จุนทิสูตร ... วันเสาร์ที่ ๑๖ มิถุนายน ๒๕๕๕

 
มศพ.
วันที่  10 มิ.ย. 2555
หมายเลข  21242
อ่าน  2,041

นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทธสฺสพุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ

ธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิ
สงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ•••..... ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย .....•••
... สนทนาธรรมที่ ...


มูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา (มศพ.)

พระสูตร ที่จะนำมาสนทนาที่มูลนิธิฯ

วันเสาร์ที่ ๑๖ มิถุนายน ๒๕๕๕ เวลา ๐๙.๐๐ - ๑๒.๐๐ น. คือ

จุนทิสูตร

(ว่าด้วยสิ่งที่อำนวยผลเลิศ)

จาก...พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ ๖๙

(ภาพแสดงบรรยากาศการสนทนาธรรมที่มูลนิธิฯ ในวันเสาร์ที่ ๒๖ พ.ค. ๒๕๕๕)

...นำสนทนาโดย...


ท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์
และคณะวิทยากร

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ ๖๙

จุนทิสูตร

(ว่าด้วยสิ่งที่อำนวยผลเลิศ)

[๓๒] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเวฬุวันกลันทก

นิวาปสถานใกล้กรุงราชคฤห์ ครั้งนั้นแล ราชกุมารีพระนามว่าจุนที แวดล้อมด้วยรถ

๕๐๐ คัน และกุมารี ๕๐๐ คน เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับถวายบังคม

แล้วประทับนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ได้กราบทูลว่าข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ

ราชกุมารพระนามว่าจุนทะ พระภาดาของหม่อมฉัน กล่าวอย่างนี้ว่า หญิงหรือชาย

เป็นผู้ถึงพระพุทธเจ้าเป็นสรณะ ถึงพระธรรมเป็นสรณะ ถึงพระสงฆ์เป็นสรณะ เว้น

ขาดจากปาณาติบาต เว้นขาดจากอทินนาทาน เว้นขาดจากกาเมสุมิจฉาจาร เว้น

ขาดจากมุสาวาท เว้นขาดจากการดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัย อันเป็นที่ตั้งแห่งความ

ประมาท ผู้นั้นตายไปแล้วย่อมเข้าถึงสุคติอย่างเดียว ไม่เข้าถึงทุคติ ดังนี้ หม่อม

ฉันจึงขอทูลถามว่าผู้ที่เลื่อมใสในศาสดาเช่นไร เมื่อตายไปแล้วจึงเข้าถึงสุคติอย่าง

เดียว ไม่เข้าถึงทุคติ ผู้ที่เลื่อมใสในธรรมเช่นไร เมื่อตายไปแล้วจึงเข้าถึงสุคติ

อย่างเดียวไม่เข้าถึงทุคติ ผู้ที่เลื่อมใสในสงฆ์เช่นไร เมื่อตายไปแล้วจึงเข้าถึงสุคติ

อย่างเดียวไม่เข้าถึงทุคติ ผู้ที่ทำให้บริบูรณ์ในศีลเช่นไร เมื่อตายไปแล้ว จึงเข้าถึง

สุคติอย่างเดียว ไม่เข้าถึงทุคติ.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสว่า ดูก่อนจุนที สัตว์ที่ไม่มีเท้าก็ดี มี ๒ เท้าก็ดี

มี ๔ เท้าก็ดี มีเท้ามากก็ดี มีรูปก็ดี ไม่มีรูปก็ดี มีสัญญาก็ดี ไม่มีสัญญาก็ดี มีสัญญา

ก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่ก็ดี มีประมาณเท่าใด พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า

บัณฑิตกล่าวว่าเลิศกว่าสัตว์เหล่านั้น ชนเหล่าใดเลื่อมใสในพระพุทธเจ้า ชนเหล่า

นั้นชื่อว่าเลื่อมใสในสิ่งที่เลิศ ก็วิบากอันเลิศย่อมมีแก่บุคคลที่เลื่อมใสในสิ่งที่เลิศ

ธรรมที่เป็นปัจจัยปรุงแต่งก็ดี ที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่งก็ดี มีประมาณเท่าใด วิราคะ

คือ ธรรมอันย่ำยีความเมากำจัดความกระหาย ถอนเสียซึ่งอาลัย เข้าไปตัดวัฏฏะ

เป็นที่สิ้นตัณหาเป็นที่คลายกำหนัด เป็นที่ดับ นิพพาน บัณฑิตกล่าวว่าเลิศกว่า

ธรรมเหล่านั้น ชนเหล่าใดเลื่อมใสในวิราคธรรม ชนเหล่านั้นชื่อว่าเลื่อมใสในสิ่งที่

เลิศ ก็วิบากอันเลิศย่อมมีแก่บุคคลผู้เลื่อมใสในสิ่งที่เลิศ

หมู่ก็ดี คณะก็ดี มีประมาณเท่าใดสงฆ์สาวกของพระตถาคต คือ คู่แห่งบุรุษ ๔

บุรุษบุคคล ๘ นี้สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นผู้ควรของคำนับ เป็นผู้

ควรของต้อนรับ เป็นผู้ควรของทำบุญ เป็นผู้ควรทำอัญชลี เป็นนาบุญของโลกไม่มี

นาบุญอื่นยิ่งกว่าบัณฑิตกล่าวว่าเลิศกว่าหมู่หรือคณะเหล่านั้น ชนเหล่าใดเลื่อมใส

ในสงฆ์ ชนเหล่านั้นชื่อว่าเลื่อมใสในสิ่งที่เลิศ ก็วิบากอันเลิศย่อมมีแก่บุคคลผู้ที่

เลื่อมใสในสิ่งที่เลิศ

ศีลมีประมาณเท่าใด ศีลที่พระอริยเจ้าใคร่แล้ว คือ ศีลที่ไม่ขาดไม่ทะลุ ไม่ด่าง

ไม่พร้อย เป็นไท อันวิญญูชนสรรเสริญ อันตัณหาและทิฏฐิไม่ลูบคลำ เป็นไปเพื่อ

สมาธิ บัณฑิตกล่าวว่าเลิศกว่าศีลเหล่านั้น ชนเหล่าใด ย่อมทำให้บริบูรณ์ในอริยกันต-

ศีล ชนเหล่านั้นชื่อว่าทำให้บริบูรณ์ในสิ่งที่เลิศ ก็วิบากอันเลิศ ย่อมมีแก่บุคคลผู้ทำ

ให้บริบูรณ์ในสิ่งที่เลิศ.

พระคาถา

สิ่งที่เลิศ คือ อายุ วรรณะ เกียรติยศ

สุขและกำลัง ย่อมเจริญ แก่บุคคลผู้

รู้แจ้งธรรมที่เลิศ เลื่อมใสในสิ่งที่เลิศ คือ

เลื่อมใสในพระพุทธเจ้าผู้เลิศ ผู้เป็นทักขิ-

ไณยบุคคลชั้นเยี่ยม เลื่อมใสในพระธรรม

ที่เลิศ อันปราศจากราคะ เป็นที่เข้าไปสงบ

เป็นสุข เลื่อมใสในพระสงฆ์ผู้เลิศ เป็น

นาบุญชั้นเยี่ยม ให้ทานในสิ่งที่เลิศ

ปราชญ์ผู้ถือมั่นธรรมที่เลิศ ให้สิ่งที่เลิศ

เป็นเทวดาหรือมนุษย์ ย่อมถึงสถานที่เลิศ

บันเทิงใจอยู่.

จบจุนทิสูตรที่ ๒.

อรรถกถาจุนทิสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในจุนทิสูตรที่ ๒ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า ปญฺจหิ รถสเตหิ ความว่า เจ้าหญิงจุนทีเสวยพระกระยาหารเช้าแล้ว

เสด็จเข้าเฝ้าพระชนก ให้จัดรถ ๕๐๐ คัน มีรถเหล่านั้นแวดล้อมแล้ว.บทว่า อุปสงฺกมิ

ความว่า เจ้าหญิงจุนที ดำริว่า เราจักทูลถามข้อสนทนาปัญหาที่เราให้เป็นไปกับ

พระเชษฐภาดา [เจ้าชายจุนทะ] ดังนี้ ถือของหอมดอกไม้และจุณเป็นต้น แล้วจึง

เข้าไปเฝ้า. บทว่า อเทว โส โหติ ได้แก่เมื่อใดผู้นั้น. อีกอย่างหนึ่ง ผู้นั้นใด. บทว่า

อริยกนฺตานิ สีลานิ ได้แก่ ศีลสัมปยุตด้วยมรรคและผล. ก็ศีลเหล่านั้นเป็นศีล

อันน่าใคร่ของพระอริยะทั้งหลาย เพราะฉะนั้น จึงไม่ละแม้ในภพอื่น. บทที่เหลือพึง

ทราบแม้โดยนัยที่ท่านกล่าวไว้แล้วในอัคคัปปสาทสูตร จตุกกนิบาต.

จบอรรถกถาจุนทิสูตรที่ ๒.


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
khampan.a
วันที่ 10 มิ.ย. 2555

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ข้อความโดยสรุป

จุนทิสูตร

(ว่าด้วยสิ่งที่อำนวยผลเลิศ)

เมื่อครั้งที่พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ที่พระเวฬุวัน พระราชกุมารี พระนามว่าจุนที

ปรารภพระดำรัสที่พระราชกุมารพระนามว่าจันทะตรัสว่า บุคคลผู้ที่มีพระรัตนตรัยเป็นที่

พึ่ง มีศีล ๕ เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติ ไม่เข้าถึงทุคติ จึงได้เข้าไปเฝ้ากราบทูล

ถามพระองค์ ว่า บุคคลผู้เลื่อมใสในศาสดาเช่นใด เมื่อตายไปย่อมเข้าถึงสุคติ ไม่

เข้าถึงทุคติ บุคคลผู้เลื่อมใสในธรรมเช่นใด เมื่อตายไปย่อมเข้าถึงสุคติ ไม่เข้าถึงทุคติ

บุคคลผู้เลื่อมใสในหมู่คณะเช่นใด เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติ ไม่เข้าถึงทุคติ

บุคคลผู้ที่กระทำให้บริบูรณ์ในศีลเช่นใด เมื่อตายไปย่อมเข้าถึงสุคติ ไม่เข้าถึงทุคติ

พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสตอบว่า ในบรรดาสัตว์โลกทั้งหลาย นั้น พระพุทธเจ้าทรง

เลิศกว่าสัตว์เหล่านั้น บุคคลผู้เลื่อมใสในพระพุทธเจ้าซึ่งเป็นบุคคลผู้เลิศ ย่อมได้รับ

วิบากที่เลิศ คือ อายุ วรรณะ เกียรติยศ สุขและกำลัง

ในบรรดาธรรมที่มีปัจจัยปรุงแต่งและไม่มีปัจจัยปรุงแต่งนั้น วิราคธรรม (พระนิพพาน)

เป็นเลิศ บุคคลผู้เลื่อมใสในวิราคธรรมซึ่งเป็นสิ่งที่เลิศ ย่อมได้รับวิบากที่เลิศ

ในบรรดาหมู่คณะทั้งหลาย นั้น สงฆ์สาวกของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นเลิศ

บุคคลผู้เลื่อมใสในสงฆ์สาวกของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งเป็นสิ่งที่เลิศ ย่อม

ได้รับวิบากที่เลิศ

ในบรรดาศีลทั้งหลายนั้น อริยกันตศีล (ศีลที่พระอริยเจ้าใคร่ ซึ่งเป็นศีลที่ประกอบ

ด้วยมรรคและผล) เป็นเลิศ บุคคลทำให้บริบูรณ์ในศีลซึ่งเป็นสิ่งที่เลิศ ย่อมได้รับวิบาก

ที่เลิศ.

ขอเชิญคลิกอ่านข้อความเพิ่มเติมได้ที่นี่ครับ

พระพุทธเจ้า

วิราคธรรม ประเสริฐกว่าธรรมทั้งหลาย

พระอริยบุคคลมี ๔ ขั้น อริยบุคคล อริยสาวก พระอริยบุคคล เป็นผู้ประกอบด้วยอริยกันตศีลทั้งหลาย

กลันทกนิวาปสถาน

...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
paderm
วันที่ 10 มิ.ย. 2555

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

อธิบายจุนทิสูตร

ความเลื่อมใสในพระพุทธ ในพระธรรม และในพระสงฆ์ จะเกิดขึ้นมีได้ จนถึงความ

มั่นคงไม่หวั่นไหว ก็ด้วยอาศัยการฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรมที่ถูกต้อง เมื่อได้ฟังพระ

ธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงและเกิดปัญญา ความเข้าใจ ศรัทธา ความเลื่อมใส ย่อม

เกิดจากความเข้าใจในพระธรรมเพิ่มขึ้น คือ มีศรัทธา เลื่อมใสในพระพุทธเจ้า ว่า

พระองค์แสดงธรรมดีแล้ว เป็นต้น เลื่อมใสในพระธรรม ว่า พระธรรมที่พระพุทธองค์

ทรงแสดง สามารถละ ขัดเกลากิเลส และทำให้เกิดปัญญาได้เพราะตนเองเกิดปัญญา

ความเข้าใจในพระธรรม และ เลื่อมใสในธรรมที่ปราศจากกิเลส คือ พระนิพพาน และ

เลื่อมใสในพระสงฆ์ คือ เมื่อสามารถละกิเลสของตนเอง ย่อมรู้ถึง ผู้ที่ปฏิบัติตามได้ว่า ก็

ย่อมถึงความบริสุทธิ์จากกิเลส จากการปฏิบัติดีแล้ว ย่อมเลื่อมใสในพระสงฆ์ ครับ

เพราะฉะนั้น ขณะที่เกิดจิตเลื่อมใส ในสิ่งที่ควรเลื่อมใส อัเนกิดจากความเข้าใจถูก

กุศลจิตเกิดขึ้นในขณะนั้น ในวัตถุที่เลิศ คือ ในพระรัตนตรัย ย่อมได้ผลอันเลิศ คือ

อายุ วรรณะ เกียรติยศ สุขและกำลัง เปรียบเหมือนบุคคลหว่านข้าวแม้น้อยในนาดี

ย่อมเกิดผล คือ ข้าวกล้าเป็นจำนวนมากและเติบโตดี เพราะอาศัย นาดี เป็นสำคัญ

และเมื่ออาศัยปัญญาที่เจริญขึ้นจากการฟัง การกระทำทางกาย วาจา ก็เป็นไปในทาง

ที่ดีขึ้น จนถึง ความเป็นพระโสดาบัน เป็นอริยกันตศีล คือ ศีลอันเลิศ ที่เกิดในขณะ

ที่เป็นมรรคจิต ที่ในขณะนั้น จะไม่หวั่นไหวอีกเลย คือ จะไม่ล่วงศีล 5 อีก และไม่ถูก

กิเลสครอบงำในขณะที่ อริยมรรคเกิดที่มีศีลในขณะนั้น ครับ

ซึ่งการจะมีพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่ง เลื่อมใสในพะรรัตนตรัยโดยไม่เปลี่ยนแปลง คือ

จะต้องถึงความเป็นพระโสดาบัน แต่กว่าจะถึงจุดนั้น ก็ต้องอาศัยการฟังพระธรรม

ศึกษาพระรรม ก็จะค่อยๆ เกิดความเลื่อมใสในพระรัตนตรัย และศีลก็ค่อยๆ ดีขึ้น ตาม

ปัญญา ความเข้าใจที่เจริญขึ้น ครับ เพราะฉะนั้น เมื่ออ่านพระสูตรนี้ จึงไม่ใช่ว่า จะทำ

อย่างไรให้เกิดความเลื่อมใสในพระรัตนตรัยมากขึ้น เพื่อที่จะได้วิบากอันเลิศ ผลบุญ

อันเลิศ แต่เมื่ออ่านพระสูตรนี้แล้ว ก็เข้าใจความจริงว่า ความเลื่อมใสในพระรัตนตรัย

จะมีไม่ได้เลย หากปราศจาก ปัญญา ความเข้าใจพระธรรม เพราะฉะนั้นจึงไม่ต้องไป

ทำว่าจะเลื่อมใสอย่างไร แต่อบรมเหตุ คือ การฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรม เมื่อนั้น

ความเลื่อมใสก็เกิดขึ้นเอง อันแสดงถึงความเป็นไปของสภาพธรรมที่เป็นไปตามเหตุ

ปัจจัย ส่วนผลบุญที่เป็นวิบากอันเลิศก็ย่อมมีได้ เมื่อเกิดความเลื่อมใสในพระรัตนตรัย

อันเกิดจากปัญญา ความเข้าใจพระธรรมเป็นสำคัญ ครับ ขออนุโมทนาที่ร่วมสนทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
tusaneenui
วันที่ 11 มิ.ย. 2555
กราบอนุโมทนาค่ะ
 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
nong
วันที่ 13 มิ.ย. 2555

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
เซจาน้อย
วันที่ 13 มิ.ย. 2555

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

อบรมเหตุ คือ การฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรม

ส่วนผลบุญที่เป็นวิบากอันเลิศก็ย่อมมีได้ เมื่อเกิดความเลื่อมใสในพระรัตนตรัย

อันเกิดจากปัญญา ความเข้าใจพระธรรมเป็นสำคัญ ครับ

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ


 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
ผู้ร่วมเดินทาง
วันที่ 13 มิ.ย. 2555

ขอบพระคุณและขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
ผิน
วันที่ 13 มิ.ย. 2555

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
ผ้าเช็ดธุลี
วันที่ 16 มิ.ย. 2555

* * * ------------------- * * *

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

* * * ----------------------------- * * *

อนุโมทนากุศลทุกประการของท่านอาจารย์ทุกท่าน และ ผู้หมั่นศึกษาพระธรรม

อีกทั้ง ผู้ที่อนุโมทนาครับ

* * * --------------------------- * * *

"ไม่ประมาท และ หมั่นศึกษาพระธรรมกันนะครับ มีความสุขทั่วกันครับ"


 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
Jans
วันที่ 16 มิ.ย. 2555
ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านค่ะ
 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
orawan.c
วันที่ 17 มิ.ย. 2555

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ