การเคารพและบูชาอย่างยิ่งคืออย่างไร [มหาปรินิพพานสูตร]

 
เจตสิก
วันที่  11 ส.ค. 2549
หมายเลข  1804
อ่าน  2,535

[เล่มที่ 13] พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 307

....ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งกะท่านพระอานนท์ว่า ดูก่อนอานนท์ ไม้สาละทั้งคู่ เผล็ดดอกบานสะพรั่งนอกฤดูกาล ร่วงหล่นโปรยปรายลงยังพระสรีระของพระตถาคตเพื่อบูชาพระตถาคต แม้ดอกมณฑารพอันเป็นของทิพย์ แม้จุณแห่งจันทน์อันเป็นของทิพย์ แม้ดนตรีอันเป็นทิพย์เล่า แม้สังคีตอันเป็นทิพย์ ย่อมเป็นไปในอากาศ เพื่อบูชาพระตถาคต

ดูก่อนอานนท์ พระตถาคตจะชื่อว่าอันบริษัทสักการะ เคารพ นับถือ บูชานอบน้อมด้วยเครื่องสักการะประมาณเท่านี้หามิได้ ผู้ใดแลจะเป็นภิกษุ ภิกษุณี อุบาสกหรืออุบาสิกาก็ตาม เป็นผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ปฏิบัติชอบ ประพฤติตามธรรมอยู่ ผู้นั้นย่อมชื่อว่าสักการะ เคารพ นับถือ บูชา ด้วยการบูชาอย่างยิ่ง เพราะเหตุนั้นแหละ อานนท์ พวกเธอพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักเป็นผู้ปฏิบัติธรรม สมควรแก่ธรรม ปฏิบัติชอบ ประพฤติตามธรรมอยู่


  ความคิดเห็นที่ 2  
 
Niranya
วันที่ 11 ส.ค. 2549

อนุโมทนา ค่ะ

* เราย่อมทราบชัดซึ่งสิ่งที่โลกสมมุติว่าเลิศ ทั้งรู้ชัดยิ่งกว่านั้นและไม่ยึดมั่นความรู้ชัดนั้นด้วย เมื่อไม่ยึดมั่นจึงทราบความดับได้เฉพาะตน ฉะนั้นตถาคตจึงไม่ทุกข์

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
คนรักหนัง
วันที่ 11 ส.ค. 2549

ขอทราบความหมายของ ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ด้วยครับ เพราะเคยทราบมาว่า ธัมมานุธัมมะปฏิปัตติ คือ ถึงเฉพาะสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ จะ "ถึง" อย่างไร

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
saowanee.n
วันที่ 11 ส.ค. 2549

ถ้าไม่รู้ว่า ธรรมคืออะไร ก็ยัง "ถึง" ไม่ได้หรอกค่ะ การจะกระทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดก็ต้องมีจุดเริ่มต้นใช่มั้ยคะ ขอให้เริ่มต้นจากการศึกษาพระธรรมให้เข้าใจก่อนดีกว่าค่ะ ว่า "ธรรม" คืออะไร

ส่วนคำว่า "ธัมมานุธัมมะปฏิปัตติ" แปลว่า ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม หมายถึง การปฏิบัติธรรมเพื่อถึงโลกุตรธรรม ๙ ค่ะ

เข้ามาร่วมสนทนากันบ่อยๆ นะคะ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
คนรักหนัง
วันที่ 11 ส.ค. 2549

ขอบคุณมากครับ คุณ เสาวณีย์ แล้ว "ธรรม" หรือ "ธัมมะ" จะหมายถึง คำสอนของพระพุทธเจ้า ใช่หรือไม่ ครับ ถ้าใช่ ปฏิบัติธรรม ก็คือ กระทำตามคำสอนของพระพุทธเจ้า?

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
saowanee.n
วันที่ 13 ส.ค. 2549

"ธรรม" หมายถึงทุกสิ่งทุกอย่างที่มีจริง ไม่ว่าจะเรียกชื่ออย่างไร สภาพนั้นก็ไม่เปลี่ยนเป็นเช่นไรก็เป็นเช่นนั้น ไม่ว่าจะปรากฎกับใคร ที่ไหนก็ตาม ความจริงเช่นนี้จึงเป็น"อริยสัจจ์" ซึ่งเป็นสิ่งที่พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ การปฏิบัติธรรมจึงเป็นการศึกษาเพื่อให้รู้ให้เข้าใจถึงสภาพความจริงดังกล่าวค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
คนรักหนัง
วันที่ 13 ส.ค. 2549
ขอบพระคุณ และอนุโมทนาครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 14 ก.ย. 2550

ขณะนี้ปฏิบัติไหม ธรรมปฏิบัติ ตามระดับกุศลและปัญญา ปฏิบัติบูชา ดีจัง

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
suwit02
วันที่ 17 ธ.ค. 2551

สาธุ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
chatchai.k
วันที่ 16 พ.ย. 2563

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
chatchai.k
วันที่ 12 มิ.ย. 2564

ขอเชิญอ่านเพิ่มเติม...

มหาปรินิพพานสูตร

ขอเชิญรับฟัง...

มหาปรินิพพานสูตร

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ