ความบริสุทธิ์แต่ละประเภท - วิสุทธิที่ 5-2 ตอนที่ 6-8 [สนทนาธรรมกับชาวต่างชาติ]

 
wittawat
วันที่  10 ก.ค. 2562
หมายเลข  31023
อ่าน  688

อุปกิเลสที่ 1 เกิดขึ้นเนื่องจากแสงสว่าง สามารถที่จะเกิดขึ้นเมื่อวิปัสสนาญาณที่ 4 (ความรู้ชัดที่รู้การเกิดดับของนามและรูป) ได้ดับไป จิตอาจจะถึงระดับความสงบที่ปรุงแต่งให้แสงสว่างนั้นเกิดขึ้น เมื่อความติดข้องในแสงนั้น นั่นก็คือวิปัสนูกิเลส วิปัสนูกิเลสนี้จะทำให้การอบรมเจริญวิปัสสนาหยุดลง ผู้นั้นจะไม่ได้พิจารณาการเกิดขึ้นและดับไปของสิ่งที่มีอยู่จริงอีกต่อไป และไม่สนใจในลักษณะของความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และอนัตตา

อุปกิเลสที่ 2 เป็นความติดข้องในปัญญาที่รู้ชัดลักษณะของนามและรูป ที่เกิดขึ้นและดับไปอย่างรวดเร็ว ผู้นั้นติดข้องกับความรู้ชัดที่คมกล้าและเกิดขึ้นในตัวเขาประดุจดั่งสายฟ้าฟาด เนื่องด้วยอุปกิเลสนี้ ผู้นั้นจะไม่พิจารณาต่อไปในการเกิดขึ้นและดับไปของสภาพธรรมและอบรมเจริญความเข้าใจในสามัญลักษณะทั้ง 3

อุปกิเลสที่ 3 เป็นความติดข้องในปีติ คือความอิ่มใจพอใจ ในความเข้าใจถูกที่เกิดขึ้นและดับไปของธรรม

อุปกิเลสที่ 4 เป็นความติดข้องในความสงบ ที่เป็นอิสระจากความกระวนกระวายแห่งกาย (หมายถึง เจตสิก) และจิต ความหนักกายและจิต ความกระด้าง ความไม่ควรแก่การ ความไข้ ความคดของกายและจิต

อุปกิเลสที่ 5 เป็นความติดข้องในความรู้สึกสุขซึ่งประณีตอย่างยิ่งซ่านไปทั่วร่าง ซึ่งเกิดขึ้นด้วยวิปัสสนาญาณ

อุปกิเลสที่ 6 เป็นความติดข้องในศรัทธา ความมั่งคง และเลื่อมใสเชื่อมั่นที่เกิดขึ้นด้วยวิปัสสนาญาณ

อุปกิเลสที่ 7 เป็นความติดข้องในวิริยะที่ประคองไว้อย่างดี ไม่หย่อนไม่ตึง ซึ่งเกิดขึ้นด้วยวิปัสสนาญาณ

อุปกิเลสที่ 8 เป็นความติดข้องในสติที่มั่นคง ไม่หวั่นไหวที่เกิดขึ้นพร้อมกับวิปัสสนาญาณ

อุปกิเลสที่ 9 เป็นความติดข้องในอุเบกขา (ความเป็นกลาง การไม่ลำเอียง หวั่นไหว) ในสังขารธรรมทั้งปวง ซึ่งเกิดขึ้นเนื่องด้วยวิปัสสนาญาณ ผู้นั้นอาจจะติดข้องเมื่อปัญญาคมกล้าและเร็วดุจดั่งสายฟ้าฟาดเมื่อปัญญานั้นรู้ชัดการเกิดขึ้นและดับไปของอารมณ์ที่ปรากฏ

อุปกิเลสที่ 10 เกิดขึ้นเมื่อผู้นั้นพอใจในวิปัสสนาญาณที่รู้ชัดเจนตามความเป็นจริงในลักษณะของ นามและรูป [1]

เมื่อปัญญาคมกล้ายิ่งขึ้น จะรู้ชัดความซับซ้อนและความละเอียดของวิปัสนูกิเลส และปัญญาจะรู้ว่าวิปัสนูกิเลสเหล่านี้ต้องถูกละคลายไป ปัญญาพิจารณาว่าตราบเท่าที่อุปกิเลสยั้งเกิด หนทางที่ถูกต้องก็จะไม่ได้เจริญขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การละคลายแม้ความติดข้องที่ละเอียดยิ่งขึ้นในสิ่งที่มีจริงนั่นคือ ความบริสุทธิ์โดยความรู้ชัดเห็นชัดว่าสิ่งใดเป็นทางหรือไม่ใช่ทาง (มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ) ต่อจากนั้นสามารถที่จะมีวิปัสสนาญาณที่ 4 ความรู้ชัดในนามและรูปที่เกิดดับ ขณะที่ผู้นั้นอบรมเจริญวิปัสสนาญาณซึ่งปราศจากวิปัสสนูกิเลส

ข้อความนี้แปลจาก...Different Kinds of Purity - 5th Purity - 2

อ่านตอนอื่นๆ ...กดลิ้งค์

1. วิสุทธิที่ 1.....กดลิ้งค์
2. วิสุทธิที่ 2.....กดลิ้งค์
3. วิสุทธิที่ 3.....กดลิ้งค์
4. วิสุทธิที่ 4.....กดลิ้งค์
5. วิสุทธิที่ 5-1.....กดลิ้งค์
6. วิสุทธิที่ 5-2.....กดลิ้งค์
7. วิสุทธิที่ 6.....กดลิ้งค์
8. วิสุทธิที่ 7.....กดลิ้งค์

-----------------------------------------------------------

[1] วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๓ ตอน ๒ (ตอนจบ) - หน้าที่ 120 แสดงว่า วิปัสนูปกิเลส 10 นี้ วิปัสนูปกิเลส (9) มิโอภาสเป็นต้น ท่านเรียกว่าอุปกิเลส เพราะเป็นวัตถุ (คือเป็นที่ตั้งที่เกิด) เพราะไม่ใช่อกุศล ส่วนนิกันติ หรือความพอใจในวิปัสสนานี้เป็น (ตัว) อุปกิเลสด้วย เป็นวัตถุแห่งอุปกิเลสด้วย ด้วยสามารถแห่งคาหะ หรือการถือ (ความยึดถือโดยตัณหา มานะ ทิฏฐิ ในวิปัสนูกิเลสทั้ง 10)


เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ