ปฏิบัติบูชา สามารถดำรงพระศาสนาไว้ได้

 
pirmsombat
วันที่  19 พ.ย. 2550
หมายเลข  5594
อ่าน  1,816

จริงอยู่ ชื่อว่าอามิสบูชานั้นไม่สามารถจะดำรงพระศาสนา แม้ในวันหนึ่งบ้าง แม้ชั่วดื่มข้าวยาคูครั้งหนึ่งบ้าง. จริงอยู่ วิหารพันแห่ง เช่น มหาวิหาร เจดีย์พันเจดีย์ เช่น มหาเจดีย์ ก็ดำรงพระศาสนาไว้ไม่ได้. บุญู ผู้ใดทำไว้ก็เป็นของผู้นั้นผู้เดียว. ส่วนสัมมาปฏิบัติ ชื่อว่าเป็นบูชาที่สมควรแก่พระตถาคต เป็นความจริง ปฏิบัติบูชานั้นชื่อว่าดำรงอยู่แล้วสามารถดำรงพระศาสนาไว้ได้ด้วย เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงแสดงปฏิบัติบูชานั้น จึงตรัสว่า โย โข อานนฺท เป็นต้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสรรเสริญว่า "ปฏิบัติบูชา" ประเสริฐกว่า "อามิสบูชา"


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
orawan.c
วันที่ 20 พ.ย. 2550

ขออนุโมทนา และเห็นด้วยเป็นอย่างยิ่ง

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
wannee.s
วันที่ 20 พ.ย. 2550

พระพุทธเจ้าตรัสว่า ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นชื่อว่าเห็นเราตถาคต

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
pornthip.d
วันที่ 20 พ.ย. 2550

ผู้ใดที่มีความเข้าใจถูกความเห็นถูกต่อการปฏิบัติบูชา ย่อมต้องมีความเข้าใจถูกความเห็นถูกต่อการปฏิบัติอามิสบูชามาแล้ว ถึงจะกำลังตั้งใจในปฏิบัติบูชา อามิสบูชาก็เป็นเครื่องหมายว่าปฏิบัติบูชาถูกต้องเพียงไร

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
ฟังธรรมonline
วันที่ 20 พ.ย. 2550
 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
ฟังธรรมonline
วันที่ 20 พ.ย. 2550
 
  ความคิดเห็นที่ 6  
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
pirmsombat
วันที่ 21 พ.ย. 2550

ขออนุโมทนาครับผมสงสัยการบูชาพระธาตุ ว่าควรจะบูชายังไงครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
study
วันที่ 21 พ.ย. 2550

การบูชาพระธาตุด้วยศรัทธามีหลายรูปแบบ เช่นบูชาด้วยสีสวยๆ มีดอกไม้หรือด้วยธงผ้าที่สวยงามก็ได้บูชาด้วยเสียง เป่าสังข์ ตีกลอง ขับร้อง บูชาด้วยกลิ่นหอม เครื่องหอมทั้งหลายบูชาด้วยการจุดประทีป ให้แสงสว่างบูชาด้วยการกราบไหว้ด้วยความนอบน้อม บูชาด้วยการดูแลความสะอาดพื้นที่ก็ได้

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
pirmsombat
วันที่ 21 พ.ย. 2550

ขออนุโมทนา และ ขอบคุณมากครับการบูชาพระธาตุที่ผมมีอยู่ที่บ้าน

ด้วยสัทธา ด้วยการกราบไหว้ด้วยดวามเคารพ นอบน้อมและหมั่นดูแลความสะอาด จะเป็นเหตุให้บังเกิดในสวรรค์ ไหมครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
jurairat
วันที่ 23 พ.ย. 2550

ขออนุโมทนาค่ะ

เพราะจิตที่เป็นกุศลย่อมพาไปสู่สุคติ แต่นั่นไม่ใช่จุดมุ่งหมายสุดท้ายของชาวพุทธ เมื่อจิตเปี่ยมด้วยสัทธาอยู่แล้วและมีความนอบน้อมในพระรัตนตรัย ควรอย่างยิ่งที่จะฟังธรรมให้เข้าใจในธรรมเพื่อผลแห่งปัญญา สุดท้ายไม่ต้องเกิดอีก เพราะการเกิดเป็นทุกข์แม้เกิดในสวรรค์ก็เป็นทุกข์ ที่สวรรค์ก็มีเห็นมีได้ยินมีได้กลิ่นมีลิ้มรส และมีกระทบสัมผัส เพราะเป็นกามภูมิเช่นเดียวกับมนุษยภูมิ มีกามคุณ ๕ ปรากฎ คือ รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัสทางกาย ถ้าเป็นผู้เจริญสติปัฏฐานเป็นปรกติ ย่อมเจริญปัญญา ต่อยอดได้อีกเมื่ออยู่บนสวรรค์หรือที่โลกมนุษย์เมื่อได้ฟังพระธรรมอีก อยู่บนสวรรค์ผู้ที่ยังมีกิเลสย่อมมีโลภะ โทสะและโมหะซึ่งเป็นโทษเกิดอีกได้ และเมื่อจุติจิตเกิดบนสวรรค์ (จิตดวงสุดท้ายทำกิจเคลื่อน) อาจไปปฏิสนธิในอบายภูมิเลยก็ย่อมได้ เพราะทุกอย่างเป็นอนัตตา น่าเสี่ยงที่จะเกิดแล้วเกิดอีกหรือไม่ หากเป็นพระโสดาบันเมื่อใด จะเกิดได้อีกไม่เกิน ๗ ชาติและปิดประตูอบายภูมิสนิท เมื่อทำบุญทำกุศลแล้วไม่ต้องหวังในผลแห่งบุญนั้น เพราะทำเหตุไว้ดีต้องได้รับผลดีแน่ นอน

สาธุ..สาธุ..สาธุ

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
แช่มชื่น
วันที่ 23 พ.ย. 2550

ถ้าเหตุมีผลย่อมสมควรแก่เหตุครับ ในแสนโกฏิกัปป์มาแล้ว แม้แต่พระโพธิสัตว์ก็ได้กำเนิดเป็นดิรัจฉานมาก่อน เราหนีกรรมไม่พ้นแน่นอน ขึ้นอยู่กับว่ากรรมใดจะอุปถัมภ์ กรรมใดจะเบียดเบียน หรือกรรมใดจะตัดรอน เราไม่อาจจะรู้อนาคตล่วงหน้าได้เลย จึงควรเป็นผู้ไม่ประมาทครับ

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
อิสระ
วันที่ 26 พ.ย. 2550
ขออนุโมทนาครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 13  
 
chatchai.k
วันที่ 9 พ.ค. 2564

ขออนุโมทนาครับ 

 
  ความคิดเห็นที่ 14  
 
yu_da2554hotmail
วันที่ 29 ส.ค. 2565

ขออนุโมทนาค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ