อมไม่เคลื่อน ย่อมตั้งมั่นในพระสัทธรรม ภิกษุผู้มีปัญญา ย่อมไม่เคลื่อนย่อมตั้งมั่นในพระสัทธรรม

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมไม่เคลื่อน ย่อมตั้งมั่นในพระสัทธรรม

จบจวนสูตร ที่ ๘

อรรถกถาจวนสูตรที่ ๘

พึงทราบวินิจฉัยในจวนสูตรที่ ๘ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า สทฺธมฺเม ได้แก่ ศาสนาสัทธรรม

บทว่า อสฺสทฺโธ ได้แก่ เป็นผู้เว้นจากศรัทธาแม้สองอย่าง คือ โอกัปปนศรัทธา ศรัทธาแนบแน่น และ ปัจจักขศรัทธา ศรัทธาชัดแจ้ง

บทว่า จวติ น ปติฏฺฐาติ ได้แก่ เคลื่อนจากคุณในศาสนานี้ ไม่สามารถดำรงอยู่ได้. ในสูตรนี้ตรัสทั้งดำรงอยู่ไม่ได้ ทั้งดำรงอยู่ได้

จบอรรถกถาจวนสูตรที่ ๘



ความคิดเห็น 1    โดย khampan.a  วันที่ 16 ต.ค. 2561

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ข้อความโดยสรุป

จวนสูตร *

(ว่าด้วยธรรมที่ทำให้มั่นคงและไม่มั่นคงในศาสนา)

พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดงว่า ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ เป็นผู้เคลื่อน ไม่ตั้งมั่นในพระสัทธรรม ได้แก่

๑. ไม่มีศรัทธา

๒. ไม่มีหิริ

๓. ไม่มีโอตตัปปะ

๔. เกียจคร้าน

๕. มีปัญญาทราม
และทรงแสดง ว่า ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ เป็นผู้ไม่เคลื่อน เป็นผู้ตั้งมั่นในพระสัทธรรม ได้แก่

๑. มีศรัทธา

๒. มีหิริ

๓. มีโอตตัปปะ

๔. ปรารภความเพียร

๕. มีปัญญา

(ตามข้อความที่ปรากฏในพระสูตร)

* หมายเหตุ จวนะ แปลว่า เคลื่อน ครับ

ขอเชิญคลิกศึกษาเพิ่มเติมได้ที่นี่ครับ

พระภิกษุ ต้องงดงามตามพระธรรมวินัย

ความหมายของคำว่า บวช

หิริ และ โอตตัปปะ [ธรรมสังคณีปกรณ์]

หิริโอตตัปปะ เป็นธรรมคุ้มครองโลก

ความเป็นบรรพชิต ถ้ารักษาไม่ดี มีแต่จะทำให้เกิดโทษ

ภิกษุต้องอาบัติ ถ้าไม่ปลงต้องตกนรกหรือไม่

พระทำผิดวินัยสงฆ์รับโทษอย่างไร

ลักษณะของทิฏฐิ กับ ปัญญา

พระสัทธรรม

โมฆบุรุษในโลกนี้ทำให้พระสัทธรรมเลือนหาย

ผู้ทำให้พระสัทธรรมเสื่อมและมั่นคง

สัทธรรม

สัทธรรมมีความหมายหลายนัย
...อนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...


ความคิดเห็น 2    โดย pulit  วันที่ 18 ต.ค. 2561

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ


ความคิดเห็น 3    โดย Nataya  วันที่ 19 ต.ค. 2561

กราบอนุโมทนาค่ะ


ความคิดเห็น 4    โดย chatchai.k  วันที่ 18 เม.ย. 2564

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น