ลักษณะของทิฏฐิ กับ ปัญญา


       ข้อความในอภิธัมมัตถวิภาวินีฎีกา อรรถกถาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริจเฉทที่ ๒ แสดงลักษณะที่ต่างกันของทิฏฐิกับปัญญา ซึ่งมีข้อความว่า

       ปัญญา คือ ญาณนั้นรู้อารมณ์ได้ตามสภาพที่เป็นจริง แต่ทิฏฐิ คือ ความ เห็นผิดนั้นละสภาพตามที่เป็นจริง   ถือเอาโดยสภาพที่ไม่จริง   เพราะฉะนั้น ทิฏฐิจึงมีลักษณะที่เชื่อมั่นอย่างผิดๆว่า  สิ่งนี้เท่านั้นจริง สิ่งอื่นเปล่า

       นี่เป็นความต่างกันของมิจฉาทิฏฐิและสัมมาทิฏฐิ ถ้าพูดถึงทิฏฐิเฉยๆ อาจ จะเป็นอกุศลก็ได้ หรืออาจจะเป็นกุศลก็ได้   เพราะฉะนั้นเวลาที่กล่าวถึงเรื่อง ของอกุศลธรรมและใช้คำว่า “ทิฏฐิ” ย่อมหมายความถึงมิจฉาทิฏฐิ แต่เวลาที่ กล่าวถึงกุศลธรรม  แล้วใช้คำว่า  “ทิฏฐิ”  ย่อมหมายความถึงสัมมาทิฏฐิ หรือ ปัญญา


    หมายเลข 7899
    18 ก.ค. 2558