ทุติยสูตร ... วันเสาร์ที่ ๑ มิถุนายน ๒๕๖๒

 
มศพ.
วันที่  28 พ.ค. 2562
หมายเลข  30893
อ่าน  643

นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทธสฺส
นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทธสฺส
นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทธสฺส

พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ
ธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิ
สงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ

•••..... ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย .....•••

สนทนาธรรมที่ ...

มูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา (มศพ.)

พระสูตร ที่จะนำมาสนทนาที่มูลนิธิฯ

วันเสาร์ที่ ๑ มิถุนายน ๒๕๖๒

เวลา ๐๙.๐๐ - ๑๒.๐๐ น.

คือ

ทุติยสูตร

จาก ...

[เล่มที่ 24] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ หน้าที่ ๒๘๑

๙. ทุติยสูตร

[๑๗๔] เทวดาทูลถามว่า

อะไรหนอเป็นเพื่อนของคน อะไรหนอย่อมปกครองคนนั้น และสัตว์ยินดีในอะไรจึงพ้นจากทุกข์ทั้งปวงได้

[๑๗๕] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า ศรัทธาเป็นเพื่อนของคน ปัญญาย่อมปกครองคนนั้น สัตว์ยินดีในพรนิพพานจึงพ้นจากทุกข์ทั้งปวงได้

จบทุติยสูตร

อรรถกถาทุติยสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในทุติยสูตรที่ ๙ ต่อไป :-

บทว่า กิสฺส จาภิรโต แปลว่า ยินดีในอะไร

บทว่า ทุติยา แปลว่า เป็นเพื่อนของผู้ไปสู่สวรรค์และพระนิพพาน

บทว่า ปญฺา เจนํ ปสาสติ อธิบายว่า ปัญญา ย่อมแนะนำว่า เจ้าจงกระทำสิ่งนี้ อย่ากระทำสิ่งนี้กะคนนั้น ดังนี้

จบอรรถกถาทุติยสูตรที่ ๙


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
khampan.a
วันที่ 28 พ.ค. 2562

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ข้อความโดยสรุป

ทุติยสูตร

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสตอบคำถามที่เทวดาทูลถาม ดังนี้

อะไรหนอเป็นเพื่อนของคน

[ศรัทธาเป็นเพื่อนของคน]

อะไร
หนอย่อมปกครองคนนั้น

[ปัญญาย่อมปกครองคนนั้น]

และสัตว์ยินดี
ในอะไรจึงพ้นจากทุกข์ทั้งปวงได้

[สัตว์ยินดีในพระนิพพานจึงพ้นจากทุกข์ทั้งปวงได้]

(ตามข้อความที่ปรากฏในพระสูตร)

ขอเชิญศึกษาเพิ่มเติมได้ที่หัวข้อด้านล่างนี้ครับ

อะไรเป็นเครื่องปกครองคน?

ปัญหามาจากอกุศล

ฟังอย่างอื่นยังฟังได้ แล้วทำไมจะฟังพระธรรมไม่ได้

ชีวิตสั้นมาก ไม่มีอะไรมีค่าเท่ากับความเข้าใจธรรม

ลักษณะของศรัทธา

ศรัทธาเป็นเพื่อนสองของคน

พระนิพพานมีความสงบ เป็นลักษณะ

นิพพานปรมัตถ์

...อนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
papon
วันที่ 30 พ.ค. 2562

ขอบพระคุณและขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
chatchai.k
วันที่ 17 เม.ย. 2564

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ